บางเหตุผลที่ทำให้ chrome เป็นเบอร์ 1

chrome is number one
chrome is number one

16 พ.ค.55 ในระบบรายงานสถิติของ truehits.net แสดงให้เห็นว่ามีผู้ใช้ chrome จำนวนมาก จากสถิติการเข้าเว็บไซต์ของ thaiall.com เมื่อพฤษภาคม 2555 พบว่ามีผู้ใช้ chrome มากเป็นอันดับ 1 ราว 46% สลับกับ IE ซึ่งใกล้เคียงกัน 45% แต่อันดับสามคือ firefox 10% .. ซึ่งผมใช้ความรู้สึกในฐานะของสาวก firefox ตัวข้อสงสัยว่าจริงหรือ .. แต่แล้วก็พบเหตุที่ทำให้เป็นเช่นนั้น
1) เมื่อเข้าใช้บริการ google doc แล้วพบข้อความว่า browser ที่คุณใช้อยู่ไม่สนับสนุนการใช้ google doc ถ้าให้ดีควร ใช้ chrome .. เพราะขณะนี้ใช้ firefox อยู่
2) ใน imobile หรือ samsung galaxy ที่ใช้ android ต่างก็ใช้ chrome เป็น default browser แม้มีหลายค่ายให้เลือก แต่คำว่า default browser นี่ชนะมานักต่อนักแล้ว

รายงานการวิจัย 5 บท

Peer review for quite improvement
Peer review for quite improvement

http://myathleticlife.com/components-of-a-research-report/

มีผู้รู้ 2 ท่าน คือ อ.ทันฉลอง ที่สอนด้วย case study และ อ.อุดม สอนด้วย movie แบบมืออาชีพ .. ทำให้ผมคิดได้ว่าฐานข้อมูล /handbill ที่ผมเคยทำไว้หลายปีก่อน น่าจะ upgrade ในรูปของการวิเคราะห์จากฝั่งผู้ชมอย่างผมบ้าง  โดยใช้หัวข้อการเขียนรายงานการวิจัย 5 บทมาเป็นฐาน เพราะภาพยนตร์แต่ละเรื่องมี 5 ประเด็นให้ชวนคิด คือ 1) ที่มา 2) ทฤษฎีรองรับ 3) วิธีเดินเรื่อง 4) ผลจากการรับสาร 5) อภิปรายผลโดยผู้รับสื่อ มีภาพยนตร์มากมาย ที่สามารถคิดตาม 5 ประเด็นข้างต้น อาทิ davinci code และ matrix และ avatar และ source code .. ตอนนี้เป็นแค่แนวคิด ยังไม่ได้วางโครงสร้างข้อมูลเลยครับ
http://www.thaiall.com/handbill/

องค์ประกอบของรายงานการวิจัย
บทที่ 1 บทนำ (Introduction)
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Background)
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย (Methodology)
บทที่ 4 ผลการวิจัย (Results)
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ (Conclusions and Recommendations)
http://www.scribd.com/doc/24495903/Elements-of-a-Research-Proposal-and-Report

Research report components
1. abstract
2. introduction
3. methodology
4. results
5. discussion
6. references
http://myathleticlife.com/components-of-a-research-report/

Five Chapter Thesis
CH I – Examines the elements found in the Introductory Chapter of a thesis.
CH II – Overviews the Literature Review.
CH III – Insight into the complex world of reseach methodology.
CH IV – Provides the elements necessary to present a complete Findings or Results section.
CH V – Conclusions and Recommendations section is outlined.
http://www.papermasters.com/five_chapter_thesis.html

Basic  Structure
* Title – Author(s)
* Abstract
* Table of Contents
* Introduction
* Equipment and Methodology
* Results AND Discussion
* Conclusions
* References and Citations
* Appendices
http://www.experiment-resources.com/research-paper-outline.html

Web guides
http://www.aresearchguide.com
http://www.ruf.rice.edu/~bioslabs/tools/report/reportform.html

วิชาเลือกเพิ่มเติมและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

วิชาเลือกเพิ่มเติม และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
วิชาเลือกเพิ่มเติม และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

12 พ.ค.55 โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ลำปาง จัดพิธีมอบตัว และพบปะผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ณ อาคารบุญชู ตรีทอง โดยผู้บริหาร 5 ท่าน อธิบายเชิงนโยบายโดย ผอ.เบญจวรรณ ไกรวุฒินันท์ ตามด้วยวิชาการ การเงิน กิจกรรม และบริหารทั่วไป ท่านจะเกษียณเดือนกันยายน 2555 แล้ว มีนักเรียนประมาณ 650 คน เตรียมเก้าอีไว้ 900 ตัว ไม่พอครับ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากโครงการเรียนฟรี 15 ปีของรัฐอีก 2,700 บาท โดยโอนตังผ่านธนาคาร แล้วนำหลักฐานมาแสดง ปี2554 โรงเรียนได้รับการจัดอันดับได้ที่ 5 ของประเทศ แล้วช่อง 3 มาทำรายการที่โรงเรียน ท่านรองผอ.ชี้แจงเรื่องซีดีเพลงใหม่ของโรงเรียน แผ่นละ 100 บาท มีเพลง 12 เพลง ได้แก่ มาร์ชสุดดีบุญวาทย์ :: จุดไฟแห่งฝัน :: มาร์ชศักดิ์ศรีบุญวาทย์ :: บุญวาทย์เอ๋ย :: ลูกพ่อเจ้าบุญวาทย์ :: บุญวาทย์ก้าวหน้า :: ไหว้สาบารมีพ่อเจ้า :: ลูกพ่อขอเป็นคนดี :: เส้นทางชีวิต :: เพื่อนเอ๋ย .. เราเคยรักกัน :: ฟ้อนปูจาไหว้สาพ่อเจ้าบุญวาทย์ :: บุญวาทย์รวมใจก้าวไกลสู่อาเซียน
วันรุ่งขึ้น ฝนดาว ก็เข้าเว็บ bwc.ac.th เพื่อเข้าไปลงวิชาเลือกเพิ่มเติมและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ปี 2555 ที่ http://58.137.128.196/register55/index.php (ตอนลงวิชาที่ 2  เน็ตที่บ้านล่มไปครู่หนึ่ง) ของ ม.2 มีให้เลือกกว่า 153 รายการ และต้องเลือกให้ครบ 4 คาบต่อสัปดาห์ (วิชาละประมาณ 2 คาบ)เช่น กระบี่ กรีฑา การเข้าใจแผนที่ การเขียนเชิงสร้างสรรค์ การจัดสวนถาด การดำเนินงานร้านขายปลีก การบัญชีครอบครัว การประดิษฐ์เครื่องบินเล็กบังคับวิทยุ การปลูกพืชผักทั่วไป 2 การปลูกพืชไร้ดิน 2 การปลูกพืชสมุนไพร 2 การผสมดินปลูก การพิมพ์สร้างสรรค์ การวาดภาพตัวละคร การออกแบบตัวอักษร การอ่านเพื่อความเข้าใจ การอ่านเพื่อชีวิตประจำวัน เขียนแบบ 1 การโปรแกรมเบื้องต้น การพัฒนาเว็บเพจ คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย คอมพิวเตอร์แอนิเมชั้น องค์ประกอบคอมพิวเตอร์ โครงงานวิทยาศาสตร์ งานบัญชีกิจการบริการ งานใบตอง งานพิมพ์ดีดภาษาไทย ช่างซ่อมบำรุงรักษารถจักรยานยนต์ ช่างเดินสายไฟฟ้าในอาคาร ช่างปะยางรถยนต์และรถจักร์ยานยนต์ ตุ๊กตาแสนสวย นิทานพื้นบ้าน เปตอง ผ้ามัดย้อม พันธุกรรมและการอยู่รอด ฟุตบอล ภาษาฝรั่งเศษเพื่อชีวิตประจำวัน 1 ภาษาอังกฤษฟัง-พูด มวยไทย วาดเส้นสร้างสรรค์ วิทยาศาสตร์กับการแก้ปัญหา ศิลปะป้องกันตัว สารเคมีในชีวิตประจำวัน สีน้ำแสนสนุก สีไม้กระดาษสา เสริมทักษะภาษาไทย หลักภาษาเพื่อการสื่อสาร ออกแบบเบื้องต้น อาเซียนศึกษา อาหารไทย (นี่เป็นรายวิชาของ ม.2 จริง ๆ ครับ เทอมแรกเคยเลือกคณิตเพิ่มเติม กับอังกฤษเพิ่มเติม ผลออกมาชุดเกรด พอเทอมต่อมาก็เลยเลือกวิชาปลูกผัก กับปลูกพืชไร้ดิน ใน ม.2 เลือกอาเซียนศึกษา กับวิทยาศาสตร์กับการแก้ปัญหา 🙂

ldap ล้ม .. ทำอย่างไรดี

ldap diagram
ldap diagram
สาเหตุ
อาการ คือ เครื่อง Redhat linux server ไม่ตื่น
เพราะบริการ ldap ไม่ตอบสนอง ที่หน้า console ค้างที่ swap ขณะบูท
บทเรียนการดำเนินการ
1. กด i ขณะเข้าเครื่องเพื่อเปิดบริการทีละรายการ
เมื่อพบ ldap ก็กดปุ่ม N เพื่อขอไม่เปิด ก็จะเข้าเครื่องไปตรวจรายละเอียดได้
2. ใช้ df ตรวจ space ของเครื่อง พบว่าพื้นที่ในเครื่องเหลือปกติ
3. more /etc/ldap.conf
พบ host กับ base แต่ก็ไม่ใช่สาเหตุ เพราะปัญหาเกิดหลังไฟฟ้าดับ และไม่มีใครแก้ไข config
4. /etc/init.d/ldap start
พบคำว่า checking configuration files for sldapd: แล้วค้าง
Ctrl-C ก็หลุดออกมา
5. เข้าห้อง /var/lib/ldap แล้วย้ายห้องข้อมูล ldap เดิมออกไป
เพราะสาเหตุน่าจะเกิดจากไฟฟ้าดับ แล้วแฟ้มข้อมูลเสีย
แล้วใส่ข้อมูลใหม่เข้าไปใหม่ ก็ใช้ ldap ได้ปกติ
6. การใช้แฟ้มที่ backup ไว้
– ต้อง chmod ldap:ldap สำหรับแฟ้ม __* ใหม่
– #/etc/init.d/restart ถ้าทำ 2 ครั้งแล้ว stop ไม่ลง แสดงว่า start ไม่สำเร็จ
– # natstat -na |grep 389 เพื่อดูว่า ldap เปิดหรือไม่
แหล่งที่น่าสนใจ

CN – Common Name

DN – Distinguished Name ชื่อจำแนก

OU – Organizational unit


งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์

research
research

http://www.riclib.nrct.go.th/database/database.html

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
นายศุภชัย ธรรมวงศ์  (2551) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลบนเว็บไซต์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงเว็บไซต์สำนักงานฯ ให้เป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูล ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร กิจกรรม และเป็นเครื่องมือในการทำงาน โดยใช้ภาษาพีเอชพี และโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล
เว็บไซต์แบ่งได้ 2 ส่วนที่สำคัญ คือ ส่วนของเจ้าหน้าที่และบุคคลทั่วไป และส่วนระบบบริหารจัดการข้อมูล เป็นส่วนของผู้ดูแลระบบและผู้รับผิดชอบจากแต่ละหน่วยงาน ให้บริการข้อมูลได้แก่ ข้อมูลวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ การจองการใช้งานห้องประชุม รถยนต์ เครื่องโปรเจคเตอร์ การจัดการข้อมูลประชากร สถานการณ์โรคเอดส์ การจัดอันดับสถานการณ์โรคติดต่อต่าง ๆ การจัดการข้อมูลบุคลากร การจัดการไฟล์ดาวน์โหลด การจัดการอัลบั้มภาพ การจัดการข่าวกิจกรรม ข่าวประกวดราคา ข่าวประชาสัมพันธ์ บทความ ซึ่งผลการประเมินความพึงพอใจด้วยแบบสอบถามพบว่า 1) กลุ่มผู้ดูแลระบบ มีความพึงพอในระดับดี (ค่าเฉลี่ย 4.35) 2) กลุ่มเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบข้อมูล มีความพึงพอใจในระดับดี (ค่าเฉลี่ย 4.25) และ 3) กลุ่มเจ้าหน้าที่ และบุคคลทั่วไป มีความพึงพอใจระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.75) สรุปได้ว่าเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
ที่มา http://ss.lib.cmu.ac.th/digital_collection/etheses/fulltext.php?id=18408 (7 พ.ค.55)

นางสาวมานีสงค์ ปฐมวิริยะวงศ์ (2550) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อเว็บไซต์สถาบันของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ เหตุผลที่ใช้เว็บไซต์ ลักษณะของการใช้ประโยชน์ และระดับความพึงพอใจต่อเว็บไซต์สถาบันของนักศึกษา ใช้วิธีการสำรวม สุ่มตัวอย่างนักศึกษาจำนวน 400 คน พบว่า พฤติกรรมการใช้เว็บไซต์สถาบันมีความถี่ 1 – 3 ครั้งต่อเดือน แต่ละครั้งใช้เวลา 15 – 29 นาที ส่วนใหญ่เข้าเว็บไซต์เพื่อรับทราบข้อมูลข่าวสาร และเพื่อติดต่อสื่อสารกับสถาบันในระบบของการลงทะเบียน การตรวจสอบผลการศึกษา และการสืบค้นข้อมูลประกอบการศึกษา วิจัย และรายงาน
ผลเปรียบเทียบด้านเพศ ระดับการศึกษา และรายได้ พบว่าไม่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้เว็บไซต์สถาบัน แต่นักศึกษาที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ และโมเด็มของตนเองจะมีพฤติกรรมการใช้เว็บไซต์แตกต่างกับนักศึกษาที่ไม่มีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ประเด็นความต้องการของนักศึกษา มากที่สุด คือ ต้องการให้เว็บไซต์ของสถาบันปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ รองลงมาคือควรปรับปรุงการออกแบบตกแต่งเว็บไซต์ และจัดหมวดหมู่ให้เป็นระเบียบเพื่อสืบค้นได้ง่าย มีข้อเสนอแนะให้เพิ่มความสามารถของเครื่องบริการ เพื่อการเชื่อมโยงกับเว็บไซต์ที่น่าสนใจ เพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารกับผู้บิรหาร อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญ
ที่มา http://www.riclib.nrct.go.th/abs/2550%5Cab177813.pdf (7 พ.ค.55)
ที่มา http://rir.nrct.go.th/rir/?page=researching&nid=26608 (12 ต.ค.58)

การติดตั้ง drupal 7.8

drupal
drupal

ขั้นตอนการติดตั้ง drupal ซึ่งทดสอบใน thaiabc.com มีดังนี้
1. create database = drupal ใน mysql
2. download script แล้ววางไว้ในห้อง drupal ของ root
3. เปิด http://127.0.0.1/drupal/install.php
4. เลือก standard, english
Set up database
Database name = drupal
Database username = root
Database password = ว่างไว้
5. ดำเนินการจนติดตั้งสำเร็จ
6. http://127.0.0.1/drupal
7. Create new account
username = test
8. เข้าระบบในฐานะ admin ด้วย
Username = thaiabc
Password = abc2008
9. menu, People,
click edit of “test” user
Password = test2008
Status = active
10. menu, Modules
Blog = Enabled
11. add blog or menu

ขั้นตอนการติดตั้ง moodle 1.9.12 และ senayan3

โปรแกรม senayan3
โปรแกรม senayan3

บันทึกขั้นตอน จากกิจกรรมปรับปรุงรุ่นของโปรแกรมแก้วสารพัดนึกใน thaiabc.com เป็นรุ่น 8.0 โดยเพิ่ม moodle1.9.12 จากที่มี moodle1.5 ทำให้มี e-learning ใช้ 2 รุ่นและเปรียบเทียบกันได้ เหตุผลที่เลือก 1.9 เพราะที่  thaiall.com/moodle ใช้รุ่นนี้มาปีกว่าแล้ว แต่ไม่ใช้รุ่น 2.0 ขึ้นไป ด้วยเหตุว่า backup ในรุ่น 2.0 จะนำไป restore ใน 1.9 ไม่ได้ ถ้านำ backup ของ 1.9 ไป restore ใน 2.0 นั้นทำได้ และจากการทดสอบ restore  course จาก thaiall.com/moodle ในเครื่องใหม่นี้ พบว่านำมาใช้ได้ตามปกติ

ขั้นตอนการติดตั้ง moodle 1.9.12

1. เปิดบริการ apache2.0.52 และ mysql5.5.16
ตอนเปิดบริการในเครื่องที่ติดตั้ง skype อาจพบปัญหา port 80 ชนกันได้ครับ
2. เตรียม scripts ในห้อง /moodle19
3. สร้างห้อง /moodledoc19 เตรียมรับข้อมูลจากผู้ใช้
4. เริ่มติดตั้งด้วยการเรียก /moodle19/install.php
5. ต้องแก้ไข register_globals=Off ใน php.ini แล้วก็ restart apache
ถ้าไม่รู้ว่า php.ini อยู่ห้องใดก็เรียก function phpinfo()
6. พบขั้นตอนการติดตั้งดังนี้
– Checking your PHP settings
– Please conform the locations of this Moodle installation
Web Address = http://127.0.0.1/moodle19
Data Directory = C:\thaiabc\moodledata
– Now you need to configure the database
Type = MySQL
Host Server = localhost
Database = moodle19 (Create DB automatically)
User = root
Password = ว่างไว้
– Checking your environment
– Download language pack
– Configuration completed
– Copyright notice
– Current release information Moodle 1.9.12 (Build: 20110510)
– Setting up database : Database was successfully upgraded
– Setup administrator account.
Username = admin
password = Password#2555
– New settings – Front Page settings
Self registration = Email-based self-registration
7. ผลการเรียก http://127.0.0.1/moodle19 พบว่าปกติ
8. สร้างวิชา และ upload แฟ้มภาพ และเรียกใช้แฟ้มภาพ ไม่พบปัญหา

ขั้นตอนการ Restore course ของ moodle 1.9.12
1. เข้าไปในวิชาที่สร้างไว้แล้ว
2. เลือก Restore
3. เลือกแฟ้มที่ Backup ไว้จาก server อีกตัวหนึ่ง
4. เมื่อถามว่า Restore to
– Current course, deleting it first
– Current course, ading data to it
– new course
5. ทดสอบทั้ง 3 แบบ พบว่าใช้งานได้ปกติ
6. ถ้าทดสอบ new course ก็จะได้วิชาใหม่อีก 1 วิชา ไม่ทับวิชาเดิม

ขั้นตอนการติดตั้ง senayan3
1. เปิดโปรแกรม phpmyadmin
2. สร้าง db : senayan3 แล้วเข้าไปใน db นี้
3. สั่งประมวลผล sql 2 แฟ้มในห้อง /senayan3/sql/install
4. เริ่มจาก import แฟ้ม senayan.sql ตามด้วย  sample_data.sql
5. แก้ไข sysconfig.inc.php
define(‘DB_NAME’, ‘senayan3’);
define(‘DB_USERNAME’, ‘root’);
define(‘DB_PASSWORD’, ”);
6. เข้าระบบด้วย
user: admin
password: admin
7. ทดสอบที่ http://127.0.0.1/senayan3 พบว่าใช้งานได้ปกติ
8. แก้ไขตัวแปรใน sysconfig.inc.php อีก 2 ตัวแปร
$sysconf[‘mysqldump’] = ‘c:/thaiabc/mysql/data’;
$sysconf[‘temp_dir’] = ‘c:/tmp’;

http://www.thaiall.com/blog/burin/3955/
http://slims.web.id/web/
http://sourceforge.net/projects/senayanlib/
http://www.senayan.kru-ple.com/

SENAYAN 3.0 stable
Core Senayan Developer :
Hendro Wicaksono – hendrowicaksono@yahoo.com
Arie Nugraha – dicarve@yahoo.com
Below are the instructions for new installation of SENAYAN :
1. Put senayan3-stable3 folder in web document root
2. create senayan database in mysql
3. Open your phpMyAdmin or mysql client utility (or other mysql manager softwares) and
run sql/install/senayan.sql inside your SENAYAN application database.
4. Re-check your database configurations and others configuration in sysconfig.inc.php.
5. If you have your own custom template, Adjust detail_template.php file or just overwrite it
with detail_template.php from default template directory

ตรวจเยี่ยมในฐานะเพื่อน (peer visit)

รศ.อุษณีย์ คำประกอบ
รศ.อุษณีย์ คำประกอบ

3 เม.ย.55 มีโอกาสคุยกับคุณหนุ่ม และคุณกวาง ผ่าน IP Phone เรื่อง ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การวิจัย และบริการวิชาการ ว่าการเริ่มต้นเขียนเป็นอย่างไร การปรับปรุง การให้ข้อเสนอแนะ การหาหลักฐาน การแบ่งปัน การจัดทำให้ครบถ้วนตามอัตภาพ และความหมายของการเยือนในฐานะเพื่อน เป็นการพูดคุยกันแบบแยกส่วน (มี share ครับ)

แล้วก็คิดถึง รศ.อุษณีย์ คำประกอบ ซึ่งถือเป็นวิทยากร ด้านการประกันคุณภาพของ สกอ. ที่หาตัวจับยาก หรือเรียกได้ว่าเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศก็ว่าได้ เพราะเคยพูดคุยแลกเปลี่ยนแล้ว ท่านตอบข้อซักถามได้อย่างกระจ่างแจ้ง มีความเป็นกัลยาณมิตร หวังดีที่จะเห็นองค์กร และเพื่อนร่วมงาน ทำงานร่วมกันอย่างมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่ สกอ. กำหนดมาให้ดำเนินการทั้งประเทศ

หมวกคิดแบบหมวก 6 ใบ (Six Thinking Hats)

Six Thinking Hats‘ is an important and powerful technique. It is used to look at decisions from a number of important perspectives (มุมมอง). This forces you to move outside your habitual thinking style, and helps you to get a more rounded view of a situation.

This tool was created by Edward de Bono in his book ‘6 Thinking Hats‘.

นักศึกษาที่ชื่อ น.ส.ศัลณ์ษิกา ไชยกุล ช่วยแปลจากคลิ๊ปให้
The Blue Hat
– What is our agenda?
วาระการประชุมของพวกเราคืออะไร
– What our next step and next hat?
หมวกต่อไปและก้าวต่อไปของพวกเราคืออะไร
– What is our decision?
การตัดสินใจของพวกเราคืออะไร

The White Hat
– What information is available?
ข้อมูลที่สามารถใช้ได้คืออะไร
– What information would we like and what do we need?
ข้อมูลอะไรที่ใช้ได้ และอะไรที่เราต้องการเพิ่ม
– How are we going to get the missing information?
พวกเราต้องทำอย่างไรเพื่อให้ได้รับข้อมูลที่สูญหายไป

The Yellow Hat
– What are the benefits?
ผลประโยชน์คืออะไร
– What are the positives and the values?
คุณค่า และการคิดบวกคืออะไร
– Is there a concept in the idea that makes it attractive?
พอจะมีความคิดอะไรในแนวคิดที่น่าสนใจหรือไม่

The Black Hat
– What could be the potential problems?
ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้คืออะไร
– What could some at the difficulties be?
มีอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคหรือทำได้ยาก
– What are the points of caution and risk?
จุดที่ควรระมัดระวังและมีความเสี่ยงคืออะไร

The Green Hat
– Are there other ways that this can be done?
มีทางอื่นที่สามารถทำได้หรือไม่
– What else can be done?
มีอะไรที่ทำได้อีกบ้าง
– What will overcome our difficulties?
อะไรคือสิ่งที่จะเอาชนะอุปสรรคของพวกเรา

The Red Hat
– What are my feelings now?
ตอนนี้ความรู้สึกของฉันคืออะไร
– What does my intuition tell me?
สัญชาตญาณของฉันบอกอะไร
– What’s my gut reaction?
ปฎิกิริยาที่มาจากภายในคืออะไร

Many successful people think from a very rational, positive viewpoint. This is part of the reason that they are successful. Often, though, they may fail to look at a problem from an emotional, intuitive, creative or negative viewpoint. This can mean that they underestimate resistance to plans, fail to make creative leaps and do not make essential contingency (ฉุกเฉิน) plans.

Similarly, pessimists (ผู้มองในแง่ร้าย) may be excessively defensive, and more emotional people may fail to look at decisions calmly and rationally.

If you look at a problem with the ‘Six Thinking Hats’ technique, then you will solve it using all approaches. Your decisions and plans will mix ambition (ความใฝ่ฝัน), skill in execution, public sensitivity, creativity and good contingency (ฉุกเฉิน) planning.

How to Use the Tool:
You can use Six Thinking Hats in meetings or on your own. In meetings it has the benefit of blocking the confrontations (การเผชิญหน้า) that happen when people with different thinking styles discuss the same problem.

Each ‘Thinking Hat‘ is a different style of thinking. These are explained below:

1. White Hat: ใช้ข้อมูลข่าวสาร
With this thinking hat you focus on the data available (ข้อมูลที่มี). Look at the information you have, and see what you can learn from it. Look for gaps in your knowledge, and either try to fill them or take account of them. This is where you analyze past trends, and try to extrapolate (คาดการณ์)  from historical data.

2. Red Hat: ใช้อารมณ์ความรู้สึก
‘Wearing’ the red hat, you look at problems using intuition (การหยั่งรู้ การรู้โดยสัญชาติญาณ), gut (ลำใส้) reaction , and emotion(อารมณ์). Also try to think how other people will react emotionally. Try to understand the responses of people who do not fully know your reasoning.

3. Black Hat: ใช้การตั้งคำถามหรือตั้งข้อสงสัยมุมลบ
Using black hat thinking, look at all the bad points of the decision. Look at it cautiously and defensively. Try to see why it might not work. This is important because it highlights the weak points in a plan. It allows you to eliminate them, alter them, or prepare contingency plans to counter them.
Black Hat thinking helps to make your plans ‘tougher(ยากขึ้น)’ and more resilient (ยืดหยุ่น). It can also help you to spot fatal flaws and risks before you embark (เริ่มดำเนินการ) on a course of action. Black Hat thinking is one of the real benefits of this technique, as many successful people get so used to thinking positively that often they cannot see problems in advance. This leaves them under-prepared for difficulties.

4. Yellow Hat: ใช้การมองในแง่ดี และมีความหวัง
The yellow hat helps you to think positively. It is the optimistic viewpoint that helps you to see all the benefits of the decision and the value in it. Yellow Hat thinking helps you to keep going when everything looks gloomy (มืดมน) and difficult.

5. Green Hat: ใช้การคิดอย่างสร้างสรรค์
The Green Hat stands for creativity. This is where you can develop creative solutions to a problem. It is a freewheeling way of thinking, in which there is little criticism of ideas. A whole range of creativity tools can help you here.

6. Blue Hat: ใช้การควบคุมความคิดทั้งหมดให้มองเห็นภาพรวมของการคิด
The Blue Hat stands for process control. This is the hat worn by people chairing meetings. When running into difficulties because ideas are running dry, they may direct activity into Green Hat thinking. When contingency plans are needed, they will ask for Black Hat thinking, etc.

A variant of this technique is to look at problems from the point of view of different professionals (e.g. doctors, architects, sales directors, etc.) or different customers.

http://www.mindtools.com/pages/article/newTED_07.htm
http://kittikoon.multiply.com/journal/item/47/47
http://www.debonogroup.com/six_thinking_hats.php
http://www.tistr.or.th/tistrblog/?p=754

six hats
six hats

Using Six Thinking Hats®, team will learn how to:

* look at problems, decisions, and opportunities systematically
* use Parallel Thinking™ as a group or team to generate more, better ideas and solutions
* make meetings much shorter and more productive
* reduce conflict among team members or meeting participants
* stimulate innovation by generating more and better ideas quickly
* create dynamic, results oriented (มุ่งเน้น) meetings that make people want to participate
* go beyond the obvious to discover effective alternate solutions
* spot opportunities where others see only problems
* think clearly and objectively
* view problems from new and unusual angles
* make thorough evaluations
* see all sides of a situation
* keep egos and “turf (สนามหญ้า) protection” in check
* achieve (การทำให้สำเร็จ) significant and meaningful results

สอนอย่างมีสไตล์…แบบฉบับสุทธิชัย หยุ่น

สอนอย่างมีสไตล์...แบบฉบับสุทธิชัย หยุ่น
สอนอย่างมีสไตล์...แบบฉบับสุทธิชัย หยุ่น
สอนอย่างมีสไตล์…แบบฉบับสุทธิชัย หยุ่น
โดย สุดถนอม  รอดสว่าง (31 มีนาคม 2555)
หากใครถามว่า เทคนิคการสอนที่ดีเป็นอย่างไร คำตอบนั้นอาจมีหลายแนวทาง สำหรับเทคนิคการสอนอีกแนวทางหนึ่งที่ดิฉันมาแบ่งปันในครั้งนี้ ได้มาจากการไปฟังบรรยายพิเศษของคุณสุทธิชัย หยุ่น บรรณาธิการอำนวยการเครือเนชั่น กรุ๊ป และคนต้นแบบของนักสื่อสารมวลชนเมืองไทย เรื่อง “ทิศทางสื่อ ทิศทางวารสารศาสตร์”  ในงานสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นการประชุมเครือข่ายนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน ประจำปี 2555  โดยจัดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ที่ผ่านมา การไปร่วมงานในครั้งนี้ นอกจากจะได้ความรู้ มุมมองใหม่ เกี่ยวกับสถานการณ์ที่นักวิชาชีพสื่อมวลชนกำลังเผชิญอยู่ ยังได้เห็นวิธีการบรรยายที่เรียบง่าย แต่น่าติดตาม ซึ่งดิฉันคิดว่าเราสามารถนำมาปรับใช้เป็นเทคนิคการสอนตามแบบฉบับสุทธิชัย หยุ่น ได้ดังนี้
ประการแรก อาจารย์ต้องทำการบ้าน จากเนื้อหาที่คุณสุทธิชัยพูด สะท้อนให้เห็นว่าได้เตรียมพร้อมในเรื่องที่จะพูดเป็นอย่างดี  มีการวิเคราะห์กลุ่มผู้ฟัง และตีโจทย์แตกว่า ต้องพูดเรื่องอะไร ประเด็นไหนบ้าง พร้อมทั้งกำหนดรูปแบบและวิธีการนำเสนอเพื่อให้การบรรยายน่าติดตาม
ประการที่สอง กำหนดวิธีการเล่าเรื่องและลำดับเนื้อหาที่จะพูด  คุณสุทธิชัย เริ่มการบรรยายด้วยการพูดถึงประเด็นปัญหาที่นักวิชาชีพสื่อมวลชนกำลังประสบอยู่ โดยเปรียบปัญหาเทียบเท่ากับ Perfect Storm ที่นักเดินเรือจะบังคับเรือไปข้างหน้าก็ไม่รู้ทาง จะถอยก็ถอยไม่ได้ หากนักวิชาชีพสื่อมวลชนจะออกจาก Perfect Storm นี้ได้ ก็ต้องมีการปรับตัว (Adapt) พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และวางแผนการปฏิบัติงานในอนาคต หลังจากที่อธิบายให้เข้าใจประเด็นปัญหาแล้ว คุณสุทธิชัยได้ตั้งคำถามนำก่อนที่จะอธิบายขยายความ และยกตัวอย่าง เพื่อให้ผู้ฟังได้เข้าใจชัดเจนขึ้น หากไม่กำหนดประเด็น และลำดับเนื้อหา วิธีการเล่าเรื่อง ผู้สอนอาจจะบรรยายวกวน ไม่น่าสนใจได้
นอกจากนี้ ต้องมีลูกเล่น  ดิฉันเชื่อว่าเสน่ห์ของการบรรยายหรือการสอนที่ดีนั้น คือ ลูกเล่นหรืออารมณ์ขันของผู้บรรยาย หากมีเนื้อหาที่น่าสนใจ แต่ไม่มีลูกเล่นผู้ฟังก็เบื่อได้ ด้วยความเก๋าของอดีตพิธีกรดำเนินรายการข่าวที่มีจุดเด่นด้วยลีลาการสัมภาษณ์อย่างตรงไปตรงมาและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้การบรรยายมีสีสัน และสะกดผู้ฟังได้ตลอด โดยคุณสุทธิชัยเริ่มบรรยายจากการถามผู้ฟังว่าจะให้บรรยายแบบ twitter หรือบรรยายแบบเล่าข่าว หลังจากนั้นก็ประกาศว่าจะบรรยายพิเศษตามลักษณะของการเล่น twitter ที่พิมพ์ข้อความได้เพียงสั้นๆ แค่ 140 ตัวอักษร และเริ่มต้นบรรยายพร้อมสรุปจบการบรรยายอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่นาที ก่อนที่จะมีหน้าม้ายกมือขอให้บรรยายเพิ่ม และเปลี่ยนเป็นการบรรยายแบบเล่าข่าวแทน  อย่างไรก็ตาม ลูกเล่นที่กล่าวถึงนั้น ไม่ใช่แค่เพียงลีลาการพูด คำคม อารมณ์ขันของผู้บรรยายเท่านั้น แต่หมายรวมถึงข้อมูลอ้างอิง รูปภาพ คลิปวีดิโอที่หลากหลาย ซึ่งคุณสุทธิชัยได้นำมาใช้ประกอบการบรรยายอีกด้วย
ประการสุดท้ายที่สำคัญที่สุด ได้แก่ เนื้อหา หากลีลาดี แต่ไม่มีประเด็นที่ใหม่ น่าสนใจ และน่าเชื่อถือแล้ว การบรรยายหรือการสอนนั้นก็จะไม่ประสบความสำเร็จ
สำหรับเนื้อหาที่คุณสุทธิชัย บรรยายถึงทิศทางสื่อ ทิศทางวารสารศาสตร์ นั้น คุณสุทธิชัยมองว่าเทคโนโลยีเปลี่ยน ดังนั้นเราควรจะต้องมาทบทวน หาแนวทางใหม่ที่จะสอนนักสื่อสารมวลชนรุ่นใหม่ ให้สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานข่าว เพื่อให้เกิดความคล่องตัว ทันเหตุการณ์ และที่สำคัญสามารถผลิตข่าวที่มีคุณภาพได้  โดยในการกำหนดอนาคตของการเรียนการสอนวารสารศาสตร์นั้น คุณสุทธิชัยเสนอว่า ผู้สอนต้องตอบคำถาม 3 ข้อ ให้ได้ก่อนว่าเราจะ สอนใคร สอนอะไร และสอนทำไม โดยมีรายละเอียด ดังนี้
สอนใคร ในมุมมองของคุณสุทธิชัย หยุ่น คำว่า “สอนใคร” หมายความว่า “เราจะสอนให้เป็นอะไร”  โดยคุณสุทธิชัยได้กำหนดบัญญัติ 5 ประการ สำหรับการเป็นคนข่าวยุคใหม่ ดังนี้
1. เป็นนักวิเคราะห์ข่าวดิจิทัลทุก Platform โดยนักข่าวสามารถหาข้อมูลมาทำข่าว และบรรณาธิกรข่าวได้ทุกแบบไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ รวมทั้งสามารถตัดต่อรายการเองได้
2. เป็น Curator ของ Content ทุกรูปแบบ ในกรณีนี้ Curator น่าจะหมายถึงผู้สะสม และเสาะหาข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการทำข่าว ซึ่งไม่ควรหยุดนิ่ง ต้องแสวงหาข้อมูลใหม่เสมอ โดยใช้ Social Media ในการหาข้อมูล
3. เป็น Julian Assange แห่ง Wikileaks หมายความว่า คนข่าวรุ่นใหม่ ควรเป็นนักเจาะข่าว สามารถล้วงความลับที่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเข้าถึงได้ แต่เป็นความลับที่เป็นประโยชน์ เป็น Public Interest ซึ่งในโลกดิจิทัลมีวิธีการเจาะข่าวหลายแบบ นักข่าวต้องรู้วิธีล้วงข้อมูลลับ โดยใช้ Social Media มาช่วยในการทำข่าวและนำเสนอข้อเท็จจริงให้ประชาชนรู้
4. เป็น Multimedia User หรือ นักสื่อสารกับมวลชนผ่านทุกสื่อ Online สามารถใช้เครื่องมือทุกอย่างทำข่าวได้
5. เป็น Entrepreneur Journalist กล่าวคือ สามารถเป็นเจ้าของสื่อ เนื่องจาก Social Media จะทำให้ระบบนายทุนสื่อหายไป เพราะคนมีช่องทางในการสื่อสารมากขึ้น และสามารถสร้างช่องหรือทำรายการของตนเองผ่าน YouTube โดยผู้เสพสื่อไม่จำเป็นต้องรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อหลัก เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เสมอไป  ดังนั้น โอกาสในการเป็นผู้ประกอบการจึงมีให้กับทุกคน
สอนอะไร ในอนาคตอาจารย์ผู้สอนควรเน้นสอนแนวทาง หรือวิธีการให้นักศึกษาเป็นคนข่าวยุคใหม่ โดยควรสอน ดังนี้
1. สอนความมุ่งมั่นทุ่มเท (Passion) ในการทำงาน เพื่อความยุติธรรม และความเป็นธรรมของสังคม
2. สอนคิดให้เป็น (Critical Thinking) ผู้สอนต้องสอนให้นักศึกษาสามารถแยกแยะเหตุผล โฆษณาชวนเชื่อ และอารมณ์ได้ โดยควรสอนให้คิดวิเคราะห์ ไม่นำอารมณ์มากำหนดว่าอะไรดีหรือเลว
3. สอนเขียนหนังสือให้เป็น (Clear, Focused writing) เพราะถ้านักศึกษาสื่อภาษาไม่ได้ จะรายงานข่าวไม่ได้
4. สอนจริยธรรม (Ethics) ผู้สอนควรสร้างค่านิยมตั้งแต่เริ่มเรียนว่าภารกิจหลักของนักข่าวไม่ใช่แค่วิ่งหาข่าว แต่ต้องทำให้สังคมดีขึ้น ต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม ไม่ว่าเทคโนโลยีจะเปลี่ยนไปแค่ไหน นักข่าวก็จะคงอยู่ได้ถ้าหากมีคุณธรรม
5. สอนทักษะการใช้ New Media ทุกประเภท
6. สอน Short – Form และ Long – Form Journalism โดยเฉพาะการเขียนข่าวแบบ Long – Form Journalism ซึ่งต้องมีการวิเคราะห์ มีเหตุผล มีประเด็น แสดงความคิดเห็น พร้อมหาข้อมูลอ้างอิงประกอบเพื่อให้น่าสนใจ และต้องเขียนได้ทั้งในมิติสั้น ยาว ลึก
7. สอนการใช้ Social Media for Investigative Reporting หรือการรายงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน หากใช้ Social Media เป็น จะสามารถระดมความคิด และข้อมูลจากคนจำนวนมาก (Crowd Sourcing) เพื่อนำมาใช้ในการรายงานข่าวเชิงลึกได้
8. สอนสร้างหนังโดยใช้ Smartphone เนื่องจากปัจจุบัน Smartphone ได้ปลดแอกสื่อแล้ว หากนักข่าวมีโทรศัพท์เพียงเครื่องเดียวก็สามารถถ่ายคลิป ทำข่าว ตัดต่อและส่งข่าวได้
สอนทำไม คำตอบสั้นๆ ง่ายๆ แต่โดนใจทุกคนก็คือ สอนให้นักศึกษาทุกคนเป็นบุคลากรที่ทันกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม
ปิดท้ายด้วยคำถามชวนคิด ว่า “แล้วใครจะสอนครู?” แม้ว่าจะยังไม่มีข้อสรุปในประเด็นนี้ อย่างน้อยการบรรยายพิเศษครั้งนี้ คุณสุทธิชัย หยุ่น ก็ได้ทำหน้าที่เป็นคนสอนครูตัวเล็กๆ อย่างดิฉัน ให้ Adapt … Not to Die in a Perfect Storm.