โคมยี่เป็ง กับสามคำ “ไม่เลิก ไม่รอ ไม่รับ”

27 พ.ย.56 หลังเทศกาลปล่อยโคมช่วงงานลอยกระทง หรือล่องสะเปา
ตามประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อของชาวล้านนา
ก็มีประเด็นเรื่องการปล่อยโคมในภาพยนตร์
ซึ่งชาวล้านนาไม่สบายใจนัก ที่เห็นการปล่อยโคมแบบพิศดาล
ที่คาดไม่ถึงในเรื่อง “โอ้! มายโกส ต์คุณผีช่วย”

โคมยี่เป็งกับ 4 คูหา
โคมยี่เป็งกับ 4 คูหา

สำนักข่าวนอร์ทพับบลิคนิวส์
14 พ.ย.2556 รองปลัดเทศบาลนครเชียงใหม่ กล่าวด้วยว่า ประเพณียี่เป็งเชียงใหม่ ปี 2556
กำหนดแนวคิดว่า แอ่วยี่เป็งเจียงใหม่ ปลอดประทัดยักษ์ ไร้แอลกอฮอล์
นอกจากนี้ ยังรณรงค์ให้งดปล่อยโคม ทั้งโคมควันและโคมไฟ
หรือหากต้องการปล่อย ต้องใช้โคมที่ได้มาตรฐานและปล่อยตามเวลา
ที่ไม่กระทบต่อระบบการบินและอากาศยาน
คือ หลังเวลา 21.00น. เป็นต้นไป
http://www.northpublicnews.com/?p=3854

ลดปล่อยโคม
ลดปล่อยโคม

โคมลอย ลอยทำไม ลอยเพื่อใคร
ที่มาของการจุด “โคมลอย” หรือที่คนล้านนาโบราณเรียกว่า “ว่าวไฟ” “ว่าวควัน” หรือ “ว่าวลม” (ว่าวฮม) นั้น
จุดประสงค์ดั้งเดิมที่แท้จริงหาใช่เพื่อความรื่นเริงบันเทิงไม่
หากแต่จุดเพื่อเป็นพุทธบูชาถวายแด่พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่ประดิษฐานอยู่ในพระเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ตามพุทธประวัติกล่าวว่าภายหลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงปลงพระเกศาด้วยพระขรรค์เพื่อดำรงสมณเพศ ณ ริมฝั่งอโนมานทีนั้น
พระอินทร์ได้นำพระเกศธาตุหรือมวยผมของพระองค์ก่อนจะบรรลุธรรมมาเก็บรักษาไว้ให้ห่างไกลจากมนุษยโลก
เนื่องจากเป็นของสูงของศักดิ์สิทธิ์ บรรจุไว้ในพระเจดีย์องค์หนึ่งมีชื่อว่า “จุฬามณี” หรือ “จุฑาศรี”
และเชื่อว่าเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว พระบรมสารีริกธาตุทั้งหมดจะมารวมตัวกันอยู่ในพระเจดีย์จุฬามณีเป็นหนึ่งเดียว

โคมลอยฟ้านั้น ชาวสยามในราชสำนักเริ่มรู้จักมาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๑๖
เพราะเป็นคำที่ปรากฏอยู่ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ (หมายเหตุไม่ได้พิมพ์ผิด หนังสือเล่มนี้ใช้ “ศรับท์” แทน “ศัพท์”) หรือนิยมเรียกกันง่าย ๆ ว่า พจนานุกรมภาษาสยาม ที่ ดร.แดน บีช แบรดเลย์ จัดพิมพ์ขึ้น
(Dictionary of the Siamese Language by Dr.Dan Beach Bradley
, Bangkok 1873) โดย “หมอบรัดเล” เรียกโคมลอยว่า Balloon
และอธิบายว่า โคมลอย คือ ประทีปเครื่องสำหรับจุดไฟในนั้นให้สว่าง แล้วควันไฟก็กลุ้มอบอยู่ในนั้น ภาโคมให้ลอยขึ้นไปได้บนอากาษ (หน้า ๑๐๕)

ความนิยมจุด “โคมลอย” ทุกวันนี้ มีกันจนเฝือ แทบจะทุกงานประเพณีบุญ แพร่ลามมาถึงทุกงานเลี้ยงขันโตก
มีอยู่ช่วงหนึ่ง กระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือเวียนถึงผู้ว่าราชการแปดจังหวัดภาคเหนือตอนบน สั่งเตือนชาวให้ล้านนาเพลา ๆ
เรื่องการจุดโคมลอยให้น้อยลงหน่อย หรือหากงดจุดไปเลยได้ก็จะยิ่งดี
ข้ออ้าง คือ หาว่ามารบกวนวิถีการบินทำให้เครื่องบินเกิดอันตราย อันเป็นที่มาของการลุกฮือขึ้นประท้วงโดยชาวล้านนา
พร้อมกับคำถามแทงใจดำที่ว่า “ระหว่างเครื่องบินกับประเพณีการจุดโคมลอยของชาวล้านนาที่มีมาหลายร้อยปีแล้ว
ใครที่ควรเป็นฝ่ายถอย หากจะห้ามไม่ให้พวกเราจุดโคมลอย ควรไปห้ามไม่ให้มีเที่ยวบินน่าจะง่ายกว่า”
เหตุการณ์ขัดแย้งนั้นค่อนข้างรุนแรงอยู่หลายปี นำมาซึ่งกฎระเบียบมากมายในช่วงเทศกาลสำคัญ ๆ
เช่น การกำหนดระยะเวลาการจุดโคมลอยว่าให้สามารถกระทำได้ในระหว่างช่วงเวลาใดและสถานที่ไหนบ้าง
เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ตรงกับช่วงที่เครื่องบินจะเหินฟ้าออกจากท่าอากาศยาน เป็นที่ทราบกันดีว่า
ช่วงหัวค่ำระหว่างหนึ่งทุ่มถึงสามทุ่มนั้นเป็นช่วงที่สายการบินชุกที่สุด แถมยังเป็นช่วงที่คนนิยมจุดโคมลอยมากที่สุดอีกเช่นกัน
แล้วใครควรเป็นฝ่ายถอย
วุ่นวายถึงคณะวิศวกรรมศาสตร์ของสถาบันการศึกษาหลายสำนัก ทั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และแม่โจ้
ต่างก็ใช้วิกฤติที่กำลังขัดแย้งอยู่นั้นให้เป็นโอกาส ด้วยการแข่งขันกันออกแบบโคมลอยชนิดที่เวิร์คที่สุด
อาทิ สามารถเผาไหม้ในตัวเองภายในระยะเวลาไม่เกินกี่นาที หรือเมื่อลอยไปปะทะกับเครื่องบินแล้ว
จะไม่รบกวนสมาธิของกัปตัน เป็นต้น

อย่างไรเสีย ชาวล้านนายังคงยืนกรานแน่นหนักว่า “ไม่เลิก ไม่รอ ไม่รับ”
(ไม่เลิกจุดโคมลอย ไม่รอเวลาว่ากี่ทุ่มถึงกี่ทุ่ม และไม่รับรูปแบบโคมประยุกต์ที่ทางการกำหนดให้จุดได้เท่านั้น)
http://goo.gl/F1uNDP
จาก note ของ https://www.facebook.com/pensupa.sukkatajaiinn/notes

Author: บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

I am Lecturer, Developer, Researcher, Columnist, Writer, Photographer, and Webmaster - L@mpang man

Leave a Reply