Category: การศึกษา
10 เหตุผลที่ภาครัฐไม่ควรระงับ facebook.com
มหาดไทย ส่งหนังสือถึงผู้ว่าฯ ห้ามข้าราชการเล่นเฟซบุ๊ก
ด้วยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตของสำนักงานปลัดกระทรวง มหาดไทย ได้ตรวจสอบการใช้งานของระบบอินเทอร์เน็ตในรอบ 8 เดือน ในปีงบประมาณ 2555 พบว่าโดเมนที่มีจำนวนการเรียกใช้มากที่สุด 10 อันดับแรก ปรากฏว่าเป็นการใช้บริการดาวน์โหลดข้อมูลภาพและเสียง ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นเว็บไซต์ของต่างประเทศและมีการเรียกใช้มากในลักษณะออ นไลน์ เช่น www.facebook.com เป็นต้น ซึ่งการใช้งานดังกล่าวไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานราชการ ทำให้สิ้นเปลืองช่องสัญญาณ (Bandwidth) จำนวนมาก
ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตของสำนักงานปลัดกระทรวง มหาดไทยเกิดประโยชน์สูงสุด สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยจึงได้กำหนดมาตรการการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ต โดยระงับการเข้าถึง Website ที่ให้บริการดาวน์โหลดข้อมูลภาพและเสียงที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน บางเว็บไซต์ และงดการใช้งานเว็บออนไลน์ เช่น www.facebook.com ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป ในช่วงระหว่างเวลา 08.30-12.00 น. และ 13.00-16.30 น.
จึงเรียนมาเพื่อทราบ และแจ้งผู้ปฏิบัติงานในสังกัดทราบและถือปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวต่อไป
social media question
เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน
มีเหตุการณ์ที่ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทนี้ ปีละ 4 ครั้งเป็นอย่างต่ำ
จึงแต่งกลอน ที่คล้าย ๆ กัน แต่เติมคำว่า “ไม่” เข้าไปอีกคำ
ผมว่าความหมายเปลี่ยนไปนิดนึงนะครับ
วรรคที่ปรับแก้โดย anonymous
ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง จึงไม่ คิดหา ความหมาย
ไม่หวัง เก็บอะไร ไปมากมาย สุดท้ายขอกระดาษฉันแผ่นเดียว
??? มีคำถามว่า กลอน 2 ตอนนี้ .. มีอะไรที่ต่างกัน ???
—————————————————————
ข้อมูลจาก wikipedia.org
เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน หรือที่นิยมเรียกว่า ฉันจึงมาหาความหมาย
เป็นกลอนที่มีชื่อเสียงชิ้นหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อเขียนหนึ่งในหลายชิ้น ที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษา “หัวก้าวหน้า” ยุคก่อนและหลัง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งต่อมาได้พัฒนาไปสู่การเรียกร้องประชาธิปไตย ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 เนื้อหาของกลอนสะท้อนความรู้สึกนึกคิดของนักศึกษาคนหนึ่ง ซึ่งตั้งคำถามเชิงเสียดสีเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษาในมหาวิทยาลัย
วรรคทองที่ติดปากที่สุดของกลอนนี้ [ใครกล่าว?] และเป็นที่มาของชื่อที่เป็นที่นิยม คือ วรรคที่ว่า:
ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง ฉันจึง มาหา ความหมาย
ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว
กลอนชิ้นนี้แต่งโดย วิทยากร เชียงกูล เมื่อสมัยยังเป็นนักศึกษาอยู่ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่งขึ้นสำหรับ วันสถาปนาธรรมศาสตร์ ใน พ.ศ. 2511 ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ยูงทอง เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2511 และถูกตีพิมพ์อีกครั้งหนึ่ง ในหนังสือชื่อ “ฉันจึงมาหาความหมาย” ซึ่งเป็นการรวบรวมผลงานจำพวกบทกวีของวิทยากรในช่วงสมัยที่ยังศึกษาอยู่และช่วงที่เพิ่งจบ
กลอนทั้งหมด
ดอกหาง นกยูง สีแดงฉาน บานอยู่ เต็มฟาก สวรรค์
คนเดิน ผ่านไป มากัน เขาด้น ดั้นหา สิ่งใด
ปัญญา มีขาย ที่นี่หรือ จะแย่ง ซื้อได้ ที่ไหน
อย่างที่โก้ หรูหรา ราคา เท่าใด จะให้พ่อ ขายนา มาแลกเอา
ฉันมา ฉันเห็น ฉันแพ้ ยินแต่ เสียงด่า ว่าโง่เง่า
เพลงที่นี่ ไม่หวาน เหมือนบ้านเรา ใครไม่เข้า ถึงพอ เขาเยาะเย้ย
นี่จะให้ อะไร กันบ้างไหม มหาวิทยาลัย ใหญ่ โตเหวย
แม้นท่าน มิอาจให้ อะไรเลย วานนิ่งเฉย อย่าบ่น อย่าโวยวาย
ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง ฉันจึง มาหา ความหมาย
ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย สุดท้าย ให้กระดาษ ฉันแผ่นเดียว
มืดจริงหนอ สถาบัน อันกว้างขวาง ปล่อยฉัน อ้างว้าง ขับเคี่ยว
เดินหา ซื้อปัญญา จนหน้าเซียว เทียวมา เทียวไป ไม่รู้วัน
ดอกหางนกยูง สีแดงฉาน บานอยู่ เต็มฟาก สวรรค์
เกินพอ ให้เจ้า แบ่งปัน จงเก็บกัน อย่าเดิน ผ่านเลยไป
http://www.osknetwork.com/modules.php?name=News&file=article&sid=187
open house @nation_university
29 ก.ค.55 Check in @ Nation University กับงาน Open House เสวนาหลักสูตร ป.ตรีภาคพิเศษ ก่อนตัดสินใจเรียนกับเรามหาวิทยาลัยเนชั่น (Nation University) / ชาญณรงค์ พรดิลกรัตน์ (Charnnarong Porndilokrad)
วิทยากรโดย คุณสุทธิชัย หยุ่น ประธานเครือเนชั่นกรุ๊ป คุณต่อบุญ พ่วงมหา อดีตผู้บริหาร sanook.com อ.ภรภัทร ปิติโชตินันท์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และ อ.จักรกฤษ เพิ่มพูล บรรณาธิการสำนักข่าวเนชั่นและประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น
ณ อาคารมหาวิทยาลัยเนชั่น ชั้น 6 ห้อง 602 ลงทะเบียน 9.30น.
http://77.nationchannel.com/video/272498/
ในคลิ๊ปนาทีที่ 3.19 มีผู้ฟังท่านหนึ่งสะท้อนปัญหาของบัณฑิตไทยในปัจจุบันว่า “ปัจจุบันบัณฑิตใหม่ไม่เก่ง ขอเงินสูง ๆ ขี้เกียจ ทวิตทั้งวัน เฟซบุคส์ทั้งวัน หาคู่ครองในเวลางาน” แล้วคุณต่อบุญ ก็แลกเปลี่ยนว่ารูปแบบของความคิดแบบนั้น เนชั่นพยายามจะสร้างความเปลี่ยนแปลง เราจะเอาความเป็นเจ้าของ entrepreneurship ใส่เข้าไปในความคิดของเด็ก เราจะทำให้แตกต่าง
หัวอกนักศึกษาพี่เลี้ยง
บทความพิเศษ เรื่อง “ปัญหาผลการเรียนต่ำของนักศึกษา…ใครจะแก้”
พุธที่ 25 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552
(อ่านแล้วชื่นชม รู้สึกว่างานเขียนดีระดับอาจารย์เลย มากกว่าเป็นเพียงของรุ่นพี่)
ถ้าพูดถึงวิกฤติที่สำคัญที่สุดของนักศึกษา ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีในขณะนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่องการเรียน ผลการเรียนที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ในทุกปีสร้างความกระวนกระวายใจให้อาจารย์ผู้สอนแทบทุกสาขาวิชา แม้ว่าหลายฝ่ายต่างงัดกลยุทธ์มากมาย เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาผลการเรียนน่าเป็นห่วงเหล่านี้ แต่ดูเหมือนว่าความพยายามของพวกเขาจะเป็นเพียงแค่น้ำเหลวทุกครั้งไป
ปัญหาผลการเรียนที่ตกต่ำของนักศึกษา ม.อ.ปัตตานี ไม่ได้เป็นปัญหาใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในปีนี้ แต่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆรายงานการเปรียบเทียบสถิติผลการเรียนของนักศึกษาจากงานทะเบียนและสถิตินักศึกษาของวิทยาเขตปัตตานี พบว่า ตั้งแต่ปี 2545-2549 นักศึกษาที่พบกับภาวะรอพินิจเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า และเป็นที่น่าตกใจ เมื่อพบว่าวิชาที่นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ผ่าน เป็นวิชาบังคับพื้นฐานของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์
หากวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นก็สามารถมองได้หลายแง่มุม แต่สาเหตุหลัก ๆ ก็มีอยู่เพียงไม่กี่ข้อเท่านั้น ประเด็นแรก คือ พื้นฐานการเรียนอ่อน พื้นฐานเดิมไม่ดีก่อนเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย [ .. ]
ประเด็นที่สอง คือ มีกิจกรรมมากมายที่นักศึกษาปี 1 ต้องเข้าร่วม ซึ่งผู้เขียนมองว่ากิจกรรมเหล่านี้มีมากเกินไป จนบางครั้งทำให้นักศึกษาน้องใหม่ ซึ่งยังไม่สามารถปรับตัวได้ดีพอ ต้องประสบปัญหาแบ่งเวลาไม่ทันจากประสบการณ์ที่ผู้เขียนเคยเข้าศึกษาสถาบันอื่นก่อนที่เข้ามาศึกษาที่ ม.อ.ปัตตานี กิจกรรมรับน้องที่ทางคณะ และมหาวิทยาลัยจัดขึ้นจะเสร็จสิ้นภายในสัปดาห์แรกของการเปิดภาคเรียน ทำให้นักศึกษาน้องใหม่เหล่านี้มีเวลาเรียน และปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมที่ตนไม่คุ้นเคยอย่างเต็มที่ ส่วนกิจกรรมระหว่างภาคเรียนนั้นก็จัดขึ้นอย่างเหมาะสม ไม่มากและน้อยจนเกินไป ไม่มีการเรียกน้องในเวลาดึกดื่นจนน้องต้องไปเรียนสายในวันรุ่งขึ้น และไม่มีการเรียกประชุมถี่ จนน้องไม่มีเวลาพักผ่อนและทบทวนบทเรียน
ประเด็นที่สาม คือ พฤติกรรมเคยชินของนักศึกษา ซึ่งผู้เขียนมองว่าเป็นสาเหตุหลักที่สำคัญที่สุด นักศึกษาที่เข้ามาเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ยังคงติดรูปแบบการดำเนินชีวิตช่วงมัธยม คือตื่นนอนเช้า เข้าเรียน เลิกเรียนและกลับที่พัก นอกจากนั้นการเรียนสมัยมัธยมอาจารย์จะเป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้ จ้ำจี้จ้ำไชให้นักศึกษาทำงานส่งการบ้าน ในขณะที่การเรียนในมหาวิทยาลัยนั้นนักศึกษาจะต้องเป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมนอกห้องเรียนเอง อาจารย์เพียงแต่ทำหน้าที่แนะแนวทางให้เท่านั้น และไม่มีใครคอยผลักดันให้นักศึกษาต้องรับผิดชอบต่องานที่ได้รับ ยกเว้นแต่เราจะกำชับตัวเอง
พฤติกรรมเคยชินของนักศึกษาที่เป็นอยู่ขณะนี้ ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมอื่น ๆ ที่เป็นอุปสรรคให้นักศึกษาเป็นผู้ที่มีประสิทธิภาพในการเรียนมากยิ่งขึ้น ตามมาอีกหลายอย่าง เช่น การไม่รู้จักแบ่งเวลา การไม่รู้จักที่จะพัฒนาเพื่อเปลี่ยนแปลงตนเอง
ผู้เขียนมีโอกาสเป็นพี่เลี้ยงสอนนักศึกษาปีที่ 1 ในโครงการพี่สอนน้องที่ทางมหาวิทยาลัยจัดขึ้น โดยรับผิดชอบในวิชาภาษาอังกฤษ 1 ซึ่งเป็นวิชาบังคับพื้นฐานของมหาวิทยาลัยที่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในปีการศึกษานี้ไม่ผ่าน คิดเป็นร้อยละ 70 ของนักศึกษาที่เรียนทั้งหมด พบว่านักศึกษาที่สมัครเรียนด้วยความเต็มใจมีเพียง 12 คนเท่านั้นจากทั้งหมด 100 คน และในทุกสัปดาห์จะมีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการนี้ไม่ถึง 20 คน และในสัปดาห์สุดท้ายผู้เขียนพบว่าไม่มีนักศึกษาคนใดมาเรียนเลยสักคนในห้องที่ผู้เขียนรับผิดชอบสอน
เห็นได้ว่านักศึกษาที่มีผลการเรียนอ่อน แม้จะรู้ตัวเองและอาจารย์ผู้สอนพยายามช่วยอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม แต่นักศึกษาส่วนใหญ่ก็ยังขาดความตั้งใจ และขาดความกระตือรือร้น นอกจากนั้นยังไม่สามารถแบ่งเวลาให้เหมาะสมได้อีกด้วย ซึ่งสังเกตได้จากเวลาว่างของนักศึกษาเหล่านี้ที่มักจะหมดไปกับสิ่งไร้สาระ ไม่ว่าจะเป็นการดูรายการโทรทัศน์ การคุยโทรศัพท์ การเล่นอินเทอร์เน็ต การเดินเล่นตามห้างสรรพสินค้า ฯลฯ ซึ่งหากทำมากจนเกินไปก็จะทำให้นักศึกษามีเวลาทบทวนบทเรียนน้อยลง พักผ่อนน้อยลง ซึ่งไม่แน่นอนสิ่งเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อการเรียนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สุดท้ายเมื่อผลการเรียนออกมาอย่างไม่ค่อยดีนัก หลายคนต่างรู้สึกท้อถอยและไม่มีกำลังใจที่จะต้องเรียนในวิชาเดียวกันอีกครั้ง
ผู้เขียนพบว่านักศึกษากาหลายคนที่ประสบความสำเร็จในการเรียนนั้น เพราะมีทักษะในการใช้ชีวิตได้ดี นักศึกษาเหล่านี้ใช้เวลาทุกวินาทีอย่างคุ้มค่า รู้ว่าควรแบ่งเวลาให้เหมาะสมอย่างไร หลายคนอาจจะเข้าใจว่านักศึกษาที่ได้เกียรตินิยม ส่วนมากคงจะใช้เวลาคร่ำเคร่งกับตำราเรียนเพียงอย่างเดียว แต่จากประสบการณ์ของผู้เขียน นักศึกษาเหล่านี้ก็ยังมีเวลาทำกิจกรรม ทำงานอดิเรกที่ตนรัก ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดจากการเรียน เหนือสิ่งใดพวกเรารู้จักสร้างกำลังใจให้กับตนเอง เพราะแน่นอนการดำเนินชีวิตของมนุษย์ไม่ว่าจะด้านใดก็ตามคงไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบทุกครั้งไป ย่อมต้องพบเจอกับขวากหนามบ้างเป็นเรื่องธรรมดา และเมื่อต้องพบกับอุปสรรคไม่ว่าจะเรื่องการเรียน หรือเรื่องใดก็ตาม นักศึกษาเหล่านี้จะไม่ท้อถอย แต่จะเดินหน้าเข้าสู้กับอุปสรรคเหล่านั้นอย่างไม่หวั่นเกรง ยิ่งไปกว่านั้นนักศึกษาบางคนยังคิดว่ามันเป็นเรื่องที่น่าท้าทายอีกด้วย
หากจะแก้ปัญหาผลการเรียนของนักศึกษา คงไม่สามารถจะประสบความสำเร็จได้อย่างง่ายดาย แม้ว่ามหาวิทยาลัยจะเร่งแก้ปัญหานี้อย่างจริงจังเพียงใด หรือแต่ละคณะจะระดมกำลังและความคิดมากเท่าไหร่ แต่หากนักศึกษายังยึดติดกับพฤติกรรมเดิม ท้อถอยเมื่อพบเจอกับอุปสรรคและกล่าวโทษบุคคลอื่นมากกว่าจะย้อนมองดูตัวเอง ก็คงไม่สามารถจะช่วยให้ผลการเรียนของนักศึกษาดีขึ้นได้ เพราะคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต ส่วนใหญ่จะคิดอยู่เสมอว่า โชคชะตาไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงพวกเขาได้ ยกเว้น แต่พวกเขาจะเปลี่ยนแปลงตัวเองเสียก่อน
—
นางสาวมัรยัม วรรณมาตร
นักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
นักศึกษารายวิชา 870-224 การเขียนเชิงวารสารศาสตร์
http://comm-sci.pn.psu.ac.th/commsci/web_bumee/?name=news&file=readnews&id=122
WIL มิติใหม่ของอุดมศึกษาไทย
อาจารย์ ดร.วันชาติ นภาศรี ประธานหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง, อาจารย์ธวัชชัย แสนชมภู ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง และคุณสิริรัตน์ เลิศมีมงคลชัย นักวิชาการอิสระ ได้รับรางวัลดีเด่น “การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย” จากเครือข่าย บริหารการวิจัยภาคเหนือต้อนบน การประชุมวิจัยระดับชาติเครือข่าววิจัยอุดมศึกษา ประจำปี 2555 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2555 แล้วมีนักวิชาการนำหนังสือเล่มเล็กจากการสังเคราะห์องค์ความรู้ไปเผยแพร่ทาง อินเทอร์เน็ต ผ่าน e-book