โปรแกรมจำลองการทำงานของโปรเซส

SOSIM by Prof.Luiz Paulo Maia
SOSIM by Prof.Luiz Paulo Maia

นั่งอ่านหนังสือ
ระบบปฏิบัติการ (Operating System)
ของ รศ.ดร.กฤษดา ขันกสิกรรม
พบบทที่ 9 การใช้งานโปรแกรมโซซิม (SOSIM)
โปรแกรมนี้นักศึกษา CS ป.โท ทำเป็นผลงาน Thesis
มีหน้าที่จำลองการทำงานของ process
แสดง Running, Ready และ Waiting ใน Process Manager
และการจองหน่วยความจำใน Memory Manager
ผู้ใช้สามารถสร้าง Process ขึ้นมา แล้วส่งในระบบ
จะเห็นการทำงานในแต่ละ State
และสร้าง Process ขึ้นมาได้ 3 แบบ

 

ประเภทของ Process มีดังนี้
1. CPU = ใช้ Central Processing Unit อย่างเดียว
2. IO = ใช้ CPU เป็นรอง แต่ใช้ IO เป็นหลัก มีหลายแบบ
3. MIX = ใช้ CPU ปานกลาง ไปพร้อมกับ IO

ต.ย. 1 โปรเซสเดียว
[สร้าง] Process แบบ CPU
Priority = 0, Max. frames =5
[ผล]
มี Process เดียว ก็สลับไปมาระหว่าง
Ready และ Running
และไม่ต้องเข้าคิวกับใคร จึงอยู่ที่ Ready = 0 เสมอ
[ล้าง Process ออก]
เข้า Process, Select, Delete
แล้วสั่ง Run ใหม่จะพบว่าไม่มีอะไรอยู่ใน Processor Manager

ต.ย. 2 โปรเซส CPU และ IO2
[สร้าง] Process แบบ CPU
แล้วสร้าง Process แบบ IO2
Priority = 0, Max. frames =5 เหมือนกันทั้ง 2 Process
[ผล]
มี Process CPU แทบจะครอง CPU
ส่วน Process IO2 ได้ทำงานใน CPU 1 ครั้ง
แล้วกับไปรอใน Waiting State ให้ CPU ทำงานให้เสร็จ 5 ครั้ง
แล้ว Process IO2 จึงจะได้ทำงาน 1 ครั้ง แล้วกลับมารอเหมือนเดิม
ใน Ready Process ที่ครองอยู่ก็คือ CPU
และมี Ready ระดับ 0 คือไม่มีใครมารอในคิวนาน ๆ

ต.ย. 3 โปรเซส CPU และ Mix1 และ IO2
[สร้าง] Process แบบ CPU
แล้วสร้าง Process แบบ Mix1
แล้วสร้าง Process แบบ IO2
Priority = 0, Max. frames =5 เหมือนกันทั้ง 2 Process
[ผล]
มี Process CPU แทบจะครอง CPU
ส่วน Process Mix1 ได้ทำงานใน CPU 2 ครั้ง เมื่อเข้า Ready ก่อนไป Wait
ส่วน Process IO2 ได้ทำงานใน CPU 1 ครั้ง แล้วไป Wait เลย
ทั้ง Mix1 และ IO2 จะรอใน Waiting State 5 ครั้ง เท่ากัน
แต่ Mix1 ได้ทำงานกับ CPU มากกว่า IO2 เมื่ออยู่ใน Ready state
[ดู Log]
หากดูการทำงานใน Log
จะพบว่า Boost คือ กำลัง
กำหนดให้ IO2 เป็น +2 แต่ Mix2 มี +1
ยิ่งบวกมากขึ้น ก็ยิ่งรอนานขึ้น

ต.ย. 4 โปรเซส IO1 และ IO2
[สร้าง] Process แบบ IO1
แล้วสร้าง Process แบบ IO2
Priority = 0, Max. frames =5 เหมือนกันทั้ง 2 Process
[ผล]
เมื่อ IO1 ทำงานเสร็จก็จะไปรอ
เมื่อ IO2 ทำงานเสร็จก็จะไปรอเช่นกัน
ทิ้งให้ CPU ว่าง ไม่มีใครใช้งาน

http://www.thaiall.com/os/os03.htm

มีรายละเอียดอีกมาก
เช่น การจัดการหน่วยความจำแบบ Pre-Paging หรือ Demand Paging
การดู Statistics หรือ PCB เป็นต้น
ถ้าสนใจก็เข้าโฮมเพจ SOSIM
ของ Prof.Luiz Paulo Maia as part of his M.Sc. thesis
in Federal University of Rio de Janeiro (NCE/UFRJ), Brazil, in 2001 (2544).
http://www.training.com.br/sosim/indexen.htm

เริ่มปรับหัวบล็อกเป็น แม่ล้ม ผมก็ล้ม แต่ปลูกมะละกอไว้ทานเอง

ปลูกมะละกอไว้ทานเอง
ปลูกมะละกอไว้ทานเอง

2 ม.ค.60 มีกิจกรรมหลายอย่างที่ทำไป
เป็นวันสุดท้ายของหยุดยาว ต้นปี 2560
ผมก็นั่งทบทวน เตรียมหนังสือ 4 เล่ม
พร้อมปรับเว็บเพจ ระบบปฏิบัติการ
http://www.thaiall.com/os/os00.htm

หนังสือของ
– ผศ.พิเชษฐ์ ศิริรัตนไพศาลกุล
– รศ.ดร.กฤษดา ขันกสิกรรม
– ไพศาล โมลิสกุลมงคล และคณะ

 

operating system book
operating system book

แล้วก็ไปปรับบล็อก (blog) ที่
http://article-thaiall.blogspot.com/
ก็ตั้งใจจะเปลี่ยนแนวการเขียน
เป็นเรื่อง “แม่ล้ม ผมก็ล้ม”
“เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ที่ผันตัวเองเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ก่อนปี 2560 อย่างไม่ทันตั้งตัว”

ใช้จอบขุดดิน ถางหญ้า
ใช้จอบขุดดิน ถางหญ้า

ช่วงเช้า มีเวลา เพราะมีเด็กที่บ้านมาเฝ้าแม่
ผมจึงเข้าสวนไปปลูกมะละกอแขกดำ
ที่ได้จากงานฤดูหนาว ต้นละ 20 บาท 6 ต้น
พร้อมกับขนุน ทองประเสริฐ ต้น 70 บาท
เดิมทีตั้งใจปลูกฮอลแลนด์
แต่ไม่มีขาย มีแต่พันธ์แขกดำ
และกำลังเพาะฮอลแลนด์อยู่ แต่รุ่นแรกที่เพาะไว้ไม่สำเร็จ
พอซื้อต้นกล้าของเค้ามา เห็นปลูกด้วยแกลบ
ก็จะเอาอย่าง
เพราะเคยถามในกลุ่มเค้าบอกผมใช้ดินเค็มไป
ถ้าใช้แกลบก็จะเป็นที่นิยมในการเพาะมะละกอ

สถิติอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลปีใหม่

สถิติอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลปีใหม่
สถิติอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลปีใหม่

พบข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ไว้เตือนใจ เตือนตัว เป็นสถิติอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2551 – 2559 จำแนกเป็นสถิติอุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บในช่วงเทศกาลปีใหม่

2551 : ธ.ค.50 – ม.ค.51
อุบัติเหตุ = 4,475
บาดเจ็บ = 4,903
เสียชีวิต = 401

2552 : ธ.ค.51 – ม.ค.52
อุบัติเหตุ = 3,824
บาดเจ็บ = 4,107
เสียชีวิต = 367

2553 : ธ.ค.52 – ม.ค.53
อุบัติเหตุ = 3,534
บาดเจ็บ = 3,827
เสียชีวิต = 347

2554 : ธ.ค.53 – ม.ค.54
อุบัติเหตุ = 3,497
บาดเจ็บ = 3,750
เสียชีวิต = 358

2555 : ธ.ค.54 – ม.ค.55
อุบัติเหตุ = 3,093
บาดเจ็บ = 3,375
เสียชีวิต = 336

2556 : ธ.ค.55 – ม.ค.56
อุบัติเหตุ = 3,176
บาดเจ็บ = 3,329
เสียชีวิต = 366

2557 : ธ.ค.56 – ม.ค.57
อุบัติเหตุ = 3,174
บาดเจ็บ = 3,345
เสียชีวิต = 367

2558 : ธ.ค.57 – ม.ค.58
อุบัติเหตุ = 2,997
บาดเจ็บ = 3,117
เสียชีวิต = 341

2559 : 29 ธ.ค.58 – 4 ม.ค.59
อุบัติเหตุ = 3,379
บาดเจ็บ = 3,505
เสียชีวิต = 380

http://www.accident.or.th/datacenter/index.php/2015-10-13-04-59-29/133-2551-2559
http://www.accident.or.th/datacenter/index.php/2015-10-13-04-59-29/116-2555-3

ความหมายของปฏิทิน

เรารักในหลวง
เรารักในหลวง

ปฏิทิน ในภาษาอังกฤษ คือ คาเลนดาร์ (Calendar) มาจากคำพูดของชาวกรีกโบราณ ว่า “Kalend” มีความหมายว่า “I cry” หรือ “ฉันร้อง” มีที่มาว่า สมัยโบราณจะมีคนคอยร้องบอกชาวเมือง เพื่อบอกกล่าวเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า รวมถึงประกาศวันขึ้นเดือนใหม่ เพื่อให้ลูกหนี้จ่ายเงินที่คั่งค้าง ครั้นต่อมาสังคมเริ่มสลับซับซ้อนมากขึ้น ปฏิทินจึงได้ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อแทนคนร้องบอก ปฏิทินจึงเป็นสิ่งบอกเวลา และกลายเป็นสิ่งสำคัญในวิถีชีวิตประจำวันไปในที่สุด ต่อมามนุษย์จึงได้ริเริ่มบันทึก วัน เวลา ขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร หรือที่เรียกกันว่า “ปฏิทิน”

ปัจจุบัน “ปฏิทิน” ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย นักธุรกิจติดต่อนัดหมายกันผ่าน วัน เวลา ในปฏิทิน นอกจากนี้ปฏิทินยังคอยย้ำเตือนถึง วัน เวลาที่สำคัญต่าง ๆ เช่น วันเกิด วันหยุด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปฏิทินที่กำหนดวันสำคัญทางศาสนา ซึงจะต้องอาศัยการประกาศอย่างเป็นทางการ เช่น วันจาริกแสวงบุญของอิสลามิกชน เป็นต้น
ปฏิทินไทย
ปฏิทิน แปลว่า แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี สามารถเขียนได้เป็น ประติทิน (ภาษาสันสกฤต) หรือ ประฏิทิน (บาลีแผลง) ประดิทิน หรือ ประนินทิน ก็ได้ คำหลังนี้พบในหนังสือที่เขียนโดย หมอ บรัดเลย์ ในหนังสือ อักขราภิธานศรับท์ หน้า 412 และหนังสือ สยามไสมย หน้าโษณา ของ หมอ สมิท เป็นต้น แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี มีทั้งที่จารึกบนก้อนหิน หรือ ขีด เขียน และพิมพ์บนกระดาษ ซึ่งมีทั้งชนิดเป็นแผ่น ตั้งแต่ 1 – 12 แผ่น และชนิดพิมพ์เป็นเล่มแบบหนังสือปฏิทินชนิดเล่ม

การพิมพ์ปฏิทินมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2385 (ปลายสมัย รัชกาล ที่ 3) ซึ่งสามารถตรวจสอบและค้นคว้าหาหลักฐานได้จาก ไมโครฟิล์ม หนังสือบางกอกคาเลนดาร์ ปี ค.ศ. 1870 ( พ.ศ. 2413 ) หน้า 5 ในหอสมุดแห่งชาติ หรือค้นคว้าได้จากหนังสือต้นฉบับ ที่หอสมุดดำรงราชานุภาพ ซึ่งหมอ บรัดเลย์ ได้เขียนไว้ว่า “ 14 First Calendar print in B. 1842 ” (ไม่บอกว่าใครเป็นผู้พิมพ์ แต่คาดหมายว่า คือ หมอ บรัดเลย์ ซึ่งเป็นเจ้าของโรงพิมพ์ ผู้มีผลงานทางหนังสือมากมาย)

รัชกาลที่ 4 ทรง ฯ โปรดให้พิมพ์ปฏิทินภาษาไทย (ภายหลังจากที่ หมอบรัดเลย์ พิมพ์ปฏิทินชิ้นแรกในสยาม เมื่อ พ.ศ. 2385) เมื่อ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2404 ดังปรากฏหลักฐานใน หนังสือบางกอกคาเลนดาร์ ฉบับ ปี ค.ศ. 1862 ( พ.ศ. 2405) หน้า 108
ในสมัย รัชกาลที่ 5 ปฏิทินที่พิมพ์ในเมืองไทยได้แก่ “ ประนินทิน ” ซึ่งลงโฆษณาใน หนังสือสยามไสมย ของ หมอสมิท เขียนคำโฆษณาไว้ตอนหนึ่ง ว่า “ ประนินทินนี้ แจ้งให้รู้ถึงการอื่นเป็นอันมากอันควรคนทั้งปวงจะรู้ ถ้าไม่รู้เขาจะนินทาว่าคนโง่ ” แจ้งราคาขายไว้เล่มละ 4 บาท (ราคาในสมัยนั้น) ปัจจุบันยังหาประนินทินของหมอสมิทไม่พบ

ปฏิทินในสมัย รัชกาลที่ 6 ที่น่าสนใจได้แก่ปฏิทินพกเล่มเล็กๆ ที่พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์เป็นของชำร่วย สำหรับแจกพระราชทาน แก่ขุนนางที่ลงนามถวายพระพร ในวันขึ้นปีใหม่ ปฏิทินพกแบบนี้ยังมีแจกต่อมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งบุคคลธรรมดาก็สามารถไปลงนามถวายพระพรและรับปฏิทินหลวงได้
การพิมพ์ปฏิทินเล่มยังมีการจัดทำต่อมา จนกระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบัน ปฏิทินเล่มยังมีรายละเอียดในเรื่องของ สภาพภูมิอากาศ เวลาน้ำขึ้น – น้ำลง การเดินทางของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ และมีช่องว่างให้บันทึกเล็กน้อย ยังมีสมุดบันทึกอีกแบบหนึ่ง ซึ่งบอกรายละเอียดของ วัน เดือน ปี เรียงไปตามลำดับ และมีหน้าสำหรับจดบันทึกหมายเหตุรายวัน รวมถึงวันสำคัญ และวัน เวลา นัดหมาย ฯลฯ ที่เรียกว่า “ ไดอารี่ ” (Diary) หรือ ” สมุดบันทึกประจำวัน ” ก็สามารถอนุโลมให้เป็นปฏิทินได้

ปฏิทินไดอารี่ เริ่มมีใช้ในเมืองไทยเมื่อใดยังไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจน แต่ไดอารี่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างสูง คือ ไดอารี่ของรัชกาลที่ 5 ซึ่งเมื่อตีพิมพ์เผยแพร่มีชื่อเรียกว่า “ จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ”

อ้างอิง
– มณฑา สุขบูรณ์ “ เวลา … พันธนาการแห่งมนุษย์ ” THE EARTH 2000 2,22 ( 2539 ) หน้า 76 –88
– อเนก นาวิกมูล. สิ่งพิมพ์คลาสสิค วิคตอรี่เพาเวอร์พอยท์,กรุงเทพฯ2533

http://www.lib.ru.ac.th/journal/calendar.html

http://www.thaiall.com/calendar/calendar60.htm

นักศึกษาเขียนเว็บแบบ responsive web design

อบรม webmaster
อบรม webmaster

เล่าสู่กันฟัง
ว่า 13-16ธ.ค.59 พบ น.ศ.ที่ Lab1 หลังอบรม น.ศ.ทำ Responsive web design ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญ ทางเทคนิค 2 เรื่อง คือ การเขียน html ร่วมกับ css ให้รองรับ multi device ก็รวบรวมผลงานที่เค้านำเสนอ จากผลการอบรม ฝากไว้ที่
http://thaiall.somee.com
มีนักศึกษาหลายคนติดตามงานที่คั่งค้าง เพราะอบรม และทำผลงานมีเวลากระชั้นชิด ทำให้ผลงานยังไม่เป็นที่พึงใจ จึงปรับปรุงใหม่ แล้วอัพโหลดมาให้ชมภายหลังการอบรม ผมก็อัพโหลดเข้าไปอัพเดทให้เรียบร้อยแล้ว การสื่อสาร เราคุยกันผ่าน facebook group เพราะข้อมูลการสนทนา และรูปภาพจะไม่หายไป และระบบรับงาน .zip ได้ดี สูงสุดถึง 100 MB ไฟล์ไม่ถูกกำหนดเวลาลบออกจากระบบเหมือน Line

หลังจากการอบรมแล้วเสร็จ ผมได้กลับไปพัฒนา Responsive Web Design ของตนเอง เริ่มจากการพัฒนาแบบ Prototype ขึ้นมาก่อน แล้วทำแบบ Water fall คือ ทีละหน้า ขยายไปเว็บเพจอื่น และทำแบบ Build and fix คือ ทำไปซ่อมไป ตอนนี้ขยายผลไป /os, /digitallogic และ /data มีรุ่นของ Prototype ใน /web2 เป็น 6.2 ส่วนของ Footer อัพเดทอีกครั้งเมื่อวันที่ 26ธ.ค.59 หลังพบปัญหาที่ทำให้ต้องเพิ่ม class ให้ footer ต่อจากนี้คงกลับมาปรับเนื้อหา (Content) ในเว็บต่าง ๆ ข้างต้น เพราะ design เสร็จแล้ว แต่ภาค content ที่มีอยู่ ยังไม่ได้นำเข้าไปจัดลง ในเหล่าเว็บที่เป็น static webpage ให้เรียบร้อย

ในวันสุดท้ายของการอบรม มีนักศึกษาได้รับการพิจารณารับรางวัลผลงานเว็บ จำนวน 2 คน ที่ได้คะแนนรวมสูงสุดจากกรรมการ คือ นายวรวัช ไชยธิ และนายสุรวิชญ์ สุริยะวงค์

ผลงานนักศึกษา

  1. อรรถพล จริงมาก
    http://thaiall.somee.com/atthapol
  2. บุณยดา สูงติวงค์
    http://thaiall.somee.com/boonyada
  3. จิรายุ คำแปงเชื้อ
    http://thaiall.somee.com/jirayu
  4. กิตติคุณ แก้วมา
    http://thaiall.somee.com/kittikhun
  5. กัณฐิกา ลำพระสอน
    http://thaiall.somee.com/kunthika
  6. ณัชญาพัทธ์ จันทร์ศรี
    http://thaiall.somee.com/natchayapat
  7. ณัฐวุฒิ ปินใจ
    http://thaiall.somee.com/nattawut
  8. พิทยา กานต์อาสิญจ์
    http://thaiall.somee.com/pittaya
  9. แพรทิวา ขันเงิน
    http://thaiall.somee.com/praetiwa
  10. สุรวิชญ์ สุริยะวงค์
    http://thaiall.somee.com/surawit
  11. วิไลวรรณ แซ่โซ้ง
    http://thaiall.somee.com/wilaiwan
  12. วรวัช ไชยธิ
    http://thaiall.somee.com/worawat/intro.htm

ความเชื่ออาจไม่ใช่ความจริง (itinlife 583)

inception
inception

การดำเนินชีวิตของมนุษย์เรามีความเชื่อเป็นเครื่องกำหนดพฤติกรรม ยกเว้น ผู้ป่วยทางสมองที่อาจมีพฤติกรรมเอาแน่เอานอนไม่ได้ ผู้ขาดสติจากโรคภัย อารมณ์ชั่ววูบ การดื่มสุรา หรือผลจากสารเคมี อาจกล่าวได้ว่าความเชื่ออาจเป็นความจริง หากความเชื่อนั้นได้รับการพิสูจน์แน่ชัดก็จะกลายเป็นความจริงที่ยอมรับร่วมกันได้ แต่ไม่ใช่ทุกความเชื่อที่จะเป็นความจริง ผู้คนมากมายตัดสินใจตามความเชื่อ บางคนก็เชื่อว่าความเชื่อคือความจริง อาทิ เชื่อว่าปลูกพืชวันเสาร์จะดีกว่าวันอื่น เชื่อว่าดื่มสุราไม่เป็นภัยต่อสุขภาพ เชื่อว่าขับจักรยานจะไม่มีรถใหญ่เฉี่ยวชน เชื่อว่ามีคนหยั่งรู้อนาคตได้ เชื่อว่ามีการเวียนวายตายเกิด

ในทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมักมีกำหนดสมมติฐานที่เริ่มมาจากความเชื่อ เมื่อมีความเชื่อก็จะต้องเข้าสู่กระบวนการเก็บข้อมูล พิสูจน์  วิจัย ทดสอบ ทดลอง สรุปผล อภิปรายผล เพื่อให้ได้ข้อสรุปหรือความจริงมาประกอบการตัดสินใจ การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันมักอาศัยสารสนเทศที่เป็นความจริงมาประกอบการพิจารณาร่วมกัน เพราะตัวเลข หรือข้อมูลเชิงสถิติมักเป็นความจริง ที่ทำให้การตัดสินใจไม่ผิดพลาด แต่ถ้าตัดสินใจเลือกเพื่อนร่วมงานตามความงาม ความชอบ ความรู้สึก ลีลา บุคลิก โหงวเฮ้ง ความสัมพันธ์ส่วนบุคคล ก็จะเป็นการตัดสินใจที่ไม่รอบด้าน เหมือนเลือกด้วยการจับไม้สั้นไม้ยาว ไม่ตอบวัตถุประสงค์ของการคัดคนมาร่วมงาน ทำให้เกิดความเสี่ยงว่าจะล้มเหลวได้มากกว่า การตัดสินใจตามความเชื่อมักไม่ได้เกิดจากกระบวนการจัดการความรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกัน จึงขาดทัศนคติรอบด้าน และมีตัวเลือกน้อยเกินไป

shutter island
shutter island

ในโลกแห่งความเป็นจริง มีรายการทีวีมากมาย ที่นำความเชื่อมานำเสนอ อาทิ การเลือกคู่ครอง การประสบความสำเร็จด้วยการแสดง การร้องเพลง หรือดูดวงตามราศี ทำให้เยาวชนมากมายคล้อยตามว่าอยากมีความสามารถพิเศษทางการแสดง ด้วยการร้องเพลง เล่นดนตรี หรือรอดวง แต่ความจริง คือ มีคนจำนวนน้อยมากที่ประสบความสำเร็จแบบที่เห็นในเกมโชว์ ละคร หรือภาพยนตร์ ผู้ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่มักอาศัยความมุ่งมั่นทำกิน ค้าขาย หรือเส้นทางของการศึกษา คือ เรียนจนจบมหาวิทยาลัย หรืออาชีวศึกษา แล้วขยัน ตั้งใจ สู้ชีวิตใช้องค์ความรู้ที่เรียนมา หางานทำ และดำเนินชีวิตในสังคมแห่งความเป็นจริง

http://www.thaiall.com/digitallogic

ทั้งเรื่อง Inception และ Shutter Island
แสดงนำโดย Leonardo Dicaprio

อีกเรื่องที่น่าเสียดาย เสียดายที่ดารานำฆ่าตัวตาย
คือ Robin Williams
แสดงเรื่อง What Dreams May Come

what dreams may come
what dreams may come

 

ผลการลงคะแนนเสียง #พรบคอม ไม่เห็นด้วย 0% แสดงว่าต้องดีจริง

ผล vote ict law
ผล vote ict law

วันที่ 16 ธันวาคม 2559 ที่ประเทศไทยมีการประชุม
ของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ #สนช
ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมประชุมจำนวนทั้งสิ้น 172 ท่าน
เพื่อลงคะแนนพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ..
https://www.blognone.com/node/88369

 

ผลการลงคะแนน #voteictlaw ในจำนวนนี้ พบว่า
ไม่แน่ใจ มี 5 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 2.91
เห็นด้วย มี 167 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 97.09
ไม่เห็นด้วย มี 0 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 0

 

https://ictlawcenter.etda.or.th/de_laws/detail/de-laws-computer-related-crime-act

เมื่อเข้าไปค้นใน wiki พบว่า
ปัจจุบัน สนช. คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2557 (31 กรกฎาคม 2557 – ปัจจุบัน)
ตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติหลังรัฐประหาร
และประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
แทน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
เมื่อ 8 สิงหาคม 2557 สมาชิกนิติบัญญัติแห่งชาติได้มีการลงมติ
เลือกประธานและรองประธาน ผลปรากฏว่า
ศาสตราจารย์พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย เป็นประธาน
และ สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย เป็นรองประธานคนที่ 1
และ พีระศักดิ์ พอจิต เป็นรองประธานคนที่ 2

แล้วพบว่ารายชื่อที่แต่งตั้งทั้ง 4 รอบ
แสดงรายชื่อทุกท่านใน wiki
ล้วนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขา
ที่จะเข้ามาช่วยกันทำงานเพื่อประเทศไทย

ก่อนหน้านี้ .. มีการทักท้วงเรื่อง พรบคอม
การไม่มีใครไม่เห็นด้วยเลย น่าจะเป็นคำตอบว่า
การทักท้วงไม่เป็นผล

ปัญหาในพรบคอม ที่มีการทักท้วงกัน
ปัญหาในพรบคอม ที่มีการทักท้วงกัน

http://www.posttoday.com/politic/470517

ช่วงเย็นของ 15 ธ.ค.59 มีผู้คนสนใจเรื่อง “พรบคอม” มากที่สุด

twitter singlegateway
twitter singlegateway

ดู “ความนิยม (Trends)” ใน twitter.com หน้าแรก
พบด้านซ้ายจะมี hash tag
บอกว่าช่วงนี้เค้าติด hash tag ด้วยคำว่าอะไร
ซึ่งบอกถึงแนวโน้มของความสนใจของผู้คน
อย่างเช่นวันที่ 15 ธันวาคม 2559
พบว่ามี hash tag ที่สัมพันธ์กันอยู่ 3 คำ คือ

#พรบคอม 4.06 ส. ทวีต
#singlegateway 2.51 ม. ทวีต
#ไม่ค้านผ่านแน่ 2,123 ทวีต

และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
แล้วเข้าเว็บไซต์ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
http://www.mict.go.th
พบว่า ก.ไอซีที แจงข้อเท็จจริงเนื้อหาร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 15 และ 20
http://www.mict.go.th/view/1/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AF/1964

ข่าวนี้อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://www.matichon.co.th/news/395549

อธิบายที่มาของ Hashtag
http://www.aripfan.com/u-know-why-hashtag/

เว็บไซต์ kapook อธิบายเรื่อง single gateway ได้ละเอียด
http://hilight.kapook.com/view/126924

info singlegateway
info singlegateway

เห็นสุนัขนอนเจ็บ ถูกรถชน ตัดใจทำการุณยฆาต

จริยธรรม คำว่า “กรุณา” 
หลายคนก็ตีความจากสิ่งที่เห็นแตกต่างกันไป

สุนัขน่ารัก 5 ตัว
สุนัขน่ารัก 5 ตัว

อีกประเด็นที่มีคนสองกลุ่ม คิดเห็นไม่ตรงกัน
จากการวิจารณ์ในสื่อสังคม หลังเห็นคลิ๊ปทำร้ายสุนัข
โดยใช้ท่อนเหล็กไปตีสุนัขจนตาย
แต่หนุ่มเห็นว่าสุนัขจรจัด ถูกรถชน และนอนเจ็บมาหลายวัน
ตัดใจฆ่าให้ตาย หวังให้สุนัขพ้นทุกข์
น่าจะเรียกว่า “การุณยฆาต” ในแบบของหนุ่มคนนี้
แต่สื่อสังคมเห็นว่าใจร้าย
แล้วตำรวจแจ้งข้อหา “กระทำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์
โดยไม่มีเหตุอันควร และจำนำส่งฟ้องต่อศาล
http://www.posttoday.com/local/south/469769

 

เรื่องจริยธรรม มีกรณีศึกษามากมาย
มักนำไปแชร์กับนักศึกษา
ที่ http://www.thaiall.com/ethics

เคยฟังเพลง ทหารพิการรัก
ขับร้อง ศรเพชร ศรสุพรรณ

..ฉันเองต้องถูกญาติเธอกีดกัน
เพราะตัวฉันมันพิการอย่างนี้
ไปรบกลับมาแขนขาไม่ดี
เพราะเป็นหน้าที่ชาติชายอย่างฉัน
..แล้วเธอต้องกลับพบความอับอาย
ฉันมีร่างกายไม่เหมือนก่อนนั้น
เธอเหมือนนางฟ้าสวยผ่องพรรณ
เป็นนางพยาบาลที่งามทั้งกายและ ใจ
..ฉีดยาให้ฉันตายไปเถิดหมอ
นี่เป็นคำขอร้องของคนไข้
แม้เราจะเคยรักกันเพียงใด
ฉันก็คงไม่ให้ความสุขสม
..ขอเธอจงปล่อยฉันไว้ห่างตา
เห็นเธอยิ่งพาหัวใจขื่นขม
ฉันนี้อยู่ไปเปลืองน้ำเปลืองนม
ใจร้าวระบมเกินกว่าจะพยาบาล
..ฉีดยาให้ฉันตายไปเถิดหมอ
นี่เป็นคำขอร้องของคนไข้
แม้เราจะเคยรักกันเพียงใด
ฉันก็คงไม่ให้ความสุขสม
..ขอเธอจงปล่อยฉันไว้ห่างตา
เห็นเธอยิ่งพาหัวใจขื่นขม
ฉันนี้อยู่ไปเปลืองน้ำเปลืองนม
ใจร้าว ระบมเกินกว่าจะพยาบาล

 

พบ mind map แนะนำสิ่งที่ web developer ควรทราบ

web development
web development

พบ mind map แนะนำสิ่งที่ web developer ควรทราบ
แชร์ลิงค์มาผ่าน FB Page “Thai programmer โปรแกรมเมอร์ไทย
https://www.facebook.com/programmerthai/photos/a.1406027003020480.1073741827.1392939564329224/1799531400336703/
แล้วพบแฟ้ม PDF ที่
https://coggle-downloads.s3.amazonaws.com/ffa893c87f6ae8a35b7343568a270942b6d1d5ffbc62301829fe2ad4dbed19e7/Web_Development.pdf
https://coggle-downloads.s3.amazonaws.com/49e5776e17045b4615af8ab87e75f5ae305779093dd574ee2044e6035316dc75/How_to_be_a_good_frontend_programmer.pdf
หรือเป็นภาพที่
ถ้าอยากเซฟเป็นไฟล์รูป png ก็ตามลิงค์ มีสองรูป
https://coggle-downloads.s3.amazonaws.com/ffa893c87f6ae8a35b7343568a270942b6d1d5ffbc62301829fe2ad4dbed19e7/Web_Development.png
https://coggle-downloads.s3.amazonaws.com/49e5776e17045b4615af8ab87e75f5ae305779093dd574ee2044e6035316dc75/How_to_be_a_good_frontend_programmer.png
ที่มา คือ https://coggle.it
ซึ่งเว็บไซต์นี้บริการเครื่องมือเขียน mind map ที่สวยงาม
แล้วผมนำไป repost
ที่ https://www.facebook.com/groups/thaiebook/734319726718848/
จากภาพ

ตรงกลาง คือ คำว่า web development
แตกเป็น 3 เส้น
1. No Matter Which Route You Take
2. Basic Front End
3. Back End

 

No Matter Which Route You Take
No Matter Which Route You Take
back end data
back end data
back end languages
back end languages
back end server management
back end server management
basic front end
basic front end
front end developer
front end developer