คะแนนมาตรฐาน หรือค่า T ที่ปรากฎในผลสอบวิชาสามัญ 9 วิชา

วิชาสามัญ 9 วิชา
วิชาสามัญ 9 วิชา

[คำถาม]
มีคำถามว่า คะแนนมาตรฐาน หรือค่า Ti
ที่ปรากฎใน “รายงานผลการทดสอบ
วิชาสามัญ 9 วิชา ประจำปีการศึกษา 2560
บอกอะไรกับนักเรียนในแต่ละวิชา
จากการประกาศผลสอบ
ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ

[ความหมายของคะแนนมาตรฐาน]
ถ้าคะแนนเต็ม 100 คะแนน
สอบได้ 68 คะแนน
แต่คะแนน 68 ไม่ได้เทียบกับอะไร หรือกับใคร
จึงเรียกว่าคะแนนของนักเรียนที่ทำได้
เพื่อแสดงการเปรียบเทียบกับผู้อื่น
เค้าจึงคำนวณ “คะแนนมาตรฐาน” ขึ้นมา
ซึ่งเป็นผลจากการเทียบกับผู้เข้าสอบทั้งหมด
โดยเทียบว่าเต็ม 100 ได้ประมาณเท่าไร เมื่อเทียบกับผู้เข้าสอบทั้งหมด

[สรุปว่า]
– คะแนนมาตรฐานเกินกว่า 50 แสดงว่า ผ่าน เมื่อเทียบกับผู้เข้าสอบทั้งหมด
– คะแนนมาตรฐานต่ำกว่า 50 แสดงว่า ตก เมื่อเทียบกับผู้เข้าสอบทั้งหมด

เค้าถึงเรียกคะแนนมาตรฐาน เพราะเป็นคะแนนที่เทียบกับกับผู้เข้าสอบทั้งหมด
การตก แปลว่า คะแนนคุณต่ำกว่าคะแนนมาตรฐาน (Standard Score)
การผ่าน แปลว่า คะแนนคุณสูงกว่าคะแนนมาตรฐาน (Standard Score)

[คะแนนมาตรฐาน (Ti) คำนวณอย่างไร]
วิธีคำนวณต้องใช้ตัวเลข 3 ค่า
1. คะแนนที่สอบได้ (Xi) เช่น 68 คะแนนจาก 100 คะแนน
2. ค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ (X-bar) เช่น 58.19
3. ค่าการกระจาย (S.D.) เช่น 13.52

[สมการ]
Zi = (Xi – X-bar) / S.D.
Zi ค่านี้บอกว่าห่างจากค่ามาตรฐานไปเท่าใด
Ti = 50 + (10 * Zi)
ค่า Ti คือ คะแนนมาตรฐาน จะเทียบกับ 50

[ตัวอย่าง]
Zi = (68 – 58.19) / 13.52 = 0.725
Ti = 50 + (10 * 0.725) = 57.25

 

[คะแนนมาตรฐาน (Ti) คำนวณอย่างไร]
จากภาพคำนวณให้เฉพาะ “วิชาภาษาไทย”
นักเรียนคนนี้ได้คะแนนมาตรฐาน 57.25 หรือ 57.26 เมื่อปัดเศษ
แสดงว่า ผ่าน เมื่อเทียบกับนักเรียนทั้งประเทศ
คำถาม คือ แล้ววิชาอื่นที่มี A, B, C, D, E, F
จะได้คะแนนมาตรฐานเป็นเท่าใด และผ่านวิชาใดบ้าง

นั่งอ่านหนังสือ ระบบปฏิบัติการ ของ รศ.ดร.กฤษดา ขันกสิกรรม

ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์

นั่งอ่านหนังสือ ระบบปฏิบัติการ (Operating system)
ของ รศ.ดร.กฤษดา ขันกสิกรรม
พบว่า บทที่ 1 ของท่านน่าสนใจ
พูดถึง “ระบบคอมพิวเตอร์” ในยุคต่าง ๆ
แล้วท้ายบทก็มีแบบฝึกหัด ผมได้ลองทำแล้ว
และพลิกไปมาระหว่างแบบฝึกหัด กับเนื้อหา
อ่านไปเพลิน ๆ วันรุ่นเรียกว่า “อ่านวนไป
อ่านเสร็จก็มานั่งทำโฮมเพจ ทำ fieldset
ที่ชื่อว่า “ถาม – ตอบ
เรียบเรียงทั้งส่วนของ multiple choice กับ right and wrong
มาทำเป็นถามตอบสั้น ๆ ไว้พูดคุยกับนักศึกษาของผม
http://www.thaiall.com/os/os01.htm
แล้วถ้ามีโอกาสก็คงหยิบถามตอบไปทำระบบสอบออนไลน์
เข้าชุด Ten Test Center
ที่ http://www.thaiall.com/quiz/test10.php
เพราะระบบสอบออนไลน์นี้ ผมอัพเกรดให้แจกใบรับรองไปเรียบร้อยแล้ว

การเขียน CSS เพื่อเรียกใช้ font ของตนเองที่เตรียมไว้

download_font.htm
download_font.htm

มีโอกาสเขียนเว็บเพจที่ใช้ font ที่เตรียมไว้
ได้ download มา 2 font แล้วเก็บไว้ในห้องหนึ่ง
ชื่อ rsp_thchakrapetch.ttf กับ rsp_alexbrush.ttf
ส่วนแฟ้ม .htm ก็อยู่ในห้องเดียวกัน

มีขั้นตอนดังนี้
1. ประกาศชื่อแฟ้มฟอนต์ และชื่อฟอนต์ที่จะใช้ภายในเว็บเพจ
2. จุดใดจะกำหนดรูปแบบฟอนต์ ก็อ้างอิงที่ประกาศได้เลย
3. ดูจากตัวอย่างก็เข้าใจได้โดยง่าย

http://www.thaiall.com/web2

<body>
<style>
@font-face{
font-family:THChakraPetch;
src: url(‘rsp_thchakrapetch.ttf’);
}
@font-face{
font-family:AlexBrush;
src: url(‘rsp_alexbrush.ttf’);
}
</style>
<p style=”font-family:THChakraPetch;font-size:100px;”>สวัสดี</p>
<p style=”font-family:AlexBrush;font-size:100px;”>hello</p>
<p><a href=”rsp_thchakrapetch.ttf”>rsp_thchakrapetch.ttf</a></p>
<p><a href=”rsp_alexbrush.ttf”>rsp_alexbrush.ttf</a></p>
</body>

 

ดาวน์โหลดฟอนต์ และ code ตัวอย่าง โดย view source ได้เลย
http://www.thaiall.com/web2/download_font.htm

อูบุนตู 4 บทในหนังสือของ รศ.ดร.กฤษดา ขันกสิกรรม

ranking linux distribution
ranking linux distribution

นั่งอ่านหนังสือ
“ระบบปฏิบัติการ (Operating System)”
ของ รศ.ดร.กฤษดา ขันกสิกรรม
พบบทที่ 10-13 ระบบปฏิบัติการอูบุนตู
โลกเราไม่ได้มี OS ระบบเดียว และรุ่นเดียว

บทที่ 10 ประวัติ
– ประวัติของอูบุนตู
– รุ่นหรือเวอร์ชั่นของอูบุนตู
บทที่ 11 ติดตั้ง
– ติดตั้งในเครื่องใหม่
– ติดตั้งหลายโอเอส แบบแบ่ง Partition
– ติดตั้งเพิ่ม Install inside windows
บทที่ 12 การใช้งานอูบุนตู
– หน้าจอหลัก
– ส่วนประกอบหลัก
– การจัดการเดสก์ทอป
– การใช้งานไฟล์และโฟลเดอร์
– การใช้โปรแกรมพื้นฐาน
บทที่ 13 โปรแกรมประยุกต์
– Openoffice
– Firefox
– Pidgin สำหรับการแชทหลายบัญชี
– การใช้ร่วมกับอุปกรณ์ อาทิ mouse, printer, graphic card
– การใช้ Visual Effects ของอูบุนตู

mark shuttleworth ubuntu
mark shuttleworth ubuntu

อ่านหน้า 238 เรื่อยไป พบว่า
ยูบุนตู (Ubuntu) พัฒนาต่อยอดจาก เดเบียน (Debian)
ซึ่งต่างเป็นลีนุกซ์ (Linux) ที่เป็น Open source
และเป็น GPL (General Public License) คือ สัญญาอนุญาตในการนำไปใช้
โดยสัญญา GPL ฉบับแรกเขียนโดย Richard Stallman
ส่วน Linux Kernal มีผู้ริเริ่มคือ Linus Torvalds (ไลนัส เทอร์วัลต์ส)
ยูบุนตูถูกพัฒนาให้สามารถใช้กับ PC, Notebook หรือ Server
คำว่าอูบุนตูเป็นคำจากภาษาซูลูและโคซาในแอฟริกาใต้
หมายถึง เพื่อมวลมนุษยชาติทุกคน (Humanity to Others)
ซึ่งหัวหน้าทีมพัฒนาอูบุนตู คือ Mark Shuttleworth
และบริษัทคาโนนิคอล ที่เน้นให้อูบุนตูมีแต่ของฟรีสำหรับทุกคน

Ubuntu แยกเป็นหลายรุ่น ดังนี้
1. Kubuntu คือระบบสำหรับใช้งานบน Desktop สำหรับผู้ใช้
2. Xubuntu คือระบบสำหรับฮาร์ดแวร์เก่า ใช้ทรัพยากรน้อย
3. edubuntu คือ ระบบสำหรับนักเรียน นักศึกษา มีแอพเครืองคิดเลขคำนวณสูตรทางเคมี ฟิสิกส์
4. gobuntu คือ ระบบสำหรับกลุ่มเชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ จึงไม่มีไดรเวอร์ แอพพลิเคชั่น

http://www.thaiall.com/os/os11.htm

เริ่มปรับหัวบล็อกเป็น แม่ล้ม ผมก็ล้ม แต่ปลูกมะละกอไว้ทานเอง

ปลูกมะละกอไว้ทานเอง
ปลูกมะละกอไว้ทานเอง

2 ม.ค.60 มีกิจกรรมหลายอย่างที่ทำไป
เป็นวันสุดท้ายของหยุดยาว ต้นปี 2560
ผมก็นั่งทบทวน เตรียมหนังสือ 4 เล่ม
พร้อมปรับเว็บเพจ ระบบปฏิบัติการ
http://www.thaiall.com/os/os00.htm

หนังสือของ
– ผศ.พิเชษฐ์ ศิริรัตนไพศาลกุล
– รศ.ดร.กฤษดา ขันกสิกรรม
– ไพศาล โมลิสกุลมงคล และคณะ

 

operating system book
operating system book

แล้วก็ไปปรับบล็อก (blog) ที่
http://article-thaiall.blogspot.com/
ก็ตั้งใจจะเปลี่ยนแนวการเขียน
เป็นเรื่อง “แม่ล้ม ผมก็ล้ม”
“เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ที่ผันตัวเองเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ก่อนปี 2560 อย่างไม่ทันตั้งตัว”

ใช้จอบขุดดิน ถางหญ้า
ใช้จอบขุดดิน ถางหญ้า

ช่วงเช้า มีเวลา เพราะมีเด็กที่บ้านมาเฝ้าแม่
ผมจึงเข้าสวนไปปลูกมะละกอแขกดำ
ที่ได้จากงานฤดูหนาว ต้นละ 20 บาท 6 ต้น
พร้อมกับขนุน ทองประเสริฐ ต้น 70 บาท
เดิมทีตั้งใจปลูกฮอลแลนด์
แต่ไม่มีขาย มีแต่พันธ์แขกดำ
และกำลังเพาะฮอลแลนด์อยู่ แต่รุ่นแรกที่เพาะไว้ไม่สำเร็จ
พอซื้อต้นกล้าของเค้ามา เห็นปลูกด้วยแกลบ
ก็จะเอาอย่าง
เพราะเคยถามในกลุ่มเค้าบอกผมใช้ดินเค็มไป
ถ้าใช้แกลบก็จะเป็นที่นิยมในการเพาะมะละกอ

สถิติอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลปีใหม่

สถิติอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลปีใหม่
สถิติอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลปีใหม่

พบข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ไว้เตือนใจ เตือนตัว เป็นสถิติอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2551 – 2559 จำแนกเป็นสถิติอุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บในช่วงเทศกาลปีใหม่

2551 : ธ.ค.50 – ม.ค.51
อุบัติเหตุ = 4,475
บาดเจ็บ = 4,903
เสียชีวิต = 401

2552 : ธ.ค.51 – ม.ค.52
อุบัติเหตุ = 3,824
บาดเจ็บ = 4,107
เสียชีวิต = 367

2553 : ธ.ค.52 – ม.ค.53
อุบัติเหตุ = 3,534
บาดเจ็บ = 3,827
เสียชีวิต = 347

2554 : ธ.ค.53 – ม.ค.54
อุบัติเหตุ = 3,497
บาดเจ็บ = 3,750
เสียชีวิต = 358

2555 : ธ.ค.54 – ม.ค.55
อุบัติเหตุ = 3,093
บาดเจ็บ = 3,375
เสียชีวิต = 336

2556 : ธ.ค.55 – ม.ค.56
อุบัติเหตุ = 3,176
บาดเจ็บ = 3,329
เสียชีวิต = 366

2557 : ธ.ค.56 – ม.ค.57
อุบัติเหตุ = 3,174
บาดเจ็บ = 3,345
เสียชีวิต = 367

2558 : ธ.ค.57 – ม.ค.58
อุบัติเหตุ = 2,997
บาดเจ็บ = 3,117
เสียชีวิต = 341

2559 : 29 ธ.ค.58 – 4 ม.ค.59
อุบัติเหตุ = 3,379
บาดเจ็บ = 3,505
เสียชีวิต = 380

http://www.accident.or.th/datacenter/index.php/2015-10-13-04-59-29/133-2551-2559
http://www.accident.or.th/datacenter/index.php/2015-10-13-04-59-29/116-2555-3

นักศึกษาเขียนเว็บแบบ responsive web design

อบรม webmaster
อบรม webmaster

เล่าสู่กันฟัง
ว่า 13-16ธ.ค.59 พบ น.ศ.ที่ Lab1 หลังอบรม น.ศ.ทำ Responsive web design ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญ ทางเทคนิค 2 เรื่อง คือ การเขียน html ร่วมกับ css ให้รองรับ multi device ก็รวบรวมผลงานที่เค้านำเสนอ จากผลการอบรม ฝากไว้ที่
http://thaiall.somee.com
มีนักศึกษาหลายคนติดตามงานที่คั่งค้าง เพราะอบรม และทำผลงานมีเวลากระชั้นชิด ทำให้ผลงานยังไม่เป็นที่พึงใจ จึงปรับปรุงใหม่ แล้วอัพโหลดมาให้ชมภายหลังการอบรม ผมก็อัพโหลดเข้าไปอัพเดทให้เรียบร้อยแล้ว การสื่อสาร เราคุยกันผ่าน facebook group เพราะข้อมูลการสนทนา และรูปภาพจะไม่หายไป และระบบรับงาน .zip ได้ดี สูงสุดถึง 100 MB ไฟล์ไม่ถูกกำหนดเวลาลบออกจากระบบเหมือน Line

หลังจากการอบรมแล้วเสร็จ ผมได้กลับไปพัฒนา Responsive Web Design ของตนเอง เริ่มจากการพัฒนาแบบ Prototype ขึ้นมาก่อน แล้วทำแบบ Water fall คือ ทีละหน้า ขยายไปเว็บเพจอื่น และทำแบบ Build and fix คือ ทำไปซ่อมไป ตอนนี้ขยายผลไป /os, /digitallogic และ /data มีรุ่นของ Prototype ใน /web2 เป็น 6.2 ส่วนของ Footer อัพเดทอีกครั้งเมื่อวันที่ 26ธ.ค.59 หลังพบปัญหาที่ทำให้ต้องเพิ่ม class ให้ footer ต่อจากนี้คงกลับมาปรับเนื้อหา (Content) ในเว็บต่าง ๆ ข้างต้น เพราะ design เสร็จแล้ว แต่ภาค content ที่มีอยู่ ยังไม่ได้นำเข้าไปจัดลง ในเหล่าเว็บที่เป็น static webpage ให้เรียบร้อย

ในวันสุดท้ายของการอบรม มีนักศึกษาได้รับการพิจารณารับรางวัลผลงานเว็บ จำนวน 2 คน ที่ได้คะแนนรวมสูงสุดจากกรรมการ คือ นายวรวัช ไชยธิ และนายสุรวิชญ์ สุริยะวงค์

ผลงานนักศึกษา

  1. อรรถพล จริงมาก
    http://thaiall.somee.com/atthapol
  2. บุณยดา สูงติวงค์
    http://thaiall.somee.com/boonyada
  3. จิรายุ คำแปงเชื้อ
    http://thaiall.somee.com/jirayu
  4. กิตติคุณ แก้วมา
    http://thaiall.somee.com/kittikhun
  5. กัณฐิกา ลำพระสอน
    http://thaiall.somee.com/kunthika
  6. ณัชญาพัทธ์ จันทร์ศรี
    http://thaiall.somee.com/natchayapat
  7. ณัฐวุฒิ ปินใจ
    http://thaiall.somee.com/nattawut
  8. พิทยา กานต์อาสิญจ์
    http://thaiall.somee.com/pittaya
  9. แพรทิวา ขันเงิน
    http://thaiall.somee.com/praetiwa
  10. สุรวิชญ์ สุริยะวงค์
    http://thaiall.somee.com/surawit
  11. วิไลวรรณ แซ่โซ้ง
    http://thaiall.somee.com/wilaiwan
  12. วรวัช ไชยธิ
    http://thaiall.somee.com/worawat/intro.htm

ความเชื่ออาจไม่ใช่ความจริง (itinlife 583)

inception
inception

การดำเนินชีวิตของมนุษย์เรามีความเชื่อเป็นเครื่องกำหนดพฤติกรรม ยกเว้น ผู้ป่วยทางสมองที่อาจมีพฤติกรรมเอาแน่เอานอนไม่ได้ ผู้ขาดสติจากโรคภัย อารมณ์ชั่ววูบ การดื่มสุรา หรือผลจากสารเคมี อาจกล่าวได้ว่าความเชื่ออาจเป็นความจริง หากความเชื่อนั้นได้รับการพิสูจน์แน่ชัดก็จะกลายเป็นความจริงที่ยอมรับร่วมกันได้ แต่ไม่ใช่ทุกความเชื่อที่จะเป็นความจริง ผู้คนมากมายตัดสินใจตามความเชื่อ บางคนก็เชื่อว่าความเชื่อคือความจริง อาทิ เชื่อว่าปลูกพืชวันเสาร์จะดีกว่าวันอื่น เชื่อว่าดื่มสุราไม่เป็นภัยต่อสุขภาพ เชื่อว่าขับจักรยานจะไม่มีรถใหญ่เฉี่ยวชน เชื่อว่ามีคนหยั่งรู้อนาคตได้ เชื่อว่ามีการเวียนวายตายเกิด

ในทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมักมีกำหนดสมมติฐานที่เริ่มมาจากความเชื่อ เมื่อมีความเชื่อก็จะต้องเข้าสู่กระบวนการเก็บข้อมูล พิสูจน์  วิจัย ทดสอบ ทดลอง สรุปผล อภิปรายผล เพื่อให้ได้ข้อสรุปหรือความจริงมาประกอบการตัดสินใจ การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันมักอาศัยสารสนเทศที่เป็นความจริงมาประกอบการพิจารณาร่วมกัน เพราะตัวเลข หรือข้อมูลเชิงสถิติมักเป็นความจริง ที่ทำให้การตัดสินใจไม่ผิดพลาด แต่ถ้าตัดสินใจเลือกเพื่อนร่วมงานตามความงาม ความชอบ ความรู้สึก ลีลา บุคลิก โหงวเฮ้ง ความสัมพันธ์ส่วนบุคคล ก็จะเป็นการตัดสินใจที่ไม่รอบด้าน เหมือนเลือกด้วยการจับไม้สั้นไม้ยาว ไม่ตอบวัตถุประสงค์ของการคัดคนมาร่วมงาน ทำให้เกิดความเสี่ยงว่าจะล้มเหลวได้มากกว่า การตัดสินใจตามความเชื่อมักไม่ได้เกิดจากกระบวนการจัดการความรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกัน จึงขาดทัศนคติรอบด้าน และมีตัวเลือกน้อยเกินไป

shutter island
shutter island

ในโลกแห่งความเป็นจริง มีรายการทีวีมากมาย ที่นำความเชื่อมานำเสนอ อาทิ การเลือกคู่ครอง การประสบความสำเร็จด้วยการแสดง การร้องเพลง หรือดูดวงตามราศี ทำให้เยาวชนมากมายคล้อยตามว่าอยากมีความสามารถพิเศษทางการแสดง ด้วยการร้องเพลง เล่นดนตรี หรือรอดวง แต่ความจริง คือ มีคนจำนวนน้อยมากที่ประสบความสำเร็จแบบที่เห็นในเกมโชว์ ละคร หรือภาพยนตร์ ผู้ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่มักอาศัยความมุ่งมั่นทำกิน ค้าขาย หรือเส้นทางของการศึกษา คือ เรียนจนจบมหาวิทยาลัย หรืออาชีวศึกษา แล้วขยัน ตั้งใจ สู้ชีวิตใช้องค์ความรู้ที่เรียนมา หางานทำ และดำเนินชีวิตในสังคมแห่งความเป็นจริง

http://www.thaiall.com/digitallogic

ทั้งเรื่อง Inception และ Shutter Island
แสดงนำโดย Leonardo Dicaprio

อีกเรื่องที่น่าเสียดาย เสียดายที่ดารานำฆ่าตัวตาย
คือ Robin Williams
แสดงเรื่อง What Dreams May Come

what dreams may come
what dreams may come

 

ได้ศัพท์จากข้อสอบอังกฤษระดับอุดมศึกษามาแปลงเป็นข้อสอบออนไลน์

ผลการทำข้อสอบ ถ้าถูกหมด
ผลการทำข้อสอบ ถ้าถูกหมด

เล่าเรื่องต่อยอดงานเดิม
เมื่อวาน (10 ธ.ค.59) แชร์ศัพท์ 200 คำ ไว้ใน blog
เพื่อให้นักศึกษาได้อ่าน ได้ท่อง เตรียมพร้อม
ก่อนการสอบ English Proficiency ในเทอมต่อไป
เพราะเชื่อว่าการเตรียมพร้อมด้วยเอกสารที่ตรง
จะทำให้การวัดผลที่เตรียมพร้อมมาตรงเป้า
จะทำให้บรรลุเป้าหมายได้เร็ว และมีพลัง
http://thainame.net/edu/?p=4259

ข้อสอบชุดที่ 12
ข้อสอบชุดที่ 12

การท่องศัพท์ก็ต้องมีการประเมินว่าท่องได้กี่ตัว
วันนี้ (11 ธ.ค.59) นำคำศัพท์มาแปรรูป (Transform)
เป็นข้อสอบ 4 ตัวเลือกแบบจับคู่ จำนวน 400 ข้อ
โดนใช้ code เก่าใน http://www.thaiall.com/quiz
แล้วเพิ่มเป็นชุดที่ 12 จึงอยู่ในหัวข้อ 3.12
ชื่อชุดข้อสอบว่า “ศัพท์อุดมศึกษาอย่างง่าย”

 

แล้วถือโอกาสปรับ /quiz
ให้เป็นแบบ responsive web design
ตามแนวโน้มชาวโลกที่จะใช้ mobile กันมากขึ้น

เคยอ่านเรื่องที่ ดร.อานนท์ พูดถึงวิทยาการคอมพิวเตอร์แล้วโดนใจ

dotcom expired
dotcom expired
ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สาขาวิชา Business Analytics and Intelligence สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชา Business Analytics and Intelligence
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

อ่านบทความเรื่อง “มหาวิทยาลัยไทยจะอยู่รอดได้หรือไม่
ที่ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ เขียนใน manager online
แล้วหัวหน้าของผมก็แชร์ให้อ่านในกลุ่มไลน์
เนื้อหาพูดถึงปัญหามหาวิทยาลัยกับอัตราการเกิดที่ลดลง
แต่มีประเด็นหนึ่งที่โดนใจจี๊ด ๆ
พบในส่วนของ “สาเหตุที่อุดมศึกษาไทยถึงทางตีบตัน
ในประการที่สอง ท่านขึ้นย่อหน้าว่า
ปัญหาใหญ่ที่สุด” เนื้อหาตอนหนึ่งชี้ว่ามีบัณฑิตไทยบางสาขาตกงานมากมาย
เช่น ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer science)
ที่เปิดสอนแทบทุกสถาบัน แต่บริษัทหาคนทำงานด้านคอมพิวเตอร์
ได้ยากมาก เพราะไม่สามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวตอร์ที่ใช้งานได้จริง
ท่านสรุปไว้ง่ายเลย คือ “เรามีปริมาณมากแต่มีคุณภาพไม่เพียงพอ

จึงเป็นที่มาของการสะท้อนคิดให้ตัวผมเอง
คิดว่า ผมสอนหนังสือนักศึกษามาหลายปี
สอนอะไรไปบ้างนะ แล้วเค้าทำอะไรเป็น และไม่เป็นอะไรบ้างนะ
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9590000051896

การเรียนด้านคอมพิวเตอร์ไม่ได้มีเฉพาะวิทยาการคอมพิวเตอร์
และทุกสาขาถูกสังคม หรือผู้ประกอบการคาดหวังว่าต้องเขียนโปรแกรมได้
และโปรแกรมก็มีภาษาให้เลือกมากมาย
ภาษาที่ง่ายที่สุดภาษาหนึ่งคือ HTML และการเขียนได้จริง
มักต้องมีเวทีโชว์ของ โชว์พาวล์ หรือโชว์อะไรที่มีอยู่นั่นหละ
กว่า 20 ปีแล้ว
ที่จะเล่าให้นักศึกษาฟังว่าจดโดเมนไม่ยาก
มีตังไม่กี่ร้อยต่อปีก็เป็นเจ้าของได้ นี่ก็ได้รับมอบหมายจากหัวหน้า
ให้พูดเรื่องการเป็นเว็บมาสเตอร์ให้นักศึกษาฟัง
หัวข้อที่จะไปเร้าใจนักศึกษาก็คงหนีไม่พ้น
เรื่อง Domain name กับ Web hosting
ที่เป็นของจริง เพียงแต่ต้องลงทุน และมีอะไรอีกนิดหน่อย
เรื่องของ ดร.อานนท์ ได้ repost บทความ
ไว้ในเว็บเพจที่จะสอนนักศึกษา ก็หวังจะให้เขาเข้าใจ และฮึกเหิมขึ้นมา
http://www.thaiall.com/webmaster/responsive/index.html

สิ่งที่นักศึกษาต้องมีก่อนจดโดเมนมี 6 ข้อ
แต่ไม่ต้องครบก็ได้นะครับ เป็นเพียงข้อเสนอ
ได้เล่าสู่กันฟังไว้ที่ http://www.thaiall.com/article/dotcom.htm

1. เงิน(Money)
2. วิธีการ(Method)
3. เวลา(Time)
4. รีบศึกษา(Hurry)
5. ความตั้งใจ(Attention)
6. จินตนาการ(Imagination)
M.M.T.H.A.I

แล้ว webpage หน้านี้ก็ปรับเป็น Responsive Web Design แล้ว
แล้วนักศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ทุกคน
ก็คงต้องรู้จัก CSS ไม่มากก็น้อย แต่ถ้าบอกว่าไม่รู้จักเลย
ก็คาดได้ว่าไม่คิดจะทำงานด้านเว็บโปรแกรมมิ่งเป็นแน่

คำถาม คือ นักศึกษา หรือบัณฑิต
พกอะไรติดตัวหลังพ้นรั้วมหาวิทยาลัยไปสมัครงานบ้าง
คำตอบ เชิงแนะนำ คือ
ถ้ามีเว็บไซต์ของตัวเอง แล้วในเว็บไซต์ก็มีอะไร ๆ
ที่เป็นผลงานของตนเอง
เป็นเวทีปล่อยของที่นายจ้างได้เห็นผลงานกันจะจะไปเลย
.. น่าจะดี