#เล่าสู่กันฟัง 63-062 เสรีภาพ ใต้เงา โควิต-19

มีการพูดถึงมากมายเรื่องเสรีภาพในการเรียน
เสรีภาพในการทำงาน
ความปลอดภัยในชีวิต และสุขภาพ
ภายใต้สถานการณ์โควิต-19 ระบาด

ทันทีที่ได้เสรีภาพทุกคนจะทำตาม
ความมุ่งหวังเฉพาะตน
ออกเดินทางท่องเที่ยวกันเยอะ
แต่ ณ เวลานี้ ต้อง อยู่บ้านช่วยชาติ
เหมือนคำว่า #อยากเรียนต้องได้เรียน
#อยากหยุดโรคระบาดต้องอยู่บ้าน
เป็นอะไรที่เข้าใจง่ายมาก ๆ
เหมือนอย่าทำผิดทั้งทางแพ่ง และอาญา
แจ่ทุกวันนี้กระแสบอกว่าคุกเต็มมานานแล้ว

เท่าที่รู้คนรอบ ๆ ตัวผม
คิดว่า สุขภาพ สำคัญกว่าเสรีภาพ ทั้งนั้น
แต่ในข่าวเค้าว่ามีคนที่คิดต่าง ก็ไม่รู้ใครคิดต่างบ้างนะเออ
ก็หวังแต่ว่าจะรอดพ้นไวรัสตัวนี้ไปอีกนานแสนนานกับเค้าอีกคน
https://siamrath.co.th/n/144215

#เล่าสู่กันฟัง 63-061 เล่าในรูปแบบภาษา Markdown

เชื่อว่าหลังปี ค.ศ. 2020 โลกแห่งการบอกเล่าเรื่องราว (Story Telling) อย่างมีรูปแบบ (Formatting) มีแนวโน้มใช้ภาษา Markdown กันมากขึ้น เพราะเขียนเล่าเรื่องได้ง่าย (Lightweight Format) นำไปใช้ต่อได้หลากหลายรูปแบบ พบการใช้งานใน github.com และ facebook.com และ wordpress.com มีรูปแบบพื้นฐานให้ใช้งาน สำหรับแปลงเป็นภาษาเอชทีเอ็มแอลได้ทันที อาทิ กำหนดส่วนหัวหลายระดับ เขียนลำดับข้อมูล ลำดับหัวข้อ ทำย่อหน้าได้ อ้างอิงคำพูด (Block Quote) เป็นต้น

ผลจากวิกฤตไวรัสโควิด-19 ทำให้พฤติกรรมการทำงาน การเรียน การใช้ชีวิต เปลี่ยนไปเป็น Work From Home (WFH) หรือ Learn From Home (LFH) กันมากขึ้น การบอกเล่าผ่านการเขียน (Writing) จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากขึ้น และน่าจะมีแนวโน้มสื่อสารผ่านการเขียนเพิ่มขึ้น การเขียนที่มีรูปแบบ (Format) ย่อมสื่อสารเนื้อหา (Content) ให้เข้าใจได้ง่ายกว่าการเขียนที่ไม่มีรูปแบบ (No format) และนำไปแปลงร่างเป็นรูปแบบอื่นได้ยากกว่า (Transform)

รูปแบบ Markdown สามารถแปลงไปเป็นเว็บเพจให้เข้าใจได้ง่าย (Webpage .html) ผ่าน Parsedown.php หรือแปลงไปเป็น PDF หรือ Powerpoint สำหรับการใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน ด้วยโปรแกรมช่วยแปลง (Converter) คือ โปรแกรม Marp หรือ Pandoc ที่ทำให้การแปลงร่างจากเนื้อหาภาษา Markdown ไปเป็น PPTX เพื่อใช้สื่อนำเสนอในห้องเรียนทำได้อย่างรวดเร็ว โดยโฮมเพจหน้านี้ ผมได้รวบรวมหัวข้อที่น่าสนใจ และนำเสนอผ่าน Webpage แล้วเป้าหมายต่อไปคือการแปลงร่างเป็น Powerpoint ซึ่งจะพบร่องรอยผลงานมาให้ดาวน์โหลดส่วนหนึ่ง

#เล่าสู่กันฟัง 63-060 หุ่นยนต์จะมาทดแทนแรงงานที่ขาดหาย

ต่อไป อาจไม่พบครูกับนักเรียน
นั่งสอนในห้องเรียนที่มีนักเรียนสุมกัน
เป็น 10 เป็น 100
เรากำลังเข้าสู่ยุค #สอนออนไลน์ #ทำงานจากบ้าน
ด้วยแรงขับทรงพลังเหนือคณานับ
นั่นคือ #covid-19 ชื่อโรคเมื่อปีที่แล้ว
แต่ส่ง และทรงอิทธิพลอาจยาวไปชั่วกาล
หากเชื้อพัฒนาต่อไป จนเป็นโรคประจำถิ่นแบบไข้หวัดใหญ่
หรือไข้เลือดออก ก็อาจลดจำนวนและอายุเฉลี่ยของประชากรได้
หายกลายพันธุ์ตามข่าวต่อเนื่อง
ทางรอดต้องคงยึดคาถา #อยู่บ้านเพื่อตนเอง
รักษา social distancing เพื่อวันพรุ่งนี้
แล้วจะเกิด #ห้องเรียนแห่งอนาคต ขึ้นจริงจัง
เพียงชั่วข้ามปี ไม่ได้วิวัฒน์กันข้ามชีวิตอีกแล้ว
เพราะ “ไวรัสทำให้แรงงานมนุษย์ต้องเก็บตัวอยู่ในบ้าน”

คุยกับนิสิต เรื่องการสอนแบบ #ใส่ใจ กับ #ใส่แมส ให้เข้าใจ เตรียมใจ

เพราะในห้องเรียนก็จะมีหลายกลุ่ม
บางกลุ่มผู้สอนใส่ใจไป ผู้เรียนให้ใจกลับ
บางกลุ่มรอเรียยแบบใส่แมส เต็มรูปแบบ
คือ ฟังอย่าเดียว หรือ ฟังทางเดียว
ไม่มีโกรธที่ถูก feedback สีหน้าอารมณ์เดียวก็มี
ไม่ใช่ถามมาตอบไป ยิ้มหัวเรา โต้ตอบกัน
ก็ด้วยเงื่อนไขเรื่องจำนวน
วิธีใหม่อาจเรียกว่า write once, run anywhere

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2819753108101576&id=1125767017500202

ชวนอ่าน
COVID-19 เร่งให้ยุค “แรงงานหุ่นยนต์” มาถึงเร็วกว่าที่คาด
.
สถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 ที่ระบาดหนักในจีน ทำให้อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เติบโตขึ้นเร็วอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เพราะไวรัสทำให้แรงงานมนุษย์ต้องเก็บตัวอยู่ในบ้าน รวมถึงกฎระเบียบที่ห้ามคนสัมผัสติดต่อกัน หุ่นยนต์เลยเข้ามารับบทบาทแทนในแทบจะทุกอุตสาหกรรม
.
กลุ่มนักลงทุนคาดการณ์ว่าปีนี้จะเป็นปีที่ธุรกิจหุ่นยนต์จะแจ้งเกิดแบบเต็มตัว ประเมินว่าจะมียอดสั่งซื้อจำนวนมหาศาลในประเทศจีน โดยเฉพาะหุ่นยนต์ที่ทำงานบริการ เช่น หุ่นยนต์เสิร์ฟอาหาร หุ่นยนต์ส่งของในโรงแรม หุ่นยนต์วิ่งส่งอุปกรณ์ในโรงพยาบาล ส่งสินค้าตามบ้าน ไปจนถึงหุ่นยนต์ที่ใช้ภาคการผลิตสินค้า ทำงานในโรงงาน ปรุงอาหาร ชงเครื่องดื่ม ฯลฯ เพราะในช่วงที่มีโรคระบาดอยู่อย่างนี้ มันสามารถตอบโจทย์เรื่องสุขอนามัยได้ดีกว่าคนมาก ไม่ผิดข้อกำหนดของรัฐ ผู้ประกอบการไม่ต้องหยุดกิจการ ผู้บริโภคก็มีตัวเลือกมากขึ้น
.
ทางบริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมที่หุ่นยนต์ขายดิบขายดีที่สุดคือโรงพยาบาล โรงพยาบาลหลายแห่งที่ไม่เคยใช้หุ่นยนต์มาก่อนก็ถึงเวลาต้องสั่งซื้อกันขนานใหญ่ โดยเฉพาะหุ่นยนต์ที่คอยเดินฆ่าเชื้อตามพื้นที่ต่าง ๆ ด้วยรังสี UV และหุ่นยนต์ที่ส่งอาหารตามห้องผู้ป่วย ช่วยให้เจ้าหน้าที่ไม่ต้องเสี่ยง ไม่ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ป้องกันบ่อย ๆ แก้ปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์ได้ในทางหนึ่ง
.
ขณะเดียวกัน ร้านอาหารขนาดใหญ่ในจีนหลายแห่งก็เริ่มเอาหุ่นยนต์เข้ามาแทนพนักงานเสิร์ฟอย่างจริงจังแล้ว แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน แถมยังเรียกความเชื่อมั่นให้ลูกค้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งทางผู้บริหารเปิดเผยว่าก่อนหน้านี้พวกเขาก็มีแผนจะค่อย ๆ เอาหุ่นยนต์มาใช้ในร้านอยู่แล้ว แต่โควิด-19 ทำให้ต้องรีบลงมือเร็วกว่าที่คิด
.
ณ ตอนนี้ถือว่าหุ่นยนต์มีส่วนช่วยจีนอยู่มาก ในเรื่องการยับยั้งโรคระบาดพร้อมกับขับเคลื่อนเศรษฐกิจไม่ให้ชะงัก แต่ก็น่าเป็นห่วงว่าเทรนด์นี้อาจจะเปลี่ยนตลาดแรงงานจีนไปตลอด เมื่อนายจ้างลงทุนก้อนใหญ่เพื่อซื้อหุ่นยนต์มาแล้ว คุ้นเคยกับลูกจ้างหุ่นยนต์แล้ว รวมถึงลูกค้าที่ยังจะระแวงเรื่องไวรัสไปอีกพักใหญ่ ๆ หลังจากวิกฤตผ่านไป จะยังเหลือพื้นที่ให้กับแรงงานมนุษย์แค่ไหน?
.
หากนี่คือการแข่งขันระหว่าง “แรงงานคน” กับ “แรงงานหุ่นยนต์” รอบนี้ก็ต้องยอมรับว่าทีมมนุษย์เสียคะแนนไปมากทีเดียว
.
ขอบคุณข้อมูลจาก Reuters, TheStar

#เล่าสู่กันฟัง 63-059 marp กับ pandoc สร้าง pptx ในรูปแบบที่ต่างกัน

Marp นั้น สร้าง pptx ที่กำหนด theme ของตนเองได้ คุณสมบัติเพิ่มจาก markdown อยู่ไม่น้อย แต่เมื่อเป็น powerpoint จะขยับวัตถุใด ๆ บน slide ไม่ได้ เนื่องจาก output จาก marp มาเป็น pptx จะเป็นเพียงภาพ background ไม่ได้ แยกองค์ประกอบมาให้จัดการได้

ต้องใช้ pandoc ที่ทำให้ได้ pptx  เทคนิคใช้งานไม่ต่างจาก marp ที่ใช้ command line แฟ้มที่ได้นำไปเปลี่ยน theme ได้ปกติ ซึ่งรูปแบบเป็นไปตามรูปแบบของ markdown

การใช้งาน theme การสร้าง master layout ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ แต่การใช้งานกับ marp คงต้องแยกออกจากกันแล้ว แต่ใช้งาน pandoc ได้

#เล่าสู่กันฟัง 63-058 เส้นทางของ markdown จาก github สู่ php

ก่อนหน้านี้ชวนนิสิตใช้ github.com เป็นแหล่งเก็บและเผยแพร่ผลงานแบบควบคุม version ก็ชวนเขียน html ใน github.io และ readme.md ที่หน้าแรกของแต่ละ repo

ก่อนหน้านี้  ต้นเดือน มิ.ย.2018 Satya Nadella ซีอีโอของไมโครซอฟท์ ประกาศผ่านบล็อกทางการของบริษัทว่าจะเข้าซื้อ GitHub อย่างเป็นทางการ ด้วยมูลค่ากว่า 7.5 พันล้านดอลลาร์ เป็นหุ้นของไมโครซอฟท์ทั้งหมด ทำให้ github.com น่าใช้ยิ่งขึ้นไปอีกเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่บริการระบบที่ส่งเสริมการทำงานแบบ collaboration เสริม work from home ได้เป็นอย่างดี

กลับมามองเรื่องการเขียนหน้าแรกของ github เค้าใช้ภาษา markdown ที่เขียนแบบ plain text อย่างแท้จริง มองแทบไม่ออกว่านี่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ และผมมีโจทย์ที่ต้องทำ powerpoint จากข้อมูลที่มีอยู่  และต้องการใช้งานแบบ reuse  คือ ทำแล้วใช้ซ้ำได้

ค้นดูพบว่ามีการแปลง markdown ไปเป็น powerpoint แบบ desk slide พัฒนาโดยหนุ่มญี่ปุ่น มีการสร้าง  theme ด้วย scss และ convert  ผ่าน command line ด้วยโปรแกรม marp  ที่ใช้ง่าย และยังพัฒนาต่อเนื่อง

จากนั้นไปใช้ extension ของ chrome ก็พบว่าการใช้ markdown สะดวกขึ้น มีแฟ้มแล้วเปิดอ่านได้ง่าย ๆ  แบ่งตาม header เลย เป็นเครื่องมือตรวจ outline ก่อนนำไปทำ pptx, html หรือ pdf

จากนั้นไปค้นว่ามี php ช่วย convert หรือไม่ ก็พบ parsedown.php โปรแกรมที่ require เข้าไปแล้วเรียกใช้งานได้ทันที แนะนำให้ติดตั้งผ่าน composer ซึ่งน่าสนใจมาก อีกเทคนิคหนึ่ง

#เล่าสู่กันฟัง 63-056 เขียน markdown เป็น pptxเล่าสู่กันฟัง 63-056 เขียน markdown เป็น pptx

เคยอ่านบล็อก อ.สมเกียรติ ปุ๋ยสูงเนิน somkiat.cc เรื่อง “มาทำ slide และ live code ใน VS Code ดีกว่า” ท่านใช้ markdown ในมุมมองใหม่ได้อย่างน่าสนใจ

ซึ่งผมก็เห็นว่าเป็นภาษาหลักสำหรับการเล่าเรื่องใน github.com สำหรับใครที่ไม่ต้องการเพิ่มขั้นตอนด้วยการไปเขียนใน github.io ที่รองรับ html ก็จะเขียนด้วย markdown ในแฟ้ม README.md แล้วแสดงผลหน้าแรกของ repo

ภาษา markdown เขียนง่ายกว่า html มาก และน่าจะง่ายที่สุดสำหรับการสร้างข้อความหลายมิติ (hypertext) และใน blog ของท่านพูดถึงการเขียนใน vs code แล้วส่งออกเป็น slide บน powerpoint หรือ pdf

Marp

ช่วงนี้ (มี.ค.63) มี covid-19 ระบาดหนัก เริ่มเปลี่ยนการศึกษาจาก #ระบบใส่ใจ คือ สอนกันแบบถึงเนื้อถึงตัว มาเป็น #ระบบใส่แมส คือ มี social distancing ใส่เครื่องป้องกัน สอนออนไลน์ สอนแล้วมาเรียนในยามที่สะดวก เรียนได้หลายครั้ง และเรียนได้มาก แบบ mooc ถ้าคุณครูเปิดให้เรียนซ้ำ ๆ ก็จะพัฒนาไปได้ไกล และกว้าง แบบ mass media

เมื่อวางแผนการสอน แล้วก็จะเริ่มสอน การสอนแบบเห็นหน้าครูเป็นชั่วโมง นั่งพูด ยืนพูด แบบ TED คงใช้ไม่ได้กับทุกวิชา

ดังนั้น powerpoint กับ camtasia จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ในการจัดทำสื่อการสอน การเปิดให้ส่งงาน ผ่านกลุ่มเฟส และทำข้อสอบผ่าน google form ก็พูดถึงกันมาก

กลับมาที่ markdown พบว่าเป็นภาษาที่เขียนง่าย นำหัวข้อมาเรียงแยกบรรทัดใน word หรือ notepad แล้วใช้ marp แปลงเป็น pdf, png, pptx หรือ html ก็ได้ slide สำหรับเตรียมพูดหลายชั่วโมงแบบมี navigation นำทาง

ผมลองใช้ marp-cli บน command line พิมพ์คำสั่งบรรทัดเดียว ก็แปลงแฟ้ม README.md เป็น myslide.pptx พร้อมสอนได้ทันที แก้ไขก็เพียงย้อนกลับมาแก้ข้อความใน README.md หรือไปแก้ที่ myslide.pptx ก็สะดวก แล้วยังจัดการ tempate ผ่าน gaia.scss ได้ตามชอบ คนที่พัฒนา marp เค้าว่าเป็น license : mit น่าติดตาม และนำไปใช้

ปล. เมื่อคืนนอนดึกหน่อย เกือบเช้า
เพราะติดพัน กับลูกเล่น css คุม markdown
http://www.thaiall.com/markdown

#เล่าสู่กันฟัง 63-055 ขยาย meeting จาก 40 เป็นนานเท่าใดก็ได้

เพื่อนที่ทำงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง
#workfromhome
แล้วแชร์ภาพ infographic
แนะนำเครื่องมือ ที่ ม.มหิดล แนะนำมา
มีหลายแอพน่าสนใจ
หนึ่งในนั้นคือ webex
ไปอ่านต่อพบว่า ผู้พัฒนาคนเดิมออกไปทำ zoom
มีลักษญะการทำงานหลายอย่างคล้ายกัน
ที่น่าสนใจคือ ข้อจำกัดของ free account
ที่ webex พึ่งเปลี่ยนจาก 40 นาที
เป็นนานเท่าที่ต้องการ
หากไม่ต้องการคุณสมบัติอื่น webex ก็น่าสนใจ
เพราะใช้ zoom แบบฟรี
ต้องเปิดห้องใหม่ให้ reconnect กันบ่อย ๆ
ลองเทียบ และอ่านประวัติ #EricYuan

ตอนที่เค้าทำงานพัฒนา zoom ก่อน cisco ซื้อไป ทำให้นึกถึง mysql, java, mambo, geocities, sanook, โออิชิ และอีกมากมาย

#เล่าสู่กันฟัง 63-054 ใช้ ms teams สอนผ่านวิดีโอ

พบการถ่ายทอดสด
การอบรมใช้แอพพลิเคชั่นสอนออนไลน์
ของ #mfudigitalu
สอนใน 4 หัวข้อ
1. Google hangouts meet
2. Quiz ด้วย google form
3. MFU Webex
4. Microsoft teams และ Zoom
https://youtu.be/W06hHclGXI4

เพื่อนก็ชวนใช้ ms teams แต่ไม่มีบัญชี
ส่วนของ google meet ไม่มีปัญหา
เพราะองค์กรเลือกผูกบัญชีองค์กร
เข้ากับ google g suite แล้ว
แต่ ms teams ต้องไปยืมบัญชีของคนรู้จัก
เค้าให้ยืม พบว่าระบบ teams
ยอมให้ guest เข้าได้ และคนในองค์กร
ก็สั่ง recording ได้
แต่ guest มีข้อจำกัดอีกหลายเรื่อง



เล่าด้วยภาพไว้ที่
http://www.thaiall.com/msteams

#เล่าสู่กันฟัง 63-053 ทำ linebot กับ groupchat

มีที่มาจากนิสิต สนใจทำ linebot
จึงอ่านพบว่าต้องทำอย่างไร
บัญชี linebot ตัวนี้ ที่สร้างมา
ชื่อ thaiallbot ถือว่าเป็นบัญชีแยก
ถ้าคุยด้วย เค้าก็จะคุยด้วย
แต่คุยไม่เก่ง พูดกับเค้าว่า hi hello สวัสดี
เค้าก็จะตอบได้ มากกว่านี้เค้าจะเงียบ
ที่สำคัญผมจะไม่เห็ว่าเค้าคุยกับใคร
เพราะไม่ได้ทำส่วนเก็บ userId ไว้
และไม่เก็บบทสนทนาไว้เลย
https://line.me/R/ti/p/%40362lmjyg

แล้วไปสร้างกลุ่มขึ้นใหม่
ชื่อ groupchat เหมือนกลุ่มทั่วไปใน line
แต่ดึง thaiallbot เข้ากลุ่มอีกคนหนึ่ง
เคยทำให้ bot ทักคนเก่ง ทุกข้อความ
มีกลุ่มหนึ่งรำคาญ ดีด bot ออกกลุ่มเฉย
จึงต้องให้เค้าพูดคุย เฉพาะที่เค้าเข้าใจ
ตอนนี้พาเข้ากลุ่ม groupchat
เวลาใครคุยกับ thaiallbot
ผมก็จะเห็นด้วย สนใจเข้ากลุ่มนี้
เชิญเข้าผ่านลิงค์นี้ได้
https://line.me/R/ti/g/zWRplgVoIG

ถ้าคุยตัวต่อตัวกับ bot
ไม่มีใครรู้ใครเห็นครับ เพราะผมไม่เก็บ
ถ้าคุยว่า id เค้าจะตอบเป็น id ของท่าน
อย่าไปคุยที่อื่นนะครับ
เช่น ใน groupchat เพราะ bot
จะตอบเป็น userid ยาว ๆ
ที่คนเขียนโปรแกรมสามารถส่งข้อความถึงท่านได้
หากเขาทราบ userid
มีแต่เพื่อนที่เชค้าเขียน bot
ที่สนใจ id ดังนั้นอย่าพิมพ์ในกลุ่ม
เพราะ bot จะตอบเป็น id ของท่าน

#เล่าสู่กันฟัง 63-052 เปิดใช้บัญชี line bot

จำได้ว่าลูกศิษย์ชื่อ หนึ่ง CS-NTU
ทำ linebot ส่งข้อมูลรถบรรทุกเข้าออก
ให้บริษัทด้านลอจิสติกที่ลำพูนตอนฝึกงาน
กับพี่แท็กและพี่กอล์ฟ มีพี่ดูแลใกล้ชิด

วันนี้บ่าย ๆ จึงเข้าไปสมัครใช้บริการไลน์
และสร้างบัญชีสำหรับทำ linebot
และใช้บริการของ heroku.com
ที่บริการ php กับ https พอดี
เพราะเครื่องของผมไม่บริการ https

สรุปว่าใช้บริการ reply ผ่านด้วยดี
แต่ push ต้องมาแกะตัวอย่างนิดนึง
เพราะส่งข้อความถึงแต่ละคนเป็นรายไป
เพื่อให้ code เช็คไอดีได้ในอนาคต
และยกเลิกข้อความทักทายอัตโนมัติ

ข้อความที่เตรียมตอบกลับ ก็มี hi กับ สวัสดี ตอบเป็น sticker กับ text เท่านั้น และยังไม่ได้เสียตังให้เค้าครับ ใช้ฟรีอยู่

ขอเข้า line bot ได้ครับ

มี url เพื่อ add friend จาก QR ดังนี้
https://line.me/R/ti/p/%40362lmjyg