http://www.antthai.com/home/article/RAID_Tech(1).htm
http://www.antthai.com/home/tip&trick/raid-tecno.htm
http://en.wikipedia.org/wiki/Redundant_array_of_independent_disks
http://www.overclockzone.com/spin9/raid/index.html
http://www.expert2you.com/view_article.php?art_id=1032
เทคโนโลยีเกี่ยวกับ RAID
RAID (Redundant Array of Independent Disks) คือ เทคโนโลยีสำหรับการสร้าง ลอจิกคอลไดร์ฟ ( Logical Drive)
จากกลุ่มของ ฮาร์ดดิสต์ (Physical Drive) หลายตัวที่มาเชื่อมต่อกัน ทำให้ระบบมองเห็น อาเรย์ (Array)
หรือ ลอจิกคอลไดร์ฟดังกล่าวเสมือนเป็นฮาร์ดดิสต์ตัวเดียว แต่มีขนาดและความจ ุเพิ่มขึ้น
โดยซอฟแวร์ หรือการ์ดควบคุม RAID จะบริการจัดเรียงข้อมูล
ให้อยู่ในรูปแบบของมาตรฐาน RAID แก่ ฮาร์ดดิสต์ทุกตัวที่ต่ออยู่กับอาเรย์นั้น
RAID มีประโยชน์อย่างไร
ผลลัพธ์ที่ได้จากการนำเอาฮาร์ดดิสต์หลายๆตัวนำมาทำเป็น RAID คือ
1.จะทำให้ อัตราการโอนถ่ายข้อมูลสูงกว่าอัตราการโอนถ่ายข้อมูล (DATA TRANSFER RATES)
ฮาร์ดดิสต์ตัวเดี่ยวๆ ซึ่งนั่นหมายถึง การเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถนะของเครื่งเซริฟเวอร์โดยปริยาย
2.เป็นโซลูชั่นในการเพิ่มความจุของระบบจัดเก็บข้อมูลต่อ ไดร์ฟได้อย่างไม่จำกัดไดร์ฟได้อย่างไม่จำกัด
(ไดร์ฟ C) ในขณะที่การเพิ่มฮาร์ดดิสต์ในระบบปกติ แม้จะเป็นการเพิ่มความจุ
แต่ก็เป็นการเพิ่มจำนวนไดร์ฟไปในตัว(C,D,Eเป็นต้น)
เพราะ ไบออสของเครื่องออกแบบไว้เช่นนั้น ทำให้การจัดเก็บอาจ
จะต้องแยกกันเก็บและอยุ่ในลักษณะการจัดกระจายซึ่งยุ่งยากในการบริหารจัดการ
3.สร้างความปลอดภัยให้ข้อมูลด้วยระบบ DATA REDUNDANCY/ FAULT TOLERANCE
คุณจึงอุ่นใจได้ว่าข้อมูลจะไม่มีวันสูญหาย ถ้าหากมีฮาร์ดดิสต์ ตัวใดตัวหนึ่งในอะเรย์ เสียอย่างกะทันหัน
นอกจากนั้นแล้วคุณก็ยังสามารถแก้ไขฮาร์ดดิสต์ตัวที่เสียโดย
การถอดเปลี่ยนแทนที่ด้วยฮาร์ดดิสต์ตัวใหม่โดยที่ไม่ต้อง Down
ระบบซึ่งต่างจากการต่อฮาร์ดดิสต์ในแบบทั่วๆไปหาก ฮาร์ดดิสต์เสีย
ขึ้นมาก็เท่ากับข้อมูลเกิดสูญหายในทันที
RAID มีประเภทและจะมีวิธีการเลือกชนิดของ RAID อย่างไร
หากจะแบ่ง RAID ตามประเภทของการจัดการจัดเก็บข้อมุลแล้ว จะมีมากกว่า 10 ชนิด
แต่ที่นิยมเลือกใช้และ ใช้กันอย่างแพร่หลาย จริงๆจะมีอยู่ราว 5 ชนิดคือ RAID0, RAID 1,
RAID0+1,RAID3 และ RAID5 นอกจากนี้แล้วประเภทของ RAID ชนิดใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม
เพิ่มขึ้นในขณะนี้คือ RAID3 และ RAID5 สำหรับคุณสมบัติและหลักใน การทำงานของ RAID
ทั้ง 7 ชนิดสามารถอธิบายให้เข้าใจพอสังเขปได้ดังนี้
ชนิดของ RAID แต่ละประเภท
1. RAID 0 (STRIPING )
2. RAID 1 (MIRRORING)
3. RAID 0+1(STRIPING/MIRRORING)
4. RAID 3 ( Block Striping with Parity Drive)
5. RAID 5 (BLOCK AND PARRITY STRIPING)
6. RAID 30 (STRIPING OF DEDICATED RARITY ARRAYS)
7. RAID 50(STRIPING OF DISTRIBUTED PARITY ARRAYS)
คำอธิบาย Logic Drive หมายถึง Drive ที่สร้างขึ้นมาจาก RAID นะครับ
RAID 0
RAID 0 เป็นแบบที่ง่ายและเป็นพื้นฐานที่สุดเลย คือ ทำการรวม HDD 2 ตัว (หรือมากกว่า)
ให้กลายเป็น HDD ตัวเดียวกัน (เรียกว่า Logic Drive) เช่น ถ้ามี HDD 40G 2 ตัว
ตัวแรกจะเป็น C อีกตัวก็จะเป็น D เมื่อเราแปลงเป็น RAID 0 เนื้อที่ของทั้ง 2
ตัวก็จะรวมกันเป็น Drive เดียวกัน ชื่อ C มีขนาด 80G โดยเมื่อแปลงเป็น RAID 0 แล้ว OS
และโปรแกรมต่างๆ ก็จะมอง Drive ใหม่นี่ เสมือนเป็น Drive
เดีวยวกันที่สามารถอ่านเขียนข้อมูลต่างๆ ได้ตามปกติ
ข้อดี คือ ทำให้การอ่านหรือเขียนข้อมูลเร็วขึ้นมาก
เพราะมีหัวอ่าน/เขียนข้อมูลเพิ่มมากขึ้น (ในระบบ SCSI นะครับ ถ้า IDE
หัวอ่านเพิ่มขึ้น ก็ไม่เร็วขึ้นหรอก ไปอ่านที่ อันแรกก็ได้ครับ)
และมันยังขยายเนื้อที่สำหรับเก็บข้อมูลได้ง่ายขึ้นด้วย
ข้อเสีย เนื่องจากมันไม่ได้ทำการสำรองข้อมูลเลย หรือแม้แต่ Parity Bit มันก็ไม่ได้ทำ
(แม้แต่นิดเดียว) ถ้า HDD ตัวไหนเสีย มันจะทำให้ Logic Drive ที่เราสร้างขึ้น
เสียไปทั้งหมด ข้อมูลของเราก็จะหมดไปด้วย (เศร้า)
RAID 1
RAID 1 ต่างจาก RAID 0 แบบว่า หน้ามือเป็นหลังมือเลย เนื่องจาก RAID 1
จะเก็บข้อมูลทั้งหมดลง HDD ตัวแรก เหมือนการใช้งานทั่วๆ ไป แต่จะมี HDD
ตัวที่สองเพิ่มเข้ามา เราเรียก HDD ตัวนี้ว่า MIRRORING หรือ DUPLEXED โดยที่ HDD
ตัวทั่สองนี้ จะทำการสำรองข้อมูลจากตัวแรก เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล
โดยมีข้อกำหนดว่า HDD ทั้ง 2 ตัว ต้องขนาดเท่ากันพอดี ถ้าเป็นไปได้ ควรจะเป็นยี่ห้อ
และรุ่นเดียวกันด้วย
ข้อดี อย่างที่เห็นล่ะครับ ข้อมูลจะถูกสำรองไว้ตลอดเวลา ไม่ต้องกลัวว่าจะหายเลย ถ้า
HDD ตัวไหนเสีย อีกตัวก็จะขึ้นมาทำงานแทนทันที ถ้าเป็น Server ที่มีระบบ Hot Swap
เราสามารถถอด HDD ตัวที่เสีย ไปเปลี่ยน แล้วเอาตัวใหม่มาใส่ได้ทันที
โดยไม่ต้องปิดเครื่องเลย เมื่อเราเอา HDD ตัวใหม่มาใส่ ระบบก็จะทำการสำรองข้อมูลไปที่
HDD ตัวใหม่เอง โดยอัตโนมัติ และข้อดีอีกอย่างคือ มันสามารถเลือกที่จะอ่านข้อมูลจาก
HDD ตัวไหนก็ได้ ทำให้มันอ่านข้อมูลได้เร็วขึ้น
ข้อเสีย เนื่องจากมันต้องเขียนข้อมูลลง HDD ถึง 2 ตัวต่อข้อมูล 1 ชุด
ทำให้ภาระในการเรียนข้อมูลมีมากขึ้นเป็น 2 เท่าเลย
ทำให้เวลาในการเขียนข้อมูลมากกว่าปกติ และระบบนี้ใช้เงินเยอะพอสมควร เพราะต้องใช้ HDD
2 ชุด ต่อข้อมูล 1 ชุด
RAID 0 + 1
RAID 0+1 คือการนำข้อดีของ RAID 0 และ RAID 1 มารวมกัน ทำให้มีการรวมเนื้อที่จาก HDD
หลายๆ ตัวเข้าด้วยกัน ละมีการทำสำเนาไปพร้อมกันด้วย โดยต้องนำ HDD มาแปลงเป็น RAID 0
จำนวน 2 ชุดก่อน ทำให้ได้ Logic Drive ที่มีเนื้อที่ของ HDD มารวมกัน แล้วจึงสร้าง
RAID 1 ขึ้นมาอีกทีจาก Logic Drive ทั้ง 2 ชุด
ข้อเสีย เปลือง HDD อย่างมาก และถ้า HDD ตัวไหนเสียไป อาจทำให้ Logic Drive เสีย
และเจ้งทั้งระบบ
RAID 1 + 0
RAID 1+0 มีการทำงานเหมือนกับ RAID 0+1 เพียงแต่จะเริ่มสร้าง RAID 1 มาก่อน 2 ชุด
เพื่อทำการสำรองข้อมูลกันก่อน แล้วค่อยสร้าง RAID 0 ขึ้นมาอีกที
เพื่อรวมข้อมูลทั้งหมดเข้าด้วยกัน วิธีนี้เป็นที่นิยมมากกว่า RAID 0+1 อีกนะ
(ผมก็ใช้ตัวนี้)
ข้อดี ถ้า HDD ตัวไหนเสีย จะไม่ทำให้ Logic Drive เสียไปด้วย
ข้อเสีย เปลือง HDD มากกว่า RAID 0+1 อีก ;-(
RAID 5
RAID 5 ได้นำข้อดีของ RAID แบบต่างๆ มารวมไว้ในตัวเอง คือ ราคา ประสิทธิภาพ
และความสามารถในการป้องกันข้อมูลสูญหาย เพราะ RAID แบบต่างๆ จะมีข้อดีไม่ครบทั้งหมด
คืออย่างมากก็ได้แค่ 2 ใน 3 อย่าง RAID 1+0 ประสิทธิภาพดี ป้องกันข้อมูลได้
แต่แพงโคตร RAID 5 ต้องการ HDD 3 ตัวในการทำงาน โดยนำเนื้อที่ของ HDD
แต่ละตัวมาเก็บรวมกันเป็น 1 Logic Drive เหมือนการทำงานของ RAID 0 แล้วสร้าง Parity
Bit เพื่อใช้กู้ข้อมูลของแต่ละ Drive ขึ้นมาโดยแยกออกไปเขียนใน Drive อื่นๆ เช่น
Parity Bit ของ HddA จะนำไปไว้ที่ HddC ของ HddC ก็จะนำไปไว้ที่ HddB ส่วนของ HddB
ก็จะนำไปไว้ที่ HddA วนกันไป 555
ข้อดี ข้อมูลไม่หายแน่นอน เพราะมีการเก็บ Parity ไว้ใน HDD แต่ละตัว
แล้วความเร็วในการอ่านข้อมูล ก็เยอะมากๆ ด้วย เนื่องจากมี HDD ถึง 3 ตัวนี่
ข้อเสีย เขียนข้อมูลได้ช้ามากๆ เนื่องจากต้องเขียนข้อมูลแล้ว ยังต้องไปเขีนยน Parity
อีก แล้วยังต้องใช้ HDD ถึง 3 ตัว ซึ่งเปลืองมาก (แต่ก็น้อยกว่า RAID 1+0)
และอัตราความเร็วในการเขียนข้อมูลก็ช้ามากๆ
|