ย้าย phpbb3 ไปอีก domain หนึ่ง

webboard ใน google
webboard ใน google

7 มี.ค.55 การย้าย phpbb3 จาก domain หนึ่ง ไปไว้ในอีก domain หนึ่ง แต่อยู่ใน server ตัวเดียวกัน ในครั้งนี้มี 2 เหตุผล คือ 1) มีข้อมูลเดิมอยู่เพียบ 2) มีลิงค์ที่มาจาก google.com จึงต้องย้ายแบบ redirect ทันที และ tracker ของ truehits.net ที่มีใน domain ตัวใหม่ก็จะรับไปได้ทันที และจากการทดสอบ พบว่า ผลการค้นหาคำว่า “คณะบริหารธุรกิจ webboard” พบว่าผลการคลิ๊กจาก google.com มายัง domain เก่า สามารถ redirect ไปยัง domain ใหม่ได้ทันที

index.php
if ($_SERVER[“SERVER_NAME”] == “www.old.ac.th”) {
header(“Location: http://www.new.ac.th/webboard”);
exit;
}

viewforum.php

if ($_SERVER[“SERVER_NAME”] == “www.old.ac.th”) {
header(“Location: http://www.new.ac.th/webboard/viewforum.php?f=” . $_REQUEST[“f”] .”&sid=”.$_REQUEST[“sid”]);
exit;
}

viewtopic.php
if ($_SERVER[“SERVER_NAME”] == “www.old.ac.th”) {
header(“Location: http://www.new.ac.th/webboard/viewtopic.php?f=” . $_REQUEST[“f”] .”&t=” . $_REQUEST[“t”] .”&sid=”.$_REQUEST[“sid”]);
exit;
}

ปรับ footer ของ phpbb3

phpbb3 footer
phpbb3 footer
6 มี.ค.55 มีโอกาสใช้โปรแกรม webboard ของ phpbb3 และใช้ prosilver template เมื่อแก้ไข footer ใน /webboard/styles/prosilver/template/overall_footer.html แล้ว พบว่า phpbb3 ไม่มีการเปลี่ยนส่วนของ footer ต่อมาพบว่า ระบบของ phpbb3 มีการเก็บข้อมูลหลายส่วนไว้ในห้อง cache ทำให้การเรียกใช้ ทำได้รวดเร็ว .. แล้วผมก็เข้าไปแก้ไข แต่แก้ไขพลาดทำให้ footer หาย และเข้าในฐานะ administrator เพื่อเข้าถึง control panel ไม่ได้ ต้องแก้ไขโดยใช้วิธีคัดลอกแฟ้มเดิมมาทับ แล้วปรับ code ให้ถูกต้อง
แต่ประเด็น คือ หลังแก้ไข overall_footer.html แล้ว จะต้องเข้าไปใน ปรับแต่งบอร์ด, templates, Refresh เพื่อสั่ง update ข้อมูลใน cache ใหม่ เพียงเท่านี้การแก้ไขก็จะเกิดผล

วางแผ่นใสอีกแผ่นหนึ่งเหนือเว็บเพจ

free samsung galaxy : comparation
free samsung galaxy : comparation

5 มี.ค.55 มีโอกาสปรับ script ใน http://www.nation-u.com/2554/index.php เพื่อแสดงป้าย banner จาก http://www.nation.ac.th ที่มีข้อความสำคัญว่า “ฟรี … Samsung Galaxy Tab 10.1 สำหรับนักศึกษาใหม่ทุกคน เพื่อใช้ในการเรียนที่มหาวิทยาลัยเนชั่น” เมื่อทดสอบการแสดงผลกับ IE8 และ FireFox 3.6.6 พบว่าแสดงผลได้ปกติ
โดยใช้ script วาง layer ดังนี้
<body>
<div style=”position:absolute;width:100%;top:40px;text-align:center”>
<iframe width=”950″ height=”465″
src=”http://www.nation.ac.th/banner.html” frameborder=”0″ scrolling=”no”>
</iframe>
</div>

ค่า Pagerank ได้จาก http://www.checkpagerank.net
พบว่า nation.ac.th มีค่า PR = 5 และ Alexa Rank = 4,270,710
พบว่า nation-u.com มีค่า PR = 5 และ Alexa Rank = 2,405,535

ติดตั้ง WP-PageNavi สำหรับ wp:twentyeleven

page number
page number

ติดตั้ง WP-PageNavi สำหรับ WP3.3.1 : twentyeleven
1. ติดตั้ง และ activate WP-PageNavi ที่พัฒนาโดย Lester ‘GaMerZ’ Chan & scribu
2. เปิดแฟ้ม functions.php ของ wordpress 3.3.1 ที่ใช้ theme twentyeleven แล้วหาฟังก์ชั่น function twentyeleven_content_nav( $nav_id )
3. จากนั้น ก็เพิ่ม <?php wp_pagenavi(); ?> เข้าไปใต้ <!– #nav-above –>
4. สามารถลบฟังก์ชั่นการแสดง Older posts และ Newer posts ก็สามารถดำเนินการใน function นี้ได้เลย
โดยลบตั้งแต่ <nav id=”<?php echo $nav_id; ?>”>
ถึง </nav><!– #nav-above –>

http://wordpress.org/extend/plugins/wp-pagenavi/

การแก้ไขคำว่า Proudly powered by WordPress
ผมเปลี่ยนเป็น scripts by wordpress ใน footer.php
ส่ง truehits.net ไม่ขึ้น เพราะ lampang.net ถูกเรียกผ่าน frame
ถ้าเปิดในหน้าใหม่ จึงจะแสดงผลตามปกติ .. ก็ได้อย่างเสียอย่างครับ

ปฏิทินของจีเมล

nationu calendar
nationu calendar

ปฏิทินของ @gmail.com หรือ @yourorganization.com
เป็นระบบช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่ม
สมาชิกทราบตารางการทำงานของกันและกัน หรือของหัวหน้า
หากนำไปใช้ในองค์กร ผ่าน domain name ขององค์กร
ก็จะช่วยให้การทำงานของสมาชิกองค์กรสะดวกสบาย
ยังมีบริการที่เรียกว่า google apps อีกหลายประเภท

กรณีของมหาวิทยาลัยบางแห่ง บุคลากรของมหาวิทยาลัย
สามารถค้น และเปิดปฏิทินของเพื่อนในองค์กรได้
ถ้าเจ้าของปฏิทินให้สิทธินั้น

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaiall.com/google/

พลังของ cover in time line

effect of cover in timeline
effect of cover in timeline

1 มี.ค.55 วันนี้ว่าจะเขียน blog เรื่อง twitter ที่อาจมีผู้ประกอบการใช้ประกอบการพิจารณาคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงาน  แต่มีเหตุให้ต้องเขียนเรื่องพลังของ cover ของ time line ใน facebook.com ก่อน .. เพราะคุณนก ปรึกษาเรื่องการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับข้อความที่ต้องการสื่อสาร ก็ได้ภาพสำหรับทำ cover ภาพนี้ .. เมื่อทดสอบ post ภาพที่มีข้อความประชาสัมพันธ์ ก็พบว่าข้อความถูกใช้สื่อสารได้ชัดเจนมาก และวิ่งไปถึงเพื่อนของคุณนกได้ทั้งหมด ถ้าคุณนกมีเพื่อน 100 คน ก็จะรับรู้ซ้ำแล้วซ้ำอีก 100 คน ถ้าคนในองค์กรมี 100 คน และทุกคนทำบ้าง ก็จะไปถึงผู้คนกว่า 10,000 คน (อาจมากกว่า) แบบซ้ำไป ซ้ำมา

.. ถ้าการประชาสัมพันธ์ข้อความนี้ คือ เป้าหมายของคน 100 คน ก็เชื่อได้ว่าผลของการดำเนินการจะสื่อออกไปได้กว้าง ตามที่คาดไว้ (Theory Y)

กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่น http://www.nation.ac.th

กลับสู่อนาคต (back to the future) #1

26 ก.พ.55 มีที่มาที่ทำให้ผมนึกถึงคำนี้ เพราะคำนี้เป็นแนวทางนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืนได้ในหลายสถานการณ์ ปัจจุบันเรามีคนสร้างปัญหา และมีคนแก้ปัญหา เป็นคนละคนกัน พูดกันคนละที คิดกันคนละมุม ฐานคิดคนละแบบ ซึ่งคนที่สร้างปัญหาก็ไม่ได้รู้ตัวว่าตนเองทำอะไรลงไป มาดูที่มาครับว่าทำไมผมนึกถึงคำ ๆ นี้
1. วลีระดับโลก
นึกถึงวลี หรือคำพูด ตรึงใจคนทั้งโลกของ บารัก โอบามา นายกรัฐมนตรีของอเมริกาที่ประกาศคำว่า change หรือ change has come to America “การเปลี่ยนแปลงได้มาถึงอเมริกาแล้ว” ส่วน steve jobs ก็นำเสนอคำว่า think difference ซึ่งผมพบคำนี้ในหนังสือ ที่เขียนโดย walter isaacson หน้า 378 ซึ่งผมว่า 2 คำนี้ไม่ทำให้ผู้ฟังเห็นกระบวนการที่นำไปสู่เป้าหมาย  แต่คำว่า back to the future นั้นมีกระบวนการ และเป้าหมายอยู่ในตัว
2. คิดแค่พรุ่งนี้
เห็นปัญหาของคำว่า การบริหารงานแบบเถ้าแก่ ซึ่งอาจารย์ ส. เคยเล่าให้ฟัง แล้วผมก็จับใจความได้ว่าการบริหารแบบเถ้าแก่ มักเป็นการตัดสินใจของคนเพียงคนเดียว สั่งมาแล้วอาตี๋ อาหมวยก็รับไปปฏิบัติ เกิดข้อผิดพลาดก็เป็นความผิดของเถ้าแก่ เรียกว่า เถ้าแก่รับเละอยู่คนเดียว แต่ระบบเถ้าแก่ไม่มีการถ่วงดุลอำนาจ ทำให้ในองค์กรไม่เคยปรากฎหลักฐานว่าเถ้าแก่บริหารงานผิดพลาด  แล้วก็นึกไปถึงการบริหารงานของ steve jobs ที่คุมบริษัท next เพราะเขาบริหารงานแบบเถ้าแก่นั่นเอง .. ในสังคมของนักวิชาการระดับประเทศเห็นปัญหานี้ จึงใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในพรบ.การศึกษาแห่งชาติ ปี 2542 “มาตรา 47 กำหนดให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบประกันคุณภาพภายใน และระบบประกันคุณภาพภายนอก” ถ้าไม่กำหนดในกฎหมาย การศึกษาไทยก็คงเดินไปแบบเถ้าแก่ตลอดไป
3. หลักการวิจัย
มีความพยายามใช้การวิจัยไปแก้ปัญหาชุมชน และผู้ประกอบการ เมื่อดูในรายละเอียด พบว่า การเขียนรายงานการวิจัย 5 บท ผู้ทำรายงานการวิจัยส่วนใหญ่รู้ว่า บทที่ยากที่สุด คือ บทที่ 1 คือที่จะไป และ บทที่ 2 คือที่ผ่านมา ซึ่งทั้ง 2 บท คือ กระบวนการสู่การแก้ปัญหาอย่างสมเหตุสมผล สอดรับกับคำว่า กลับสู่อนาคต แต่ถ้าเอาคำว่า วิจัย ไปเล่าให้นักธุรกิจอย่าง steve jobs หรือพ่อหลวงในชนบทฟัง ก็คงจะไม่เข้าใจ เพราะไม่ตระหนักว่า วิจัยมีกระบวนการคิดอย่างไร ในใจก็คงมีแต่ reality distortion field แต่คำว่า กลับสู่อนาคต มี 3 คำคือ back, to, the future ซึ่งแต่ละคำหมายถึงแต่ละบทในรายงานการวิจัย คำว่า back คือบทที่ 2 คำว่า to หมายถึง บทที่ 3 และคำว่า the future หมายถึงบทที่ 1 แต่พ่อหลวงแม่หลวงในชนบทก็คงไม่เข้าใจอยู่ดี เพราะคิดแต่พรุ่งนี้ก็น่าจะพอแล้ว ทำไมต้องไปค้นรากเหง้า ทำไมต้องนึกถึง 5 ปีข้างหน้า มีปัญหาก็เงียบ แล้วทำลืมไปซะ ปีหน้าค่อยว่ากันใหม่

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/480063

เสนายัน : SENAYAN Library Automation

search result บน เสนายัน
search result บน เสนายัน

13 ต.ค.55
– เว็บเพจเล่าเรื่องการติดตั้ง SLIMS (Senayan) เป็น Home Library ได้เลยครับ
ที่ http://www.thaiall.com/senayan
ห้องสมุดที่บ้าน (Home Library) ที่ http://www.thaiabc.com/senayan

ข้อมูลจาก http://kru-ple.com/senayan.html
เสนายัน (SENAYAN) คือ โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติโอเพนซอร์ส  สัญชาติอินโดนีเซีย ได้รับรางวัล ICT Award  ของอินโดนีเซียเป็นเครื่องหมายรับประกันว่าถึงแม้จะเป็นของฟรี แต่ก็มีความสามารถสูง เขียนด้วยภาษา  PHP และใช้ฐานข้อมูล MySql  เช่นเดียวกับ OpenBiblio แต่โดยภาพรวมอาจจะมีความสามารถไม่ด้อยกว่า OpenBiblio และถูกพัฒนาให้ใช้ภาษาไทย โดย คุณประสิทธิ์ชัย  เลิศรัตนเคหกาล ซึ่งผู้พัฒนาภาษาไทยให้กับ OpenBiblio ต่อยอดจากต้นฉบับประเทศอินโดนีเซีย ให้ใช้งานภาษาไทย

โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อเผยแพร่ให้กับห้องสมุดและหน่วยงานที่สนใจนำไปใช้ได้ฟรี โปรแกรม Senayan มีคุณสมบัติการทำงานร่วมกันระหว่างห้องสมุดอัตโนมัติกับห้องสมุดดิจิทัลไว้ในระบบเดียวกัน ทำให้สามารถจัดเก็บทั้งเอกสารดิจิทัลและลงรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดร่วมกันได้ โดยใช้เมทาดาทา MODS เป็นมาตรฐานในการลงรายการบรรณานุกรมและเอกสารดิจิทัล

โปรแกรม Senayan พัฒนาด้วยเทคโนโลยีเว็บแอฟพลิเคชัน (Web-based Application) ที่สามารถใช้งานทุกโมดูลผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระบบมุ่งเน้นการออกแบบเรียบง่ายสะดวกในการใช้งาน มีโมดูลและคุณสมบัติครบถ้วนสำหรับงานห้องสมุดอัตโนมัติ เช่น งานลงรายการ งานบริการยืม-คืน งานด้านวารสาร งานสืบค้นรายการออนไลน์ รวมทั้งระบบฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม ใช้เทคโนโลยี Peer to Peer (P2P) แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างห้องสมุด และที่สำคัญโปรแกรมนี้ยังไม่ได้หยุดพัฒนา  ทีมงานยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และแจ้งข่าวความก้าวหน้า รวมทั้งแก้ปัญหาข้อผิดพลาดตลอดเวลา

เว็บไซต์ทางการ http://slims.web.id/web/
ดาวน์โหลดจาก http://sourceforge.net/projects/senayanlib/
ทดลองใช้ที่  http://www.senayan.kru-ple.com/
http://www.slideshare.net/nstda/free-ils-research-to-services-cmu


แลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. เริ่มต้นก็เข้า
http://sourceforge.net/projects/senayanlib/
download : senayan3-stable5.tar.gz  size 2,126 KB
2. วางในโปรแกรม thaiabc.com
แล้วเปลี่ยนรหัสผ่านที่มีเป็น admin กับ p
แล้วสร้าง db : senayan
เมื่อเรียก http://127.0.0.1/senayan3 ก็พบ error message ว่า
All Location
Fatal error: Call to a member function fetch_row() on a non-object in C:\thaiabc\apache2\htdocs\senayan3\lib\contents\common.inc.php on line 36
เข้าไปดู code พบ
echo ‘<option value=”0″>All Location</option>’;
$loc_q = $dbs->query(‘SELECT location_name FROM mst_location’);
while ($loc_d = $loc_q->fetch_row()) {
echo ‘<option value=”‘.$loc_d[0].'”>’.$loc_d[0].'</option>’;
}
$location_list = ob_get_clean();

จาก code ก็งง อยู่ว่าใน db ยังไม่มี table แล้วจะเรียกอะไรมาดู
ตรวจดูอีกทีถึงรู้ว่าต้องติดตั้งข้อมูล sql ก่อน เพราะโปรแกรมไม่ตรวจสอบให้
3. กลับไปดู code พบห้อง /senayan3/sql/install
พบ sample_data.sql และ  senayan.sql
จึงประมวลผล sql ทั้ง 2 แฟ้ม
4. เรียกใช้ http://127.0.0.1/senayan3 แสดงผลปกติเลยครับ

senayan3
senayan3

5. เรียกใช้ http://127.0.0.1/senayan3/admin
ใช้ user:admin password:admin

senayan admin
senayan admin


ถ้าใช้จริงต้อง 2 ตัวนี้
http://slims.web.id/download/psenayan-3.14.zip
http://slims.web.id/download/slims3-stable15.tar.gz

การทดสอบกับ Portable

เมื่อทดสอบ stable14 ที่เป็น portable ขนาด 88 MB
ก็พบว่า
1. ต้องพาห้อง senaya ออกไปที่ root directory
เพราะ run ใน sub แล้ว
apache ไม่ start
2. พบปัญหาว่า mysql ไม่ start
เมื่อเปิด http://127.0.0.1 ก็พบ
Error Connecting to Database. Please check your configuration
3. ตรวจดูพบว่าในเครื่องของผม
มี my.ini ใน c:\windows
และที่มีอยู่นั้นมี config บางรายการไม่ compatible กัน
จึงไม่ start
เมื่อลบ my.ini ออก ก็เรียก http://127.0.0.1 ได้เลย
มีภาษาไทยให้เลือกด้วยครับ แม้จะเป็น portable
4. เข้า /admin และใช้ u:admin p:admin ได้เหมือนเดิม

อินเทอร์เน็ตสอง (itinlife331)

internet2
อินเทอร์เน็ต 2

25 ก.พ.55 มีโอกาสเห็นข้อสอบเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ว่า อินเทอร์เน็ต (Internet) กับ อินเทอร์เน็ตสอง (Internet2) ต่างกันอย่างไร ซึ่งมีคำถามตามมาว่าจะมีนักเรียนระดับมัธยมกี่คนที่สนใจ หรือทราบว่ามีเรื่องนี้เกิดขึ้นในโลกของเรา แต่ถ้าไม่สนใจก็คงไม่ได้ เพราะปรากฎในข้อสอบวัดความรู้แล้ว ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตสองนั้นเริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐอเมริกาจำนวน 35 แห่ง เปิดตัวโครงการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตใหม่ในเดือนตุลาคม 2539 มีการรวมตัว จัดประชุม กำหนดมาตรฐาน และตั้งชื่อจนเป็นที่ยอมรับว่า Internet2 ปัจจุบันมีข้อมูลเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ www.internet2.edu และมีสมาชิกจากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมกลุ่มเพิ่มเป็นมากกว่า 200 แห่งแล้ว

วัตถุประสงค์ของอินเทอร์เน็ตสอง คือ การวางโครงสร้างเครือข่ายประสิทธิภาพสูงทดแทนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบเดิมที่มีข้อจำกัดหลายด้าน มุ่งให้บริการ สนับสนุนด้านการศึกษา วิจัย และทดสอบเทคโนโลยีใหม่ เพื่อนำมาใช้งานจริงในอนาคต ปัจจุบันเครือข่ายหลักของอินเทอร์เน็ตสองที่เชื่อมต่อมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้าด้วยกันใช้ความเร็วสูง 2.5 จิกะบิตต่อวินาที หากเปรียบเทียบกับเครือข่ายหลัก (Backbone) ของสหรัฐอเมริกาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน พบว่ามีความเร็วประมาณ 45 เมกะบิทต่อวินาที แต่โครงการนี้ยังไม่มีแผนเปิดให้ผู้ใช้ตามบ้านได้ใช้งานในอนาคตอันใกล้

ข่าวเดือนกรกฎาคม 2554 พบว่า Berkeley Lab’s Energy Sciences Network (ESnet) และ Internet2 มีข้อตกลงร่วมกันพัฒนาโปรโตคอลเครือข่าย ANI (Advanced Networking Initiative) ให้มีความเร็วถึง 100 จิกะบิทต่อวินาที เมื่อนึกถึงความเร็วของอินเทอร์เน็ตตามบ้านในไทย เรามี High speed internet หรือ ADSL ที่เร็วสูงสุดถึง 100 เมกะบิทต่อวินาที ส่วนบริการ 3G ก็มักมีในเขตเมืองหลวงที่บริการด้วยความเร็วสูงสุด 4 เมกะบิทต่อวินาที ส่วนเครื่องโทรศัพท์ก็ต้องหารุ่นใหม่ที่รองรับเครือข่าย UMTS หรือ W-CDMA มีเทคโนโลยีรับส่งข้อมูล HSDPA หรือ HSUPA ถ้าสังเกตจะพบว่าความเร็วในจินตนาการของอินเทอร์เน็ตสอง กับความเร็วที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ห่างกันเหลือเกิน เราในฐานะผู้ใช้ตามบ้านคงต้องเฝ้ารอดูการพัฒนากันต่อไป ถ้าผู้ผลิตพร้อมเมื่อใดเราก็คงจะได้ใช้เมื่อนั้น

https://lists.internet2.edu/sympa/arc/i2-news/2011-07/msg00003.html

http://www.arip.co.th/news.php?id=406864

นักฟิสิกส์อาจจะเป็นคนกลุ่มแรกที่ใช้ความสามารถของเครือข่ายนี้ เมื่อมีการเปิดใช้งาน Large Hadron Collider แห่งองค์กรวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรปที่มีแผนเปิดเดือนพฤษภาคมปีหน้า ซึ่งจะทำให้มีนักฟิสิกส์นับพันๆ คนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ออกมาจาก LHC

http://kitty.in.th/index.php/articles/internet2-the-next-generation-internet/

supercomputer ranking

The Tianhe-1A Supercomputer, located at National Supercomputer Center, Tianjin
The Tianhe-1A Supercomputer, located at National Supercomputer Center, Tianjin

ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์แถวหน้าด้านความสามารถในการประมวลผล มีความเร็วในการคำนวณที่สูงที่สุด ถูกคิดค้นในทศวรรษ 1960 ริเริ่มการออกแบบโดย seymour cray ที่ Control Data Corporation (CDC)

The following table gives the Top 10 positions of the 38th TOP500 List released on November 14, 2011
1. K computer
Processor : RIKEN 88,128×8 SPARC64 VIIIfx processors     Fujitsu     RIKEN
Japan, 2011     Linux
2 . Tianhe-1A
NUDT YH Cluster 14,336×6 Xeon + 7168×14 NVIDIA Tesla, Arch (Proprietary)[4]     NUDT     National Supercomputing Center of Tianjin
China, 2010     Linux
3. Jaguar
Cray XT5 224,162 Opteron     Cray     Oak Ridge National Laboratory
United States, 2009     Linux (CLE)
4. Nebulae
Dawning TC3600 Blade 55,680 Xeon + 64,960 Tesla, InfiniBand     Dawning     National Supercomputing Center in Shenzhen (NSCS)
China, 2010     Linux
5. TSUBAME 2.0
HP Cluster Platform 3000SL 73,278 Xeon, Tesla     NEC/HP     GSIC Center, Tokyo Institute of Technology
Japan, 2010     Linux (SLES 11)
6. Cielo
Cray XE6 142,272 Opteron     Cray     Los Alamos National Laboratory
United States, 2010     Linux (CLE)
7. Pleiades
Altix 111,104 Xeon, InfiniBand     SGI     Ames Research Center
United States, 2011     Linux
8.Hopper
Cray XE6 153,408 Opteron     Cray     Lawrence Berkeley National Laboratory
United States, 2010     Linux (CLE)
9.Tera 100
Bull Bullx 138,368 Xeon, InfiniBand     Bull SA     Commissariat à l’énergie atomique (CEA)
France, 2010     Linux (XBAS)
10. Roadrunner
BladeCenter QS22/LS21 122,400 Cell/Opteron  IBM     Los Alamos National Laboratory
United States, 2009     Linux (Fedora 9)

http://en.wikipedia.org/wiki/Supercomputer
http://en.wikipedia.org/wiki/TOP500
http://www.toptenthailand.com/display.php?id=576
http://www.technologyreview.com/blog/mimssbits/25272/