1 พ.ค.54 มีคำกล่าวว่าเทคโนโลยีสามารถเรียนรู้กันได้ ถ้าถูกถามว่าต้องการอุปกรณ์รุ่นใหม่หรือไม่ ก็มักได้รับคำตอบว่าได้ก็ดี เมื่อได้อุปกรณ์มาแล้วค่อยพิจารณาปัญหาที่ตามมา มีความแตกต่างระหว่างของใหม่กับของเดิมอย่างไร หรือจะแก้ไขปัญหาที่มีด้วยวิธีการใด ปัจจุบันบริษัท Apple ออกผลิตภัณฑ์ที่ขอนำเสนอ 2 รายการ คือ IPhone และ IPad ซึ่งมีวัตถุประสงค์การใช้งานต่างกัน กลุ่มผู้ใช้ของแต่ละผลิตภัณฑ์ต่างกัน แต่มีรูปลักษณ์ภายนอกของอุปกรณ์ทั้งสองคล้ายกัน โดย IPhone ออกแบบเพื่อการสื่อสารด้วยเสียงเป็นหลัก และสามารถสื่อสารกับเครือข่ายสังคม แต่ IPad คือเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาแบบไม่มีแป้นพิมพ์ หรือที่เรียกว่า Tablet Personal Computer
ในกรณีที่ผู้สูงอายุต้องการสื่อสารกับคุณหลานที่อยู่ในกรุงเทพฯ ตัวอย่างเช่นคุณหลานมี IPhone รุ่นใหม่ต้องการสื่อสารกับคุณย่าอายุ 85 ปีที่อาศัยในต่างจังหวัดทุกวัน การตัดสินใจเลือกซื้อโทรศัพท์ที่เข้ากันได้กับโทรศัพท์ของคุณหลานย่อมสะดวกกว่าต้องพึ่งพาโทรศัพท์ของเพื่อนบ้าน แต่คุณหลานเคยชินกับอุปกรณ์รุ่นใหม่ก็อาจเลือกซื้อโทรศัพท์ IPhone ให้กับคุณย่า แต่ปัญหาคือคุณย่าที่สายตาเข้าสู่วัยชราเต็มขั้น และไม่นิยมเรียนรู้เทคโนโลยี จะให้เรียนรู้การแชท (Chat) ที่ใช้แป้นพิมพ์แบบ QWERTY ก็อาจพบปัญหาใหญ่หลวงในการสื่อสารผ่านอุปกรณ์ไฮเทค หรือใช้ประโยชน์ได้เพียงส่วนหนึ่งของความสามารถที่อุปกรณ์มีอยู่
ในความเป็นจริงต้องเข้าใจเรื่องช่องว่างของเทคโนโลยี ดังที่เราได้ยินเรื่องของการประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ (Video Conference) ของนายกรัฐมนตรีไทย ถ้าประชุมกันเพียง 2 – 3 คนก็ใช้ความสามารถของ IPhone หรือ IPad ได้ แต่ถ้าต้องการสื่อสารแบบหนึ่งคนนำเสนอและหลายคนฟัง (one to many) ก็จะต้องใช้เครือข่ายความเร็วสูง อุปกรณ์รับเสียง และอุปกรณ์แสดงภาพที่มีคุณภาพ ส่วนการสื่อสารระหว่างสองห้องประชุมที่ห่างไกลกัน จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์และเครือข่ายความเร็วสูงที่เข้ากันได้ มิเช่นนั้นก็จะเหมือนคนหนึ่งใช้โทรศัพท์จากตู้หยอดเหรียญแต่อีกคนใช้ IPhone ก็จะทำให้คุณภาพของ IPhone เป็นเพียงโทรศัพท์ธรรมดาเท่านั้น หรือคุณหลานใช้ IPhone แต่คุณย่าใช้โทรศัพท์เครื่องละไม่ถึง 1 พันบาทย่อมไม่สามารถสื่อสารกับแบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ได้นั่นเอง
http://www.youtube.com/watch?v=rM9EFLnhtKQ