เชื่อม wireless adapter กับ wireless adapter ในบ้าน

home network

17 พ.ค.53 จากเหตุที่ในบ้านมีเครื่อง PC กับ ADSL Router และมี Wireless Adapter แบบ USB ตัวหนึ่งยี่ห้อ SMC แต่ไม่มี Access Point ที่ปล่อยสัญญาญ Wireless
แล้ววันหนึ่ง มีเพื่อนหลายคนหิ้ว Notebook มาทำรายงานที่บ้าน ขอใช้ Wireless เพราะคิดว่าบ้านผมมี Hot spot แต่ผมไม่มี  Acess point ปล่อยสัญญาณ Internet จึงปรับให้ PC เปิดบริการเน็ตไร้สายใช้วิธี Peer-to-Peer แบบ Adhoc ผ่าน ICS ซึ่งเป็นการทำให้เครื่อง PC และ Wireless Adapter รวมกันเป็น Access Point ให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย แล้วเชื่อมอัตโนมัติออกไปทาง UTP ที่ PC เชื่อมอยู่กับ ADSL Router อาจอธิบายได้ตามภาพ (Bridge Connection คือการเชื่อมต่อระหว่าง 2 เครือข่าย)

มีขั้นตอนการติดตั้งใน PC 7 ข้อแรก ส่วนข้อ 8 ดำเนินการกับเครื่องเพื่อน มีขั้นตอนดังนี้ 1) เข้า Control Panel, Add/Remove Program เพิ่มโปรแกรม Network Services/Peer-to-Peer ของ Windows 2) ติดตั้ง Wireless Adapter ให้เรียบร้อยสำหรับเครื่องที่ต่อสายแลนและเป็นเครื่องที่จะเปิดเป็น Access Point ถ้าเป็น Notebook ที่มี Wireless จะมีอยู่ในเครื่องแล้วไม่ต้องไปหาซื้อเพิ่ม แต่ถ้าเป็น PC ก็ต้องหาอุปกรณ์แบบ USB มาติดตั้งเพิ่มตัวหนึ่งประมาณ 5 ร้อยบาท 3) เข้า Control Panel, Network Setup Wizard เพื่อทำให้เครื่องบริการ ICS เชื่อมระหว่าง Wireless Adapter และ UTP มีผลให้เครื่อง PC บริการ DNS กับเครื่องที่เข้ามาเกาะสัญญาณไร้สาย แล้วผ่านออกไปทางสายแลนได้ ในระหว่างติดตั้งให้เลือก This computer connects directly to the Internet. The other computers on my network connect to the Internet through this computer. ถ้าให้เลือก Local Area Connection ก็เลือกแบบ LAN Card ที่ออก UTP 4) เลือก Properties ของ Wireless Adapter , Wirless Networks, Advanced, Computer-to-computer (ad hoc) networks only 5) เลือก Properties ของ Wireless Adapter , Wirless Networks, Add Network name(SSID), WEP, Network Key
6) เลือก Wireless Network status, Properties, Internet protocol, IP = 192.168.0.1, Gateway = 192.168.0.1, DNS = 192.168.0.1 จะต่างกับการตั้ง LAN เข้ากับ ADSL ที่ติดตั้งก่อนหน้านี้ สำหรับ Gateway ของผมเป็น 192.168.1.1 7) เลือก Properties ของ Local Area Connection Status ,  Advanced, แล้ว Check บน Allow other network users to connect through this computer’s Internet connection 8 ) ในเครื่องของเพื่อนที่กรอกรหัส Network key แล้ว สามารถปล่อยให้รับ IP อัตโนมัติ หรือไปกำหนด Wireless Network status, Properties, Internet protocol, IP = 192.168.0.2 ถึง 255 , Gateway = 192.168.0.1, DNS = 192.168.0.1

งานนี้ทำเพื่อให้บริการชั่วคราวกับเพื่อนที่นำ Notebook มาใช้ ทำให้ผมไม่ต้องไปหายืม Access point ที่ไหนมาติดตั้งเพิ่มครับ สะดวกไปอีกแบบ แต่จะสะดวกกว่านี้ถ้าไปซื้อ Access Point มาเชื่อมเพิ่ม หรือ ADSL ตัวใหม่ที่บริการ Wireless แล้วบริการ Hot spot แบบที่ร้านกาแฟเขาบริการ ซึ่งผมมีแผนนั้นในใจแล้ว และรอว่าตัวเก่าเสียเมื่อใดจะหาซื้อรุ่นที่สมเหตุสมผลมาใช้ครับ

Key working to share wireless adapter : 1) Windows Components, peer-to-peer 2) check wireless & lan 3) Network Setup Wizard 4) Wireless network, computer-to-computer 5) Add, SSID, WEP, Network Key 6) Set static IP of wireless adapter 7) Advanced, Allow other network user 8) goto Client Computer and setup
TOT DNS 203.113.24.199 203.113.127.199
+ http://www.arip.co.th/articles.php?id=406532
+ http://www.youtube.com/watch?v=Cgfg4myKkXE
+ http://www.thaiall.com/datacomm/
+ http://bit.ly/AiVlvW [thaiware]
+ http://jirayu.in.th/2013/05/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99-windows-8-%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99-wifi-hotspot/ [win7,win8]

เพิ่มลิงค์ในเว็บของผม ดูผล ranking ใน google.com

17 พ.ค.53 วันนี้เพิ่มลิงค์ของ jobbangkok.com ด้วยคำว่า หางาน ที่คุณ Wirat (2K3M) ติดต่อไว้ เป็นอีกเทคนิคหนึ่งในการทำ seo ด้วยการเพิ่มลิงค์ในเว็บเพจเฉพาะที่เป็น static webpage ก็เกือบ 100 เพจ ประกอบด้วย job, article/* 48, internet/* 16, learn/* 31 ส่วน dynamic webpage ประกอบด้วย blog, index.php, update.htm*, rangeweb.htm* กำหนดไว้ 3 เดือนถึงปลายเดือนสิงหาคม 2553 วันนี้ตรวจผลจัดอันดับด้วยคำว่า หางาน พบว่าใน google.com อยู่อันดับ 5 alexa อยู่อันดับ 302340 และ TH อยู่อันดับ 2819
+ มาติดตามกันครับว่าผลการเพิ่มลิงค์ใน thaiall.com จะมีผลต่ออันดับอย่างไร

มองก้าวของระบบภูมิสารสนเทศ(243)

รศ.ดร.ดำรงค์ วัฒนา

14 พ.ค.53  มีโอกาสร่วมประชุมที่สำนักงานจังหวัด โดยมี รศ.ดร.ดำรงค์ วัฒนา จากสถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ (สปร.) มาเสนอขอบเขตของงาน การพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศ หรือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS = Geographic Information System) เพื่อการวางแผนพัฒนาจังหวัด ทำให้ได้ความรู้ว่าประเทศของเราพัฒนาไปแล้วหลายก้าว ผู้บริหารจังหวัดมีนโยบายใช้ข้อมูลจากระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารมาเชื่อมโยงกับระบบภูมิสารสนเทศจากภาพถ่ายดาวเทียม ช่วยให้การบริหารจัดการงบประมาณแต่ละโครงการลงในแต่ละพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และแสดงสารสนเทศที่เชื่อมโยงกับตัวบ่งชี้ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานจำนวน 42 ตัว
            ระบบภูมิสารสนเทศแตกต่างกับ Google Map หรือ Google Earth เพราะบริการของ google.com เป็นข้อมูลทั่วไปที่ไม่มีสารสนเทศที่ออกแบบมาเฉพาะกลุ่มบุคคล ไม่มีความเฉพาะเจาะจงในพื้นที่ที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เป็นข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตที่ไม่สามารถเชื่อถือในข้อมูลพิกัด ไม่อาจควบคุมพิกัดและชั้นความลับของแต่ละสถานที่ แต่ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจจำเป็นต้องมีข้อมูลพิกัดของสถานที่ที่เชื่อถือได้ ควบคุมชั้นความลับได้ สามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลโครงการ งบประมาณ ปัญหาที่ต้องเฝ้าระวัง เพื่อใช้ในการบริหารจัดการร่วมกันกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
            ระบบแผนที่ในประเทศไทยมีหลายหน่วยงานกำหนดพิกัดของสถานที่ เช่น พื้นที่ป่า พื้นที่บ้าน พื้นที่น้ำ พื้นที่ทำกินที่ยังมีการทับซ้อนอยู่ระดับหนึ่ง เนื่องจากแต่ละหน่วยมีระบบฐานข้อมูลของตนเอง เมื่อนำข้อมูลมาเชื่อมโยงกันก็จะพบปัญหาทับซ้อน หากหน่วยงานใดต้องการนำข้อมูลพิกัดแผนที่มาใช้แบบบูรณาการก็จะพบประเด็นความไม่ตรงกันในรายละเอียด แม้พิกัดระดับประเทศ เช่น ปราสาทเขาพระวิหารก็ยังไม่สามารถสรุปผลได้ แต่เชื่อได้ว่าถ้าหน่วยงานที่ดูแลสารสนเทศมาเปิดเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลและยินดีปรับข้อมูลให้เป็นมาตรฐานเดียวกันก็จะลดปัญหาความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ในอนาคตอย่างแน่นอน

ชัยโย เว็บมหาวิทยาลัยหลุด malware ใน google.com

12 พ.ค.53 วันนี้ขณะร่วมประชุมวิพากษ์ระบบฐานข้อมูล 15 ระบบ และระบบข้อมูลส่วนบุคคลอีก 1 ระบบ ใจคอผมไม่สู้ดีนัก เพราะกังวลว่าเว็บมหาวิทยาลัยที่ติด black list เป็น malware ใน google.com ตั้งแต่วันอาทิตย์จะหลุดหรือไม่ เพราะวันจันทร์ และวันอังคารมี 2 อาการได้แก่ ผลสืบค้นใน google.com บอกว่าเป็นเว็บอันตราย เมื่อเปิดด้วย firefox ก็ติด block ซึ่ง google.com แนะนำว่า พิมพ์ url ไปเลยถ้าคิดว่าปลอดภัย หรือแก้ security preference ของ firefox
     การแก้ไขเริ่มตั้งแต่เช้าวันจันทร์ด้วยการลบ malware ออกจาก server ตัวหนึ่ง ซึ่งติดเฉพาะ root directory และพบว่า server อีกตัวหนึ่ง หมดอายุต้องปลดประจำการอย่างไม่มีทางเลือก หลังจากแก้ไขจนมั่นใจว่าเครื่อง server ที่ติด malware สะอาดแล้วเข้า webmasters tools ของ google.com เพื่อส่ง request ให้ทาง google.com ตรวจสอบอีกครั้ง เช้าวันอังคารไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงผลการสืบค้นยังพบปัญหาเหมือนเดิม และพบว่า firefox ได้ block เว็บเราทุกเครื่อง จึงตรวจเครื่องทุกตัวและไม่พบปัญหาใดเลย จึงตัดสินใจขอ request เครื่องบริการหลักเพิ่มอีก 1 ตัว เพราะการส่ง request จำเป็นต้อง verify กับเครื่องบริการ เพื่อแสดงตนเป็นเจ้าของ ในเช้าวันพุธก็ยังพบปัญหาคิดว่าจะส่ง request จากเครื่องบริการเพิ่มอีก 2 ตัว แต่ติดประชุม หลังประชุม จึงทำการ verify เครื่องบริการเพิ่ม 2 ตัว แล้วส่ง request รวมเป็นการส่ง request จากเครื่องบริการทั้งหมด 4 ตัว ให้ทาง google.com ได้ตรวจสอบ .. แต่ส่งประมาณ 10 ครั้งเพราะไม่มี message ค้างไว้ว่าส่งแล้วกี่ครั้ง
     เว็บไซต์และเครื่องบริการเว็บทุกตัวกลับมาเป็นปกติในคืนวันพุธ อาจเป็นได้ 2 กรณี คือ 1) google.com เปลี่ยนนโยบายการตรวจสอบเราจึงเข้าคิวนานกว่าเดิม และผลการส่ง request ตั้งแต่วันจันทร์เช้ามีผลแล้ว แต่เรากังวัลจึงดำเนินการอย่างต่อเนื่องกับทุกเครื่อง และการแก้ไขไม่ได้แก้ครั้งเดียวเปลี่ยนทั้งระบบ เพราะเช้าวันพุธพบว่าปัญหาใน firefox หายไป 2) การส่ง request ในหลายเครื่องบริการอาจไปปลดล๊อกปัญหาที่ซ่อนบ่มแล้ว  google.com ก็เข้ามาดำเนินการภายใน 8 ชั่วโมง เพราะเครื่องบริการ 2 ตัวหลักมีตัวหนึ่งเคยรั่ว แม้ไม่พบรอยรั่วเดิม แต่แฟ้มที่เป็นแหล่ง verify กับ google.com ถูกลบไป
     มีเว็บไซต์ที่พบปัญหาลักษณะเทียบเคียงได้กับของมหาวิทยาลัยให้ได้ติดตามคือ yuparaj.ac.th rajapark.ac.th qc.ac.th pccl.ac.th crc.ac.th cpru.ac.th bodin2.ac.th tepleela.ac.th (JS/Pegel.79003) หลังจากเราหลุดจาก malware จึงส่งข้อความแจ้งให้เพื่อนใน facebook ได้ทราบ ประกอบด้วย
http://www.facebook.com/profile.php?id=100000116337120
http://www.facebook.com/profile.php?id=100000116786880
http://www.facebook.com/profile.php?id=100000136205941
http://www.facebook.com/profile.php?id=100000171866090
http://www.facebook.com/profile.php?id=100000371778383
http://www.facebook.com/profile.php?id=100000390372326
http://www.facebook.com/profile.php?id=100000651045886
http://www.facebook.com/profile.php?id=100000865597335
http://www.stopbadware.org/home/reportsearch

ลองถ่ายภาพจาก facebook ส่ง decode

12 พ.ค.53 ส่งภาพต้นฉบับที่ใช้ QR Code Generator ส่งให้เพื่อแปลหรือถอดรหัสทาง facebook ก็มีน้องทรายตอบได้ เพราะมี BlackBerry และ Decoder สำหรับอ่าน QR Code ซึ่งคำตอบที่ได้ถูกต้อง  ตกเย็นวันนี้ผมก็ใช้โทรศัพท์ของ Miso ถ่ายภาพ แล้วส่งภาพไป ถอดรหัส (Decode) ที่ http://zxing.org/w/decode.jspx หรือ http://www.drhu.org/QRCode/QRDecoder.php พบว่าถอดรหัสได้ แม้ภาพจะเลอะไปบ้าง แต่ทั้ง 2 ภาพถูกถอดออกมาเป็นคำได้ถูกต้อง

บาร์โค้ดที่พบในแบล็คเบอรี่ (242)

คำนี้ที่อยู่ใน barcode คืออะไร ให้ทายครับ

11 พ.ค.53  บาร์โค้ดถูกพบบนสินค้าทั่วไป หรือติดบนชั้นวางสินค้าในห้างสรรพสินค้า เพื่อใช้แทนการแสดงรหัสสินค้าที่เป็นตัวเลขโดยใช้สัญลักษณ์แท่งสีดำและสีขาวเรียงรายอย่างเป็นระเบียบที่มีความหนาบางและห่างที่ไม่เท่ากัน แล้วใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดยิงแสงแล้วรับข้อมูลการสะท้อนแสงกลับมาถอดรหัสเป็นข้อมูล บาร์โค้ดได้รับสิทธิบัตรเมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ.2495 ส่วนรหัสที่ใช้ในปัจจุบันและยอมรับกันมากคือ EAN (European Article Number) หลังจากผ่านไปกว่า 40 ปีก็มีการพัฒนาบาร์โค้ดขึ้นอีกมากมาย และหนึ่งในบาร์โค้ดที่ได้รับความนิยมได้แก่ บาร์โค้ด 2 มิติหรือคิวอาร์โค้ด (QR Code) คือรหัสแบบหนึ่งที่เก็บข้อมูลได้ทั้งตัวเลขและตัวอักษรมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสที่มีลายจุดสีดำใหญ่สามมุม มักใช้เก็บข้อมูลชื่อสินค้า ราคา เบอร์โทรศัพท์ และที่อยู่เว็บไซต์ มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ยี่ห้อแบล็คเบอรี่
                คิวอาร์โค้ดถูกคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัทเดนโซ ประเทศญี่ปุ่น ในปีพ.ศ.2537 คำว่าQR มาจาก Quick Response แปลว่า การตอบสนองที่รวดเร็ว ปัจจุบันบาร์โค้ดชนิดนี้ได้รับความนิยมกับโทรศัพท์ที่มีกล้องถ่ายภาพ และติดตั้งซอฟท์แวร์ถอดรหัสภาพ ผู้ใช้สามารถใช้กล้องถ่ายบาร์โค้ดจากหนังสือพิมพ์ แผ่นป้ายโฆษณา หรือเว็บไซต์ แล้วถอดรหัสเป็นข้อความหรือที่อยู่เว็บไซต์แล้วบันทึกไว้ในโทรศัพท์ ซึ่งง่ายกว่าการพิมพ์ทีละตัวอักษร ความสามารถของคิวอาร์โค้ดสามารถนำเสนอข้อมูลเลขอารบิกได้ถึง 7,089 ตัว หรือบันทึกตัวอักษรแปดบิทได้ 2,953 ไบท์
                ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ.2553 บริษัท มีเดีย สตูดิโอ จำกัด ร่วมกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) สร้างนวัตกรรมการสื่อสารกับผู้ชม โดยเปิดให้ผู้ชมมีส่วนร่วมโดยใช้บาร์โค้ดแบบคิวอาร์โค้ดที่นับว่าทันสมัยที่สุด ได้สแกนบาร์โค้ดของรายการโทรทัศน์และเพิ่มรายชื่อผู้ติดต่อในโทรศัพท์เคลื่อนที่ยี่ห้อแบล็คเบอรี่ (BlueBerry Mobile) ของตนสำหรับติดต่อกับรายการหรือทีมข่าว ซึ่งผู้เขียนก็ได้เห็นรายการที่คุณนารากร ติยายน ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 ชวนให้เพิ่มรายชื่อผู้ติดต่อผ่านบาร์โค้ด สำหรับท่านที่ต้องการสร้างคิวอาร์โค้ดด้วยข้อมูลของตน สามารถเข้าเว็บไซต์  qrstuff.com qrcode.kaywa.com หรือ generator.beetagg.com เพื่อใช้บริการสร้างบาร์โค้ดแบบออนไลน์แล้วคัดลอกไปเผยแพร่ในสื่ออื่น ให้เพื่อนที่มีโทรศัพท์ BlackBerry และซอฟท์แวร์ถอดรหัสบาร์โค้ดได้ข้อมูลหรือข้อความสำหรับเชื่อมต่อ เช่น ผู้เขียนมีเว็บไซต์วิชาการก็จะสร้างคิวอาร์โค้ดแล้วพิมพ์สติกเกอร์ติดไว้หลังรถยนต์ เพื่อนที่ขับรถตามมาก็จะถ่ายภาพแล้วถอดรหัสเป็นข้อมูลสำหรับเข้าเว็บไซต์ของผู้เขียน เป็นต้น
+ http://zxing.org/w/decode.jspx
+ http://www.drhu.org/QRCode/QRDecoder.php

แผนภาพแสดงบทบาทของกุญแจแฟ้มดิจิทอล

e-document

10 พ.ค.53 แฟ้มดิจิทอลออนไลน์ หรืออีดอคคูเมนท์ (e-document) ที่พัฒนาและใช้งานในสถาบัน มีเหตุปัจจัยที่ทำให้หลายหน่วยงานให้ความนิยม อาทิ ส่งแฟ้มขนาดใหญ่เข้าระบบได้ง่าย เผยแพร่แฟ้มให้ทุกคนเข้ามาดาวน์โหลดโดยไม่เป็นภาระของผู้เผยแพร่ จดจำชื่อได้ง่าย นำลิงค์ไปใช้ในระบบอื่นได้ง่าย มีกุญแจเข้าใช้ 2 ระดับทำให้ผู้ใช้ควบคุมได้ แผนภาพนี้ตัดมาจากแฟ้ม powerpoint ซึ่งแสดงอยู่หลายเรื่องในการอบรมครั้งหนึ่ง
+ http://www.thaiall.com/ppt/file_manage_01.ppt
+ http://www.thaiall.com/perlphpasp/source.pl?9102

ร่วมเป็นคณะกรรมการตรวจรับงานจัดทำเว็บไซต์

เว็บไซต์จากอินเทอร์เน็ต

2 เม.ย.53 มีเพื่อนชวนไปเป็นกรรมการตรวจรับงานจัดทำเว็บไซต์หนึ่ง มีงบจัดจ้าง 133200 บาท แบ่งเป็นค่าบริการออกแบบและจัดทำทั้งหมด 5 รายการ คือ a) เว็บหลัก 36000 b) เว็บสองภาษา 37000 c) โครงการเยส 21000 d) สังคมออนไลน์ 34000 e) เว็บบอร์ด 5200 การเป็นกรรมการครั้งนี้ได้ใบส่งของ (invoice) ซึ่งมีรายละเอียดว่าจะทำอะไรบ้าง แล้วผมก็ลองหยิบมาตรวจตามรายการ  ตรวจ a) เว็บหลัก พบว่า  1) สิ่งที่ยังไม่ทำ 2 หน้า คือ สารจากผู้บริหาร และติดต่อ ส่วนที่พิมพ์ผิดมีหลายหน้า คือ วิสัยทัศน์ เจ้าของ ชื่อผู้บริหาร กรรมการบริหาร แผนที่ 2) สินค้า สิ่งที่พบคือ ปัดบรรทัดผิด และผู้บริหารยังไม่ยอมรับเนื้อหาที่ขัดกับคุณภาพขององค์กร เช่น ไม่เช็คชื่อบ้าง 3) รายการระดับไม่ครบ
     ตรวจ b) เว็บสองภาษา พบรายการที่ทำแล้วเพียงกึ่งหนึ่ง ตรวจ c) โครงการเยส พบรายการที่ทำแล้วไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ตรวจ d) สังคมออนไลน์ รายการน่าจะครบ แต่มีข้อสังเกตเรื่อง back office ว่าใครได้หรือไม่ ตรวจ e) เว็บบอร์ด เห็นคำว่าปรับปรุง กับคำว่า re-design คนละรายการ .. ที่เล่านี่ก็เป็นประสบการณ์หนึ่งที่อยากจะแบ่งปัน .. ยามตรวจงานเสร็จ

ตัวเลือกมุมบนขวาของ facebook.com

25 เม.ย.53 มาวันนี้คงมีน้อยคนในประเทศไทยที่ไม่รู้จักเว็บไซต์ facebook.com เพราะกลุ่มคนเสื้อหลากสีใช้อ้างอิงว่าการรวมกลุ่มของพวกเขานั้น ส่วนหนึ่งมาจากการสื่อสารโดยใช้เว็บไซต์เครือข่ายสังคม เมื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนกันจนพบว่าความเห็นตรงกันทางการเมืองและมีสมาชิกจำนวนมากพอ จึงได้นัดหมายออกรวมกันเพื่อแสดงพลังและแจ้งผ่านสื่อที่หลากหลาย อาทิ ทีวี หนังสือพิมพ์ หรือเว็บบอร์ด ทำให้ผู้คนทั่วประเทศได้รับรู้ถึงเป้าหมายของกลุ่ม ทั้งหมดก็มาจากความนิยมในเว็บไซต์ facebook.com การส่งข้อมูลข่าวสารสามารถทำได้ผ่านเมนูด้านบนขวาของเว็บไซต์ มีตัวเลือกที่สำคัญ 2 ตัวเลือกคือหน้าแรก (Home) และข้อมูลส่วนตัว (Profile)
     ถ้าท่านเข้า facebook.com แล้วเขียนข้อความเพิ่มเป็นข่าวใหม่ในหน้าแรกจะมีผลให้ข้อความนั้นถูกเผยแพร่ไปในหน้าแรกของท่านและของเพื่อนทุกคนของท่าน แต่ถ้าเขียนข้อความใหม่ในหน้าข้อมูลส่วนตัวจะมีตัวเลือกแบบส่งไปทุกคน หรือส่งไปเฉพาะเพื่อนที่ระบุ ถ้าส่งข้อความไปถึงทุกคนจะแสดงผลในหน้าข้อมูลส่วนตัวของผู้เขียน แต่ไปแสดงในหน้าแรกของเพื่อนทุกคน สำหรับการส่งข้อความ ภาพถ่าย วีดีโอ หรือหัวข้อเว็บเพจเข้าไปยัง facebook.com จะเข้าไปยังข้อมูลส่วนตัวของผู้ที่เขียนโดยอัตโนมัติ และไปยังหน้าแรกของเพื่อนทุกคน ข้อความที่ปรากฎในเว็บเพจทั้งสองข้างต้นถูกจำกัดจำนวนรายการและอายุในการแสดงผล ดังนั้นถ้าให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่ส่งเข้าไปก็ไม่ควรใช้ facebook.com สำหรับวางเนื้อหาที่สำคัญ สำหรับผู้เขียนเลือกใช้บริการของ 4shared.com และ wordpress.com เป็นแหล่งเก็บข้อมูล ภาพ บทความ และใช้การแบ่งปันเนื้อหาส่งไปยังเว็บไซต์เครือข่ายสังคมหลายแห่งให้เพื่อนได้ทราบความเคลื่อนไหว ซึ่งบทความเหล่านั้นยังอยู่ที่เดียวกัน และสามารถปรับแก้ได้ตลอดเวลาตามต้องการ
     แม้ facebook.com จะมีบริการบางลักษณะที่อาจทดแทนบริการของเว็บไซต์อื่นได้ แต่การเป็นสมาชิกในหลายเว็บไซต์จะช่วยกระจายความเสี่ยงในการสูญเสียสถานภาพการเป็นสมาชิก พร้อมกับสำรองข้อมูลไปพร้อมกัน เช่น วีดีโอที่จัดทำขึ้น สามารถส่งไปเก็บใน youtube.com 4shared.com และ facebook.com โดยเชื่อได้ว่าคงไม่มีเพื่อนทุกคนของเราตามไปเป็นสมาชิกในทุกระบบ ดังนั้นเพื่อนบางคนอาจเข้าถึงวีดีโอของเราจากแหล่งหนึ่ง ส่วนเพื่อนอีกคนก็จะสะดวกในการเข้าถึงอีกแหล่งหนึ่ง การเลือกใช้ประโยชน์จากบริการที่แตกต่างเป็นอีกประเด็นที่ต้องพิจารณา เพื่อให้ได้ประโยชน์เชิงสร้างสรรค์ต่อตัวเราอย่างแท้จริง

การ์ตูน เรื่อง ราตรีสวัสดิ์ หรือทหารหาญ

การ์ตูน โดย มุนินทร์ สายประสาท เรื่องราตรีสวัสดิ์

23 เม.ย.53 ได้รับเมล์จากเพื่อนเก่าชื่อ ขวัญดาว เธอเป็นเพื่อนสมัยเรียนป.ตรีที่ม.โยนก หัวเรื่องว่า “เมล์แบบนี้สิน่า forward” ในทีแรกผมก็เกือบลบทิ้งแล้ว เพราะปกติผมรับเมล์วันละกว่า 300 ฉบับและเลือกเปิดเมล์ไม่เกิน 5 ฉบับต่อวัน ซึ่งเป็นปกติวิสัยที่ผมจะไม่ส่งเมล์ฆ่าเวลา และไม่อ่านเมล์ทั่วไป ยกเว้นมีหัวเรื่องที่จะให้ผมทำอะไรสักอย่างเท่านั้น แต่ไม่รู้อะไรดลใจทำให้เปิดเมล์แล้วก็พบการ์ตูนเรื่อง ราตรีสวัสดิ์ หรือทหารหาญ เป็นภาพจากโฮมเพจ manin289.exteen.com จำนวน 20 ภาพ ซึ่งมีเนื้อหาแสดงความสัมพันธ์ของเยาวชนกับทหารหาญที่ปรับมาจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชายแดนภาคใต้ของไทย
     จึงนำภาพการ์ตูนมาทำเป็น e-book ด้วย 2 โปรแกรม คือ flip publisher และ flash page flip แล้วเผยแพร่เป็น e-book ใน 2 เว็บเพจ ก็ต้องขอบคุณ คุณมุนินทร์ สายประสาท (Munin Saiprasart) ที่นำเสนอเรื่องดี ๆ จนมีการ forward มาถึงผม และได้นำมาเผยแพร่ต่อดังที่เล่าสู่กันฟังนี้
+ http://manin289.exteen.com/20090908/entry
+ http://www.thaiall.com/e-book
+ http://www.thaiall.com/flip