หนังสือ ผมรวยด้วยการเขียนโปรแกรมขายได้ยังไง

book
book

หนังสือ “ผมรวยด้วยการเขียนโปรแกรมขายได้ยังไง
โดย ยุทธนา ท้าวนอก


ผมได้หนังสือเล่มนี้ เมื่อวันเสาร์ที่ 29 ธ.ค.55 ตอนไปส่งครอบครัวแถวห้างเสรี แล้วไปเดินโต๋เต๋ในร้าน se-ed หนังสือเล่มนี้เป็นเล่มแรกที่หยิบออกจากชั้นมาดู เห็นว่าหลายบทน่าสนใจก็หยิบไปจ่ายตัง (295 บาท) เลย เป็นครั้งแรกที่ใช้เวลาในร้านหนังสือน้อย และตัดสินใจเร็วกว่าทุกครั้ง  คาดว่า 3 นาที
ประโยคสำคัญ ที่ทำให้ผมตัิดสินใจซื้อ คือ ผลงานของผู้เขียนชนะเลิศระดับประเทศ 2 ครั้ง ในการประกวด “Thailand ICT Awards” ซึ่งสะท้อนอะไรบ้างอย่าง จึงทำให้ผมไม่ลังเลที่จะมีหนังสือเล่มนี้ในบ้านอีกเล่ม

http://www.cargooptimizer.com/OSC/Softbiz.php?language=th

หนังสือพ็อกเกตบุ๊คความหนา 400 หน้า ที่ถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นมาของผู้ก่อตั้งกิจการ Dreamsofts Optimization ltd. part. กิจการซอฟต์แวร์ของไทยที่ก้าวไกลออกไปทั่วโลก ด้วยจำนวนลูกค้าที่มากกว่า 500 รายทั่วโลก ประสบการณ์สิบปีเต็มในการบริหารกิจการซอฟต์แวร์จนประสบความสำเร็จถูกนำมาบรรจงถ่ายทอดลงในหนังสือเล่มนี้แล้ว

ใช้เวลาเขียนถึง 1 ปีเต็ม (ม.ค. – ธ.ค. 55) เพื่อให้ได้ผลงานที่มีเนื้อหากระชับและครบถ้วนที่สุด


บทที่ 1. บทนำ

จาก คนที่มีความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรมอันน้อยนิดจนกลายมาเป็นเจ้าของกิจการ ซอฟต์แวร์ที่สามารถขายผลงานได้ทั่วโลก มีรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ 2 รางวัลเป็นเครื่องยืนยันคุณภาพ ซึ่งกว่าผมจะมาถึงจุดนี้ได้มีองค์ประกอบหลายๆอย่างที่เป็นส่วนช่วยเสริมและ ผลักดันให้ผมประสบความสำเร็จได้ แต่จุดเปลี่ยนหลักๆที่ทำให้ผมมาถึงจุดนี้ได้คือการเปลี่ยนตัวเองจาก โปรแกรมเมอร์มาเป็นนักธุรกิจซอฟต์แวร์

รู้จักกันก่อน
มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับซอฟต์แวร์กันอีกนิด
จากโปรแกรมเมอร์มาเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์และกลายมาเป็นนักธุรกิจ
ไม่ต้องเขียนโปรแกรมเก่งมาก แต่ต้องรู้จักคำว่าจุดขาย
กว่าจะเป็น Dreamsofts
เรียนตอนไหนก็ได้ จบมาก็ต้องหางานทำอยู่ดี
กลับมาเรียนดีกว่า พอแล้วงานมันหนัก

ขายได้ตั้งสามพันห้า
ได้หน้าแต่ไม่ได้เงิน
วันนี้ที่รอคอย

ลูกค้าของ Dreamsofts
ผลของ Dreamsofts

โปรแกรมคำนวณการจัดเรียงสินค้าใส่คอนเทนเนอร์
โปรแกรมคำนวณการตัดชิ้นงาน 1 และ 2 มิติ
โปรแกรมออกแบบบรรจุภัณฑ์แบบ 3 มิติ
โปรแกรมสร้างภาพโมเสค
เกมหวย[หนทางรวยหรือจน]

มาตกลงกันก่อนไปต่อ


บทที่ 2. การพัฒนาโปรแกรมให้มีคุณภาพ

ผมจะมาเล่าการคัดเลือกโปรแกรมที่มีจุดขายเพื่อนำมาพัฒนา รวมถึงขั้นตอนในการพัฒนา เพื่อที่คุณจะได้รู้จักการพัฒนาผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ

พัฒนาโปรแกรมอะไรดี?

เลือกโปรแกรมที่เราเข้าใจระบบและสามารถพัฒนาได้
เลือกเป้าหมายของโปรแกรมในเชิงธุรกิจ
จุดขายของโปรแกรม
โปรแกรมที่มีกลุ่มเป้าหมายใหญ่ที่สุด

ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม

1. ศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโปรแกรม
2. วิเคราะห์ระบบเพื่อกำหนดความสามารถของผลิตภัณฑ์
3. ออกแบบระบบเพื่อใช้ในการพัฒนา
4. พัฒนาโปรแกรม
5. ทดสอบและประเมินผล
6. ทำการผลิต
7. แจกจ่ายและสนับสนุน


บทที่ 3. ส่วนประกอบเสริมโปรแกรม

ถ้าคุณคิดว่าการทำธุรกิจซอฟต์แวร์มีเพียงการพัฒนาให้โปรแกรมทำงานได้เท่านั้นแล้วล่ะก็ คุณคิดผิดแล้วล่ะครับ เพราะยังมีส่วนประกอบเสริมอื่นๆ ที่จะทำให้ซอฟต์แวร์ของเรา ดูมีคุณภาพและขายได้ เรามาดูกันซิว่ามีอะไรบ้าง

ตัวโปรแกรม

ข้อมูลโปรแกรม
มาตรฐานที่โปรแกรมควรจะต้องมี
รุ่นของโปรแกรม

การป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์

ดีคอมไพล์
ดีบั๊ก
ผลิตภัณฑ์สำหรับป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์

ส่วนเสริมโปรแกรม

เนื้อหาที่ควรมีในส่วนเสริมโปรแกรม
ไฟล์ช่วยเหลือ

ไฟล์ติดตั้ง (Installation File)

โปรแกรมที่ใช้สร้างไฟล์ติดตั้ง
บรรจุภัณฑ์
สื่อจัดเก็บไฟล์ทั้งหมด
กล่องใส่แผ่น
กล่องใส่สินค้า


บทที่ 4. การตั้งราคาขาย

โปรแกรม ที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์อาจจะไม่ใช่เหตุผลหลักที่ทำให้โปรแกรมนั้นขายได้ ราคาของโปรแกรมเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ผู้ซื้อใช้พิจารณา เราจะมาศึกษาถึงการตั้งราคาขายที่จะทำให้โปรแกรมของเราขายได้ง่ายและมีกำไร มากที่สุด

ตั้งราคาขายยังไงไม่ให้ขาดทุน

ต้นทุนสินค้า
วิธีตั้งราคาขาย
แยกย่อยรุ่นสินค้า
ค่าใช้จ่ายเสริม

ภาษี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

วิธีการชำระเงิน
การตั้งราคาสำหรับต่างประเทศ


บทที่ 5. เว็บไซต์สำหรับขายซอฟต์แวร์

สินค้า ดีก็ต้องมีหน้าร้านเพื่อวางจำหน่าย การมีเว็บไซต์ก็เปรียบเสมือนมีหน้าร้านสำหรับธุรกิจซอฟต์แวร์ คุณคิดว่าเว็บไซต์สำหรับขายซอฟต์แวร์ควรจะมีอะไรอยู่ในนั้นบ้าง ผมจะมาบอกถึงการตั้งชื่อเว็บไซต์ รายละเอียดภายในเว็บไซต์รวมไปจนถึงส่วนเสริมในการทำให้เว็บไซต์ของเราเป็น เว็บไซต์ที่เหมาะกับการขายซอฟต์แวร์จริงๆ

การพัฒนาเว็บไซต์
โดเมนเนม

ประเภทของโดเมนเนม
การจดโดเมนเนม
คำแนะนำเกี่ยวกับโดเมนเนม

โฮสต์

ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับโฮสต์
การเช่าโฮสต์
เว็บฝากไฟล์

การส่งเว็บไซต์เข้าสู่โฮสต์

ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับโฮสต์
การเช่าโฮสต์
เว็บฝากไฟล์

สิ่งที่ควรมีในเว็บไซต์

รองรับหลายภาษา
ระบบสมาชิก
รายละเอียดสินค้า
ดาวน์โหลด
ราคา
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการจัดส่ง
ส่วนส่งเสริมการขาย
ลูกค้าอ้างอิง
คำรับรองจากผู้ใช้งาน
รางวัล
ประชาสัมพันธ์
คำถามที่ถามบ่อย
สนับสนุนการใช้งาน
ข้อมูลการติดต่อ
ความน่าเชื่อถือ
ส่วนเสริมในเว็บไซต์


บทที่ 6. จำหน่ายซอฟต์แวร์สำหรับต่างประเทศ

ถ้า ซอฟต์แวร์ของคุณมีความเหมาะสมที่จะจำหน่ายออกสู่ต่างประเทศได้ คุณอาจจะยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นที่ตรงไหนดี ผมมีขั้นตอนและประสบการณ์อันมีค่าเกี่ยวกับการจำหน่ายซอฟต์แวร์ให้กับต่าง ประเทศมาเล่าให้คุณผู้อ่านได้นำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติได้

ข้อควรรู้เกี่ยวกับซอฟต์แวร์สำหรับต่างประเทศ
วิธีการชำระเงิน

บัตรเครดิต
โอนเงินระหว่างประเทศ
PayPal
ผู้ให้บริการรับและส่งเงินระหว่างประเทศ

วิธีการจัดส่ง

การจัดส่งสินค้าแบบออนไลน์
การจัดส่งสินค้าแบบออฟไลน์

บริการตัวกลางในการขายซอฟต์แวร์
share-it! เครื่องมือชั้นดีในการขายซอฟต์แวร์

การสมัครเพื่อใช้บริการของ share-it!
การยอมรับข้อตกลงการเป็นผู้ขายของ share-it!
การแจ้งข้อมูลบัญชีธนาคารสำหรับรับเงินจาก share-it!
การเพิ่มข้อมูลสินค้าเข้าสู่ระบบ
รายการส่งเสริมการขายโดยใช้ coupon code
เครือข่ายการตลาดของ share-it!
ผู้ช่วยขายผ่านระบบ Affiliate ของ share-it!


บทที่ 7. คุณรู้ไหม? ลูกค้าของคุณคือใคร

สินค้าดีก็มีแล้ว หน้าร้านก็มีแล้ว เหลือแต่การเรียกลูกค้าเข้ามาในร้าน แล้วลูกค้าของเราคือใครล่ะพวกเขาเหล่านั้นอยู่ที่ไหนกันบ้าง? เราจะหาข้อมูลของพวกเขาได้อย่างไร? และเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วมีวิธีการติดต่อลูกค้าอย่างไรบ้าง? มาพบคำตอบของคำถามเหล่านี้ในบทนี้กัน

สินค้าของเรามีประโยชน์อย่างไร
ใครคือลูกค้าของเรา?
เราจะหาข้อมูลลูกค้าจากที่ไหน?
เราสามารถติดต่อลูกค้าได้ทางใดบ้าง

การติดต่อทางตรง
การติดต่อทางอ้อม


บทที่ 8. มาเรียกลูกค้าเข้าเว็บไซต์กันเถอะ

เมื่อเรารู้จักข้อมูลการติดต่อของลูกค้าและสถานที่ๆลูกค้ารวมตัวกันอยู่มากแล้ว เราจะมีวิธีการเรียกให้เขามาเข้าเว็บไซต์ของเราอย่างไร? มาพบคำตอบของคำถามเหล่านี้ในบทนี้กัน

ส่งโปรแกรมเข้าเว็บดาวน์โหลดซอฟต์แวร์
PAD สิ่งมหัศจรรย์สำหรับการตลาดซอฟต์แวร์

PAD คืออะไร?
การสร้าง PAD
เว็บไซต์ที่รองรับ PAD
การส่งข้อมูลเข้าเว็บไซต์ดาวน์โหลดโปรแกรมด้วย PAD
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ PAD

การใช้เสิร์ชเอนจิ้นในการตลาด

การส่งข้อมูลเว็บไซต์เข้าเสิร์ชเอนจิ้น
ลงโฆษณากับเสิร์ชเอนจิ้น
ทำการปรับปรุงเว็บไซต์ด้วย SEO

ส่งโปรแกรมเข้าเว็บท่าและเว็บไซต์สำหรับขายสินค้า
การแลกลิงก์

บทที่ 9. การส่งเสริมการขาย

เมื่อเราเรียกลูกค้าให้เข้ามายังเว็บไซต์ของเราได้แล้ว เราจะมีวิธีการใดที่จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อโปรแกรมของเราได้เร็วที่สุด? การส่งเสริมการขายเป็นคำตอบของคำถามนี้ครับ

ข้อเสนอพิเศษ

การลดราคา
การแลกซื้อ
การแจกสินค้า
การแถม
การขายพ่วง
ส่วนลดตามจำนวน

ข้อจำกัดของข้อเสนอพิเศษ

จำนวนสิทธิ์
ระยะเวลาในการได้รับสิทธิ์
ประเภทของลูกค้าที่ได้รับสิทธิ์

รายการส่งเสริมการขาย
คำแนะนำเรื่องการส่งเสริมการขาย

บทที่ 10 ความรู้ในการทำระบบควบคุมลิขสิทธิ์เบื้องต้น

คุณอาจจะยินดีมากๆ ที่โปรแกรมของคุณเป็นที่นิยมจนได้รับการกล่าวขานไปทั่ว แต่พอมาดูยอดขายแล้วกลับพบสิ่งที่ตรงกันข้าม เกิดอะไรขึ้น? มันน่าจะทำเงินให้คุณมากกว่านี้สิ และแล้วคุณก็พบว่าโปรแกรมที่คุณขายไปหนึ่ง แต่กับมีผู้ร่วมใช้งานเป็นร้อย วิธีป้องกันขั้นพื้นฐานสำหรับปัญหานี้เป็นสิ่งที่คุณควรจะรู้และผมกำลังจะบอกครับ

การควบคุมสิทธิ์การใช้งานซอฟต์แวร์
หลักการควบคุมลิขสิทธิ์การใช้งานขั้นพื้นฐาน

รหัสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ (Machine code)
ข้อมูลการใช้งาน
รหัสปลดล็อค (License code)
การทำงานของระบบควบคุมลิขสิทธิ์
ระบบการลงทะเบียน
การบังคับปิด

การทำให้ระบบควบคุมลิขสิทธิ์ของเราซับซ้อนยิ่งขึ้น

การบีบอัดข้อมูล
การเข้ารหัสข้อมูล
การเพิ่มรหัสตรวจสอบ
การเขียนและอ่านข้อมูลในสถานที่ปลอดภัย

ระบบนี้ต่อกรกับใครได้บ้าง
คำแนะนำอื่นๆ เกี่ยวกับการควบคุมลิขสิทธิ์

ข้อจำกัดของรุ่นทดลองใช้
ทำระบบโอนย้ายสิทธิ์การใช้งานดีไหม
จำนวนครั้งในการขอปลดล็อก
จำนวนครั้งในการขอปลดล็อก
ทำระบบปลดล็อกบนเว็บไซต์กันไหม
ทำระบบปลดล็อกด้วย Hardlock ใช้เองกันไหม

เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือฟ้าอีกทีคืออะไร?


บทที่ 11. ความรู้เพิ่มเติมในธุรกิจซอฟต์แวร์

เรื่อง ราวในบทนี้คือ สิ่งที่จะต้องทำเมื่อเป็นนักธุรกิจซอฟต์แวร์ ปัญหาต่างๆ ที่จะพบและ วิธีแก้ไขปัญหาเหล่านั้น พร้อมคำแนะนำ รวมทั้งเคล็ดลับต่างๆ ที่จะเป็นส่วนเสริมสำคัญให้คุณประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจซอฟต์แวร์

ขั้นตอนการทำธุรกิจซอฟต์แวร์มีอะไรบ้าง ?

ขั้นตอนที่ 1 คิดสินค้าที่แปลกใหม่ มีจุดขาย และเราสามารถพัฒนาได้
ขั้นตอนที่ 2 ตั้งชื่อกิจการและชื่อโดเมน
ขั้นตอนที่ 3 บัญชีธนาคาร โทรศัพท์และแฟกซ์
ขั้นตอนที่ 4 พัฒนาผลิตภัณฑ์และพัฒนาเว็บไซต์
ขั้นตอนที่ 5 ทำการตลาดให้กับสินค้าและเว็บไซต์ของเรา
ขั้นตอนที่ 6 บริหารกิจการของเรา

เคล็ดลับการประสบความสำเร็จ

คำแนะนำที่ 1 คุณภาพของสินค้าต้องมาก่อน
คำแนะนำที่ 2 ส่วนเสริมผลิตภัณฑ์ต้องมีให้ครบถ้วน
คำแนะนำที่ 3 ราคาสินค้าต้องมีความเหมาะสม
คำแนะนำที่ 4 การตลาดต้องมีตลอดเวลา
คำแนะนำที่ 5 การส่งเสริมการขายต้องมีบางโอกาส
คำแนะนำที่ 6 ทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อถือ
คำแนะนำที่ 7 อย่าทิ้งลูกค้าเดิม
คำแนะนำที่ 8 ตอบสนองด้วยความรวดเร็ว
คำแนะนำที่ 9 ปัญหามีไว้ป้องกัน

วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์

เกิดมาหน้าตาสดใส
บาดเจ็บจากการทำงานต้องรักษาเยียวยา
คุณภาพดีก็มีอายุยืน
โปรแกรมไม้ใกล้ฝั่ง
ตายซะเถอะ
เกิดใหม่ไฉไลกว่าเดิม
ตายไปสองแต่เกิดมาใหม่แค่หนึ่ง
ขายไปด้วยกันดีกว่า

คำแนะนำเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการทำธุรกิจซอฟต์แวร์

วางแผนให้ดีก่อนสร้างเว็บไซต์ ?
ขจัดปัญหาคนเข้าเว็บมาก แต่ขายไม่ได้
อะไรที่พิมพ์บ่อยๆสร้างเทมเพลตไว้เลย
Mail signature คือหน้าตาของผู้ส่ง
จงสร้างและพัฒนาระบบการทำงานของคุณเอง
ทำคนเดียวแล้วลูกค้าเชื่อถือเหรอ ?
มีงานต้องทำหลายอย่างพร้อมกัน ทำอย่างไรดี ?
ซอฟต์แวร์กับทรัพย์สินทางปัญญา
ต้องซื้อเครื่องมือที่มีลิขสิทธิ์มาใช้หรือไม่
ระบบ OEM สำหรับตัวแทนจำหน่าย
ทำอย่างไรกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ประสบความสำเร็จ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์

จงสร้างโอกาสในการประสบความสำเร็จให้กับตัวเอง

ขอ refresh หรือ reload link ที่วางใน facebook

object debugger for URL Refresh
object debugger for URL Refresh

23 ธ.ค.55 หลายปีก่อน หัวหน้าบอกว่าเวลาวางลิงค์ใน fb แล้วทำไม thumb ที่ปรากฎเป็นของเก่า เพราะเรามีการเปลี่ยนแปลง มาวันนี้ต้องวางลิงค์ youtube.com แต่ข้อมูลที่มาเป็นของเก่า จึงต้องบังคับ refresh หรือ reload ข้อมูลระหว่าง link กับ facebook ใหม่ เพราะ facebook มีฐานข้อมูลสำหรับทุกลิงค์ หากเรานำลิงค์ไม่เหมาะสมไปวาง ก็จะวางไม่ได้ ส่วนลิงค์ที่ถูกต้องก็จะเก็บเป็นข้อมูลในฐานข้อมูลของ facebook โดยคลิ๊ก http://developers.facebook.com/tools/debug แล้วระบุ link หรือ url ที่ต้องการตรวจสอบ มีผลให้ facebook อ่านข้อมูลจากเว็บเพจนั้นใหม่
+ http://www.thaiall.com/facebook/

การแสดงรายชื่อตารางทั้งหมดใน MSSQL

EMS : MSSQL Manager
EMS : MSSQL Manager

มีโอกาสเข้าใช้ MSSql หรือ SQL Server แต่ผู้ดูแลไม่ได้แจ้งว่าตารางที่ผมเข้าถึงได้ คือ ตารางชื่ออะไร
จึงเขียน 2 โปรแกรม สำหรับตรวจสอบข้อมูล
เพื่อจัดทำโปรแกรม insert, delete, update, select ต่อไป

1. โปรแกรมแสดงรายการตารางทั้งหมด

$strSQL = “SELECT * FROM sys.Tables”; // order by name”;
$strQuery =  mssql_query($strSQL);
while($result = mssql_fetch_array($strQuery)) { echo $result[0]  . “<br/>”; }

2. โปรแกรมแสดงรายการเขตข้อมูลทั้งหมด
$strSQL = “SELECT * FROM sys.columns”;
$strQuery =  mssql_query($strSQL);
$f0 = “”;
while($result = mssql_fetch_array($strQuery)) {
if ($f0 != $result[0]) echo “<hr/>”;
echo $result[0]  . ” ” . $result[1]  . “<br/>”;
$f0 = $result[0];
}

ปล. อันที่จริงถ้าใช้ SQL Manager จะดีกว่านั่งเขียน Script เพราะ host กับ user ก็รู้หมดแล้ว

EMS : MSSQL Manager
http://www.sqlmanager.net/en/downloads

Microsoft SQL Server  2008 Management Studio Express
http://www.microsoft.com/en-us/download/details.aspx?id=7593

การสร้าง installer ด้วย visual studio .NET 2010


publish page
publish page
16 ธ.ค.55 การสร้าง installer เพื่อ publish ผลงานที่ทำการ build จาก vs.net 2010 แล้วเผยแพร่ให้กลุ่มเป้าหมาย ไม่ซับซ้อนเมื่อใช้ vs.net (ใน nsis หรือ android ซับซ้อนกว่า) จึงได้ทำ demo ตัว installer โดยมีขึ้นตอนดังนี้ 1. โจทย์ หรือความต้องการ มีโจทย์ว่าจะทำโปรแกรมแสดงบทความไอทีในชีวิตประจำวันให้ผู้อ่านเปิดอ่านแบบ offline ได้ ซึ่งปกติเผยแพร่ไว้ที่ thaiall.com/itinlife แล้วเคยทำแบบนี้ในรูป android apps เผยแพร่ใน play store หรือ thaiall.com/android จึงคัดลอก script ส่วนของ array ที่เป็นภาษา C มาปรับเป็นภาษา Basic 2. การออกแบบโปรแกรม ทำใน vs.net แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ windows forms application และ class library โดยเนื้อหาบทความอยู่ใน .dll แต่โปรแกรม form ที่ใช้ทำงานจริง จะเรียกใช้เนื้อหาจาก library หากจะเพิ่ม-ลบบทความก็เพียงแต่ปรับ .dll แล้วถ้าปรับการแสดงผลก็ต้องไปปรับ form ซึ่งแยกให้เห็นการทำงานที่แตกต่างกัน 2 ส่วน 3. เปิดให้ download 3 แบบ 3.1 source code ของ class library ได้รวมเป็น .rar ไว้ที่ http://www.thaiall.com/itinlife/vs2010_dll_itarticles.rar ถ้ามีเฉพาะ library จะประมวลผลไม่ได้ เพราะผมไม่ได้ทำ main() ทิ้งไว้ 3.2 source code ของ windows forms application ได้รวมเป็น .rar ไว้ที่ http://www.thaiall.com/itinlife/vs2010_form_itarticles1.rar ใน form นี้ ผม add reference ไว้แล้ว สามารถทดสอบประมวลผลได้ 3.3 execute file ที่เกิดหลัง build และ publish ผมใช้ ftp ส่งแฟ้มในห้อง publish ไปเผยแพร่แบบออนไลน์ไว้ที่ http://www.thaiall.com/itinlife/publish/publish.htm ถ้ากดปุ่ม install หรือ run setup.exe ก็จะได้โปรแกรมไว้ในเครื่อง แต่ในการติดตั้งจะ download จาก net เพราะตัว setup.exe กับใน publish\Application Files นั้นแยกกันชัดเจน

การ export, import data – biblio ใน senayan

biblio data convertion
biblio data convertion

3 ธ.ค.55 ได้ export แฟ้มจากระบบของเสนายัน ซึ่งมีให้เลือก 2 รายการ คือ Data Export และ Item Export โดย 1) Data Export จะได้แฟ้ม senayan_biblio_export.csv มีรายการหนังสือทั้งหมด และ  2) Item Export จะได้แฟ้ม senayan_item_export.csv มีรายละเอียดแยกเล่มอยู่ในรายการหนังสือ พบว่า ข้อมูลในแฟ้มเป็นภาษาไทยแบบ UTF-8 ทำให้โปรแกรม editplus2 หรือ excel หรือ wordpad เปิดขึ้นมาไม่ได้ ต้องใช้ notepad แม้เปิดได้แต่ไม่มีประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูล จึงใช้ editplus3 เปิดแฟ้มเพื่อคัดลอก และเปลี่ยนตัวอักษรให้เป็นไปตามรูปแบบต่อไป
http://www.editplus.com/download.html

บันทึกผลการทดสอบ มีขั้นตอนดังนี้
1. เมื่อเลือก Data Export: biblio ออกมาแล้ว สามารถทำ Data Import: biblio กลับเข้าไปได้ โดยไม่เขียนทับของเดิม แต่เพิ่มระเบียนใหม่ และไม่มีการถามว่าจะเลือกแบบใด เพราะดำเนินการทันที .. ปัญหาที่พบจากการทำ Data Import คือ ข้อมูล label หายไป
2. เปิดแฟ้ม .csv ด้วย editplus3 แล้วคัดลอกไปวางใน excel แล้วเลือก data, text to columns
3. แก้ไขข้อมูล และ column D กำหนด format cells เป็น Number และ Decimal places เป็น 0
4. export save as แบบ  Text (Tab Delimited) (*.txt) พบว่าไม่มีเครื่องหมาย “”
5. เปิดแฟ้มที่ได้ด้วย editplus3 แล้ว เติมเครื่องหมาย ” คร่อมฟิลด์ทั้งหมด
6. save as เป็น .csv และกำหนด encoding เป็น utf-8

การเติมเครื่องหมาย ” คร่อมฟิลด์ มีขั้นตอนดังนี้
1. replace tab ด้วย “,”
2. replace “\n ด้วย “”\n” (regular expression)
3. เติม ” ปิดหัว กับ ปิดท้าย แฟ้มด้วยนะครับ

+ http://www.thaiall.com/senayan/senayan_biblio_export.csv
+ http://www.thaiall.com/senayan/senayan_item_export.csv
+ http://www.thaiabc.com/senayan/
+ http://www.thaiall.com/senayan

ปัญหากับ ldap ล้มอาการใหม่ แต่วิธีแก้เหมือนเดิม

stop on swap space after ldap service
stop on swap space after ldap service

อาการขอวันนี้
1. fedora core 4 บูทไม่ขึ้นอีกแล้วหลังไฟดับ .. บูทแล้วค้าง โดยฟ้องคำว่า swap
2. reboot แล้วกด i ตามคำแนะนำ press ‘I’ to enter interactive startup
3. กดปุ่ม y เลือกบริการไปเรื่อย ๆ แล้วก็พบ ldap ผมเลือก n เพราะถ้า y ก็จะค้างอยู่ตรงนั้นอีก
4. หลังเข้าไปก็ทดสอบ start แบบ manual
พบคำว่า Checking configuration files for slapd: แล้วก็ค้างตรงนั้น
ผมต้องกดปุ่ม ctrl-c ออกมา

วิธีแก้ไข

1. สั่ง recover ด้วยคำสั่งต่อไปนี้ แต่ถ้าท่านใช้ต้องเปลี่ยนคำว่า myname
#/usr/sbin/slapd_db_recover -v -h /var/lib/ldap/myname
2. ต้องแก้ไขสิทธ์ของแฟ้ม จึงจะ start ได้สำเร็จ
โดยเข้าห้อง /var/lib/ldap/myname
แล้วสั่ง #chown ldap:ldap *
3. สั่ง #/etc/init.d/ldap start
หรือ #/etc/init.d/ldap status พบว่ามาบริการเหมือนเดิม

press 'I' to enter interactive startup
press 'I' to enter interactive startup

http://www.thaiall.com/blog/burin/4571/

แนวโน้มการรับชมทีวีสดลดลง (itinlife371)

online tv
online tv

1 ธ.ค.55 ทีวีสด หรือทีวีแบบดั้งเดิม (Traditional TV) หมายถึง การรับชมทีวี (Receive) จากสัญญาณที่มีการถ่ายทอดในขณะนั้น แต่ถ้าเป็นทีวีออนไลน์ (Online TV) หรืออินเทอร์เน็ตทีวี (Internet TV) มักเป็นการเข้าชม (Access) รายการที่ถูกบันทึกไว้ เรียกดูย้อนหลัง หรือรับชมซ้ำได้ หรืออาจเป็นรายการสดก็ได้ จากผลสำรวจในอเมริกาแม้ยอดผู้ชมทีวีผ่านเคเบิ้ลทีวีจะลดลง แต่ยอดจำหน่ายทีวีแบบ HD (High Definition) ที่ให้ความละเอียดในการแสดงผลสูงกลับมียอดจำหน่ายสูงอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างการชมอินเทอร์เน็ตทีวี เช่น ผู้ชมที่ติดละครเรื่องแรงเงาที่ออกฉายในปี 2544 นำแสดงโดยคุณแอน ทองประสม หรือปี 2555 ที่นำแสดงโดยคุณเจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ สามารถชมย้อนหลังได้ทุกตอน ไม่ต้องรอชมทีวีสดเหมือนในอดีตที่เป็นเพียงทางเลือกเดียว

ในรายงานเรื่อง How People Watch-A Global Nielsen Consumer Report ของเนลสัน บริษัทวิจัยตลาดรายใหญ่ สำรวจจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 27,000 คน จาก 55 ประเทศ พบว่าคนไทยดูทีวีสดน้อยที่สุด ส่วนชาวอเมริกันดูทีวีสดมากที่สุด แต่คนจีนดูวีดีทัศน์ผ่านคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟนมากที่สุดในโลก เมื่อผมสอบถามนักศึกษาในห้องเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับรู้ข่าวสารก็พบว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพราะมีน้อยมากที่ดูทีวีสดอย่างหน้าพร้อมตากันในครอบครัว และส่วนใหญ่จะรับชมคลิ๊ปวีดีโอที่หาดาวน์โหลดได้จากอินเทอร์เน็ตเป็นการส่วนตัว หรือหมกตัวอยู่กับเครือข่ายสังคม หรือเล่นเกมออนไลน์

ในอดีตคนไทยรับชมช่องทีวีได้เพียงไม่กี่ช่อง แต่ปัจจุบันสามารถติดตั้งจานดาวเทียม หรือเคเบิ้ลทีวี แล้วรับชมได้นับร้อยช่อง สถิติการรับชมทีวีสดมักมีปัจจัยมาจากการศึกษา อาชีพ ฐานะ ครอบครัว ความชอบ และสภาพแวดล้อม ส่วนปัจจัยที่ทำให้การรับชมทีวีสดลดลงได้แก่ รับชมรายการทีวีย้อนหลังจากอินเทอร์เน็ต หรือ TV on demand โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และมีให้เลือกชมแบบไม่จำกัดจากหลายเว็บไซต์ อาทิ การรับชมคลิ๊ปกังนัมสไตล์ที่มียอดการรับชมสูงที่สุดในโลก เวลานี้มียอดไปแล้วมากกว่า 800 ล้านวิว โค่นแชมป์เพลงเบบี้ของจันติน บีเบอร์ ไปแล้ว หรือการชมหนังซูมตามเว็บไซต์ต่าง ๆ ก็สามารถสืบค้นได้ไม่ยากนัก หรือการชมหนังแผ่นแบบ 8 เรื่อง 100 บาท ตามร้านสะดวกซื้อก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เวลาที่จะรับชมทีวีสดลดลงเช่นกัน

http://variety.thaiza.com/detail_189254.html

http://www.thairath.co.th/content/oversea/259158

การทำ Shared Folders ของ Debian กับ VirtualBox

share folders
share folders

29 พ.ย.55 ในกรณีต้องการ share folders จาก host ที่เป็น windows ไปให้เครื่อง guest ที่เป็น Debian ใน Oracle VirtualBox  มีขั้นตอนดังนี้

http://mirror1.ku.ac.th/debian-cd/6.0.5-live/i386/iso-hybrid/

1.1 เข้า Debian ใน VirtualBox
https://www.virtualbox.org/manual/ch04.html
1.2 menubar, Applications, Accessories, Terminal
$su
#apt-get update
#apt-get upgrade
#apt-get install make gcc
#uname -a
#apt-get install linux-headers-2.6.32-5-686
1.3 เตรียมพร้อมกับการ share และการติดตั้ง
#cd /media/cdrom/
แล้ว share folder ผ่าน menubar, Device, Share Folders
1.4 สั่งประมวลผล script จาก cd ที่มาจาก Install guest additions
#sh ./VBoxLinuxAdditions.run
แล้ว restart
จะพบว่ามีการทำ automount ใน /media/..
ตรวจด้วยคำสั่ง #mount
1.5 หากจะเข้าใช้งาน ต้องเปลี่ยน group ของ user เป็น vboxsf
แล้ว restart จึงจะเข้า folder ที่ share มาจากระบบ Windows เพื่อใช้งานได้

การติดตั้ง centos ผ่าน liveDVD .iso บน virtual box

centos 6.3 from ku in oracle virtual box
centos 6.3 from ku in oracle virtual box

28 พ.ย.55 เหตุเกิดจาก ได้ทดสอบ CentOS 6.3 ซึ่งเป็นอีก 1 ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ที่น่าสนใจ เริ่มจาก นายภส.. นักศึกษาของผม เล่าให้ฟังว่าติดปัญหาในการติดตั้งกับเครื่อง notebook และที่ผ่าน oracle virtual box ในห้องแล็ป ทำให้ผมต้องหา CentOS มาติดตั้งก็ได้จาก ku.ac.th เป็น CentOS-6.3-i386-LiveDVD.iso

ผลการดำเนินการ จากการทดสอบบนเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 3 เครื่องใน 3 วัตถุประสงค์ คือ 1) เริ่มทดสอบกับเครื่องห้องแล็บเดิมที่ลง win xp มี CPU 3.2 GHz ram 1 GB พบว่า boot แบบ liveDVD ผ่าน .iso แล้วเข้าระบบและใช้งานได้ แต่ต้องลดอุปกรณ์บน vm ให้หมดให้เหลือน้อยแบบที่เรียกว่า minimum device ปัญหาที่พบคือ คลิ๊กปุ่ม install to harddisk drive แล้วไม่ทำงาน คาดว่า device ไม่พร้อม จึงเปลี่ยนเครื่องทดสอบ 2) ใช้กับเครื่องที่พร้อมกว่า คือ เครื่องใหม่ที่ลง win 7 มี CPU 3.2 GHz ram 4 GB พบว่า boot และ install บน harddisk ได้ปกติ โดยติดตั้งผ่าน .iso เมื่อถอด .iso ออกก็บูทได้เอง จึง export ไปเป็น .ova เพื่อนำไปใช้ในเครื่องอื่นต่อไป ควรเร็วไม่แตกต่างกับ win 7 เพราะ hw รองรับได้ 3) เครื่องห้องแล็บเดิม แต่เปลี่ยนเครื่อง ใช้วิธีการ import แฟ้ม .ova และลดอุปกรณ์ให้เหลือน้อยที่สุด ในการทดสอบครั้งแรกนั้นจะเหลือ network ไว้ทำงาน แต่พบว่า การ boot ในบางครั้งไม่สำเร็จ จึงต้องถอดอุปกรณ์ออกให้หมด ก็จะสามารถใช้งานแบบค่อยเป็นค่อยไปได้

พอสรุปได้ว่า CentOS ยังต้องการ hardware ที่พร้อมโดยเฉพาะขนาด RAM นอกจากนี้ยังทดสอบสั่ง auto startup ให้เปิด CentOS บน VM ทันทีที่ win เริ่มทำงานด้วยคำสั่ง  “C:\Program Files\ Oracle\ VirtualBox\ VBoxManage.exe” startvm “centos63” แต่ทดสอบกับเครื่องห้องแล็บ พบว่าบางครั้งก็บูทสำเร็จ บางครั้งก็ไม่สำเร็จ จากปัญหาขนาด RAM จึงถอนคำสั่งนี้ออกจาก program/startup

Oracle virtual box is a virtualization software
Oracle virtual box is a virtualization software

http://www.virtualbox.org/
http://mirror1.ku.ac.th/centos/6.3/isos/i386/

ISO = application/x-iso9660-image

OVA = Open Virtualization Appliance

สถิติเว็บบล็อก (blog statistic)

blog
blog

27 พ.ย.55 สถิติเว็บบล็อก (blog statistic) ใน truehits.net เมื่อวันที่ 27 พ.ย.2555 พบว่ามีรายการบล็อกในระบบกว่า 30,000 blog และจาก 400 blog-site แรก พบว่ามีเพียงไม่กี่กลุ่มบล็อกที่อยู่ใน 400 อันดับ ได้แก่ 1) bloggang.com 2) dek-d.com 3) oknation.net 4) eduzones.com 5) exteen.com 6) ohozaa.com และ 7) other ที่น่าแปลกคือคนไทยมี blog-site เป็นของตนเองน้อยกว่าที่คาดไว้มาก หากดูภาพรวมที่มี blog กว่า 100,000 members พบว่า อยู่ในกลุ่ม others ซึ่งกลุ่ม other หมายถึง blog-site ที่ไม่เข้าไปอยู่ในระบบบริการของผู้ให้บริการ และมีจำนวนเพียง 8 blog-site หากเทียบเป็นร้อยละก็มีไม่ถึงร้อยละ 0.001 เท่านั้น

http://blogrank.truehits.net/