จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ได้นำเสนอแนวคิด “เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ (Learning by doing)” ว่า “ครูไม่ใช่ผู้กำหนดความคิด หรือจัดพฤติกรรมแบบหนึ่งแบบใดให้กับเด็ก แต่เป็นสมาชิกของชุมชนที่จะสร้างอิทธิพลที่มีผลให้เด็กช่วยตนเองได้ตอบสนองกลับมาอย่างเหมาะสม ที่จะเกิดการแสดงออกที่สร้างสรรค์ภายในศูนย์การเรียนรู้ที่ถูกต้อง” (Dewey,1897)
—
ต่อมาเกิดรูปแบบการเรียนรู้จาก แนวคิดของดิวอี้ หลายรูปแบบ
ได้แก่
– การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning)
– การเรียนรู้แบบช่วยเหลือกัน (Collaborative learning)
– การเรียนรู้โดยการค้นคว้าอย่างอิสระ (Independent investigation method)
– การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning)
– การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based learning)
—
ทอม มาร์คาม (Thom Markham, 2011)
ได้อธิบายความหมายของ PBL = Project-Based Learning ว่าเป็น
“การบูรณาการความรู้ และการปฏิบัติ
โดยนักเรียนจะได้เรียนรู้องค์ประกอบสำคัญที่ต้องรู้
แต่จะประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหา และได้ผลเป็นชิ้นงานขึ้นมา
เด็กที่เรียนรู้แบบนี้จะได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือดิจิทอลคุณภาพสูง
และได้ชิ้นงานที่เกิดจากการผสมผสาน
พีบีแอลจะปรับมุมมองของการศึกษาสู่ระดับโลก และได้อีกหลายอย่างตามมา
ทั้งแรงขับ ความรัก ความคิดสร้างสรรค์ การเอาใจใส่ และความยืดหยุ่น”
“PBL integrates knowing and doing. Students learn knowledge and elements of the core curriculum, but also apply what they know to solve authentic problems and produce results that matter. PBL students take advantage of digital tools to produce high quality, collaborative products. PBL refocuses education on the student, not the curriculum–a shift mandated by the global world, which rewards intangible assets such as drive, passion, creativity, empathy, and resiliency. These cannot be taught out of a textbook, but must be activated through experience.”
(Thom Markham,2011)
http://en.wikipedia.org/wiki/Project-based_learning
—
http://www.amazon.com/Project-Based-Learning-Handbook-Standards-Focused/dp/0974034304
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=775406
Category: การศึกษา
วันการจัดการความรู้ (KM Day)
วิชาองค์กรแห่งการเรียนรู้ และการบริหารความรู้ [HRMT 425] ได้จัดกิจกรรม KM Day นำเสนอความรู้ และสัมมนาทางวิชาการในช่วงบ่าย โดยช่วงเช้าจัดเป็นนิทรรศการ และมี ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม เป็นประธานกล่าวเปิดงาน เมื่อ 10.00น. วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม 2556 ณ อาคารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น
ประเด็นนำเสนอ 5 กลุ่ม .. ประกอบด้วย
1. มะเร็งเต้านม (Breast cancer)
2. การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
3. การดูแลผู้สูงอายุ
4. โรคเบาหวาน
5. การพัฒนาชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
การนำเสนอของแต่ละกลุ่มในช่วงบ่ายมีการให้คะแนนกลุ่ม ซึ่งมีเกณฑ์พิจารณาดังนี้
เกณฑ์การประเมินผลการพูดนำเสนอผลงานกลุ่ม (Criteria)
1. ความตรงประเด็นของหัวข้อและเนื้อหา (Relevant)
2. การเตรียมตัว (Preparation)
3. มีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน (Collaboration)
4. ความชัดเจนในการพูดนำเสนอ (Clarity)
5. เทคโนโลยีและอุปกรณ์ประกอบการนำเสนอ (Equipment)
6. ความดัง-ค่อยของเสียง (Sound)
7. ท่วงท่า และการสบตาผู้ฟัง (Audience Relationship)
8. ความสามารถในการถ่ายทอดของทีม (Describe)
9. ความสามารถในการตอบคำถามของทีม (Answer questions)
10. ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน (Efficiency)
รวมคลิ๊ปอบรมอีเลินนิ่งโดย อ.อติชาต หาญชาญชัย
19 เม.ย.55 มีการอบรมเชิงปฏิบัติการระบบ E-Learning
ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น
บรรยายโดย อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย
ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 ชั้น 3
อาคารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง
มีคลิ๊ปเผยแพร่ 4 ตอน ดังนี้
—
เรื่องราวเกี่ยวกับระบบอีเลินนิ่ง
http://www.thaiall.com/e-learning
—
รวมคลิ๊ปใน storify.com ที่
http://storify.com/ajburin/introduction-to-e-learning
—
เอกสารเผยแพร่
http://www.thaiall.com/e-learning/moodle221/e-learning_290454_atichart_v1.ppt
—
27 เม.ย.55 คุณเปรม อุ่นเรือน
เป็นวิทยากรอบรมระบบอีเลินนิ่งผ่านวิดีโอคอนเฟอเร้นท์
ต้นทางลำปาง ปลายทางกรุงเทพฯ
บรรยากาศผู้เข้ารับการอบรม และต้นทาง
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10150760735308895&set=a.395118188894.172138.814248894
—
บรรยากาศอบรม 29 เม.ย.2553
ซึ่งมีการมอบประกาศนียบัตร และเชิญมาเป็นผู้บรรยายประสบการณ์
ในการใช้ประโยชน์จากระบบอีเลินนิ่ง ประกอบด้วย
อ.ทนงศักดิ์ เมืองฝั้น อ.อติชาต หาญชาญชัย อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ และอ.คงศักดิ์ ตุ้ยสืบ
http://www.thaiall.com/blog/burin/1627/
—
บรรยากาศอบรม 29-30 เม.ย.2553
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.390147353894.168683.814248894
—
19 ต.ค.52 เตรียมการสอนกับ อ.ทนงศักดิ์ เมืองฝั้น
http://www.thaiall.com/blog/burin/625/
บัณฑิตไทยโกงจริง จึงต้องแก้ไข
ข่าวจากไทยรัฐมีหัวข่าวว่า “บัณฑิตเบี้ยวหนี้ 80% กยศ.ถังแตก จ่อลดดอกเบี้ยจูงใจใช้หนี้”
โดยมีรายละเอียดว่า ยอดหนี้ค้างชำระกว่า 1.4 ล้านราย เป็นวงเงินกู้ 136,237 ล้านบาท
จากจำนวนผู้กู้ 2.15 ล้านราย เป็นเงินกู้ 194,711 ล้านบาท
http://www.thairath.co.th/content/eco/366110
—
จากข่าวข้างต้น ก็น่าจะเป็นเหตุเป็นผลให้มีการประกวด “บัณฑิตไทยไม่โกง”
คงปฏิเสธเสียงแข็งไม่ได้ว่าบัณฑิตไทยเรามีคุณธรรมจริยธรรมน่าเป็นห่วง
สกอ. ขอเชิญน้อง ๆ นักศึกษาร่วมประกวดผลงานสื่อประชาสัมพันธ์ในหัวข้อ “บัณฑิตไทยไม่โกง” ผู้สนใจสามารถส่งผลงานได้ตั้งแต่ วันนี้ – 31 ตุลาคม 2556 ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ www.mua.go.th และ www.facebook.com/ohecanticorruption สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2610 5416
นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการประกวด ผลิตและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์การรณรงค์ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ‘บัณฑิตไทยไม่โกง’ ว่า หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาประกาศรับผลงานนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีทุกสถาบัน ในสังกัด สกอ.
เพื่อเข้าร่วมประกวด ๓ กิจกรรม คือ การประกวด แอนิเมชั่น การประกวดภาพยนตร์สั้น และการประกวดบทความ ภายใต้หัวข้อ ‘บัณฑิตไทยไม่โกง’ เพื่อสื่อให้เห็นวิธีคิดของเยาวชนรุ่นใหม่ในการจัดการกับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในยุคปัจจุบันอย่างสร้างสรรค์ โดยมีเงินรางวัลรวม ๓๕๐,๐๐๐ บาท และหมดเขตส่งส่งผลงานในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ที่ผ่านมานั้น
ทางคณะกรรมการอำนวยการและคณะกรรมการตัดสินเห็นว่ามหาวิทยาลัยบางแห่งเพิ่งเปิดเทอม และกระบวนการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่น และภาพยนตร์สั้นต้องใช้เวลาในการผลิตเพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ จึงให้ขยายระยะเวลาส่งผลงานไปถึง ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ ประกอบกับในช่วงเดือนพฤศจิกายน ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) จะจัดการประชุมวิชาการโครงการบัณฑิตไทยไม่โกง ในหัวข้อ “บัณฑิตไทย คนรุ่นใหม่หัวใจคุณธรรม” ในระหว่างวันที่ ๒๑ – ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ซึ่งจะเป็นเวทีให้นักศึกษาเจ้าของผลงานที่ได้รับรางวัลมีโอกาสนำเสนอผลงานต่อไป
“สำหรับผลงานนักศึกษาที่ส่งเข้ามาจำนวนพอสมควร ทาง สกอ. ได้ประสานให้นักศึกษาเจ้าของผลงานสามารถนำกลับไปปรับปรุงเพิ่มเติม และส่งผลงานกลับมาอีกครั้งภายในวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ ซึ่งการจัดประกวดครั้งนี้ สกอ. คาดหวังว่าจะเป็นแรงขับให้นักศึกษานำความรู้ความสามารถ ศักยภาพที่มีอยู่ในด้านต่างๆ มาใช้ประโยชน์เพื่อสังคม โดยต้องการกระตุ้นให้นักศึกษาและสังคมไทยเห็นความสำคัญของปัญหาการคอรัปชั่น จึงได้จัดโครงการผลิตและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์การรณรงค์ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ในรูปแบบสื่อแอนิเมชั่น สื่อภาพยนตร์สั้น และบทความ ให้นักศึกษาเป็นผู้คิดและผลิต เพื่อให้เนื้อหาสื่อ และรูปแบบในการนำเสนอ พร้อมทั้งใช้ช่องทางในการนำเสนอที่เข้าถึงกลุ่มเยาวชนด้วยกันเองง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังได้จัดให้มีรางวัลป๊อปปูล่าโหวตสำหรับการประกวดแอนิเมชั่นและภาพยนตร์สั้น ที่จะตัดสินจากจำนวนผู้เข้าชมผลงานผ่านเว็บไซต์ยูทูบอีกด้วย จึงขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าไปชมและติดตามผลงานของนักศึกษาทางยูทูบ” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว
http://www.mua.go.th/data_pr/200656.pdf
—
https://www.facebook.com/ohecanticorruption
Likes : 363 on October 7, 2013
—
https://www.facebook.com/bics.ohec
Likes : 467 on October 7, 2013
แรงบันดาลใจ กับแรงจูงใจ
แรงบันดาลใจ (Inspiration) กับแรงจูงใจ (Motivation)
คำว่า แรงบันดาลใจ กับแรงจูงใจ ต่างกัน ตรงจุดเริ่มต้นก่อนการกระทำ
– แรงบันดาลใจ จะเป็นแรงขับจากภายใน
– แรงจูงใจ จะเป็นแรงขับจากภายนอก
ยกตัวอย่าง
1. คนที่ขยันหนังสือที่สำเร็จ ส่วนใหญ่มีแรงบันดาลใจ
ไม่ได้มีแรงจูงใจจากเงินที่พ่อแม่ให้ค่าขนมมา
2. คนที่ขยันอ่านหนังสือสอบซ่อม มีแรงจูงใจ
เพราะอ่านหนังสือไปสอบซ่อม ก็จะได้รางวัลคือสอบผ่าน
3. ซุปเปอร์แมน และสไปเดอร์แมน ทำความดีช่วยเหลือผู้คน
เพราะมีแรงบันดาลใจ ใฝ่ดี อยากทำความดี อยากเห็นผู้คนมีความสุข
4. หนังเรื่อง “สิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่ารัก”
นางเอกตั้งใจเรียน เพราะมีแรงจูงใจคือผู้ชายสุดหล่อเป็นรางวัล
5. หนังเรื่อง “inception”
กลุ่มพระเอกจะเข้าไปสร้างแรงบันดาลใจ
ซึ่งเป็นการเข้าไปสร้างจากภายในใจของบุคคลเป้าหมาย
http://pattamarot.blogspot.com/2010/11/inspiration.html
ทางออกของการศึกษาไทย คือ decentralization
ไปอ่านพบเรื่อง การกระจายอำนาจการศึกษา คือทางออกของการศึกษาไทย
ที่ http://board.palungjit.org/f10/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-143339.html
อ่านดูแล้ว ผมว่าเขาสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาไทย โดยเน้นการกระจายอำนาจ
แต่มองเห็นปัญหา จำแนกได้ 5 ข้อ ..
เห็นว่าน่าสนใจ จึงคัดลอกเก็บไว้ โดยมีเนื้อหาดังนี้
—
แนวคิดการปฏิรูปการศึกษาที่สำคัญ คือ การทำอย่างไรจึงจะมีระบบบริหารการศึกษาที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ คนแต่ละคนที่มีหน้าที่ทำงานอะไร ได้ทำงานนั้น ๆ ได้อย่างไม่มีอุปสรรค ระบบบริหารที่ดี คือทำให้เกิดระบบที่จริงจังที่จะทำงานต่าง ๆ ให้ประสบความสำเร็จ และสำหรับประเทศไทยที่มีประชากร 64-65 ล้านคน การรวมศูนย์อำนาจเป็นสิ่งที่รังแต่จะทำให้ระบบต่าง ๆ โดยเฉพาะระบบราชการเดินไปได้ยาก ระบบการศึกษาที่ยึดโยงกับระบบราชการ จะต้องกระจายอำนาจไปสู่ส่วนท้องถิ่น
ผลแห่งการพยายามปฏิรูปการศึกษา จึงทำให้เกิดเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นมา 176 แห่ง ทั่วประเทศ แต่สิ่งที่เป็นผลตามมามีดังต่อไปนี้
1. บทบาทหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษา (Roles and Functions)
ยังไม่ชัดเจน คือไม่มีกฎหมายรองรับให้เป็นนิติบุคคลที่จะทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ในเขตพื้นที่การศึกษาของตน หากในทัศนะของผม ควรให้เขตพื้นที่ได้มีหน้าที่ครบถ้วนต่อไปนี้ คือ การวางแผนรวมของเขตพื้นที่, การจัดสรรกำลังคน เกลี่ยกำลังคน, การจัดสรรงบประมาณ รวมถึงการรณรงค์หางบประมาณเสริมจากงบประมาณที่ได้จากส่วนกลาง การจะทำได้ดังกล่าว จะต้องมีการเสนอเป็นกฎหมายลูก ประกอบการปฏิรูปการศึกษา ทำให้เกิด CEO การศึกษาในแต่ละเขตพื้นที่
2. การเปลี่ยนแปลงยังไม่เกิดแรงผลักดันให้ต้องพัฒนาอย่างชัดเจน (Impact and Momentum)
จากการสังเกตของผม ครูอาจารย์จำนวนมาก ยังไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนการสอน ยังไม่มีการดำเนินการไปตามมาตรฐานการศึกษา ดังที่ทาง สมศ. ได้รายงานต่อสาธารณะหลายครั้ง ก็ยืนยันได้ว่า ยังไม่มีการพัฒนาการทำงานของครู ซึ่งส่งผลให้การจัดการเรียนการสอน และผลการเรียนของนักเรียนก็เลยยังไม่พัฒนา จากการศึกษาขีดความสามารถในการแข่งขันของคนไทย เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เรามีจุดอ่อนด้าน “ขีดความสามารถของกำลังคน” ซึ่งแน่นอนว่าทำให้การที่ต่างชาติคิดจะมาลงทุนในไทยก็ต้องคิดมาก การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ก็เป็นผลพลอยที่จะเห็นได้จากอาการชะงักให้เห็นในช่วง 4-5 ปีหลังนี้
3. การยังไม่เกิดการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการศึกษาของชุมชน (Participation)
ผมลองได้ศึกษาจากที่สอนในระดับดุษฎีบัณฑิตทางความเป็นผู้นำและการบริหารการศึกษา ทั้งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และการสอนที่อื่นๆ พบว่า ต้นทุนการศึกษาขั้นพื้นฐานที่น่าจะเพียงพอสำหรับการจัดการศึกษาระดับ ป. 1 ถึง ม. 6 เฉลี่ยน่าจะเพียงพอที่ 16,500 บาท ในช่วงที่ค่าเงินเฟ้อและค่าครองชีพเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยปัญหาราคาน้ำมัน จะทำให้มีผลกระทบต่อการศึกษาเช่นกัน ในอีกไม่นานคงต้องมองต้นทุนที่ 20,000 บาท นั้นหมายความว่าจะจัดการศึกษาให้ได้ดีเป็นมาตรฐาน คงต้องมีเงินเสริมจากงบประมาณแผ่นดินสักร้อยละ 30 ซึ่งต้องมาจากท้องถิ่น พ่อแม่ผู้ปกครอง และอื่นๆ หากไม่ได้การมีส่วนร่วมจากชุมชน การศึกษาของชาติในระดับภูมิภาคก็จะประสบปัญหา
4. ความเสื่อมล้าของการศึกษาภาคเอกชน (Private Education)
จากการประมาณการของผมเอง คิดว่าภาคเอกชนจะมีบทบาทในการศึกษาขั้นพื้นฐานเหลือไม่เกินร้อยละ 10 โรงเรียนมัธยมศึกษาของเอกชนจะได้รับผลกระทบมากที่สุด รองลงมาเป็นระดับประถมศึกษา ที่พอจะเป็นความต้องการ และเอกชนทำได้ดี คือระดับอนุบาลศึกษา การศึกษาประถมวัย โรงเรียนเอกชนนั้นเป็นทางเลือกของการศึกษา ที่หากเขามีความเข้มแข็งในระดับหนึ่ง ภาครัฐก็ไม่ต้องไปเหนื่อยทำแทนเขา พ่อแม่ผู้ปกครองจำนวนหนึ่ง เขามีความสามารถจ่ายเงินได้บางส่วน หากมีการสนับสนุนเงินสมทบ หรือมี Education Coupon ที่ชัดเจนว่าจะสนับสนุนการศึกษาที่ผู้ปกครองได้เลือกส่งบุตรหลานไปเรียนในโรงเรียนเอกชนได้หัวละเท่าใด และประกาศอย่างชัดเจนแน่นอน เอกชนเขาจะได้ไปคิดแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจได้ถูก แต่ถ้าอะไร ๆ ก็ไม่แน่นอน เขาลงทุนทำไปแล้ว มีแต่ล้มเหลว ก็เป็นความสูญเปล่า
5. การขาดระบบพัฒนานักบริหารการศึกษาพันธุ์ใหม่ (New Leadership)
เรามีการจัดการเรียนการสอนด้านบริหารการศึกษากันมากมาย หลายแห่ง แต่ทั้งหมดยังมีปัญหาในด้านต่อไปนี้
– การมีวิสัยทัศน์ที่จะมองการณ์ไกล (Visions) บางที่อาจต้องเข้าใจในความเป็นไปในโลกสากล ประเทศที่เขาพัฒนากันไปแล้วนั้น มีแนวโน้มกันอย่างไร
– การมีความสามารถในการวางแผน มีแผนพัฒนา (Planning Skills) การจะต้องไปขอเงินขอทางจากกลุ่มต่างๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ หากเป็นภาคธุรกิจ เขาต้องมีแผนงานที่จะเห็นได้ว่าจะต้องการใช้เงินจำนวนเท่าใด ไปใช้เรื่องอะไร จะมีความคุ้มหรือไม่ จะต้องมีการสนับสนุนต่อเนื่องกันนานสักเท่าใด
– การมีความเข้าใจและทักษะทางการเมือง (Political Skills) นักบริหารการศึกษายุคใหม่หนีไม่พ้นการเมือง ต้องสามารถทำงานร่วมกับนักการเมือง ตัวแทนประชาชนในแต่ละระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการถ่วงดุลแรงผลักดันของกลุ่มต่างๆ อย่างเหมาะสม
– ความรอบรู้ในเรื่องกฎหมาย (Legal Education) การเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ มีการออกกฎหมาย กฎระเบียบ วิธีปฏิบัติที่ต้องโปร่งใสมีหลักที่จะยึด
นี่เป็นเพียงบางส่วนที่นักบริหารการศึกษารุ่นใหม่ ๆ ต้องพัฒนาตนเองให้มีขีดความสามารถ
มองในอีกด้านหนึ่งคือ “โอกาส” ผมคิดว่าในช่วง 5-10 ปีต่อไปนี้ เราคงต้องมีนักบริหารพันธุ์ใหม่ ระดับนำ อาจจะเรียกว่า CEO ทางการศึกษาสัก 1000 คน ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค คนระดับนี้อาจได้แก่ ผอ. เขตพื้นที่การศึกษา รองผอ. ที่จะเตรียมตัวเรียนรู้เพื่อจะรับหน้าที่ต่อไป นอกกจากนี้คือ ผอ. อาจารย์ใหญ่สถานศึกษาทั้งของภาครัฐ และเอกชน ขนาดใหญ่
อีกระดับหนึ่ง อาจจะนับเป็นหมื่น ๆ คนทีเดียว เขาคือ ผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งมีทั่วประเทศนับกว่า 30000 แห่ง อีกส่วนคือพวกที่จะมีบทบาทจากภายนอก จากภาคธุรกิจเอกชน ชุมชน ระบบปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล, อบจ., อบต., เขาเหล่านี้ โดยเฉพาะส่วนที่ไม่ใช่บุคลากรของการศึกษาโดยตรง แต่เขาจะมีบทบาทในการช่วยผลักดันระบบการศึกษาให้ขับเคลื่อนได้อย่างมีพลัง
เราคงต้องมองวิธีการผลิตกำลังคนไปนำระบบการศึกษา และระบบสังคมในแบบใหม่ โดยต้องเน้นไปที่ขีดความสามารถในการไปเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างจริงจัง มากกว่าการจะผลิตคน โดยเน้นไปที่ปริญญาบัตร หรือกระดาษ
ระบบผลิตคนและผู้นำทางการศึกษานั้น จะต้องเป็นระบบประสมประสานที่ทำให้นักบริหารการศึกษาใหม่ มีเครื่องมือที่ติดตัวไปในการทำงาน และสามารถผลักดันขับเคลื่อนการศึกษาของชาติไปได้อย่างจริงจัง เราต้องไม่หวังการนำจากระบบการเมืองส่วนกลาง เพราะแนวโน้มความไม่มั่นคงทางการเมืองในส่วนกลาง ประกอบกับมันเป็นไปไม่ได้แล้วที่จะยึดการบริหารแบบรวมศูนย์ แบบหวงอำนาจ
ข้อเสนอแนะทางออกการศึกษาไทย โดย นายอรรถพล จันทร์ชีวะ
ไปอ่านพบเรื่อง ข้อเสนอแนะทางออกการศึกษาไทย
โดย นายอรรถพล จันทร์ชีวะ ผู้จัดการเคมบริดจ์ เอ็ดยูเคชั่น
ที่ http://www.grandassess.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&No=1551926
อ่านดูแล้ว ผมว่าคุณอรรถพล สนับสนุนให้ดำเนินการตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาที่มีแผนอยู่แล้ว แต่เราไม่ทำตามแผน ทิศทางการพัฒนาก็เลยรวนอย่างทุกวันนี้ .. เห็นว่าน่าสนใจ จึงคัดลอกเก็บไว้ โดยมีเนื้อหาดังนี้
—
เรียน ท่านผู้จัดการหน่วยประเมินแกรนด์ แอสเซสเมนท์ ที่เคารพ
ผมนายอรรถพล จันทร์ชีวะ ผู้จัดการเคมบริดจ์ เอ็ดยูเคชั่น ขอรบกวนใช้กระดานสนทนาของท่าน ในการแสดงความคิดเห็นด้านการศึกษาไทยสักนิดนะครับ
สืบเนื่องจากผลการจัดอันดับการศึกษาไทยจาก WEF ระบุว่าไทยอยู่ อันดับ 8 (สุดท้าย) แย่กว่าเขมรและเวียดนาม ทำให้ผมมีความเป็นห่วงในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก จึงอยากให้ข้อเสนอแนะไว้สักหน่อย ดังนี้
๑. ผมเคยเสนอแนะในเวปไซต์เคมบริดจ์ฯ ไว้ว่า ถ้าเอาการเมืองออกจากการศึกษาไทยได้ ก็น่าจะทำให้การศึกษาไทยมีความชัดเจน ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่เกิดจากรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาให้สับสนกันบ่อย ๆ ซึ่งในความเป็นจริงผมว่าประเด็นนี้ เป็นไปได้ยากไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ฉะนั้นผมจึงไม่อยากให้นักการศึกษาไทย คิดวนไปวนมาเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เสียเวลา แต่ผมพบว่าจริง ๆ แล้ว สมศ. รู้ดีว่า ทางออกของการศึกษาไทยในประเทศนี้ คือ การใช้แนวทางการปฏิรูปการศึกษานั่นเอง เรียนว่า เรามีการประกาศปฏิรูปการศึกษาไทยมา ๒ ครั้งแล้ว แต่ก็ไม่มีใครให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง ซึ่งนั่นแหล่ะครับ จะมีใครทราบสักกี่ท่าน ว่านี่คือทางออกของความก้าวหน้าในการศึกษาไทยที่ดีขึ้นได้
ด้วยปัจจัยสำคัญที่กว่าจะได้ประเด็นข้อสรุปจากการปฏิรูปการศึกษาไทย จะปฏิรูปต้องใช้ข้อมูลและผลวิจัย รวมทั้งประเด็นที่ได้จากการจัดเวทีระดมความคิดเห็นกันมากกมาย ฉะนั้น ข้อสรุปที่เป็นประเด็นในการปฏิรูป ในรอบที่สองนี้แหล่ะคือ ทางออกที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าการศึกษาไทยอย่างถูกทิศทาง
โดยสังเกตกันดี ๆ ว่า สมศ. ชี้ประเด็นให้คนในวงการศึกษาไทยรับรู้ว่า การปฏิรูปการศึกษาไทยสำคัญและมีคุณค่ามาก ๆ โดยบรรจุไว้ในตัวบ่งชี้ที่ 12 ในการประเมินรอบที่สามนี้ใช่ไหมครับ
๒. สิ่งที่เราควรทำในตอนนี้ ไม่ใช่การเรียกร้องให้เปลี่ยนระบบการศึกษาไทย หรือ เปลี่ยนรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ หากแต่เราควร รณรงค์ให้การปฏิรูปการศึกษามีความศักดิ์สิทธิ์และนำประเด็นทั้ง 4 แนวทางที่ได้จากการสรุปประเด็นการปฏิรูปนี้ กล่าวคือ
1. การพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่
2. การพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่
3. การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่
4. การพัฒนาคุณภาพการบริหารใหม่
ซึ่งมีรายละเอียดเป็นแนวทางเพิ่มเติมในแต่ละข้อนี้ให้ท่านพิจารณาได้ชัดเจนมากขึ้นไปอีก โดยผมคิดว่า เค้าทำมาดีมีแนวทางที่ดีและอิงผลการวิจัย ใช้งบประมาณมากมายไปแล้ว เราจึงควรเชื่อมั่นและยึดถือ รวมทั้งหากรัฐมนตรีคนใดมารับหน้าที่ ต้องมีหน้าที่หลักคือการผลักดันให้กระบวนการปฏิรูปเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ จะออกกฎ จะเปลี่ยนแปลง หรือ สร้างนโยบายใด ๆ ใหม่ ๆ ควรจะสอดคล้องหรืออาจเปลี่ยนเเปลงเชิงยุทธวิธีมากกว่า ออกนโยบายมาให้ซ้ำซ้อนหรือสร้างความสับสน หรือ ทำเพียงเพื่อล้มล้างสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ทำไว้ ซึ่งผมเห็นด้วยกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาคนล่าสุด ที่เน้นการสร้างนโยบายตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษารอบที่สอง เพียงแต่ผมว่า ท่านควรศึกษารายละเอียดประเด็นการปฏิรูปให้ดีอีกนิด จะได้ไม่เกิดการตกหล่น เป็นต้น
๓. ผมฝากประเด็นสุดท้าย คือ เราควรทบทวนการมีสถานศึกษาจำนวนมาก แต่ครูไม่ครบห้องครบชั้น ซึ่งนั่นเป็นปัจจัยแห่งความล้มเหลวที่สุด ที่ประเทศลาว กัมพูชา เวียดนาม และอื่น ๆ เค้าให้ความสำคัญและกำลังแก้ไข มีกฎเหล็กว่าคุณภาพการจัดการศึกษาต้องเน้นครูครบชั้น นำคนคุณภาพมาเป็นครู ซึ่งปัญหานี้บ้านเรายังคงเป็นอยู่ ซึ่งบางโรงเรียน มีครู ๑ คนแต่ต้องสอนทั้ง ๓ หรือ ๔ ชั้นเรียน ซึ่งควรเลิกคิดกันได้แล้วว่า สัดส่วนจำนวนครูกับเด็กก็เหมาะสมแล้ว ผมว่าอย่างนี้ก็ไปไม่ถึงไหน ธรรมชาติของคนเป็นครูไม่ได้เก่งหรือรอบรู้ทุกเรื่อง ฉะนั้นเมื่อครูต้องสอนในสิ่งที่ตนไม่รู้ ยังไงก็สู้เขมรไม่ได้ เพราะเค้าเน้นครูต้องตรงวิชาเอก โท ถ้าไม่มีก็ยุบไปเรียนรวมกัน เน้นคุณภาพไม่เน้นปริมาณ เป็นต้น
ผมเรียนว่า ระบบการศึกษาไทยเรามีปัญหาหลายอย่าง แต่เราก็พยายามแก้ไขกันมาหลายอย่างแล้ว ทางที่ดีคือ เราควรทบทวนและพิจารณาจากสิ่งที่เรา ทำมาแล้วว่าใช้ประโยชน์มันอย่างคุ้มค่าแล้วหรือยัง ไม่ควรมองแต่ว่า เราจะหานวัตกรรมใหม่ ๆ อะไรมาเสริมเพียงเท่านั้น และควรเคารพผู้ทรงคุณวุฒิที่พยายามร่างเเนวทางการปฏิรูปและยึดถือร่วมกัน เมื่อพัฒนาการึกษาไทยให้ก้าวหน้า แก้วิกฤตนี้ให้สำเร็จร่วมกันนะครับ
ผู้ตั้งกระทู้ ผจก.เคมบริดจ์ฯ :: วันที่ลงประกาศ 2013-09-08 14:14:12
—
ข้อมูลเพิ่มเติม
– สมศ. = สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)
– ตัวบ่งชี้ที่ 12 ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษามาตรฐาน และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
อักษรย่อ เครื่องหมาย และปรัชญา
มหาวิทยาลัยเนชั่นมีการแก้ไขอักษรย่อและเครื่องหมาย
มีหัวข้อเรื่องปรัชญาและวัตถุประสงค์ประกอบ
การประชุมสภามหาวิทยาลัยโยนก ครั้งที่ 3/2554
วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม 2554
หน้า 4 กำหนดว่าปรัชญาคือ ปัญญาพัฒนาชาติ
และอักษรย่อใช้ NTU. และ มนช.
เพื่อใช้อ้างอิงและนำไปใช้ถูกต้องตรงกันต่อไป
อุปกรณ์ที่ให้เตรียมเข้าห้องสอบ
เด็ก ๆ ที่รัก .. เรามีนวัตกรรมใหม่
พรุ่งนี้เตรียมกล่องมาคนละใบ
เป็นอุปกรณ์ประกอบการสอบ
ไม่ควรใหญ่ไป หรือเล็กไป
ที่สำคัญห้ามมีรูโดยเด็ดขาด
ปล. ไม่บอกว่านำมาทำอะไร
จะทำ surprise ในห้องสอบ
เจ้าหน้าที่ไอทีใช้ MS Office ไม่เป็น
อ่านเรื่องราวที่้น้องผึ้งน้อยเขียนแล้วทำให้นึกถึงหลาย ๆ เรื่อง
เรื่องที่ 1 ตำรวจต้องจับงูเป็น ไล่ต่อแตนเป็น ปลูกผัก ต้องป้ำหัวใจ ฝายปอดได้
เรื่องที่ 2 ผู้บริหารต้องเป็นทั้ง leader และ manager และ labor และ actor และ hr และ pr ไปพร้อม ๆ กัน
เรื่องที่ 3 หมอต้องถอนฟันเป็น ทำคลอดได้ ฝังเข็มคล่อง ผ่าไส้ติ้งได้ อะไรทำนองนั้น
ก็เพียงแต่เก็บมาแชร์ครับ จากบอร์ดของพันทิพย์
—
หัวข้อ “ปัญหาเจ้าหน้าที่แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) กับความรู้การใช้ไมโครซอฟต์ออฟฟิศ”
http://pantip.com/topic/30807700
สมัยผึ้งน้อยเริ่มทำงานใหม่ ๆ แล้วเรียกใช้เจ้าหน้าที่แผนกดังกล่าวมาแก้ไขปัญหาการใช้งานไมโครซอฟต์ออฟฟิศ ปรากฏว่า ถามอะไรไม่รู้สักอย่าง พอเรียกใช้งานก็บ่ายเบี่ยงไม่ว่าง พอสังเกตบ่อย ๆ พบว่า เจ้าหน้าที่ไม่มีความรู้เรื่องการใช้งานไมโครซอฟต์ออฟฟิศแบบขั้นเจาะลึก จนบางครั้ง ผึ้งน้อยต้องบ่นแรง ๆ ว่า เจ้าหน้าที่แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นที่พึ่งยามยากไม่ได้จริง ๆ และคาดคะเนว่าเป็นกับทุกองค์กร (ทั้งรัฐบาลและเอกชน)
สุดท้ายผึ้งน้อยต้องลงทุนไปเรียน หาอ่านตามเว็บ ลองเล่น สอบประกาศนีย Microsoft Office Specialist แล้วช่วยเหลือเพื่อนร่วมแผนก จนเจ้าหน้าที่ไอทีต้องมาถามกับผึ้งน้อยเรื่อยไป
ใครเคยมีประสบการณ์การเรียกใช้เจ้าหน้าที่ไอทีแล้วเป็นแบบผึ้งน้อย เชิญแบ่งปันค่ะ
ป.ล. ต้องขออภัยนะคะ ถ้ามีข้อความที่รุนแรงไป