สไลด์ภาพด้วย jquery

slide jquery
slide jquery

2 พ.ค.54 การทำสไลด์ภาพ (image slide) เริ่มมีให้เห็นในเว็บไซต์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น มีแบบ javascript และ flash ถ้าเป็น flash ก็จะดูน่าตื่นตาตื่นใจกว่าแบบ javascript อย่างเห็นได้ชัด แต่การใช้ javascript จะจัดการง่าย และไม่ต้องกังวลเรื่องการรองรับของ browser ในอุปกรณ์ของผู้ใช้ เพราะอุปกรณ์ส่วนใหญ่จะรองรับ javascript แต่มีน้อยลงที่รองรับ flash file

สำหรับ slide ของ jquery จะดูดีมาก และผมได้แก้ไข code บางส่วนให้นำมาใช้งานได้ง่าย ลอง download ไปทดสอบดูได้ครับ
http://www.thaiall.com/java/slidejquery/slide.htm
http://www.thaiall.com/java/slidejquery/slidejquery.zip
http://www.thaiall.com/blog/burin/2339/

การติดตั้งระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

cheqa
cheqa

27 เม.ย.54 จากการเข้า อบรมการติดตั้งระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ณ ห้อง M22 อาคารศูนย์บริการมัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กทม. เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2554 มีบทเรียนตามคู่มือ 3 บท คือ 1) ติดตั้งโปรแกรม (Software) ที่สถาบันการศึกษา 2) ขั้นตอนการ Restore ฐานข้อมูล 3) ขั้นตอนการ Backup ฐานข้อมูล โดยมีวิทยากรด้านไอที 2 ท่านสอนติดตั้งระบบ คือ คุณพินิจ  พุ่มนุ่ม และคุณอังสนา  บำรุงพาทย์ ส่วนดร.สุวิมล  ธนะผลเลิศ บรรยายเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งระบบรุ่น 3 นี้ได้รองรับเกณฑ์ 23 ตัวบ่งชี้ของ สกอ. รองรับเกณฑ์ 18 ตัวบ่งชี้ของ สมศ. และอีก 1 ตัวบ่งชี้ของ กพร.

สิ่งที่พอจะสรุปจากการเรียนรู้ได้ มีดังนี้
1. การติดตั้ง IIS 5 ใน Windows XP SP3
2. การติดตั้ง .net framework 4.0
3. การติดตั้ง Patch แก้ปัญหาที่เกิดกับ sp3 ไม่พบใน sp2
4. การติดตั้ง MS SQL Express
– ถ้ามีปัญหาติดตั้งไม่ผ่านให้ reinstall อีกรอบ
โดยเข้าไปลบห้องใน program files
– ถ้าเปลี่ยนเป็น mixed mode จะกำหนด user ได้
5. การติดตั้ง Dev Express 9.3.4 เฉพาะรุ่นทดสอบนี้
– ถ้า build มาเป็น installer จะมี Dev Express อยู่แล้ว
6. การแก้ปัญหาจากการติดตั้งโปรแกรมสคลิ๊ปของ CHEQA
– คัดลอกห้อง pix และ security ของ filestore, log, tmp
7. การลงทะเบียนใช้งานเพื่อรับ web.config (ใช้โดยสถาบันเท่านั้น)
8. การสร้าง user ใน MS SQL Express
– db selected, user, security, logins,
user mapping, default screma, dbo + db_owner

http://202.44.139.26

ซื้อ IPhone ให้ผู้สูงอายุ (itinlife289)

iphone
iphone

1 พ.ค.54 มีคำกล่าวว่าเทคโนโลยีสามารถเรียนรู้กันได้ ถ้าถูกถามว่าต้องการอุปกรณ์รุ่นใหม่หรือไม่ ก็มักได้รับคำตอบว่าได้ก็ดี เมื่อได้อุปกรณ์มาแล้วค่อยพิจารณาปัญหาที่ตามมา มีความแตกต่างระหว่างของใหม่กับของเดิมอย่างไร หรือจะแก้ไขปัญหาที่มีด้วยวิธีการใด ปัจจุบันบริษัท Apple ออกผลิตภัณฑ์ที่ขอนำเสนอ 2 รายการ คือ IPhone และ IPad ซึ่งมีวัตถุประสงค์การใช้งานต่างกัน กลุ่มผู้ใช้ของแต่ละผลิตภัณฑ์ต่างกัน แต่มีรูปลักษณ์ภายนอกของอุปกรณ์ทั้งสองคล้ายกัน โดย IPhone ออกแบบเพื่อการสื่อสารด้วยเสียงเป็นหลัก และสามารถสื่อสารกับเครือข่ายสังคม แต่ IPad คือเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาแบบไม่มีแป้นพิมพ์ หรือที่เรียกว่า Tablet Personal Computer

ในกรณีที่ผู้สูงอายุต้องการสื่อสารกับคุณหลานที่อยู่ในกรุงเทพฯ ตัวอย่างเช่นคุณหลานมี IPhone รุ่นใหม่ต้องการสื่อสารกับคุณย่าอายุ 85 ปีที่อาศัยในต่างจังหวัดทุกวัน การตัดสินใจเลือกซื้อโทรศัพท์ที่เข้ากันได้กับโทรศัพท์ของคุณหลานย่อมสะดวกกว่าต้องพึ่งพาโทรศัพท์ของเพื่อนบ้าน แต่คุณหลานเคยชินกับอุปกรณ์รุ่นใหม่ก็อาจเลือกซื้อโทรศัพท์ IPhone ให้กับคุณย่า แต่ปัญหาคือคุณย่าที่สายตาเข้าสู่วัยชราเต็มขั้น และไม่นิยมเรียนรู้เทคโนโลยี จะให้เรียนรู้การแชท (Chat) ที่ใช้แป้นพิมพ์แบบ QWERTY ก็อาจพบปัญหาใหญ่หลวงในการสื่อสารผ่านอุปกรณ์ไฮเทค หรือใช้ประโยชน์ได้เพียงส่วนหนึ่งของความสามารถที่อุปกรณ์มีอยู่

ในความเป็นจริงต้องเข้าใจเรื่องช่องว่างของเทคโนโลยี ดังที่เราได้ยินเรื่องของการประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ (Video Conference) ของนายกรัฐมนตรีไทย ถ้าประชุมกันเพียง 2 – 3 คนก็ใช้ความสามารถของ IPhone หรือ IPad ได้ แต่ถ้าต้องการสื่อสารแบบหนึ่งคนนำเสนอและหลายคนฟัง (one to many) ก็จะต้องใช้เครือข่ายความเร็วสูง อุปกรณ์รับเสียง และอุปกรณ์แสดงภาพที่มีคุณภาพ ส่วนการสื่อสารระหว่างสองห้องประชุมที่ห่างไกลกัน จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์และเครือข่ายความเร็วสูงที่เข้ากันได้ มิเช่นนั้นก็จะเหมือนคนหนึ่งใช้โทรศัพท์จากตู้หยอดเหรียญแต่อีกคนใช้ IPhone ก็จะทำให้คุณภาพของ IPhone เป็นเพียงโทรศัพท์ธรรมดาเท่านั้น หรือคุณหลานใช้ IPhone แต่คุณย่าใช้โทรศัพท์เครื่องละไม่ถึง 1 พันบาทย่อมไม่สามารถสื่อสารกับแบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ได้นั่นเอง

http://www.youtube.com/watch?v=rM9EFLnhtKQ

ประสบการณ์ฤดูร้อน (Nation U . Summer Experience)

nation u. summer experience
nation u. summer experience 2011

โครงการ Nation U.  Summer Experience 2011 ระหว่างวันที่ 23 พ.ค.- 17 มิ.ย.2554 สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่นรุ่นแรก ทำกิจกรรมร่วมกับวิทยากรระดับประเทศมากมาย อาทิ ครูคริส ครูนีน่า ครูนุ้ย ครูเต้ ดูงานที่การรถไฟแห่งประเทศไทย บมจ.เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป บจก.ดับบลิวพีเอส (ประเทศไทย) มีรางวัลแพ็คเก็จทัวร์ดูงานเกาหลีใต้ และกิจกรรม meet & Greet กับดารา รับสมัครจำนวนจำกัด สมัครได้สำนักพัฒนานักศึกษา โทร 054-265170-6 ต่อ 115 ไม่จำกัดชั้นปี แต่รับจำนวนจำกัด สามารถ ตรวจประกาศรายชื่อ หรือดาวน์โหลดใบสมัคร ได้ทางเว็บไซต์ http://www.nation-u.com
+ http://www.nation-u.com/summer.php

ระบบรายงานสถิติการเข้าชมเว็บไซต์

truehits
truehits

26 เม.ย.54 มีเหตุให้ต้องมองหาระบบเก็บสถิติการเข้าใช้บริการเว็บไซต์ พบว่าปัจจุบันบริการของ truehits.net เก็บค่าบริการปีละ 1800 บาท หรือหารเป็นเดือนคือ 150 บาทต่อเดือน ถ้าจ่ายล่วงหน้า 5 ปี หรือ 9000 บาท มีโปรโมชั่นใช้บริการได้ตลอดไปจนกว่าจะยกเลิกการให้บริการ  web stat ซึ่งน่าสนใจมาก

เมื่อมองหาผู้ให้บริการรายอื่นก็พบ stats.in.th และ histats.com ซึ่งให้บริการสถิติการเข้าเว็บไซต์แบบไม่มีค่าใช้จ่าย ขณะนี้กำลังทดสอบใช้บริการแบบที่ไม่มีค่าใช้จ่ายดูครับ ถ้ามีปัญหาเรื่องของฟรี ก็จะกลับมาเล่าให้ฟังใหม่ แต่ ณ ขณะนี้ยังไม่พบปัญหาร้ายแรงถึงขั้นต้องตัดญาติขาดมิตรครับ

แผ่นพับ (Folder)

brochure folder leaflet
brochure folder leaflet

25 เม.ย.54 ทำตัวเป็นนักท่องเที่ยวไปเดินที่ BigC พบบูธของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง วางแผ่นพับแบบ 2 พับ 3 ตอน จึงหยิบมาดูด้วยความสนใจ เพราะออกแบบได้ดี และเนื้อหาน่าสนใจถูกใจวัยรุ่นอย่างผม

ประเด็นที่สนใจ
– brochure มีขนาด 18 ซม * 54 ซม
– มีนักศึกษาหน้าตาดีถึง 17 คน
– ปกมีสารบัญว่าเอกสารขนาด 2 พับ 3 ตอนจะนำเสนออะไร
– หน้าแรกคือ กำหนดการ วิธีการ และหลักฐานที่จำเป็น
– หน้าสองคือนักศึกษามานำเสนอคณะวิชา
– หน้าสามและสี่คือรายละเอียดของคณะวิชา
– หน้าห้าคือจุดเด่นที่เน้นเรื่องสถานที่ และการเดินทาง

แผ่นพับ คือ สิ่งพิมพ์ที่ขณะใช้งานมีการกางพับเข้าและกางออก อาจมีวัตถุประสงค์เพื่อการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือเป็นคู่มือสินค้า

http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538768851

บรอดแบนด์แห่งชาติ

broadband
broadband

แค่คาดเดาว่า .. ความคงทนของ access point ที่จะต้องอยู่ตากแดดตากฝนเป็นหมื่นตัวในประเทศไทยตามนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ .. เป็นอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพได้ง่าย แล้วหลังติดตั้งไปได้ 2 ปี อุปกรณ์หลายหมื่นตัวเหล่านั้นก็จะค่อย ๆ ร่วงตามอายุการใช้งาน และจะร่วงจนหมดหลังจาก 4G เข้าไทยอย่างแท้จริงในเวลาไม่นานต่อจากนั้น .. เหมือนโทรเลข Modem Pager ที่เคยมีใช้งาน แต่ก็ค่อย ๆ หายไปในที่สุด

http://www.saksit.com/2009/11/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5-4g/

บล็อก facebook และ twitter

uganda
uganda

ที่ยูกานดา (Uganda) Godfrey Mutabazi, executive director of the Uganda Communications Commission (UCC) ให้สัมภาษณ์กับ reuters ว่า facebook และ twitter เป็นช่องทางของประชาชนที่จะใช้สังคมออนไลน์ชักชวนเพื่อนไปร่วมประท้วง และเกรงว่าจะมีการเผยแพร่ความคิดที่รุนแรงออกไป อันสืบเนื่องจากเหตุประท้วงเรื่องราคาอาหารและพลังงานที่สูงขึ้น
http://www.rawstory.com/rs/2011/04/19/uganda-threatens-to-block-twitter-and-facebook-over-protests/

จดโดเมน ดอททีเอช

document สำหรับ .ac.th
document สำหรับ .ac.th

19 เม.ย.54 ถ้าเพื่อนชาวไทยต้องการจดโดเมนที่ลงท้ายด้วย th อาทิ .ac.th หรือ .co.th หรือ .go.th ต้องมีเอกสารสำคัญที่ผู้รับจดโดเมนร้องขอ และต้องใช้ประกอบการยื่นขอจดโดเมนเนม ต่อบริษัท ที.เอช.นิค จำกัด (thnic) สามารถติดต่อที่โทร 025648031

http://www.thnic.net/index.php?page=documents&new_language=0
http://www.thnic.net/index.php?page=faq&cat=general

ข้อมูลจาก http://www.thnic.or.th/aboutus/history
ต้นกำเนิดของ มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย มาจากลักษณะการดำเนินงานเชิงมูลนิธิของ ศูนย์สารสนเทศเครือข่ายแห่งประเทศไทย (THNIC: Thailand Network Information Center) ตั้งแต่ ปี2531 ซึ่งก่อตั้งโดย ศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา กาญจนสุต และคณะ เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานดูแลระบบทะเบียนและให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมน เพื่อตอบสนองกับการขยายตัวของการจดทะเบียนโดเมนเนม

โดยสถานะของทีเอชนิคในขณะนั้นไม่ได้เป็น นิติบุคคล หากแต่เป็นเพียงศูนย์บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนซึ่งตั้งอยู่ภายในสถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT: Asian Institute of Technology)ที่ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ เนื่องจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแรกเริ่มเป็นกลุ่มสถาบันการศึกษา และองค์กรไม่แสวงผลกำไร อีกทั้งการบริหารและดูแลระบบเนมเซิร์ฟเวอร์และระบบข้อมูลอาศัยอาสาสมัครทั้ง ที่เป็นอาจารย์และนิสิตในมหาวิทยาลัย

ในยุคแรกเริ่มทีเอชนิคต้องรับภาระจัดหา บุคลากรเพื่อบริหารระบบชื่อโดเมนรวมทั้งแสวงหาแหล่งทุนสนับสนุนการดำเนินการ เอง ต่อมาเมื่ออินเทอร์เน็ตในประเทศไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกจากการเปิดกิจการผู้ ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือไอเอสพี (ISP: Internet Service Provider) ก็เริ่มมีบริษัทธุรกิจและหน่วยงานอื่นเริ่มเข้ามาจดทะเบียนชื่อโดเมนเพิ่ม ขึ้น

ในทางปฏิบัติแล้วไอเอสพีมักจะเป็นผู้ยื่นจด ทะเบียนให้กับลูกค้าที่มาขอใช้บริการ และเรียกเก็บค่าบริการ โดยทีเอชนิคไม่มีส่วนแบ่งจากค่าบริการนี้ ภาระงานของทีเอชนิคในการให้บริการจดทะเบียนจึงเพิ่มมากขึ้นกระทั่งบุคคลากร แบบอาสาสมัครไม่เพียงพอต่อการให้บริการ อีกทั้งทีเอชนิคไม่มีแหล่งทุน สนับสนุนใด ๆ โดยตรงเพื่อใช้ในการบริหารระบบชื่อโดเมน ด้วยเหตุนี้ทำให้การดำเนินงานเชิงมูลนิธิจึงเปลี่ยนแปลงไปในรูปของบริษัทมาก ขึ้น

โดยทีเอชนิคเริ่มกำหนดค่าธรรมเนียมการจด ทะเบียนชื่อโดเมนและค่ารักษาชื่อโดเมนรายปี ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2542 และในที่สุดก็ทำการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแบบบริษัทตามกฎหมาย โดย ศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา กาญจนสุต และคณะทำงาน ภายใต้ชื่อ บริษัท ที.เอช.นิค จำกัด เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2542

อย่างไรก็ตามแนวคิดการดำเนินงานเพื่อสนับ สนุนการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตและระบบโดเมนซึ่งเป็นสิ่งที่ THNIC ตระหนักถึงความสำคัญเรื่อยมา นำไปสู่การจัดตั้งเป็น THNIC Foundation หรือ มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย อย่างเป็นทางการขึ้น โดย ศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา กาญจนสุต ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2550 เพื่อดำเนินงานในรูปแบบที่ไม่แสวงหาผลกำไร

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นศูนย์กลางใน การพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตโดเมนและนโยบายการจดทะเบียนชื่อโดเมนอันเหมาะสมและ มีประสิทธิภาพที่แสวงหาความร่วมมือจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของบุคคลทั่วไปที่สนใจ

ในทางปฏิบัติปัจจุบันทีเอชนิคมิได้ทำงานโดย ลำพัง หากแต่ได้เปิดรับความคิดเห็น จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การกำหนดนโยบายและการดำเนินการด้านการจด ทะเบียนชื่อโดเมนสัญชาติไทย เป็นไปในทิศทางที่จะสนองตอบต่อประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก

และได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการนโยบายชื่อโดเมน ของมูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย ซึ่ง ประกอบด้วยผู้แทนจากหลายหน่วยงาน โดยคณะอนุกรรมการดังกล่าวทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดนโยบายให้ทีเอชนิคนำไป ปฏิบัติ การจัดตั้งคณะอนุกรรมการนโยบายชื่อโดเมนดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการดำเนินการ ขั้นต้น เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมให้ข้อเสนอแนะ แต่คณะอนุกรรมการดังกล่าวไม่ใช่นิติบุคคลตามกฎหมาย รวมทั้งมิได้มีอำนาจสั่งการต่อทีเอชนิคโดยแท้จริง

ม.หอการค้าแจก ipad

utcc ipad
utcc ipad

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดงานแถลงข่าว UTCC Hybrid Learning System 3.0 iPad Version ขึ้น โดย รศ.ดร. จีรเดช อู่สวัสดิ์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้พัฒนาระบบ Hybrid Learning อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2550 โดยเป็นระบบที่เชื่อมการเรียนการสอน แบบ e-Learning และการเรียนในชั้นเรียนแบบ Face to Face เพื่อเน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ในการเรียนระหว่างผู้เรียนด้วยกันหรือผู้เรียน กับผู้สอน และในปีนี้ได้พัฒนาเป็น Hybrid Learning 3.0 ipad Version และจะแจก ipad ให้นักศึกษาใหม่ทุกคน ประมาณ 5,000 คน ตอนนี้ทางมหาวิทยาลัยสร้างรายวิชา e-Learning สำหรับ Hybrid Learning 3.0 ipad  Version 3 รายวิชา จากรายวิชาที่มีอยู่ในระบบ e-Learning แล้วกว่า 324 วิชา

รศ.ดร.จีรเดช อู่สวัสดิ์ กล่าวว่าบริษัท Digitron ได้สนับสนุนการจัด ตั้ง Apple Authorised Campus Experience Center ภายในมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การใช้ผลิตภัณฑ์ของ Apple โดยมีเจตนารมณ์ให้นักศึกษาและคณาจารย์ได้มีประสบการณ์การใช้งานผลิตภัณฑ์ที่ มีคุณภาพและล้ำสมัยในเชิงการศึกษาในราคาพิเศษสำหรับทางมหาวิทยาลัยโดย เฉพาะ  ทั้งนี้ยังให้การสนับสนุนโครงการเพื่อการศึกษาต่างๆ อีกด้วย โดยการแจก iPad ให้กับนักศึกษาใหม่ในครั้งนี้ บริษัท Digitron คาดหวังให้ iPad สร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษาจนถึงสามารถสร้างแอพพลิเคชั่นบน iPad ได้ในอนาคต   ในส่วนของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งได้พัฒนาระบบ UTCC Hybrid Learning System 3.0 iPad Version ขึ้น ได้มีการติดตั้งเสา 3G จำนวน 2 แห่ง พร้อมทั้งบริการ Internet 1.3 Gbps ซึ่งรองรับการเรียนระบบ Hybrid Learning อยู่แล้ว โดยได้มีการสร้างรายวิชา   e-Learning  สำหรับ UTCC Hybrid Learning System 3.0 iPad Version อีก 6 รายวิชา เพิ่มขึ้นจากรายวิชาที่มีอยู่ในระบบ e-Learning แล้วกว่า 347 วิชา โดยนักศึกษาจะสามารถดาวน์โหลดเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แบบมัลติมีเดีย ประกอบการ เรียนการสอนแบบอินเตอร์แอ็คทีฟในรูปแบบเดียวกับแอพพลิเคชั่น iBook ของ Apple

“มหาวิทยาลัยได้มอบคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ให้อาจารย์ประจำทุกคน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 เพื่อใช้ในการพัฒนาบทเรียน ผลิตบทเรียน e-Learning ตลอดจนและเตรียมความพร้อมสำหรับระบบ UTCC Hybrid Learning System และในปี 2551 ได้เริ่มโครงการ UTCC’s ADSL Research @ HOME ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้อาจารย์ใช้งานได้ที่บ้าน เพื่อทำงานวิจัยและการเรียนการสอน และจัดอบรมหลักสูตรโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ขั้นพื้นฐาน หลักสูตร UTCC Hybrid Learning System และ หลักสูตร Adobe ให้อาจารย์สามารถใช้งานและผลิตบทเรียน e-Learning ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปีการศึกษา 2553 มีอาจารย์ที่ผ่านการอบรมในหลักสูตร Advance 1, Advance 2 และหลักสูตรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วมากกว่า 245 คน”รศ.ดร.จีรเดชกล่าว

อีกประเด็นที่ผู้สื่อข่าวถามว่า การเรียนการสอนแบบนี้จะทำให้เด็กไม่เข้าชั้นเรียนหรือไม่นั้น อธิการยืนยันว่า รูปแบบของมหาวิทยาลัยจะเป็นรูปแบบการเรียน What มาจากบ้าน และมาเรียน Why และ How ในห้องเรียน คือ นักศึกษาต้องอ่านเนื้อหาวิชามาจากบ้าน และต้องเข้าห้องเรียนทุกครั้ง เพื่อตอบคำถาม หรือสอบในห้องเรียน ซึ่งจากการเรียนรู้วิธีดังกล่าว ทำให้นักศึกษามีผลการเรียนที่ดีขึ้น มีความรับผิดชอบมาก และอาจารย์ของมหาวิทยาลัยสามารถสร้าง ปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน เนื้อหาได้ทันที จากเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้เนื้อหาหลักสูตรมีความทันสมัยมากขึ้น

นอกจากท่านอธิการบดีแล้ว งานนี้ยังมี คุณเชาว์ เปรมสุริยา ผู้บริหาร U-STORE ได้ย้ำว่าการแจก ipad ให้กับนักศึกษาใหม่ ทางบริษัท คาดหวังให้ ipad สร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษาจนถึงสามารถสร้างแอพพลิเคชั่นบนipad ได้ใน อนาคต นอกจากนี้นักศึษาก็ยังสามารถดาวน์โหลดเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แบบมัลติมีเดีย ประกอบการเรียนการสอนในรูปแบบเดียวกับแอพพลิเคชั่น iBook ของ Apple ได้ทันทีซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตอบสนองต่อการเรียนการสอนและการใช้งานได้เป็นอย่างดี
http://www.iphoneapptube.com/2011/01/ipad_31.html