มีเครื่อง PC ที่ไม่ได้เชื่อม Internet ผ่านสาย LAN
แต่มี Wireless USB Adapter ตัวเก่าตัวหนึ่ง
เอามาใช้ก็พยายามติดตั้งไปตามปกติ แบบ Off-line
พบว่า Driver ไม่ตรง หรือไม่พบที่ใช้งานได้
เล่าถึงขั้นตอน ดังนี้
1. เอายี่ห้อ และรุ่น
ไปค้นจาก website เจ้าของอุปกรณ์
ก็ไม่มี driver ให้ download เพราะอุปกรณ์เก่ามาก
เลิกดูแลลูกค้าที่ใช้อุปกรณ์เก่า
2. หาจาก google.com หลายตัว
*เริ่มมีหวัง
ลอง download ที่น่าจะใช้
ก็ไม่มีตัวไหนใช้งานได้
* ผิดหวังหลายรอบ เพราะน่าจะได้สักตัว ก็ไม่ใช่สักตัว
3. สงสัยว่าอุปกรณ์จะเสีย * เริ่มสิ้นหวัง
เปลี่ยนไปยังเครื่องที่ online
แล้วใช้ search driver แบบ online
พบว่า install hardware ได้ปกติ และใช้งานได้
* สมหวังครับ ยิ้มแป้นเลย แต่ไม่ใช่เครื่องนี้
4. เอาชื่ออุปกรณ์ที่ install hardware ได้แล้ว
ไปค้นหาจาก website ของ microsoft.com
แล้วพบแฟ้ม .cab หลายแฟ้ม ก็ download ที่น่าจะใช้มา 3 ตัว
* ก็มั่นใจว่าชื่อตรงแล้ว มาเลยหลายตัว กันพลาด
5. ใช้ winrar ทำ extract driver ที่เป็น .cab ทุกแฟ้ม
เป็น folder ที่น่าจะใช่ทุกตัว
ลุ้นไปทีละตัว สุดท้ายก็ install สำเร็จ จากที่ได้มา 1 ตัว
–
ภาคผนวก ก. เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
* มีผิดหวัง ย่อมมีสมหวัง และมีผิดหวังครั้งใหม่ วน ๆ กันไป
เมื่อมาทำงานสายไอที
–
ภาคผนวก ข. ที่มา
ผมถอน Fiber optic ออก ประหยัดเดือนละหลายร้อย
ต่อไปใช้ Net ความเร็ว 256 Kbps จาก 3G
ที่แชร์ Hotspot จาก Smartphone ก็พอแล้ว
ทำให้เครื่อง PC ที่เคยต่อสาย Lan เข้า Switch
เกิดต่อ Net ไม่ได้ขึ้นมากระทันหัน
http://www.thaiall.com/mis/mis05.htm
Category: Mobile device
Smart Phone,
Android App
องค์การโทรศัพท์ หรือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
ที่มา
เพราะผมเองมีคนรู้จักอยู่ TOT ลำปาง หลายท่านเลย
ลูกศิษย์ก็พึ่งไปฝึกงานมาหมาด ๆ
เห็นแชร์ในเฟสด้วย ว่ามีความสุขที่ฝึกงานที่นี่
ทำให้สนใจ TOT เป็นพิเศษ
ดังนั้นได้ค้นข้อมูลมาแบ่งปันไว้ ดังนี้
https://www.facebook.com/english.jokes/
TOT เป็นรัฐวิสาหกิจ
ก่อตั้ง 24 กุมภาพันธ์ 2497 เป็น องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
และแปลงสภาพเป็น บมจ.ทีโอที เมื่อ 31 กรกฎาคม 2545
ทำหน้าที่ให้บริการโทรคมนาคมและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง
http://www.tot.co.th/Corporate/
ประวัติของ TOT
– 2424 โทรศัพท์เข้าประเทศไทย สมัย ร.5 ดูแลโดยกรมกลาโหม ใช้แจ้งข่าวเรือเข้า-ออก
– 2429 โอนกิจการจาก กรมกลาโหม ไป กรมไปรษณีย์โทรเลข เปิดบริการมีผู้เช่าประมาณ 60 คน
– 2450 ตั้งชุมสายกึ่งอัตโนมัติ ที่โทรศัพท์กลางวัดเลียบ มีพนักงานต่อสายระหว่างผู้เช่า
– 2465 เพิ่มชุมสายโทรศัพท์แห่งที่สอง คือ โทรศัพท์กลางบางรัก รองรับ 900 เลขหมาย
– 2470 วางเคเบิลเชื่อมต่อวัดเลียบ-บางรัก เพิ่มเป็น 1422 เครื่อง
– 2471 ให้บริการโทรศัพท์ทางไกล เชื่อม กทม. ธนบุรี สมุทรปราการ นนทบุรี นครปฐม
– 2478 เริ่มใช้ชุมสายระบบ Step by step อุปกรณ์จากอังกฤษ ทำให้หมุนหน้าปัดถึงกันโดยตรง
ได้ติดตั้งที่โทรศัพท์กลางวัดเลียบ 2300 เลขหมาย และโทรศัพท์กลางบางรัก 1200 เลขหมาย
เปิดบริการ 24 กันยายน 2480 และเพิ่มชุมสายเพลินจิต และชุมสายสามเสน
– 2480 ติดตั้งชุมสายอัตโนมัติครั้งแรก เปลี่ยนเป็นแบบหน้าปัดแบบหมุน ใช้เลข 5 ตัว หมุนถึงกันเองได้
– 2497 สถาปนาเป็นองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม
เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2497 โดยแยกจากกองช่างโทรศัพท์ กรมไปรษณีย์โทรเลข มีพนักกงาน 732 คน
– 2502 สั่งซื้อชุมสายอัตโนมัติระบบ Cross bar จากสวีเดน ที่ชุมสายชลบุรี 1000 เลขหมาย
– 2503 รับโอนโทรศัพท์ในส่วนภูมิภาคจากกรมโปรษณีย์โทรเลข
ครั้งแรก 10 ชุมสาย จำนวน 1600 เลขหมาย
ครั้งที่สอง 37 ชุมสาย จำนวน 8100 เลขหมาย
– 2507 ติดตั้งชุมสาย Cross bar ในกรุงเทพ
และรับโอนจากทุกภาคมาในความรับผิดชอบครอบคลุมบริการโทรศัพท์ทางไกลทั่วประเทศ
– 2517 เปลี่ยนเลขหมายเป็น 6 หลัก
– 2518 ให้บริการโทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติ ไม่ต้องใช้พนักงานต่อระหว่างเชียงใหม่-กรุงเทพ
เมื่อ 9.05 วันที่ 1 กันยายน 2518
– 2519 เมื่อ 24 เมษายน เปลี่ยนใช้เลขหมายโทรศัพท์ จาก 5 และ 6 ตัว เป็น 7 ตัวในนครหลวง
และในภูมิภาคเปลี่ยนเป็น 6 ตัวทั้งหมด
– 2520 เริ่มใช้เครื่องโทรศัพท์แบบกดปุ่ม ในเขตนครหลวง
– 2521 ให้บริการโทรศัพท์ไร้สาย (Multi access radio telephone)
บริการในรัศมี 30 กิโลเมตร รอบสถานีฐานนั้น
– 2522 เปิดบริการโทรศัพท์สาธารณะ แบบไม่มีผู้ดูแล
– 2523 เปิดบริการโทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติทั่วประเทศ
– 2525 ให้บริการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลอัตโนมัติ ในเขตโทรศัพท์นครหลวง เป็นครั้งแรก
– 2526 เปิดใช้ระบบ SPC (Stored program control) ที่ชุมสายภูเก็ต และบริการทางไกลไทย-มาเลเซีย
– 2527 ให้บริการโทรศัพท์ต่างประเทศระบบอัตโนมัติ สำหรับผู้เช่าในเขตกรุงเทพฯ
– 2529 เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ NMT (Nordic mobile telephone) 470 MHz
– 2530 เปิดให้ผู้เช่าสามารถซื้อเครื่องโทรศัพท์ได้เอง
– 2531 เปิดบริการพิเศษ SPC อาทิ ประชุมทางโทรศัพท์ บริการเลขหมายย่อ บริการรับสายซ้อน
และเปิดวงจรเคเบิลใต้น้ำเชื่อมต่อไทย-มาเลเซีย
– 2532 เชื่อมเครือข่ายด้วยเคเบิลใยแก้ว และไมโครเวฟ
– 2533 เปิดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบความถี่ 900 MHz และอีกหลายรูปแบบ
– 2534 เปิดสัมปทานโทรศัพท์สาธารณะแบบใช้บัตร (Cardphone) ในเขตนครหลวง
– 2535 เปิดบริการวิทยุสื่อสารเคลื่อนที่เฉพาะกลุ่มธุรกิจ (Trunk mobile radio)
– 2536 เปิดบริการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลต่างประเทศชนิดหยอดเหรียญ
– 2537 ทดลองเปิดบริการ วิดีสาร (Videotex)
– 2538 ให้บริการชำระค่าบริการ โดยหักบัญชีเงินฝากทั่วประเทศ
– 2539 เมื่อ 22 เมษายน เปิดให้บริการโทรศัพท์รหัสส่วนตัว Pin phone 108 ในเขตนครหลวง
– 2540 เปลี่ยนจากระบบ Cross bar ที่เหลือเป็นแบบ SPC (แบบกดปุ่ม) ทั้งหมด
– 2541 เปิดให้บริการโทรศัพท์สาธารณะแบบใช้ TOT Card
มีรายละเอียการพัฒนาในแต่ละปีอย่างต่อเนื่อง ไปหาอ่านกันได้ครับ
http://www.tot.co.th/Corporate/HISTORY.ASPX
ที่บ้านก็ใช้ ADSL ของ TOT
เคยเขียน blog ไว้หลายเรื่องเลย อาทิ
– router:ZTE ที่ TOT ให้ตอนติด FTTx
– เล่าปัญหาลืมรหัสผ่าน adsl router ของ tot
– ทดสอบหลังใช้ @platinumcyber
– ทดสอบ bestcyber ก่อนใช้ platinumcyber
– TOT Wi-Ti ที่ Central Plaza Lampang
http://www.thaiall.com/blog/tag/tot/
#AndroidStudio ตอนที่ 11 แอพสำหรับ Tablet(Wide)/Smartphone(Narrow) มีตัวเลือกรายการด้านซ้าย รายละเอียดด้านขวา ถ้าจอกว้างพอ
#AndroidStudio ตอนที่ 11 แอพสำหรับ Tablet(Wide)/Smartphone(Narrow) มีตัวเลือกรายการด้านซ้าย รายละเอียดด้านขวา ถ้าจอกว้างพอ
<introduction>
อารัมภบท
การเขียน App สักตัว ที่ต้องการให้มี ซีกซ้าย (Left Pane) เป็นรายการตัวเลือก และซีกขวา (Right Pane) เป็นรายละเอียดหลังคลิ๊กไปที่รายการ ทาง Android เข้าใจเรา ได้เตรียม Template (อ่านได้จาก Add Code from a Template ) มาให้เราเลือก 12 แบบ พบว่า Main/Detail Flow เป็นแบบที่แบ่งจอภาพเป็น Two section สำหรับจอแบบ Wide screen แต่จะหดให้ทำงานกับ One section หากเป็น Narrow screen ซึ่งเค้ากำหนดว่า Wide screen คือ 900dp และผมใช้ Smartphone ก็จะไม่มีโอกาสได้เห็นแบบ 2 section แต่ใน code หากปรับชื่อ folder เป็น 600 dp ก็ทำให้ app รองรับการแสดงผลแบบ Main/Detail Flow บน Smartphone ได้
การเรียนรู้การทำงานของ Template นี้ ก็ต้องหา Activity เข้าไปใส่ แล้วค่อยแกะค่อยไซร้ไป ไม่งั้นจะให้พิมพ์ Hello world! กันทุก Project ก็คงจะจืดแยเลย จึงใส่ตัวเลือกเข้าไป 6 รายการ คือ API Level, Security_patch, width & height, IP Address, Date and Time และ Webview เมื่อต้องทำให้แต่ละกิจกรรมทำงานได้ พบปัญหาว่า บางกิจกรรมใช้ method ใน Dummycontent.java ไม่ได้ แก้ไขโดยไปใส่ใน Activity หลัก ซึ่งปัญหาที่พบบ่อยมี 2 สาเหตุ คือ 1) ฟังก์ชันนั้นต้องเรียกใช้ Context ของ Activity แต่ไม่มีให้ใช้ในคลาสนั้น 2) การเรียกใช้ฟังก์ชัน ไม่สามารถใช้ได้หากอยู่ใน method แบบ static จึงต้องย้ายงานไปทำใน Activity หลัก อาทิ MainActivity.java แล้วเก็บเป็นตัวแปรให้อ้างอิงได้ เมื่อ Dummy ต้องการใช้ ก็อ้างอิงเป็นวัตถุใน Dummy แล้วนึกไปใช้ได้ แต่ Project นี้มี Activity หลักอยู่ใน ItemListActivity.java
ระหว่างพัฒนา และทดสอบ ได้พบกับคำว่า Unfortunately บ่อยเลย เพราะการใช้ method ในที่ห้ามใช้ ระบบปฏิบัติการไม่อาจดำเนินการตามที่คาดไว้ แต่ Build APK ผ่าน ไม่มีปัญหานะครับ ปัญหาไปเกิดตอนประมวลผล ก็ต้องแก้ไขกันไป เพราะเงื่อนไขเยอะมาก หากันจนเจอ หรือหากันให้เจอ เมื่อต้องเจอปัญหาในแต่ละครั้ง
สรุปกระบวนการได้ 13 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) สร้าง Project เลือก Template แบบ Master/Detail Flow 2) ทำให้ item ใน list มีกิจกรรม 3) เพิ่มเกิจกรรมให้ตัวเลือกแต่ละตัว ใน DummyContent.java 4) การได้ ipaddress ต้องปรับ AndroidManifest.xml 5) สร้าง WebView ชื่อ aboutus.xml รับ HTML Tag 6) การเพิ่ม layout แบบ WebView แทน TextView จำนวน 1 ตัวเลือก 7) การหาขนาด Width และ Height ของจอภาพ 8) การหาค่า IP Address 9) การหาวันเวลาของเครื่อง 10) การหาเลขรุ่น API ของ Android ที่มีในโทรศัพท์แต่ละเครื่อง 11) การส่งค่าเข้าตัวแปรแบบตัวเลข และตัวอักษรใน string 12) การอ้างอิงชื่อ id, string, layout, drawable แบบอ้างอิงด้วยตัวแปร 13) การติดตั้ง Android 7.1 บน VirtualBox
ปล. แฟ้ม Project ผมบีบไว้ และแชร์ให้ Download ทั้ง .rar และ .apk ไปทดสอบกัน
ที่ http://www.thaiall.com/android (ผ่าน 4shared.com)
</introduction>
<definition>
นิยามศัพท์
- Template คือ แบบฟอร์มที่ยังไม่ได้ใส่เนื้อหา แต่มีเค้าโครง (Layout) หรือกิจกรรม (Activity) ที่จำเป็นมาให้แล้ว ซึ่ง Android มีให้เลือก 12 แบบ สามารถนำมาปรับแต่งเสมือนกับโครงงานที่สร้างขึ้นใหม่ แต่เทมเพลตจะช่วยล่นระยะเวลาในการพัฒนาระบบในระยะแรกให้สั้นลง แทนการเริ่มต้นจาก 0 หรือการนับ 1 ใหม่
- Unfortunately คือ ปัญหาที่ไม่คาดหวัง แต่มาปรากฎบนหน้าจออุปกรณ์ของเราได้ ในกรณีที่เกิดขึ้นจากการติดตั้งและใช้แอพที่ยังอยู่ในระหว่างพัฒนา ก็ลบแอพ (Uninstall) แล้วกลับไปไล่ดูเงือนไขของ command หรือ method หรือ class ที่เรียกใช้ อาจใช้บาง method ที่ใหม่เกินกว่า API ในเครื่องจะรองรับ หรือเก่าเกินไป หรือความไม่เข้ากับของการใช้คำสั่ง แต่ถ้าเป็น App ที่พัฒนา และใช้งานมาแล้วระยะหนึ่ง มีคำแนะนำให้ Clear cache and data หรือ ลบ App แล้วลงใหม่ หรือ Factory reset เป็นต้น
</definition>
กำลังเล่าเรื่อง การใช้โปรแกรม Android Studio สู่เพื่อนนักพัฒนา ผ่าน Blog
<process>
กระบวนการในการพัฒนา APP
เพื่อให้ได้แอพที่แสดงผล Main กับ Detail แยกกัน และแสดงผลต่างกันกับอุปกรณ์แบบ Wide screen และ Narrow screen
มีขั้นตอน ดังนี้
1. สร้าง Project เลือก Template แบบ Master/Detail Flow
ตั้งชื่อให้ project ว่า mainanddetail
เป็นตัวอย่างโครงงานที่น่าสนใจ สามารถนำมาปรับเป็นแอพที่ใช้งานจริงได้
หากใช้กับ Narrow screen จะมีเพียง one screen
หากใช้กับ Wide screen จะแบ่งการทำงานเป็น 2 Section
คือ ซีกซ้ายสำหรับรายการเมนู (Option List) และซีกขวาสำหรับรายละเอียดข้อมูล (Detail)
มีแฟ้มน่าสนใจ 9 แฟ้มที่จะเล่าสู่กันฟัง ดังนี้
https://inducesmile.com/android/android-fragment-masterdetail-flow-tutorial-in-android-studio/
1.1 สำรวจแฟ้ม AndroidManifest.xml
พบว่าใน <application> ได้กำหนด activity ไว้ 2 section
เพื่อเรียก .ItemListActivity และเรียก .ItemDetailActivity
โดย .ItemDetailActivity ที่มี parent คือ .ItemListActivity”
แสดงว่า 1) ItemListActivity.java คือ Activity หลัก
และทำงานคู่กับ 2) ItemDetailActivity.java อย่างที่เรียกว่าแยกกันไม่ออกทีเดียว
จะเห็นว่างานเริ่มจากการเรียก 2 Activity แต่จะแสดง Layout จากทั้ง 2 หรือไม่
ขึ้นกับว่าจอภาพที่ใช้เป็นแบบ Wide หรือ Narrow
1.2 สำรวจ Activity ที่ 1 แฟ้ม ItemListActivity.java
พบว่าใน oncreate ได้สั่ง setContentView(R.layout.activity_item_list);
ซึ่งจะไปเรียกให้ Layout แบบ CoordinatorLayout ที่มีอะไรหลายอย่างทำงานร่วมกัน
Activity นี้ควบคุมงานทางด้านซ้าย (Left Pane) คือ รายการตัวเลือก
1.3 สำรวจ Layout ที่ 1 แฟ้ม activity_item_list.xml
โครงร่างหลักสำหรับการวางวัตถุในด้านซ้าย (Left Pane)
มี Root Layout เป็น CoordinatorLayout
ที่ใช้ AppBarLayout กับ FloatingActionButton
ซึ่งพบได้ใน Template แบบ Basic Activity ที่อธิบายในตอนที่ 9 ข้อ 1
แล้วเรียก Layout อื่นให้ทำหน้าที่แสดงตัวเลือกผ่าน FrameLayout และ include
พบว่ามี Layout structure ดังนี้
<CoordinatorLayout> <AppBarLayout> <Toolbar /> </AppBarLayout> <FrameLayout> <include layout="@layout/item_list" /> </FrameLayout> <FloatingActionButton /> </CoordinatorLayout>
1.4 สำรวจ Layout ที่ 2 แฟ้ม activity_item_detail.xml
โครงร่างหลักสำหรับการวางรายละเอียดในด้านขวา (Right Pane)
หรือเป็น Full Parent หากทำงานบน Narrow Screen
มี Root Layout เป็น CoordinatorLayout เช่นกัน
จะทำหน้าที่แสดงข้อมูลด้านขวาสำหรับจอภาพที่กว้างไม่น้อยกว่า 900 dp
แต่จะเป็น full screen แทน activity_item_list.xml หากน้อยกว่า 900 dp
– การแสดงเนื้อหามีทำงานกับ fragment แล้วนำไปรวมกันใน Layout
ซึ่งมีความสัมพันธ์ระหว่างแฟ้ม java จำนวน 3 แฟ้ม
– การแสดงข้อมูลมีกิจกรรมใน 1) ItemDetailActivity.java ทำหน้าที่รับอะไรจากใครเข้าไป
แล้วพบการเชื่อมกับ 2) ItemDetailFragment.java
ด้วยคำสั่ง arguments.putString(ItemDetailFragment.ARG_ITEM_ID, ..
และ .add(R.id.item_detail_container, fragment) ..
ซึ่ง item_detail_container อยู่ใน Layout activity_item_detail.xml
– หากเข้าไปดูใน ItemDetailFragment.java
พบว่า มีการเชื่อมกับ ARG_ITEM_ID กับ 3) DummyContent.java อีกทีหนึ่ง
มีรายละเอียดที่น่าสนใจอีกมากมายใน DummyContent.java
พบว่ามี Layout structure ดังนี้
<CoordinatorLayout> <AppBarLayout> <CollapsingToolbarLayout> <Toolbar /> </CollapsingToolbarLayout> </AppBarLayout> <NestedScrollView android:id="@+id/item_detail_container" /> <FloatingActionButton /> </CoordinatorLayout>
1.5 สำรวจ Layout ที่ 3 แฟ้ม item_detail.xml
โครงร่างย่อยสำหรับแสดงเนื้อหาโดยตรง และรับข้อมูลแบบ TextView
ทำงานสำหรับด้านขวา (Right Pane) เท่านั้น
พบว่า TextView ถูกเชื่อมข้อมูลกับ DummyContent.java ผ่านคำสั่งใน ItemDetailFragment.java
คือ ((TextView) rootView.findViewById(R.id.item_detail)).setText(mItem.details)
เมื่อเห็นการทำงานของ Layout นี้ จึงนำไปปรับใช้เป็น WebView ในตอนท้ายของบทความนี้
พบว่ามี Layout structure ดังนี้
<TextView id="@+id/item_detail" /> (แฟ้มนี้มี Tag เดียว)
1.6 สำรวจ Layout ที่ 4 แฟ้ม item_list.xml
โครงร่างย่อยสำหรับรายการตัวเลือก ทำงานด้านซ้าย (Left Pane) เท่านั้น
พบว่า findViewById(R.id.item_list) ถูกเชื่อมเข้า View ใน ItemListActivity.java
แล้วเชื่อมโยงระหว่าง RecycleView กับ DummyContent ผ่าน .setAdapter()
หน้าที่ของ item_list คือ แสดงหน่วยข้อมูล (item) ให้เลือกแบบรายการ (List)
พบว่ามี Layout structure ดังนี้
<RecyclerView id="@+id/item_list" /> (แฟ้มนี้มี Tag เดียว)
1.7 สำรวจ Layout ที่ 5 แฟ้ม item_list.xml (w900dp)
คล้ายกับ 1.6 แต่หากจอภาพเป็นแบบ Wide Screen
รองรับการแสดง FrameLayout ที่กว้าง 900 dp ได้ ก็จะมี 2 Pane
มีการตรวจสอบ และกำหนดค่าให้กับ mTwopane = true
ซึ่งพบใน ItemListActivity.java
หากปรับขนาดจาก 900 dp เหลือ 600 dp ก็จะแสดงผลบน Smartphone ของผมได้
จึงลดขนาดด้วยการ rename folder เป็น layout-w600dp
ผ่านการ Right Click เลือก [Show in Explorer] แล้วก็ rename folder ได้เลย
http://www.appstoremarketresearch.com/articles/android-tutorial-master-detail-flow/
พบว่ามี Layout structure ดังนี้
<LinearLayout> <RecyclerView id="@+id/item_list" /> <FrameLayout id="@+id/item_detail_container" /> </LinearLayout>
1.8 สำรวจ Layout ที่ 6 แฟ้ม item_list_content.xml
โครงร่างย่อยสำหรับแสดงรายการตัวเลือกแต่ละรายการ
ปกติจะมีลำดับตัวเลือก และชื่อตัวเลือก ก็จะเป็นตาม Layout นั้น
ส่วนแฟ้มที่กำหนดขนาด (Dimension) คือ dimens.xml
หากเปลี่ยน <dimen name=”text_margin”> ก็จะมีผลต่อ Layout
ที่อ้างอิงผ่าน layout_margin=”@dimen/text_margin”
พบว่ามี Layout structure ดังนี้
<LinearLayout android:orientation="horizontal"> <TextView /> <TextView /> </LinearLayout>
2. ทำให้ item ใน list มีกิจกรรม
พบว่าแฟ้ม DummyContent.java ควบคุมการแสดงรายการตัวเลือก
และกิจกรรมหลังเลือกตัวเลือก
หากจะปรับเปลี่ยนจำนวนตัวเลือก หรือเปลี่ยนชื่อตัวเลือก
จาก 25 รายการเป็น 10 รายการ ก็สามารถทำได้
สามารถเปลี่ยน for ใน static เป็นดังนี้
มองหา private static final int COUNT = 25; static { for (int i = 1; i <= COUNT; i++) { addItem(createDummyItem(i)); เปลี่ยนเป็น private static final int COUNT = 5; static { addItem(new DummyItem("1","API Level",makeDetails(1))); addItem(new DummyItem("2","SECURITY_PATCH",makeDetails(2)));
3. เพิ่มเกิจกรรมให้ตัวเลือกแต่ละตัว ใน DummyContent.java
มองหา builder.append("Details about Item: ").append(position); for (int i = 0; i < position; i++) { .. } return builder.toString(); เปลี่ยนเป็น builder.append("Data ID : ").append(position); switch(position){ case 1: builder.append("\nAPI Level = ") builder.append(String.valueOf(Build.VERSION.SDK_INT)); // 21 return builder.toString();
4. การได้ ipaddress ต้องปรับ AndroidManifest.xml
โดยเพิ่ม 2 tag นี้ ก่อนเปิด tag <application>
<uses-permission android:name="android.permission.INTERNET" /> <uses-permission android:name="android.permission.ACCESS_NETWORK_STATE" />
มีตัวอย่างคำสั่งในข้อ 8
5. สร้าง WebView ชื่อ aboutus.xml รับ HTML Tag
สร้าง Layout ใหม่ให้มีเพียง WebView คล้ายกับ item_detail.xml
แล้วปรับให้การคลิ๊ปปุ่มบน FloatingActionButton ไปเรียก aboutus.xml
เลือกการเปลี่ยน include ใน activity_item_list.xml
ใช้วิธีการกำหนด ViewFlipper เคยเล่าในตอนที่ 10 ข้อ 1
5.1 ปรับแฟ้ม activity_item_list.xml
เพื่อสลับกันไปมาระหว่างการกดปุ่ม FloatingActionButton
คือเลือกระหว่างแสดง item_list กับ aboutus
หาก include item_list ใน wide screen จะมา 2 section
หาก include aboutus ใน wide screen จะมาเฉพาะ WebView
มองหา <include layout="@layout/item_list" /> เปลี่ยนเป็น <ViewFlipper android:id="@+id/view_flipper" android:layout_width="fill_parent" android:layout_height="fill_parent"> <include layout="@layout/item_list" /> <include layout="@layout/aboutus" /> </ViewFlipper>
https://developer.android.com/reference/android/webkit/WebView.html
https://www.mkyong.com/android/android-webview-example/
5.2 ปรับแฟ้ม ItemListActivity.java
ใน fab.setOnClickListener(new View.OnClickListener() { }
ซึ่งใช้ switch สนับกันสั่ง setDisplayedChild
เพิ่มคำสั่งต่อไปนี้
ViewFlipper vf = (ViewFlipper) findViewById(R.id.view_flipper); switch (vf.getDisplayedChild()) { case 0: vf.setDisplayedChild(1); WebView webView = (WebView) findViewById(R.id.webview); webView.getSettings().setJavaScriptEnabled(true); String mData = getString(R.string.mdata); //webView.loadData(mData, "text/html", null); webView.loadDataWithBaseURL("file:///android_res/drawable/", "<img src='test.jpg' />", "text/html", "utf-8", null); break; case 1: vf.setDisplayedChild(0); break; }
5.3 เปลี่ยนภาพปุ่ม
เลือก ic_menu_help ที่แสดงเครื่องหมาย ? บน FloatingActionButton
ด้วย app:srcCompat=”@android:drawable/ic_menu_help”
5.4 เขียน HTML แบบใช้ entity reference
คือการใช้ < แทนเครื่องหมาย <
<string name="mdata"> <html><body> <b>Hello world!</b><br/> <center><img src="bridge.jpg" height=200 /></center> <table width=100% bgcolor=yellow><tr><td><center> A bridge is in Lampang province, Thailand. </td></tr></table> </body></html> </string>
6. การเพิ่ม layout แบบ WebView แทน TextView จำนวน 1 ตัวเลือก
พบว่า มีการส่ง R.layout.item_detail
เข้าไปใน rootView ใน ItemDetailFragment.java
ผ่านคำสั่ง rootView = inflater.inflate(R.layout.item_detail,..
ก็เพียงแต่เปลี่ยนจาก item_detail เป็น aboutus เท่านั้น
เปลี่ยนเป็น rootView = inflater.inflate(R.layout.aboutus,..
แล้วปรับแฟ้ม aboutus.xml ให้คล้าย item_detail.xml ที่มีเพียง Tag เดียว
เพื่อเข้าไปอยู่ใน rootView แล้วแสดงผลร่วมกับ appBarLayout ดังนี้
<WebView xmlns:android="http://schemas.android.com/apk/res/android" xmlns:tools="http://schemas.android.com/tools" android:id="@+id/webview" style="?android:attr/textAppearanceLarge" android:layout_width="match_parent" android:layout_height="match_parent" android:padding="16dp" android:textIsSelectable="true" tools:context="com.thaiall.www.mainanddetail.ItemDetailFragment" />
โดย rootView ใน ItemDetailFragment.java
จะถูกนำเข้า fragment แล้วรวมกับ container ใน ItemDetailActivity.java
ผ่านคำสั่ง getSupportFragmentManager().beginTransaction()
.add(R.id.item_detail_container, fragment)
7. การหาขนาด Width และ Height ของจอภาพ
ทำใน Activity หลักที่มี Context
แล้วเรียกค่าไปใช้ใน Dummy project ได้
การเรียกใช้ใน Dummy project
import com.thaiall.www.mainanddetail.ItemListActivity; private static ItemListActivity item = new ItemListActivity(); builder.append(item.screenWidth);
ประกาศตัวแปรไว้ใต้ Class แบบ static
public static int screenHeight = 0; public static int screenWidth = 0;
คำสั่งสำหรับหาค่า Width กับ Height ใช้ใน Activity หลัก
// Width=720pixel Height=1280pixel
// DisplayMetrics displayMetrics = getResources().getDisplayMetrics();
DisplayMetrics displayMetrics = new DisplayMetrics();
WindowManager wm = (WindowManager) getApplicationContext().getSystemService(Context.WINDOW_SERVICE);
wm.getDefaultDisplay().getMetrics(displayMetrics);
screenHeight = displayMetrics.heightPixels;
screenWidth = displayMetrics.widthPixels;
8. การหาค่า IP Address
WifiManager wifiMan = (WifiManager) getApplicationContext().getSystemService(Context.WIFI_SERVICE); WifiInfo wifiInf = wifiMan.getConnectionInfo(); int ipAddress = wifiInf.getIpAddress(); ip = String.format("%d.%d.%d.%d", (ipAddress & 0xff),(ipAddress >> 8 & 0xff), (ipAddress >> 16 & 0xff),(ipAddress >> 24 & 0xff));
9. การหาวันเวลาของเครื่อง
getDateTime = new SimpleDateFormat("yyyy-MM-dd HH:mm:ss").format(Calendar.getInstance().getTime());
10. การหาเลขรุ่น API ของ Android ที่มีในโทรศัพท์แต่ละเครื่อง
builder.append(String.valueOf(Build.VERSION.SDK_INT)); // I-Mobile IQ II 21 builder.append(String.valueOf(Build.VERSION.RELEASE)); // 5.0 (Lollipop) or 4.4.2 (Kitkat)
11. การส่งค่าเข้าตัวแปรแบบตัวเลข และตัวอักษรใน string
ตัวอย่างนี้ไม่ได้อยู่ใน project ที่ทดสอบนี้ แต่ค้นมาแล้วอยากเล่าเก็บไว้
จะรับข้อมูลจาก 3 ตัวแปร ที่ผสมระหว่างตัวเลข และตัวอักษร
จึงจะทำให้ข้อมูลสมบูรณ์ ตัวอย่างนี้ตัวแปรจะมีลำดับที่เริ่มจาก 1
ส่งเข้าไปผ่าน method getResources และ getString
<string name="x1">a= %1$d and b= %2$s and c= %3$d</string> int a = 1024; String b = "ASCII"; int c = 65536; String y = getResources().getString(R.string.x1, a, b, c);
12. การอ้างอิงชื่อ id, string, layout, drawable แบบอ้างอิงด้วยตัวแปร
ตัวอย่างนี้ไม่ได้อยู่ใน project ที่ทดสอบนี้ แต่ค้นมาแล้วอยากเล่าเก็บไว้
บางครั้ง มีข้อมูลจำนวนมากใน string หรือ drawable
แล้วต้องการอ้างอิงแบบเขียน code ให้สั้น
ไม่ใช่มี 100 ภาพ ก็เขียน 100 บรรทัด ก็มีเทคนิค หรือ algorithm อยู่ครับ
int n = 1; String tv ="R.id.x" + n; int id = getResources().getIdentifier(tv, "id", getPackageName()); TextView v1 = (TextView) findViewById(id); v1.setText("new value"); // R.layout.v1 // getResources().getIdentifier("v" + 1, "layout", getPackageName()); // R.string.v2 // getResources().getIdentifier("v" + 2, "string", getPackageName()); // R.drawable.v3 // getResources().getIdentifier("v" + 3, "drawable", getPackageName());
13. การติดตั้ง Android 7.1 บน VirtualBox
เริ่มต้นจากการ Download แฟ้ม .iso สำหรับติดตั้ง Android
http://www.android-x86.org/download
มีขั้นตอน ดังนี้
– Installation
– Create/Modify Partitions
แบบนี้เป็นปัญหา Other และ Other/Unknown
แบบนี้ผ่านด้วยดี Windows และ Windows 32 Bits
แบบนี้ผ่านด้วยดี Ubuntu และ Ubuntu 32 Bits
– use GPT = no
– in partition 1
– write in bootable and primary and Quit
– select SDA1 and format in ext4
– install GRUB and /system
– select [run Android-x86]
– Let’s go
– Setup as new
– Checking for update
– Get connected
– Don’t use any network for setup
– continue and Next
– name=android
– Google services > Next
– Anything else? > ALL SET
– Home screen
– chrome + accept policy
– no signin
– click O > Home screen
– click up arrow
– click Terminal emulator
– $ifconfig = ip address 192.168.1.2
</process>
<website_guide>
+ http://benzneststudios.com/../context-android-overview/
+ https://developer.android.com/../string-resource.html
+ https://stackoverflow.com/..using-getresources-in-non-activity-class
+ https://stackoverflow.com/..get-context-on-android
+ https://stackoverflow.com/..use-getsystemservice-in-a-non-activity
+ https://stackoverflow.com/..get-screen-dimensions-in-pixels
+ https://stackoverflow.com/..get-screen-width-and-height
+ https://stackoverflow.com/..getwindowmanager-by-another-java
+ https://www.youtube.com/watch?v=hjY06ZmYl8U
</website_guide>
หมายเหตุ
ถ้าสนใจติดตามเนื้อหาในบล็อกนี้ สามารถ subscribe ด้วย email ที่อยู่ข้างขวา หรือ click here
#AndroidStudio ตอนที่ 10 สำรวจ Layout และ properties ที่น่าสนใจ 6 Layout
#AndroidStudio ตอนที่ 10 สำรวจ Layout และ properties ที่น่าสนใจ 6 Layout
<introduction>
อารัมภบท
เกิดข้อสงสัย จึงอยากชวนไปสำรวจ ว่ามี Layout อยู่เท่าไรที่เราทำเป็น Root layout เพราะ Theme: Basic Activity เตรียม CoordinatorLayout มาให้เราใช้ ส่วน Empty Activity เตรียม ConstraintLayout มาให้ เมื่อเข้า Layout Editor หรือ UI Builder เพื่อสร้าง UI แล้วเข้าส่วน Design มองใน Palatte หัวข้อ Layouts จะพบ 9 ตัวเลือก คือ ConstraintLayout, GridLayout, FrameLayout LinearLayout(horizontal), LinearLayout(vertical), RelativeLayout, TableLayout, TableRow, และ อันที่จริงยังมี Layout มากกว่านี้ อาทิ CoordinatorLayout หรือ AppbarLayout เป็นต้น
ขณะสำรวจ และทดสอบในบทบาท ผู้ใช้โปรแกรม Android Studio ทำการสร้าง Layout ก็ย่อมมีปัญหา ไม่ได้อย่างใจหมายหลายครา ทำให้มีโอกาสสืบค้น และได้พบบทความเกี่ยวกับ Layout ที่ akexorcist.com และ devahoy.com พบว่านักเขียนเล่าอะไรหลายอย่างเกี่ยวกับ Android ทำให้เข้าใจขึ้นมาก ลองไปหาอ่านดูนะครับ
สรุปกระบวนการ ได้ 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) สร้าง Project แบบ Basic Activity ไว้เรียก Layout อื่น 2) การปรับ orientation ของ LinearLayout เป็น vertical กับ horizontal 3) การแสดงข้อมูล 3 column โดยใช้ TextView บน LinearLayout 4) การสร้าง relativelayout.xml 5) การทำภาพ overlay แบบ RelativeLayout 6) copy overlay.xml แล้ว paste constraintlayout.xml 7) การสร้าง gridlayout.xml 8) การสร้าง tablelayout.xml
ปล. แฟ้ม Project ผมบีบไว้ และแชร์ให้ Download ทั้ง .rar และ .apk ไปทดสอบกัน
ที่ http://www.thaiall.com/android (ผ่าน 4shared.com)
</introduction>
<definition>
นิยามศัพท์
- LinearLayout คือ เค้าโครงเพื่อจัดวางวัตถุแบบเรียงลำดับ เลือกเรียงแบบ ตามแนวตั้ง (Vertical) หรือตามแนวนอน (Horizontal) เป็น Default Layout เมื่อสร้าง Layout XML File ขึ้นใหม่
- RelativeLayout คือ เค้าโครงเพื่อจัดวางวัตถุที่สัมพันธ์กัน เชื่อมโยง อ้างอิง อาจอ้างอิงวัตถุอื่น หรืออ้างอิง Parent ก็ได้ การใช้ Layout Editor จะช่วยให้จัดวาง เห็นภาพใน Blueprint ทำได้สะดวกขึ้นแทนการเข้าไปกำหนดใน XML file โดยตรง
- ConstraintLayout คือ เค้าโครงแบบเพื่อจัดวางวัตถุแบบใหม่ คล้าย RelativeLayout มาก และ Android สนับสนุนให้ใช้ เป็นเค้าโครงที่เหมาะสำหรับนักพัฒนาที่ไม่ถนัด XML file มี Layout Editor ที่รองรับการจัดวางผ่าน Blueprint และลดจำนวนเค้าโครงที่ซับซ้อนได้
- GridLayout คือ เค้าโครงเพื่อจัดวางวัตถุแบบต่อเนื่อง ในช่องที่จัดเตรียมเป็นตะแกรง หรือจะหย่อนวัตถุไปตามตาที่กำหนดได้ ตัวอย่างการใช้ คือ Image Gallery หรือการแสดงรายการ App บนสมาร์ทโฟน ก็แสดงเป็น Grid
- TableLayout คือ เค้าโครงเพื่อจัดวางวัตถุ โดยกำหนดเป็น Row กับ Column เหมาะกับการวางข้อมูลจากระบบ Database ที่แบ่งข้อมูลเป็น Record กับ Field ไว้แล้ว แต่จะจัดวางเป็นฟอร์มสำหรับ Input ข้อมูลก็สามารถสั่งขยายช่องด้วย span ได้
- CoordinatorLayout คือ เค้าโครงเพื่อจัดวางวัตถุที่แตกต่างรูปแบบในหน้าเดียวกัน อาจมีทั้ง Slide, Panel, Button หรือ Stick และ Animate ก็ทำได้
- ViewGroup คือ เป็นกลุ่มของ View ที่ทำหน้าที่จัดวางเค้าโครง มี subclass ทั้งแบบ Direct (19 Layout) และ Indirect (63 Layout) หากต้องการหา Layout ที่ตรงกับความต้องการให้เข้ามาดูรายชื่อ subclass แล้วเข้าไปดู description และ method ได้
</definition>
กำลังเล่าเรื่อง การใช้โปรแกรม Android Studio สู่เพื่อนนักพัฒนา ผ่าน Blog
<process>
กระบวนการในการพัฒนา APP
เพื่อสำรวจการใช้งาน Layout แต่ละแบบ ว่าใช้งานแตกต่างกันอย่างไร
มีขั้นตอน ดังนี้
1. สร้าง Project แบบ Basic Activity ไว้เรียก Layout อื่น
ตั้งชื่อว่า layoutsample แล้วเตรียม menu, string, activity, layout
ในตอนนี้เราจะ include Layout แล้วเลือก include ผ่าน ViewFlipper
ตามที่เล่าใน ตอนที่ 9 ข้อ 3 ว่าเราสร้าง Menu ผ่าน ToolBar ได้
แล้วเพิ่ม include คู่กับ visible หรือ gone หลายรายการ
เพื่อคุมการ select ใน Menu ให้ได้ผลตามต้องการ
ตัวอย่างนี้ขอปรับการเลือกควบคุมสลับ visible กับ gone
เป็นการใช้ ViewFlipper คลุมใน activity_main.xml และ MainActivity.java
1.1 เริ่มจากสร้าง linearlayout.xml เปล่า ขึ้นมาก่อน
เพื่อเตรียมไว้เป็นตัวเลือกที่ 1 เพราะตัวเลือกแรก คือ content_main.xml
ที่มีมากับ Basic Activity แล้วแสดงคำว่า Hello world!
1.2 ปรับ code ใน activity_main.xml
เพื่อเพิ่ม ViewFlipper เข้าควบคุมการ include
มองหา <include layout="@layout/content_main" /> เปลี่ยนเป็น <ViewFlipper android:id="@+id/view_flipper" android:layout_width="fill_parent" android:layout_height="fill_parent"> <include layout="@layout/content_main" /> <include layout="@layout/linearlayout" /> </ViewFlipper>
1.3 ปรับ code ใน MainActivity.java
เพื่อเปลี่ยนจากการใช้ if ไปใช้ switch คุมการ setDisplayedChild ที่ต้องการ
มองหา if (id == R.id.action_settings) { return true; } เปลี่ยนเป็น import android.widget.ViewFlipper; ViewFlipper vf = (ViewFlipper) this.findViewById(R.id.view_flipper); switch (item.getItemId()) { case R.id.content: vf.setDisplayedChild(0); return true; case R.id.linearlayout: vf.setDisplayedChild(1); return true; }
1.4 ไปเพิ่ม <item> ใน menu_main.xml และ <string> ใน strings.xml
เพื่อให้มีตัวเลือกสำหรับการคลิ๊กใน menu
เพื่อเลือก case R.id.content และ case R.id.linearlayout
เพราะขณะนี้มี 2 layout ที่พร้อมทำงานใน menu
1.5 ระหว่างสร้าง string พบการปัดบรรทัดที่มีผลกับ layout
โดยตัวอักษรที่ปัดบรรทัด หรือ Line Break ด้วย \n
ปัญหานี้เล่าใน ตอนที่ 8.1 แต่มาพบ \n ในตอนนี้
<string name="datawith2br">a\nb\nc</string>
2. การปรับ orientation ของ LinearLayout เป็น vertical กับ horizontal
เมื่อสร้าง linearlayout.xml พบว่าค่า default ไม่ได้กำหนดว่า orientation เป็นอะไร
แต่ default เป็น horizontal แม้ไม่ได้กำหนดก็ตาม
2.1 ทดสอบเพิ่ม TextView ที่มี @string/data
ได้เพิ่มแบบไม่กำหนด id จำนวน 20 tag
ปัญหาแรก พบว่า ข้อมูลเบียนกันจนแน่นในแถวเดียว เป็นปัญหาเรื่องตำแหน่ง
หากจำนวนข้อมูลน้อยกว่า 20 tag ก็จะแสดงผลได้ปกติ แต่กรณีนี้มากไป
และไม่ได้จัดเรียงแบบ wrap ลงมาบรรทัดต่อไป
นี่เป็นค่า default ของ orientation ที่เป็นแบบ horizontal
อีกปัญหา พบว่า ทั้งใน emulator และ smart phone
บน emulator จะแสดงคำว่า data ทับ AppbarLayout
บน smartphone จะคำว่า data ถูกทับด้วย AppbarLayout
<TextView android:layout_width="wrap_content" android:layout_height="wrap_content" android:text="@string/data" />
[ปัญหา]
สรุปว่า พบปัญหาการแสดงผลในทั้ง 2 อุปกรณ์
เนื่องจากต้องการให้ตำแหน่งเริ่มต้นแสดงผลต่อจาก Appbarlayout
ไม่ใช่ทับกันไปมา ระหว่าง TextView กับ Appbarlayout แบบนั้น
[วิธีแก้ไข]
เพิ่ม android:layout_marginTop=”?attr/actionBarSize” ใน layout
ทดสอบกับทั้ง linearlayout.xml และ content_main.xml
แม้จะเปลี่ยน wrap_content เป็น match_parent แล้ว ก็ไม่มีปัญหา
2.2 ทดสอบเพิ่ม android:orientation=”vertical”
* ใน layout แบบ ConstraintLayout หรือกำหนด width=”match_parent”
ผล คือ data ทับกันในตำแหน่งเดิม แสดงว่า ไม่รองรับการกำหนดเป็น vertical
* ใน layout แบบ LinearLayout
ผล คือ เรียงต่อกันมาตามแนวนอน บรรทัดละ 1 คำอย่างถูกต้อง
แม้กำหนดเป็น wrap_content ทุกตัวก็ตาม
3. การแสดงข้อมูล 3 column โดยใช้ TextView บน LinearLayout
กำหนดให้ แท่งแรกกว้าง 25% (0.25) แท่งที่สอง 50% (0.5) แท่งที่สาม 25% (0.25)
แก้ไขในแฟ้ม linearlayout.xml เดิม
ไปอ่านมาจาก https://devahoy.com/posts/android-layout-linear-layout/
ปรับ properties ที่ใช้ใน TextView ดังนี้
background="#00ff00" คือ สีพื้นเขียว padding="5dp" คือ ช่องว่างระหว่างตัวอักษรกับขอบใน gravity="center" คือ อยู่ตรงกลางของ TextView layout_width="wrap_content" คือ ขนาดเท่าข้อมูล layout_height="match_parent" คือ ขนาดเต็มจอ layout_weight="0.50" คือ กว้าง 50% layout_marginStart="5dp" คือ เว้นว่างทางซ้าย
4. การสร้าง relativelayout.xml
เลือก Layout XML File ที่มี Root Tag = RelativeLayout
แล้วเพิ่มตัวเลือกเข้าไปใน menu จะได้เรียกมาทดสอบได้ง่าย
แก้ให้ครบทุกจุดนะครับ เพราะมีเยอะเลยที่ต้องแก้ให้สอดคล้องกัน
แม้เป็นตัวเลือกที่ 3 แต่ต้องกำหนด vf.setDisplayedChild(2);
อ่านความหมายของ Layout ที่ devahoy.com
เรียบเรียงได้ว่า LinearLayout และ RelativeLayout
ต่างเป็น View Group เหมือน Container มีไว้รวบรวม Child View หรือ Widget
มีสิ่งที่ต่างกันใน 2 Layout คือ การจัดเรียง
ถ้า LinearLayout ก็จัดเรียงแบบ horizontal หรือ vertical
ถ้า RelativeLayout ก็จัดเรียงอย่างมีความสัมพันธ์ ซึ่งกันและกัน
การจัดเรียงค่อนข้างเป็นอิสระ และเชื่อมโยงตามลำดับ ทำให้นึกถึง linked list
ปรับ properties ที่ใช้ใน TextView ดังนี้
id="@+id/tv1" คือ การตั้งชื่อให้ TextView layout_toEndOf="@+id/tv1" คือ อยู่ต่อท้าย tv1 layout_alignParentStart="true" คือ ตำแหน่งเริ่มซ้ายของจอ textSize="16sp" คือ ขนาดตัวอักษร 16 layout_below="@+id/tv1" คือ อยู่ข้างล่างต่อจากภาพ tv1 layout_toEndOf="@+id/tv1" คือ เริ่มต่อจากด้านขวาของ tv1 gravity="center|center_vertical" คือ อักษรอยู่กลาง layout_alignParentEnd="true" คือ ชิดด้านซ้ายของจอภาพ layout_alignParentBottom="true" คือ ชิดด้านล่างขอจอภาพ
5. การทำภาพ overlay แบบ RelativeLayout
สร้าง Layout ใหม่ชื่อ overlay.xml และ Root Tag = RelativeLayout
ส่งภาพเข้า drawable ผมเตรียมภาพขนาด 360*640
เพราะโทรศัพท์ของผมขนาดเท่านี้
https://www.whatismyscreenresolution.com/
ปรับ properties ที่ใช้ใน TextView ดังนี้
android:layout_marginTop="?attr/actionBarSize" คือ ของ RelativeLayout android:contentDescription="@string/data" คือ รายละเอียดของภาพ android:scaleType="fitXY" คือ กำหนดให้ภาพพอดีกับตำแหน่ง X และ Y app:srcCompat="@drawable/lp01" คือ การใส่ภาพจาก drawable gravity="center" คือ ข้อความอยู่ตรงกลาง textSize="60sp" คือ ขนาดตัวอักษร textColor="#000000" คือ สีตัวอักษร background="#00ff00" คือสีพื้น alpha="0.3" คือ การกำหนดระดับความโปร่งแสง layout_alignParentStart="true" คือ ชิดด้านซ้าย
6. copy overlay.xml แล้ว paste constraintlayout.xml
เข้าไปอ่าน blog ของ akeorcist.com เห็นชัดเลยว่า
Android เชียร์ให้ใช้ ConstraintLayout แทน RelativeLayout
เพราะจัดการง่ายผ่าน UI Builder และมีขนาดเล็กกว่า
งานที่เคยทำใน RelativeLayout สามารถแปลงเป็น ConstraintLayout อัตโนมัติ
จึงคัดลอก overlay.xml เป็นวางแฟ้มเป็นชื่อใหม่คือ constraintlayout.xml
เข้า design แล้วคลิ๊กที่ RelativeLayout ใน Component Tree
กด Right Click จะมี Convert RelativeLayout to ConstraintLayout มาให้
แล้วมีให้เลือกทำ Flatten Layout Hierarchy
กรณีของผม ต้องปรับรายละเอียดใน ImageView และ TextView
เพราะ layout เปลี่ยน properties ก็ต้องเปลี่ยน เพี้ยนไปบ้าง
ใน ImageView ก็ต้องทำให้ขอบภาพชิดกับของ parent ดังนี้
app:layout_constraintTop_toTopOf="parent" app:layout_constraintBottom_toBottomOf="parent" app:layout_constraintLeft_toLeftOf="parent" app:layout_constraintRight_toRightOf="parent"
แต่ข้อความใน TextView ถูกเปลี่ยนให้เชื่อมกับส่วนอื่น ทำให้อยู่ตรงกลางของจอ
app:layout_constraintRight_toRightOf="@+id/imageView" app:layout_constraintLeft_toLeftOf="@+id/imageView" app:layout_constraintTop_toBottomOf="@+id/textView" app:layout_constraintBottom_toTopOf="@+id/button"
7. การสร้าง gridlayout.xml
พบว่า GridLayout เป็นเค้าโครงคล้ายตาราง ใส่ข้อมูลเป็นช่องตาม row หรือ column
แล้วมี GridView ที่ช่วยให้การใส่ image เป็น gallery ได้ง่าย
รองรับการใส่ข้อมูลจำนวนมาก มีความเป็นอัตโนมัติผ่านการจัด orientation
Default คือ orientation:horizontal คือ เรียงแนวนอนไปทางขวาจนจบแถว
แล้วขึ้นแถวต่อไป
ขณะทดสอบพบว่า SDK ที่ผมใช้ตัวล่างที่ติดตั้งไว้ คือ API 19
แล้วไม่รองรับ layout_weight in LinearLayout. This is supported in API 21.
ตัวอย่างการใส่ TextView เข้าไปใน Row และ Column ที่กำหนด
<TextView android:layout_row="0" android:layout_column="0" android:id="@+id/textView3" android:textSize="16sp" android:background="#00ff00" android:layout_width="80dp" android:layout_height="80dp" android:text="@string/data" />
ตัวอย่างการใส่ Button เข้าไปอัตโนมัติ ช่องไหนว่างตาม orientation ก็เข้าไปเลย
<Button android:id="@+id/button6" android:layout_width="80dp" android:layout_height="80dp" android:text="@string/data" />
8. การสร้าง tablelayout.xml
เป็นการวางเค้าโครงให้รองรับการใส่ข้อมูลเป็น row กับ column
ทำให้นึกถึงการเขียน Table ในภาษา HTML ที่มี tr กับ td
ทำ span เพื่อขยายพื้นที่ของ cell ได้
เมื่อใส่ TextView ลงไปก็เป็นเพียงข้อมูลที่นำมาต่อกันใน 1 cell
แต่ TextView ที่มี android:layout_weight=”1″ จะมีน้ำหนักเป็น cell
มักต้องใส่ในทุก TextView เพื่อประกาศการเป็น cell
ตัวอย่างการเค้าโครงการวาง Tag ของ TableLayout
<TableLayout> <TableRow> <TextView android:layout_weight="1"> <TextView android:layout_weight="1"> </TableRow> </TableLayout>
</process>
<website_guide>
+ https://www.whatismyscreenresolution.com/
+ http://www.akexorcist.com/..new-android-layout.html
+ https://devahoy.com/..relative-layout-tutorial/
+ http://www.journaldev.com/..viewflipper-example-tutorial
+ http://www.programcreek.com/..&method=setDisplayedChild
+ https://developer.android.com/../view/ViewGroup.html
+ https://developer.android.com/guide/topics/ui/layout/grid.html
+ https://developer.android.com/../widget/TableLayout.html
</website_guide>
หมายเหตุ
ถ้าสนใจติดตามเนื้อหาในบล็อกนี้ สามารถ subscribe ด้วย email ที่อยู่ข้างขวา หรือ click here
#AndroidStudio ตอนที่ 9 Layout ของการแจ้งเตือน และการสร้าง Layout at Runtime และเมนู กับการแสดงภาพต่อตาม Vertical
#AndroidStudio ตอนที่ 9 Layout ของการแจ้งเตือน
และการสร้าง Layout at Runtime และเมนู กับการแสดงภาพต่อตาม Vertical
<introduction>
อารัมภบท
ความตั้งใจครั้งแรก คือ การวาง Layout ของการแจ้งเตือน โดยแสดง ImageView และ TextView คู่กัน เรียงเป็นบรรทัดลงไปแบบ Vertical แต่พอได้ลงไปวาง Layout พบว่า โปรแกรมแนะนำว่าให้ใช้ Drawable ตามที่เคยใช้ใน ตอนที่ 8 ข้อ 8 พอใช้ตามคำแนะนำ ก็พบปัญหา ความตั้งใจจึงเบี่ยงเบนไปเรื่องการทำ Valign=Top ว่าทำอย่างไรให้ภาพอยู่ในตำแหน่ง Top แล้วก็ไปสนใจการใช้ Layout แบบ RelativeLayout จากนั้นก็กลับมาคิดเรื่อง Notification ว่าควรลื่นไหลขณะ Runtime เหมือนที่เห็นใน FB Message
ก็พบว่าการวาง Layout ใน Android ทำได้ 2 แบบ คือ Declare UI elements in XML และ Instantiate layout elements at runtime เมื่อไปค้นดูก็ไปไม่ถึงไหน ได้แค่การสั่งให้สร้าง Layout at Runtime ใหม่ขึ้นมา พร้อมสร้าง TextView และส่งค่าเข้า TextView ที่สร้างขึ้น
ความเดิมตอนที่แล้ว เคยเล่าเรื่องการใช้ Template : Basic Activity ใน ตอนที่ 8 แต่ข้ามเรื่อง Menu ของ Toolbar ใน AppBarLayout ที่มีความสัมพันธ์กับหลายแฟ้ม ครั้งนี้กลับมาสนใจ และเพิ่มไป 3 ตัวเลือก พร้อมกิจกรรมที่ได้ทดสอบมาแล้วข้างต้น ทั้งหมดยังอยู่ใน 1 Main Layout กับ 1 Main Activity เพราะ Android Studio วางโครงสร้างให้ Activity คู่กับ Layout ส่วน Content Layout ในตัวอย่างครั้งนี้ จะถูกเรียกผ่าน Main Layout
ใช้การ include เข้าไป ก็ต้องใช้ setVisibility(View.VISIBLE); ใน Activity กำหนดให้กับ include แต่ละตัว เพราะไม่มีวิธีส่งชื่อ Layout ให้ include โดยตรง
สรุปกระบวนการได้ 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ทำความรู้จัก CoordinatorLayout ที่มีเสน่ห์ มาพร้อม Snackbar 2) การวางภาพคู่กับข้อความ 6 แบบ เลือกใช้ที่ชอบได้เลย 3) ใส่ Activity ให้กับ Menu ใน Toolbar บน AppBarLayout 4) การสร้าง layout at runtime เพื่อ say hello 5) สร้าง Layout สำหรับแสดง ImageView โดยเฉพาะ
</introduction>
กำลังเล่าเรื่อง การใช้โปรแกรม Android Studio สู่เพื่อนนักพัฒนา ผ่าน Blog
<process>
กระบวนการในการพัฒนา APP
เพื่อนำภาพและข้อความนำเสนอต่อกันเรียงลงมาเป็นแถว การจัดการเมนู การสร้าง Layout ช่วง Runtime และการนำภาพมาเรียงต่อกันตาม Vertical
มีขั้นตอน ดังนี้
1. ทำความรู้จัก CoordinatorLayout ที่มีเสน่ห์ มาพร้อม Snackbar
เริ่มต้นก็สร้าง project ใหม่ แล้วเลือก Basic Activity ตั้งชื่อ ว่า layoutofnotification
ยังมี Template อีกมาก ทาง Android แนะนำว่าสามารถ Add Code from a Template คือ เราไม่ต้องเขียน code จาก 0 เค้ามี Template มาให้เลือกตามชอบ เคยมีอยู่ 10 ตอนนี้มี 12 และอาจเพิ่มขึ้น เลือกแล้วก็จะมี file ที่จำเป็น และเรียกใช้งานได้ในระดับหนึ่ง เราเพียงแต่นำมาปรับเพิ่ม พบว่า หน้า activity_main.xml มี Hierarchy ของ Layout ดังนี้
1. CoordinatorLayout เป็น root layout
2. AppBarLayout และภายในมี ToolBar
3. ConstraintLayout ที่ถูก include แฟ้ม content_main.xml
4. FloatingActionButton ลอยอยู่ที่ตำแหน่ง bottom|end
สำหรับ CoordinatorLayout ที่ถูกเลือกใช้นี้
ทำให้เราได้เห็นการใช้ FloatingActionButton ร่วมกับ Snackbar และ AppBarLayout
https://gist.github.com/thaiall/7bfcfeb57ac459b0e664f19337438908
ใช้โปรแกรม Android Studio ไม่ทันไร ถาม Update อีก 150 MB
รอไร .. เครื่องผมเหลือเนื้อที่ตั้งเยอะ
2. การวางภาพคู่กับข้อความ 6 แบบ เลือกใช้ที่ชอบได้เลย
เดิม activity_main.xml จะ include แฟ้ม content_main.xml
แต่ผมลบไปแล้ว ของเดิมมี ConstraintLayout เป็น Root Layout
กับ TextView ที่เขียนว่า Hello World!
แต่ผมต้องการ LinearLayout ที่ทำ ScrollView ได้
จึงสร้าง content1_main.xml
โดยมี Hierarchy ของ Layout สำหรับ 6 คู่ ดังนี้
<LinearLayout orientation="vertical"> <LinearLayout> <TextView text="@string/information"> </LinearLayout> <ScrollView> <LinearLayout orientation="vertical"> <LinearLayout orientation="vertical"> <TextView drawableStart /> <TextView drawableStart /> <ImageView /> <TextView /> </LinearLayout> <LinearLayout orientation="horizontal"> <ImageView /> <TextView /> </LinearLayout> <RelativeLayout> <ImageView /> <TextView /> </RelativeLayout> <RelativeLayout> <ImageView id="@+id/imageView2" /> <TextView layout_toEndOf="@+id/imageView2" /> </RelativeLayout> </LinearLayout> </ScrollView> </LinearLayout>
ถ้าดูผลลัพธ์จากกภาพ ดูโครงสร้าง และเห็น code น่าจะนำไปใช้ต่อได้
https://gist.github.com/thaiall/304e6ddd917dd0350aa57fba72955082
3. ใส่ Activity ให้กับ Menu ใน Toolbar บน AppBarLayout
มีขั้นตอนดังนี้
3.1 วางแผนไว้ในใจ ว่าคลิ๊ก 3 จุดที่มุมบนขวา แล้วมีเมนูไหลลงมา
อยากเห็นอะไร ก็ให้เปิด app, res, menu, menu_main.xml
จากนั้นก็เพิ่มตัวเลือกตาม item ที่ต้องการ แต่ title ต้องเปิดแฟ้ม strings.xml พิมพ์ไปพร้อมกัน
<item android:id="@+id/content1" android:orderInCategory="100" android:title="@string/content1" app:showAsAction="never" />
https://gist.github.com/thaiall/eb8137794add90145d19daa9d1c2c0d8
3.2 เปิด MainActivity.java ขึ้นมาแก้ไข
มองหา method ชื่อ onOptionsItemSelected(MenuItem item)
เดิมจะมี if (id == R.id.action_settings) ผมก็เปลี่ยนไปใช้ switch จะได้สะดวก
ตัวอย่างนี้ต้องปรับการใช้ include ใน activity_main.xml
switch (item.getItemId()) { case R.id.content1: findViewById(R.id.content1).setVisibility(View.VISIBLE); findViewById(R.id.content2).setVisibility(View.GONE); return true; case R.id.content2: findViewById(R.id.content1).setVisibility(View.GONE); findViewById(R.id.content2).setVisibility(View.VISIBLE); return true; case R.id.layoutRuntime: layoutRuntime(); return true; default: return super.onOptionsItemSelected(item); }
3.3 แก้ไขการ include เพราะสั่งไปว่าจะ visible หรือ gone
มองหา <include layout="@layout/content_main" เปลี่ยนเป็น <include android:id="@+id/content1" layout="@layout/content1_main" android:visibility="visible" /> <include android:id="@+id/content2" layout="@layout/content2_main" android:visibility="gone" />
https://gist.github.com/thaiall/e55bca08d5927c97dd2dec5367771085
4. การสร้าง layout at runtime เพื่อ say hello
เนื่องจากที่ผ่าน 8 ตอนเป็นการใช้โปรแกรม Android Studio
ผ่าน Main_Activity.java เท่านั้น และ layout ก็ไม่ได้มีเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ
ไม่มีการควบคุม Layout ผ่าน Main java เลย
แต่ code สร้าง Layout at runtime สำหรับ
ท่านที่ต้องการ Layout แปลกใหม่ กว่าที่มีไว้ ก็สร้างช่วง Runtime ได้
ได้ตัวอย่างมาจาก
http://www.android-examples.com
private void layoutRuntime() { LinearLayout linearLayout = new LinearLayout(this); TextView ProgrammaticallyTextView = new TextView(this); ProgrammaticallyTextView.setText(R.string.helloworld); ProgrammaticallyTextView.setTextSize(16); ProgrammaticallyTextView.setPadding(30, 250, 30, 100); linearLayout.addView(ProgrammaticallyTextView); this.setContentView(linearLayout, new LinearLayout.LayoutParams( LayoutParams.MATCH_PARENT, LayoutParams.MATCH_PARENT)); }
5. สร้าง Layout สำหรับแสดง ImageView โดยเฉพาะ
ใช้ภาพตัวอย่างจาก http://www.thaiall.com/actress/missgrand2017/
หากมีข่าวประกาศ หนังสือ รายงาน พรบ. หรือภาพสาวงาม จะนำมาเรียงต่อกัน
ให้เพื่อนชมผ่าน app บน Android ก็ส่งเข้าไปเลยครับ
ตอนผมทดสอบบน Smartphone มีปัญหาเรื่องจำนวนภาพเยอะ
ใช้ภาพเยอะ ๆ แล้ว error ส่งผ่าน Command line
เชื่อมผ่านเปิดแอพ WiFi ADB ซึ่งบนนั้นอาจมี Bug น่ะครับ
แต่แฟ้ม app-debug.apk นี้ส่งเข้า emulator ได้ผลปกติ
เรื่องสำคัญ คือ properties ของ ImageView เพื่อให้ลงจอภาพพอดี
โดยเฉพาะ scaleType กับ adjustViewBounds
<LinearLayout orientation="vertical"> <ScrollView> <LinearLayout orientation="vertical"> <ImageView android:id="@+id/imageView1" android:layout_width="match_parent" android:layout_height="match_parent" android:scaleType="fitCenter" android:adjustViewBounds="true" android:contentDescription="@string/data" app:srcCompat="@drawable/thai1" /> </LinearLayout> </ScrollView> </LinearLayout>
https://gist.github.com/thaiall/41e86984b4cabe35392e29fc05107f60
</process>
<website_guide>
+ https://developer.android.com/training/basics/firstapp/
+ http://www.techotopia.com/..User_Interface_in_Java_Code
+ https://stackoverflow.com/..without-setcontentviewr-layout-main
+ https://stackoverflow.com/..button-click-in-android
+ https://stackoverflow.com/..when-button-is-pressed
+ https://stackoverflow.com/..layout-in-android (viewstub)
+ https://developer.android.com/../declaring-layout
+ https://www.androidhive.info/..design-snackbar-example/
+ http://www.android-examples.com/..programmatically-example/
+ https://stackoverflow.com/..layout-on-java-code (setVisibility(View.GONE); and <ViewFlipper>)
+ https://developer.android.com/training/appbar/actions.html
+ https://developer.android.com/guide/topics/ui/menus.html
</website_guide>
หมายเหตุ
ถ้าสนใจติดตามเนื้อหาในบล็อกนี้ สามารถ subscribe ด้วย email ที่อยู่ข้างขวา หรือ click here
#AndroidStudio ตอนที่ 8.1 สิ่งที่ทำได้ และไม่ได้ในการใช้ HTML ใน TextView
#AndroidStudio ตอนที่ 8.1 สิ่งที่ทำได้ และไม่ได้ในการใช้ HTML ใน TextView
<introduction>
หลังทบทวนที่ได้ใช้โปรแกรม Android Studio แล้วพบ ปัญหา และทางออกในหลายวิธี แล้วแบ่งปันในกลุ่มเฟส สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ก็มีเพื่อนมาร่วมแลกเปลี่ยน แชร์โฮมเพจดี ๆ มาให้อ่าน หลังเขียนเรื่องที่อยากเขียนแล้ว ก็นำเรื่องที่อ่านเพิ่มเติมมาเขียนในข้อที่ 8 มีอะไรอีกมากที่ต้องเรียนรู้ ทั้ง 1) properties อีกอื้อ 2) ต้องเปลี่ยนตนเองตามการเปลี่ยนรุ่นของเครื่องมือ 3) การเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับงาน
Google เจ้าของ Android Studio ได้เตรียมเครื่องมือไว้เยอะ บางเรื่องบางงานก็ใช้ได้หลายเครื่องมือ ยกตัวอย่างง่าย ๆ สำหรับงานง่าย ๆ ก็มี layout ให้เลือกตั้งเยอะ และตอบโจทย์สำหรับงานง่ายได้ทุก layout แต่ถ้าต้องออกแบบ layout เชิงลึกถึงจะเห็นว่างานแบบลึกนั้น จะต้องใช้ layout แบบใดที่มีคุณสมบัติเฉพาะ และใช้ layout แบบอื่นไม่ได้จริง ๆ
TextView ไม่รองรับ HTML แต่โดยดี จึงมีเรื่องมาเล่า ดังนี้ 1) ใส่ HTML Tag เข้า TextView ใน Layout โดยตรง 2) ใส่ HTML Tag ใน string ที่อยู่ใน strings.xml แล้วอ้างอิงจาก Textview ใน layout 3) การส่ง img ใน strings.xml ไป TextView ใน layout ที่แสดงผลเฉพาะตัวอักษรหนา ส่วนภาพไม่ออก 4) การส่ง img ใน MainActivity.java ไป TextView ผ่าน ImageGetter แบบใช้ได้ 5) การส่ง img ใน strings.xml เข้า MainActivity.java ไป TextView ผ่าน ImageGetter แบบใช้ได้ 6) การส่ง img ใน strings.xml เข้า MainActivity.java ไป TextView ผ่าน ImageGetter แบบสั่ง replace แทนกำหนด Html Tag 7) ปรับ ImageGetter กันดีกว่า 8) การใช้ drawableStart แทน drawableLeft
</introduction>
กำลังเล่าเรื่อง การใช้โปรแกรม Android Studio สู่เพื่อนนักพัฒนา ผ่าน Blog
<process>
1. ใส่ HTML Tag เข้า TextView ใน Layout โดยตรง
ต.ย.1 การใช้ HTML Tag ใน TextView แบบนี้ไม่ได้ เกิด Error : Build ไม่ผ่าน
android:text="<b>hello</b>"
ต.ย. 2 การใช้ Entity Reference ใน TextView แบบนี้ไม่ได้ เกิด Error : Build ไม่ผ่าน
android:text="<b>hello</b>"
ต.ย. 3 การอ้างอิงข้อมูลมาใช้ ต้องเคยถูกประกาศไว้ใน strings.xml จึงจะถูกต้อง แบบนี้ดี
android:text="@string/data1"
2. ใส่ HTML Tag ใน string ที่อยู่ใน strings.xml แล้วอ้างอิงจาก Textview ใน layout
การใช้ HTML เขียนใน strings.xml แล้วอ้างไปแสดงผลใน layout.xml ทันที แบบนี้ เป็นวิธีที่ถูกต้อง มีคำแนะนำไว้ใน guide ของ android.com ว่าสามารถใช้ <b> <i> หรือ <u> ได้ เพื่อประกอบการแต่ข้อความที่แสดงใน TextView
ปัญหา คือ การใส่ img หรือภาพไปพร้อมข้อความใน TextView ต้องเพิ่ม code พิเศษ
<string name="data"><b>hello world</b></string>
android:text="@string/data"
3. การส่ง img ใน strings.xml ไป TextView ใน layout ที่แสดงผลเฉพาะตัวอักษรหนา ส่วนภาพไม่ออก
แบบนี้ไม่พบ error แต่ภาพไม่แสดง ต้องมี code มาช่วย จึงจะแสดงภาพใน TextView
<string name="data"><b>hello world</b> <img src="lp01" /></string>
4. การส่ง img ใน MainActivity.java ไป TextView ผ่าน ImageGetter แบบใช้ได้
บรรทัดที่ 46 มี HTML Tag ที่ทำให้ ตัวอักษรหนา และเรียกภาพมาแสดงได้จริง
ประกาศข้อมูลแบบ String ที่อยู่ภายใน MainActivity.java เอง
แบบที่่ 1 ที่ใช้งานได้ build ผ่าน และแสดงผลถูกต้อง
String mData = "<b>hello</b> <img src=\"lp01\" />";
แบบที่่ 2 ที่ใช้งานได้ เหมือนแบบแรก
String mData = "<b>hello</b> <img src=lp01 />";
แบบที่่ 3 ที่ใช้งานได้ เหมือนแบบแรก
String mData = "<b>hello</b> <img src='lp01' />";
แบบนี้ error ต้องแก้ไขทันที
String mData = "<b>hello</b> <img src="lp01" />";
บรรทัดที่ใช้ได้ทั้ง 3 ตัวอย่างข้างต้น
จะถูกส่งต่อไปให้ class ImageGetter ที่ประกาศใต้ class MainActivity
ก่อนจะส่งภาพให้ TextView ที่อยู่ใน Layout จะใช้ setText( .. )
ก็ต้องแปลงข้อมูลกันก่อน ด้วย Html.fromHtml( .. ) และใช้ ImageGetter ที่นี่
แต่ fromHtml มีหลายรุ่น จึงใช้ IF ตรวจสอบว่ารุ่นไหน ต้องเรียกใช้แบบใด
htmlTextView.setText(Html.fromHtml(mData, new ImageGetter(),null));
ตัวอย่าง Code ทั้งหมด 55 บรรทัดที่ใช้ใน MainActivity.java อยู่ข้างล่างนี้
https://gist.github.com/thaiall/bcd1c4a61fd16bf1cfb5dd32fc274d93
5. การส่ง img ใน strings.xml เข้า MainActivity.java ไป TextView ผ่าน ImageGetter แบบใช้ได้
เปลี่ยนจากการกำหนดค่าคงที่ (Constant) เป็นการอ้างอิงค่า (Reference) จาก R.string.data หากไม่แก้ไข MainActivity.java อีก มาดูกันว่าต้องกำหนดข้อมูลใน strings.xml อย่างไร เพื่อทำให้แสดงภาพใน TextView
String mData = res.getString(R.string.data);
ใช้ Entity Reference คือ < ทำให้ภาพออก เห็นตัวอักษา แต่ตัวอักษาไม่หนา
<string name="data"><b>hello</b> <img src="lp01" /></string>
ใช้ Entity Reference คือ < แทน < ทำให้เห็นทั้งภาพ และตัวอักษรหนา
<string name="data"><b>hello</b> <img src="lp01" /></string>
ใช้ Entity Reference คือ < แทน < แบบไม่มี Quote หรือ “” ก็ได้
<string name="data"><b>hello</b> <img src=lp01 /></string>
6. การส่ง img ใน strings.xml เข้า MainActivity.java ไป TextView ผ่าน ImageGetter แบบสั่ง replace แทนกำหนด Html Tag
หากไม่ต้องการใช้ HTML Tag ระบุชื่อภาพ แต่ใช้การแทนที่ ก็สามารถเพิ่ม code ใน MainActivity.java ได้ โดยมีตัวอย่างข้อมูลใน strings.xml ดังนี้
<string name="data">pic01 pic02 pic03</string>
เพิ่มคำสั่ง for สั่ง replace ข้อมูลใน mData หากพบ pic0 ก็ให้เปลี่ยนเป็น Img Tag ตามรูปแบบที่ต้องการ ถือเป็นการลดรูปของข้อมูลภาพใน strings.xml ไม่ต้องพิมพ์ยาว ๆ
String mData = res.getString(R.string.data); for(int i=1;i<=3;i++) { mData = mData.replace("pic0" + i, "<img src=lp0" + i + " />"); }
หากกำหนดข้อมูลใน strings.xml ให้ตัวอักษรเข้ม และปัดบรรทัด
ยังต้องใช้ Entity Reference คือ < แทนเครื่องหมาย < ดังอธิบายในข้อ 5
<string name="data"><b>hello</b><br/>pic01</string>
แม้จะใช้คำสั่ง replace แทนที่ < เป็น < ก็ไม่ทำให้ผลลัพธ์เปลี่ยนแปลง
เหมือนกับไม่เกิดการแทนที่เกิดขึ้น ก็เพียงแต่เล่าว่า วิธีนี้ใช้มาแล้ว
mData = mData.replace("<", "<");
mData = mData.replace("<b>", "<b>");
แล้วถ้าข้อมูลพิมพ์ [ แทนเครื่องหมาย < แล้วสั่ง replace
ผลลัพธ์จะออกมาเป็นการแสดง source code คือ <b>hello</b><br/>และภาพ
<string name="data">[b>hello[/b>[br/>pic01</string>
mData = mData.replace("[", "<");
7. ปรับ ImageGetter กันดีกว่า
7.1 บรรทัดที่ 34 คือ setBounds (.. )
เนื่องจากผมเขียนโปรแกรมทดสอบเกี่ยวกับภาพ เห็นว่าภาพใหญ่เกินไป
จึงปรับให้ขนาดเล็กจิ๋ว กว้าง 48 * 2 =96 pixel สูง 64 *2 =128 pixels
ถ้าต้องการใช้ความกว้างสูงของตัวภาพ แล้วทำให้ใหญ่ 2 เท่า หรือเล็กครึ่งหนึ่ง ก็ทำได้
d.setBounds(0,0,d.getIntrinsicWidth(), d.getIntrinsicHeight());
7.2 หากจะปรับขนาดภาพให้เป็นตามชื่อภาพ
เราก็มีชื่อภาพในตัวแปร source แก้โปรแกรม โดยเปลี่ยนบรรทัด 34 เป็น 4 บรรทัดข้างนี้
แล้วปรับขนาดได้ตามชอบใจ
if(source.equals("lp01")) d.setBounds(0,0,48 * 2, 64 * 2); else d.setBounds(0,0,300, 400);
7.3 ปรับการตรวจสอบ id
ตรวจสอบค่าของ getPackageName(); พบมีค่า com.thaiall.www.myapplication
ทำให้โปรแกรมที่เขียนขึ้นสามารถบรรทัดที่ 18 – 21 เพราะมีบรรทัดที่ 17 อยู่แล้ว
String p = getPackageName();
8. การใช้ drawableStart แทน drawableLeft
ได้แชร์ blog ตอนที่ 8 ในเฟสกลุ่ม สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย
แล้วคุณ Somkiat Ake Khitwongwattana แนะนำให้อ่าน Advance Android TextView ที่เขียนโดย Chiu-Ki Chan พอเข้าไปก็เห็นว่ามีคุณสมบัติที่ชื่อ drawableTop, drawableBottom และอีกเยอะที่ทดสอบแล้วใช้ได้เลยใน TextView แต่ drawableLeft ที่น่าจะใช้ได้พบว่า Android Studio ที่ผมใช้เค้าให้เปลี่ยนเป็น drawableStart และ drawableEnd ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงตลอดระหว่างการเปลี่ยนรุ่นของเครื่องมือที่ใช้พัฒนา นี่เป็นตัวอย่าง code ที่ปรับมาจากคำแนะนำที่ไปอ่านมา และผมไม่ใช้ lp01 เพราะรูปใหญ่เกิน จึงเลี่ยงไปใช้ ic_insert_emoticon_black_24dp และใน Page ของ Chiu-Ki Chan ยังมี Guide ที่น่าสนใจอีกมาก
<TextView android:id="@+id/textView" android:layout_width="wrap_content" android:layout_height="wrap_content" android:text="@string/app_name" android:drawableStart="@drawable/ic_insert_emoticon_black_24dp" android:drawableEnd="@drawable/ic_insert_emoticon_black_24dp" android:drawableTop="@drawable/ic_insert_emoticon_black_24dp" android:drawableBottom="@drawable/ic_insert_emoticon_black_24dp" />
</process>
สรุปว่าวิธีที่ใส่ภาพ และ html อยู่ข้อ 5 ส่วนข้อ 6 เป็นการเล่าเพิ่มเติม เรื่อง code
<website_guide>
+ http://chiuki.github.io/advanced-android-textview/#/
</website_guide>
หมายเหตุ
ถ้าสนใจติดตามเนื้อหาในบล็อกนี้ สามารถ subscribe ด้วย email ที่อยู่ข้างขวา หรือ click here
#Android Studio ตอนที่ 8 การใส่ภาพและคำสั่ง HTML ใน TextView ต่างกันทั้ง Java, Layout และ String
#Android Studio ตอนที่ 8 การใส่ภาพและคำสั่ง HTML ใน TextView
ต่างกันทั้ง Java, Layout และ String
<introduction>
อารัมภบท
การทำให้ตัวอักษรหนา หรือ Bold ใน TextView มีเงื่อนไขต่างกันทั้งใน Java, Layout และ String ในตอนนี้จะเน้นว่าทำอย่างไรให้แสดงผลได้ ไม่อธิบายส่วนของปัญหา เพราะการใส่ Html Tag ใน TextView ไม่เหมือนการเขียนเว็บเพจด้วยภาษา HTML พบว่า มีข้อจำกัดมาก ถามกันเยอะใน stackoverflow.com ไปอ่านใน guide ของ android.com พบว่า Supported HTML elements include:
<b>
for bold text.<i>
for italic text.<u>
for underline text.
อันที่จริงยังมี Tag ที่ได้รับการสนับสนุนมากกว่านี้ ถ้าอ่านเพิ่มเติมที่ abhiandroid.com และ grokkingandroid.com หากจะให้สรุปก็คงเห็นพ้องกับ Developer หลายท่านว่าการใช้ Html บน Android Studio มี 2 คลาสที่รองรับคือ TextView กับ WebView ถ้าให้ดีควรเลือกใช้ WebView เพราะ TextView สนับสนุนการใช้ HTML น้อยกว่า โดยเฉพาะการใส่ Image ที่ต้องสร้าง Class ImageGetter มาช่วย
แต่ TextView เป็น Class ที่นิยมใช้งานกัน การพยายามใส่ Image และ HTML ลงไปก็น่าจะมาถูกทาง เพียงแต่ Android Studio มี Class อื่นที่สนับสนุนงานด้าน HTML มากกว่า หากใช้งาน HTML จริงจัง คงต้องไปใช้ WebView แต่ถ้างานเล็ก ๆ จะใช้ TextView ก็น่าจะพอรับมือไหว ตัวอย่างในตอนนี้จึงมุ่งมั่นจะใช้ TextView เพื่อแสดง image และ HTML Tag แล้วลองติดตามดูครับ งานนี้ Activity Template เริ่มต้นผมเลือกใช้ คือ Basic Activity
สรุปกระบวนการได้ .. ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ทำความเข้าใจ Project ที่นำมาพัฒนาต่อ 2) ทดลองใส่ Tag:img ใน strings.xml 3) สร้างคลาส ImageGetter เพื่อให้แสดงภาพ ตาม Tag:img 4) สร้าง layout ใหม่ และ string ที่มี HTML tag หลายตัว 5) ทำให้ปุ่มสั่งเปิด Layout ใหม่ได้ และ Tag:img ทำงานได้
</introduction>
กำลังเล่าเรื่อง การใช้โปรแกรม Android Studio สู่เพื่อนนักพัฒนา ผ่าน Blog
<process>
1. ทำความเข้าใจ Project ที่นำมาพัฒนาต่อ
สร้าง New Project แบบ Basic Activity ชื่อ imageintextview
จะมีปุ่มที่เป็น FloatingActionButton ใน activity_main.xml
ตามที่เล่าใน ตอนที่ 7 : ข้อ 6 กับข้อ 7 ต่อไปปุ่มนี้ก็จะเป็นปุ่มเปลี่ยนบทความให้กับ App
ให้มองหา app:srcCompat=”@android:drawable/ic_dialog_email”
เปลี่ยนเป็น app:srcCompat=”@android:drawable/ic_media_play”
ส่วนปุ่มนี้จะไปเปิด layout ตัวใด ให้ขึ้นมาแสดงผล
ยังไม่ได้ปรับใน MainActivity.java รอไปทีละขั้น เพราะยังไม่ถึงเวลาของขั้นนี้
แต่เห็นว่า ตอนนี้มี <include layout=”@layout/content_main” />
อยู่ใน activity_main.xml ซึ่งจะเรียก content_main.xml เมื่อเริ่มต้นอยู่แล้ว
2. ทดลองใส่ Tag:img ใน strings.xml
2.1 เริ่มต้นจากการไปหาภาพตัวอย่างมา 5 ภาพ
แล้วใส่ภาพที่หาได้ เข้าไปใน drawable หามา 5 ภาพ คือ lp01.jpg ถึง lp05.jpg
เรื่องนี้เล่าใน ตอนที่ 6 ข้อ 1 มีแบบผ่าน Windows Explorer และผ่าน Android Studio
2.2 ใส่ข้อมูลใน string.xml ประกอบด้วย ข้อความแบบหนา ข้อความธรรมดา และแท็กภาพ
<string name=”data1″>
<b>hello world!</b> Can you see me? <img src=”lp01″ />
</string>
ใน layout_main.xml ที่ Template เตรียมมาให้ใน Basic Activity นั้น
มองหา android:text=”Hello World!”
เปลี่ยนเป็น android:text=”@string/data1″
ถ้า run ตอนนี้
จะเห็นข้อความ Hello world! เป็นตัวหนา
ส่วนข้อความ Can you see me? เป็นตัวธรรมดา
แต่ภาพ lp01 ไม่เห็นว่ามีภาพนี้ออกมา
อธิบายในเบื้องต้น คือ TextView ไม่สนับสนุนการใส่ Tag:img แแบบนี้
ถ้าให้เห็นต้องทำขั้นต่อไป
3. สร้างคลาส ImageGetter เพื่อให้แสดงภาพ ตาม Tag:img
3.1 จะใช้งาน Tag:img ใน TextView ได้ต้องมีคลาส ImageGetter ใน MainActivity.java ก็เริ่มจากไปหาคัดลอกคลาสนี้มา แล้วเปลี่ยน packagename เป็น ของท่าน ของผมใช้ com.thaiall.www.imageintextview ใน code กำหนดขนาดภาพที่ผ่านคลาสนี้ให้กว้าง 48*2 และ 64*2 โดยตัวอย่างนี้มี 2 ส่วนคือ ส่วนของ import และส่วนของคลาส ให้สร้างไว้ภายใน class MainActivity
ปล. พอมี ImageGetter แล้ว ในหัวข้อ 3.4 จะเรียกใช้ผ่าน Html.fromHtml ()
import android.text.Html;
import android.os.Build;
import android.graphics.drawable.Drawable;private class ImageGetter implements Html.ImageGetter {
public Drawable getDrawable(String source) {
int id;
id = getResources().getIdentifier(source, “drawable”, getPackageName());
if (id == 0) {
// the drawable resource wasn’t found in our package, maybe it is a stock android drawable?
id = getResources().getIdentifier(source, “drawable”, “com.thaiall.www.imageintextview“);
}
if (id == 0) {
// prevent a crash if the resource still can’t be found
return null;
}
else {
Drawable d;
if (Build.VERSION.SDK_INT >= Build.VERSION_CODES.LOLLIPOP) { //>= API 21
d = getResources().getDrawable(id, getApplicationContext().getTheme());
} else {
d = getResources().getDrawable(id);
}
//d.setBounds(0,0,d.getIntrinsicWidth(),d.getIntrinsicHeight());
d.setBounds(0,0,48 * 2,64 * 2);
return d;
} } }
3.2 การทำให้มีข้อมูลปรากฎใน TextView ผ่าน MainActivity.java
เริ่มต้นจากตั้งชื่อให้ TextView ใน content_main.xml
โดยเพิ่มว่า android:id=”@+id/textView”
3.3 เปลี่ยน data1 และเพิ่ม data2
เพื่อแสดงเทคนิคการจัดการ Tag:img ว่า ใส่แบบ data2 แล้วไม่สำเร็จ
ต้องใส่ Tag:img แบบ data1 ใน strings.xml แล้วใช้ java ช่วยจัดการ
<string name=”data1″>data1 : ok imglp01 imglp02 imglp03</string>
<string name=”data2″>data2 : error <img src=’lp01′ /> <img src=”lp02″ /></string>
3.4 หลังเตรียมข้อมูลใน strings.xml ก็มาเตรียม code ที่จะจัดการกับ Tag:img
โดยเพิ่ม code ข้างล่างนี้ใน MainActivity.java เพื่อจัดการ content_main.xml
import android.content.res.Resources;
import android.widget.TextView;
Resources res = getResources();
String mData1 = res.getString(R.string.data1);
String mData2 = res.getString(R.string.data2); // error here
String mData3 = “data 3 in java file : ok <img src=\”lp04\” /> <img src=lp05 />”;
for(int i=1;i<=3;i++) {
mData1 = mData1.replace(“imglp0” + i, “<img src=lp0″ + i + ” />”);
}
String[] mList ={mData1,mData2,mData3};
String mData = android.text.TextUtils.join(“<br/>”, mList);
TextView htmlTextView = (TextView)findViewById(R.id.textView);
if (android.os.Build.VERSION.SDK_INT >= android.os.Build.VERSION_CODES.N) {
htmlTextView.setText(Html.fromHtml(mData, Html.FROM_HTML_MODE_LEGACY, new ImageGetter(), null)); // for 24 api and more
} else {
htmlTextView.setText(Html.fromHtml(mData, new ImageGetter(),null)); // or for older api
}
https://gist.github.com/thaiall/9fcead1b4fb4baea6b0751957e5df56f
4. สร้าง layout ใหม่ และ string ที่มี HTML tag หลายตัว
4.1 สร้าง layout_main.xml
แล้วลาก TextView มาวาง เหมือนใน ตอนที่ 7 ข้อ 4
แล้วเติม ScrollView คลุม TextView ตาม ตอนที่ 7 ข้อ 5 ด้วย
พบว่า id ของ TextView คือ android:id=”@+id/textView2″
4.2 เตรียม myArticle ใน strings.xml ที่มีข้อมูลครบถ้วน
จากการไปอ่านบทความของ grokkingandroid.com ทำให้รู้ว่าใน string ต้องใช้ Entity reference คือ < ตอนปิด Tag ไม่จำเป็นต้องใช้ > ก็ได้ หากส่งเข้า TextView ผ่านฟังก์ชัน setText() ในโปรแกรม Java อย่างที่ใช้คือ MainActivity.java
<string name=”myArticle”>
<h1>ไอทีในชีวิตประจำวัน #611 เมื่อเพื่อนขอใช้โทรศัพท์เข้าสื่อสังคม</h1><br/> อาจมีสักครั้งที่เพื่อนสนิท หัวหน้า กิ๊ก หรือแฟนขอยืมสมาร์ทโฟนของเรา …
</string>
https://gist.github.com/thaiall/b220a4cb2b8137f747648c56a5bd086d
5. ทำให้ปุ่มสั่งเปิด Layout ใหม่ได้ และ Tag:img ทำงานได้
การปรับเพิ่ม MainActivity.java สำหรับรองรับการสั่งเปิด layout_main.xml
เริ่มจากการเพิ่มคำสั่งใน Activity เมื่อคลิ๊กปุ่ม
โดยเพิ่มใน Block : onClick ของ fab.setOnClickListener(..)
เพื่อคุม FloatingActionButton
ทำตาม ตอนที่ 7 ข้อ 6 มีคำสั่งเพียงบรรทัดเดียวที่ต้องเพิ่ม
setContentView(R.layout.layout_main);
แล้วตามด้วยชุดคำสั่งที่ต้องเพิ่ม
Resources res = getResources();
// for layout_main.xml
String mArticle = res.getString(R.string.myArticle);
for(int i=1;i<=3;i++) {
mArticle = mArticle.replace(“imglp0” + i, “<img src=lp0″ + i + ” />”);
}
TextView htmlTextView2 = (TextView)findViewById(R.id.textView2);
if (android.os.Build.VERSION.SDK_INT >= android.os.Build.VERSION_CODES.N) {
htmlTextView2.setText(Html.fromHtml(mArticle, Html.FROM_HTML_MODE_LEGACY, new ImageGetter(), null)); // for 24 api and more
} else {
htmlTextView2.setText(Html.fromHtml(mArticle, new ImageGetter(),null)); // or for older api
}
https://gist.github.com/thaiall/1e23a3bcf79ee293b6b4baea14bcfd9a
</process>
<website_guide>
+ http://abhiandroid.com/ui/html
+ http://www.grokkingandroid.com/..html-fromhtml/ (webview better)
+ https://developer.android.com/../string-resource.html (<)
+ https://stackoverflow.com/..strings-xml-in-android (spanned)
+ https://developer.android.com/studio/projects/templates.html
</website_guide>
หมายเหตุ
ถ้าสนใจติดตามเนื้อหาในบล็อกนี้ สามารถ subscribe ด้วย email ที่อยู่ข้างขวา หรือ click here
#AndroidStudio ตอนที่ 7 การมีภาพประกอบบทความแบบเป็นพื้นหลัง และแยกเฟรม เปลี่ยนบทความด้ายการลากซ้ายขวา และเปลี่ยนปุ่มลอยทับ
#AndroidStudio ตอนที่ 7 การมีภาพประกอบบทความแบบเป็นพื้นหลัง
และแยกเฟรม เปลี่ยนบทความด้ายการลากซ้ายขวา และเปลี่ยนปุ่มลอยทับ
<introduction>
อารัมภบท
การแสดงข้อมูลก็ต้องมีภาพประกอบสิครับ เป็นเรื่องที่ต่อยอดมาจาก ตอนที่ 5 เล่าเรื่องแสดงข้อมูล และ ตอนที่ 6 เล่าเรื่องแสดงภาพ ตอนนี้จึงนำภาพกับข้อมูลมาแสดงร่วมกัน แต่ตอนนี้เล่าไว้เพียง 2 แบบ คือการแสดงแบบแยกเฟรม กับภาพและข้อความซ้อนกันเหมือนเป็น Background
สิ่งที่น่าสนใจในตอนนี้ คือ การใช้ Navigation แบบลากไปด้านข้างแบบ Swipe Views ผ่าน ViewPager และการใช้ FloatingActionButton ที่ทำให้ปุ่มรอรับคำสั่งเหนือข้อความ เป็นสิ่งที่มีมาใน Tabbed Activity ทำให้หยิบมาใช้ได้เลย ในตอนนี้ผมได้สร้าง layout_main.xml แล้วก็เพิ่ม ScrollView คลุม TextView จะได้เลื่อนขึ้นลงได้ และใช้ FrameLayout แบ่งส่วนว่าส่วนไหนควรแสดงภาพ หรือแสดงบทความ
สรุปกระบวนการได้ 8 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) เลือก Tabbed Activity 2) ทำให้กดเลือกบทความจาก string-array 3) การเปลี่ยนภาพประกอบบทความตามเลข Section 4) สร้าง Layout ใหม่ไว้ใช้งาน 5) ทำให้บทความเลื่อนลงมาผ่าน ScrollView 6) ทำให้กดปุ่ม email แล้วเรียก Layout ใหม่ 7) การเปลี่ยนภาพ email เป็น media_play 8) การใช้ FrameLayout แยกส่วนของภาพ และบทความ
</introduction>
กำลังเล่าเรื่อง การใช้โปรแกรม Android Studio สู่เพื่อนนักพัฒนา ผ่าน Blog
<process>
กระบวนการในการพัฒนา APP
เพื่อแสดงบทความ หรือข้อมูล โดยมีภาพประกอบแบบซ้อนข้อความ และแบ่งเฟรม สามารถเลือกบทความต่อไป หรือข้อความที่เหลือผ่านการลากจอภาพทั้ง Vertical (ScrollView) และ Horizontal (Next Article)
มีขั้นตอน ดังนี้
1. เลือก Tabbed Activity
สร้าง New Project แบบ Tabbed Activity ชื่อ imageinarticle
และมี Navigation Style แบบ Swipe Views (View Page)
ที่ Android Studio เตรียมทั้ง Layout และ Activity มาให้แล้ว
พบว่า ใน Layout มี activity_main.xml และ fragment_main.xml
ทดสอบใช้งานใน Smart phone พบว่า
– หน้าหลักมี icon:email และ icon:Toolbar
– คลิ๊ก email จะมี Notification ขึ้นมาว่า Replace with your own action
– คลิ๊ก Toolbar ที่มุมบนขวา ก็จะพบกับคำว่า Settings
– ลากจอไปด้านซ้าย พบหน้าข้อมูลว่า section 2 และ 3 แล้วลากกลับไปขวาก็จะหยุดที่ section 1
– การแสดงทั้ง 3 หน้าเรียกมาจาก fragment_main.xml แต่ใช้ setText ทำให้ข้อความต่างกัน
– โดยหน้าควบคุม Navigation คือ activity_main.xml มีโครงสร้าง Layout สรุปดังนี้
<CoordinatorLayout ..>
<AppBarLayout ..><Toolbar ..></Toolbar></AppBarLayout>
<ViewPager />
<FloatingActionButton />
</CoordinatorLayout>
ส่วนหน้าเนื้อหา fragment_main.xml มีโครงสร้าง Layout สรุปได้ดังนี้
<RelativeLayout ..>
<TextView.. />
</RelativeLayout>
2. ทำให้กดเลือกบทความจาก string-array
เพื่อให้การทดสอบเห็นผลชัดเจน จึงไปหาบทความมา 3 เรื่อง เป็นตัวอย่างสำหรับทำแอพ
แล้วเปิด strings.xml เพื่อส่งบทความเข้าไปใน tag:string-array ตั้งชื่อว่า data
แล้วไปเปิด MainActivity.java
มองหา textView.setText(..) ให้เพิ่ม และ เปลี่ยนเป็น ดังนี้
import android.content.res.Resources;
Resources res = getResources();
String[] mData = res.getStringArray(R.array.data);
textView.setText(mData[getArguments().getInt(ARG_SECTION_NUMBER) – 1]);
ส่วนใน strings.xml ให้นำบทความที่หามาได้ ไปเพิ่มข้อมูลใน strings.xml
<string-array name=”data”>
<item>บทความที่ 611 …</item>
<item>บทความที่ 610 …</item>
<item>บทความที่ 609 …</item>
</string-array>
เพียงเท่านี้บทความทั้ง 3 ก็จะถูกเรียกผ่าน Navigation แบบ ViewPager เรียบร้อยแล้ว
https://gist.github.com/thaiall/4dae3e80398ec868806937fe9ff1e862
3. การเปลี่ยนภาพประกอบบทความตามเลข Section
มีขั้นตอนดังนี้
– เริ่มจากนำภาพ lp01.jpg ถึง lp05.jpg เข้า drawable
– เพิ่ม ImageView เข้า fragment_main.xml ให้อยู่ก่อน TextView
<ImageView
android:id=”@+id/imageView”
android:layout_width=”wrap_content”
android:layout_height=”wrap_content”
app:srcCompat=”@drawable/lp01″ />
– เปลี่ยนค่า width กับ height จะได้ภาพขนาดเล็กประกอบบทความ เช่น 48dp กับ 64dp
– เพิ่ม code ต่อท้าย textView.setText(..) เพื่อให้ภาพเปลี่ยนไปพร้อมข้อมูล
import android.widget.ImageView;
ImageView mImageView = (ImageView) rootView.findViewById(R.id.imageView);
int getV = getArguments().getInt(ARG_SECTION_NUMBER);
String[] List2 ={“lp0”,String.valueOf(getV)};
Resources resimg = getResources();
String mDrawableName = android.text.TextUtils.join(“”, List2);;
//int resID = resimg.getIdentifier(mDrawableName , “drawable”, getPackageName());
int resID = resimg.getIdentifier(mDrawableName , “drawable”, “com.thaiall.www.imageinarticle”);
mImageView.setImageResource(resID);
https://gist.github.com/thaiall/7db6f8048ec674163d501ca5e0155a0f
4. สร้าง Layout ใหม่ไว้ใช้งาน
อยากได้หน้าใหม่ layout ใหม่สำหรับข้อมูลใหม่
– เข้า strings.xml ไปหาคัดลอกบทความที่ 4 เพิ่มแบบ string ตั้งชื่อว่า data4
– เพิ่มหน้า Layout ใหม่ โดยคลิ๊กขวาใน Project Window
สั่ง New, XML, Layout XML File, “layout_main”
แล้วกด Finish จะได้แฟ้มชื่อ layout_main.xml
เข้าไปดู Tab:Text ในแฟ้มนี้พบว่ามีเพียง <LinearLayout ..></LinearLayout>
จึงไป Tab:Design แล้วลาก TextView จาก Palette ไปวางใน LinearLayout
แล้วเพิ่มหรือแทนที่คุณสมบัตินี้ android:text=”@string/data4″
5. ทำให้บทความเลื่อนลงมาผ่าน ScrollView
หากทดสอบจะพบว่าข้อมูลเกิน 1 หน้า แต่ Scroll ลงไปข้อมูลส่วนที่เหลือไม่ได้
จึงเพิ่ม ScrollView คลุม TextView ทั้งใน layout_main.xml และ fragment_main.xml
<ScrollView android:layout_width=”wrap_content” android:layout_height=”wrap_content”>
<TextView … ที่นี่ />
</ScrollView>
เมื่อใส่ Tag แล้วก็ทดสอบ Run ข้อมูล 3 หน้า น่าจะเลื่อนลงไปด้านล่างได้แล้ว
ส่วนหน้าใหม่ยังทดสอบไม่ได้ เพราะยังไม่กำหนดให้ layout ใด ๆ ถูกเรียกมาแสดง
https://gist.github.com/thaiall/a2cc3ea288cf98bac57f559a862b1cad
6. ทำให้กดปุ่ม email แล้วเรียก Layout ใหม่
ปรับแก้ปุ่ม email ให้เรียก layout_main.xml ที่สร้างใหม่มาแสดง
แก้ไขโดยทำหมายเหตุ หน้าคำสั่งที่สั่งแสดง Notification
// Snackbar.make(view, “Replace with your own action”, Snackbar.LENGTH_LONG)
// .setAction(“Action”, null).show();
แล้วเพิ่ม method เรียก layout มาแสดง
setContentView(R.layout.layout_main);
7. การเปลี่ยนภาพ email เป็น media_play
ตอนนี้ปุ่ม email ก็มีหน้าที่เรียก layout_main.xml มาแสดงแล้ว
ดูรายการภาพที่คล้าย ic_dialog_email ที่
http://gae.darshancomputing.com/android/1.5-drawables.html
พบ ic_media_play
8. การใช้ FrameLayout แยกส่วนของภาพ และบทความ
ขณะนี้ข้อมูลใน layout_main.xml ยังไม่มีภาพประกอบ
จึงวางแผนว่าจะแบ่งเป็น 2 ซีก คือ ซ้ายกับขวา ให้ซ้ายแสดงภาพ 3 ภาพ
ส่วนขวาเป็นข้อมูลที่ scroll ได้เหมือนเดิม
<LinearLayout..>
<FrameLayout..>
<ImageView.. android:scaleType=”fitStart” />
<ImageView.. />
<ImageView.. android:scaleType=”fitEnd” />
</FrameLayout>
<FrameLayout..>
<ScrollView..><TextView.. /></ScrollView>
</FrameLayout>
</LinearLayout>
https://gist.github.com/thaiall/78ba38a6ef837a5e9bd44c22c1ca0d38
</process>
<website_guide>
+ http://abhiandroid.com/ui/html
+ https://gist.github.com/Kishanjvaghela/
+ https://medium.com/../android-textview-and-image-loading-from-url
+ https://stackoverflow.com/../getdrawable-deprecated-api-22
+ https://stackoverflow.com/../display-inline-images-from-html
+ https://stackoverflow.com/../display-image-in-androids-textview
+ https://developer.android.com/reference/android/text/Html.html
+ http://stacktips.com/tutorials/../display-html-in-android-textview
+ https://developer.android.com/../string-resource.html
+ https://developer.android.com/../arrays.html
+ https://google-developer-training.gitbooks.io/..
+ http://www.thaiall.com/android
</website_guide>
หมายเหตุ
ถ้าสนใจติดตามเนื้อหาในบล็อกนี้ สามารถ subscribe ด้วย email ที่อยู่ข้างขวา หรือ click here
#AndroidStudio ตอนที่ 6 การใช้ชื่อภาพแบบซีรี่กำหนดลำดับการแสดงภาพผ่านคลาส TextUtils แทน String.join
#AndroidStudio ตอนที่ 6 การใช้ชื่อภาพแบบซีรี่กำหนดลำดับการแสดงภาพ
ผ่านคลาส TextUtils แทน String.join
<introduction>
นอกจากข้อมูล (String) ที่เล่าไปก่อนหน้านี้ ก็ตามด้วยเรื่อง ภาพ (Image) เข้ามาประกอบการนำเสนอ เคยเล่าในตอนที่ 4 แสดงข้อมูลธรรมดาผ่าน TextView กับตอนที่ 5 แสดงข้อมูลผ่าน NavigationView ที่ทำให้ข้อมูลดูลื่นไหลได้ก็ด้วยการใช้คลาส ScrollView เพื่อทำ Scrolling ได้ เมื่อไปค้นดูพบว่ามีนักพัฒนาเขียนอะไร ทิ้ง Question & Solution ไว้มากมายใน stackoverflow.com คำตอบส่วนใหญ่ผมก็ได้จากที่นั่นหละ
ค้นเรื่องภาพ ก็ไปอ่าน Blog ของ akexorcist.com เล่าเรื่อง Drawable Resource และแนะนำเรื่อง Android Drawable Importer ก็คงต้องหาโอกาสไปอ่านสักวัน แต่ตอนนี้จะเน้นการส่งภาพเข้า Android Studio และนำมาแสดงผลอย่างง่าย คำว่าง่าย ก็ต้องดูว่างง่ายแบบ Front-End หรือ Back-End ทีแรกว่าจะทำภาพ slide ง่าย ๆ แต่ผมตั้งโจทย์ไว้ว่าจะทำ Layout ให้ง่ายที่สุด
งานนี้เลยต้องปรับ Back-End ให้ Front-End ทำงานได้ง่าย สรุป คือ 1) เตรียมเฉพาะ TextView มาเก็บลำดับภาพ และ 2) ImageView มาเก็บภาพ เพียง 2 คลาส แล้วแทนที่ภาพใหม่ทับที่เดิมไปเรื่อย ดังนั้นจะทำงานนี้ให้สำเร็จต้องเข้าไปเขียน Java เยอะหน่อย ไปเจอปัญหาเรื่อง String.join ที่ไม่มีให้ใช้ กว่าจะยอมรับไปใช้ TextUtils.join ก็ไล่อ่าน Blog จนมั่นใจว่าเราต้องเปลี่ยนคำสั่งเชื่อมต่อ String กันแล้ว
</introduction>
<process>
กระบวนการในการพัฒนา APP
เพื่อคลิ๊กไปบนภาพ แล้วเปลี่ยนเป็นภาพต่อไป ไหลไปเช่นนี้วนไปไม่รู้จบ
มีขั้นตอน ดังนี้
1. สร้าง New Project แบบ Empty Activity
เพราะไม่ต้องการความเป็นอัตโนมัติมากนัก ปรับเองบ้าง เมื่อ Project พร้อมทำงานแล้ว
ก็เข้าไป Right Click ที่ res แล้ว New Folder ชื่อ drawable-mdpi
หลังจากนั้นในกรณีมีภาพในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่พร้อมนำมาใช้
สำหรับผมเตรียมภาพ lp01.jpg ถึง lp05.jpg แล้ว
ภาพทุกภาพมีขนาด 480*640 เป็นภาพแนวตั้ง
ก็ให้ไปเปิดรายการภาพด้วย Windows Explorer
แล้ว Right Clip บนภาพที่เตรียมไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย Windows Explorer
เลือก copy ซึ่งเลือกได้หลายภาพพร้อมกัน โดยใช้ปุ่ม ctrl หรือ shift เข้าช่วย
1.1 วิธีแรก เปิด Project ใน Android Studio แล้วส่งเข้าไป
โดยกลับไปกด Right Clip บน folder : drawable ใน Project
เลือก paste
จะมี Windows ขึ้นถามว่าลงในห้อง drawable หรือ drawable-mdpi
ก็ให้เลือก drawable-mdpi แฟ้มที่ลงไปในห้อง drawable จะมี (mdpi) ต่อท้าย
1.2 วิธีที่สอง เปิด Folder ด้วย Windows Explorer แล้วส่งเข้าไป
เพราะ Project ของ Android Studio ไม่ลึกลับ เห็น Folder Structure คล้ายกัน
ของผมเข้าไปที่ C:\Users\[User Name]
\AndroidStudioProjects\[Project Name]\app\src\main\res\drawable-mdpi
เคย copy ภาพมาแล้ว ก็ paste ได้เลย เมื่อกลับไปเปิดดูใน Android Studio
ก็เห็นว่าภาพเข้าไปอยู่เหมือนเรานำเข้าผ่าน Android Studio ในข้อ 1.1 นั่นหละ
2. เข้า activity_main.xml จะเห็น Layout ของแอพ มีเพียง TextView ตัวเดียว
เปลี่ยนคำว่า “Hello World!” เป็น “1” เตรียมใช้เก็บตำแหน่งภาพแบบซีรี่
แล้วเข้า Tab:Design ถ้าปัจจุบันอยู่ใน Tab:Text
มองหา Palette, Images, ImageView ลากไปวางไว้บนจอภาพ
เป็นการเพิ่มวัตถุลงไปในจอภาพของเราอีก 1 รายการ
จากนั้นจะมีหน้าต่างมาให้เลือกภาพ ก็คลิ๊กที่ภาพ lp01 แล้วกด OK
เท่านี้แอพของเราก็จะมีภาพมาแสดงผลแล้ว
3. เข้า Tab:Text ของ activity_main.xml แล้วปรับ code ดังนี้
– ลบ app:layout ใน TextView ออกทั้งหมด
– ลบ tools:layout ใน ImageView ออกทั้งหมด
– เพิ่ม android:id=”@+id/textview” ให้กับ TextView
– ย้าย code ImageView ขึ้นมาด้านบน อยู่ก่อน TextView น่าจะเห็นเลข 1 ทับภาพ
เท่านี้ก็จะเห็นภาพอยู่ข้างหลัง และมีตัวอักษร 1 ลอยเหนือภาพที่มุมบนซ้าย
4. ไปเพิ่ม Activity ใน MainActivity.java จะอธิบายเฉพาะที่พิเศษ
ส่วน code ทั้งหมด ดูภาพรวมได้จาก gist ด้านล่าง
สิ่งที่ทำคือ เพิ่ม import และ code ใต้ class และ method ดังนี้
4.1 การแสดงข้อความเหนือภาพ เมื่อคลิ๊กภาพ เหมือน Notification เลย
แต่ code 5 บรรทัดนี้
บรรทัดแรก แปลงตัวอักษรจาก TextView เป็น Integer แล้ว + 1 จะได้เลขสำหรับเลื่อนภาพ
บรรทัดที่สอง มีภาพเตรียมไว้ 5 ภาพคือ lp01 ถึง lp05 คุมว่า ถึงเลข 5 ก็วนมาที่ 1 อีก
บรรทัดที่สาม เตรียม List ไว้ทำงานคู่กับ TextUtils.join เพื่อต่อ String
บรรทัดที่สี่ ทำการต่อ String จะได้ข้อความที่ครบถ้วน
บรรทัดสุดท้าย ใช้คลาส Toast แสดงข้อความแบบ Notification ว่าตอนนี้ถึงภาพไหน
int getV = Integer.valueOf(mTextView.getText().toString()) + 1;
if(getV > 5) { getV = 1; }
String[] List1 ={“เลื่อนไปภาพต่อไป ภาพที่ “,String.valueOf(getV)};
String s = TextUtils.join(” “, List1);
Toast.makeText(MainActivity.this, s , Toast.LENGTH_LONG).show();
4.2 การเปลี่ยนภาพใน ImageView
บรรทัดแรก เตรียมข้อความใน List
บรรทัดที่สอง นำสิ่งที่อยู่ใน List มาต่อกันด้วย TextUtils.join เป็นชื่อภาพ
บรรทัดที่เหลือ นำชื่อภาพที่เป็น String ส่งให้กับ
String[] List2 ={“lp0”,String.valueOf(getV)};
s = TextUtils.join(“”, List2);
Resources res = getResources();
String mDrawableName = s;
int resID = res.getIdentifier(mDrawableName , “drawable”, getPackageName());
mImageView.setImageResource(resID);
4.3 สุดท้าย หลังแสดง Notification และเปลี่ยนภาพแล้ว ก็ต้องส่งเลขตัวใหม่ที่ +1 เข้า TextView มี method setText มาช่วย ตามตัวอย่างข้างล่างนี้เลย
mTextView.setText(String.valueOf(getV));
https://gist.github.com/thaiall/180de945ef049198d260a08ae20a47cf
</process>
<website_guide>
+ http://www.android-examples.com/set-onclicklistener-on-imageview-in-android-example/
+ http://www.akexorcist.com/2016/07/best-practice-for-android-drawable-resource-management.html
+ https://developer.android.com/guide/practices/screens_support.html
+ http://www.thaiabc.com/lovelampang/nw/index.php
+ https://www.javatpoint.com/java-string-join
+ https://developer.android.com/reference/android/text/TextUtils.html
</website_guide>
หมายเหตุ
ถ้าสนใจติดตามเนื้อหาในบล็อกนี้ สามารถ subscribe ด้วย email ที่อยู่ข้างขวา หรือ click here
#AndroidStudio ตอนที่ 5 สร้างปุ่ม Close App แบบ VectorDrawable ตัวปุ่มภาพหามาได้หลายวิธี และการสั่งเรียกบทความต่างกัน
#AndroidStudio ตอนที่ 5 สร้างปุ่ม Close App แบบ VectorDrawable
ตัวปุ่มภาพหามาได้หลายวิธี และการสั่งเรียกบทความต่างกัน
<introduction>
เคยเห็นแอพทั่วไป มีปุ่ม Close และเรียก String มาแสดงเยอะหน่อย
เมื่อมองหาแอพเริ่มต้น เพราะผมจะไม่เริ่มต้นกับแอพเปล่าแน่
เนื่องจาก Android Studio เค้ามีโครงมาให้แล้ว
แล้วก็ได้พบกับ Project เริ่มต้นชื่อ Bottom Navigation Activity
ที่เตรียมปุ่มมาให้ใน NavigationView จำนวน 3 ปุ่ม
ผมจึงเปลี่ยนภาพจากปุ่ม Home เป็นภาพปุ่ม Close
ตัวภาพเป็นแฟ้มแบบ xml หรือที่เรียกว่า VectorDrawable
มีฐานมาจากภาพแบบ SVG หรือ PNG ยิ่งค้น และอ่านก็ยิ่งสนุก
เพราะมีทางเลือกให้หลายทาง
แต่ Android Studio เตรียมภาพไว้ให้ตั้ง 923 ภาพแล้ว
พอได้ภาพถูกใจแล้ว แล้วก็ใส่ Activity คือ สั่ง close application
ส่วนอีก 2 ปุ่มให้เรียกบทความที่ 610 กับ 611 มาใส่ใน TextView และมี ScrollView
ตามที่เคยเล่าในตอนที่ 4 แล้วนั้น
</introduction>
<process>
กระบวนการในการพัฒนา APP
เพื่อสั่งให้ปุ่มทำงาน และการเลือกภาพประกอบปุ่มที่เป็น VectorDrawable จาก SVG ในหลายวิธี และแสดงบทความตามปุ่มที่กด
มีขั้นตอน ดังนี้
1. เลือกสร้าง New Project แบบ Bottom Navigation Activity
ชื่อ controlbutton
แล้วเข้าไปสำรวจใน activity_main.xml ดูใน ComponentTree
พบ Tag ที่เค้าสร้างไว้ 4 Tag
โดย Tag ที่คุมทุกอย่าง คือ container (LinearLayout)(vertical)
ประกอบด้วย content(FrameLayout) กับ navigation (BottomNavigationView)
และพบ message(TextView) อยู่ใน content(FrameLayout)
สั่ง Build APK ก็ไม่พบปัญหาอะไร และ run ได้ปกติ มีกำลังใจแล้วครับ
https://gist.github.com/thaiall/c7c45d52676a4961293a6a774da3bda0
2. การใส่ Data ใน TextView เพื่อจะได้สั่ง Scroll แบบ Vertical ไปดูด้านล่างได้
เริ่มจากสร้าง
<string name=”data1″>ข้อมูลที่นี่ มาจากกบทความ 611</string>
ใน app, res, values, strings.xml
แล้วเรียกใช้ใน TextView ว่า android:text=”@string/data1″ />
3. แม้จะมีข้อมูลมากพอแล้ว แต่ผลการทดสอบพบว่า Scroll ไม่ทำงาน
หน้าจอยังไม่รองรับการ Scroll ไปหาข้อมูลส่วนที่เหลือไม่ได้ เห็นหน้าเดียว
แก้ไขโดยเปิดแฟ้ม activity_main.xml
แล้วเพิ่ม ScrollView คลุมหัวท้ายของ TextView
<ScrollView android:layout_width=”wrap_content” android:layout_height=”wrap_content”>
<TextView … ที่นี่ />
</ScrollView>
4. ในกล่อง BottomNavigationView บน Smartphone หรือ Emulator
จะพบ 3 Icon ด้านล่าง : Home + Dashboard + Notifications
แต่คลิ๊กเข้าไปก็เห็นว่าข้อความใน TextView เปลี่ยนไปตามปุ่มกดเท่านั้น
ไปดูในแฟ้ม MainActivity.java พบส่วนหนึ่งของ code
ที่สั่ง setText ให้เปลี่ยนไปตามการ switch ของ ItemId ที่รับมา
แล้วพบการประกาศ title_home หรือ R.string.title_home
ถูกกำหนดไว้ในแฟ้ม strings.xml เช่นเดียวกับตัวอื่น และ data1
จะเปลี่ยนคำว่า home เป็น close ก็ต้องเปลี่ยนที่แฟ้มนี้ด้วย
5. ถ้าเปลี่ยนจากปุ่ม home เป็น close ต้องทำดังนี้
– ใน app,res,values,strings.xml เปลี่ยนจาก home เป็น close ให้หมด
– ใน app,java,[package name],MainActivity.java เปลี่ยนจาก home เป็น close ให้หมด
– ใน app,res,menu,navigation.xml
เปลี่ยนจาก home เป็น close ให้หมด ยกเว้น @drawable/ic_home_black_24dp
เพราะใน project ยังไม่มีภาพ close เลย
6. เกี่ยวกับภาพปุ่มแบบ Vector มีเรื่องเล่าดังนี้
6.1 เปิดเว็บไซต์ค้นหาภาพปุ่ม close แบบไม่ต้องลงมือทำเอง
พบ https://github.com/mtotschnig/MyExpenses/blob/master/
พบแฟ้มภาพ ic_menu_close_clear_cancel.xml
ให้ copy code ไว้
แล้ว right click เหนือคำว่า drawable, new, file
แล้วพิมพ์ชื่อแฟ้ม ic_menu_close_clear_cancel.xml
ให้ paste code ลงไปในแฟ้มที่สร้างใหม่ จะเห็นรูปกากบาทใน preview ทันที
6.2 ใน Android Studio มีบริการ icon ให้เลือกเพียบ
Right click บน app, New, Vector Asset, Material icon
คลิ๊กภาพ Android ที่อยู่หลังคำว่า icon มีให้เลือก 923 ภาพ
ถ้าเลือกแบบ chevron left แล้วกด next ก็จะได้ภาพ
ไปอยู่ใน app, res, drawable
และ These icons are available under the Apache License Version 2.0
6.3 หากไปได้แฟ้มภาพ .svg ที่สร้างจากที่อื่นมาแล้ว
ก็นำเข้าผ่าน Android Studio ได้โดยง่าย
ในหน้า Vector Asset ก็เลือก Local File
เลือกแฟ้มจากในคอมพิวเตอร์ แล้วกด next ก็จะได้ภาพ
ไปอยู่ใน app, res, drawable เช่นกัน
6.4 ข้อมูลภาพแบบ Vector Drawable ที่เห็นกันนี้วาดเองก็ได้
มี Tool สำหรับวาดแบบ Online
ที่ http://editor.method.ac/ สั่ง Save ได้แฟ้ม .svg
แล้วแปลงแฟ้ม .svg เป็น xml สำหรับ android
ที่ http://inloop.github.io/svg2android/
<?xml version=”1.0″ encoding=”utf-8″?>
<vector xmlns:android=”http://schemas.android.com/apk/res/android”
android:width=”24dp”
android:height=”24dp”
android:viewportWidth=”24″
android:viewportHeight=”24″>
<path
android:fillColor=”?colorControlNormal”
android:pathData=”M19 6.41L17.59 5 12 10.59 6.41 5 5 6.41 10.59 12 5 17.59 6.41 19 12 13.41 17.59
19 19 17.59 13.41 12z” />
<path
android:pathData=”M0 0h24v24H0z” />
</vector>
7. เมื่อได้ภาพ Vector สำหรับ Android มาแล้ว
เข้า app,res,menu,navigation.xml เพื่อเปลี่ยนสิ่งที่ทำค้างไว้
มองหา @drawable/ic_home_black_24dp
เป็นเป็น @drawable/ic_menu_close_clear_cancel
ถือว่าจบขั้นตอนการเปลี่ยนภาพ icon จาก home เป็น close
8. เพิ่ม Activity ให้กดปุ่ม Close เพื่อสั่งปิด Application หรือปิดตัวเอง
เปิดแฟ้ม MainActivity.java
มองหา case R.id.navigation_close:
mTextMessage.setText(R.string.title_close);
return true;
เปลี่ยนเป็น case R.id.navigation_close:
finish();
System.exit(0);
return true;
9. ทำให้ปุ่ม สั่งเรียกบทความที่ต่างกัน ปุ่มหนึ่งเรียก 610 อีกปุ่มก็เรียก 611
ถ้ากดปุ่ม notification ใน navigation
ให้แสดงบทความที่ 611 จาก data1 เหมือนค่า default
กดปุ่ม dashboard
ให้แสดงบทความที่ 610 จาก data2
ก็ให้ไปเพิ่มบทความใน strings.xml คือ data2 เพราะ data1 มีแล้ว
แล้วมาแก้ MainActivity.java
มองหา case R.id.navigation_dashboard:
mTextMessage.setText(R.string.title_dashboard);
return true;
case R.id.navigation_notifications:
mTextMessage.setText(R.string.title_notifications);
return true;
เปลี่ยนเป็น case R.id.navigation_dashboard:
mTextMessage.setText(R.string.data1);
return true;
case R.id.navigation_notifications:
mTextMessage.setText(R.string.data2);
return true;
https://gist.github.com/thaiall/b0467ceb93699c63ca5c9ad910903921
ทั้ง project และ apk เอาไปลองกันได้ที่
https://www.4shared.com/folder/AgIkeXaS/android.html
</process>
<website_guide>
+ http://editor.method.ac/
+ http://inloop.github.io/svg2android/
+ https://github.com/mtotschnig/MyExpenses/tree/master/myExpenses/src/main/res/drawable
+ http://www.thaiall.com/android
</website_guide>
หมายเหตุ
ถ้าสนใจติดตามเนื้อหาในบล็อกนี้ สามารถ subscribe ด้วย email ที่อยู่ข้างขวา หรือ click here