มีโอกาสเข้าร่วมงาน “ประเพณีสงกรานต์ตำบลไหล่หิน และปีใหม่เมืองวัดไหล่หินหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ประจำปี 2552” เมื่อวันศุกร์ที่ 17 เมษายน 2552 ได้เดินถ่ายภาพตั้งแต่ก่อนเริ่มขบวนจนเสร็จพิธีเกือบ 4 ชั่วโมง เลือกภาพมาได้ 96 ภาพ แล้วบีบให้เหลือขนาด 1024 * 768 pixels เพื่อเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต แต่ภาพขนาดเต็มได้คัดลอกลง CD-ROM จะมอบให้กับผู้นำในตำบลท่านละแผ่นรวม 7 แผ่น ภาพแบ่งเป็น 4 เหตุการณ์ คือ 1)ก่อนและหลังเดินขบวน 2) ในเวทีเปิดปิดงาน 3) ในวัดไหล่หินหลวง 4) งานวัดบริเวณรอบวัด งานนี้ได้รับเกียรติจากท่านพินิจ จันทรสุรินทร์ มาเป็นประธานเปิดงาน แล้วกล่าวต้อนรับโดยนายบดินทร์ เครือนพรัตน์ ปลัดอาวุโสอำเภอเกาะคา และรายงานโดย ด.ต.กิจชนะชัย ปะละ กำนันตำบลไหล่หิน ข้างวัดไหล่หินมีมหรสพ เช่น ซอคำเมือง ดนตรีสากล มวยไทย บ้านบอล และกิจกรรมอีกมากมาย ซึ่งงานครั้งนี้มีงบประมาณสนับสนุน 150,000 บาท จากองค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลไหล่หิน มี นายนเรศ ดวงไชย นายก อบต. และ นายทรงศักดิ์ แก้วมูล ประธาน อบต. มาร่วมให้การต้อนรับผู้มีเกียรติ ภาพทั้งหมดได้เผยแพร่ภาพใน http://www.thaiall.com/lovelampang/nw/index.php?key=%BB%C3%D0%E0%BE%B3%D5%CA%A7%A1%C3%D2%B9%B5%EC
Author: บุรินทร์ รุจจนพันธุ์
บ้านสามขา (6)
ถอดบทเรียนเพื่อใช้อ้างอิงเกี่ยวกับบ้านสามขา
ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ ได้นำเสนอการพัฒนาชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของชาวบ้าน ผู้นำชุมชนและเยาวชนร่วมกับพันธมิตรภาครัฐและเอกชนตลอดหลายปีที่ผ่านมาและมีความต่อเนื่องจวบจนทุกวันนี้ เรื่องราวทั้งหมดถูกเรียบเรียงไว้ในหนังสือ “บ้านสามขาชุมชนแห่งการเรียนรู้” ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร บันทึกการพัฒนาชุมชนครั้งนี้เริ่มต้นในปีพ.ศ.2544 โดยเริ่มต้นจากการฝึกอบรมครูของชุมชนในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) แล้วตามด้วยการจัดค่ายอบรมคอมพิวเตอร์ให้กับเยาวชนและผู้ปกครองของหมู่บ้าน
ปีพ.ศ.2544 มูลนิธิศึกษาพัฒน์บริจาคเครื่องคอมพิวเตอร์ และมูลนิธิไทยคมได้ติดตั้งอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมให้ที่โรงเรียนบ้านสามขา เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์คอมพิวเตอร์ชุมชนบ้านสามขาที่ดูแลโดยเยาวชนในหมู่บ้าน จัดกิจกรรมอบรมการใช้ การซ่อมบำรุง การพัฒนาเว็บไซต์ การสืบค้นข้อมูล และเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับชุมชน จากการนำทฤษฏีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญาไปใช้ในชุมชนร่วมกับใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือได้นำไปสู่ “ความรู้และปัญญา” ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาหลายประการระหว่างปีพ.ศ.2544 – 2546 ได้แก่ 1) วิเคราะห์ปัญหาหนี้สิน และแก้ไขด้วยการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย 2) พัฒนาทักษะของเยาวชนด้วยการจัดค่ายการบ้าน ค่ายภาษาอังกฤษ ค่ายคอมพิวเตอร์ 3) สืบสานภาษาท้องถิ่นด้วยการจัดค่ายภาษาล้านนาที่สอนโดยผู้สูงอายุในหมู่บ้าน ที่นำไปสู่การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นภาษาล้านนาในโรงเรียน และศึกษาเรื่องสมุนไพรจนพัฒนาไปเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 4) จัดตั้งธนาคารสมองเพื่อให้ผู้ที่ทำประโยชน์ต่อชุมชนกู้เงินไปลงทุนในอัตราดอกเบี้ยต่ำ 5) ค่ายวิปัสสนาที่เน้นการฝึกสมาธิให้มีสติและรู้จักตนเองให้ดีขึ้น 6) โครงการพัฒนากิจการร้านค้าชุมชน 7) เรียนรู้การบริหารจัดการที่พักในชุมชน และโครงการที่พักแรมระยะยาว (Long Stay) 8) เรียนรู้การจัดการแหล่งน้ำ 9) โครงการจัดการข้อมูลข่าวสาร และโครงการพัฒนาวิทยุชุมชนโดยเยาวชน
องค์ประกอบหนึ่งของความสำเร็จคือความมุ่งมั่นในการพัฒนาชุมชนของชาวบ้านในหมู่บ้าน ซึ่งบทเรียนของการพัฒนาที่ท่านเหล่านี้เป็นกำลังสำคัญ คือ อาจารย์ศรีนวล วงศ์ตระกูล เป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมโยงองค์กรภายนอกเข้ากับโรงเรียนและเยาวชนจนสามารถมีศูนย์คอมพิวเตอร์ชุมชนบ้านสามขา คุณนารี อินทร์มาปัน (น้าติ๋ม) คือตัวอย่างผู้เรียนรู้การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อบริหารจัดการร้านค้าชุมชน ผู้ใหญ่จำนงค์ จันทร์จอม เป็นผู้นำชุมชนที่มีวิสัยทัศน์ทันสมัยว่า “เด็กรุ่นใหม่จะต้องทำนาได้และใช้คอมพิวเตอร์เป็น” และสนับสนุนให้มีบริการอินเทอร์เน็ตในหมู่บ้าน จ.ส.อ.ชัย วงศ์ตระกูล ดูแลการก่อสร้างอาคารติ๊บปาละเป็นลองสเตย์บ้านสามขาเพื่อบริการนักท่องเที่ยวและผู้มาศึกษาดูงาน พ่อหนานทองสุข วงศ์ษากัน อดีตเจ้าอาวาสวัดสามขาและเชี่ยวชาญภาษาล้านนา ยินดีสอนภาษาล้านนาให้เยาวชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย คุณชาญ อุทธิยะ นำชาวบ้านแก้ปัญหาหนี้สินโดยใช้กระบวนการวิจัยเรื่องรูปแบบการแก้ไขปัญหาหนี้สินของทั้งชุมชน และเป็นแกนนำจัดตั้งสถาบันแสนผญาในเวลาต่อมา
http://www.ru.ac.th/tambon/mooban/bansamka01.htm
http://www.thaienergynews.com/ArticleShowDetail.asp?ObjectID=6
http://www.thaiall.com/itinlife/article.php?id=207&title=samkha
สอนลูกวาดดอกพิกุล
ช่วงนี้ปิดภาคเรียนขึ้นป.5 และ ป.4 นอกจากให้ฝึกทำข้อสอบจากคู่มือแล้ว ส่งไปเรียนฤดูร้อนที่โรงเรียนในเดือนเมษายน ก็ท่องศัพท์กันนิดหน่อยที่บ้าน เมื่อวานนึกได้ว่าน่าจะฝึกพวกเขาวาดรูป เห็นจากใน TV รายการสอนศิลป์ตอนเย็น ก็ไม่น่าวาดยากอะไร จึงซื้อสีน้ำ มาฝึกให้วาดรูปดอกพิกุล เพราะมีโครงสร้างชัดเจน สวยงาม ประยุกต์ไปได้มากมาย ถ้าวาดดอกพิกุลได้ ลายอื่น ๆ ก็จะตามมา ตอนนี้เห็นคุณแม่ของเด็ก ๆ เอาด้วย ก็ดูมีความสุขกันดี ก็ฝันให้ลูก ๆ ฟังว่าถ้าวาดสวยจะรวบรวมไปขายที่กาดกองต้ากับประกาศขายผ่าน net ซะเลย
http://ebook.nfe.go.th/ebook/html/016/45.files/image002.jpg
แนวคิดงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (5)
หลายปีที่ผ่านมางานวิจัยในประเทศไทยมักถูกตั้งโจทย์โดยนักวิชาการ หน่วยงานต่างๆ เพียงเพื่อทดสอบทฤษฎีบางอย่างหรือต้องการหาคำตอบบางอย่าง ที่กลุ่มคนเหล่านั้นสนใจหรือเข้าไปทำวิจัยในท้องถิ่น เพื่อการวางแผน กำหนดนโยบายบางอย่าง เพื่อคลี่คลายปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ แต่ก็ยังเป็นที่กังขาว่า ผลงานวิจัย ได้ถูกนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ กับคนส่วนใหญ่หรือไม่ สามารถตอบคำถาม ในชุมชน และนำไปแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่ มากน้อยเพียงใด เพราะหลายๆ ปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข และในบางปัญหา กลับดูเหมือนว่าจะรุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจาก ขาดการคำนึงถึงว่า ชุมชนต้องการจะคลี่คลาย ในสิ่งที่กลุ่มคนภายนอกเข้าไปศึกษาหรือไม่ กล่าวคือ ผู้ที่เกี่ยวข้อง มักจะไม่ได้นำงานวิจัยไปใช้ หรือไม่ตอบสนองกับปัญหาของชุมชนนั่นเอง
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงพยายามสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ ในการสนับสนุนงานวิจัย คือ “ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตาม ที่จะทำวิจัย โจทย์ควรมาจากชุมชนท้องถิ่น ทำแล้วก่อให้เกิด ความเปลี่ยนแปลงในชุมชน ทำให้คนในชุมชน ได้เรียนรู้และเก่งขึ้น” บนฐานคิดตามความหมาย การวิจัยของศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ที่ได้กล่าวไว้ว่า “วิจัยที่แท้จริงนั้น จะต้องเป็นการวิจัย ที่หมายความถึงการแสวงคำตอบที่เป็นระบบเปิด และเรื่องของการพัฒนา จะต้องตั้งโจทย์ที่เป็นระบบเปิด เพราะฉะนั้น นอกจากเข้าใจปัญหา และมองแนวทางในการแก้ปัญหา เราก็มีโจทย์ ในการวิจัยนั้น ซึ่งได้ชี้ช่องทางให้เราเห็นถึง แนวทางการพัฒนา หมายความว่า เป็นการพัฒนาต่อไป เป็นการกำหนดแนวทาง การพัฒนาที่ขึ้นอยู่กับศักยภาพของท้องถิ่นโดยเฉพาะ การทำงานวิจัยในรูปนี้ เราจะต้องมองเงื่อนไข ศักยภาพ เพื่อที่จะให้ท้องถิ่น สามารถพัฒนาตัวเองต่อไปได้” ท้ายที่สุดแล้ว เมื่อมีงานวิจัย มีข้อมูลและประสบการณ์จากหลายๆ พื้นที่ หลายๆ ชุมชนทั่วประเทศเพียงพอ ก็คาดว่า จะสามารถนำไปสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ เพื่อผลักดัน สู่การเปลี่ยนแปลงนโยบาย ในระดับภาค ระดับประเทศ ทำให้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นคลี่คลายในที่สุด
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นองค์กร นอกระบบราชการ บริหารงานโดยอิสระ ภายใต้การกำกับ ของสำนักนายกรัฐมนตรี ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2536 เพื่อให้การสนับสนุนการวิจัย ด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และงานวิชาการด้านต่างๆ เพื่อการพัฒนาประเทศ โดยมีการแบ่งเป็นฝ่ายงานต่างๆ ได้แก่ฝ่าย นโยบายชาติ และความสัมพันธ์ข้ามชาติ ฝ่าย 2 เกษตร ฝ่าย 3 สวัสดิภาพสาธารณะ ฝ่าย 4 ชุมชน ฝ่าย 5 อุตสาหกรรม และฝ่ายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานภาค ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2541 เพื่อให้ดำเนินการ ในฝ่ายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ภายใต้แนวคิดใหม่ เน้นการสร้างกระบวนการ “ติดอาวุธทางปัญญา” (Empowerment) แก่ชุมชนและท้องถิ่น รวมทั้งเน้นให้ชุมชน ได้ใช้ประโยชน์จากกระบวนการวิจัย หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นกลไกหนึ่ง ในการสร้างบรรยากาศ “การเรียนรู้ของทุกคน ทุกคนเรียนรู้ เรียนรู้ตลอดชีวิต เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่” ตามเจตนารมณ์ ของพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
ที่สำคัญคือ สกว.ภาค จะต้องเน้นการจัดการ และประสานให้เกิดความเชื่อมโยง ระหว่าง “ปัญญา” (นักวิจัย) และ “พัฒนา” (นักพัฒนา) ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด ระดับชาติ ที่ดำเนินงานแบบแยกส่วน ต่างคน ต่างทำอยู่ ในปัจจุบัน ดังคำขวัญ “สร้างสรรค์ปัญญา พัฒนาท้องถิ่น” เพื่อให้ “สังคมไทย ได้ใช้ความรู้และข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจ แทนการใช้ความรู้สึก หรืออารมณ์” นำไปสู่ความสามารถ ในการแก้ปัญหา พัฒนาตนเอง และพึ่งตนเองได้ในชุมชน ท้องถิ่น ตลอดจน การพัฒนาประเทศชาติ ที่ยั่งยืนในที่สุด
ระบบการวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ได้กล่าวถึงระบบการวิจัยเพื่อท้องถิ่นไว้ว่า จะต้องมีส่วนประกอบสำคัญ ดังต่อไปนี้
1. ระบบทรัพยากร
ต้องมีระบบทรัพยากรที่มาจากส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น
2. หน่วยงานจัดการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ต้องมีหน่วยงานจัดการ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่สามารถเรียนรู้ และพัฒนาศาสตร์และศิลป์ ในการจัดการ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่เชื่อมโยง กับการจัดงานวิจัย ในภาพรวมของประเทศ ซึ่งหน่วยจัดการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นนี้ อาจมีหน่วยงานเดียว ดูแลทั้งประเทศ หรืออาจแยกเป็น 2 – 3 หน่วยงาน บางพื้นที่กันดูแลตามความเหมาะสม
3. นักบริหารวิจัยเพื่อท้องถิ่น
เนื่องจากการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ในประเทศไทยเป็นเรื่องใหม่ นักวิจัยเองยังไม่สันทัด ไม่คุ้นเคย และคนในท้องถิ่นเอง ก็ยังไม่คุ้นเคย จึงต้องการนักบริหารงานวิจัย เข้าไปจัดกระบวนการ แปรความต้องการ ของชาวบ้านให้เป็นโจทย์วิจัย จัดกระบวนการ เพื่อกำหนดกระบวนการ หรือวิธีวิจัย และแปลผลการวิจัย ตลอดจนนำผลการวิจัย ไปใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น ซึ่งนักบริหารงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จะต้องมีทักษะจำเพาะหลายด้าน ที่แตกต่าง ไปจากนักบริหารงานวิจัยโดยทั่วไป
4. สถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ต้องมีการจัดตั้ง และส่งเสริมความเข้มแข็ง ขององค์กรทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ สถาบันการศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรวิจัย และเทคโนโลยี เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นกลไก ในการรับใช้ชุมชนท้องถิ่น ในการส่งเสริมงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการสร้างฐานความรู้เพื่อท้องถิ่น
5. นักวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ควรประกอบด้วย นักวิจัยจากหลายหลายสาขาวิชา หลายพื้นฐานประสบการณ์ แต่มีส่วนที่เหมือนกัน หรือมีเจตนารมณ์ร่วมกันคือ ต้องการเข้ามาอำนวยความสะดวก ให้ชาวบ้านสร้างความรู้ เพื่อใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นของตน
6. นักวิจัยเชิงทฤษฎี
นักวิจัยเชิงทฤษฎีจะต้องเข้ามาจับภาพรวม ภาพใหญ่ พัฒนาเป็นทฤษฎีที่สร้างขึ้นเองภายในประเทศ จากข้อมูลท้องถิ่น ซึ่งในขณะนี้แทบจะไม่มีทฤษฎีทางสังคมที่สร้างขึ้นเองภายในประเทศจากข้อมูลท้องถิ่นเลย
7. ระบบข้อมูลเพื่อการวิจัยท้องถิ่น
ข้อมูลส่วนหนึ่ง (ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนใหญ่ที่ต้องการ) คือ ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของชาวบ้านทั่วประเทศ ประเด็นที่สำคัญ คือ ความแม่นยำและทันสมัยของข้อมูล จะต้องมีการจัดเก็บและเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ และมีการประมวลและใช้ข้อมูลในแต่ละท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์
ระบบการวิจัยเพื่อท้องถิ่นในประเทศไทย ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น จึงยังต้องการการพัฒนาอีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการบริหารจัดการ จึงควรเป็นระบบเปิด ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว เป็นการนำไปสร้างความรู้ เท่ากับว่าผู้ที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกันพัฒนาระบบนี้ โดยมีเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ คือ “สังคมไทย มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน บนฐานความรู้ และการสร้างความรู้ในทุกส่วนของสังคม”
ข้อมูลจาก http://www.geocities.com/db2545/book1/03.html
http://www.vijai.org/Tool_vijai/05/01.asp
หวนนึกถึงคุณตาในวันพญาวัน (4)
วันที่ 15 เมษายนของทุกปีเป็นวันพญาวัน หรือสุดยอดวันขึ้นปีใหม่ของไทยในรอบปี วันนี้จะเป็นวันที่ผู้น้อย ผู้เยาว์ ไปรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ก็หวนนึกถึง 10 ปีที่ผ่านมาหลังผมแต่งงาน จะมีตาแสน(นายแสน ชำนาญการ) ซึ่งเป็นคุณลุงของภรรยาอายุ 76 ปี เป็นผู้สูงอายุท่านหนึ่งในบ้านไหล่หิน ทุกวันพญาวันจะมีผู้เยาว์ในหมู่บ้านถือขันมารดน้ำดำหัวท่านทุกปี แต่ปีนี้ไม่มีแล้ว เพราะท่านจากไปอย่างไม่มีวันกลับด้วยอุบัติเหตุวันลอยกระทงปี 2551 โดยทำพิธีเผาศพเมื่อวันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2551 เรื่องราวในอดีตเป็นสิ่งที่เราแก้ไขไม่ได้ แต่การหวนกลับไปนึกถึงก็ทำให้เรามีรอยยิ้มเล็ก ๆ กับความสุขน้อย ๆ และยังเป็นบทเรียนสำหรับการดำเนินชีวิตต่อไป เพราะการที่เรายังมีลมหายใจ แสดงว่ายังมีพรุ่งนี้รอเราอยู่
แถลงข่าวประกาศใช้ข้อตกลงในการจัดการงานศพฯ (4)
เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2552 นายทรงศักดิ์ แก้วมูล ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลไหล่หิน ร่วมกับผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ หัวหน้าโครงการวิจัยรูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในบทบาทอาจารย์มหาวิทยาลัยโยนกร่วมกับนักวิจัยในพื้นที่ทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จัดงานแถลงข่าวการประกาศใช้รูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงตำบลไหล่หิน โดยได้รับเกียตรติจากนายชนะเกียรติ เจริญหล้า นายอำเภอเกาะคา เป็นประธานในพิธีมอบป้ายไวนิล ป้ายประชาสัมพันธ์ประเด็นข้อตกลง และเอกสารประกาศข้อตกลง แก่ตัวแทนผู้นำทั้ง 6 หมู่บ้านที่ทำงานร่วมกันมากว่า 2 ปี ณ ศาลาเอนกประสงค์วัดไหล่หินหลวง โดยมีผู้สูงอายุ นักวิจัยในตำบล หัวหน้าส่วนราชการ และนักวิจัยที่สังกัดศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดลำปาง เข้าไปร่วมเป็นเกียรติ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงวิธีวิทยาของโครงการวิจัยครั้งนี้ หลังเสร็จพิธีนางสาวภัทรา มาน้อย พี่เลี้ยงโครงการวิจัยพื้นที่จังหวัดลำปาง ร่วมกับสภาวัฒนธรรมตำบลไหล่หินจัดพิธีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในตำบล นักวิจัยอวุโส ปลัดอาวุโส และนายอำเภอเกาะคา (news_announce.zip 15 MB)
ลงข่าวในหนังสือพิมพ์ฅนเมืองเหนือหน้า 19 ฉบับวันที่ 20-26 เมษายน 2552
ร่วมทีมอาจารย์โยนก CBR ไปประชุม CBMAG เพื่อตั้ง sub node ที่ลำปาง (3)
ทุกมุมโลกในขณะนี้น่าจะมีการประชุมเพื่อพัฒนา เกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2552 ผมก็มีโอกาสไปประชุมร่วมกับอาจารย์จากหลายมหาวิทยาลัย อาทิ ม.ราชภัฏลำาปง ม.ราชมงคลลำปาง โดยเฉพาะ ม.โยนก มีอาจารย์ที่รับทุน CBR ไปประชุมรวมผมด้วยก็ 4 ท่าน คือ อ.อดิศักดิ์ เสมอพิทักษ์ อ.ศิรดา ไชยบุตร อ.อัศนีย์ ณ น่าน ในหัวข้อเรื่อง แนวทางความร่วมมือการสนับสนุนศักยภาพ นักศึกษาปริญญาโทกับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น มีน้องหนึ่ง เป็นเลขาที่ประชุม และนำประชุมในครั้งนี้ ทำให้เข้าใจว่าศักยภาพของคนไม่ขึ้นอยู่กับอายุ ตำแหน่ง แต่ขึ้นกับประสบการณ์ และบุคลิกส่วนตัว คำว่า CBMAG (Community-Based Master Research Grant) ที่ไปร่วมกันผนึกกำลัง เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาป.โทเข้าขอทุนไปพัฒนาบ้านเมืองของเรา มาจากภาษาไทยว่า ทุนวิจัยเพื่อท้องถิ่นในการทำวิทยานิพนธ์/ค้นคว้าอิสระของนักศึกษาปริญญาโท ดร.ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล กล่าวเปิดเวทีการประชุมในฐานะกลไกตรงที่รับผิดชอบงานวิจัย แล้ว รศ.ดร.อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ เล่าที่มาของฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น และการมาสร้างกลไก ในการขับเคลื่อน ทำให้ผมเข้าใจความหมายของกลไกได้ชัดขึ้น และน่าจะทำยากกว่าคำว่าระบบ เพราะระบบนั้นแค่เขียนขั้นตอนแล้วประกาศให้ทราบทั่วกันก็ถือว่ามี แต่กลไก คือทุกอย่างที่ เป็นรูปธรรมอันจะขับเคลื่อนตัวระบบให้ดำเนินไปตั้งแต่เริ่มจนจบกระบวนการ
การประชุมครั้งนี้มีทุนวิจัยอยู่ปีละประมาณ 15 – 20 ทุน แม้จะดูน้อย แต่ปัญหา คือ นักศึกษาที่ขอทุนเข้าไปมีน้อยกว่าทุนที่ให้ เพราะปัญหาเรื่องของช่วงเวลาเรียน กับช่วงเวลาทำวิจัยไม่สัมพันธ์กัน ประกอบกับเงื่อนไขการทำงานเชิงพื้นที่ ซึ่งองค์ประกอบ ของความสำเร็จต้องขึ้นอยู่กับพื้นที่เป็นสำคัญ ซึ่งผมก็เสนอเข้าไปว่าบทบาทของพี่เลี้ยงต้อง ทำงานหนักมาก อย่างพี่เลี้ยงของผม คุณภัทรา มาน้อย ต้องคอยโอบอุ้ม หนุ่นเสริม จนทำให้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นโดยคนไม่มีประสบการณ์อย่างผมสามารถสำเร็จลงได้ ดร.ไกรสร คำมา ก็เสริมว่าการทำงานเพียงไม่กี่เดือนนั้น ไม่เพียงพอกับการทำงานกับชาวบ้าน ผมเองก็เคยพบมาแล้ว เพราะติดเลือกตั้งบ้าง ติดทำนา ติดงานบุญ อันนี้ก็ต้องเข้าใจบริบทของชุมชน ส่วนอาจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ก็นำเสนอปัญหาว่า สาขาทางสัตวศาสตร์ล่ะ พืชไร่ล่ะ คอมล่ะ ในเวทีก็เสนอว่าคงต้องใช้วิธีการประยุกต์ และพบกันครึ่งทาง จะ pure science กับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นคงไม่ได้
ประชุมครั้งนี้เป็นความพยายามจัดตั้ง sub node ของลำปาง การตั้งนั้นไม่ยาก แต่การทำให้คงอยู่ยั่งยืนสิยากกว่า การประชุมครั้งนี้ราบรื่นดีแม้ รศ.ศุภศักดิ์ ลิมปิติ ผู้ประสานงานชุดโครงการ CBMAG จะไม่ได้มาด้วย เพราะเจ็บเข่ากระทันหัน ต่อจากนี้มีแผนจะอบรมนักศึกษาปริญญาโทที่สนใจขอทุน ก็จะอบรมให้เห็นกระบวนการ เขียนข้อเสนอ และเข้าใจการเข้าไปทำงานกับชุมชน ก่อนการอบรมมีนัดหมายอีกครั้ง ในวันที่ 25 มิถุนายน 2552 โดยมีแผนว่าควรเปลี่ยนสถานที่ประชุมไปเป็นมหาวิทยาลัยโยนก และสันจรไปที่อื่นหมุนเวียนเปลี่ยนไป เมื่อกลับมาถึงมหาวิทยาลัยโยนก ก็รวบรวมกำลังใจ แต่รวบรวมคนไม่สำเร็จ ไปเล่าอะไรอะไรอย่างไม่เป็นทางการให้ ดร.ศรีศุกร์ นิลกรรณ ฟัง เพราะท่านเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานวิจัย ของมหาวิทยาลัย (ถ้ามีโอกาสจะย่อยข้อเสนอโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้วให้ได้ศึกษาเรียนรู้ เพราะในเวทีแจกมาเป็นเล่มครับ)
ระบบและกลไก คืออะไร
พบนิยามศัพท์ คำว่า ระบบและกลไก
ใน คู่มือการประกันคุณภาพภายใน ระดับอุดมศึกษา ปี 2553 และ ปี 2557
ได้นิยามไว้เหมือนกัน
สกอ. ย้ายโดเมน ! http://www.mua.go.th/users/bhes/
DATA%20BHES2558/upload%20file%20IQA/
iqa%20manual2557.pdf
https://www.thaiall.com/iqa/handbook_mua57ed3.pdf
ระบบ (System) หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะต้องปรากฎให้ทราบโดยทั่วกันไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือโดยวิธีการอื่น ๆ องค์ประกอบของระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ
ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
กลไก (Mechanism) หมายถึง สิ่งที่ทำให้ระบบมีการขับเคลื่อนหรือดำเนินอยู่ได้ โดยมีการจัดสรรทรัพยากร มีการจัดองค์การ หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลเป็นผู้ดำเนินงาน
กระบวนการ (Process) หมายถึง กิจกรรมที่ดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนของแต่ละหน่วย และประสานกันเป็นลำดับภายในระบบ เช่น กระบวนการออกข้อสอบ กระบวนการพิมพ์ข้อสอบ กระบวนการสอบสัมภาษณ์ กระบวนการสอบข้อเขียน กระบวนการประกาศผล กระบวนการปฐมนิเทศ ซึ่งทั้งหมดอยู่ในระบบรับนักศึกษา
! http://rd.vru.ac.th/pdf/announcement_fund/Fund/01.pdf
! http://www.coop.sut.ac.th/index.php?sec=tool&vdo=2
—
ระบบและกลไกงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
! http://ethics.knc.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=81&Itemid=54
—
เมื่อ 11 มีนาคม 2558 ได้มีโอกาสพูดคุย เรื่องระบบและกลไก ในเกณฑ์ประกันคุณภาพภายใน ของสกอ. ปี 2557 ที่มีถึง 7 ระบบในระดับหลักสูตร ที่ต้องดำเนินการ และมีหลักฐานว่าได้นำระบบไปสู่การปฏิบัติ กับ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ อ.ธวัชชัย แสนชมภู คุณสาธิจิตต์ นกจันทร์ และคุณเรณู อินทะวงศ์ หลังพูดคุย ผมยกร่างกรอบการเขียนระบบ (Framework of System) ที่แสดงการเชื่อมโยงของ input – process – output – feedback ไว้ดังนี้
http://www.thaiall.com/pptx/system.pptx
http://www.thaiall.com/iqa
—
มีโอกาสได้ฟังคำชี้แจงเรื่อง นิยมศัพท์ของ ระบบและกลไก เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2552
โดยคุณเพชรี สุวรรณเลิศ สำนักประกันคุณภาพ ในที่ประชุมผู้บริหารครั้งที่ 9/2552
ตามเอกสารหมายเลข 2 ซึ่งเพิ่มเติมจากคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2551
ระบบ (System) ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ (Objective) ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Output)
ตัวอย่างที่ 1 ระบบการผลิตบัณฑิตในแต่ละหลักสูตร
วัตถุประสงค์ การผลิตบัณฑิตตามหลักสูตร
ปัจจัยนำเข้า รับนักศึกษาใหม่ตามหลักสูตร
กระบวนการ การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร ..
ผลผลิต บัณฑิตสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
ตัวอย่างที่ 2 ระบบการจัดทำรายงานผลการเรียนทุกสิ้นภาคการศึกษา
วัตถุประสงค์ การจัดทำรายงานผลการเรียนสิ้นภาคการศึกษา
ปัจจัยนำเข้า อาจารย์ส่งผลการเรียนให้สำนักทะเบียน
กระบวนการ ประมวลผลผลการเรียนตามสูตร และนโยบายของผู้บริหาร …
ผลผลิต พิมพ์รายงานผลการเรียนเฉลี่ยของนักศึกษาแต่ละคน
แต่ในการประเมินตามคู่มือของ สกอ. คำว่า ระบบ (System) จะเน้นที่กระบวนการ
หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะต้องปรากฎให้ทราบโดยทั่วกัน ไม่ว่าจะในรูปของเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือโดยวิธีการอื่น ๆ องค์ประกอบของระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ
ตัวอย่าง ระบบการจัดทำรายงานผลการเรียนทุกสิ้นภาคการศึกษา
1. รับข้อมูลผลการเรียนจากอาจารย์ผู้สอน หรือคณะวิชาหลังสอบปลายภาค 2 สัปดาห์
2. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ และตรวจสอบความถูกต้อง
3. ประมวลผลตามเงื่อนไขตามหลักสูตร และนโยบาย
4. ตรวจสอบผลการประมวลผลในรายละเอียด และในภาพรวม
5. จัดทำรายงานแยกคณะ แยกประเภท แยกกลุ่มนักศึกษา
6. ส่งรายงาน และประกาศให้ผู้เกี่ยวข้องตามลำดับ และเวลา
กลไก (Mechanism) หมายถึง สิ่งที่ทำให้ระบบมีการขับเคลื่อนหรือดำเนินอยู่ได้ โดยมีการจัดสรรทรัพยากร มีการจัดองค์กร หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลให้เป็นผู้ดำเนินงาน เช่น การแต่งตั้งผู้รับผิดชอบมาดำเนินการ ควบคุมกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนงาน โดยมีรายงานการประชุมคณะทำงาน รายงานผลการดำเนินการ การประเมินระบบ และสรุปผลการดำเนินงานตามระบบที่กำหนดไว้
แผนผังการทำงานเชิงระบบของกระบวนการเทคโนโลยี
1. ข้อมูล (input)
เช่น ปัญหา/ความต้องการ
รวบรวมข้อมูล/หาวิธีแก้ปัญหา
เลือกวิธีการ
2. กระบวนการ (process)
เช่น ออกแบบ/ปฏิบัติการ
3. ผลลัพธ์ (output)
เช่น ทดสอบ
ปรับปรุงแก้ไข
ประเมินผล
ผลสัมฤทธิ์ของงาน
ชิ้นงาน
ผลิตภัณฑ์
4. ข้อมูลย้อนกลับ (feedback)
จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน “การงานอาชีพและเทคโนโลยี“
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 หน้า 104
โดย เพ็ญพร ประมวลสุข – มนตรี สมไร่ขิง – วรรณี วงศ์พานิชย์ – ศิริรัตน์ ฉัตรศิขรินทร
ประชุมแผนกลยุทธ์ 2552 ที่สวนพฤกษศาสตร์ทวีชล (1)
เล่าเรื่องงานแล้ว เลยเถิดไปถึงเรื่องครอบครัว ที่สอดคล้องสัมพันธ์กัน
1) 3 – 4 เมษายน 2552 ร่วมประชุมนำเสนอแผนกลยุทธ์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในการประชุมผู้บริหารมหาวิทยาลัยโยนก ประจำปี 2552 ซึ่งท่านอธิการสันติ บางอ้อ
จัดให้มีการประชุมแบบนี้เป็นปีที่ 3 ซึ่งครั้งนี้จัดที่ สวนพฤกษศาสตร์ทวีชล เชียงใหม่
อยู่ห่างตัวเมืองไปดอยสะเก็ดประมาณ 11 กม. มีผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงาน และ
ผู้เกี่ยวข้องในการประชุมครั้งนี้ประมาณ 76 คน ใช้ห้องพักไป 38 ห้อง
ซึ่งครั้งนี้มีผู้ร่วมประชุมเชิงบูรณาการมากกว่าทุกครั้ง มีเอกสารประกอบการประชุมกว่า 2 รีม
หลังประชุมเสร็จคงต้องกลับมานั่งอ่านอย่างใจเย็น เพราะมีรายละเอียดมากจริง ๆ
2) กำหนดการนำเสนอแผนในการประชุม 2 วันนี้มีทั้งหมด 20 แผน
แต่มีการแลกเปลี่ยนในประเด็นสำคัญจนทำให้จำนวนแผนที่นำเสนอในเวลาที่จำกัด
เหลือเพียง 13 แผน ส่วนผมนำเสนอในวันแรก คือ 15.10 – 15.45
การประชุมครั้งนี้มีการจัดประกวดการนำเสนอแผนในระดับคณะ และสำนัก
2.1 คณะที่ได้รับคัดเลือกว่ามีแผนกลยุทธ์ที่สมบูรณ์ คือ คณะบริหารธุรกิจ
ส่วนคณะของผมไม่ติด 1 ใน 3 คณะครับ แสดงว่าแผนกลยุทธ์ยังขาดความสมบูรณ์
2.2 สำนักพัฒนาศักยภาพได้รับการคัดเลือกให้เป็นที่ 1 จากสำนักที่เข้ารอบ 5 สำนัก
แต่เสียดายที่หน่วยงานนี้มิได้นำเสนอในการประชุมครั้งนี้ เพราะเป็น 1 ใน 7 สำนัก
ที่ยกให้กลับไปนำเสนอที่มหาวิทยาลัย เพราะเวลาไม่พอ
ทุกสำนักมีความสำคัญต่อการประกอบการของมหาวิทยาลัย
แต่สำนักที่เกี่ยวข้องกับทุกหน่วยงานอย่างชัดเจน และมีผลต่อการกำหนด
แผนงาน โครงการไปถึงระดับนโยบาย คือ แผนทรัพยากรบุคคลที่นำเสนอโดย
คุณมณฑิชา แสนชมพู และแผนงบประมาณที่นำเสนอโดยคุณปริศนา เขียวอุไร
3) การนำเสนอครั้งนี้ เน้นให้ทุกคณะนำเสนอแผนกลยุทธ์สำหรับ 3 ปี คือปี 2552 – 2554
โดยมีความสอดคล้องกันตั้งแต่ผลการดำเนินงาน การวิเคราะห์ SWOT แล้วนำไป
กำหนดปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย แผนกลยุทธ์ โครงการ
และตัวบ่งชี้ โดยทุกคณะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพ และการรับนักศึกษา
เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยง (Risk Identification) ที่มหาวิทยาลัยต้องให้การดูแลเป็นพิเศษ
4) ในการประชุมไม่มีโอกาสเดินชมสวน เพราะประชุมตั้งแต่เช้าจรดเย็น เสร็จก็ต้องกลับ
เมื่อกลับถึงลำปาง จึงตัดสินใจชวนครอบครัว 6 ชีวิต ไปศึกษาเรียนรู้สวนแห่งนี้ในวันรุ่งขึ้น
สวนนี้ก่อตั้งโดยคุณทวีศักดิ์ เสสะเวช มาได้ 10 กว่าปีแล้ว แต่เปิดให้บริการประมาณปี 2549
เป็นสวนที่มีพันธุ์ไม้หาดูยากอย่าง ปาล์ม ปรง กระบองเพชร สมุนไพร ไม้หอม ไม้หายาก
เหมาะกับการไปจัดประชุม เข้าค่ายของนักเรียน ผมพาลูกไปในวันที่ 5 ประทับใจหลายเรื่อง
สำหรับครอบครัว ลูกบอกว่าดีกว่าสวนสัตว์ซะอีก เพราะชอบสวนกล ใกล้ชิดกวาง อูฐ นกยูง
ได้ใช้บริการรถกอล์ฟที่ให้ความเป็นกันเองอย่างน่าประทับใจ และผู้คนไม่แออัดมากนัก
ตกเย็นก็ไป shopping ที่ robinson airport พบน้องออย (ทิพย์วิมล อุ่นป้อง) มากับคุณพี่
ลูก ๆ ได้รองเท้ามาคนละคู่ ส่วนผมก็ได้กิน นิปปอน ราเมง เป็นข้าวเย็นก่อนกลับมาลำปาง
http://www.tweecholbotanicgarden.com
แนะนำ แคท รัตติกาล เพราะจบสายใกล้เคียงกัน (3)
คุณแคท รัตติกาล เป็นชาวลำปางด้วยกัน
หากผมจะมีความภูมิใจที่จะนำเสนอ นักร้องชาวลำปางสักคน ก็หวังว่าจะไม่มีใครติฉินนินทานะครับ และอีกเหตุผลคือ เธอสำเร็จการศึกษาด้านเดียวกับผม นั่นก็คือเหตุผลสำคัญครับ ชื่อจริงของแคท รัตติกาล คือ นางสาวพุทธชาติ ยศแก้วอุด (แคท) เกิด 30 พ.ค. เป็นคน อ.เมือง ลำปาง ศิษย์เก่าโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จิตต์อารี ปริญญาตรีจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เคยประกวดมิสมอเตอร์โชว์ปี 2542 ได้ตําแหน่งรองอันดับ 1 ร้องเพลงประกอบละคร ถ่ายมิวสิควิดีโอ เดินแบบ ถ่ายแบบแฟชั่น มีผลงานอัลบั้มเพลงชุดแรกคือ เมดอินลูกทุ่ง และเพลงประกอบละครเรื่อง หงส์ฟ้ากับสมหวัง และพระจันทร์ลายกระต่าย ผลงานอื่น เช่น เช้าวันใหม่..ใจเต็มรัก เย็บจักรถักฝัน นิยายรัก อย่ากึ๊ดนัก