ตัวแบบปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษา

http://sphotos-d.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-prn1/154460_564684576879011_543953131_n.jpg
ตัวแบบปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษา

จากบทความ เรื่อง การพัฒนาตัวแบบปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษาแบบมีส่วนร่วม (Key Success Factors Participative Co-op Education Development Model) โดย วันชาติ นภาศรี ธวัชชัย แสนชมภู สิริรัตน์ เลิศมีมงคลชัย
เสนอว่า ตัวแบบ 12 ปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษาแบบมีส่วนร่วม มีดังนี้
1. การสนับสนุนของผู้บริหารระดับสูง (Top Management Support)
2. การมีความรู้ ความเข้าใจในพันธกิจสหกิจศึกษา (Co-op Mission)
3. การจัดโครงสร้างงาน ระบบ & กลไก (Organization Management)
4. การจัดการความรู้สหกิจศึกษา (Co–op Knowledge Management)
5. การจัดทำแผนกลยุทธ์/คู่มือการปฏิบัติงาน (Co-op Schedule/Strategy Plan)
6. การสร้างการยอมรับ เห็นคุณค่า และประโยชน์ร่วมกัน (Stakeholder Acceptance)
7. การปรึกษาหารือ การให้คำแนะนำ การนิเทศ  (Consultation)
8. การติดต่อสื่อสาร การประสานงาน (Communication)
9. การจัดการทรัพยากร  (Resource Management)
10. เครือข่ายความร่วมมือ (Net Working)
11. การแก้ไขปัญหา และอุปสรรคที่เหนือความคาดหมาย (Troubleshooting)
12. การติดตามประเมินผล และการรับรู้ข้อมูลป้อนกลับ  (Monitoring Evaluation & Feedback)

แล้วมีข้อเสนอแนะ การนำไปประยุกต์ใช้กับสถาบันอุดมศึกษา ว่าควรพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. ดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันของตนเอง วิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) เพื่อประเมินศักยภาพ ความพร้อมตามองค์ประกอบ เงื่อนไข คุณลักษณะของตัวชี้วัดความสำเร็จสหกิจศึกษาที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมขององค์กรผู้ใช้บัณฑิต และนักศึกษา
2. ดำเนินการจัดการความรู้สหกิจศึกษา ปรัชญา แนวคิดพื้นฐาน หลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธีการดำเนินงาน ระบบและกลไกการประสานงาน จัดทำเป็น “คู่มือการจัดการศึกษาระบบสหกิจศึกษา” และการจัดการความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ (Internet) ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามบริบทของสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ
3. จัดอบรม สัมมนาความรู้ ความเข้าใจ เตรียมความพร้อม ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสหกิจศึกษาให้บุคลากร อาจารย์/เจ้าหน้าที่ นักศึกษา องค์กรผู้ใช้บัณฑิต และประชาชนทั่วไปได้รับทราบ
4. ขยายเครือข่ายองค์กรผู้ใช้บัณฑิต การรับรู้เห็นคุณค่า คุณประโยชน์ของคณาจารย์ในทุกหลักสูตร การขยายหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนสหกิจศึกษา เพื่อรองรับนักศึกษาสหกิจศึกษา อย่างต่อเนื่อง
5. การบริหารจัดการตาม “ตัวแบบ 12 ปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษาแบบมีส่วนร่วม”


http://www.facebook.com/media/set/?set=a.564684180212384.139685.506818005999002

http://www.scribd.com/doc/118643661/

วันนี้ท่านไปถึงขั้นไหนแล้ว

วันนี้ท่านอยู่ขั้นไหนแล้ว
วันนี้ท่านอยู่ขั้นไหนแล้ว

วันนี้ท่านไปถึงขั้นไหนแล้ว
Which step have you reached today?

1. ข้าน้อยไม่ทำ มีคนเป็นทุกข์แน่
(I won’t do it)
2. ข้าน้อยไม่สามารถทำ ไม่รู้ ทำไม่เป็น
(I can’t do it)
3. ข้าน้อยต้องการทำ ทำแล้วมีคนเป็นสุขก็ดีเหมือนกัน
(I want to do it)
4. ข้าน้อยต้องทำอย่างไร ต้องหาวิธีการแล้ว อยากทำแล้ว
(How do i do it)
5. ข้าน้อยจะพยายามทำ รู้วิธีแล้ว ต้องลองสักตั้ง
(I ‘ll try to do it)
6. ข้าน้อยสามารถทำได้ แล้วทุกอย่างต้องพร้อม
(I can do it)
7. ข้าน้อยจะทำให้สำเร็จ พร้อมแล้วนะ
(I will do it)
8. ไชโย ข้าน้อยได้ทำแล้ว
(Yes, i do it?)

http://9gag.com/gag/4419707

http://www.thaiall.com/office

สัมมนา Development Curriculum & TQF สู่สากล

Development Curriculum & TQF สู่สากล
Development Curriculum & TQF สู่สากล

18 ธ.ค.55 เพื่อนหลายคนไปสัมมนา เรื่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติกับการพัฒนาคุณภาพหลักสูตรสู่มาตรฐานสากล   แล้วนำมาเล่าให้ฟัง มีประเด็นน่าสนใจ และมีแฟ้มที่เกี่ยวข้องทั้ง pdf และ ppt เมื่อสืบค้นจากเว็บไซต์พบว่า สำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นเจ้าภาพเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2555 ณ ห้องอิมพีเรียล แกรนด์ ฮอลล์ โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่
โดยเข้าไปที่ http://www.eqd.cmu.ac.th/
แล้วคลิ๊กคำว่า เอกสารประกอบการสัมมนา พบแฟ้ม .rar ในนั้นมีแฟ้ม 4 แฟ้ม
1. presentation ของ ผศ. ดร. ม.ร.ว. กัลยา ติงศภัทิย์ รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เล่าถึงแนวปฏิบัติที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการ
2. lo (Learning Outcome) ของจุฬาฯ มี 9 ข้อ แต่มหาวิทยาลัยทั่วไปมี 5 ข้อ หากใช้ที่เคยกำหนดออกมา
3. เอกสารหัวข้อ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ กับการพัฒนาคุณภาพหลักสูตรสู่มาตรฐานสากล: โอกาสของมหาวิทยาลัยไทย ของ คุณนิภาพรรณ  แก่นคง ผู้ประสานงานโครงการ TQF: HEd. ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลออสเตรเลีย
4. เอกสารหัวข้อ พัฒนาบัณฑิตยุคใหม่ บนเส้นทาง Global Citizenship ของ ดร.จิรวัฒน์ จีรังกร
5. เอกสารหัวข้อ มาตรฐานการอุดมศึกษาและเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ของ นางมยุรี  สิงห์ไข่มุกข์ สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

+ http://www.eqd.cmu.ac.th/NewsDetail.asp?strID=802

+ http://www.4shared.com/rar/A6mHrcQ0/cmu_tqf551218.html

ลงทุนกับอุปกรณ์เสริมการสอนปีละหลายล้านกับโรงเรียนในอังกฤษ แต่ได้ไม่คุ้ม

windows 8 ในอุปกรณ์ต่าง ๆ
windows 8 ในอุปกรณ์ต่าง ๆ

http://reviews.cnet.com/8301-3121_7-57531284-220/windows-8-the-complete-new-pc-launch-list/

UK schools waste ‘millions’ a year on useless gadgets

ประเด็นแรก .. งบประมาณกับประสิทธิภาพ
Summary: Are school budgets being battered (ทำลาย) by teachers who buy but never use the latest(ล่าสุด) gadget(อุปกรณ์เชิงกล)?

In the last five years, UK schools have spent over £1 billion pounds on buying the latest must-have gadgets, digital learning tools and software.
[1 British pound = 49.404908 Thai baht]

But how much of this investment is actually put to good use?

According to research released by non-profit organisation Nesta, although such a vast (มหาศาล) amount has been invested to modernize the British education system, there is “little evidence of substantial success” in improving learning through newly-acquired digital tools.
[อันดับระบบการศึกษา 2555 อังกฤษอยู่อันดับ 6 สหรัฐอยู่อันดับ 17 ไทย 37 จากทั้งหมด 40]
http://www.thaiall.com/blogacla/admin/2176/

Although technological advances can offer better access to educational material and interactive ways to learn, it isn’t an effortless process. In order to integrate technology within the classroom effectively, from replacing traditional textbooks with iPads to smart whiteboards, structured teaching and a balance between technology and core lesson aims have to be maintained.

As the report notes, it’s too easy to forget that not everyone is tech-savvy (เข้าใจ). As a former teacher, I recall working in several schools that would furnish their classrooms with the latest sparkly product, but forget to train their staff in its use, or assist them in ways to integrate technology within lesson plans. A desktop computer, tablet, smartphone or gaming system takes time to understand, and for busy teachers, finding methods to use this technology to achieve a learning aim may not be so simple.

The report suggests that spending £450 million pounds a year without evidence that it is improving education is nothing more than counter-productive. Instead of “fetishising (เครื่องราง) the latest kit“, Nesta says that teachers should make better use of what they already have.

In addition, the researchers say that many businesses are offering only “superficial (เพียงผิวเผิน)” benefits to learning, and too many apps and digital games are used to sugar-coat dull and misdirected lessons.

However, teachers also need support, and must become “confident users of digital technology in order to deal with (ขับเคี่ยว) the complexity and safety of digital tools.” Rather than using technology in an isolated way — only for tablets to be returned to the cupboard (ตู้อาหาร) after a lesson ends — it should act as a conduit (รางน้ำ) to keep learning going outside of school. By using the Internet to keep a learning network open and accessible, “social” tools, cloud computing and online groups could result in more effective teaching.

Rather than leaving millions of pounds’ worth of equipment “languish (เหี่ยวเฉา)  unused or underused in school cupboards”, the researchers suggest that in a time where economic problems are causing educational cutbacks, technology should serve as a tool rather than a distraction (เครื่องล่อใจ). Instead of giving in to the “hype” of digital learning, schools should reconsider how technology can serve as method to boost (ส่งเสริม)  education — rather than a way to make ineffective teaching methods look innovative and exciting.

#share in my facebook page
ที่อังกฤษพึ่งรู้ว่าการใช้ไอทีในโรงเรียน ไม่ใช่เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเท่าที่คาด เขาคิดว่าเสียเงินมากไปเมื่อเทียบกับผล แต่ผมว่ามีการหมุนเวียนของงบประมาณไปที่บริษัทไอที
The English know how to do it in schools is not only powerful tools that expect him to lose much thought when compared with the results, but I have a turnover of budget to it.
+ http://www.zdnet.com/uk-schools-waste-millions-a-year-on-useless-gadgets-7000007520/

+ http://www.zdnet.com/meet-the-team/uk/charlie.osborne/

ประเด็นที่ 2 .. ปัญหาของ online course
ผู้จัดการเรียนการสอนออนไลน์ในต่างประเทศกังวลเรื่องการควบคุมการโกง แล้วพบมาแล้วว่าเทคนิคการโกงจากการเรียนผ่าน online course มีดังนี้
1. บทความขโมยความคิด (plagiarized essays)
2. ร่วมกันทำข้อสอบ (illicitly collaborated on exams)
3. โพสออนไลน์ (posted solutions to test questions online)
4. ส่งคำตอบให้เพื่อน (emailed answers to classmates)
+ http://nation.time.com/2012/11/19/mooc-brigade-can-online-courses-keep-students-from-cheating/
“We need to be sure that the student who took the course is indeed who they say they are—that they did all the work,” said edX President Anant Agarwal. “That’s a real problem for MOOCs.”
MOOCs = Massive Open Online Courses

ประเด็นที่ 3 .. คำแนะนำต่อผู้กำหนดนโยบาย
5 บทเรียนสำหรับผู้กำหนดนโยบาย (Five lessons for education policymakers)
1. ไม่ใช่มายากล ต้องใช้งบประมาณ (There are no magic bullets)
2. ยอมรับครู (Respect teachers)
3. วัฒนธรรมไปร่วมกับการศึกษา (Culture can be changed)
4. พ่อแม่ต้องไม่เป็นอุปสรรค (Parents are neither impediments to nor saviours of education)
5. การศึกษาไม่ใช่อนาคต แต่เป็นปัจจุบัน (Educate for the future, not just the present)
http://thelearningcurve.pearson.com/the-report/executive-summary

ประเด็นที่ 4 .. แนะนำเกมขยับกันหน่อย (ต.ย.เกมบน android)

x-runner for android
x-runner for android

https://play.google.com/store/apps/details?id=com.droidhen.game.xrunner.apps

http://thaidroid-appvisor.blogspot.com/2012/10/x-runner.html

ข่าวบริการวิชาการ ณ โรงเรียนวัดหัวฝาย

โรงเรียนวัดหัวฝาย ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง
โรงเรียนวัดหัวฝาย ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง

6 ธ.ค.55 ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่น และนายศุกร์ ไทยธนสุกานต์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ร่วมกันจัดกิจกรรมบริการวิชาการเรื่อง การใช้ Social Media สำหรับเยาวชน โดยมี ผศ.บุรินทร์  รุจจนพันธุ์ และ อ.เกศริน อินเพลา นำนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำกิจกรรม ณ โรงเรียนวัดหัวฝาย ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง โดยมี ผอ.พีระพงษ์  ลี้ตระกูล ให้การสนับสนุนนำนักเรียนระดับประถมศึกษาเข้าเรียนรู้ในห้องคอมพิวเตอร์ของโรงเรียน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม 2555 เวลา 13.00น. – 15.00น.

โรงเรียนวัดหัวฝาย ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง
โรงเรียนวัดหัวฝาย ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง

นักศึกษาทั้ง 7 คน
นักศึกษาทั้ง 7 คน

นักศึกษา : อาสา ภสุ บอลอุดร บอลน่าน ขุน อ๋อง ตี้

fedora os practice ตอนที่ 1

linux ranking
linux ranking

http://royal.pingdom.com/2011/11/23/ubuntu-linux-losing-popularity-fast-new-unity-interface-to-blame/

มีโอกาสพูดคุยกับนักศึกษาเรื่อง Operating System
หัวข้อ Linux แล้วผมก็ยกตัวอย่างของ Fedora ซึ่งมีรายละเอียดใน
http://fedora.redhat.com/
ซึ่งชื่อ fedora เกิดหลังจากบริษัท redhat ต้องแยกเรื่อง commercial กับ free
โดยกำเนิดของ linux นั้น เริ่มตำนานโดย  ลินุส โตร์วัลดส์ (Linus Torvalds)
ซึ่งเป็นผู้พัฒนา เคอร์เนลเป็นคนแรก (kernel) แล้วสื่อสารผ่าน usenet news
http://en.wikipedia.org/wiki/Linux
จนเกิดกระแสพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนเกิด linux ขึ้นมาอีกมากมาย
ในแบบ  OSDN : Open source development network
งานของ kernel มีหลายอย่างที่สำคัญโดยเฉพาะระบบแฟ้มแบบ
ext2, ext3 แต่ของ windows ใช้ ntfs, fat, fat32
การติดตั้ง (install) มีพัฒนาการเรื่อยมา อาทิ
live cd, flash drive ถ้าเป็นของ fedora จะมี liveusb creator
https://fedorahosted.org/liveusb-creator/
ซึ่งผมได้ติดตั้ง fedora ไว้ในเครื่องแล้ว share ให้นักศึกษาเข้าใช้ โดยมีบทเรียนดังนี้
บันทึก lecture note
1. สร้างผู้ใช้
# useradd pasu
# passwd pasu

2. download putty
แล้ว connect ผ่าน ssh หรือ telnet
host: 172.70.1.83
secure shell
sniffer
$
# su
8 + A + a + 3 + #

3. เนื้อหาเกี่ยวกับคำสั่งบน linux ที่เรียนรู้ด้วยตนเอง
http://www.thaiall.com/isinthai

4. แสดงรายการแฟ้ม
ls, ls -al, man ls
hidden file: have . in front of file name

5. เกี่ยวกับ folder และ home
cd /, pwd, cd
/etc
/home
/sbin
/lib
cd /etc

6. ดูข้อมูลบุคคล และกลุ่ม
cat passwd
cat group
id pasu

7. แสดงประวัติการเข้าใช้งาน ว่าใครใช้อยู่
last
last |grep napat
DoS : Deny of Service

8. ตรวจสอบการทำงานของเครื่องว่าใช้ทรัพยากรอย่างไร
top

9. ตรวจ process ที่กำลังประมวลผล
ps -aux | more
ps -aux | grep sansika

linux distribution ranking
linux distribution ranking

http://agilecat.tumblr.com/post/13209065788/ubuntu-linux-losing-popularity-fast-new-unity

มอบหมาย : ให้นักศึกษาทำ liveusb ของ fedora มาคนละตัว แล้วมาแสดงให้ดูในชั้นเรียนครั้งต่อไป
https://fedorahosted.org/liveusb-creator/
http://www.thaiall.com/blog/burin/3409/

แนวทางการแก้ไขนักเรียนที่ติด 0,ร,มส

in complete
in complete

แนวทางการแก้ไขนักเรียนที่ติด 0,ร,มส ด้วยวิธีการสอนซ่อมเสริมและกระบวนการติดตามผล เนื่องจากในแต่และภาคเรียนมีนักเรียนที่ติด 0, ร, มส  จำนวนมาก โรงเรียนได้จัดสอบแก้ตัว 2 ครั้ง แต่ยังมีนักเรียนอีกหลายคนสอบแก้ตัวไม่ผ่าน หรือไม่ดำเนินการสอบแก้ตัว จึงทำให้นักเรียนเหล่านั้นไม่สามารถจบหลักสูตรได้ ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว งานวัดผลจึงกำหนดขั้นตอนและแนวทางการสอบแก้ตัวของนักเรียนที่ติด 0 , ร , มส ตามแนวทางของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประเมินผลการเรียน ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533) และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประเมินผลการเรียน ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายพุทธศักราช 2524 (ฉบับปรับปรุง 2533) ซึ่งกำหนดแนวทางการเปลี่ยนระดับผลการเรียน “0” โดยให้สถานศึกษาจัดสอนซ่อมเสริมในจุดประสงค์ที่ผู้เรียนสอบไม่ผ่านก่อน แล้วจึงสอบแก้ตัวและให้สอบแก้ตัวได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ทั้งนี้ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นในภาคเรียนถัดไป ถ้าผู้เรียนไม่มาดำเนินการสอบแก้ตัวตามระยะเวลาที่กำหนดไว้นี้ ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าสถานศึกษาที่จะพิจารณาขยายเวลาการแก้ “0” ออกไปอีกหนึ่งภาคเรียน เพื่อให้วิธีการดังกล่าวปฏิบัติได้จริง มีผลดีต่อนักเรียนช่วยลดจำนวนติด “0” ให้น้อยลง จึงกำหนดแนวทางของโรงเรียนดังนี้

แนวทางการแก้ “0”
1. การแก้  “0”  ครั้งที่ 1  ให้อาจารย์ประจำวิชาสอนซ่อมเสริมในจุดประสงค์ที่นักเรียนสอบไม่ผ่านโดยใช้เวลาในคาบที่ 8 หรือ ในวันหยุด โดยใช้ระยะเวลาในการซ่อม 1 เดือน แล้วให้บันทึกผลการสอนซ่อมเสริมและผลการสอบซ่อมตามแบบที่ฝ่ายวัดผลกำหนด
2. ถ้านักเรียนสอบซ่อมครั้งที่ 1 ไม่ผ่านหรือไม่ดำเนินการสอบซ่อม ให้นักเรียนลงทะเบียนสอบซ่อมใหม่ โดยนำผู้ปกครองมารับทราบปัญหาและวิธีการสอบซ่อมในครั้งที่ 2
3. การแก้ “0” ครั้งที่ 2  ให้อาจารย์ประจำวิชาสอนซ่อมเสริมในจุดประสงค์ที่นักเรียนยังสอบไม่ผ่านโดยใช้เวลาในคาบที่ 8 หรือในวันหยุด ใช้ระยะเวลาในการสอนซ่อมเสริมและสอบซ่อมให้เสร็จสิ้นก่อนการสอบปลายภาคเรียนนั้นๆ ทั้งนี้การสอนซ่อมเสริมและสอบซ่อมต้องให้ผู้ปกครองนักเรียนรับทราบ และให้มีบันทึกผลการสอนซ่อมเสริมและผลการสอบซ่อม
4. หากดำเนินการสอบซ่อมทั้ง 2 ครั้ง หรือเลยเวลาสอบซ่อมที่โรงเรียนกำหนด แต่นักเรียนไม่สามารถแก้ “0” ได้ และเป็นรายวิชาที่จะทำให้ไม่จบหลักสูตรจะต้องกลับไปเรียนซ้ำชั้นใหม่

สาเหตุการให้ผลการเรียน “ร”
1. ผู้เรียนไม่ได้วัดผลกลางภาคเรียนหรือปลายภาคเรียน (กลางภาคควรดำเนินการได้ก่อน)
2. ผู้เรียนไม่ได้รับการประเมินผลตามจุประประสงค์การเรียนรู้ ในช่องของคะแนนวัดผลระหว่างเรียน รวมกันตั้งแต่ร้อยละ 20 ของคะแนนรวมทั้งหมด
3. ผู้เรียนไม่ส่งงานชิ้นสำคัญของรายวิชานั้น
กรณีที่ 3 ให้ “ร” เพราะไม่ส่งงานชิ้นสำคัญที่มีคะแนนไม่ถึงร้อย 20 ของคะแนนทั้งหมด ต้องขออนุมัติจากผู้หัวหน้าสถานศึกษาก่อน

แนวทางการแก้ “ร”
การเปลี่ยนผลการเรียน “ร” ให้กระทำให้เสร็จสิ้นภายในเดือนแรกของภาคเรียนถัดไป ถ้านักเรียนแก้ “ร” แล้วเป็น “0” ให้ดำเนินการเช่นเดียวกับการแก้ “0” และให้เสร็จในภาคเรียนเดียวกัน  ถ้าผู้เรียนไม่มาดำเนินการแก้ “ ร ” ภายในเดือนแรกของภาคถัดไปนั้นให้แจ้งผู้ปกครองรับทราบเพื่อแก้ปัญหาต่อไป

แนวทางการแก้ “มส”
แนวทางการแก้ “มส” ที่มีเวลาเรียนไม่ครบ 80% ให้ครูประจำวิชาสอนเพิ่มเติมในคาบเรียนที่ 8 หรือชั่วโมงซ่อมเสริม หรือเวลาว่าง หรือวันหยุด หรือมอบหมายงานให้ทำจนมีเวลาครบตามที่กำหนดไว้ในรายวิชานั้น แล้วจึงดำเนินการสอบแก้ “มส” ผลการสอบแก้ “มส” ให้ได้ระดับผลการเรียนไม่เกิน “1” และดำเนินการให้เสร็จสิ้นในภาคเรียนถัดไป ถ้าผู้เรียนไม่มาดำเนินการแก้ “มส” ตามระยะเวลาที่โรงเรียนกำหนดให้เรียนซ้ำ ยกเว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าสถานศึกษาที่จะขยายเวลาการแก้ “มส” ออกไปอีก 1 ภาคเรียนแต่เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วให้เรียนซ้ำ หรือให้เปลี่ยนรายวิชาใหม่ในกรณีที่ไม่ใช่วิชาบังคับจบ ถ้านักเรียน แก้ “มส” แล้ว เป็น “0” ให้ดำเนินการเช่นเดียวกับการแก้ “0” ถ้าแก้ไม่ทันให้ขยายเวลาไปอีก 1 ภาคเรียน

ข้อมูลจาก http://gpa.tmk.ac.th/downlode/evalution3.htm
http://www.thairath.co.th/content/edu/111241
http://www.sw-sch.net/new_www/text/11.doc

student group in moodle e-learning system

student group in moodle
student group in moodle
moodle เป็นระบบ e-learning ที่รองรับระบบกลุ่ม สามารถจัดกลุ่มนักศึกษา (group) ในกรณีใช้ course เดียว แต่มีนักศึกษาหลายกลุ่ม (multi group) ได้ หากไม่จัดเป็น multi group ก็จะมีปัญหาเรื่องข้อมูลอย่างแน่นอน ดังนั้นจึงต้อง edit course settings แล้วกำหนด Group mode เป็น Separate groups และ Force group mode เป็น yes
การเปลี่ยน properties ข้างต้น มีผลให้การเข้าดูผลการเรียน หรือการบ้านของนักศึกษาในแต่ละกลุ่ม จะปรากฎตัวเลือก Separate groups ให้เลือกได้ว่าจะทำงานกับกลุ่มใด ซึ่งเหมาะกับวิชาที่เปิดให้นักศึกษาต่างกลุ่ม หรือต่างปี สามารถเข้ามาเรียนรู้การพัฒนาการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นได้ แต่สิ่งสำคัญ คือ เนื้อหาต้องไม่ต่างไปจากเดิมมากนัก จึงเหมาะกับกลุ่มที่รับเนื้อหา content ใกล้เคียงกัน และกรณีของผมก็ไม่ได้ปรับ content มากนัก ในความต่างของกลุ่มที่เกิดขึ้น จึงใช้แนวนี้ได้

แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา 4 ปี : 2551 – 2554

จำนวนประชากร 18 - 24 ปี
จำนวนประชากร 18 - 24 ปี

มีโอกาสอ่านคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปี 2554 – 2556 โดยสำนักงานมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา ม.เนชั่น หน้า 43 ระบุในเกณฑ์ที่ 1.1.1 ว่า การจัดแผนกลยุทธ์ให้มีความสอดคล้องกับ แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2551-2554) ซึ่งแผนนี้จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มี 49 หน้า แบ่งได้ 5 บท

บทที่ 1 ภาพอนาคตที่จะมีผลกระทบต่ออุดมศึกษาไทย
บทที่  2 ผลการดำาเนินงานในช่วงแผนพัฒนาการศึกษา
บทที่  3 วิสัยทัศน์ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์
บทท  4 สรุปเป้าหมายการรับนกศกษาเข้าใหม่ นักศึกษารวมทั้งหมด
บทท  5 การแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผล

ในบทที่ 3 มี วิสัยทัศน์ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ โดยวิสัยทัศน์มี 2 วงเล็บ ส่วนเป้าหมายมี 2 แบบ คือ แบบแรกมี 4 วงเล็บ แบบสองมี 11 วงเล็บ ส่วนยุทธศาสตร์มี 5 ข้อ แต่ละข้อแบ่งเป็นเป้าหมาย และมาตรการ อย่างชัดเจน ในบทที่ 4 จะมุ่งประเด็นที่เป้าหมายรับนักศึกษา ซึ่งจำแนกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีเป้าหมายการรับนักศึกษาลดลง แต่อีก 2 กลุ่มที่เหลือมีเพิ่มขึ้น

กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีเป้าหมายการรับนักศึกษาลดลง
กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีเป้าหมายการรับนักศึกษาลดลง

รายละเอียด ที่ http://www.thaiall.com/pdf/he_plan_10_2551_2554.pdf

กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี : 2551 – 2565

กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี : 2551 - 2565
กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี : 2551 - 2565

จากในคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2554 – 2556 (Quality Assurance Manual) ที่จัดทำโดยสำนักงานมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่น หน้า 43 ระบุเกณฑ์คุณภาพ ตัวที่ 1.1.1 ว่า การจัดแผนกลยุทธ์ให้มีความสอดคล้องกับ กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบัยที่ 2 (พ.ศ.2551 – 2565) โดยกรอบแผนนี้ลงวันที่ 30 กันยายน 2550 มี 72 หน้า เนื้อหาตั้งแต่หน้า 12 – 63 แบ่งออกเป็นข้อได้ถึง 178 ข้อ .. ผมยังอ่านไม่จบเลย แล้วข้อไหนก็เขียนดี รู้สึกดีกับประเทศของเราทุกข้อ
รายละเอียด ที่ http://www.thaiall.com/pdf/he_frame_2_2551_2556.pdf