ร่างผลการเทียบเกณฑ์ จากร่างเกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา 2557 กับเกณฑ์ 2554-2556

ร่าง iqa 2557
ร่าง iqa 2557

ทบทวนร่างเกณฑ์ประเมินที่เปิดใช้ในปีการศึกษา 2557
เนื้อหาจากฉบับร่าง ห้ามใช้อ้างอิง แต่น่าจะเหมาะกับการเตรียมความพร้อม
โดยนำมาเปรียบเทียบกับคู่มือประกันคุณภาพการศึกษา 2554-2556
และมีคุณศัลณ์ษิกา ไชยกุล  นักศึกษาฝึกงานมาช่วยเติมเต็มรายละเอียดต่าง ๆ

กลุ่มตัวบ่งชี้หลักสูตร

ตัวบ่งชี้ 1.1 ถูกเรียกว่า ตัวบ่งชี้มาตรฐาน หากไม่ผ่านเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่ง ให้ผลประเมินเป็น 0 และไม่ต้องประเมินตัวบ่งชี้พัฒนาอีก 13 ตัวบ่งชี้ ซึ่งตัวบ่งชี้มาตรฐานมีเกณฑ์ระดับปริญญาตรี ดังนี้
* เกณฑ์ที่ 1. จำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร – ไม่น้อยกว่า 5 คน และเป็นเกิน 1 หลักสูตรไม่ได้ และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น (ตรี – โท – เอก)
* เกณฑ์ที่ 2. คุณสมบัติของอาจารย์ประจำหลักสูตร – 1) มีวุฒิระดับปริญญาโท หรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน 2) คุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์อย่างน้อย 2 คน  (ตรี – โท – เอก)
* เกณฑ์ที่ 3. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร – 1) มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโท หรือเทียบเท่า หรือ 2) ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ อย่างน้อย 2 คน   (ตรี – โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน – 1) อาจารย์ประจำ หรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบันมีวุฒิปริญญาโทหรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน 2) มีประสบการณ์ด้านการสอน 3) มีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา (งานวิจัยนั้นจะต้องไม่เป็นงานวิจัยที่เป็นผลงานของนักศึกษาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษา) (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ – 1) เป็นอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และ 2) มีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา (งานวิจัยนั้นจะต้องไม่เป็นงานวิจัยที่เป็นผลงานของนักศึกษาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษา) (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) – 1) เป็นอาจารย์ประจำหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มีวุฒิปริญญาเอกหรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และ 2) มีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา (งานวิจัยนั้นจะต้องไม่เป็นงานวิจัยที่เป็นผลงานของนักศึกษาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษา) (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ – 1) เป็นอาจารย์ประจำหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มีวุฒิปริญญาเอกหรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และ 2) มีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา (งานวิจัยนั้นจะต้องไม่เป็นงานวิจัยที่เป็นผลงานของนักศึกษาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษา) (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา – (เฉพาะแผน ก เท่านั้น) ต้องเป็นรายงานสืบเนื่องฉบับเต็มในการประชุมทางวิชาการ (proceeding) หรือวารสารหรือสิ่งพิมพ์วิชาการซึ่งอยู่ในรูปแบบเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์  (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา – วิทยานิพนธ์ อาจารย์ 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน และการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 10. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษามีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ – อย่างน้อย 1 เรื่องในรอบ 5 ปี (งานวิจัยนั้นจะต้องไม่เป็นงานวิจัยที่เป็นผลงานของนักศึกษาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษา) (โท – เอก)
* เกณฑ์ที่ 11. มีการปรับปรุงหลักสูตรไม่เกินรอบระยะเวลาที่กำหนด – ต้องไม่เกิน 5 ปี (จะต้องปรับปรุงให้สำเร็จและอนุมัติ/ให้ความเห็นชอบโดยสภามหาวิทยาลัย/สถาบัน เพื่อให้หลักสูตรใช้งานในปีที่ 6) หมายเหตุ สำหรับหลักสูตร 5 ปี ประกาศใช้ในปีที่ 7 หรือหลักสูตร 6 ปี ประกาศใช้ในปีที่ 8 (ตรี – โท – เอก)
* เกณฑ์ที่ 12. การดำเนินงานให้เป็นไปตามตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานเพื่อการประกันคุณภาพ หลักสูตรและการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ – ตัวบ่งชี้ TQF ข้อ 1 – 5 ต้องดำเนินการทุกตัว (ตรี – โท – เอก)

ตัวบ่งชี้ 1.2 ร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก (ตรี – โท – เอก) [สกอ 2.2]
เกณฑ์การประเมิน : แปลงค่าร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5

ตัวบ่งชี้ 1.3 ร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ  (ตรี – โท – เอก) [สกอ 2.3]
เกณฑ์การประเมิน : แปลงค่าร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5

ตัวบ่งชี้ 1.4 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตร  (ตรี – โท – เอก) [สมศ 5 สมศ 7]
เกณฑ์การประเมิน :
กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี     ร้อยละ 30 = 5
กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์สุขภาพ    ร้อยละ 30 = 5
กลุ่มสาขาวิชา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์    ร้อยละ 20 = 5

ตัวบ่งชี้ 1.5 จำนวนบทความของอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาเอกที่ได้รับการอ้างอิง  ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร (เอก)
เกณฑ์การประเมิน :
– กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อัตราส่วน จำนวนบทความที่ได้รับการอ้างอิงต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรเท่ากับ 2.5 = 5 คะแนน
– กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์สุขภาพ
อัตราส่วน จำนวนบทความที่ได้รับการอ้างอิงต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรเท่ากับ 3.0 = 5 คะแนน
– กลุ่มสาขาวิชา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
อัตราส่วน จำนวนบทความที่ได้รับการอ้างอิงต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรเท่ากับ 0.25 = 5 คะแนน

ตัวบ่งชี้ 1.6 สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตร (ตรี)
เกณฑ์การประเมิน :
คำนวณหาค่าความแตกต่างระหว่างจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่ออาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรกับเกณฑ์มาตรฐาน และนำมาเทียบกับค่าความต่างทั้งด้านสูงกว่าและต่ำกว่าที่กำหนดเป็นคะแนน 0 และ 5 คะแนน และใช้เทียบบัญญัติไตรยางค์ดังนี้
ค่าความแตกต่างทั้งด้านสูงกว่าและต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานไม่เกินร้อยละ 6 กำหนดเป็นคะแนน 5
ค่าความแตกต่างทั้งด้านสูงกว่าและต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานเกินกว่าร้อยละ 12 กำหนดเป็นคะแนน 0
ค่าความแตกต่างทั้งด้านสูงกว่าและต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานในระหว่างร้อยละ 6 และ ร้อยละ 12
ให้นำมาเทียบบัญญัติไตรยางค์ตามสูตรดังนี้เพื่อเป็นคะแนนของหลักสูตรนั้นๆ

ตัวบ่งชี้ 1.7 กระบวนการจัดการเรียนรู้และการบูรณาการกับงานวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม (ตรี)
เกณฑ์ที่ 1 การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย การสร้างปฏิสัมพันธ์ในระหว่างอาจารย์ผู้สอน และผู้เรียน และการประเมินเพื่อการพัฒนาผู้เรียนในระหว่างการเรียนโดยปรากฎอยู่ในรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร (มคอ.7 หมวดที่ 7 คุณภาพของการสอน) [สกอ 2.6]
เกณฑ์ที่ 2 การนำกระบวนการบริการทางวิชาการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน หรือการจัดกิจกรรมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการบริการวิชาการ โดยปรากฎอยู่ในแผนการสอนของรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3 หรือ มคอ.4) เพื่อให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการบริการทางวิชาการ และมีการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในการมีส่วนร่วมอย่างชัดเจน [สกอ 5.1]
เกณฑ์ที่ 3 การนำกระบวนการวิจัยมาใช้ในการเรียนการสอนหรือการจัดให้นักศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำวิจัย โดยปรากฎอยู่ในแผนการสอนของรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3 หรือ มคอ.4) ยกเว้นวิชาวิธีวิจัย และมีการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในประเด็นการนำกระบวนการวิจัยมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างชัดเจน [สกอ 4.1]
เกณฑ์ที่ 4 การสอดแทรกศิลปะและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในกระบวนการเรียนการสอนหรือการมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับศิลปะและวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยปรากฎอยู่ในแผนการสอนของรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3 หรือ มคอ.4) และมีการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับศิลปะและวัฒนธรรมอย่างชัดเจน [สกอ 6.1]
เกณฑ์ที่ 5 การพัฒนาการเรียนการสอนของอาจารย์ที่มีผลการประเมินการสอนต่ำกว่า 3.51 และมีการดำเนินงานตามระบบ โดยปรากฎอยู่ในรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร (มคอ.7) [สกอ.2.6]

ตัวบ่งชี้ 1.8 การบริหารหลักสูตร  (ตรี – โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 1 การควบคุมระบบการรับนักศึกษา
เกณฑ์ที่ 2 การควบคุมกำกับการจัดการเรียนการสอน ที่สร้างเสริมการประกอบอาชีพ ที่ส่งเสริมทักษะการได้รับการจ้างงาน [สกอ 2.6]
เกณฑ์ที่ 3 การวางระบบอาจารย์ที่ปรึกษา [สกอ 3.1]
เกณฑ์ที่ 4 การจัดเตรียมความพร้อมของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้  [สกอ 2.5]
เกณฑ์ที่ 5 การควบคุมกำกับกระบวนการจัดการเรียนการสอน และการประเมินผู้เรียน [สกอ 2.6]
เกณฑ์ที่ 6 การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของอาจารย์ [สกอ 2.4]
เกณฑ์ที่ 7 การติดตามคุณภาพการผลิตบัณฑิต [สกอ 2.7]
เกณฑ์ที่ 8 การควบคุมกำกัการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ [สกอ 2.1]

ตัวบ่งชี้ 1.9 การประเมินผลผู้เรียน  (ตรี – โท – เอก) [สกอ 2.6 ]
เกณฑ์ที่ 1 การประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง
เกณฑ์ที่ 2 การกำหนดเกณฑ์การประเมินและการให้เกรดการเรียนรู้
เกณฑ์ที่ 3 การใช้ประโยชน์จากการประเมิน
เกณฑ์ที่ 4 สำหรับระดับบัณฑิตศึกษา การประเมินวิทยานิพนธ์/สาระนิพนธ์

ตัวบ่งชี้ 1.10 การดูแล ช่วยเหลือ และสนับสนุนนักศึกษา  (ตรี – โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 1 การบริหารจัดการความเสี่ยงทางการเรียน [สกอ 7.4]
เกณฑ์ที่ 2 กระบวนการให้คำปรึกษาทางการเรียน/การทำโครงงาน/การทำวิทยานิพนธ์ [สกอ 3.1]
เกณฑ์ที่ 3 การส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิทยานิพนธ์ สาระนิพนธ์ของนักศึกษา [สกอ 2.7.4]
เกณฑ์ที่ 4 การสร้างโอกาสการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้ได้มาตรฐานสากล (บัณฑิตศึกษา)

ตัวบ่งชี้ 1.11 คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (ป.ตรี โท เอก) (ประเมินจากผู้ใช้บัณฑิต)  (ตรี – โท – เอก) [สมศ 2]
เกณฑ์การประเมิน :  นำผลจากการประเมินบัณฑิตที่มีคะแนนเต็ม 5 จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจจะต้องไม่น้อยกว่าร้อย 20

ตัวบ่งชี้ 1.12 ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ (โท) [สมศ 3]
เกณฑ์การประเมิน : โดยแปลงค่าร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานที่ตีพิมพ์เผยแพร่ต่อผู้สำเร็จการศึกษา เป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5 กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 25 ขึ้นไป

ตัวบ่งชี้ 1.13 ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ (เอก) [สมศ 4]
เกณฑ์การประเมิน : โดยแปลงค่าร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานที่ตีพิมพ์เผยแพร่ต่อผู้สำเร็จการศึกษา เป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5 กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 50 ขึ้นไป

ตัวบ่งชี้ 1.14 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี (ตรี) [สมศ 1]
เกณฑ์การประเมิน : โดยการแปลงค่าร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระใน1 ปีเป็นคะแนนระหว่าง 0-5 กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 100

กลุ่มตัวบ่งชี้คณะวิชา

ตัวบ่งชี้ 2.1 ผลการประเมินระดับหลักสูตร (ค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพของทุกหลักสูตรที่คณะรับผิดชอบ)

ตัวบ่งชี้ 2.2 การบริการนักศึกษา (ถ้ามี) [สกอ 3.1]
เกณฑ์ที่ 1 จัดบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการ และการใช้ชีวิตแก่นักศึกษาในสถาบัน
เกณฑ์ที่ 2 มีการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการ กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 3 จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 4 ประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการในข้อ 1 – 3 ทุกข้อไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5

ตัวบ่งชี้ 2.3 กิจกรรมนักศึกษา (ถ้ามี) [สกอ 3.2]
เกณฑ์ที่ 1 จัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในภาพรวมของสถาบันโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนและการจัดกิจกรรม
เกณฑ์ที่ 2 ในแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในระดับปริญญาตรี ให้ดำเนินกิจกรรมในประเภทต่อไปนี้ให้ครบถ้วน
– กิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่กำหนดโดยสถาบัน
– กิจกรรมกีฬา หรือการส่งเสริมสุขภาพ
– กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ หรือรักษาสิ่งแวดล้อม
– กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม
– กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 3 จัดกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 4 ทุกกิจกรรมที่ดำเนินการ มีการประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงานครั้งต่อไป
เกณฑ์ที่ 5 ประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
เกณฑ์ที่ 6 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา

ตัวบ่งชี้ 2.4 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ (ถ้ามี)
เกณฑ์ที่ 1 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์   [สกอ 7.3]
เกณฑ์ที่ 2 สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้ [สกอ 4.1.5]
– ห้องปฏิบัติการวิจัยฯ หรือหน่วยวิจัยฯ หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คำปรึกษาและหนับสนุนการวิจัยฯ
– ห้องสมุดหรือแหล่งค้นหว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยฯ
– สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยฯ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย
– กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยฯ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์อาคันตุกะหรือศาสตราจารย์รับเชิญ (visiting professor)
เกณฑ์ที่ 3 จัดสรรงบประมาณของสถาบัน เพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ [สกอ 4.1.4]
เกณฑ์ที่ 4 จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ และมีการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ [4.2.1]
เกณฑ์ที่ 5 มีการพัฒนาสมรรถนะนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องนักวิจัย/อาจารย์ที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น
เกณฑ์ที่ 6 มีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และดำเนินการตามระบบที่กำหนด (เฉพาะมหาวิทยาลัยวิจัย) [สกอ 4.2]

ตัวบ่งชี้ 2.5 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ [สกอ 4.3]
เกณฑ์การประเมิน : โดยการแปลงจำนวนเงินต่ออาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5

ตัวบ่งชี้ 2.6 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำ และนักวิจัยประจำ [สมศ 5 สมศ 7]
เกณฑ์การประเมิน :
กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี     ร้อยละ 30 = 5
กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์สุขภาพ    ร้อยละ 30 = 5
กลุ่มสาขาวิชา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์    ร้อยละ 20 = 5

ตัวบ่งชี้ 2.7 การบริการวิชาการแก่สังคม ที่คณะเน้นกระบวนการ PDCA
เกณฑ์ที่ 1 จัดทำแผนการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จในระดับแผนและโครงการบริการวิชาการแก่สังคมและเสนอสภามหาวิทยาลัย/สถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ [สมศ 8]
เกณฑ์ที่ 2 โครงการบริการวิชาการแก่สังคมในข้อ 1 ที่ทั้งโครงการที่มีรายได้และโครงการที่ให้บริการแบบไม่หวังผลเชิงธุรกิจ
เกณฑ์ที่ 3 ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการแก่สังคมในข้อ 1 และนำเสนอสภามหาวิทยาลัย/สถาบันเพื่อพิจารณา [สมศ 8]
เกณฑ์ที่ 4 นำผลการประเมินตามข้อ 4 มาปรับปรุงแผนหรือพัฒนาการให้บริการวิชาการสังคม [สกอ 5.1]
เกณฑ์ที่ 5 โครงการบริการวิชาการแก่สังคมตามแผนฯ ทุกโครงการมีการจัดทำแผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการเพื่อให้เกิดผลต่อการพัฒนานักศึกษา หรือชุมชน หรือสังคม

ตัวบ่งชี้ 2.8 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ (มหาวิทยาลัยใช้คะแนนของคณะมาเฉลี่ย)
เกณฑ์ที่ 1 การจัดทำแผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และกลุ่มสถาบัน [สกอ 1.1]
เกณฑ์ที่ 2 การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยการจัดการเรียนการสอนในแต่ละหลักสูตร
เกณฑ์ที่ 3 การบริหารความเสี่ยงต่อปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะ [สกอ 7.4]
เกณฑ์ที่ 4 การบริหารอัตรากำลังและพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน [สกอ 2.4]
เกณฑ์ที่ 5 การบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการ [สกอ 7.1]
เกณฑ์ที่ 6 การจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ [สกอ 7.2]

กลุ่มตัวบ่งชี้มหาวิทยาลัย

ตัวบ่งชี้ 3.1 ผลการประเมินระดับหลักสูตร (ค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพของทุกหลักสูตรที่คณะรับผิดชอบ)

ตัวบ่งชี้ 3.2 การบริการนักศึกษา [สกอ 3.1] เหมือนคณะ แต่เพิ่มข้อ 5 – 6
เกณฑ์ที่ 1 จัดบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการ และการใช้ชีวิตแก่นักศึกษาในสถาบัน
เกณฑ์ที่ 2 มีการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการ กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 3 จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 4 ประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการในข้อ 1 – 3 ทุกข้อไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5
เกณฑ์ที่ 5 นำผลการประเมินจากข้อ 4 มาปรับปรุงพัฒนาการให้บริการและการให้ข้อมูล เพื่อส่งให้ผลการประเมินสูงขึ้นหรือเป็นไปตามความคาดหวังของนักศึกษา
เกณฑ์ที่ 6 ให้ข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์ในสายอาชีพแก่ศิษย์เก่า

ตัวบ่งชี้ 3.3 กิจกรรมนักศึกษา [สกอ 3.2] เหมือนคณะ
เกณฑ์ที่ 1 จัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในภาพรวมของสถาบันโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนและการจัดกิจกรรม
เกณฑ์ที่ 2 ในแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในระดับปริญญาตรี ให้ดำเนินกิกจรรมในประเภทต่อไปนี้ให้ครบถ้วน
– กิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่กำหนดโดยสถาบัน
– กิจกรรมกีฬา หรือการส่งเสริมสุขภาพ
– กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ หรือรักษาสิ่งแวดล้อม
– กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม
– กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 3 จัดกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 4 ทุกกิจกรรมที่ดำเนินการ มีการประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงานครั้งต่อไป
เกณฑ์ที่ 5 ประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
เกณฑ์ที่ 6 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา

ตัวบ่งชี้ 3.4 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
เกณฑ์ที่ 1 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์   [สกอ 7.3]
เกณฑ์ที่ 2 สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้ [สกอ 4.1.5]
– ห้องปฏิบัติการวิจัยฯ หรือหน่วยวิจัยฯ หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คำปรึกษาและหนับสนุนการวิจัยฯ
– ห้องสมุดหรือแหล่งค้นหว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยฯ
– สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยฯ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย
– กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยฯ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์อาคันตุกะหรือศาสตราจารย์รับเชิญ (visiting professor)
เกณฑ์ที่ 3 จัดสรรงบประมาณของสถาบัน เพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ [สกอ 4.1.4]
เกณฑ์ที่ 4 จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ และมีการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ [สกอ 4.2.1]
เกณฑ์ที่ 5 มีการพัฒนาสมรรถนะนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องนักวิจัย/อาจารย์ที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น
เกณฑ์ที่ 6 มีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และดำเนินการตามระบบที่กำหนด (เฉพาะมหาวิทยาลัยวิจัย) [สกอ 4.2]

ตัวบ่งชี้ 3.5 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ [สกอ 4.3]
เกณฑ์การประเมิน : คะแนนระหว่าง 0 – 5

ตัวบ่งชี้ 3.6 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ  [สมศ 5 สมศ 7]
เกณฑ์การประเมิน : โดยการแปลงจำนวนเงินต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5

ตัวบ่งชี้ 3.7 การบริการวิชาการแก่สังคมเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนและสังคม  [สกอ 5.2 สมศ 9] ที่มหาวิทยาลัยเน้นชุมชนเป้าหมาย
เกณฑ์ที่ 1 กำหนดชุมชนหรือองค์การเป้าหมายของการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมโดยมีความร่วมมือระหว่างคณะหรือหน่วยงานเทียบเท่า [สกอ 5.2.2]
เกณฑ์ที่ 2 จัดทำแผนบริการวิชาการโดยมีส่วนร่วมจากชุมชน หรือองค์การเป้าหมายที่กำหนดในข้อ 1 [สมศ 9.1.1]
เกณฑ์ที่ 3 ชุมชนหรือองค์การเป้าหมายได้รับการพัฒนาและมีความเข้มแข็งที่มีหลักฐานที่ปรากฎชัดเจน [สมศ 9.1.3]
เกณฑ์ที่ 4 ชุนชนหรือองค์การเป้าหมายดำเนินการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง [สมศ 9.1.4]
เกณฑ์ที่ 5 สถาบันสามารถสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการพัฒนาชุมชนหรือองคค์การเป้าหมาย [สกอ 5.2.2]

ตัวบ่งชี้ 3.8 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม [สกอ 6]
เกณฑ์ที่ 1 กำหนดผู้รับผิดชอบในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 2 จัดทำแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และกำหนดตัวบ่งชี้ วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน
เกณฑ์ที่ 3 กำกับติดตามให้มีการดำเนินงานตามแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 4 ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ที่วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 5 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 6 เผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน
เกณฑ์ที่ 7 กำหนดหรือสร้างมาตรฐานคุณภาพด้านศิลปะและวัฒนธรรมและมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ

ตัวบ่งชี้ 3.9 การบริหารของสถาบันเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจและกลุ่มสถาบัน
เกณฑ์ที่ 1 การจัดทำแผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และกลุ่มสถาบัน [สกอ 1.1]
เกณฑ์ที่ 2 การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยการจัดการเรียนการสอนในแต่ละหลักสูตร
เกณฑ์ที่ 3 การบริหารความเสี่ยงต่อปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะ [สกอ 7.4]
เกณฑ์ที่ 4 การบริหารอัตรากำลังและพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน [สกอ 2.4]
เกณฑ์ที่ 5 การบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการ [สกอ 7.1]
เกณฑ์ที่ 6 การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพสถาบันอย่างต่อเนื่อง [สกอ 9]

ตัวบ่งชี้ 3.10 ผลการบริหารงานของคณะ (คะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินระดับคณะทุกคณะ)
เกณฑ์การประเมิน : คะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินระดับคณะของทุกคณะ

http://www.scribd.com/doc/221987061/

ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
ที่อ้างอิงในเกณฑ์ที่ 12 ของตัวบ่งชี้ 1.1 ว่าต้องผ่าน 1 – 5 ตัวบ่งชี้แรกนั้น มีตัวบ่งชี้ดังนี้
1. อาจารย์ประจำหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร
2. มีรายละเอียดของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา (ถ้ามี)
3. มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา
4. การจัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา
5. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา


เกณฑ์ประกันคุณภาพ กค.2553 ของ สกอ
http://blog.nation.ac.th/?p=1629

ประชุมร่วมกับอาจารย์จาก fukui university of technology

fukui & ntu meeting
fukui & ntu meeting

21 พ.ค.57 ที่มหาวิทยาลัยเนชั่นทั้งผู้บริหาร และคณาจารย์
นำโดย ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี ได้ประชุมร่วมกับ
Prof.Fumio Nakayasu (Head of International Center of FUT)
และ Ms.Ayako Kobayashi (Chief of an International Center)
จากมหาวิทยาลัย fukui ประเทศญี่ปุ่น
http://www.fukui-ut.ac.jp
เกี่ยวกับความร่วมมือทางด้านวิชาการ
การจัดประชุมวิชาการร่วมกัน การแลกเปลี่ยนนักศึกษา อาจารย์ หลักสูตรร่วม
จัดกิจกรรมศึกษาในต่างประเทศทั้งระยะสั้น ทั้งตรีและโท และการโอนหน่วยกิต เป็นต้น

fukui document
fukui document
fukui document
fukui document

ตามเอกสารนำเสนอข้อมูลมหาวิทยาลัย Fukui
ทำให้ทราบว่าที่ fukui กำลังดำเนินการเปิดหลักสูตร
ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์กีฬาและสุขภาพ (Sport & Health Science)
ซึ่งเชื่อมโยงกับ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ ของมหาวิทยาลัยเนชั่นได้เป็นอย่างดี
ซึ่งก่อนหน้านี้มีคณะออกแบบ และคณะไอทีให้ความสนใจ เสนอหัวข้อ
โดยผลการประชุม ทางญี่ปุ่นจะนำไปหารือกับคณะวิชาต่าง ๆ
และจัดทำแผนต่อไป ซึ่งมีเงื่อนไขเรื่องช่วงเวลาและรูปแบบเป็นสำคัญ
ซึ่งฝ่ายเมืองไทยได้กำหนดแผนจัดประชุมวิชาการ ntc2014
ในวันที่ 6-8 ธันวาคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น
หากติดขัดเรื่องการเปิดปิดภาคเรียนก็อาจกำหนดเป็นเดือนกุมภาพันธ์ 2558
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.637111256365963.1073741984.228245437252549

ซึ่งก่อนหน้านี้ท่านอธิการบดี  Prof. Dr.Yotaro Morishima
ของ Fukui University of Technology
ได้มาเป็น keynote speaker ในงานประชุม ntc2014
เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2557 ในหัวข้อ
Challenges of Japanese Universities in the Borderless Era
http://www.thaiall.com/blog/burin/5733/
http://blog.nation.ac.th/?p=2887

จัดกิจกรรมตัวปลา ตามแนว tuna model

Knowledge Sharing-KS
Knowledge Sharing-KS

มหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม พูดคุยแลกเปลี่ยน
เรื่อง การเตรียม peervisit ประจำปีการศึกษา 2556
มีประเด็นหารือแลกเปลี่ยน สรุปได้ดังนี้

1. การกำหนดข้อตกลงร่วม ว่าจะพิจารณาเอกสารตามคำอธิบาย
ถ้าไม่มี หรือยังไม่ได้รับ หรือรอเอกสาร
เพื่อนต้องเขียนรายงาน ระบุ ว่ารอจากใคร และคะแนนเป็น 0
โดย อ.อดิศักดิ์ และพี่นายประกัน อ้างอิงว่าผู้บริหารต้องการให้เหมือนจริง
เพื่อการติดตาม และพัฒนา
2. ห้อง e-document ตกลงให้ตั้งชื่อใหม่
ให้สอดคล้องกับรอบปีและมีความหมาย ขึ้นใหม่ 3 ห้อง
คือ peervisit56 และ sar56 และ dataqa56
ตามข้อเสนอแนะของ อ.อดิศักดิ์ และคุณเปรมจิต
3. มีการถกเถียงแลกเปลี่ยนเรื่อง convergence
ว่าจะรวมศูนย์เอกสาร หรือกระจายศูนย์
โดยที่ประชุมมีมติให้กระจายห้องเก็บเอกสาร
แม้ อ.เกศริน และพี่นายประกัน จะเห็นไปในทางรวมศูนย์ก็ตาม
4. แต่ละทีมได้หารือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ว่าใครจะไปองค์ใด
เช่นทีมคณะสังคม คือ บุรินทร์ ลัดดาวรรณ และฉัตรไชย
กำหนดเป็น 2+7 และ 1+8+9 และ 3+4+5+6
ซึ่งแต่ละทีมก็จะมีการพิจารณาแตกต่างกันไป
5. ได้ย้ำเรื่องกำหนดการว่าเริ่มดำเนินการ 26-28พ.ค.57
และรายงานสรุปผล 2 มิ.ย.57
6. การนำเสนอการใช้งานระบบ และวิธีการเขียนรายงาน
ไม่มีเพื่อนในทีมมีข้อสงสัย โดยพี่นายประกันจะเป็นผู้คัดลอกข้อมูลออกมา
แล้วนำไปจัดทำรายงานต่อไป
7. เป้าหมายของการทำ peervisit ครั้งนี้
ก็เพื่อให้คณะวิชามีความพร้อม และปรับเอกสารให้ตรงกับความต้องการ
ของเกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษาอย่างแท้จริง

เครื่องมือนำเสนอกระบวนการ ในการกรอกข้อมูล peervisit ด้วย powerpoint
http://it.nation.ac.th/doc/oit/Peer_Visit_Manual_report.pdf
โปรแกรมพัฒนาโดย คุณเปรม อุ่นเรือน และผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์
http://www.scribd.com/doc/223725577/Peer-Visit-Manual-Report


กิจกรรมนี้ ตามแนว tuna model
เป็นส่วน “ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS)
หมายถึง ส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง “คุณอำนวย” จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ “คุณกิจ
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว
คุณกิจ” พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม
ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม

ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
มี อ.แต อ.นุ้ย พี่นาย คุณลัดดาวรรณ อ.วันชาติ
พี่ลักขณา อ.อดิศักดิ์ อ.ฉัตรชัย คุณเปรมจิต อ.แตงโม

+ http://www.thaiall.com/km

ชวนคิดต่างสร้างปัญญา

think difference
think difference

ถ้ามนุษย์เราคิดเหมือนกันหมด
ก็คงไม่มีนวัตกรรม ไม่มีปัญหา ไม่มีวิธีแก้ปัญหา
มีเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับคำว่าคิดต่าง

1. “ให้เหล้าเท่ากับแช่ง
แล้วมีคนเห็นว่า “ในเมื่อไม่ดี แล้วทำไมไม่ให้เลิกขาย
เป็นข้อเสนอแนะที่ดีครับ แต่เงื่อนไขประกอบการตัดสินใจ
มีหลายองค์ประกอบ ไม่อาจใช้เหตุผลเดียว ตัดสินบางเรื่องได้
http://pantip.com/topic/13128190

2. “ทุกคนล้วนเป็นอัจฉริยะ แต่ถ้าคุณตัดสินปลาด้วยความสามารถในการปีนต้นไม้ของมัน
ก็จะทำให้ปลาตัวนั้นเชื่อว่าสิ่งนี้คือความโง่เขลา
” เขาว่าเป็นวาทะ Albert Einstein
แล้วมีคนเห็นว่า เกณฑ์ตัดสินไม่ยุติธรรม
ถ้าให้ยุติธรรม ต้องหาเกณฑ์ตัดสินที่ทำให้ทุกคนผ่านเกณฑ์ได้หมด
ไม่ตกหล่น เพราะถ้าตกหล่น แสดงว่าเกณฑ์ตัดสินไม่ดีพอสำหรับทุกคน
https://www.facebook.com/quotequotequote/posts/428866650481704

3. “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้”
แล้วมีคนเห็นว่า “ทำให้เด็กเพ้อฝัน ไม่สนความรู้
”  – Albert Einstein
เพราะหยิบเอาแต่เปลือกของคำกล่าวข้างต้นมาใช้
https://www.facebook.com/pmkrrnmk/photos/at.221420964651027.50516.212877465505377.100000343096881/482418745217913/

วัดระยะทาง 2 marker บน google map

home on google map
home on google map

1 ก.พ.57 เมื่อหลายเดือนก่อน
เคยเก็บ point : latitude และ longitude
ตำแหน่งต่าง ๆ ในลำปาง และในประเทศไว้
แล้วพรุ่งนี้ (เลือกตั้งส.ส. 57) จะไปคุยงานกับเพื่อนที่เชียงใหม่
ที่สนใจเรื่องการวางแผนเส้นทางการท่องเที่ยว
และน่าจะได้ใช้ google map ลองเขียน code
เพื่อทดสอบการประมวลผลกับฐานข้อมูล
แล้วก็การวัดระยะทาง พบว่าพอประยุกต์ใช้งานได้
ในทางเทคนิคฝั่งเครื่องบริการใช้ jquery-1.9.1.js
ขอใช้บริการของ google โดยตรงก็สามารถแสดงแผนที่ได้แล้ว
โดยคำอธิบายเป็นภาษาไทย และตัวอย่าง code
ได้มาจาก http://www.ninenik.com เขียนไว้ละเอียดมาก
ชื่นชมเลยครับ
งานนี้ผมทดสอบไว้ที่ http://www.thaiall.com/googlemap

ปล. เขียนทิ้งไว้ พอไม่ได้ใช้ก็ลืมเลือน

ชวนเสนอบทความในงาน NCCIT2014

ชวนเสนอบทความในงาน NCCIT2014

NCCIT2014 at Angsana Laguna Phuket
NCCIT2014 at Angsana Laguna Phuket

23 มกราคม 2557 ได้รับอีเมลชวนเสนอบทความในงาน NCCIT2014 อีกครั้งหนึ่ง
จาก คุณวัชรีวรรณ จิตต์สกุล [watchareewanj@hotmail.com]
ซึ่งผมสนใจส่ง paper เข้าร่วมนำเสนอหลายปีติดต่อกัน
ในกลุ่ม Information Technology and Computer Education
ว่าปีนี้จัดระหว่างพฤหัสบดีที่ 8 – ศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2014
ที่ Angsana Laguna, Phuket
http://www.angsana.com/en/phuket/

Call for paper NCCIT2014
The 10th National Conference on Computing and Information Technology (NCCIT2014)
8-9 May 2014 At Angsana Laguna, Phuket, Thailand by
King Mongkut’s University of Technology North Bangkok
http://www.nccit.net


NCCIT Areas of  Interest
Conference Topics Include (but not limited to):

– Data Mining and Machine Learning:
Artificial Neural Network, Fuzzy Systems, Hybrid Systems, Evolutionary Computation, Knowledge Discovery, Knowledge Transfer, Knowledge Management, Decision Support, Recommender Systems, Text Mining, and Web Mining.
– Data Network and Communication:
Computer Network, Security & Forensic, Wireless & Sensor Network, Telecommunication, Mobile Ad-Hoc Network, Cloud & Grid Computing, Decentralized computing, P2P networks, P2P protocols, and Semantic P2P networks.
– Human-Computer Interface and Image Processing:
Human Machine Interface, User Customization, Embedded Computation, Augmented Reality, Computer Vision, Feature detection, Medical image processing, and Facial recognition
– Information Technology and Computer Education:
Knowledge Management, Web Application, Web Service, Management Information System, Customer Relation Management, Ontology, Semantic Web and Enterprise Resource Planning, Software engineering and Computer Education

Important Dates(NCCIT)
Paper Submission for Review: January 31, 2014
Decision Notification: February 17, 2014
Camera Ready Version: March 3, 2014
Advanced Registration: March 5, 2014

Conference Format
The conference has two types of presentations: invited keynote
speakers and regular oral presentations. The proceedings of the
conference will be published and distributed in CD-contained format.

Paper Submission
Papers must be written inThai for NCCIT2014
and should describe original work in detail. Each regular
paper, according to instructions, must be accompanied by an
abstract summarizing the contribution it makes to the field.
Each paper will be reviewed by at least three reviewers. Submission of a
paper constitutes a commitment that, if accepted, one or more
authors will attend and participate in the conference. Electronic
submission in camera-ready format and author’s bibliography are
required. Please check information at http://www.nccit.net

Contact Information
Assoc. Prof. Dr.Phayung Meesad, NCCIT2014 Chair
Asst. Prof. Dr.Sirapat Boonkrong, NCCIT2014 Secretary
Faculty of Information Technology
King Mongkut’s University of Technology North Bangkok (KMUTNB)
Pracharat 1 Rd. Wongsawang, Bangsue Bangkok 10800.
Email: pym@kmutnb.ac.th; sirapatb@kmutnb.ac.th
Tel:  +662 555 2000  ext. 2711, 2719, 2726; Fax: +662 555 2734

http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm

สงครามเอาชนะของคนกลุ่มน้อย กับคนกลุ่มใหญ่

วิหคสายฟ้า (Gatchaman)
วิหคสายฟ้า (Gatchaman)

หนังวิหคสายฟ้า (Gatchaman) ปรับมาจากภาคการ์ตูน
เกิดเพราะคน 2 กลุ่ม คือ มนุษย์ทั่วไปเป็นคนกลุ่มใหญ่
กับมนุษย์ที่ติดเชื่อจนมีความสามารถพิเศษเรียกว่าคนกลุ่มน้อย

คนกลุ่มใหญ่มีอัศวิน
คือ ผู้มีความพิเศษกว่าคนกลุ่มน้อยมาช่วยเหลือ
ทำให้คนกลุ่มน้อยไม่อาจเอาชนะคนกลุ่มใหญ่ได้

คนกลุ่มน้อย ใช้แผนใส้ศึก
ส่งหัวหน้ามาบอกว่ายอมแพ้ขอเปลี่ยนข้าง
แล้วหักหลังโดยขโมยอาวุธของคนกลุ่มใหญ่ที่มีอนุภาพเอาชนะได้

สุดท้าย ก็ส่งอัศวินไปเอาชนะคนกลุ่มน้อย
ชนะกันแบบเส้นยาแดงผ่าแปด คนดูก็ลุ่นตัวโก่งเลยครับ

เรื่องนี้เห็นใจพระเอกเลย เลือกยากมาก
– เลือกความรักต่อคนรัก หรือครอบครัว
– เลือกเพื่อนในกลุ่ม หรือทิ้งคนกลุ่มใหญ่
– เลือกทำตามหน้าที่ หรือทิ้งเพื่อน
– เลือกแก้แค้นให้คนรัก หรือทิ้งคนกลุ่มใหญ่
– เลือกชีวิตตนเอง หรือทิ้งเพื่อน
http://movie.mthai.com/movie-news/140885.html

เรื่องนี้เป็น 1 ใน 3 ของ structured programming

เรื่องนี้เป็น 1 ใน 3 ของ structured programming

ความรุนแรง (violent)
ความรุนแรง (violent)

ในชีวิตจริง
มีคำว่า if .. then .. ให้เห็นอยู่เสมอตามข่าว
เช่น ระเบิดที่ ถ.บรรทัดทอง
เพราะการระเบิดที่ทำให้ผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บ
จะมีผลให้สถานการณ์เปลี่ยนไป

เขียนเป็น pseudocode ได้ว่า
ถ้า มีความรุนแรง และมีผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บ
แล้ว รัฐบาลต้องรับผิดชอบ หรือเปลี่ยนผู้บริหารประเทศ
หรือ
if $violent == true then
change(“yes”)
else
change(“no”)


http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9570000006295

ประมูลทีวีดิจิตอล วัดกันที่เงิน ยอดสูงกว่าก็ได้ไป

กสทช.ประกาศประมูลทีวีดิจิตอลในวันที่ 26-27 ธ.ค. 2556 คาดประกาศรับรองผลได้ในวันที่ 6 ม.ค. 2557พร้อมแก้ไขหลักปฏิบัติการประมูลใหม่หลังพบปัญหาช่วงทดสอบระบบ “พ.อ.นที” ขู่ใครฮั้วประมูลโดนอาญาและชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/viewNews.aspx?NewsID=9560000154399

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ด กสท.เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.ว่า ที่ประชุมได้มีมติประกาศให้วันที่ 26-27 ธ.ค. 2556 ตั้งแต่เวลา 08.00-20.00 น. เป็นวันประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ 24 ช่อง ที่บริษัท กสท โทรคมนาคม เขตบางรัก โดยจะใช้พื้นที่ของชั้นที่ 27-30 จำนวน 16 ห้องที่ใช้สำหรับในการประมูล และ 1 ห้องเป็นห้องควบคุมการประมูลครั้งนี้

ทั้งนี้ การประมูลดังกล่าวจะแบ่งการประมูลออกเป็น 2 วัน คือวันที่ 26 ธ.ค. 2556 ช่วงเช้า ตั้งแต่ 08.00-14.00 น. เป็นการประมูลประเภทช่องทั่วไป (วาไรตี) ความคมชัดสูง (HD) และช่วงบ่ายตั้งแต่ 14.00-20.00 น.เป็นการประมูลประเภทช่องทั่วไป (วาไรตี) ความคมชัดมาตรฐาน (SD) และในวันที่ 27 ธ.ค. 2556 ช่วงเช้า 08.00-14.00 น. เป็นการประมูลประเภทช่องข่าวสารสาระ และช่วงบ่ายตั้งแต่ 14.00-20.00 น.เป็นการประมูลประเภทช่องเด็กและครอบครัว

“อย่างไรก็ตาม กรอบเวลาดังกล่าวนั้นเป็นการกำหนดเวลาทั้งหมดเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วเชื่อว่าจะเริ่มการเคาะประมูลรอบเช้าได้ในเวลา 11 นาฬิกา ขณะที่ช่วงบ่ายจะเริ่มเคาะ 16 นาฬิกา โดยคาดว่าจะใช้เวลาการประมูลแต่ละประเภทไม่เกิน 1 ชั่วโมง”

ขณะที่ภายหลังการประมูลเสร็จสิ้นลงจะรู้ผลผู้ชนะการประมูลในทันที แต่จะสามารถรับรองผลการประมูลได้ภายหลัง 15 วันเมื่อการประมูลจบลง และจะดำเนินการออกใบอนุญาตให้แล้วเสร็จในเดือน ม.ค. 2557 และให้ออกอากาศได้ภายในเดือน ก.พ. 2557 ต่อไป

“กสท.อาจจะสามารถประกาศรับรองผลการประมูลทีวีดิจิตอลได้ในวันที่ 6 ม.ค. 2557 ซึ่งถือเป็นการประชุมบอร์ดครั้งแรกหลังการประมูลเสร็จสิ้นลงนั่นเอง”

นอกจากนี้ ภายหลังการประกาศรับรองผลการประมูล 30 วัน ผู้ชนะการประมูลจะต้องนำเงินมาชำระค่าใบอนุญาตทีวีดิจิตอลซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. ชำระราคาขั้นต้นการประมูลแบ่งจ่ายเป็น 4 งวด คือในปีแรกจำนวน 50% ปีที่ 2 จำนวน 30% ปีที่ 3 จำนวน 10% และปีที่ 4 จำนวน 10% และในส่วนที่ 2 ชำระ10% ของราคาที่เกินมาจากราคาขั้นต้น

พ.อ.นทีกล่าวว่า ที่ประชุมยังมีมติปรับปรุงหลักปฏิบัติในการประมูลทีวีดิจอตอลครั้งนี้ ได้แก่ 1. มีการแก้ไขกระบวนการจับฉลากเพื่อเลือกหมายเลขห้องการประมูล ลำดับที่การประมูล และรหัสผ่านที่ใช้ในการประมูล 2. มีการแก้ไขให้ผู้เข้าประมูลสามารถออกมาเข้าห้องน้ำได้แต่ต้องมีเจ้าหน้าที่ติดตามไปด้วยจากเดิมไม่ให้ผู้เข้าประมูลออกมาจากห้องเลยไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม 3. ไม่อนุญาตให้ผู้เข้าประมูลนำอุปกรณ์สื่อสารใดๆ เข้าห้องประมูลได้ยกเว้นแต่เจ้าหน้าที่ที่คอยดูแลระบบเท่านั้น และ 4. ปรับให้ผู้เข้าร่วมประมูลสามารถนำเอาเอกสารต่างๆ ที่สำคัญ อาทิ แผนธุรกิจเข้าไปในห้องประมูลได้แต่ต้องไม่เกิน 10 หน้าขนาด A4 โดยสาเหตุที่ต้องมีการแก้ไขหลักปฏิบัติในครั้งนี้เนื่องจากเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ ผ่านมา กสท.จัดให้มีการทดลองการประมูลกับผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมประมูล ซึ่งผลปรากฏว่าเกิดปัญหาต่างๆ ในระหว่างการทดสอบระบบดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการแก้ไขหลักปฏิบัติ

ขณะเดียวกัน ตัวแทนผู้เข้าร่วมประมูลแต่ละบริษัทที่มีความประสงค์จะเข้าห้องเพื่อเคาะประมูลซึ่งไม่เกิน 5 คนนั้นจะต้องส่งรายชื่อก่อนวันประมูล 5 วัน และในวันประมูลจริงได้ใช้เจ้าหน้าที่ดำเนินการประมูลจำนวน 175 คน โดยรวมการประมูลทีวีดิจิตอลในครั้งนี้ กสท.ใช้งบประมาณไปราว 20 ล้านบาท

อีกทั้งหากกรณีเกิดปัญหาในวันประมูลที่ไม่ส่งผลกระทบต่อราคาการประมูลให้รักษาการ กสทช.ด้าน กสท.เป็นคนตัดสินใจ แต่หากมีผลต่อราคาการประมูลต้องให้ประธาน กสท.เป็นคนตัดสินใจเท่านั้น

“หากในวันประมูลเกิดจับได้ว่าผู้เข้าร่วมประมูลมีพฤติกรรมเข้าข่ายไปในการฮั้วประมูลเกิดขึ้น โดยผู้กระทำความผิดดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ชำระค่าเสียหายจากการประมูลทั้งหมด รวมไปถึงถือเป็นคดีอาญาด้วย ส่วนกรณีมีการสละสิทธิ์ หรือไม่มีการเคาะประมูลเกิดขึ้นก็จะต้องชดใช้ค่าเสียหายในการประมูลเช่นเดียวกัน”

สำหรับรายละเอียดการประมูลนั้น ประเภทช่องทั่วไป (วาไรตี) ความคมชัดสูง (HD) ราคาเริ่มต้น 1,510 ล้านบาท เคาะประมูลครั้งละ 10 ล้านบาท ประเภทช่องทั่วไป (วาไรตี) ความคมชัดมาตรฐาน (SD) ราคาเริ่มต้น 380 ล้านบาท เคาะประมูลครั้งละ 5 ล้านบาท ช่องข่าวสารสาระราคาเริ่มต้นประมูล 220 ล้านบาท เคาะประมูลครั้งละ 2 ล้านบาท และช่องเด็กและครอบครัวราคาเริ่มต้น 140 ล้านบาท เคาะประมูลครั้งละ 2 ล้านบาท

ผลการศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษากลุ่มหนึ่ง

ผลการศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษากลุ่มหนึ่ง
ผลการศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษากลุ่มหนึ่ง

สุจินต์ เพิ่มพิทักษ์ และทัศนีย์นารถ ลิ้มสุทธิวันภูมิ (2553) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พบว่า ระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยปัจจุบัยด้านเพศ อายุ และภูมิลำเนาส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ

โดยมีคำถามในแบบสอบถามถึงแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ดังนี้
– ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น”
– ข้าพเจ้าความตั้งใจแน่วแน่ เพื่อบรรลุเป้าหมายของการเรียนแต่ละวิชา
– ข้าพเจ้าตัดสินใจสมัครเข้าเรียนคณะบัญชีมหาวิทยาลัยกรุงเทพด้วยตนเอง
– ข้าพเจ้าจะฝ่าฟันปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้การเรียนบรรลุเป้าหมาย
– เมื่อข้าพเจ้าทำคะแนนสอบได้น้อย ข้าพเจ้าจะอ่านและทบทวนวิชานั้นให้มากขึ้น
– แม้งานที่ได้รับมอบหมายจะได้คะแนนน้อย ข้าพเจ้าก็จะพยายามอย่างเต็มที่
– ถึงแม้ว่าวิชาที่เรียนจะยาก ข้าพเจ้าจะตั้งใจเรียนให้เต็มที่
– ขณะที่เรียนข้าพเจ้าตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนตลอดเวลา
– ข้าพเจ้าตั้งใจทำงานทุกอย่างที่อาจารย์มอบหมาย
– แม้การเรียนจะลำบากเพียงไร ข้าพเจ้าจะไม่ย่อท้อ
– เมื่อพบข้อบกพร่องในการเรียน ข้าพเจ้าจะไม่ย่อท้อ
– ข้าพเจ้าชอบค้นคว้าหาความรู้ เพื่อนำมาใช้ในการศึกษาพัฒนาการเรียน
– ข้าพเจ้ารู้สึกกระตือรือร้น เมื่อถึงวันและเวลาที่เรียน
–  ข้าพเจ้าจะคอยประเมินผลการเรียนของทุกวิชาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหาข้อบกพร่องและแนวทางแก้ไข
– ไม่เพียงแต่จะเรียนให้สำเร็จเท่านั้น ข้าพเจ้าคอยตรวจสอบข้อบกพร่องในการเรียนด้วย
– สิ่งแวดล้อมการเรียนจะเป็นอย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าก็ยังมีสมาธิแน่วแน่ในการเรียนอย่างเต็มที่
– ข้าพเจ้าสนใจเรียนทุกวิชาเท่า ๆ กัน
– ข้าพเจ้าจะพยายามเอาชนะความง่วงและอ่อนเพลีย เมื่ออ่านหนังสือ หรือทำการบ้าน
– ข้าพเจ้าชอบค้นคว้าหาความรู้ เพื่อนำมาใช้ในการศึกษาพัฒนาการเรียน
– เมื่อเกิดอาการง่วงนอนขณะอ่านหนังสือ ข้าพเจ้าจะหาวิธีแก้ไข เพื่อให้อ่านหนังสือต่อได้
– ข้าพเจ้าชอบค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม นอกเหนือจากที่อาจารย์สอน
– ข้าพเจ้าใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียนสำหรับการทบทวนบทเรียนเสมอ

http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/epaper/special_may2010/pdf/Page_153.pdf