กระแสไลค์ในเฟซบุ๊ค (itinlife378)

facebook in cities
facebook in cities

http://www.socialbakers.com/facebook-statistics/cities/

12 ม.ค.56 ปี 2555 ที่ผ่านมาเป็นอีกปีหนึ่งที่กระแสการใช้บริการเว็บไซต์เครือข่ายสังคมทวีความรุนแรงขึ้น จากข้อมูลใน zocialrank.com ที่ให้ข้อมูลว่าเฟซบุ๊คเพจ (Facebook Page) เมื่อต้นปี 2555 มีคนกดถูกใจ (Like) ถึงล้านคนเพียง 2 เพจ แต่ผ่านไปได้ไม่ถึงปีพบปริมาณการกดไลค์เพจเพิ่มขึ้นเกินคาด  ข้อมูลต้นปี 2556 พบว่ามีเพจที่ถึง 2 ล้านจำนวน 3 เพจ และยอดเกินล้านมีถึง 35 เพจ เกือบทั้งหมดเป็นเพจด้านความบันเทิง แต่ไม่มีเพจใดมีเนื้อหาหลักด้านการศึกษา มีเพียงเพจของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือ ว.วชิรเมธี ที่เน้นด้านการศึกษาทางธรรม มียอดคนกดไลค์เกินล้าน

ผู้สื่อข่าวทั้งทีวีและหนังสือพิมพ์จำนวนไม่น้อย ใช้ข้อมูลที่อยู่ในเฟซบุ๊ค นำมาพูด บอกต่อ ตีความ ขยายความ แสดงความเห็นทั้งเชิงบวก เชิงลบ จนทำให้เกิดการรับรู้ พูดถึงเรื่องราวที่มาจากเฟซบุ๊ค ออกไปสู่สังคมภายนอกได้รวดเร็วอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่การกดไลค์ต่อเพจมิใช่เครื่องแสดงถึงประสิทธิภาพของการสื่อสารในเพจ แต่เป็นจำนวนคนเข้ามามีส่วนร่วม (Engage) ที่วัดด้วยค่า “ถูกพูดถึง (Talking about this)”  ที่มาจากจำนวนกดไลค์ในแต่ละข้อความ (Post like) จำนวนการแบ่งปัน (Share) จำนวนความคิดเห็น (Comment) และกิจกรรมอื่น ๆ

สถิติการกดไลค์และการถูกพูดถึงมักเกิดกับเฟซบุ๊คเพจด้านความบันเทิง ที่ผู้ดูแลนิยมโพสต์ภาพ หรือข้อความเกี่ยวกับความรัก ทั้งสมหวัง ผิดหวัง ประชด ตัดพ้อ หรือคำพูดที่น่าประทับใจที่อ้างอิงว่ากล่าวโดยพระสงฆ์ หรือปราชญ์ อาทิ ดร.เทียม โชควัฒนา หรือขงจื้อ ข้อมูลทางสถิติเมื่อต้นเดือนมกราคม 2556 จาก socialbakers.com เปรียบเทียบในระดับเมืองพบว่า มีผู้ใช้ในกรุงเทพฯ เป็นอันดับหนึ่งของโลก คือ 12,797,500 เฉือนจากาต้าของอินโดนีเซียไม่มากนัก ส่วนระดับประเทศข้อมูลของประเทศไทยคือ 18,335,420 ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจสถานภาพความสุขและมุมมองการใช้ชีวิตของชาวโลก พบว่าชาวไทยติดอันดับ 5 ของโลก ก็อาจเป็นเพราะเรามีเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูล โดยเมืองหลวงของไทยมีประชากรเข้าถึงมากเป็นอันดับหนึ่งของโลกย่อมจะมีความสุขในอันดับต้น ๆ เช่นกัน แต่ระบบการศึกษาของไทยไปอยู่ท้ายของรายการก็อาจเป็นเพราะเรามีความสุขแบบไม่ยึดทางสายกลาง

http://www.oknation.net/blog/roisaii/2012/12/23/entry-1

http://www.pawoot.com/like-and-who-talking-about

http://www.thaiall.com/blogacla/admin/2335/

วัดจำนวน Talking About This แทน Like ใน FB ดีกว่าไหม

เลิกวัดจำนวน Like ใน FB มาสนใจจำนวน Talking About This ดีกว่า
เลิกวัดจำนวน Like ใน FB มาสนใจจำนวน Talking About This ดีกว่า

http://www.zocialrank.com/facebook/

เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2555 คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ (ป้อม)
ได้เขียนบทความเกี่ยวกับความต่างของ like และ talking ไว้น่าสนใจ

ถ้าพูดถึงคำว่าไลค์ (Like) หรือ “ชอบ” ทุกวันนี้ทุกคนก็จะนึกถึง Facebook ใช่ไหมครับ บทความนี้หลายคนอาจจะแปลกใจว่า เอ…ทำไมวันนี้ผมมาแปลก ที่เชิญชวนให้มาหยุดล่าคนกดไลค์ แล้วอย่างงี้เราจะทำธุรกิจได้อย่างไร ถ้าไม่มีไลค์เราจะทำธุรกิจบนเฟสบุ๊ค ได้อย่างไร? วันนี้ผมมีคำอธิบายครับ

ปัจจุบันธุรกิจร้านค้าต่างๆ ในเมืองไทย ต่างหันเข้ามาใช้เฟซบุ็ค เป็นช่องทางในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าและเป้าหมายกันอย่างมาก โดยตัวเลขที่ใช้วัดว่า เฟซบุ็คของธุรกิจคุณมีคนนิยมเข้ามาใช้บริการ ก็คือ จำนวนคนกดไลค์ (Like)  หรือ “ชอบ” ยิ่งมีคนไลค์มากเท่าไร ยิ่งทำให้ธุรกิจคุณสามารถเข้าถึงและสื่อสารกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจได้มากขึ้นเท่านั้น บางแห่งเริ่มนำมาใช้เป็นตัวเลขวัดผลความประสบความสำเร็จของการทำการตลาดผ่านทางเฟซบุ็ค โดยวัดผลกับเฟซบุ็ค ของคู่แข่ง  จึงทำให้ ตอนนี้บริษัทหรือธุรกิจต่างๆ หันมาสร้างหรือไล่ล่า จำนวนไลค์กัน อย่างไม่ลืมหูลืมตา โดยไม่สนว่าคนที่เข้ามากดไลค์จะเป็นกลุ่มเป้าหมายของเราหรือไม่ก็ตาม

โดยตอนนี้เฟสบุ๊คเพจของคนไทยที่มีจำนวนคนกดไลค์ที่มากกว่า 2 ล้านคน มีทั้งหมด 3 เพจ และมีคนกดไลค์มากกว่า 1 ล้านคน ทั้งหมด 20 เพจ (อ้างอิงจาก http://zocialrank.com/facebook) แต่คุณเชื่อไหมครับว่า หากมองย้อนกลับไปเมื่อต้นปี 2012 ที่ผ่านมา หรือ 6-7 เดือนที่ผ่านมา ประเทศไทยมีเฟสบุ๊คเพจที่มีจำนวนคนกดไลค์มากกว่า 1 ล้านคน เพียงแค่ 2 เพจเท่านั้น นั้นก็คือเฟซบุ็คเพจของ คุณตัน อิชิตัน และ วงดนตรีบอดี้สแลม แต่ทำไมผ่านไปเพียงไม่กี่เดือนกลับมีเฟซบุ๊กเพจที่มีจำนวนคนกดไลค์มากว่าล้านเพิ่มขึ้นมากกว่า 20 เพจเลยทีเดียว มันเกิดอะไรขึ้น

ด้วยตัวเลขคนกดไลค์เยอะมากขึ้น ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยนิยมใช้เฟสบุ๊คมากขนาดไหน โดยเฉพาะชาวกรุงเทพฯ ที่ติดลำดับเมืองที่มีประชากรใช้เฟสบุ๊คมากที่สุดในโลก แต่การที่มีประชากรใช้เฟสบุ๊คเยอะ ก็ไม่จำเป็นที่เฟสบุ๊คเพจต่าง ๆ จะมีจำนวนการเติบโตสูงตามไปด้วย แล้วปัจจัยอะไรละ? ที่ทำให้เฟสบุ๊คเหล่านั้นเติบโตด้วยยอดไลค์สูงได้ขนาดนั้น


ถูกพูดถึงเท่าไร (Talking About) คือ  สิ่งที่คุณควรสนใจมากว่า

เฟสบุ๊คเองได้มองเห็นปัญหาของการไล่ล่าให้คนกดไลค์กันอย่างบ้าคลั่งอย่างไร้เหตุผล เฟสบุ๊คจึงกำหนดค่าตัวเลขใหม่ขึ้นมา ที่ชื่อว่า “ถูกพูดถึง (Talking about this)” ซึ่งค่าของตัวเลขนี้จะมาจาก จำนวนคนที่เข้ามาส่วนร่วม (Engage) หรือมีกิจกรรมกับเฟซบุ๊คเพจของคุณ เช่น การเข้ามากดไลค์ในแต่ละข้อความ, การแชร์ (Share) หรือแบ่งปันข้อความของคุณออกไป, การเข้ามาโต้ตอบ หรือเขียนข้อความลงในหน้าเฟซบุ๊คเพจของคุณ หรือเข้ามาร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่คุณมีในเฟซบุ็คของคุณ ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นจะทำให้ค่าของ “ถูกพูดถึง (Talking about this)” เพิ่มมากขึ้น
นั้นหมายความว่า ถ้าเฟซบุ็คเพจไหนมีจำนวนคนกดไลค์เยอะ แต่ค่าตัวเลข “ถูกพูดถึง (Talking about this)“ ต่ำ นั้นแสดงว่าเฟซบุ๊คเพจนั้นๆ ไม่ได้รับความสนใจจากสมาชิกในเพจนั้นๆ นั้นหมายถึงคุณพูดหรือสื่อสารอะไรออกไป ก็ไม่มีคนเห็น ไม่มีคนดู ซึ่งมันหมายถึงประสิทธิภาพในการสื่อสารไปยังลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายก็น้อยลงด้วยเช่นกัน  ซึ่งวิธีการที่จะดูตัวเลข ”ถูกพูดถึง (Talking about this)”  ก็สามารถเข้าดูได้ที่หน้าเฟซบุ๊คเพจของคุณ มันจะอยู่ข้างๆ ตัวเลขไลค์ ด้านบนครับ

http://www.pawoot.com/like-and-who-talking-about