ข่าวเผยแพร่จาก สมศ.

ข่าวสมศ
ข่าวสมศ

12 มี.ค.54 สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือสมศ. มีข่าวเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง ติดตามได้จาก http://www.onesqa.or.th มี pdf ให้ download จากหน้าแรกเลยครับ
ข้อมูล 12 มี.ค.54 พบแฟ้มข่าวถึง 363 รายการ .. เยอะมาก แต่ link url ยาวไปหน่อยครับ คัดลอกมาวางใน blog คงไม่สะดวก
อาทิ
+ สมศ.สงสัยรร.ตกประเมินไม่สนใจขอรับประเมินซ้ำ
+ สมศ.ตั้งเกณฑ์ใหม่ประเมินมหา’ลัย
+ สมศ.ย้ำเกณฑ์ประเมินอุดมศึกษา
+ ห่วงการศึกษาไทยรั้งท้ายสากล นายกฯเร่งพัฒนาทักษะการการอ่าน วิทย์ คณิต
+ คุณภาพคุณ สมศ.: มายาภาพ อุปสรรคสำคัญในการเข้าถึงคุณภาพ
+ ประกาศเรื่อง รายชื่อสถานศึกษาได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม 2554
+ ประเมินรอบ3สมศ.เน้นอัตลักษณ์

สกอ.แฉข้อมูลศูนย์นอกที่ตั้งไร้คุณภาพ
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัย เป็นครั้งแรก โดยตรวจศูนย์จัดการศึกษานอกที่ตั้งในกรุงเทพฯ  4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยคริสเตียน และมหาวิทยาลัยนครพนม  ซึ่งพบว่าภาพรวมการจัดการศึกษายังไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่ สกอ.กำหนดหลายเรื่อง อาทิ ห้องสมุดไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นที่ศึกษาหาความรู้  เครื่องคอมพิวเตอร์มีไม่เพียงพอ อาจารย์ที่สอนจบไม่ตรงวุฒิการศึกษา  และอาจารย์ที่ปรึกษามีไม่เพียงพอที่จะให้คำปรึกษาแก่นิสิต นักศึกษา เป็นต้น

รศ.นพ.กำจร ตติยกวี กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ยังพบว่า บางหลักสูตรที่เปิดสอนได้ทำการปิดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยที่ตั้ง หรือ มหาวิทยาลัยแม่ไปแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นการจัดการศึกษาที่ไม่เป็นไปตามประกาศเรื่องการจัดการศึกษานอก สถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ พ.ศ. 2552 ที่กำหนดไว้ว่าหลักสูตรที่เปิดสอนต้องมีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยที่ตั้ง ด้วย อย่างไรก็ตามจากการสอบถามนิสิต นักศึกษา กลับพบว่า มีความพึงพอใจที่มหาวิทยาลัยเปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต และหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตมาก เพราะทำให้ได้เรียนในสาขาที่ต้องการ ขณะที่บางคนพอใจในสถานที่ เพราะสะดวกในการเดินทางมาเรียน  ทำเลดี และสถานที่บางแห่งหรูหรา

“ผมขอย้ำว่าการออกตรวจเยี่ยมครั้งนี้ ไม่ใช่ออกไปจับผิดมหาวิทยาลัย หรือ ถ้าพบว่ามหาวิทยาลัยดำเนินการไม่มีมาตรฐานแล้ว สกอ.จะสั่งปิดทันที แต่ต้องการไปดูข้อเท็จจริง พร้อมถ่ายรูปสถานที่ไว้เป็นหลักฐาน และมีข้อเสนอแนะ เพื่อให้มหาวิทยาลัยไปปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐานการจัดการศึกษา ขณะเดียวกันในสัปดาห์นี้  สกอ.จะนำข้อมูลที่ได้จากการตรวจเยี่ยมพร้อมรูปถ่าย เผยแพร่ทางเว็บไซต์ของ สกอ. เพื่อเป็นข้อมูลให้สาธารณชนได้รับทราบ โดยเฉพาะผู้ที่กำลังจะไปศึกษาจะได้มีข้อมูลจริงก่อนตัดสินใจว่า จะไปเรียนมหาวิทยาลัยนี้หรือไม่และถ้ามหาวิทยาลัยใดมีการปรับปรุงตามที่ สกอ.แนะนำไปแล้ว สกอ.ก็จะเปลี่ยนข้อมูลให้” รศ.นพ.กำจร กล่าว.

http://qa.swu.ac.th/LinkClick.aspx?fileticket=Az%2F%2B6ELofYU%3D&tabid=3291&mid=12140
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=42&contentID=125533

dropdown list ที่ส่งผลต่อ dropdown list ชุดใหม่

browser incompatible
browser incompatible

12มี.ค.54 มีเพื่อนพัฒนาโปรแกรมเลือกข้อมูลผ่านเว็บเพจที่สามารถเลือกรายการข้อมูลที่เชื่อมกับระบบฐานข้อมูล ทำให้การเลือกครั้งแรกผ่าน dropdown list ส่งต่อกระบวนการไปแสดงรายการข้อมูลชุดใหม่ แล้วให้เลือกผ่าน dropdown list ชุดใหม่ ที่สัมพันธ์กับการเลือกครั้งแรก โปรแกรมนี้ทำงานได้มาโดยตลอด แล้วอยู่ ๆ ก็ใช้ไม่ได้ .. เป็นคำบอกเล่าของน้องนุช (จำได้ว่าเคยรับแจ้งไม่เป็นทางการมาก่อนหน้านี้ .. คราวนี้เจอตัวเป็น ๆ)
เมื่อผมตรวจสอบในรายละเอียดก็พบว่า Scriptไม่มีปัญหา เมื่อทำงานกับ IE6 แต่มีปัญหาเมื่อทำงานบน Firefox แสดงว่า Script ที่ใช้อยู่ไม่ compatible กับ browser รุ่นใหม่ ก็ต้องปรับ Script ให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ เพราะทีมงานด้านซอฟท์แวร์จะลงโปรแกรมใหม่ให้กับผู้ใช้เสมอ หรือ Upgrade Web Browser เป็นรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นเทคนิคการใช้คือ Ajax ทำงานร่วมกับ PHP .. ผมก็ใช้เวลาหาข้อมูลระยะหนึ่ง จำได้ Script สำหรับทำให้ Ajax ทำงานกับ Textbox ได้ แต่การจะทำงานกับ Dropdown list ต้องเปลี่ยน code ในส่วนที่สัมพันธ์กับ div ก็ใช้เวลากว่าจะเห็นความเหมือนที่แตกต่างของ Textbox กับ Div

แล้ววันนี้ก็เคลียร์ Script ชุดนี้ได้ เพราะมีแผนจะนำไปใช้ในอีกระบบหนึ่ง ซึ่งผู้ใหญ่ร้องขอมาว่าอยากให้เรียกข้อมูลจากฐานข้อมูลที่เป็นข้อมูลสถิติของแต่ละคน และข้อมูลนี้ไม่จำเป็นต้องกรอกใหม่ก็จะดึงมาเป็น Dropdown List ให้เลือก เพราะถ้าปล่อยให้กรอกเองก็จะคลาดเคลื่อน แต่ปัญหานี้ใช้ Dropdown List ที่ทำงานร่วมกับ Text Box มีรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.thaiall.com/ajax

วิพากษ์บทความจากการวิจัยด้านไอที ปี 2554

reviewer
reviewer

8 มี.ค.54 มีหัวข้อต้องให้คะแนน 7 หัวข้อ 1) Overall Evaluation  2) Reviewer’s Confidence 3) Degree of Novelty and Innovation 4) Relevant to the conference 5) Level of language and presentation 6) Fitting the style instruction 7) Up-to-date literature
พบปัญหาในบทความที่ได้ให้ข้อเสนอแนะแก้ผู้เสนอบทความดังนี้
1. บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษมีเนื้อหาไม่ตรงกัน ควรปรับให้ตรงกัน
2. วิธีดำเนินงานควรมีคำบรรยายประกอบภาพให้เข้าใจ และมีรายละเอียดที่เหมาะกับวิธีการวิจัย
เช่น แสดงขั้นตอนในการออกแบบ การพัฒนา การทดลอง การหาประสิทธิภาพ เป็นต้น
3. ผลการดำเนินงานไม่มีรายละเอียดเท่าที่ควร ควรนำเสนอภาพพร้อมคำอธิบายประกอบให้เข้าใจ
ผลการทดสอบในขั้นตอนต่าง ๆ และผลการเปรียบเทียบ
4. ข้อเสนอแนะที่เขียนมา ควรขยายความให้สัมพันธ์กับผลการดำเนินงาน
เป็นต้น
สำหรับเนื้อหาแล้ว .. ผมไม่ค่อยกล้าก้าวล่วง เพราะเห็นเป็นงานของป.โท ที่ผ่านการคัดกรอง ดำเนินการมาจนแล้วเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งผู้นำเสนอใช้เวลาดำเนินการ ทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจศึกษา พัฒนาระบบ แล้วนำประสบการณ์จากการศึกษามาเล่าสู่กันฟัง ผ่านบทความจากการวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

ที่พอให้ข้อเสนอแนะ .. การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการอธิบายแต่ละหัวข้อต้องชัด เพื่อให้มีความหมายตรงตามหัวข้อที่เวทีกำหนด ซึ่งบทความที่ผมได้รับมอบหมายส่วนใหญ่เป็นงานของนักศึกษาป.โท ที่ผ่านการคัดกรองมาแล้วระดับหนึ่ง ก็เพียงช่วยดูให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งหัวข้อกำหนดในบทความมีดังนี้ บทคัดย่อ บทนำ วรรณกรรมหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิธีการหรือขั้นตอน ผลการดำเนินการวิจัย และสรุป

ใช้บล็อกเป็นโน๊ตย่อ หรือบันทึกช่วยจำ เรื่องการเขียน sql

8 มี.ค.54 มีโอกาสจัดการข้อมูลประมาณมาก กับหลายตารางที่มีโครงสร้างต่างกัน
พบว่าคำสั่ง delete กับ truncate ให้ผลใกล้เดียงกันคือ clear ข้อมูลที่เคยทดสอบออกหมด แต่ truncate จะทำให้ auto_increment เริ่มต้นจาก 1 มิใช่ต่อจากเลขเดิมที่เคยมีในตารางนั้น
ส่วนคำสั่งเพิ่มข้อมูลหลายระเบียนเดิมใช้
insert into behavior (bid,bname) values (1,’tom’);
insert into behavior (bid,bname) values (2,’boy’);
แบบใหม่เขียนสั้นลงคือ
insert into behavior (bid,bname) values (1,’tom’), (2,’boy’);
ส่วนการแก้ไขข้อมูลหลายเขตข้อมูลจะใช้ , หลัก set แต่ใช้ and หลัง where
เช่น
update behavior set bsex=0, bname=’jack’ where bid=1 and bgroup=2

ตัวอย่างการ clear ข้อมูลก่อนเปิดใช้จริง
delete from administration;
truncate administration;
truncate behavior;
truncate favorite;
truncate president;
truncate rart;
truncate rart_d;
truncate rdevelop;
truncate rdevelop_d;
truncate reval;
truncate rexecutive;
truncate rexecutive_d;
truncate rother;
truncate rother_d;
truncate rpublish;
truncate rpublish_d;
truncate rresearch;
truncate rresearch_d;
truncate rservice;
truncate rservice_d;
truncate rteaching;
truncate rteaching_d;
truncate ryour;
truncate ryour_d;
truncate salary;

การเตรียมข้อมูลไปประมวลผลใน MySQL

การใช้ excel เตรียมข้อมูลสำหรับ mysql
การใช้ excel เตรียมข้อมูลสำหรับ mysql

6 มี.ค.54 ต.ย. การใช้ excel จัดการข้อมูลเป็น SQL Command ก่อนส่งไปประมวลผลในเครื่องบริการ
– เมื่อกรอกข้อมูลใน excel แล้ว เขียนสูตรสร้าง SQL Command แล้วคัดลอก SQL Command ไปประมวลผล
– ตัวอย่างนี้มีตารางชื่อ friends และในตารางมีเขตข้อมูล 3 ระเบียน

http://www.thaiall.com/mysql
http://www.thaiall.com/office

การใช้สองจอภาพในการนำเสนอด้วย Projector

dual monitor
dual monitor

5 ก.พ.54 การใช้ Dual monitor ในห้องประชุม เพื่อนำเสนองานโดยใช้ 2 จอภาพ
จอภาพแรกเป็น Primary monitor ของผู้นำเสนอ และอีกจอภาพถูกฉายขึ้น Projector
มีขั้นตอนดังนี้
1. ต่อสาย Projector เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วเข้า Display Properties, Settings
2. เลือกจอภาพที่ 2 ด้วยการ Click ที่เลข 2 ตามภาพ
3. Click : Extend my Windows desktop ..
4. กดปุ่ม Apply ผลคือจะมีจอภาพใหม่รถถูกใช้งาน
5. เลื่อนจอ Windows ของ IE หรือ PPT ไปทางขวา ก็จะใช้งานจอภาพทางขวาได้อิสระ

การทำให้โค้ดมีประสิทธิภาพ

optimization
optimization

Code Optimization คือ การทำให้โค้ดมีประสิทธิภาพ ทั้งลดเวลาในการประมวลผล (Time to Execute) การใช้ทรัพยากร (Resource Using) และการนำกลับมาแก้ไขได้ง่าย (Easy to Update) ซึ่งตัวอย่างต่อไปนี้เน้นที่การเปรียบเทียบการเขียนโค้ด (Source Code) แบบก่อนปรับกระบวนการ และหลังปรับกระบวนการของโค้ด

อาจใช้วิธีการเขียนแบบโมดูลหรือฟังก์ชัน ใช้สมการทางคณิตศาสตร์แทน การเลือกใช้คำสั่งที่สั้นกว่า หรือการใช้อัลกอริทึมที่เหมาะสม ซึ่งภาษาที่ใช้นำเสนอ คือ Javascript และเกี่ยวข้องกับ 2 เว็บเพจ ได้แก่ programming และ javascript

ในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์

คำว่า program optimization หรือ software optimization หมายถึง กระบวนการปรับปรุงแก้ไขระบบซอฟท์แวร์หนึ่ง ในบางแง่มุมของงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือใช้ทรัพยากรน้อยกว่าเดิม
ความหมายโดยทั่วไปของ Optimization : โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่อาจถูกทำให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพื่อนำมาประมวลผล หรือสามารถดำเนินการ โดยใช้หน่วยความจำลดลง ใช้ทรัพยากรน้อยลง หรือลดการใช้พลังงาน

http://en.wikipedia.org/wiki/Program_optimization
http://www.thaiall.com/optimization/

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงาน ม.เกษตร

ผลการดำเนินงานเทคโนโลยีสารสนเทศปี พ.ศ. 2548 – 2550
http://www.ku.ac.th/e-university/result2548-2550.html
1. ระบบงบประมาณ
โครงการพัฒนาระบบงบประมาณ หรือ โครงการบัญชี 3 มิติ (https://acc3d.ku.ac.th/) มีระบบงานย่อยที่เปิดใช้ รวมทั้งสิ้น 3 ระบบ ได้แก่ ระบบจัดทำงบประมาณเงินรายได้ประจำปี 2550 ปี 2551 การจัดสรรเงินงบประมาณ และ การจัดสรรเงินประจำงวด ได้ดำเนินการจัดอบรมให้แก่บุคลากรหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้มีความเข้าใจในระบบงานบัญชี 3 มิติ และสามารถนำไปปฏิบัติงานได้จริง โดยเนื้อหาการจัดอบรม ประกอบด้วย 4 ระบบงานหลัก ได้แก่ งบประมาณ พัสดุ การเงิน และการบัญชี มีบุคลากรเข้ารับการอบรมจำนวน 917 คน แยกเป็น วิทยาเขตศรีราชา จำนวน 72 คน วิทยาเขตสุพรรณบุรี จำนวน 15 คน วิทยาเขตบางเขน จำนวน 539 คน วิทยาเขตลพบุรี จำนวน 11 คน วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 231 คน วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร จำนวน 39 คน และวิทยาเขตกระบี่ จำนวน 10 คน
2. ระบบการเงินและบัญชี
เป็นระบบ สารสนเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการบัญชี 3 มิติ ที่ใช้งานโดยกองคลังและหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัย เพื่อบันทึกรายละเอียดการดำเนินงานด้านการเงินของโครงการ เช่น การรับเงินและการออกใบเสร็จ รายงาน ณ สิ้นวัน/เดือน/ปี รายการใบนำส่ง/ใบนำฝาก พิมพ์เช็ค การโอนเงิน เงินทดรองจ่าย รายการลงบัญชีงบดุล เป็นต้น และสามารถใช้เพื่อจัดทำรายงานทางการเงินในรูปแบบงบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงผลการดำเนินงาน งบกระแสเงินสด โดยเริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา
3. ระบบพัสดุและทะเบียนทรัพย์สิน
เป็นระบบสารสนเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ 3 มิติ ช่วยสนับสนุนการจัดซื้อ จัดจ้าง ควบคุมครุภัณฑ์และทะเบียนทรัพย์สินและทะเบียนวัสดุ เป็นต้น โดยเริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา https://acc3d.ku.ac.th/
4. ระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์
เริ่มใช้ระบบนี้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 ในการประชุมผู้บริหารระดับสูงอื่น ได้แก่ การประชุมคณบดี การประชุม อ.ก.ม. และการประชุมสภามหาวิทยาลัย การประชุมแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นการประชุมที่พิจารณาข้อมูลวาระการประชุมผ่าน เครือข่าย เพื่อให้การประชุมในแต่ละครั้งมีความสะดวก รวดเร็ว และทันสมัย อีกทั้งสามารถค้นหาและอ่านข้อมูลได้โดยสะดวกในทุกเวลาและทุกสถานที่ ที่ http://emeeting.ku.ac.th
5. ระบบทวนสอบข้อมูลบุคลากร
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ ได้ให้การสนับสนุนด้านเทคนิคและการจัดทำโปรแกรม และการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูล ระบบทวนสอบข้อมูลบุคลากรมหาวิทยาลัย โดยมีกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บข้อมูลหลักของข้าราชการและลูกจ้างประจำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งการทวนสอบข้อมูลเป็นช่องทางหนึ่งของการสำรวจสถานภาพที่แท้จริงของ บุคลากรมหาวิทยาลัยประเภทต่าง ๆ ที่ https://mis.person.ku.ac.th/report_person/profile/
6. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ร่วมกับสถาบันวิจัย และพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินการพัฒนาระบบงานสารบรรณ และการจัดการระบบเอกสารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถออนไลน์ผ่านทางเครือข่ายได้ทันที ทำให้ระบบการรับ-ส่ง หนังสือบันทึกราชการ ประกาศ และหนังสือเวียนต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย สามารถรับ-ส่ง ถึงกันได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลา ทรัพยากร ทั้งด้านกำลังคน กระดาษ และงบประมาณได้อย่างมาก ที่ http://life.ku.ac.th

ระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน
1. ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน M@xLearn
ระบบสนับสนุนการเรียนการสอนผ่านเว็บของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ( Learning/Content Management System : LMS หรือ LCMS) ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทดลองใช้มาตั้งแต่ปี 2542 ต่อมาได้ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ พร้อมกับขยายการใช้งานไปสู่ระดับ มหาวิทยาลัยในปี 2544 และสนับสนุนการเปิดสอนหลักสูตรที่เรียนแบบออนไลน์ของคณะฯ ในปี พ.ศ. 2546 โดยได้ตั้งชื่อซอฟท์แวร์ LMS ดังกล่าวอย่างเป็น ทางการว่า M@xLearn (Maximum Learning) ที่ http://course.ku.ac.th
2. ระบบหลักสูตรระดับบัณฑิตวิทยาลัยและข้อมูลสนับสนุนผู้บริการของบัณฑิตวิทยาลัย
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างของฐานข้อมูลหลักสูตรระดับบัณฑิตวิทยาลัยและฐาน ข้อมูลอื่นของบัณฑิตวิทยาลัย ให้มีมาตรฐานเดียวกัน และสามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ โดยเริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2548 พร้อมกับได้พัฒนาระบบสารสนเทศวิทยานิพนธ์เพื่อการเรียกค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์ ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ โดยเริ่ม ใช้งาน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2548
3. พัฒนาระบบลงทะเบียนอบรม/สัมมนาออนไลน์
ระบบลงทะเบียนอบรม/สัมมนาออนไลน์ ช่วยให้บัณฑิตวิทยาลัยบริหารการลงทะเบียนเข้าร่วมการอบรม/สัมมนาที่หน่วยงาน จัดขึ้นได้โดยผ่านทางเครือข่ายนนทรี และทำให้การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่สะดวกและคล่องตัวขึ้น โดยเริ่มใช้ในงานสัมมนาทางวิชาการในเดือนตุลาคม 2548 และจะเป็นต้นแบบของการใช้งานในส่วนกลางของมหาวิทยาลัยต่อไป
4. พัฒนาระบบประเมินการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์
ระบบประเมินการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ ได้เริ่มใช้ตั้งแต่ ภาคต้น ปีการศึกษา 2547 ระบบได้อำนวยความสะดวกให้อาจารย์และนิสิต โดยสามารถทำการประเมินได้อย่างรวดเร็ว แบ่งการประเมินเป็น 3 ประเภท ได้แก่ นิสิตประเมินการสอนของอาจารย์ นิสิตประเมินการเรียนของตนเอง และอาจารย์ประเมินการสอนของตนเอง โดยในขณะนี้อยู่ในระหว่างการพัฒนา ปรับปรุงระบบฯ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพ ตามระบบถามตอบ และข้อเสนอแนะของผู้ใช้ เว็บไซด์ระบบฯ ที่ https://eassess.ku.ac.th/

ระบบสารสนเทศเพื่อการวิจัย
1. ระบบฐานข้อมูลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ได้ดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้เกิดการรวบรวมงานวิจัยของ บุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเป็นฐานข้อมูลเพื่อเผยแพร่อ้างอิงได้ อีกทั้ง มีกลไกการเรียกค้นและนำไปใช้งานต่อไปได้ ระบบฐานข้อมูลงานตีพิมพ์ จะแสดงรายการงานตีพิมพ์ในรูปแบบ เดียวกับเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ พร้อมทั้งมีแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์บรรจุผลงานเพื่อให้ผู้สนใจสามารถเปิดอ่านได้ ในปี 2549 มีข้อมูลงานตีพิมพ์ทางวิชาการแล้ว ทั้งสิ้น 1,621 รายการ โดยสามารถป้อนข้อมูลและการสืบค้นผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่ https://pindex.ku.ac.th/

ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริการ
1. ระบบปฏิทินกิจกรรม มก. (e-Calendar)
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ได้จัดทำเว็บเพจปฏิทินกิจกรรมของมหาวิทยาลัย เพื่อใช้ในการแจ้งข่าวสารและประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยโดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่เพื่อให้สะดวกในการค้นหา เช่น ทุนการศึกษา การประชุมทางวิชาการ การฝึกอบรม การรับสมัครงาน เป็นต้น ระบบปฏิทินกิจกรรม มก. เปิดบริการตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2549 ผู้ที่สนใจสามารถเรียกดูได้ที่หน้าแรกของโฮมเพจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือที่ http://calendar.ku.ac.th

ระบบบริการอื่น
1. ระบบโทรทัศน์ผ่านเครือข่าย (ไอพีทีวี)
ไอพีทีวี เป็นรูปแบบหนึ่งของการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านเครือข่าย ด้วยความพร้อมด้านโครงข่ายสัญญาณที่ครอบคลุมในวิทยาเขต มหาวิทยาลัยได้มอบให้ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ถ่ายทอดสัญญาณผ่านเครือข่ายนนทรี โดยแพร่ภาพกิจกรรมที่ถ่ายทำไว้ล่วงหน้าหรือถ่ายทอดสดงานที่จัดขึ้นใน มหาวิทยาลัยภายใต้ ความร่วมมือกับบริษัท บีลิงค์ มีเดีย จำกัด ในโครงการ KU Channel โดยสำนักบริการคอมพิวเตอร์ได้ดำเนินการ ติดตั้งจอพลาสมาพร้อมสายสัญญาณ เพื่อกระจายสัญญาณตามจุดต่าง ๆ ทั้งสิ้น 8 จุด จำนวน 12 ตัว คือ โรงอาหารกลาง 1 จำนวน 2 ตัว โรงอาหารกลาง 2 จำนวน 2 ตัว บัณฑิตวิทยาลัย จำนวน 1 ตัว ศูนย์เรียนรวม 1 จำนวน 1 ตัว ศูนย์เรียนรวม 2 จำนวน 1 ตัว ศูนย์เรียนรวม 3 จำนวน 1 ตัว อาคารสารนิเทศ 50 ปีบริเวณชั้น U และชั้น 1 จำนวน 3 ตัว และคณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 ตัว
2. ระบบ E-Security
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสำนักบริการคอมพิวเตอร์ ดำเนินการติดตั้งกล้องรักษาความปลอดภัย ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ภายใต้โครงการ e-Security ระยะแรก จํานวนทั้งสิ้น 36 ตัว เชื่อมโยงเข้าเป็นระบบเดียวกันที่สามารถบริหารจัดการได้สะดวก ตามจุดต่าง ๆ ได้แก่ บริเวณอาคารศูนย์ เรียนรวม 1 จํานวน 5 ตัว อาคารศูนย์เรียนรวม 2 จํานวน 2 ตัว อาคารศูนย์เรียนรวม 3 จํานวน 5 ตัว โรงอาหารกลาง 1 จํานวน 4 ตัว โรงอาหารกลาง 2 จํานวน 3 ตัว อาคาร Kasetsart IT Square (KITS) จํานวน 7 ตัว อาคารสํานักบริการคอมพิวเตอร์ จํานวน 5 ตัว อาคารศูนย์มัลติมีเดีย จํานวน 2 ตัว และอาคารจักรพันธ์ ฯ จํานวน 3 ตัว อีกทั้งมีระบบจัดเก็บข้อมูลที่สํานักบริการคอมพิวเตอร์ และมีจอตรวจสอบเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่ศูนย์เกษตรรวมใจ งานรักษาความปลอดภัยประตูงามวงศ์วาน โดยกล้อง ทุกตัวจะเชื่อมเข้าเครือข่ายนนทรี ทําให้สามารถตรวจสอบการทํางานระยะไกลจากคอมพิวเตอร์ได้โดยตรงผ่านเว็บ และยังสามารถดูภาพจากกล้องทุกตัวได้พร้อมกัน ตลอดจนมีระบบบันทึกภาพเพื่อเปิดดูย้อนหลังได้

ใช้ ppt นำเสนอผลการเปรียบเทียบ

job evaluation
job evaluation

1 มี.ค.54 ภาพนี้ทำขึ้นมาด้วย Powerpoint ว่าจะใช้เป็นตัวอย่างให้นักศึกษาเห็นการประยุกต์ใช้ Powerpoint นำเสนอแทนตัวอักษร เพราะแผนภาพจะทำให้เข้าใจได้ง่าย และรวดเร็ว .. ดังโบราณว่าไว้ 10 ปากว่าไม่เท่าหนึ่งตาเห็น และสิบตาเห็นไม่เท่าหนึ่งมือคลำ และสิบมือคลำไม่เท่าพบสัจธรรมด้วยหนึ่งใจ
http://www.thaiall.com/office
ผมเพิ่มคุณธรรม เพราะเห็นเอกสารข้างล่างนี้ครับ
http://www.edupolice.org/edu_P/indicate/criterion/doc/3.1.21%283%29.pdf

แก้ปัญหาข่าวหายไปจากระบบอย่างไร้ร่องรอย

news nivate
ระบบจัดการข่าว .. ที่ข่าวหายไปอย่างไร้ร่องรอย

22 ก.พ.54 ระบบจัดการข่าวออนไลน์ที่มีการพัฒนาขึ้น และใช้งานมาแล้วระยะหนึ่ง .. ช่วงหลังผู้ใช้งานระบบพบปัญหาว่าข่าวเดิมหายไป แล้วเขาเชื่อว่ามีผู้ไม่ประสงค์ดีเข้าไปลบข่าวออก เมื่อตรวจพฤติกรรมของผู้ใช้งานระบบก็พบว่า มีการเปิดเว็บเพจระบบจัดการข่าวผ่าน bookmark ประกอบกับการปฏิบัติการทันทีเมื่อคลิ๊ก เช่น ลบเมื่อคลิ๊ก เปลี่ยนสถานะเมื่อคลิ๊ก โดยไม่มีการกรองผ่าน captcha หรือ password verify ซึ่งปัญหาอาจเกิดจาก  google.com หรือ browser เข้ามาดูดเว็บเพจ ทำให้มีการเรียกใช้ลิงค์จนเกิด action อย่างไม่ตั้งใจ
จึงแก้ไขโปรแกรมอย่างง่าย ด้วยการเพิ่ม password verify ผ่านการพิมพ์ก่อน action ทำให้การกดปุ่มลบหรือเปลี่ยนสถานะการแสดงข่าวไม่ทำงาน จนกว่าจะรับข้อมูลที่ยืนยันผ่านผู้ใช้งานระบบ ก็เชื่อว่าปัญหาข่าวหายไปอย่างไร้ร่องรอยจะไม่เกิดขึ้นอีก