อินเทอร์เน็ตสอง (itinlife331)

internet2
อินเทอร์เน็ต 2

25 ก.พ.55 มีโอกาสเห็นข้อสอบเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ว่า อินเทอร์เน็ต (Internet) กับ อินเทอร์เน็ตสอง (Internet2) ต่างกันอย่างไร ซึ่งมีคำถามตามมาว่าจะมีนักเรียนระดับมัธยมกี่คนที่สนใจ หรือทราบว่ามีเรื่องนี้เกิดขึ้นในโลกของเรา แต่ถ้าไม่สนใจก็คงไม่ได้ เพราะปรากฎในข้อสอบวัดความรู้แล้ว ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตสองนั้นเริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐอเมริกาจำนวน 35 แห่ง เปิดตัวโครงการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตใหม่ในเดือนตุลาคม 2539 มีการรวมตัว จัดประชุม กำหนดมาตรฐาน และตั้งชื่อจนเป็นที่ยอมรับว่า Internet2 ปัจจุบันมีข้อมูลเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ www.internet2.edu และมีสมาชิกจากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมกลุ่มเพิ่มเป็นมากกว่า 200 แห่งแล้ว

วัตถุประสงค์ของอินเทอร์เน็ตสอง คือ การวางโครงสร้างเครือข่ายประสิทธิภาพสูงทดแทนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบเดิมที่มีข้อจำกัดหลายด้าน มุ่งให้บริการ สนับสนุนด้านการศึกษา วิจัย และทดสอบเทคโนโลยีใหม่ เพื่อนำมาใช้งานจริงในอนาคต ปัจจุบันเครือข่ายหลักของอินเทอร์เน็ตสองที่เชื่อมต่อมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้าด้วยกันใช้ความเร็วสูง 2.5 จิกะบิตต่อวินาที หากเปรียบเทียบกับเครือข่ายหลัก (Backbone) ของสหรัฐอเมริกาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน พบว่ามีความเร็วประมาณ 45 เมกะบิทต่อวินาที แต่โครงการนี้ยังไม่มีแผนเปิดให้ผู้ใช้ตามบ้านได้ใช้งานในอนาคตอันใกล้

ข่าวเดือนกรกฎาคม 2554 พบว่า Berkeley Lab’s Energy Sciences Network (ESnet) และ Internet2 มีข้อตกลงร่วมกันพัฒนาโปรโตคอลเครือข่าย ANI (Advanced Networking Initiative) ให้มีความเร็วถึง 100 จิกะบิทต่อวินาที เมื่อนึกถึงความเร็วของอินเทอร์เน็ตตามบ้านในไทย เรามี High speed internet หรือ ADSL ที่เร็วสูงสุดถึง 100 เมกะบิทต่อวินาที ส่วนบริการ 3G ก็มักมีในเขตเมืองหลวงที่บริการด้วยความเร็วสูงสุด 4 เมกะบิทต่อวินาที ส่วนเครื่องโทรศัพท์ก็ต้องหารุ่นใหม่ที่รองรับเครือข่าย UMTS หรือ W-CDMA มีเทคโนโลยีรับส่งข้อมูล HSDPA หรือ HSUPA ถ้าสังเกตจะพบว่าความเร็วในจินตนาการของอินเทอร์เน็ตสอง กับความเร็วที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ห่างกันเหลือเกิน เราในฐานะผู้ใช้ตามบ้านคงต้องเฝ้ารอดูการพัฒนากันต่อไป ถ้าผู้ผลิตพร้อมเมื่อใดเราก็คงจะได้ใช้เมื่อนั้น

https://lists.internet2.edu/sympa/arc/i2-news/2011-07/msg00003.html

http://www.arip.co.th/news.php?id=406864

นักฟิสิกส์อาจจะเป็นคนกลุ่มแรกที่ใช้ความสามารถของเครือข่ายนี้ เมื่อมีการเปิดใช้งาน Large Hadron Collider แห่งองค์กรวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรปที่มีแผนเปิดเดือนพฤษภาคมปีหน้า ซึ่งจะทำให้มีนักฟิสิกส์นับพันๆ คนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ออกมาจาก LHC

http://kitty.in.th/index.php/articles/internet2-the-next-generation-internet/

Author: บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

I am Lecturer, Developer, Researcher, Columnist, Writer, Photographer, and Webmaster - L@mpang man

Leave a Reply