สรุปขั้นดำเนินโครงการของงานสัมมนา

จากส่วนหนึ่งของรายงานสรุปผล

ขั้นดำเนินโครงการ การสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การวิจัยในชั้นเรียน มีผู้ส่งผลงานวิจัยในชั้นเรียนเพื่อใช้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมด 4 ผลงาน ในรูปของบทคัดย่อ ประกอบด้วย เรื่องแรก คือ “ศึกษาการมอบหมายงานกลุ่มในการจัดทำสื่อวีดีทัศน์ประกอบการสอนการใช้โปรแกรม Powerpoint ในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสืบค้นข้อมูลเบื้องต้น” โดย ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ และ อ.อัศนีย์ ณ น่าน เรื่องที่สอง คือ “การสร้างสื่อการสอนการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา วิชาการภาษีอากร สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยโยนก” โดย อ.สุรพงษ์  วงศ์เหลือง   เรื่องที่สาม คือ “การศึกษาประสิทธิภาพวิธีการสอนโดยระบบ E-Learning วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน HRMT 411 ปีการศึกษาที่ 1/2553 มหาวิทยาลัยโยนก” โดย อาจารย์วีระพันธ์ แก้วรัตน์ เรื่องที่สี่ คือ “A Developmental Practice of Teaching the Thai Language in a Multicultural Context : Study of Thai 302 : Reading and Writing Thai 1” โดย อ.สุจิรา หาผล

1. การดำเนินการมีวาระสำคัญ จำนวน 7 วาระ ประกอบด้วย 1) อ.ทันฉลอง รุ่งวิทู รักษาการอธิการกล่าวเปิดงานสัมมนา 2) อ.ชินพันธ์ โรจนไพบูลย์ บรรยายให้ความรู้เรื่องการวิจัยในชั้นเรียน 3) นักวิจัยนำเสนอผลการวิจัย 2 คน ได้แก่ ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ และ อ.วีระพันธ์  แก้วรัตน์ 4) คุณภัทรา  มาน้อย ศูนย์ประสานงานจังหวัดลำปาง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และ คุณกฤษฎา  เขียวสนุก  สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวไทย 5) เปิดเวทีให้อาจารย์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 6) อ.ทันฉลอง รุ่งวิทู วิพากษ์การเขียนบทคัดย่อของงานวิจัยในชั้นเรียนแต่ละเรื่อง 7) สรุปผลที่นำไปสู่การพัฒนาการวิจัยในสถาบันต่อไป

2. สาระในเอกสารประกอบการประชุมที่ได้จากคู่มืองานวิจัย ปี 2552 ซึ่งเผยแพร่โดยสำนักวิชาการ ประกอบด้วย 1) ความหมายของการวิจัย 2) เงื่อนไขในการให้ทุนอุดหนุนงานวิจัย 3) ขั้นตอนการเสนอโครงร่างเพื่อขอรับทุนอุดหนุนงานวิจัย และ 4) ขั้นตอนการดำเนินงานหลังได้รับทุนอุดหนุนงานวิจัย

3. หัวข้อบรรยายโดย อ.ชินพันธ์ โรจนไพบูลย์ มีดังนี้ 1) อะไรคือการวิจัย 2) วงจรการทำวิจัยในชั้นเรียน 3) โครงร่างงานวิจัยในชั้นเรียน 4) การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน และ 5) ความแตกต่างของการวิจัยในชั้นเรียน กับการวิจัยการเรียนการสอน

4. ประเด็นที่มีการแลกเปลี่ยนในเวที อาทิ ความคับข้องใจ ความสุข และปัญหาจากการทำวิจัยในชั้นเรียน รูปแบบการทำวิจัยในชั้นเรียน คุณภาพของงานวิจัยในชั้นเรียน เทคนิคการเขียนบทคัดย่อและรายงานการวิจัยที่ควรได้รับการพัฒนา การให้นโยบายจากผู้บริหารในการส่งเสริมการทำวิจัยเพื่อนำไปสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการ

Author: บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

I am Lecturer, Developer, Researcher, Columnist, Writer, Photographer, and Webmaster - L@mpang man

Leave a Reply