#เล่าสู่กันฟัง 63-013 แนวคิดการศึกษาในโลกอนาคต

อ่านเรื่อง 9 แนวคิดการศึกษาในโลกอนาคตของแจ็ค หม่า ใน eduzones.com และเขียนบรรยายเพิ่มเติมได้น่าสนใจ มีประเด็นที่ผมสนใจ ว่าประเด็นเหล่านี้จะไปอยู่ในโลกอนาคต หรืออดีต หรือปัจจุบันอย่างไร

แล้วแยกคำออกมาตามหัวข้อในภาพ นึกถึงเรื่องจริยธรรม สอดคล้องข้อ 7 “มีหัวใจ” ที่อยากชวนนิสิตได้วิพากษ์ ในทั้ง 9 ข้อ

1. รายได้เป็น key point
2. ถูกต้อง เพิ่มการวิเคราะห์
3. ทำงานเป็นทีมในหมู่เด็ก
4. เป้าหมายการศึกษา สอบเข้าไม่พอ
5. เรียนรู้ตลอดชีวิต
6. เรียนรู้ให้เร็ว จบให้เร็ว
7. มีหัวใจ
8. โลกไร้พรมแดน
9. สร้างสรรค์และนวัตกรรม

ข้อ 9 นี่นึกถึง coding และ research
แต่ eduzones มองข้อ 9 เช่น ศิลปะ กีฬา เต้นรำ

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10157815247706171&id=284423006170

http://www.thaiall.com/ethics

#เล่าสู่กันฟัง 63-009 มีสติก่อนทำสมาธิ #ดั่งดอกไม้บาน ผ่านลมหายใจ

การเรียนหนังสือ
หากมีสติ มีสมาธิ มีเป้าหมายชัดเจน
ก็จะทำให้เข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
การฟังเพลง และแสดงท่าประกอบ
จะช่วยให้ร่างกายเคลื่อนไหวอย่างมีสติ

หวังให้เรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมกันทุกคน

ชวนฟังเพลง #ดั่งดอกไม้บาน

ลมหายใจเข้า
ลมหายใจออก
ดั่งดอกไม้บาน
ภูผาใหญ่กว้าง
ดั่งสายน้ำฉ่ำเย็น
ดั่งนภาอากาศ
อันบางเบา

https://www.youtube.com/watch?v=fTTDrSiLX0Y&app=desktop

#เล่าสู่กันฟัง 63-003 การเขียนรายการอ้างอิงตามแบบ APA

คู่มือการเขียนรายการอ้างอิงตามแบบ APA, 6th Edition
APA Referencing Guide, 6th Edition
(APA=American Psychological Association)

โดย บุญฑา วิศวไพศาล
จาก http://journal.human.cmu.ac.th/files/form2.pdf

ตัวอย่างเรียบเรียงจากหัวข้อ 5.3 การลงรายการบรรณานุกรมของสื่อประเภทต่าง ๆ

  1. แบบหนังสือ
    จุมพต สายสุนทร. (2552). กฎหมายระหว่างประเทศ(พิมพ์ครั้งที่8 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
    Harris, M. B. (1995). Basic statistics for behavioral science research. Boston: Allyn and Bacon.
    ปิยะ นากสงค์, และพันธุ์รวี วรสิทธิกุล. (2545). ดูหนังฟังเพลงเล่นเกมร้องคาราโอเกะ. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.
    สนอง วรอุไร. (2549). การทําชีวิตให้ได้ดีและมีสุข (พิมพ์ครั้งที่5). กรุงเทพฯ: อัมรินทร์.
    Harris, M. B. (1995). Basic statistics for behavioral science research. Boston: Allyn and Bacon.
    Creswell, J. W. (2003). Research design: Qualitative, quantitative and mixed method approaches (2nd.). CA: Sage.
    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. (2546). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
    วงศ์ วรรธนพิเชฐ. (2548). พจนานุกรมตัวอย่าง ประโยควลีภาษาอังกฤษพร้อมคําแปล. กรุงเทพฯ: ไทยเวย์ส พับลิเคชั่นส์.
    สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน. (2548). กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสําหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู๋หัว.
    หลากความคิด ชีวิตคนทํางาน. (2551). กรุงเทพฯ: แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
    Art of display: Culture shows. (2010). Hong Kong, China: Links International.
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สํานักหอสมุด. (2551). คู่มือการพิมพ์วิทยานิพนธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
    American Psychological Association. (2010). Publication Manual of the American Psychological Association (6th ed). Washington, DC: Author.
  2. แบบบทความในหนังสือ
    ณัฐพล ปัญญโสภณ. (2554). มุมมองของนักศึกษานิเทศศาสตร์ต่อกระบวนการผลิตละครเพื่อการสื่อสาร. ใน ชนัญชี ภังคานนท์(บ.ก.), กระบวนทัศน์มหาวิทยาลัยไทยบนความท้าทายของเอเชียแปซิฟิก(น. 23-24). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
    กิตติ ทองลงยา. (2524). นก. ใน สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่3) (น. 68-113). กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน.
    กาบู. (2544). ใน ประเสริฐ ณ นครและคณะ(คณะกรรมการชําระพจนานุกรม), พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (น. 112). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
    วงศ์ วรรธนพิเชฐ. (2547). Heart. ใน พจนานุกรมตัวอย่าง ประโยควลีภาษาอังกฤษพร้อมคําแปล (น. 483-484). กรุงเทพฯ: ไทยเวย์ส พับลิเคชั่นส์.
  3. แบบวารสาร
    ปิยะวิทย์ ทิพรส. (2553). การจัดการป้องกันและลดสารให้กลิ่นโคลน Geosmin ใน ผลิตภัณฑ์แปรรูปสัตว์น้ำ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 24(72),103-119.
    ศรัณย์ สาวะดี, และ ดัชกรณ์ ตันเจริญ. (2559). ระบบการจัดการงานประชุมวิชาการระดับชาติสำหรับสถาบันการศึกษาแห่งองค์กรธุรกิจ. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 8(3),229-241.
    ลําดวน เทียรฆนิธิกุล. (2552). เส้นทางเสด็จเยี่ยมราชสํานักต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีพ.ศ. 2443 –2444 (ร.ศ. 119 – 120). วชิราวุธานุสรณ์สาร, 28(4),29-39.
    Siriwongworawat, S. (2003). Use of ICT in Thai libraries: An overview. Program: Electronic Library and Information Systems, 37(1), 38-43.
    Tandra, R., Sahai, A., & Veeravalli, V. (2011, March). Unified space-time metrics to evaluate spectrum sensing. IEEE Communications Magazine, 49(3), 54-61.
  4. แบบการประชุมวิชาการ Proceeding
    ชัชพล มงคลิก. (2552). การประยุกต์ใช้กระบวนการลําดับชั้นเชิงวิเคราะห์ในการจัดตารางการผลิตแบบพหุเกณฑ์: กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมผลิตยา. ใน การประชุมวิชาการการบริหารและการจัดการครั้งที่ 5 (น. 46). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
    ธมนวรรณ กัญญาหัตถ์, และศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม. (2554). ความพึงพอใจของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อประโยชน์ของสมาร์ทโฟน. ใน ชนัญชี ภังคานนท์(บ.ก.), กระบวนทัศน์มหาวิทยาลัยไทยบนความท้าทายของเอเชียปาซิฟิก (น. 119-121). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
    จตุพร ตันติรังสี, และผุสดี บุญรอด. (2555). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้การสอนแบบ ADDIE Model วิชา การใช้โปรแกรมกราฟฟิก. ใน การประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 9 (น. 209-214). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
    Krongtaew, C., Messner, K., Hinterstoisser, B., & Fackler, K. (2010). Lignocellulosic structural changes after physico-chemical pretreatment monitored by near infrared spectroscopy. In S. Saranwong, S. Kasemsumran, W. Thanapase, & P. Williams (Eds.), Near infrared spectroscopy: Proceedings of the 14th International conference (pp. 193-198). West Sussex, UK: IMP.
    Soutar, G., & Mazzarol, T. W. (1995). Gaining competitive advantage in education services exports: Forward integration and strategic alliances in a maturing market. In G. Tower (Ed.), Proceeding of the Academy of International Business Southeast Asia Regional Conference, Asia Pacific International Business: Regional integration and global competitiveness (pp. 85-110). Perth: Murdoch University.
  5. แบบรายงานการวิจัย
    พินิจ ทิพย์มณี. (2553). การวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการตายของประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
    เฉลิมสิน สิงห์สนอง. (2553). การพัฒนาชุดการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในรายวิชาคณิตศาสตร์ธุรกิจสําหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์(รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
    Chitnomrath, T. (2011). A study of factors regarding firm characteristics that affect financing decisions of public companies listed on the stock exchange of Thailand (Research report). Bangkok: Dhurakij Pundit University.
  6. แบบปริญญานิพนธ์
    ก้องเกียรติ บูรณศรี. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นผู้ประกอบการขององค์การ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและผลการดําเนินงานของสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตขนาดกลางและขนาดใหญ่ในพื้นที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
    พิมล พร้อมมูล. (2555). การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการจัดการข้อมูลการควบคุมคุณภาพ (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
    Nickels, D. W. (2005). The relationship between IT-business alignment and organizational culture: An exploratory study (Doctoral dissertation). Memphis, TN: University of Memphis.
    วลัย วัฒนะศิริ. (2553). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมอุดมศึกษานานาชาติของไทยในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก http://www.dpu.ac.th/laic
    พัชรินทร์ บุญเทียม. (2553). หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ). สืบค้นจากhttp://www.dpu.ac.th/laic
    Sembiring, E. (2010). Integration of economics and social factors into optimization of solid wasted management system (Doctoral dissertation, Asian Institute of Technology, Pathum Thani). Retrieved from http://libopac.ait.ac.th/
    มานพ จันทร์เทศ. (2544). การนําเสนอรูปแบบการพัฒนานโยบายของสถาบันราชภัฏ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก http://tdc.thailis.or.th/tdc
    Oshi, D. (2009). Rural women and the financing of health care in Nigeria (Doctoral dissertation, Institute of Social Studies). Retrieved from http://libopac.ait.ac.th/
    Buckingham, J. T., LeBeau, L. S., & Klein, W. M. P. (2011). The performance versus ability distinction following social comparison feedback. Current Research in Social Psychology: An electronic journal. Retrieved June 23, 2011, from http://www.uiowa.edu/grpproc/crisp/crisp.html
  7. แบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
    สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย. (2554). จัดระเบียบสํานักงานทนายความ. สืบค้น 21 มิถุนายน 2554, จาก http://www.lawyerscouncil.or.th/2011/index.php?name=knowledge
    CNN Wire Staff. (2011). How U.S. forces killed Osama bin Laden. Retrieved May 3, 2011, from http://www.cnn.com/2011/WORLD/asiapcf/05/02/bin.laden.raid/index.html
    บงการ หอมนาน. (2551). เทคโนโลยีกับการควบคุมด้วยตรรกะฟัซซีตามขั้นตอนและฟังก์ชั่นสมาชิก. ไมโครคอมพิวเตอร์, 26(271), 153-156. สืบค้น 22 มิถุนายน 2554, จาก http://www.dpu.ac.th/laic/page.php?id=5753
    สุนันทา เลาวัณย์ศิริ. (2553). ธาตุอาหารหลักของน้ําสกัดชีวภาพแบบเข้มข้นจากขยะครัวเรือน. วารสารออนไลน์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 29(2). สืบค้น 21 มิถุนายน 2554, จาก http://www.journal.msu.ac.th/index.php?option=com_content&task=
  8. แบบหลายเล่มจบ
    พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, พระบาทสมเด็จพระ. (2553). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ (เล่ม 3) (พิมพ์ครั้งที่11). กรุงเทพฯ: บรรณกิจ1991.
    Miller, T. (Ed.). (2003). Television: Critical concepts in media and cultural studies (Vols. 1). London: Routledge.
  9. แบบหนังสือแปล
    เกรย์, เจ. (2552). ผู้ชายมาจากดาวอังคารผู้หญิงมาจากดาวศุกร์[Men are from mars, women are from venus] (สงกรานต์ จิตสุทธิภากร, ผู้แปลและเรียบเรียง) (พิมพ์ครั้งที่ 26). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
    Luang Poo Buddha Isara. (2008). Valuable adages of Luang Poo Buddha Isara (T. Wongamatasiri, & O. Limtasiri, Trans). Ratchaburi: Thammaruk.

http://www.thaiall.com/research/whatisresearch.htm

#เล่าสู่กันฟัง 62-291 งาน educa 2019

พบ delegate’s satisfaction survey
ที่นำผลประเมินมาทำ infographic ให้เข้าใจง่าย หัวข้อ สอนสร้างสรรค์ เรียนสนุก ในยุค 4.0 Creativity-based learning งานจัด 16 – 18 ต.ค.62 ที่ impact อ่านได้จากเว็บไซต์ educathai.com งานมีผู้เข้าร่วมกว่า 425 คน

การประเมินผล แล้วนำมาทำแผนภาพ วันที่ 16 ต.ค.62 จากห้อง sapphire 206 ช่วง 9.00 – 10.30 ผู้ฟังทั้งหมดเป็นคุณครู ป.ตรี พบว่า เทียบมา 4 ประเด็น

1. หัวข้อน่าสนใจ 4.45 จาก 5
2. การถ่ายทอดความรู้ 4.73 จาก 5
3. ตอบคำถาม 4.50 จาก 5
4. การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 4.59 จาก 5

จากภาพ #infographic ทำให้นึกถึงประเด็นการศึกษามากมาย มองจากอดีต มาทำปัจจุบัน เพื่อให้เกิดผลในอนาคต ซึ่ง ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ โพสต์ในเฟสบุ๊คให้อ่านเสมอ และโพสต์นี้ท่านพูดถึงการประเมินเพื่อพัฒนา

– ปัจจุบันการศึกษามีการประเมินเพื่อพัฒนาอยู่มากมาย
– Pisa สนใจ การอ่าน คณิต และวิทย์
– ประเมินด้านการศึกษา สนใจ ประเมินก่อนเรียน ระหว่างเรียน หลังเรียน ประเมินระหว่างหัวข้อการสอน แบ่งเป็น พุทธพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ที่เรียก curriculum mapping ที่แต่ละวิชากำหนดจุดดำจุดขาวไม่เหมือนกัน การเรียนในหลักสูตรแบ่งวิชาเป็นหลายกลุ่ม เช่นกลุ่มทั่วไป กลุ่มพื้นฐาน กลุ่มเฉพาะ
– เป้าหมายการได้ผู้เรียนแต่ละปีแต่ละภาคเรียนก็ไม่เหมือนกัน วัดผลกันรายหลักสูตร รายปี รายวิชา รายหัวข้อ รายชั่วโมง รายผู้สอน
– มาตรฐานการเรียนรู้ของเด็กก็ไม่เหมือนกัน แยกตามวิชาชีพ ตามหลักสูตร ตามสถาบัน ตามโรงเรียน บางที่ละเอียดลงไปถึงตามครูผู้สอน เพราะครูที่สอนสร้างสรรค์ย่อมต่างกับครูที่สอนแนวอื่น
– ประเมินผลก็มีหลายด้าน เด็กประเมินครู ครูประเมินเด็ก ประเมินเป็นความพอใจ คะแนนสอบ กระบวนการ ผลสัมฤทธิ์ มีทวนสอบว่าสอนตรงตามแผน ออกข้อสอบตามแผน เด็กได้รับผลตามแผน ประเมินสิ่งสนับสนุน อาจมีประเมินสิ่งรายล้อม ระบบไอที น้ำ ไฟ เอกสาร อาหารเครื่องดื่ม ประเมินงานของเพื่อน ผู้ช่วยสอน เป็นต้น

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2823490554339577&id=109357035752956

สร้างกลุ่ม เพื่อพูดคุย สื่อสารกันตามวัตถุประสงค์ของกลุ่ม

17 ธ.ค.62 มีโอกาสสร้างกลุ่มอีก 3 กลุ่ม เป็นกลุ่มส่วนตัวไว้พูดคุยกับสมาชิกแบบส่วนตัว พบว่า นโยบายของ facebook เริ่มเปิดให้สร้างกลุ่มโดยไม่ต้องมีสมาชิกมากกว่า 1 คนแล้ว (ในอดีตต้องมีมากกว่า 1 คน) ทำให้สามารถสร้างกลุ่มรองรับการเพิ่มสมาชิกเข้ากลุ่มในภายหลังได้ เช่น CPSC241_621 (Private Group)

เมื่อพูดถึงการสร้างกลุ่ม (Group creating) ก็ต้องเลือกว่าจะเป็น Public หรือ Private ก็มักพูดถึงวัตถุประสงค์ของกลุ่ม ทุกครั้งที่สร้างกลุ่มก็จะต้องมองไปที่ description ที่จะเพิ่มรายละเอียดให้รู้ว่ากลุ่มนี้พูดเรื่องอะไร มีเงื่อนไข ข้อตกลงอย่างไร วัตถุประสงค์คืออะไร ไม่มากก็น้อย เพื่อให้การอยู่รวมกลุ่มกัน ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน บางทีแค่ชื่อกลุ่มก็รู้แล้วว่าจะพูดคุยเรื่องอะไร กลุ่มสาธารณะเหล่านี้ ที่มีชื่อกลุ่มชัดเจน เช่น กลุ่มผู้บริจาคโลหิต อวัยวะ และร่างกายกลุ่มผู้สูงอายุ (Older Person) / กลุ่ม KM+Ebook / กลุ่มสังคมคนรักอ่าน / กลุ่ม Lampang City (250K)

เปิดรับนิสิตทันตะ เทคนิคการแพทย์ พยาบาล .. ไม่ยากอย่างที่คิด

มหาวิทยาลัยเนชั่น เปิดรับสมัครนิสิตใหม่ ประจำปี 2563
รอบที่ 1 รอบรับตรงไม่จำกัดเขตพื้นที่ 1-30 พ.ย.62
รอบที่ 2 รอบแฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) 1 ธ.ค.-30 ธ.ค.62
รอบที่ 3 รอบรับตรงเขตพื้นที่ 3 ก.พ.- 23 มี.ค.63
โดยหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่มีสภาวิชาชีพกำกับ
ได้รับเอกสารรับรองการเปิดหลักสูตรจากทั้ง 3 สภาวิชาชีพแล้ว

หลักสูตรต่าง ๆ ที่เปิดรับนิสิตใหม่ มีดังนี้

  1. ทันตแพทยศาสตร์
  2. เทคนิคการแพทย์
  3. พยาบาลศาสตร์
  4. สาธารณสุขศาสตร์
  5. นิเทศศาสตร์
  6. ธุรกิจการบินและการขนส่งทางอากาศ
  7. บริหารธุรกิจ
  8. บัญชี
  9. รัฐประศาสนศาสตร์
  10. วิทยาการคอมพิวเตอร์

https://www.blockdit.com/articles/5dcd322ee94a9d76769efe9e

ติดต่อสอบถาม
มหาวิทยาลัยเนชั่น ต. พระบาท อ. เมืองลำปาง จ. ลำปาง 52000
โทรศัพท์ 054-265-170
โทรศัพท์ 054-265-173 – 6
โทรศัพท์ 054-820-098 – 9
มือถือ 063-092-1247
มือถือ 063-092-1256
โทรสาร 054-265-184
Email : admission@nation.ac.th
Line ID : สมัครเรียน ม.เนชั่น
http://www.nation.ac.th/index.php/th/component/sppagebuilder/437-nation-u-information

ประชุมคณะทำงานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปาง

9 ส.ค.62 มี การประชุมคณะทำงานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปาง ที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลำปาง เวลา 9.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลำปาง โดยคณะทำงานวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ ได้รับการประกาศแต่งตั้งโดย นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง และประธานกรรมการบริหารข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปาง เมื่อ 18 กรกฎาคม 2562 ซึ่งกรรมการชุดที่แต่งตั้งนี้มีทั้งสิ้น 36 คน มีหน้าที่ 5 ข้อ ดังนี้ 1) รวบรวม ศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในพื้นที่จังหวัดลำปาง เพื่อเป็นแนวทางการกำหนดฐานข้อมูล การจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ การวางแผนจัดทำงบประมาณ และการบริหารจัดการเชิงบูรณาการ 2) กำหนดกรอบฐานข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดลำปาง เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปาง 3) ประสานงานข้อมูลระหว่างหน่วยงาน นำเสนอความสัมพันธ์ของชุดข้อมูล และปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหา ในประเด็นยุทศศาสตร์ที่น่าสนใจ ปัจจัยความสำเร็จ ตัวชี้วัด เพื่อกำหนดข้อมูลสารสนเทศ และ สร้างความเข้าใจแนวทางการกำหนดฐานข้อมูล การออกแบบระบบ และการใช้งานระบบร่วมกัน 4) ดำเนินการเผยแพร่ โดยใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศ ประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจถึงทิศทาง และแนวโน้มในการพัฒนาการศึกษาจังหวัดลำปาง 5) ปฏิบัติภารกิจอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ส่วนคณะทำงานพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ ประกาศแต่งตั้งพร้อมชุดข้างต้น ซึ่งกรรมการชุดที่แต่งตั้งนี้มีทั้งสิ้น 27 คน มีหน้าที่ 5 ข้อ ดังนี้ 1) จัดเก็บ รวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านการศึกษา ให้ครบทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ให้มีความสมบูรณ์ ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในระดับพื้นที่ 2) วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาของจังหวัดที่มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย และสามารถให้บริการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) ทดลองและทดสอบระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ รวมทั้งการให้คำแนะนำ การแก้ไขปัญหา การใช้งานระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ 4) รายงานผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาประจำปี ให้คณะกรรมการบริหารข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปางทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง 5) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ซึ่งประธานคณะทำงานทั้งสองชุด ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม คือ นายบรรพ์ ใสแจ่ม ศึกษาธิการจังหวัดลำปาง ได้แจ้งเรื่อง ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการบริหารข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา พ.ศ.2560  และมีเรื่องเสนอพิจารณา 3 เรื่อง คือ  1) กำหนดกรอบฐานข้อมูลสารสนเทศ 2) การประสานงานข้อมูลระหว่างหน่วยงาน
3) แนวทางการกำหนดฐานข้อมูล

นายวิศนุพงศ์ ถ้ำทอง คณะทำงาน/เลขานุการ และผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน
ได้บรรยายตามสไลด์เรื่อง Big Data ของกระทรวงศึกษาธิการ
และนำเสนอ “สารสนเทศทางการศึกษา”
http://datacenter.lpgpeo.info/
และบรรยายเรื่อง “10 อาชีพในอนาคต ที่มีโอกาสประสบความสำเร็จอย่างสูงในไทย
https://www.kroobannok.com/79488

ระหว่างประชุมนั้น นายวิศนุพงศ์ ถ้ำทอง ทำหน้าที่เลขาฯ
– ได้เชิญกรรมการทุกท่านเข้ากลุ่มไลน์ เพื่อใช้สื่อสารกัน
– ได้สอบถามข้อมูลจากแต่ละสถานศึกษา
ว่าที่มีให้ และที่ต้องการ เพื่อเป็นข้อมูลไปประกอบการพัฒนาระบบ
ซึ่งสถาบันในระดับอุดมศึกษา ตัวแทนได้เสนอใช้ข้อมูลไปในทางเดียวกัน
ว่าเตรียมข้อมูลให้ได้ ตามที่เคยส่งให้กับสกอ. เป็นประจำทุกปี
ที่ http://www.data3.mua.go.th/dataS/

บรรยากาศในห้องประชุมบรรยากาศในห้องประชุม

ส่วนผมเสนอแนะในเบื้องต้น
ตามประเด็น “.. ปัจจัยความสำเร็จ ตัวชี้วัด เพื่อกำหนดข้อมูลสารสนเทศ ..
1. ให้สามารถสืบค้นข้อมูลตาม keyword จากระบบได้
เช่น เกาะคา ทุนการศึกษา ผลสอบ หรือ รางวัลพระราชทาน
2. ให้มี Top 10 หรือ Ranking จากข้อมูลที่มีอยู่
ก็จะเป็นข้อมูลสารสนเทศที่ผ่านการประมวลผล และช่วยสนับสนุนการตัดสินใจได้
3. ให้มีความเด่นเชิงสรุป เช่น โรงเรียนใดเด่นด้านใด หรือได้รางวัลอะไร หรืออยู่ระดับใด
ซึ่ง นายบรรพ์ ใสแจ่ม ศึกษาธิการจังหวัดลำปาง ได้เล่าความเด่นของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จิตต์อารี
หากมีข้อมูลแบบนี้ในเว็บไซต์ก็จะมีผู้ปกครองเข้ามาใช้ข้อมูลกันมาก
4. ให้สามารถค้นโรงเรียนใกล้เคียงเพื่อตัดสินใจศึกษาต่อ
ซึ่ง นายวิศนุพงศ์ ถ้ำทอง นำเสนอระบบ ว่าปัจจุบันสามารถแสดงผ่านระบบ GIS/Google Map ได้ดี

ข้อมูลจากโฮมเพจ “สารสนเทศทางการศึกษา
ที่พัฒนาไปแล้วระดับหนึ่ง นำเสนอข้อมูลลึกลงไปถึงข้อมูลส่วนบุคคล
หากผู้ใช้มีรหัสเข้าระบบตามสิทธิ ก็จะทราบได้ว่านักเรียนแต่ละคนมีข้อมูลอย่างไร
ซึ่งเก็บไว้ถึง 40 กว่าเขตข้อมูลสำหรับนักเรียนแต่ละคน
http://datacenter.lpgpeo.info/

เมนูสำหรับเข้าถึงสารสนเทศประกอบด้วย
– สารสนเทศทางการศึกษา 2561
– สภาพทั่วไปของจังหวัดลำปาง
– ข้อมูลและสถิติพื้นฐานด้านการศึกษา
– สารสนเทศภูมิศาสตร์
– ระบบข้อมูลประชากรวัยเรียน
– แบบประเมินความพึงพอใจ

ปล. ประชุมครั้งนี้พบมิตรสหายหลายท่าน
พบศิษย์เก่า ม.เนชั่น 2 คนทำงานอยู่ที่ศึกษาธิการจังหวัดลำปาง
พบ พระครูสังฆรักษ์ศุภณัฐ ภูริวฑฒโม ผอ.สำนักงานวิชาการ มจร.วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
พบคุณนงลักษณ์ ใจปลา นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ  สำนักงานจังหวัดลำปาง
และเพื่อนที่คุ้นหน้าคุ้นตาจากหลายหน่วยงาน

https://web.facebook.com/tourlampangna/posts/2444758279076904

สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ที่ classstart.org

http://www.thaiall.com/blog/burin/8972/
http://www.thaiall.com/blog/burin/8972/

สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ในรูปแบบเสริมการจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อออนไลน์ ผ่านบริการของ Classstart.org ซึ่งเป็นสื่อเสริมช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนในชั้นเรียน
ที่คณะวิชาสนับสนุนการใช้บริการสื่อออนไลน์ สำหรับนิสิตไว้หลายวิชา ในหลายระบบ
อาทิ ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ที่จัดการสอนโดย อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ เตรียมไว้ ดังนี้

1. BUSI 452 / MKTG 434 การบริหารตราสินค้าและการสื่อสารตราสินค้า
2. BUSI 103 หลักการจัดการและพฤติกรรมองค์การ
3. BUSI 322 การบริหารลูกค้าสัมพันธ์

นอกจากนี้ยังได้จัดสื่อการสอนแบบอีเลินนิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน เพิ่มเติมจากในชั้นเรียน ผ่านเครื่องบริการที่ติดตั้งในมหาวิทยาลัย
ที่ http://class.nation.ac.th หรือแบ่งปันสื่อการเรียนการสอนผ่านระบบ e-document ในแต่ละรายวิชา ทั้ง มคอ.3 หรือ เอกสารประกอบการสอน ซึ่งเป็นเครื่องบริการภายในมหาวิทยาลัย

อ้างอิงจาก
http://www.thaiall.com/blog/burin/8972/
http://www.nation.ac.th/index.php/th/research-of-bba

กิจการนิสิต มหาวิทยาลัยเนชั่น

ประวัติความเป็นมา
มหาวิทยาลัยเนชั่น เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ได้รับอนุญาตจัดตั้งให้ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2531 ในนามมหาวิทยาลัยโยนก โดยมีวัตถุประสงค์ที่ มุ่งหวังที่จะผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ได้เหมาะสมกับสภาพของสังคมและเศรษฐกิจ

ในปี พ.ศ. 2550 มหาวิทยาลัยโยนกได้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ อันได้แก่การเปลี่ยน ผู้รับอนุญาต และการเปลี่ยนอธิการบดี การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังผลทำให้เกิดการเปลี่ยนวิสัยทัศน์ใหม่ให้เป็น “ศูนย์กลางความรู้และภูมิปัญญาแผ่นดิน” ตลอดจนวิธีการบริหารจัดการใหม่ เพื่อก้าวสู่ทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลง การดำเนินกิจกรรมก็เช่นกันได้มีการปรับเปลี่ยน กรอบการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการผลิตบัณฑิตตามคุณลักษณะบัณฑิตที่ พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัย คือ คิดเป็น ทำเป็น มีคุณธรรมจริยธรรมและจิตสำนึกต่อสิ่งสาธารณะและในปี พ.ศ. 2554 ได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อ มหาวิทยาลัยโยนก เป็น มหาวิทยาลัยเนชั่น โดยมีการบริหารจัดการลักษณะรูปแบบธุรกิจการศึกษา ภายใต้ บริษัทเนชั่นยู ที่มีความเชื่อมั่นว่า คุณภาพชีวิตที่ดีของมนุษย์นั้นขึ้นอยู่กับปัญญา องค์ความรู้ ประสบการณ์ และความเอื้ออาทรที่มีต่อกันระหว่างมวลมนุษยชาติ ดังปรัชญาที่ว่า “ ปัญญาพัฒนาชีวิต ” ในการที่จะทำให้คุณภาพชีวิต ดีขึ้นนั้น มหาวิทยาลัย ยั่งได้ตระหนักถึง การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม ของโลก จึงได้กำหนดแนวทางกระบวนการในการดำเนินการจัดการเรียนการสอน ที่จะผลิตบัณฑิตที่มีทักษะที่จำเป็นในทศวรรศข้างหน้า โดยเน้นวิธีการ ในรูปแบบ “ การเรียนกับมืออาชีพ ” โดยกำหนดเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ ดังนี้
เอกลักษณ์
– เรียนกับมืออาชีพ
– บัณฑิตจิตอาสา
อัตลักษณ์ : 3 Skill
– ทักษะด้านวิชาชีพ (Professional Skill)
– ทักษะด้านภาษาอังกฤษ (English Skill)
– ทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร (Communication Skill)

ในการผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ ดังกล่าว นั้นจำเป็นที่จะต้องมีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย ครอบคลุมในทักษะทางด้านวิชาการ ทักษะด้านการใช้ชีวิต ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งทักษะด้านการใช้ชีวิต ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นนั้นจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้จากการได้ดำเนินการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง โดยผ่านกิจกรรมที่ทางมหาวิทยาลัยและสโมสรนักศึกษา สาขาวิชา ชมรม ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมขึ้น ในการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษานั้น ถือได้ว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างหนึ่งของการผลิตบัณฑิตที่พึงประสงค์

http://www.nation.ac.th/

ประวัติมหาวิทยาลัยเนชั่น

ประวัติมหาวิทยาลัย
ประวัติมหาวิทยาลัย

ประวัติมหาวิทยาลัยเนชั่น

มหาวิทยาลัยเนชั่น เดิมมีชื่อเรียกว่า “วิทยาลัยโยนก” ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ดำเนินการโดยมูลนิธิโยนก วิทยาลัยโยนกได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้เปลี่ยนประเภทจากวิทยาลัยเป็น “มหาวิทยาลัยโยนก” เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2549 และต่อมาเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 กระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษาอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็น “มหาวิทยาลัยเนชั่น” มหาวิทยาลัยเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท โดยเปิดสอนมาจนถึงปัจจุบันรวม 26 ปี (พ.ศ. 2531 – 2557) มีผู้สำเร็จการศึกษาแล้วมากกว่า 6,900 คน แบ่งเป็นระดับปริญญาตรี 5,700 คนและระดับปริญญาโท 1,200 คน

มหาวิทยาลัยเนชั่นเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของจังหวัดลำปางที่มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพให้แก่สังคมด้วยกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นิสิตเป็นนักคิด ใฝ่เรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ การประยุกต์ใช้ และมีคุณธรรม จิตสำนึกต่อสาธารณะ โดยมีกิจกรรมเพื่อฝึกฝนให้นิสิตมีประสบการณ์จริงสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่การงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มหาวิทยาลัยมีภูมิทัศน์ที่สวยงามตามธรรมชาติ บรรยากาศการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยเป็น “อุทยานการศึกษา” มีการจัดการเรียนการสอนที่นิสิตมีความใกล้ชิดกับคณาจารย์ อีกทั้งยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ อาทิ ห้องสมุด หอพักนิสิตชาย หอพักนิสิตหญิง ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีการสื่อสาร (ฝึกปฏิบัติการถ่ายทอดโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง) ศูนย์ภาษานานาชาติ มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 444 ถนนวชิราวุธดำเนิน ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง และเปิดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ที่ศูนย์เนชั่นบางนา ตั้งอยู่เลขที่ 1854 ถนนบางนาตราด กม. 4.5 แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร