ใช้ – ก่อน- เรียน หรือ เรียน – ก่อน – ใช้ .. เลือกกันได้

https://www.facebook.com/chujai68/photos/a.1869171433367526.1073741828.1869163350035001/1904820289802640/
เว้นแต่เรื่องที่คุณเรียนนั้นสำคัญกับคุณมาก
https://www.facebook.com/chujai68/photos/a.1869171433367526.1073741828.1869163350035001/1904820289802640/

ถูกต้อง กับคำว่า “เริ่มก่อนได้เปรียบ
แต่ยังมีอีกแนวคิดที่น่าสนใจ

เรียนก่อน แล้วได้ประยุกต์ใช้ สมใจหมาย
แต่ถึงเวลาจะใช้ แล้วค่อยเรียน คงไม่ทัน


คุณภาพ = ความพึงพอใจ

ข่าว .. กอปศ.ทุบโต๊ะเลิกเรียน 8 กลุ่มสาระในเด็ก ป.1-3 (27 ก.พ.61)
ผลวิจัยพบ เรียนมากไม่สบความสำเร็จ ทำเด็กต้องแข่งขัน ชี้เด็กวัยนี้ควรเรียนรู้สมรรถนะการใช้ชีวิต คงแปลได้ว่า เรียนไม่สบความสำเร็จ ก็เลิกเรียน เปลี่ยนเรื่องรู้สมรรถนะการใช้ชีวิต ที่ง่ายกว่า สนุกกว่า

ส่วนสาระทั้ง 8 ที่เคยเห็นว่าจำเป็น มาตั้งแต่ 2551 นั้น จะใช้เมื่อไร (ป.4) ค่อยเรียน ประกอบด้วย 1) ภาษาไทย 2) คณิตศาสตร์ 3) วิทยาศาสตร์ 4) สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 5) สุขศึกษาและพลศึกษา 6) ศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ 7) การงานอาชีพ และเทคโนโลยี 8) ภาษาต่างประเทศ

http://www.thaiall.com/student/

คำถามที่ตอบยากครับ
เลือกอะไรระหว่าง
1. จะใช้เมื่อไร แล้วค่อยไปเรียน
2. เรียนก่อน แล้วค่อยเลือกใช้วันหน้า
กลุ่มแรก – ไม่ได้เรียน
80 ไม่ได้เรียน – ทำงานได้เลย
20 จะใช้ – แต่ไม่ได้เรียนมา

กลุ่มที่สอง – เรียนมา
80 ได้ใช้  ที่ได้เรียนมา
20 ที่เรียนมา – ไม่ได้ใช้

ก็มีนะ .. ไอ้เรื่องที่ไม่จำเป็นสำหรับนักเรียน (บางท่าน)

certification
certification

อจ. การเรียนมีกฎ มีเรื่อง มากมายในแต่ละหลักสูตร
นร. บางเรื่องไม่เห็นจำเป็นต้องเรียนเลย

อจ. มีเรื่องอะไรที่คิดว่าไม่จำเป็นบ้างล่ะ
นร. เยอะ ไร้สาระ ไม่อยากทำการบ้านส่ง ไม่อยากสอบ

อจ. ก็จริงนะ คงมีบางเรื่องไม่จำเป็นสำหรับนักเรียน
นร. แล้วทำไมต้องให้ทำงานส่ง เรียนเยอะไป
มีอย่างอื่นต้องทำ ต้องหาความสุขให้กับตัวเอง

เครียดแล้วจะป่วย

อจ. หลักสูตรจะออกใบรับรอง ว่ามีความรู้ครบถ้วน
ก็ต้องผ่านทุกเรื่อง ไม่ผ่านเรื่องหนึ่ง ก็ไม่ได้ใบรับรอง
นร. ??

อจ. มีบางเรื่อง ที่นักเรียนคิดว่าไม่จำเป็นสำหรับตัวนักเรียน
แต่ผู้ที่หลักสูตรจะออกใบรับรองให้ ต้องผ่านทุกเรื่องตามเกณฑ์
แล้วอยากได้ใบรับรอง ว่ามีความรู้ครบถ้วนตามหลักสูตรไหม
นร. ก็อยากครับ

คลิ๊กศิษย์เก่า ในกิจกรรม “one click รวมรุ่น” @YONOK

หากมีคำถามว่า
ไม่พบเพื่อนร่วมรุ่น มากว่า 20 ปี จะตามหากันได้อย่างไร
เสนอกิจกรรม One click รวมรุ่นที่ใช้ poll ในเฟสบุ๊คเป็นเครื่องมือ
และเป็นกิจกรรมในภาคสมัครใจ ทั้งการ join group และ click poll
สำหรับศิษย์เก่า คลิ๊กที่นี่

ภาพศิษย์เก่ากับกิจกรรม one click รวมรุ่น
ภาพศิษย์เก่ากับกิจกรรม one click รวมรุ่น

เหตุเริ่มจากว่า มีอยู่วันหนึ่ง ปลายฤดูหนาว
มีรุ่นน้องผู้หญิง เค้าชื่อ เปรมฤทัย รุ่น 45
โทรเข้ามาสอบถามว่ามีรูปเก่าของเพื่อนร่วมรุ่นไหม
มีโอกาสได้ซักไซร้ไล่เรียงกันอยู่พักหนึ่ง เพราะผมรุ่น 31
ห่างจากเค้าไป 15 ปี ก็คงไม่สะสมภาพเพื่อนของเค้าเป็นพิเศษ
และอยู่ต่างสาขาวิชาด้วย ยิ่งยากเลย
แล้วนึกถึง หอจดหมายเหตุ ของ มูลนิธิโยนก ก็น่าจะมีคำตอบ
แต่ต้องไปค้น facebook.com/yonokfoundation

เป้าหมายของศิษย์เก่า
1. เพื่อตามหาเพื่อนร่วมรุ่นที่ห่างหายไปมากกว่า 10 ปี
2. เพื่อตามอยากได้ภาพเก่าของเพื่อนและตนเอง

นั่นจึงเป็นการเริ่มต้น ที่จะตามหารุ่นน้องในแต่ละรุ่น
แล้วก็พบว่ามีกลุ่มศิษย์เก่าในเฟสชื่อ We are yonok
ที่รวบรวมศิษย์เก่าไว้มากที่สุด
เพราะเป็นกลุ่มเฟสที่ไม่ได้แยกรุ่นเหมือนกลุ่มอื่น
และในกลุ่มนี้มีคำอธิบายกลุ่ม ว่า ..

ผมสร้างกลุ่ม YONOK ขึ้นมา
เพื่อให้เกิดการรวมตัวกันของพวกเราชาว YONOK
และสามารถรู้เรื่องราว สารทุกข์ ของแต่ละท่าน
ช่วยกันตามเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ
ให้มาเข้ากลุ่มกันเยอะๆ นะครับ
คิดถึงชาว YONOK ทุกคนครับ
ผู้สร้างกลุ่มเป็นศิษย์เก่ารุ่น 3 ชื่อ Tommy

จึงได้สร้าง poll ให้ศิษย์เก่าได้มาคลิ๊ก
https://www.facebook.com/groups/iamyonok/
ข้อมูลแบ่งเป็น รหัส 2 ตัวหน้า ของรหัสนักศึกษา 7 หลักหรือ 13 หลัก
ที่เหมาะกับการใช้แยกรุ่น
ไม่ต้องกรอกข้อมูลอะไรเลย
เพียง คลิ๊กเดียว ก็พบเพื่อน ๆ ในรุ่นแล้ว
กิจกรรมนี้ชื่อ One click รวมรุ่น
จากนั้นก็เชิญชวนรุ่นต่าง ๆ เข้าไปแสดงตัว
ตามความสมัครใจ 

ตัวอย่างผลของกิจกรรม one click รวมรุ่น
ตัวอย่างผลของกิจกรรม one click รวมรุ่น

โดยข้อความที่เชิญชวนไปมีดังนี้
ใครรหัส 2 ตัวอะไร รายงานตัวกันหน่อย
เพื่อน ๆ ที่เข้ามาใหม่ ตามหากันจะได้เจอ
1. ตอบ poll
2. ส่งภาพกลุ่มเพื่อน ๆ จ๊าบ ๆ ใต้โพสต์ แล้วบอกรหัสกันด้วย
3. แท็กเพื่อนในภาพด้วย เวลาเปลี่ยน ทรงผมก็เปลี่ยน

ภาพเชิญชวนร่วมกิจกรรม
ภาพเชิญชวนร่วมกิจกรรม

ภาพประกอบโพสต์นี้ .. มาจากกิจกรรม Reunion
งานรวมรุ่น เมื่อ 27 มกราคม 2561
ที่สระว่ายน้ำของมหาวิทยาลัย
“ในฐานะเพื่อนคนหนึ่ง ให้มิตรภาพของคำว่า  เพื่อนแล้ว .. หมดทั้งใจที่มีอยู่”
.. เพื่อนรุ่น 1 คุณสันติ เขียวอุไร
มีข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://77kaoded.com/

ภาพเชิญชวนร่วมกิจกรรม
ภาพเชิญชวนร่วมกิจกรรม

ศิษย์เก่า (YONOK Alumni) ที่จะร่วมกิจกรรม คลิ๊กที่นี่
https://www.facebook.com/groups/iamyonok/

เล่าเรื่อง University 42 จาก bangkokbiznews.com โดย ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ

ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ เป็นคอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์ “อาหารสมอง” เขียนเล่าเรื่อง “University 42” ที่ก่อตั้งโดยเศรษฐีชื่อ Xavier Niel กับ Nicolas Sardirac
ว่าที่นั่นมุ่งไปที่จุดเดียว คือ ผลิตนักพัฒนาซอฟต์แวร์ชั้นยอดปีละประมาณ 1,000 คน
เรียน 3-5 ปี แล้วแต่ใครจะใช้เวลานานเท่าใด มีหอพัก มีอาหารฟรี ให้นักศึกษาที่แย่งกันเข้า
ไม่มีการนั่งฟังเลคเชอร์ ไม่มีอาจารย์ เปิดเรียน 24 ชั่วโมง 7 วัน
ผู้เรียนทุกคน คือ อาจารย์ของกันและกัน
ปีแรก (2013) ที่เปิดรับมีผู้สมัคร 80,000 คน
เรียนจบระดับใดหรือสาขาใดได้ทั้งนั้น มีอายุระหว่าง 18-30 ปี
สอบรอบแรกคัดเหลือ 3000 คน แล้วติว 4 สัปดาห์
แล้วคัดเหลือ 1000 คน

http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/643904

ที่นี่เรียนรู้โดยอาศัย project-based learning คือ การเรียนรู้จากกันและกัน
นักศึกษาต้องทำงานโปรเจคหนักมาก ทีมละ 5 – 6 คน ชนิดไม่ได้หลับไม่ได้นอนเป็นอาทิตย์
โปรเจคมาจากของจริง เช่น ให้พัฒนาซอฟต์แวร์โปรแกรมของโทรศัพท์บางรุ่นที่ล้าสมัย
ให้ทำงานได้กว้างขวางขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
คำว่า 42 มาจาก นิยายวิทยาศาสตร์ชื่อ The Hitchhiker’s Guide to the Galaxy
เขียนโดย Douglas Adams
ในเรื่องถามซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ที่ชื่อ Deep Thought
ว่า อะไร คือ คำตอบสุดท้ายของคำถามเกี่ยวกับชีวิต จักรวาล และทุก ๆ สิ่ง
แล้วคอมพิวเตอร์ใช้เวลาคิดอยู่ 7.5 ล้านปี และให้คำตอบว่า 42

รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ที่ปรึกษาของ สสวท.
รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ที่ปรึกษาของ สสวท.

http://www.thaiall.com/computingscience/

เรื่องนี้ ผมเพิ่มเข้าไปในโฮมเพจ วิทยาการคำนวณ (Computing science)
ซึ่งมีคลิ๊ปเด่นของ รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ที่ปรึกษาของ สสวท. เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาหลักสูตรวิทยาการคำนวณ โดยอธิบายที่มาที่ไปได้ชัดเจน

สรุปขอบเขตของวิชาวิทยาการคำนวณ ประกอบด้วย 3 องค์ความรู้ ดังนี้
1. การคิดเชิงคำนวณ (computational thinking) คือ เข้าใจและเรียนรู้วิธีคิดและแก้ปัญหาเชิงวิเคราะห์ มีลำดับวิธีคิด ซึ่งนอกจากการเรียนการเขียนโปรแกรมแล้ว หัวใจที่สำคัญกว่า คือ สอนให้เราเชื่อมโยงปัญหาต่าง ๆ และแก้ไขปัญหาได้
2. ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม (digital technology) ทั้งเทคนิควิธีการต่าง ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลในยุค 4.0 และเป็นทางเลือกในการบูรณาการเข้ากับวิชาอื่นได้ด้วย
3. รู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล (media and information literacy) พูดง่าย ๆ คือ แยกแยะได้ว่าข้อมูลไหนเป็นจริงหรือหลอกลวง รู้กฎหมายและลิขสิทธิ์ต่าง ๆ บนโลกไซเบอร์ เพื่อให้ใช้งานกันได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
ข้อมูลจาก https://www.dek-d.com/education/48514/

5 คำถามชวนคิด เรื่องผู้ว่าฯ ลาออกจากการออกหนังสือราชการที่มีข้อความที่ผิด

มีประเด็นที่สังคม ให้การชื่นชมในความรับผิดชอบ
ของผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ที่ส่งหนังสือลาออก ถึงปลัดกระทรวงมหาดไทย
เห็นแล้วก็อยากชวนเช็ค ชวนคิด ชวนแชร์ ชวนแลกเปลี่ยน

สปิริตของผู้ว่าราชการ http://www.nationtv.tv/main/content/378602093/
สปิริตของผู้ว่าราชการ
http://www.nationtv.tv/main/content/378602093/

พบว่า มีนักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน
ให้ความเห็นชื่นชมการตัดสินใจของผู้ว่าฯ
บอกว่าเป็นตัวอย่างที่ดี และมีท่านหนึ่ง โพสต์ว่า

.. ผิดพลาด ขอลาออก ทันที
รับผิดชอบ คือ เกียรติยศ
นี่แหละ .. จะเป็นตัวอย่างที่ดีให้เยาวชน
ถ้าบ้านเมืองมีคนอย่างนี้เยอะๆ
ลูกหลานก็จะดีเอง ..

ควรเป็นปกติที่พบเห็นข้อมูลข่าวสาร ก็ต้องมีการ “เช็คก่อนแชร์
จึงตั้งใจจะเตรียมคำถาม ไว้ชวนเพื่อน เช็คตนเองกันหน่อย

1. ฐานความผิดในการพิมพ์เอกสารผิดจากกรณีนี้
ท่านคิดว่าลาออกจากราชการ สมควรกับความผิด หรือไม่

2. มีงานที่ผู้ว่าฯ ต้องรับผิดชอบมากมาย
การเลือกรับผิดชอบที่พิมพ์เอกสารเตรียมรับนายกฯ ผิด แล้วลาออก
ย่อมทำให้สิ้นสุดความรับผิดชอบต่องานผู้ว่าฯ ในปัจจุบันและอนาคต
ท่านคิดว่าการแสดงความรับผิดชอบนี้ เลือกได้ดีที่สุด หรือไม่

3. ถ้ามีลูก มีหลาน มีศิษย์ มีเยาวชน ท่านจะอบรมสั่งสอน
ว่าหากพิมพ์เอกสารผิด และไม่ส่งผลกระทบใด ที่ร้ายแรง
แต่เพื่อรักษาชื่อเสียงเกียรติ
ท่านคิดว่าจะสอนใคร ให้ลาออกจากงานประจำจากการพิมพ์ผิด หรือไม่

4. ถ้าเป็นตัวอย่างที่ดี แล้วท่านไปพิมพ์เอกสารผิด และต้องการรับผิดชอบ
จึงลาออกจากงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ตอนอายุ 24 ปี
ท่านคิดว่าจะหางานใหม่ หรือไม่ หลังจากออกจากงานเดิมแล้ว

5. การเลือกที่จะลาออกของผู้ว่าฯ อาจมีเหตุผลมากมาย
ที่นำมาประกอบการพิจารณา
นอกจากคำว่า รับผิดชอบต่อการพิมพ์เอกสารผิด และรักษาชื่อเสียงเกียรติยศแล้ว
ท่านคิดว่าควรมีเหตุผลอะไรที่ต้องนำมาประกอบการพิจารณาอีก หรือไม่

จากคำถามทั้ง 5 ข้อนี้ เป็นเพียงการชวนคิด
เพราะความจริงแล้ว อาจมีข้อมูลอื่นที่ทำให้ผู้ว่าฯ ตัดสินใจ

ไม่ว่าคำตอบจะเป็นอย่างไร คนที่ตอบเท่านั้น
คือ ผู้เรียนรู้ ว่าอะไรควร หรือไม่ควร
เพราะสุดท้ายแล้ว เรื่องนี้เป็นเพียงกรณีตัวอย่าง
ของ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี

สืบค้นงานวิจัย Fullpaper ฟรี สำหรับคนไทย

คำถาม “จะค้นงานวิจัย
ที่มี fullpaper หรือ abstract ได้จากที่ไหน

ในอดีต มีฐานข้อมูลในแต่ละสถาบัน
ที่เข้าไปสืบค้น แล้วดาวน์โหลด fullpaper หรือ abstract ได้
แต่ปี 2561 ทดสอบค้นในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาแล้ว
เท่าที่ค้นดู พบว่า ปิดการ download จากภายนอก
เปิดให้ download เฉพาะบุคลากร และนักศึกษาของสถาบัน
แต่มีอีก 3 แหล่งที่ยังเปิดให้ดาวน์โหลดจากภายนอกได้
และมีจำนวนรายงานการวิจัยไม่น้อย
1. ThaiLis เครือข่ายห้องสมุด
2. e-library ของ TRF
3. ศูนย์ข้อมูลการวิจัย วช.
จากการทดสอบ ทั้ง 3 แหล่ง มีผลการทดสอบดังนี้

thailis research database
thailis research database

http://dcms.thailis.or.th/dcms/basic.php

1. ThaiLIS เครือข่ายห้องสมุด
ค้นคำว่า “จริยธรรม” พบ 2253 รายการ ค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2561 พบงานของ จงกลนี กิติยานันท์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน ปี 2559 เรื่อง ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของผู้บริหารการพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี
แฟ้มเดียวมี 144 หน้า

trf research database
trf research database

https://elibrary.trf.or.th/

2. e-library ของ TRF
ค้นคำว่า “จริยธรรม” พบ 37 + 19 = 56 โครงการ ค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2561 พบงานของ นงนภัส พันธ์พลกฤต, ฉัตรชัย ศิริกุลพันธ์ ปี 2558 เรื่อง การวิจัยและพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมจิตจริยธรรมของนักศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่
แฟ้มเดียวมี 238 หน้า

วช. research database
วช. research database

http://dric.nrct.go.th/index.php

3. ศูนย์ข้อมูลการวิจัย วช.
ค้นคำว่า “จริยธรรม” พบ 1295 รายการ ค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2561 พบงานของ ทินกร ชุณหภัทรกุล ปี 2560 เรื่อง การสร้างชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของเยาวชน 4 ภาค
แฟ้มรวมมี 189 หน้า

 

สำนึกรักสัตว์ป่า ตามที่ คุณสืบ นาคะเสถียร เขียนร้องกรองปลุกสติ

สืบ นาคะเสถียร
เกิด เมื่อวันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2492
เสียชีวิต เมื่อเช้ามืดวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2533

มีร้องกรองบทหนึ่ง ที่ประทับใจ
และมีการพูดถึงกันมากเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2561
ปลุกกระแสสำนึกรักสัตว์ป่า ขึ้นมาอีกครั้ง

โทษไหนจึงประหาร ศาลไหนพิพากษา
ถ้าลูกท่านเป็นสัตว์ล่ะ ใครเข่นฆ่าท่านยอมไหม
ชีวิตใครใครก็รัก ท่านประจักษ์บ้างหรือไม่
โปรดเถิดจงเห็นใจ สัตว์นั้นไซร้ก็เหมือนกัน

กรณีศึกษา เมื่อ 4 ก.พ.2561
พกอาวุธ เข้าป่าสงวน ตั้งแคมป์ ล่าสัตว์ ซุกซ่อนซากสัตว์ที่ชำแหละแล้ว
มีความผิดตามกฎหมาย และมีการตั้งข้อหา 6 ข้อหา
อ่านเพิ่มเติม

ตะโกนก้อง่ จากพงไพร
ตะโกนก้อง่ จากพงไพร
สัตว์ป่าของ สืบ นาคะเสถียร
สัตว์ป่าของ สืบ นาคะเสถียร

ภาพจาก https://www.trendsmap.com

พบกฎหมาย ที่บังคับผู้ปกครองให้ส่งเด็กเข้าโรงเรียน ไม่ส่งโดนปรับหนึ่งหมื่นบาท

ห้องเรียน ที่ทุกคนมีความสุข
ห้องเรียน ที่ทุกคนมีความสุข

พบกฎหมายเกี่ยวข้อง ๓ ฉบับ
ฉบับแรก บอกว่า รัฐต้องจัดให้เรียนถึง ม.๓ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ฉบับที่ ๒ บอกว่า พ่อแม่หรือผู้ปกครอง ต้องส่งเด็กไปเรียนหนังสือ
ฉบับที่ ๓ บอกว่า ให้ส่งเด็กไปเรียนหนังสือ ถ้าไม่ส่งมีโทษปรับ ๑๐๐๐ หรือ ๑๐๐๐๐

ฉบับแรก
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๖๐
ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๐ก
ตราไว้ ณ วันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐
http://www.ratchakitcha.soc.go.th
กำหนดในหมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ
มาตรา ๕๔ “รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี
ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

สรุปว่า
เด็กทุกคน ต้องได้รับการศึกษาระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๓
เป็นเวลา ๑๒ ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
เป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ชัดเจน

ฉบับที่ ๒
พระราชบัญญัติ คุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖
https://dep.go.th/images/uploads/Downloads/pdf/888_08.pdf
มาตรา ๒๓ “ผู้ปกครองต้องให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และพัฒนาเด็ก
ที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนตามสมควรแก่ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น
แต่ทั้งนี้ต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
และต้องคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตน
มิให้ตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ

สรุปว่า พ่อแม่หรือผู้ปกครอง ต้องส่งเด็กไปเรียนหนังสือ
“ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามที่กำหนดในกฎกระทรวง”

ฉบับที่ ๓
พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.๒๕๔๕
ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
https://www.ssk4.go.th/Upload/compulsory-education.pdf
มาตรา ๖ “ให้ผู้ปกครองส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา
เมื่อผู้ปกครองร้องขอให้สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผันให้เด็ก
เข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้
ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
และ มาตรา ๑๓ “ผู้ปกครองที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
และ มาตรา ๑๕ “ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร
กระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นเหตุให้เด็กมิได้เรียนในสถานศึกษา
ตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

สรุปว่า ถ้าผู้ปกครองไม่ส่งเด็กไปเรียน
อาจถูกปรับ ๑๐๐๐ บาท
ถ้าปราศจากเหตุอันสมควร โดนปรับ ๑๐๐๐๐ บาท

เมื่อสรุปจากการอ่านกฎหมายทั้ง ๓ ฉบับ

พบว่า ถ้าเด็กไม่ยอมไปเรียน ผู้ปกครองก็ตีเด็กไม่ได้
เพราะมีกฎหมายคุ้มครองเด็ก
ดังนั้น ถ้าเด็กไม่อยากเรียน ก็ไม่ได้เรียน
แม้รัฐจะดำเนินการให้เด็กทุกคน
ได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายแล้วก็ตาม
ถ้าให้การศึกษา แล้วเด็กไม่รับการศึกษา
สิ่งที่จะให้ย่อมไม่ถึงมือผู้รับ

วิศวกรไอที ตบเท้า ตกงาน เหตุทักษะไม่เพียงพอกับที่ตลาดปัจจุบันต้องการ

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

จบวิศวกรไอทีอินเดีย “ตกงาน
ในปี 2017 ตกงาน 56,000 คน เพราะทักษะไม่ถึงเกณฑ์
เป็นตอนหนึ่งจากบทความใน brandinside.asia

ที่อินเดีย เป็นสวรรค์ของวิศวกรไอทีก็ว่าได้
เพราะตลาดไอทีมีมูลค่ากว่า 1.6 แสนล้านดอลลาร์
(48 แสนล้านบาท หรือ 5 ล้านล้านบาท)
ในทางตรงข้ามกลับคาดว่าคนที่ทำงานด้านไอที
ที่มีทักษะต่ำถึงปี 2022 จะตกงานกว่า 700,000 คน

ผลวิเคราะห์ปัญหาพบว่ามีสิ่งที่เข้าคุกคาม
สวรรค์ของเหล่าวิศวกรไอที มาจากสาเหตุ ดังนี้
1. จ้าง outsource
2. ทักษะไม่พอกับที่ตลาดปัจจุบันต้องการ
3. นโยบาย America First ของ โดนับ ทรัมป์

ส่วนประเทศไทย กระแสปัญหาการจ้างงานคนไอที
ก็มีอยู่อย่างต่อเนื่อง
แม้จะมีนโยบาย Thailand 4.0 ก็ตาม
คำสำคัญที่ถูกนำมาพูดถึงเสมอ คือ ทักษะ เช่นเดียวกับที่อินเดีย

อ่านเพิ่มเติม
https://brandinside.asia
https://qz.com/1152683/
https://qz.com/1166224/
http://www.livemint.com

หลัก 50/50 glory and money

ตาม Maslow’s hierarchy of needs แล้ว

Money อยู่ต่ำสุด Glory อยู่สูงมาก 
แยกกันชัดเจน

พบว่า มีการหารือ ในเวทีด้านการศึกษา
ว่า คนเราได้รับเกียรติแล้ว เค้าก็ไม่น่ารับเงิน
ที่ต่างประเทศ เค้ารับเกียรติ ก็รู้สึกเพียงพอแล้ว

ในอีกมุมหนึ่ง
บางคน ยอมแลกเกียรติ กับ เงินทอง
บางคน เอาเงินทอง ไปแลกกับ เกียรติ
บางคน อยากได้เกียรติ แล้วเงินทองจะตามมา
บางคน อยากได้เงินทอง แล้วเกียรติจะตามมา

เวลาถกเถียงกันระหว่าง เกียรติ กับ เงินทอง
ถ้าคนมีเงินทองเยอะอยู่แล้ว จะเลือกเกียรติ
ถ้าคนมีเงินทองน้อย ก็จะเลือกเงินทอง เป็นธรรมดา
เรื่องนี้เอาไปเล่าในหัวข้อ คุณธรรมจริยธรรม
http://www.thaiall.com/ethics
แต่สรุปว่า เป็นธรรมชาติ ของมนุษย์ น่าจะตรงกว่า

ข่าวการประชุมในกระทรวงศึกษาธิการ
ข่าวการประชุมในกระทรวงศึกษาธิการ

http://www.moe.go.th