พลังจ่ายภาครัฐกับภาคเอกชน

11 มิ.ย.54 มีโอกาสคุยกับผู้รับเหมาเดินสายระบบเครือข่าย ที่ช่ำชองในการรับงาน เล่าสู่กันฟังว่า การรับงานจากหน่วยงานภาครัฐกับภาคเอกชนแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะภาครัฐมีงบประมาณใช้จ่ายตามที่ขอ เมื่อใกล้สิ้นปีงบประมาณก็ต้องรีบใช้จ่ายให้หมด อาจเรียกได้ว่าเหลือกินเหลือใช้ เมื่อขึ้นปีใหม่ก็ของบประมาณกันใหม่ เริ่มต้นนับหนึ่งกันทุกปี ส่วนภาคเอกชนจะใช้จ่ายกันแต่ละทีคิดแล้วคิดอีก ต่อรองกันหลายรอบ บางทีตกลงได้งานมาแล้วก็ยังมาแก้รายละเอียด บางกรณีถูกขอเพิ่มงานในภายหลังแต่ไม่เพิ่มงบประมาณ จนบางครั้งต้องขอถอนตัว เพราะประเมินแล้วอาจไม่คุ้ม แต่ทำงานกับภาครัฐไม่ค่อยมีปัญหา ถ้ามีปัญหาก็รื้อทิ้งแล้วทำใหม่ในปีต่อไป

พลังจ่ายของภาครัฐนั้นมีมาก เพราะแหล่งงบประมาณมาจากเงินภาษีของประชาชน บางองค์กรมีการจัดทำกลยุทธ์ทางการเงิน เพื่อกำหนดว่างบประมาณเข้ามาทางใดบ้าง และจะออกไปทางใดบ้าง ทำให้คนสนิทของเจ้านายมักเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่เสมอ แม้งานที่ทำจะเป็นเพียงการพิมพ์รายงานการประชุมก็ตาม บางทีความเหมาะสม หรือความคุ้มค่าของแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน บางโครงการใช้งบประมาณมหาศาล แล้วไม่ประสบความสำเร็จ เพราะไม่ใช่ความต้องการของชุมชนที่แท้จริง หรือวิเคราะห์ความต้องการที่ไม่สมบูรณ์ แต่เกิดจากความต้องการของผู้ให้ เช่น ศูนย์คอมพิวเตอร์ ศูนย์สินค้าชุมชน ห้องสมุดหมู่บ้าน ในหลายพื้นที่ไม่ถูกใช้ประโยชน์เท่าที่ควร เนื่องจากขาดการดูแลบำรุงรักษาโดยคนในพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานผู้ให้งบประมาณ

พลังจ่ายของภาคเอกชนส่วนใหญ่ มักไม่สูงนัก งบประมาณคือการลงทุน ที่ต้องประเมินว่าจะได้ผลตอบแทนกลับมาอย่างคุ้มค่าตามแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการ จึงต้องวิเคราะห์ความเป็นไปได้โดยละเอียด ก่อนอนุมัติโครงการ/งบประมาณตามแผนการลงทุน ถ้าตัดสินใจลงทุนแบบไม่ระมัดระวังก็จะเสียงบประมาณอย่างไม่คุ้มค่า และเป็นต้นเหตุสำคัญทำให้บริษัท/ห้างร้านมากมายต้องปิดตัวลง ดังนั้นการวางแผนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ไอทีของภาคเอกชน จึงมักให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์ ความต้องการของผู้ใช้ ความคุ้มค่าในการใช้จ่ายและผลตอบแทนที่จะคืนกลับมาเป็นสำคัญ

กรณีศึกษาข้อมูลกราฟแท่ง

กรณีศึกษาข้อมูลกราฟแท่ง
กรณีศึกษาข้อมูลกราฟแท่ง

กรณีศึกษา บริษัท abc จำกัด แสดงข้อมูลค่าตอบแทนด้วยแผนภาพกราฟแท่ง เปรียบเทียบค่าตอบแทนของบุคลากร จำแนกตามแผนก ตำแหน่ง และอายุงาน มีคำถามว่า

ถ้าท่านเป็นผู้จัดการบริษัท ทราบข้อมูลแบบนี้ คิดว่า SWOT หรือ Plan จะเป็นอย่างไร

ทดสอบต่อ Notebook เข้า Wireless Projector พร้อมกับ Access Point

wireless adapter
wireless adapter

29 พ.ค.54 ผลการทดสอบติดตั้ง Notebook เชื่อมต่อ Wireless 2 ทางคือ  Wireless Projector และ Access Point สามารถทำงานได้แล้ว .. โดยใช้ notebook เชื่อมต่อกับ Projector ผ่าน Wireless Adapter ที่เป็น plug-in ของ notebook เป็นเหตุให้ขณะเชื่อมต่อนั้น ไม่สามารถเชื่อมต่อกับ Access Point เพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ตามปกติ .. จึงต้องเสียบ Wireless Adapter เพิ่มอีก 1 ตัว จะทำให้เครื่อง notebook เชื่อมต่อ projector พร้อมกับเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย Wireless Adapter แล้วทดสอบเปิดคลิ๊ปจาก youtube.com พบว่าคุณภาพที่ได้ พอรับได้ ส่วนการเปิดแฟ้มหนังก็มีตัวเลือกให้เปิดได้โดยตรงผ่านโปรแกรม Driver ของอุปกรณ์เชื่อมต่อ Projector อยู่แล้ว

ขอบคุณนักศึกษาฝึกงานที่ช่วยทดสอบข้อมูลกับระบบฐานข้อมูล

banner design
banner design

โดยปกติแล้ว .. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลไปได้ระยะหนึ่ง จะต้องมีการทดสอบข้อมูลกับระบบ ซึ่งระบบประเมินบุคลากร 360องศา และระบบที่เกี่ยวข้องมีถึง 6 ส่วนหลัก ที่ต้องเปิดให้ผู้ใช้เข้าดำเนินการในเงื่อนไขที่แตกต่างกัน และแยกรายงาน เพื่อการติดสินใจที่แตกต่างกันอีกหลายรายงานหลัก .. ในส่วนของการทดสอบก็ต้องใช้ปริมาณข้อมูลที่มากขึ้น เพื่อทดสอบในส่วนของการประมวลผลความถี่ และค่าเฉลี่ย ตามลักษณะบุคคลที่แตกต่างกัน 2 ประเภท คือ บุคลากรสายวิชาการ และสายสนับสนุน ซึ่งแต่ละสายก็จะแบ่งเป็นผู้มีตำแหน่งบริหารกับไม่มี

23 พฤษภาคม 2554 เป็นครั้งแรกที่มี คุณกิตติภพ ยอดศิริ (น้องมีน) และคุณณัฐพงษ์ ชมพูงาน (น้องปั้ม) นักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง เข้ามาช่วยในการทดสอบข้อมูลกับตัวระบบ ทำให้เห็นข้อมูลที่วิ่งเข้ามาในระบบก่อนเปิดใช้จริง และทำการแก้ไขข้อผิดพลาดที่คาดไม่ถึงของระบบได้ทัน
+ http://www.facebook.com/photo.php?fbid=10150190381742272&set=a.423083752271.195205.350024507271

fb comment แบบมีปัญหา

facebook comments
facebook comments

22 พ.ค.54 หลายเดือนก่อน ผมเคยใช้ comment ของ facebook.com ในเว็บ gallery ขององค์กร มาวันนี้พบเทคนิคคล้ายกัน แต่มีปัญหาในการเลือกแสดงผล .. ต่อไปคงต้องระวังการใช้ระบบ comment ของ facebook.com ที่จะนำไปใช้ในเว็บขององค์กรใดใด เพื่อรับข้อเสนอแนะ แล้วนำไปปรับปรุงแก้ไขตามเนื้อหานั้น
<script src=”http://connect.facebook.net/en_US/all.js#xfbml=1″></script>
<fb:comments href=”http://www.facebook.com/xxxx”
num_posts=”5″ width=”792″>
</fb:comments>

จากการทดสอบ
กรณีที่ 1 ผมเข้า comment ในเว็บเพจหนึ่ง แล้วก็เห็นผลตามปกติ
กรณีที่ 2 มีเพื่อนเข้า comment ในเว็บเพจหนึ่ง ต่อจากผม ก็เห็นผลตามปกติ
กรณีที่ 3 เข้า fb ในฐานะเด็กผู้หญิง แต่ไม่เห็น comment ของเพื่อนในเว็บเพจเดิม
กรณีที่ 4 logout ออกจาก fb แล้วไม่เห็น comment ของใครเลย
สรุปว่า comment ที่มีใครก็ตามเข้าไปแสดงความเห็น จะไม่ถูกเห็น ถ้ายังไม่เป็นเพื่อนผู้แสดงความเห็น ซึ่งไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของระบบรับ comment โดยทั่วไป เพราะการแสดงความเห็นนั้นมีต่อเว็บเพจโดยตรง มิได้มีความสัมพันธ์ระหว่างเว็บเพจกับเพื่อน ที่ต้องใช้เป็นเงื่อนไขในการแสดง comment

แต่ปัญหานี้ ไม่พบใน fb_comments.htm แสดงว่าอยู่ที่เทคนิคการเรียกใช้ application ของ facebook.com ซึ่งสรุปว่าถ้าเรียกใช้ระบบ comment อย่างถูกต้องก็จะไม่พบปัญหาข้างต้น
http://www.thaiall.com/facebook/fb_comments.htm

มอง slide ในอดีต

website 2549
website 2549

22 พ.ค.54 เมื่อ 5 ปีก่อน มีใช้ slide นี้ อบรมเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ที่สำนักงานสาธารณสุขประจำจังหวัด หลังผ่านไปหลายปี แนวโน้มการเผยแพร่ข้อมูลจากองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชนของโลก ก็ยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร เพราะการเปิดเผยข้อมูล กับความปิดเป็นความลับ ยังอยู่กันคนละฟากฝั่ง ที่สิ่งผุดขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด คือ mobile device ที่สนับสนุน wifi หรือ 3G และการเข้ามาของ iphone และ ipad ส่วนประเด็นการออกแบบเว็บไซต์ในทุกระดับยังเป็นแบบ header , footer , column และ rows ส่วนเทคนิคในเว็บไซต์มีการใช้ .css และ web 2.0 อย่างเด่นชัดขึ้น โดยเฉพาะ Facebook.com และ Twitter.com กลายเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งของเว็บไซต์ต่าง ๆ ในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารขององค์กร
http://www.thaiall.com/html/website49.ppt
http://www.thaiall.com/html/indexo.html

สถิติของ histats.com ทำให้มั่นใจว่า web server ล่มจริง

webserver down
webserver down

18 พ.ค.54 วันนี้นั่งปรับปรุงเว็บไซต์ มีการ upload ตลอดเวลา มาใจหายวาบเกือบชั่วโมง เพราะ web server ล่มตอน 2 ทุ่มกว่า อาการ คือ เปิดเว็บไซต์ไม่ได้ ไม่พบโดเมนเนม ติดต่อผ่าน ftp ก็ไม่ตอบ หรือ ping ก็ไม่ตอบ มีโอกาสเกิดได้หลายกรณี .. แต่สรุปว่าล่มไปไม่ถึงชั่วโมง ก็พอรับได้ครับ สำหรับสถิติในวันก่อนหน้านี้จะไม่ลดฮวบแบบนี้ จึงสรุปได้ว่าระบบเครื่องบริการล่มจริง มิได้เกิดเฉพาะจากเครื่องของผม ซึ่งสถิตินี้ได้จากระบบบริการของ http://www.histats.com

สร้างสื่อการเรียนรู้ด้วย reload หรือ exe editor

reload and exe editor
reload and exe editor

17 พ.ค.54 โปรแกรม reload editor และ exe editor ต่างเป็นโปรแกรมใช้สร้างบทเรียนออนไลน์ หรือสื่อการเรียนรู้ได้ เมื่อสร้างแล้วสามารถบันทึกเพื่อเผยแพร่ได้หลายรูปแบบ
สอดรับกับมาตรฐาน scorm, เว็บเพจ หรือจะส่งเข้า cd ก็ได้ กำลังคิดว่าจะใช้ตัวใดสอนนักศึกษาดี จึงหาแหล่งอ้างอิงว่า มืออาชีพเขาใช้อะไรกัน หรือแนะนำตัวไหน ก็ได้ thaicyberu.go.th ที่น่าจะให้คำแนะนำได้ เพราะเคยเห็นเปิด course สอนโปรแกรมแบบนี้มาแล้ว ที่หน้าแรกของโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พบว่าแนะนำทั้ง reload และ exe แสดงว่าดีทั้งสองโปรแกรม

http://exelearning.org (v 1.04)
http://www.reload.ac.uk (v 2.5.5)
http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/download/eXe0.23.rar
http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/download/man_eXe_0.23.rar
http://www.thaicyberu.go.th/Download/ReloadEditor2.rar
http://www.windowswiki.info/?p=662
http://www.thaicyberu.go.th/document/ManualProducer.rar
http://www.thaiall.com/e-learning/reloadscorm.htm
http://www.thaiall.com/e-learning/exescorm.htm

สื่อการเรียนรู้

สื่อการเรียนรู้
#1 สื่อการเรียนรู้ หมายถึง การนำวัสดุ เครื่องมือ วิธีการ มาเป็นสะพานเชื่อมโยงความรู้ไปยังผู้เรียนได้ ทำให้เกิดความเข้าใจตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้
#2 สื่อการเรียนรู้ (ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมวิชาการ 2544 หน้า 178) หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวผู้เรียนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เน้นสื่อที่ใช้สำหรับการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองทั้งผู้เรียนและผู้สอน ผู้เรียนและผู้สอนสามารถจัดทำ พัฒนาสื่อการเรียนรู้ขึ้นเอง หรือนำสื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่รอบตัวมาใข้ในการเรียนรู้
#3 สื่อการเรียนรู้ หมายถึง สิ่งที่อยู่รอบตัว ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นคน สัตว์ พืช สิ่งของ สถานที่ สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ ซึ่งผู้สอนใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

http://www.thaiall.com/learningmedia/

ใช้บริการ up clip ของ oknation.net

vdo clip oknation
vdo clip oknation

มีคลิ๊ปวีดีโอหลายคลิ๊ป จากหลายกล้อง ตั้งใจจะ upload ในหลายแหล่ง ก็พบว่าเมื่อ 16 พ.ค.2554 ในเว็บไซต์บริการบล็อก (blog website) oknation.net รับ clip ไปเผยแพร่ได้ แต่มี Quota จำกัดขนาดแฟ้มแต่ละแฟ้มไม่เกิน 100 MB และได้พื้นที่รวม 300 MB ต่อไปจะ upload อะไร คงต้องคิดก่อน .. ถ้าพื้นที่เต็มเดี๋ยวจะแย่

http://www.oknation.net