ภาพชุดนักศึกษารักการอ่าน ประจำปีการศึกษา 2560 ภาคเรียนที่ 1

ภาพชุดนักศึกษารักการอ่าน คือ กิจกรรมหนึ่งในวิชาสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ให้นักศึกษาไปสืบค้นหนังสือที่ชอบในห้องสมุด นำมาอ่าน สรุปใจความสำคัญลงกระดาษ แล้วก็ถ่ายภาพกระดาษที่ได้สรุปเนื้อหาเหล่านั้น พร้อมกับถ่ายภาพตนเองระหว่างการอ่านหนังสือท่ามกลางกองหนังสือ จากนั้นก็ zip ผลงานทั้งหมดเป็นแฟ้มเดียว ส่งเข้าระบบอีเลินนิ่ง เมื่อเห็นภาพนักศึกษาตั้งใจถ่ายระหว่างอ่านหนังสือ ก็นำมาแชร์ต่อ เพราะเห็นเป็นเรื่องน่าชื่นชม

รักการอ่าน : http://www.thaiall.com/readbookt

แชร์ผ่าน photos google
ที่ https://photos.app.goo.gl/uJjXqkKvoZalZkim2

แชร์ผ่าน fan page
ที่ https://www.facebook.com/pg/ajarnburin/

 

รักการอ่าน
รักการอ่าน

การใช้บริการ Photos ของ Google.com เพื่อ Share Album สำหรับผู้มีบัญชีของ gmail.com สามารถ install app เพื่อเก็บ photos หรือ Video ใน cloud storage หรือ share ทั้งแบบ photo หรือ album แล้วยังสั่งเปิดแบบ slide show ได้

คำแนะนำการใช้งาน ดังนี้ 1) Sign in : http://photos.google.com 2) แล้วอัพโหลด 78 ภาพ ผ่าน Web browser 3) แล้วเลือก Add to Album, New album, พิมพ์ชื่ออัลบั้มแล้ว click เครื่องหมายถูกที่มุมบนซ้าย มีตัวอย่าง Album ที่ share เช่น “Love to read a book (2560-1)” , “โครงการ อพ.สธ-ม.เนชั่น” , “Miss Grand 2016” หรือ “Miss Grand 2017 (PWA)” “Fanpage สวนนายบู” สำหรับ Android : download

 


หลังอ่านหนังสือสักเล่ม ก็ต้องทบทวน ว่าในหนังสือมีอะไรดี สรุปออกมาอย่างน้อยสักหน้าให้รู้เรื่องราวความเป็นมาเป็นไป ก็น่าจะดี เป็นความคิดรวบยอดจากการอ่าน 
การเลือกหนังสือก็สำคัญ นักศึกษามักเลือกหนังสือที่สัมพันธ์กับสายของตนเอง (Major)
อาทิ
สาขารัฐประศาสนศาสตร์
สาขาสาธารณสุขศาสตร์
สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
สาขาบัญชี
สาขาบริหาร
สาขานิเทศศาสตร์

l3nr.org เป็นห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) ที่ไม่เปิดรับสมาชิกใหม่ไปซะแล้ว

ชอบเว็บไซต์ l3nr.org และแนะนำให้นักศึกษาเข้าใช้บริการเป็นเวทีปล่อยของบ่อยครั้ง เพราะเว็บไซต์นี้เป็นแหล่งปล่อยของสำหรับนักเรียนนักศึกษา ดังคำสำคัญ หรือนิยาม ที่พบในเว็บไซต์ว่า L3nr คือ “เกมส์การเรียนรู้” หรือ “เกมส์กลับหัว เพื่อห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom)” และ “การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับทางนั้น ผู้สอนจะจัดกิจกรรมหลากรูปแบบโดยใช้เครื่องมือหลายอย่างทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดเวลา ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน แบบกลุ่มและแบบรายบุคคล

แล้วปี 2017 จะให้นักศึกษาไปปล่อยของกันที่นี่เหมือนเดิม ก็มีนักศึกษาเข้าไปสมัครสมาชิก แล้วพบข้อความว่า “ระบบ L3nr ในขณะนี้ไม่เปิดรับสมาชิกใหม่แล้วค่ะ กรุณาใช้งานระบบ ClassStart ซึ่งเป็นระบบจัดการการเรียนการสอนออนไลน์ที่สมบูรณ์ที่สุดของไทยในปัจจุบัน” สำหรับเหตุการณ์ที่ไม่รับสมาชิกใหม่ของเว็บไซต์นั้น เคยเกิดขึ้นกับหลายเว็บไซต์มาแล้ว อาทิ geocities.com หรือ thai.net เป็นต้น ซึ่งแต่ละเว็บไซต์ก็มีเหตุผลที่ต้องปรับนโยบายไปเช่นนั้น ซึ่งผู้ดูแล L3nr.org มีอีก 2 เว็บไซต์หลักที่ต้องดูแล และดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป ได้แก่ GotoKnow.org คือ เว็บไซต์สำหรับคนทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บันทึกประวัติศาสตร์ชีวิตและการทำงาน ครู อาจารย์ คนทำงานภาครัฐและภาคสังคม และ ClassStart.org คือ ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต จัดการการเรียนการสอนได้ง่าย ไม่ต้องติดตั้งระบบเอง เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา

อ่านนิยามของเว็บไซต์ L3nr.org เสร็จ .. ทำให้นึกถึงน้อง Kittichai Mala-in FramyFollow (ป.6) ที่ใช้ medium.com เป็นเวทีแชร์ประสบการณ์ใน โรงเรียนบ้านง่อนหนองพะเนาว์มิตรภาพที่ 126 ตั้งแต่สมัย ป.3 ที่ทำ root Smartphone ของ True ผ่าน King Root พอขึ้น ป.4 กับ ป.5 สร้างเกมด้วย RPG Maker VX เดี๋ยวนี้ ป.6 สนใจ Dream Weaver CS5 กับ CSS ได้ความรู้เยอะเลยจาก thaicreate.com เขียนได้ดี น่านำไปแชร์ต่ออย่างมาก

แล้วนึกถึงหนังสือ ห้องเรียนแห่งอนาคต เปลี่ยนครูเป็นโค้ช ของ อ.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ มี quote ที่หน้าปกว่า “ฉีกกฎการเรียนการสอนแบบเดิม ๆ เพิ่มหลังการเรียนรู้ให้เด็กไทย
ด้วยห้องเรียนที่สร้างสรรค์อย่างแท้จริง
” แล้วห้องเรียนกลับทางก็เป็นห้องเรียนที่สร้างสรรค์อีกรูปแบบหนึ่ง

สรุปว่า .. มีเวทีมากมายที่เป็นห้องเรียนกลับหัว ที่ให้นักเรียนนักศึกษาใช้เป็นเวทีปล่อยของ จะปล่อยกันเองตามอำเภอใจ ปล่อยตามประเด็นที่ครูอาจารย์มอบหมาย หรือปล่อยเพื่อประกวดแข่งขัน ก็ทำได้ตามสะดวก อย่าใช้แต่เฟสบุ๊กโปรไฟร์หรือแฟนเพจอย่างเดียว ก็แนะนำให้ไปใช้ในหลายแหล่ง มีเวทีมากมายที่เปิดรับเป็น public อย่างแท้จริง อาทิ  1) blogger.ccom, 2) wordpress.com, 3) oknation.net=oknation.nationtv.tv, 4) medium.com, 5) dek-d.com, 6) gotoknow.org, 7) github.com, 8) FreeWebHosting อีกมากมาย และนี่ยังไม่นับรวมเวทีมัลติมีเดียทั้ง คลิ๊ปวีดีโอ เสียง ภาพ ซอฟต์แวร์ หรืออีบุ๊ค เป็นต้น

ใน 7 sites แรกที่แนะนำไปด้านบน
มี WordPress.com ที่ชอบมากเป็นพิเศษ เพราะ export post ที่เลือกแบบ published ไปให้เพื่อนที่ลง WP ไว้ในระบบ แล้ว import แฟ้ม XML ได้เลย เรียกว่า ปล่อยของไว้ที่ WP วันดี คืนดี อยากเปลี่ยนเวที ก็ Export ไปที่อื่นได้เลย

นี่ผมก็ export จากไซต์ของ wordpress.com ได้แฟ้ม xml ไปฝากไว้กับ github.com
ที่ https://github.com/thaiall/programming-page/tree/master/wordpress

 

ก่อนหน้านี้ก็มีเว็บไซต์ดี ๆ อย่าง Wonkdy.org
เขียนโดย ดร. จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ ร่วมเขียนโดย ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์
http://www.usablelabs.org
ข้อมูลจาก https://web.archive.org/web/20150908071932/https://www.wonkdy.org/pages/101

ในวันที่เจ้าต้นไม้เข้าเรียนประถมหนึ่ง แม่ถามพ่อว่า “รู้ไหม ลูกเราจะต้องเรียนอะไรบ้าง?”

แน่นอนว่าพ่อตอบไม่ได้และนั่นคือจุดเริ่มต้นของ Wonkdy Academy (หวังดี อคาเดมี)

หวังดี อคาเดมี เป็นพื้นที่รวบรวมโน้ตของพ่อและแม่เพื่อจะได้รู้และช่วยสอนลูกได้ เพราะพ่อกับแม่เชื่อว่าการเรียนรู้ที่ดีเพื่อพัฒนาเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้องเริ่มต้นที่บ้าน

หวังดี อคาเดมี เป็นพื้นที่ออนไลน์ที่พ่อและแม่จะได้แบ่งปันเนื้อหาเหล่านี้ให้พ่อและแม่ของคนอื่นๆ ต่อไปเพราะเราอยู่ในสังคมเดียวกัน การเกื้อกูลกันโดยแบ่งปันความรู้คือของขวัญที่ดีที่สุดที่จะมอบให้แก่สังคม

นอกจากนี้พ่อและแม่ยังชักชวนพี่น้องเพื่อนฝูง ทั้งในวงการการศึกษาที่พ่อและแม่ทำงานอยู่และคนอื่นๆ ที่มีความตั้งใจเดียวกัน เพื่อร่วมกันแบ่งปันเนื้อหาดีๆ ให้ทุกคนสามารถตอบคำถามเดียวกันที่แม่ถามพ่อได้ว่า “เรารู้ว่าลูกเราเรียนอะไร”

หวังดี อคาเดมี เป็นระบบเพื่อสนับสนุนการเขียนร่วมกันในลักษณะเดียวกันกับ Wikipedia โดย หวังดี อคาเดมี พยายามพัฒนาให้ใช้งานได้ง่ายที่สุด สอดคล้องกับการใช้งานของคนไทย และเหมาะกับเนื้อหาด้านการศึกษามากที่สุด

โครงการ หวังดี อคาเดมี ให้บริการโดย ศูนย์พัฒนานวัตกรรมเพื่อการจัดการความรู้และการเรียนรู้ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ส่วนคำว่า “หวังดี” นั้นมาจากคำแปลของคำว่า “ปิยะวิชญ์” (Piyawish) ที่เป็นชื่อจริงของเจ้าต้นไม้ ที่พ่อและแม่พยายามคิดโดยเอาบาลีบวกสันสกฤตบวกอังกฤษเพื่อเป็นชื่อของ “ดช.หวังดี” คนดีของพ่อและแม่นั่นเอง

ปล. เรารู้ความหมายของคำว่า wonk, wonky, (และ wank) ในภาษาอังกฤษดีจึงตั้งชื่อเว็บนี้ว่า “wonkdy” เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงระบบการศึกษาของโลกนี้ที่พ่อกับแม่ได้เจอมา และด้วยความหวังว่าลูกคงได้เจอสิ่งที่ดีกว่า

 

ยัดเยียดกรอบความคิดเรื่อง “อ่านออก เขียนได้” เข้าห้วเด็ก อยากให้อยู่ในกรอบนี้

มนุษย์กลุ่มหนึ่งมี กรอบแนวคิด (Framework)
ว่า มนุษย์คนอื่นควรที่จะ อ่านออก + เขียนได้
การทำไม่สำเร็จ ถือเป็นความล้มเหลว ที่ต้องแก้ไข
พยายามยัดความคิดว่า

มนุษย์ต้องอ่านออกเขียนได้ เข้าไปในหัวเด็ก ๆ

พบว่า มีความพยายามแก้ไขด้วยวิธีการต่าง ๆ
อาทิ ครูไม่พอ ก็ไปหาครูมาเพิ่ม
เพื่อยัดกรอบความคิด (Framework) เรื่องอ่านออกเขียนได้ เข้าไปในหัวเด็ก ๆ

เด็ก ๆ บางทีก็คิดนอกกรอบนี้นะครับ
(เคยดูหนังเรื่อง คิดถึงวิทยา ที่โรงเรียนเรือนแพน่ะครับ)

 

มีกรอกความคิด อยากให้เด็กอ่านออกเขียนได้
มีกรอกความคิด อยากให้เด็กอ่านออกเขียนได้

http://www.kruwandee.com/news-id35908.html
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10155654550518895&set=a.10150933077238895.437258.814248894&type=3&theater

ทุกวันนี้เจอพวกตีกรอบมามากมาย
การตีกรอบความคิดมีความพยายามกันเยอะครับ
ดูหนังหนึ่งเรื่อง อ่านข่าวหนึ่งย่อหน้า ผมก็โดนยัดความคิดเข้าสมองมาล่ะ
นี่ไปดูหนังเรื่อง “สิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่ารัก
พอดูเสร็จเท่านั้นหละ “รักแฟนขึ้นมาเลย
หรือ
ดูโฆษณาผ้าอนามัย ดูเสร็จ “อยากใส่ผ้าอนามัยเลย
โดนล้างสมองมาเรียบร้อย แต่เอ๊ะ ผมไม่ใช้ผ้าอนามัยนี่นา

ทุกวันนี้ก็ตีกรอบความคิดให้นักศึกษาของผมอยู่
ยัดความคิดเรื่อง
อ่านโปรแกรมออก
เขียนโปรแกรมได้
ก็ไม่รู้จะยัดความคิดพวกนี้ได้ไหม หรือพวกเขามีกรอบความคิดเป็นของตนเอง
.. คืออะไรนะ

ความหมายของคำอธิบายรายวิชา และตัวอย่าง

ตัวอย่าง มคอ.2 - 7
ตัวอย่าง มคอ.2 – 7
http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/news/news7.php

คำอธิบายรายวิชา (Course Description)
คือ เนื้อหาสาระที่กำหนดเป็นหลักของแต่ละรายวิชาในหลักสูตร
ซึ่งถูกเขียนไว้ใน มคอ.2 ร่วมกับแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบ แล้วผู้สอนจะนำเนื้อหาไปเพิ่มรายละเอียดเป็นเค้าโครงการสอนใน มคอ.3 หรือ มคอ.4 เมื่อดำเนินการสอนแล้วเสร็จ ก็จะประเมินผลเป็น มคอ.5 หรือ มคอ.6 และ มคอ.7 ตามลำดับ

มคอ. คือ มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
http://www.thaiall.com/tqf
http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/news/news7.php

TECH 100 สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ
(Media and Information Technology)
2(2-0-4)
ศึกษาความหมายและหลักการของเทคโนโลยีการสื่อสาร ความรู้เบื้องต้นทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการติดต่อสื่อสาร การศึกษาและนำไปใช้เชิงพาณิชย์ ประเภทของระบบสารสนเทศ การสืบค้นข้อมูล ระบบฐานข้อมูลเบื้องต้น ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ความปลอดภัยและจริยธรรมในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
A study of communication technology meaning and principles, introduction of information technology, technology applications for communication, education and commercial application, types of information system, data retrieval, introduction to database systems, office automation system, security and ethics of information technology using.

BCOM 313 กฎหมายและจริยธรรมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพคอมพิวเตอร์
(Laws and Ethics for Computer Professionals)
3(3-0-6)
แนวคิดเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า กฎหมายว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องความเป็นส่วนตัว อาชญากรรมผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ กรณีศึกษาการใช้เครือข่ายสังคม
Concepts of morality and ethics, act on the offense on the computer, intellectual property law, copyright, patents, trademarks, law on electronic commerce and privacy laws, computer crime, case studies of social network.

CPSC 103 ตรรกะดิจิทัล
(Digital Logic)
3(3-0-6)
ระบบจำนวนและรหัสคอมพิวเตอร์ พีชคณิตบูลีน การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ตรรกะคอมบิเนชันนัล ฟังก์ชันสวิทชิง รูปแบบคาโนนิคัล แผนที่คาร์นอฟ เทคนิคการลดรูป วงจรแนนและวงจรนอร์หลายระดับ และภัยในวงจร การวิเคราะห์และสังเคราะห์ตรรกะ ซีเควนเชียล การนำ
ฟลิปฟล็อปมาสร้างตรรกะ ตัวแปรสถานะ แผนภาพแสดง การเปลี่ยนสถานะ ตารางแสดงสถานะ การลดจำนวนสถานะ เทคนิคการกำหนดสถานะ และสภาวะการแข่งขัน
Number systems and computer codes, Boolean algebra, analysis and synthesis of combinational logic, switching function, canonical forms, Karnaugh map, minimization techniques, multilevel NAND and NOR circuits and hazards, analysis and synthesis of sequential logic, logic implementation with flip flop, state variables, state transition diagram, state table, minimization of states, state assignment techniques, and race conditions.

CPSC 205 ระบบปฏิบัติการ
(Operating Systems)
3(2–2–5)
สถาปัตยกรรม เป้าหมายและโครงสร้างของระบบปฏิบัติการ การจัดการการประมวลผล การกำหนดการการประมวลผล ความร่วมมือและการประสานเวลาของการประมวลผล สภาวะติดตาย สาเหตุ เงื่อนไข การป้องกัน การจัดการหน่วยความจำ หน่วยความจำกายภาพ หน่วยความจำเสมือน การจัดการหน่วยเก็บรอง จานบันทึก หน่วยเก็บขั้นสาม หน่วยรับเข้า/ส่งออก แฟ้มข้อมูล สารบบ ระบบปฏิบัติการแบบกระจายเบื้องต้น
Architecture, goals, and structure of operating system, process management, processes scheduling, process coordination and synchronization, deadlock, causes, conditions, prevention, memory management, physical memory, virtual memory, secondary storage management, disk, tertiary storage, Input/Output (I/O), file, directory, introduction to distributed operating systems.

CPSC 332 ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์
(Human-Computer Interaction)
3(3-0-6)
พฤติกรรมมนุษย์ กระบวนวิธีการบันทึกและแปลพฤติกรรมมนุษย์ การวิเคราะห์ การทำงาน เทคนิคการสังเกต การออกแบบสอบถาม เทคนิคการวิเคราะห์และการโมเดลงาน วิธีแสดงส่วนปฏิสัมพันธ์และเครื่องมือสร้างต้นแบบ ขั้นตอนการเรียนรู้ การศึกษาการใช้งานและการวิเคราะห์โพรโทคอลการใช้คำ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ แนวทางการทดลองทำจริง การเรียนรู้ของมนุษย์ การทำนายและการเลียนแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์และกรณีศึกษา
Human behavior, methodologies for obtaining and interpreting human behavior: work activity analysis, observation techniques, questionnaire, task analysis and modeling techniques, methods for interface representation and prototyping tools, cognitive walkthroughs, usability studies and verbal protocol analysis, the four approaches to human-computer interaction, empirical, cognitive, predictive, and anthropomorphic and case studies.

BCOM 241 โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี
(Data Structures and Algorithms)
3(2-2-5)
โครงสร้างข้อมูลแบบต่างๆ ลิสต์ สแตก แถวคอย ต้นไม้ กราฟ เซ็ต และ ฮีป การเรียงลำดับข้อมูลด้วยอัลกอริทึมแบบบับเบิล การแทรก เชลล์ ฮีป ควิก การค้นหาด้วยอัลกอริทึมแบบตามลำดับ แบบไบนารี ใช้ตารางแฮช โครงสร้างต้นไม้และการดำเนินการกับข้อมูลในโครงสร้างต้นไม้ โครงสร้างกราฟและการดำเนินการกับข้อมูลในโครงสร้างกราฟ การประยุกต์ใช้โครงสร้างข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาในธุรกิจ ภาคปฏิบัติใช้โปรแกรมภาษาที่กำหนด เขียนโปรแกรมประยุกต์โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธีเพื่อแก้ปัญหาในงานธุรกิจ
Type of Data structures, such as lists, stacks, queues, trees, graphs, sets and heap. Sorting algorithms, such as bubbles, insertions, shells, heaps, quicks. Searching algorithms, such as sequentials, binarys, hashing tables. Tree structures and operation of tree structures. Graph structures and operation of graph structures. Applying data structures, algorithms and writing programming for solve business problems.

CPSC 203 โครงสร้างข้อมูล
(Data Structures)
3(3-0-6)
ประเภทข้อมูลนามธรรมในภาษาชั้นสูง ประเภทข้อมูลแบบตัวชี้และเวกเตอร์ในภาษาชั้นสูง เวลาการรันงานและความซับซ้อน รายการโยง กองซ้อน แถวคอย การวนซ้ำและกรณีศึกษาด้านการคำนวณ ต้นไม้ กราฟ ฮีปทวิภาค ขั้นตอนวิธีของต้นไม้ กรณีศึกษาด้านการเรียงลำดับ ตารางแฮช การบีบอัดข้อมูล การจับคู่สตริง
Abstract data type in high level language, pointer and vector in high level language, running time and complexity, linked-lists, stacks, queues, trees, recursion, numerical case studies, trees, graph, binary heap, tree algorithms, sorting case studies, hash table, data compression, string matching.

BCOM 331 การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์
(Website Design and Development)
3(2–2–5)
โครงสร้างและการทำงานของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ทั้งแบบสแตติก และ ไดนามิก การออกแบบเว็บเพจ การจัดการเชื่อมต่อ การแทรกข้อความ เสียง ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว เทคนิคการเชื่อมโยงและการจัดการฐานข้อมูลบนเว็บไซต์ เน้นการฝึกหัด และการสร้างเสริมความเข้าใจในการปฏิบัติการเกี่ยวกับการออกแบบ และพัฒนาเว็บไซต์
The structure and operation of electronic documents as static and dynamic, web page design, manage connections, insert text, audio, still and moving images, linking techniques and database management on the website, focus on training and enhance the understanding of operating about design and website development.

CPSC 342 การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์
(Website Design and Development)
3(2-2-5)
โครงสร้างและการทำงานของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ทั้งแบบ Static และ Dynamic การออกแบบเว็บเพจ การจัดการเชื่อมต่อ การแทรกข้อความ เสียง ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว เทคนิคการเชื่อมโยงและการจัดการฐานข้อมูลบนเว็บไซต์ เน้นการฝึกหัด และการสร้างเสริมความเข้าใจในการปฏิบัติการเกี่ยวกับการออกแบบ และพัฒนาเว็บไซต์
Structure and operation of static and dynamic electronic documents. Webpage design, link management, insertion of text, sound, and animation. Link technique and database management on website. Practice to reinforce the understandings in the design and development of website.

การเขียน shell script บน Android แบบไม่ต้องใช้ chmod

การเขียน shell script
การเขียน shell script

เคยมีนักศึกษาสายไอที ถามมา
เพราะสายอื่นเค้าคงไม่ถามแบบนี้หลอก
คำถาม “มีสมาร์ทโฟน เอามาทำอะไรได้บ้าง
แล้วก็คิดได้ว่า โทรศัพท์ที่เค้ามีเป็น android os
สามารถติดตั้ง app เพิ่ม จาก Google play store ได้
งั้นตอบว่า “ใช้เขียน shell script ได้ ลองดูนะ
ไม่ต้องกังวลเรื่อง root ด้วย เพราะไม่จำเป็นต้องทำ
แนะนำว่าต้องโหลดแอพ ดังต่อไปนี้
1. Terminal Emulator
2. Droidedit Free
3. ES File Explorer File Manager
4. Palapa Web Server
อันที่จริง ใช้แอพในข้อ 1 เป็นหลัก
ที่เหลือแนะนำว่า Developer ควรมีไว้ในเครื่อง

ขั้นตอนการเขียน shell script
บน Android แบบไม่ต้องใช้ chmod
1. โหลดแอพ Terminal Emulator
เพื่อเข้าไปจัดการกับ Script ผ่าน Shell บน Android
2. โหลดแอพ Droidedit Free
เพื่อเป็นอีดิเตอร์สำหรับเขียน Script บน Android
เพราะโหลดมาแก้ไข และ Save as ได้
3. สำรวจห้องที่จะเก็บ shell script
โดยใช้เครื่องมือ คือ Terminal Emulator
หรือ ES File Explorer File Manager ก็ได้
เข้าไปดูห้อง /mnt/sdcard
พบว่ามีห้องเก็บข้อมูลมากมาย
อาทิ ห้อง /mnt/sdcard/pws
ที่สร้างจากแอพ Palapa Web Server
4. เขียน Shell script บนแอพ Droidedit Free
แล้ว Save as ชื่อ test1 วางไว้ในห้อง /mnt/sdcard

#!/system/bin/sh
read x
echo $x

5. ใช้ Terminal Emulator สั่ง execute shell script
โดยไม่ต้องใช้คำสั่ง chmod
เพราะใช้ไม่ได้และไม่จำเป็นต้องใช้
หากต้องการใช้ shell script ให้มีคำว่า sh นำหน้า
เช่น $sh test1

6. ตัวอย่าง รับค่าจากแป้นพิมพ์มาทดสอบ

#!/system/bin/sh
read x
echo $x
if [ “$x” == “1” ]
then
echo “one”
elif [ “$x” == “2” ]
then
echo “two”
else
echo “-”
fi

อธิบาย script ว่า
ถ้า execute แล้วเค้าหยุดถาม
หากกรอกเลข 1 จะพิมพคำว่า one ออกมา
หากกรอกเลข 2 จะพิมพคำว่า two ออกมา
หากกรอกอย่างอื่น จะพิมพคำว่า – ออกมา

การพิมพ์ X-Bar หรือ X bar ในเอกสาร

x bar in spss or digital logic
x bar in spss or digital logic

มีโอกาสทำสไลด์เรื่อง Karnaugh map
แล้วต้องใช้ค่า not X หรือ X’
การพิมพ์สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
มักใช้ X-Bar ที่มีเครื่องหมายขีดนอนด้านบนของตัวอักษร X
ซึ่งในโปรแกรม Powerpoint สามารถแทรก สมการ (Equation)
แล้วเลือก Accent แบบ Bar ก็จะได้ X-Bar ตามต้องการ
ในทางสถิติ มีการใช้ X-Bar
แทนความหมายคำว่า ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
แต่ใน Digital Logic จะใช้ X-Bar แทน Not X
ถ้าใช้ตัวแปรว่า A ก็จะใช้ A-Bar แทน Not A

ขั้นตอนการพิมพ์ X-bar ใน MS Powerpoint
1. คลิ๊ก Insert ใน Menu bar
2. คลิ๊ก Equation
3. คลิ๊ก Insert new Equation
4. คลิ๊ก สามเหลี่ยม ใต้คำว่า Accent
5. คลิ๊ก แถวที่ 3 หลักที่ 2 เพื่อแทรกตัวอักษรแบบมี Bar
6. คลิ๊ก บนตัวอักษร แล้วพิมพ์ข้อความใต้ Bar

นักศึกษาทำอย่างไรกับแนวข้อสอบที่อาจารย์ให้ไป

success @Sylviaduckworth
success @Sylviaduckworth

นิทาน น่ะนะ
กาลครั้งหนึ่ง ณ เช้าวันหนึ่ง ที่เป็นวันธรรมดา
แต่ไม่ธรรมดาตรงที่เป็นวันสอบข้อเขียน ในวิชาหนึ่ง
อาจารย์ก็ได้รับข้อความจากนักศึกษาตอน “ตี 4”
วันนั้น อาจารย์ตื่นมาเห็นข้อความตอน “ตี 5 ครึ่ง”
ก็ตอบไป สื่อสารกันไป

นักศึกษา : วันนี้ อาจารย์เข้ากี่โมง
อาจารย์ : ทำไมล่ะ มีอะไรหรา
นักศึกษา : อยากถามเรื่องแนวข้อสอบที่ให้มา
อาจารย์ : ?
นักศึกษา : ข้อ 2 กับ 3 ต่างกันอย่างไร ดูจากสไลด์ไหน
อาจารย์ : แนว 2 ข้อนี้อยู่สไลด์เดียวกัน ที่ให้ฝึกทำนั่นไง
นักศึกษา : (ส่งภาพสไลด์มาให้ดู) ใช่รึเปล่า
อาจารย์ : ก็ใช่นะ
นักศึกษา : อีกข้อล่ะ อยู่ตรงไหน
อาจารย์ : ตรงนั้นไง

ที่เล่านี้ มองเป็นกรณีศึกษา ที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น
และใช้ร่วมกับภูเขาน้ำแข็งแห่งความสำเร็จด้านล่าง

สรุปว่า
เป็นนักศึกษา .. ไม่ทำตัวเสมือนก้อนน้ำแข็งที่จม
แล้วก้อนน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำ .. จะใหญ่โตขึ้นมาได้อย่างไร
หวังพึ่งโชคชะตาราศีอย่างเดียว .. ก็ไม่สมเหตุสมผลนะ

 

ผ่านไป
ผ่านไป

สรุปว่าเรื่องนี้น่าสนใจตรงที่
นักศึกษาเค้าจะสอบ เพื่อให้ได้เกรด ให้ได้คะแนน
พอเตรียมตัวแล้ว พบปัญหา ก็หาที่ปรึกษา
แต่สิ่งที่นักศึกษาคนนี้น่าจะพร่องไปเล็กน้อย
มีดังนี้
1. Persistence ความหมั่นเพียร คือ มุ่งมั่นให้ถึงจุดหมาย
2. Hard work การทำงานหนัก คือ ฝึกฝนเป็นประจำ
3. Good habits การทำงานจนเป็นนิสัย คือ การวางแผน

สรุปว่า
ความสำเร็จ (Success) ที่ใครมองเห็น มาจาก

– Persistence
– Failure
– Sacrifice
– Disappointment
– Good habits
– Hard work
– Dedication

@Sylviaduckworth
https://twitter.com/sylviaduckworth/status/621334733901983744

เกรด ไม่ได้วัดความฉลาด
เกรด ไม่ได้วัดความฉลาด

นั่งสมาธิ ทำให้หลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน หรือเอ็นโดรฟินส์ (Endorphins)

เอ็นดอร์ฟิน จะหลั่งจากการนั่งสมาธิ
เอ็นดอร์ฟิน จะหลั่งจากการนั่งสมาธิ

ไปอ่านมาจากหลายแหล่ง
พอสรุปได้ว่า
นั่งสมาธิถึงระดับหนึ่ง จะส่งผลให้ร่างกาย
หลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน หรือเอ็นโดฟินส์ (Endorphins)
ทำให้มีความสุข
ดังนั้นการนั่งสมาธิแล้วมีความสุข
ก็มาจากการที่ร่างกายหลั่งสารนี้
ถ้านั่งแล้ว นั่งได้นานถึง 30 นาที แสดงว่ามีการหลั่งสารนี้แล้ว
หลายสำนักก็ปฏิบัติด้วยการนั่งสมาธิเป็นเวลา 30 นาที
http://www.samathi.com/institute-detail.php?actid=4

อ่านจาก wiki ที่ https://th.wikipedia.org/wiki/เอ็นดอร์ฟิน
เอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) เป็นสารที่หลั่งออกมา
เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวด ผลิตจากต่อมใต้สมอง และ ไฮโปทาลามัส ในกระดูกสันหลัง
สารเอ็นดอร์ฟินมีลักษณะคล้ายคลึงกับ โอปิแอต ในกลุ่มโอปิออยด์ ที่ใช้สำหรับระงับการเจ็บปวด

อ่านจาก Blog ที่ https://nanjeeraporn.wordpress.com
ว่า ฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตขึ้น
เมื่อเราเกิดความสุขใจ หรือเมื่อเกิดความปีติสุข
เช่น การนั่งสมาธิ สวดมนต์ การช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน การออกกำลังกาย การฟังดนตรี การทำงาน ศิลปะ การได้รัก ได้สัมผัสถ่ายทอดความรักซึ่งกันและกัน กระทั่งการได้ร่วมรักกับคนที่เรารัก

อ่านจาก Kapook ที่ https://health.kapook.com/view65437.html
เรื่อง “8 ฮอร์โมนสำคัญในร่างกาย
โดย เอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) คือ ฮอร์โมนหลั่งเมื่อฉันฟิน
ฮอร์โมนที่ทำให้เรามีความสุข คลายเครียด
เมื่อเรามีความสุขกายสบายใจ สารเอ็นดอร์ฟินจะหลั่งออกมามากขึ้น แล้วเข้าสู่กระแสเลือด
จนสามารถไปกดการสร้างฮอร์โมนแห่งความเครียด
เช่น นอร์เอพิเนฟริน ทำให้เรารู้สึกหายเครียด และยังเป็นผลให้ระดับภูมิคุ้มกัน (antibody)
ในเลือดเพิ่มขึ้น
อีก 7 ฮอร์โมน คือ
เทสโทสเตอโรน เอสโตรเจน
โปรเจสเตอโรน โดฟามีน
คอร์ติซอล เซโรโทนิน
และอีพีเนฟรีน (อะดรีนาลิน)

หลักสูตรครูสมาธิ
หลักสูตรครูสมาธิ

ภาพประกอบ นักศึกษาฝึกปฏิบัติทำสมาธิ
11 กรกฎาคม 2015

http://202.44.33.100/samathi/branch/7/gallery/_201508142134040046.jpg

อบรมการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2559 ณ ม.เนชั่น

อบรมการจัดการความรู้
อบรมการจัดการความรู้

มหาวิทยาลัยเนชั่น จัดโครงการอบรมการจัดการความรู้ ให้แก่บุคลากร และนักศึกษาของมหาวิทยาลัย หัวข้อ การจัดการความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร (Knowledge Management to improve organization performance) เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง และให้มีศักยภาพในการทำงานบรรลุตามเป้าประสงค์ขององค์กร วิทยากรคือ อาจารย์ ดร.อติชาต หาญชาญชัย จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันพุธที่ 1 มีนาคม 2560 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้อง 4201 อาคารนิเทศศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมี อ.ศรีเพชร สร้อยชื่อ เป็นผู้ขับเคลื่อน KM และ คุณมณธิชา แสนชมภู งานบริหารทรัพยากรบุคคล ขับเคลื่อนหน่วยงาน มีอาจารย์จากคณะต่าง ๆ นำนักศึกษาเข้าร่วมเรียนรู้จำนวนมาก

เอกสารประกอบการบรรยาย
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/777949739022513/

ภาพกิจกรรม
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10155023525023895.1073741928.814248894&type=3

ผมสนใจเรื่อง การจัดการความรู้
และทำงานประกันในประเด็นนี้มาก่อน
จึงทำโฮมเพจเล่าเรื่องนี้ไว้ที่
http://www.thaiall.com/km

และทำ Story Telling เล่าเรื่อง การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์
จากประสบการณ์ของตนเอง ที่ต้องออกไปดูแลคุณแม่
ในชื่อบล็อกว่า “แม่ล้ม ผมก็ล้ม”
ที่ http://article-thaiall.blogspot.com

ฟังมามีเยอะ ผม lecture ไว้ใน facebook.com ครับ

How KM Works?
1. People
2. Process
3. Technology
ฟังทีไรก็เห็นภาพชัดเจนทุกที ว่าทำอย่างไรให้ KM ทำงานได้

ประเด็นที่ท่านยกมามีมากมาย
อาทิ
– ดาวอังคาร กับ Trappist-1 System
– Duck Family off campus
– คุณเก่งงาน คือ ชะตากรรมของคนเก่ง
– มูลนิธิขวัญข้าว การทำนาข้าวในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน
– CPALL โครงการ KM เพื่อนวตกรรม
– SCG โครงการแบ่งปัน แลกเปลี่ยน จัดเก็บ เผยแพร่ และพัฒนา
– สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาภรณ์ฯ กิจกรรม อาศรม วิทยบริการ
– Siriraj KM : ที่โรงพยาบาลนี้เป็นต้นแบบ ทำมาตั้งแต่ 2548

ฟังไป ก็จดไปครับ ทบทวนไปด้วย
ฟังไป ก็จดไปครับ ทบทวนไปด้วย

การสั่งแสดงตัวอักษร ก ใน CP874 บน Webpage

มีโอกาสนั่งคุยกับนักศึกษา
เรื่องตัวเลข ฐานสิบ ฐานสิบหก และตาราง ASCII
พบตาราง Character Set ของคนไทย คือ Windows-874 หรือ TIS-620
หากจะแสดงเว็บเพจภาษาไทย
มักใช้ <meta http-equiv=”content-type” content=”text/html;charset=windows-874″ />
หรือ <meta charset=”tis-620″ />
แล้วสั่งแสดงตัวอักษร ก ด้วย &#3585; หรือพิมพ์ตรง ๆ ก็ได้
หากใช้ตัวเลข ก็แสดงว่า 3585 คือ ก
ซึ่งเป็นเลขสำหรับตัวอักษรภาษาไทยตัวแรก ในระบบ Unicode
แล้วพบว่าไม่สามารถแสดงด้วย &#161; หรือ &#xA1;
เพราะ Browser ไม่ได้รองรับ
อักษรพิเศษอื่น ๆ ที่ชวนมอง และมี Entity Name

อาทิ
&amp; = Ampersand
# = Number sign
# = Hashtag sign
# = Sharp sign

 

โฮมเพจที่น่าสนใจ
http://www.w3schools.com/charsets/ref_utf_symbols.asp
http://www.rakjung.com/facebook-no163.html
http://www.thailibrary.in.th/2014/02/13/char-set/
https://en.wikipedia.org/wiki/Code_page