โครงสร้างของสมอง (Brain Structure) ถูกแบ่งพิจารณาสมองออกเป็น 3 ชั้น
หรือสมองสามระบบ (Triune brain) ตาม นายแพทย์พอลแมคลีน (Paul Maclean)
โดยแบ่งตามการวิวัฒนาการและการเจริญเติบโต
1. สมองส่วนแรก คือ สมองของสัตว์เลื้อยคลาน (Reptilian brain)
เป็นส่วนที่เรียกว่า ก้านสมอง (Brain stem)
สมองส่วนนี้เป็นส่วนของสมองมนุษย์ที่ได้รับตกทอดมรดกมาจากสัตว์เลื้อยคลานยุคดึกดำบรรพ์
สมองในส่วนนี้ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากพันธุกรรม และจะเจริญเติบโตเต็มที่ในครรภ์มารดาประมาณ 90-95%
2. สมองส่วนที่สอง หรือ สมองชั้นกลาง คือ สมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนํ้านมยุคโบราณ (Old mammalian brain)
หรือ ลิมบิคซิสเต็ม (Limbic system) หรือ ลิมบิคเบรน (Limbic brain)
เนื่องจากสมองส่วนนี้มีรูปร่างดูแล้ว
คล้ายหัวเสือดาวจึงมีผู้เรียกสมองชั้นกลางนี้ว่า สมองเสือดาว (Leopard brain)
เป็นสมองที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึก เป็นสมองส่วนที่ ดูคล้ายวงแหวนที่หุ้มรอบ ๆ สมองส่วนแรก
สมองส่วนนี้ได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อม ประสบการณ์ และการเรียนรู้ โดยเฉพาะในช่วงอายุ 0-8 ปี
3. สมองส่วนที่สาม หรือ สมองชั้นนอก คือ สมองเลี้ยงลูกด้วยนํ้านมยุคใหม่ (Neomammalian brain)
หรือ คอร์เท็กซ์เบรน (Cortex brain) เป็นสมองที่พบในสัตว์ชั้นสูงเท่านั้น
เช่น มนุษย์ ปลาโลมา และลิงวานร
สมองส่วนนี้ยังไม่ได้รับการพัฒนาครรภ์ แต่จะพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วง 3 ปีแรก
เมื่ออายุครบ 3-6 ขวบ สมองส่วนนี้จะได้รับพัฒนาประมาณ 80%
แต่พออายุ 9 ขวบก็จะได้ 90% และสามารถเติบโตไป จนกระทั่งอายุ 25 ปี
สมองในส่วนนี้ได้รับอิทธิพลน้อยมากจากพันธุกรรม (10-20%) เพราะ มาเติบโตภายหลังคลอด
http://www.wfc.kmutt.ac.th/public/th/downloadHeader/15
http://thainame.net/edu/?p=3899
http://www.thaiall.com/hci/
http://e-ducation.datapeak.net/brain.htm
Category: การศึกษา
พระคณาจารย์จีนธรรม ปัญญาจริยาภรณ์ มรณภาพลงด้วยอาการสงบ
ผลงานภาพวาด น้องถงถง ณภัทร นานาชิน
https://www.igspin.com/post/1096690563671826855_178987983
อ่านมาจากเว็บไซต์ดาวคณะ (Daokana)
ว่า น้องถงถง ณภัทร นานาชิน
คณะนิเทศศาสตร์ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยเนชั่น
มีความสามารถด้านการวาด สร้างรายได้ถึงหลักแสนต่อเดือน
http://daokana.com/433
เคยเห็นผลงานของน้องถงถงใน line ที่
https://www.igspin.com/post/977168390519956302_178987983
การประเมินเจ้านาย ด้วย 20 คำถาม
ถ้าเป็นนายก ก็คงประเมินอย่างหนึ่ง
ถ้าเป็นเจ้าของบริษัท ก็คงประเมินอย่างหนึ่ง
ถ้าเป็นผู้ว่า ก็คงประเมินอย่างหนึ่ง
ถ้าเป็นผบ. ก็คงประเมินอย่างหนึ่ง
ผู้เข้าประเมิน ก็มีทั้งภายใน และภายนอก ก็จะประเมินกันไปคนละอย่าง
การประเมินเจ้านาย ก็เพื่อพัฒนาองค์กรนั้น มักทำโดยลูกน้องสุดที่รัก
เพราะคนนอกที่ไหนเขาจะมาทำ มาสนใจองค์กรที่เราทำงานอยู่
ถ้าคนนอกเข้ามา ก็มาแป๊ป ๆ แล้วเดี๋ยวก็ไป .. คือ คนที่หายไป
http://kidsermons.com/2012/06/the-blame-game/
มีตัวอย่างคำถามที่น่าสนใจ รวบรวมมาจากที่ต่าง ๆ มาแบ่งปัน
หากท่านใดจะไปประเมินเจ้านาย ก็ลองเก็บ 20 คำถามไปคิดดู
1. เจ้านาย ทำให้องค์กรมีความโดดเด่น แตกต่างจากองค์กรอื่นชัดเจนไหม
2. เจ้านาย ทำแผนกลยุทธ์ขึ้นมา ดูแล้วจะนำพาองค์กรให้ก้าวหน้าได้ไหม
3. เจ้านาย แปลงแผนกลยุทธ์เป็นแผนปฏิบัติการ ได้ไหม
4. เจ้านาย ทำแผนขึ้นมาคนเดียว มีคนอื่นรู้เห็นเป็นใจด้วยรึเปล่า หรือ copy เจ้านายคนก่อนมา
5. เจ้านาย ทำตามแผน หรือแผนเขียนตามที่ทำ เพราะถ้าไม่มีแผน ก็จะทำ ๆ ไป แล้วมาสร้างแผนทีหลังก็มี
6. เจ้านาย ประเมินลูกน้อง แล้วใช้ผลประเมินไหม มีประสิทธิภาพไหม นึกถึงโรงเรียน กับสมศ.เลย
7. เจ้านาย ให้ใช้ทรัพยากรที่ระบุในแผนไหม หรือให้ทำตามแผน แต่ไม่ให้ทรัพยากร
8. เจ้านาย เชื่อในแผนผังองค์กรไหม หรือใช้บัญชีทำตลาด ใช้ฝ่ายผลิตไปเป็นเลขาฯ
9. เจ้านาย รู้ไหมใครถนัดอะไร ชอบอะไร มีความรู้ด้านใด แล้วใช้คนให้ถูกกับงานหรือไม่
10. เจ้านาย เขียนระบบ และเดินตามระบบหรือไม่ ระบบที่มีดีพอรึยัง
11. เจ้านาย เอาแต่ใจ เปลี่ยนระบบตามใจปรารถนารึเปล่า
12. เจ้านาย มองเห็นไหมว่าลูกน้องแต่ละคน มีวิสัยทัศน์เดียวกับเจ้านายรึเปล่า
13. เจ้านาย สอนงานลูกน้องไหม หรือตำหนิเสมอ หรือคอยซ้ำเติมเวลาลูกน้องพลาด
14. เจ้านาย ติดตามงานจากลูกน้องไหม แต่ถ้าตามแล้วโดนลูกน้องตะหวาดจะทำอย่างไร
15. เจ้านาย ส่งลูกน้องไปอบรมพัฒนาบ้างไหม
16. เจ้านาย หาคนเก่งมาทำงานด้วยได้ไหม หรือปล่อยให้คนเก่งหลุดมือประจำ
17. เจ้านาย เคยสร้างขวัญกำลังใจให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขไหม
18. เจ้านาย ทำให้ทุกคนเห็นความก้าวหน้าในอาชีพของตนไหม หรือต้องลุ่นการเมืองไปแบบวันต่อวัน
19. เจ้านาย เคยถามไหมว่า ถ้าคู่แข่งขององค์กรที่น่าสนใจมาชวนไปทำงานด้วย จะไปไหม
20. เจ้านาย มีความสามารถในการจัดการไหม รู้จักวางแผน จัดองค์กร บังคับบัญชา ประสานงาน และควบคุมไหม
“กฎมีอยู่ไม่กี่ข้อในโลก แต่คนให้เหตุผลมีมากมาย”
กฎของเจ้านาย บางคน
กฎข้อ 1 เจ้านายถูกเสมอ
กฎข้อ 2 ถ้าเจ้านายผิด (แสดงว่าลูกน้องต้องเรียนรู้เพิ่มเติม) ให้ย้อนกลับไปดูข้อ 1
กฎของลูกน้อง บางคน
กฎข้อ 1 ลูกน้องถูกเสมอ เจ้านายอาจถูกบ้างเป็นบางครั้ง
กฎข้อ 2 ถ้าลูกน้องผิด เจ้านายต้องรับผิดชอบ และย้อนกลับไปดูข้อ 1
กฎข้อ 3 ถ้าเจ้านายผิด ต้องเปลี่ยนเจ้านาย
ปาร์ตี้กาแฟ ปาร์ตี้น้ำชา ปาร์ตี้ขนม หรือปาร์ตี้บลา ๆๆๆ
1. กาลครั้งหนึ่ง ราว 7 ปีล่วงมาแล้ว
มีกิจกรรมเกี่ยวกับการประชุมที่เลี้ยงกาแฟ
ตอนนั้นผมยังไม่เรียกว่า KM (การจัดการความรู้)
เห็นทำกันทั้งภายในองค์กร และนอกองค์กร
หัวหน้าจะชวนลูกน้อง มาดื่มกาแฟกับปลาท่องโก๋ช่วงเช้า ๆ
มากันก่อน 8.00น. เลยหละครับ
ทุกครั้ง เพราะนัดหมายคือก่อนเข้าทำงาน มีขนม นมเนยเลี้ยง
ทำให้นึกถึงสภากาแฟของจังหวัด ที่จัดกันเป็นประเพณีก็ว่าได้
ที่จะเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่าง ๆ ออกมาพูดคุยแลกเปลี่ยน
หัวหน้าท่านบอกว่า informal meeting
2. ก่อนหน้านี้
หน่วยเหนือ ก็จะส่ง ผบ. มาชวนกันพูดคุยแลกเปลี่ยน
แบ่งเป็นกลุ่ม white collar และ blue collar
จัดให้มีการเปิดอกเปิดใจ ถึงขนาดน้องบางท่านระบายความในใจทั้งน้ำตา
แบ่งปันทุกข์ที่อัดอั้นอยู่ แบ่งปันสุขก็มีบ้าง การได้ระบายก็ช่วยให้ผ่อนคลายได้
เป็นเทคนิคที่ทำกันในหลายองค์กร (เคยเรียนมาว่าที่ญี่ปุ่นเขาทำกัน)
แล้วเราก็มีมาตรการหลายอย่างออกมาทำร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม
สืบเนื่องจากการหนุนใจของ ผบ. และเปิดทางของทุกฝ่าย
https://www.pinterest.com/pin/430304939367070195/
3. กรณีศึกษา (อ่านยากหน่อยครับ)
การทำ KM เป็นเรื่องปกติ และควรต้องปกติ เพราะเป็นกิจกรรมหนึ่ง
ในการประกันคุณภาพการศึกษา คือ องค์ประกอบหนึ่งของคณะและสถาบัน
เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนองค์กรอย่างไม่เป็นทางการ
อาจมีชื่อ เช่น ปาร์ตี้กาแฟ ปาร์ตี้น้ำชา ปาร์ตี้ขนม ก็แล้วแต่จะเรียก
แล้วผู้ที่เชี่ยวชาญชีวิต หรือ ชช. เพราะเดี๋ยวนี้ สว. ดูจะไม่น่ารักอีกแล้ว
ท่าน ๆ ก็จะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน และแบ่งปันประสบการณ์มากมาย
1) งานแบบนี้ สาว ๆ ชช. มักใช้เป็นเวทีเปิดใจ (local share)
แล้วออกมาแบ่งปันประสบการณ์ชีวิตก่อนหน้านี้
หวังว่าเด็ก ๆ ในเวทีจะได้เรียนรู้ และเตือนสติ
ว่า “ทำให้ ไม่ได้ทำเอา” อย่ายึดติด “ทำเอา ไม่ได้ทำให้”
บางท่านก็เรียกร้องระบบ
บางท่านก็ไม่ชอบระบบที่ยืดหยุ่น เปลี่ยนเร็ว
บางกรณีก็เปลี่ยนเร็วดุจพลิกฝ่ามือ นั่นก็เร็วไป
2) ชช. บางท่าน อาจมาจากองค์กรระดับชาติ (inter. share)
อาจให้ข้อคิดดี ๆ เช่นหลัก 4 M
ว่าประกอบด้วยผู้ชาย ทรัพยากร จัดการและตัง
เห็นการเชื่อมโยง M&M ได้ชัดเจน
3) หลังจาก ชช. แบ่งปันแล้ว (response)
ดด. (เด็ก ๆ) ก็แลกเปลี่ยนด้วยว่า ระบบ ระเบียบต้องรักษา
กฎเกณฑ์ ข้อบังคับนั้น ยืดหยุ่นได้เสมอ อย่างห่วงเรื่องกฏ
ถ้าจริงใจ ขึ้นกับเหตุผล ทุกอย่างก็จะผ่านไปด้วยดี
4) ทุกเวที มีทั้งบวก และลบคละเคล้า (positive & negative)
เวลาทำงาน บางท่านก็ทำด้วยความภาคภูมิใจ
ชวนกันภูมิใจในงานที่ทำ หนุนใจ ฟังแล้วก็ชื่นใจ
งานมากมายอาศัยทั้งกำลังภายใน และกำลังภายนอก
อาศัยเครือข่าย อาศัยจิตสาธารณะ และบูรณาการ
แล้วเราก็ชื่นชมความสำเร็จร่วมกัน
5) กฎกติกามีเสมอในทุกเวที (rule)
ผู้ใหญ่ใจดีท่านมักจะสร้างความมั่นใจได้ชัดเจน
ฉายภาพให้เห็นความก้าวหน้า ความมั่นคง แสงที่ปลายอุโมง
ระบบและกลไกที่จะนำไปสู่ความสำเร็จก็ชัดเจน
ทำให้เกิดความเชื่อมั่นที่มากอยู่แล้วให้มากยิ่งขึ้น
6) มีคำถามที่ท้าทายคนทำงานอยู่เสมอ ๆ (challenge question)
ถ้ามีโอกาสได้งานใหม่ที่น่าสนใจ และถูกชักชวนไป จะไปไหม
ก็เชื่อได้ว่า จะมีอะไรอะไรคอยฉุดรั้งไว้ไม่ให้เลือกงานใหม่ที่น่าสนใจได้
เช่น เพื่อนร่วมงานที่น่ารัก ลักษณะงานที่เห็นความก้าวหน้า
ทำงานใกล้บ้าน รายได้ที่เลี้ยงตัวเองได้ เจ้านายที่รัก
หรือสวย สนุก อบอุ่น สำเร็จ ก้าวหน้า อะไรทำนองนี้
พูด (Say) กับทำ (Do) ไม่เหมือนกัน
มีเพื่อนคนหนึ่งพูดว่า “เกลียดตัว กินไข่ เกลียดปลาไหล แต่กินน้ำแกง”
แล้วเพื่อนอีกคนก็ค้นพบว่ามนุษย์บางคน “พูด (Say) กับทำ (Do) ไม่เหมือนกัน”
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10153533809348895&set=pb.814248894.-2207520000.1443267686.
ผมเคยเห็นผลสำรวจเรื่องการยอมรับบ่อนกาสิโน
จากเว็บไซต์ประชามติเห็นด้วยกับการตั้งบ่อนคาสิโน
มีคะแนน 430 จาก 619 หรือประมาณ 4 ต่อ 6
กลุ่มคนกลุ่มที่เห็นด้วยกล้าสวนกระแสของโพล์หลายสำนัก
เมินเฉยคำว่า “การเข้าบ่อนไม่ดี เป็นอบายมุข”
นี่เชื่อได้เลยว่าในกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับการตั้งบ่อน
ถ้าตั้งขึ้นมาจริง ๆ คงมีบางคนในกลุ่มนี้ได้เข้าบ่อนเป็นแน่แท้
https://www.prachamati.org/polls/307
อ.Jessada เคยแชร์ของโพสต์ทูเดย์เมื่อ 6 สิงหาคม 2015
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10153453386318895&set=pb.814248894.-2207520000.1443267481.
Sex Robot ก็เป็นอีกเรื่องที่เชื่อได้ว่า “ปากปฏิเสธ แต่ถึงเวลาก็คงไปซื้อมาใช้”
https://www.youtube.com/watch?v=wLVOnVsLXqw
mysqlworking สำหรับทดสอบการยิงระเบียนจำนวนมาก
แก้ไขเพิ่มเติม
พอดึกมาหน่อย เข้าไปปรับ code หลายจุด
โดยเฉพาะอาการช้าเกินเหตุ เมื่อ insert ข้อมูลเพียง 1000 ระเบียน
ก็พบว่าการ create database บน xampp
กำหนด default ของ engine เป็น innodb
เมื่อเปลี่ยนเป็น myisam พบว่าวิ่งฉลุยเร็วเหมือนไม่ได้คิดอะไร
insert เข้าไปเป็นล้าน ยังรอไม่นานเลย
จึงปรับ code ให้สามารถสร้างทั้งแบบ innodb และ myisam
จะได้เปรียบเทียบกันได้
TU Open House 2015
Activities for Freshman in Nation University
Activities for Freshman
แต่ละปี เมื่อมีนักศึกษาใหม่เข้ามา ก็จะมีกิจกรรมหลายอย่างที่น่าสนใจ
สำหรับปี 2558 ก็มีการพัฒนาต่างไปจากปีก่อน ๆ ซึ่งปรับทุกปี
– รับน้อง ขึ้นดอย
ม.เนชั่น รับน้องสร้างสรรค์ใส่ใจประเพณีพี่พาน้องเตียวขึ้นดอย
+ https://www.facebook.com/media/set/?set=oa.998256906906846
– Freshy contest และ Popular vote
+ แนะนำ idol https://www.youtube.com/watch?v=rcYw-4opS9c
+ รวมภาพ https://www.facebook.com/media/set/?set=oa.1004372916295245
– Freshy night for Freshman
NTU freshy night party 2015
Theme : Colorful Black Light
+ รวมภาพ https://www.facebook.com/media/set/?set=oa.1006270959438774
+ การแสดง https://www.youtube.com/watch?v=6JWOuuJxbRs
+ แนะนำตัว https://www.youtube.com/watch?v=57d-qntOQdo
– ไหว้ครู
+ กิจกรรมไหว้ครู https://www.facebook.com/media/set/?set=oa.1005419349523935
+ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10153522776813895&set=gm.1005281882871015
+ การแสดง https://www.youtube.com/watch?v=SvKQ-NoYz6k
+ กล่าวปาเจรา https://www.youtube.com/watch?v=S6N7i7Lb-EI
—
นำเรื่อง รับน้อง เฟรชชี่ และไหว้ครูไปแบ่งปันที่ l3nr.org ด้วย
ใช้บริการ learners.in.th หรือ l3nr.org ส่งเสริมการจัดการความรู้
แหล่งจัดการความรู้ที่ learners.in.th หรือ l3nr.org
ก็เป็น blog ที่ดีสำหรับการเป็น “ห้องเรียนกลับทาง”
หรือเว็บไซต์ : เกมส์การเรียนรู้
ถ้านักศึกษา post อะไรที่นั่นแล้ว
ผมก็จะให้ส่งลิงค์ของโพสต์
เช่น https://www.l3nr.org/posts/558635
แต่ถ้าสร้างชั้นเรียนไว้เก็บอะไรก็จะให้ส่งลิงค์ชั้นเรียน
เช่น https://www.l3nr.org/c/tech101572
ส่วนงานในชั้นเรียน ที่เป็นบันทึก ก็จะคล้ายงานนอกชั้นเรียน มีลิงค์
เช่น https://www.l3nr.org/posts/553537