ทดสอบสาย USB ว่ามีไฟฟ้าไหลผ่าน [2/6]

ทดสอบว่ามีไฟฟ้าไหลผ่านสาย USB
ทดสอบว่ามีไฟฟ้าไหลผ่านสาย USB

ต่อตัวหนีบเข้ากับปลายสายเส้นแดงกับดำ
จะได้ไปหนีบอะไรได้ง่าย
จากที่เคยเห็น อ.เกียรติ จะใช้ Power กับ IoT
แล้ววันนี้ผมก็ต้องการไฟจากช่อง USB
ที่ออกมาจาก Power bank ประมาณ 5V
จึงทดสอบกับหลอด LED ก่อน
พบว่า Power bank มีตัวตัดไฟอัตโนมัติ
เคยทดสอบกับอุปกรณ์อื่นมาแล้ว พบปัญหาเดียวกัน
จึงรู้ว่าจะใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าจาก Power bank
ในกรณีนี้ไม่ได้ หลอด LED สว่างแป๊ปหนึ่ง แล้วก็ดับไป
อันที่จริงตัวหนีบนี้ ผมเห็นที่ร้านซ่อมมือถือ
ทดสอบกับ Smart phone ของ True ที่ไฟฟ้าไม่เข้าบอร์ด
แล้วเค้าก็บอกผมว่า Main board เสีย อย่าซ่อมเลย
จึงมั่นใจว่าไม่ต้องมี Power bank โทรศัพท์ก็ทำงานได้
หากใช้ไฟฟ้าที่มีความแรงผ่านสาย USB ประมาณ 5V
ปล. สายUSBเก่า ตัวหนีบ กับ LED มีหลายอันไม่ค่อยได้ใช้

ทดสอบสาย USB ใช้ไฟฟ้าผ่าน Adapter [3/6]

 

ตัดสาย USB ต้องการไฟฟ้าจากขั้วบวกลบ [1/6]

สาย USB มี 4 ขั้ว
สาย USB มี 4 ขั้ว

คุณเปรม อุ่นเรือน เคยต่อลำโพงให้ผมใช้ที่ห้องทำงาน
โดยใช้ไฟฟ้าจากสาย USB เก่า
เท่าที่ดูคงใช้สายไฟฟ้าที่มีขั้ว + กับ –
วันนี้มีปัญหาเรื่องอุปกรณ์ และอยากได้ไฟฟ้าจากสาย USB
ลองปอกสายไฟดูก็พบว่ามี 4 เส้น
เหมือนสายไฟฟ้าทั่วไป แต่สายนี้มี 4 เส้น
ค้นดูก็พบว่าเส้นแดงเป็นเส้นไฟฟ้า หรือขั้วบวก
ส่วนเส้นดำเป็น Ground หรือขั้วลบ
1. เส้นแดง Power +5V
2. เส้นขาว Data –
3. เส้นเขียว Data +
4. เส้นดำ Ground

ทดสอบสาย USB ว่ามีไฟฟ้าไหลผ่าน [2/6]

 

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10154221913983895&set=a.10153180889298895.1073741856.814248894

ไฟฟ้ากับรถยนต์ และอุปกรณ์ไอที

f-phone battery
f-phone battery
ไฟฟ้ากับรถยนต์ และอุปกรณ์ไอที
1. รถยนต์ทั่วไปใช้ฟิลส์ 15A ที่แรงดันไฟฟ้า 12V (ขณะดับเครื่อง)
ถ้ารถยนต์วิ่งไปสักพักแรงดันไฟฟ้าจะขึ้นมาเกือบถึง 15V (ถ้าเกิน 15 แสดงว่ามีปัญหา)
จึงรองรับไฟได้สูงสุด (15A * 12V) 180 Watt
2. อุปกรณ์ต่าง ๆ
– กล้องดิจิตอลซันโย 3.7V * 720mAh = 2.664 Watt
– โทรศัพท์ F-Phone 3.7V * 2800mAh = 10.36 Watt
– Power bank input 5V *1A = 5 Watt
– Power bank ชาร์จรถยนต์ input 15V * 1A = 15Watt (ราคา 3000 อัพ)
– ชาร์ตโน๊ตบุ๊ค Asus ใช้ไฟ input 19V * 3.42A = 64.98Watt (มาจาก output ของ adapter)
– ชาร์ตโน๊ตบุ๊ค Dell/Toshiba ใช้ไฟ input 19V * 1.58A = 30Watt
car adapter
car adapter
3. Apple
สายชาร์ต ipad และ iphone ใช่ร่วมกันได้ แต่เวลาชาร์ตอาจนานหรือเร็วกว่าเดิม
สาย adapter IPad : input 100-240V Output 5.1V 2.1A
สาย adapter IPhone : input 100-240V Output 5V 1A
i-phone 5s = 1560 mAh * 3.8V = 5.92Wh
i-phone 5c = 1510 mAh * 3.8V = 5.73Wh
i-phone 5 = 1440 mAh * 3.8V = 5.45Wh
i-phone 4S = 1432 mAh * 3.8V = 5.3Wh
i-pad Mini3 = 6470 mAh * 3.8V = 24.3Wh
car power to home power
car power to home power
4. Power Inverter ตัวแปลงไฟรถเป็นไฟบ้าน เข้า DC 12V ออกเป็น AC 220V ได้ 300Watt
6. meter คุมไฟฟ้าเข้าบ้าน
หากใช้ตัวเล็กคือ 5(15) ก็จะรับไฟในบ้านสูงสุดไม่เกิน 15A หากมีอุปกรณ์มาก ก็ต้องเปลี่ยน meter
เมื่อไฟฟ้าเข้ามาในบ้านก็จะผ่าน main breaker ซึ่งก็มีระดับ max ที่รองรับได้เช่นกัน เพื่อความปลอดภัย
meter สำหรับนำไฟฟ้าเข้าบ้าน
meter สำหรับนำไฟฟ้าเข้าบ้าน

โปรแกรมทดสอบการจัดการข้อมูลใน MySQL บน Smartphone [3]

script to manage mysql
script to manage mysql

ได้สมาร์ทโฟน Android ราคา 2900 บาทมาเครื่องหนึ่ง
ติดตั้ง App: Palapa Web Server
ที่ให้บริการ Web Server, PHP และ MySQL ซึ่งซอฟท์แวร์นี้ใช้งานได้ฟรีไม่จำกัด
พบว่าเปิดบริการ Web server ได้ตามปกติ
แล้วติดตั้ง FTP server
กำหนดห้องเป็น /sdcard/pws/www/ ทำให้สามารถเขียนโปรแกรมบน PC
แล้วส่งไปประมวลผลที่ Smart Phone ในฐานะ Web Server
มีประเด็นเล่าสู่กันฟังดังนี้
1. Smart Phone จะมี IP ในวง Wifi เช่น 192.168.2.2 ดังนั้นจะใช้ 3G ไม่ได้
เพราะถ้าใช้ 3G เครื่องในวง Wifi ก็จะไม่รู้จัก SmartPhone ในฐานะ Web Server
2. ทดสอบเปิดดูว่าติดต่อได้หรือไม่โดยใช้ Browser ไปที่ http://127.0.0.1:8080
3. สามารถใช้ระบบบริหารจาก http://127.0.0.1:9999
4. ถ้า install Phpmyadmin จาก Smartphone
แล้วก็จะเปิด http://127.0.0.1:9999/phpmyadmin
5. download mysqlworking.php จาก
http://www.thaiall.com/perlphpasp/source.pl?key=9116
แล้วกำหนด user & password เป็น root กับ adminadmin
แล้ว save as กำหนด type เป็น UTF8 ด้วย Editplus3
6. ส่ง mysqlworking.php เข้าห้อง /sdcard/pws/www/
แล้วเปิด http://127.0.0.1:8080/mysqlworking.php

phpmyadmin บน Palapa
phpmyadmin บน Palapa

สำหรับบทเรียนเรื่อง FTP Server บน Smart Phone
อยู่ที่ http://www.thaiall.com/learn/useftp.htm

web admin on palapa
web admin on palapa

Palapa Web Server
http://alfanla.com/palapa-web-server/
แพคเกจประกอบด้วย
1. Lighttpd 1.4.35
2. PHP 5.5.15
3. MySQL 5.1.69
4. MSMTP 1.4.32
5. Web Admin 2.1.0

ข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องทราบ
Default Document Root (htdocs) คือ Path : /sdcard/pws/www/
Default URL คือ Address : http://127.0.0.1:8080
Web Admin Informations
Address : http://127.0.0.1:9999
Username : admin
Password : admin
MySQL Informations
Host : localhost (127.0.0.1)
Port : 3306
Username : root
Password : adminadmin
phpMyAdmin (ถ้าใช้ก็ต้องกดปุ่มติดตั้งเพิ่มเติม)
Address : http://127.0.0.1:9999/phpmyadmin
Username : root
Password : adminadmin

ทีแรกคิดว่าจะเรียบเรียงเรื่อง LAMP ไว้ที่เว็บไซต์เกี่ยวกับการพัฒนา Android APP
แต่ดูแล้ว น่าจะมีอะไรอีกมากในการใช้งาน Smart Phone จึงฝากไว้กับ Blog ก่อน
http://www.thaiall.com/android/

กฎข้อแรกหลังซื้อ Smart Phone [2]

facebook
facebook

คำเตือน .. อย่าไว้ใจว่า App ที่ติดตั้งมากับตัวเครื่องว่าจะเป็น new version

หลังซื้อสมาร์ทโฟนยี่ห้อ F-Phone รุ่น F823 ราคา 2900 บาท
เมื่อใช้งานไปได้ประมาณ 5 วัน พบว่า App ใช้งานได้ในระดับหนึ่ง
ก็พอรับได้ ยกเว้น Facebook ที่ not response บ่อยมาก หรืออืดมาก
ลองใช้ App Cache Cleaner ที่แนะนำโดย อ.เมธัส
ก็ไม่มีผลต่อ Facebook มากนัก
https://play.google.com/store/apps/details?id=mobi.infolife.cache&hl=th

ต่อมา อ.ชอ แนะนำว่าน่าจะ upgrade facebook
เมื่อถอน และติดตั้งใหม่ พบว่า facebook ทำงานได้ดีกว่าเดิม
เร็วพอ ๆ กันกับ App อื่น เช่น Line หรือ Instagram
ดังนั้น เสนอกฎข้อแรกหลังซื้อ Smart Phone
อัพเกรด App ที่ใช้งาน และถอน App ที่ไม่ใช้ออก
เช่น  facebook, line, instagram, twitter เป็นต้น

specification ของ F-Phone รุ่น F823
http://www.thaiall.com/blog/burin/6816/

โทรศัพท์ 2900 ผมเรียกว่าราคา 2 อัพ ราคาขึ้นต้นด้วยเลข 2 สูงกว่าที่ Dtac มาเปิดโปรเก่าแลกใหม่เยอะเลย [1]

f-phone รุ่น F823
f-phone รุ่น F823

หลายเดือนก่อน เห็นเพื่อนวอ ใช้ iphone ก็อยากได้
หลายเดือนต่อมา เห็นเพื่อนนอ ใช้ note4 ก็อยากได้
เดือนที่แล้ว เห็นน้าปอ เอาเครื่องเก่าไปแลกเครื่องใหม่
ของ dtac จ่ายเพิ่ม 600 เป็น smartphone ใช้ Android ก็อยากได้
รู้สึกเลยว่าเห็นอะไร ๆ ก็อยากได้ไปหมด
http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=668968.0

และแล้ว 8 เม.ษ.58 ผมก็ไปเดินดูโทรศัพท์
เพราะอยากมี schedule ไว้บันทึกกิจกรรม กันลืม
ไปสะดุดที่ smart phone ยี่ห้อ F-Phone รุ่น F823
เครื่องละ 2900 บาท จอ 5.5นิ้ว รับได้ 2 SIM เพิ่ม SD ได้
มี Harddisk 4GB กับ Ram 500MB ใช้ OS Android 4.2.2
CPU dual core 1.2GHz จะใช้ wifi หรือ 3G ก็ได้
กล้องหน้า 0.3 MB กล้องหลัง 2 MB
ที่สำคัญ Download App จาก Play Store ได้


เมื่อได้โทรศัพท์แล้วก็ไปติดต่อเรื่อง Sim ว่าจะใช้ Pro แบบใด
ก็เลือกต่ำสุดคือ 199 บาทใช้ข้อมูลได้ 500 MB โทรฟรี 100 นาที
ซึ่งพบว่าเพียงพอกับการเปิดดู facebook กับ line กับ instagram แบบไม่หักโหม
แล้วต้องไม่อัพโหลดรูปภาพนะครับ ไม่งั้น 500MB อาจหมดในวันเดียว
ถ้าหมดโควตาแล้วก็ไม่เป็นไร ใช้งานต่อไปได้
แต่ความเร็วจะลดลง จะไม่เร็วปูดปาดแบบเดิม
วันที่ 16 เม.ย.58 คือวันนี้ เป็นวันแรกที่เริ่มรอบบิลใหม่ มาใช้บริการข้อมูล

โทรศัพท์เครื่องนี้ดูสมาร์ท กว่าโทรศัพท์ในอดีตมากมาย
– ลง Webserver + php + mysql ให้นักศึกษาเข้ามาเกาะได้
– ลง Pytron Compiler + Script editor ได้
– แชร์ Hotspot ให้คนในบ้านได้
– Download e-book – ตอนนี้อ่าน Animal Farm ยังไม่ถึงไหนครับ
– เก็บ MP3 ใน SD ไว้ฟัง คัดลอกจาก PC ลงไปได้ง่าย
– มีพจนานุกรม เช่น Translator ของ google ให้ใช้งาน

ฯลฯ


ถ้ามีโอกาส จะมา review ให้ฟังครับ
ว่าใช้แล้วเป็นอย่างไรกับ smartphone ราคา 2 อัพ

https://www.youtube.com/watch?v=zHPJuMSxoho

พบปัญหาจากการใช้ tablet pc (S.G.10.1)

tablet problem
tablet problem

พบปัญหาจากการใช้ tablet pc (S.G.10.1) โดยมีพฤติกรรมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่จะการใช้งานแบบ two-way (ไม่ใช่ readonly หรือ listen only หรือ watch only) จึงมองหาบริการที่ใช้รับส่ง ข้อมูล และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับผู้คนใน social network พบประเด็นเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ทดสอบ ดังนี้
1. กดอักษรมากขึ้น : กว่าจะพิมพ์เสร็จ 30 ตัวอักษร จิ้มไปซะ 60 ที จะซ้ายขวาบนล่างก็ต้องใจเย็นกันหน่อย
2. เบิ้นต้องรอ : ถ้าพิมพ์อักษรเบิ้นต้องรอสักครู่ เช่น “สรร” หรือ “มากกว่า” เพราะต่อเนื่องไม่ได้ หลายปุ่มมี 3 ตัวอักษร จะจิ้มอักษรบนต้องกด 3 ครั้ง ถ้ากด 2 ครั้งคือเปลี่ยนตัวไม่ได้ออกเบิ้น
3. แป้นใหม่ : ต้องเรียนรู้แป้นพิมพ์ใหม่ ปกติผมพิมพ์สัมผัส ตอนนี้ต้องจ้อง เพราะใช้สัมผัสไม่ได้ ต้องจำ
4. ของแถม : ปัญหาใหม่ พอพิมพ์เสร็จแล้วส่ง บางทีมีตัวอักษรแถมต่อท้ายเข้าไปใน fb เกิดหลายครั้ง มีข้อสงสัยว่าอุปกรณ์รับสัมผัสเร็วไปหรือไม่ แล้วเพื่อนที่ใช้รุ่นเดียวกันก็ยืนยันว่ามีปัญหานี้จริง
5. ท่านั่ง : ถ้าต้องค้นงาน แล้วพิมพ์งานติดต่อกัน 3 ชั่วโมง ยังไม่มีท่านั่งที่เหมาะสม
6. สายตายาว : เวลาใช้ tablet ต้องถอดแว่น เพราะจอเล็ก ตัวเล็ก แม้ซูมได้ ถ้าเปลี่ยนโปรแกรมขนาดก็กลับสุ่มาตรฐาน

10 ประเด็นเกี่ยวกับ OLPC

olpc = one laptop per child
olpc = one laptop per child

The Top Ten Issues of OLPC

During the past Human Factors in Computer Systems conference in San Jose, California there was a lot of attention on the One Laptop Per Child (OLPC) project (see a video). The project goal is: “To provide children around the world with new opportunities to explore, experiment and express themselves.” In the mission statement the website claims that OLPC has been “extensively field-tested and validated among some of the poorest and most remote populations on earth“. While this could be used in conjunction with current teaching, part of the goal is to support self-exploration without the aid of formal teaching.

We had the privilege of hearing from some leading usability researchers in developing countries about their opinions of the OLPC project. I’ve included those references that I could find along with some anecdotal notes that I recorded during plenary talks and individual conversations with leading researchers in the field. While other articles focus on financial/deployment issues, this article focuses on Education and how children will interact with OLPC.

This article is a compilation of ten key issues facing the OLPC project mentioned by other researchers and through conversation. There is a concern about how OLPC might fit into the larger infrastructure of education in developing nations. I personally feel that technology has a large role to play in the future of education (this is already seen with the exploding growth of companies like Smart Technologies that focus on the education market) but there is a need to understand how the technology fits within the ecology of education in developing nations.

This article is not meant to condemn the OLPC project as its aims are focused on goal that would benefit society as a whole (these comments could apply to projects such as Intel’s Classmate PC as well). Rather it asks: how can OLPC be improved? Is this the right approach? What other approaches could be used? Before massively deploying such a technology, it is crucial that we have this debate.

I hope you find this article informative, please feel free to leave any comments.

10. Focus: The focus of OLPC has been completely on the technology with the goal that a new technology will change how we educate children. This is like evaluating the quality of our education based on the type of glue that is used to bind textbooks or the images on the cover pages. There is a lack of focus on education and improved learning. People dismiss (ยกเลิก) the importance of teachers suggesting that computers and self directed learning will be a suitable replacement. Teachers, be they your peers, parents, or trained individuals are a crucial part of feedback system of learning.

9. Readability: “Many who test displays contend that in order for a display to be readable in sunlight, it must have a maximum brightness of at least 500 nits and a contrast ratio of at least 2 to 1. Some manufacturers of outdoor displays go for 1000 or even 1500 nits, but laptop and notebook screen brightness comes no where near 500 nits.” [Gerber, 2005]

8. Existing infrastructure: A recent study found 97 percent of people in Tanzania said they could access a mobile phone, while only 28 percent could access a landline [Prahalad, 2004]. While OLPC does not leverage (พลัง) such infrastructure, a simple voting system could dramatically improve a teachers’ understanding of how well their students were learning class material. Also, Internet is accessed mainly through cell phones and Internet cafés in developing nations. Thus equipping a classroom, particularly one that is not in a building (e.g., children sitting under a tree) poses serious infrastructure issues.

7. Not all learning can be done with an OLPC: Studies have shown that certain learning tasks such as mathematics are very difficult to learn using a computer keyboard and mouse and consequently result in decreased academic performance for students [Oviatt, 2006]. In particular, it has been shown that using a keyboard and mouse for solving mathematical questions requires significantly more time and results in more errors than using pen and paper. Researcher have also noticed that this decrease in performance is increased among the students that are struggling (ฝ่าฟัน) the most in the classroom as they are stuck trying to master both the course concepts and the technology at the same time.

6. Lack of content: content provision is a serious issue for these devices. If it is the expectation that teachers will produce all of their own content, using an OLPC could be more work that just buying a book and sharing it among students. Content needs to be provided free of charge. OLPC claims to be providing infrastructure but without content providers it will be impossible to use. This is the critical mass problem: what good is a fax machine if only one person in the world has one.

5. Keyboards: We need to ask ourselves what current practice is in the learning environment and design solutions that would fit the current practices of students and teachers. For example, if students are more used to using a slate (กระดานชนวน) , perhaps the keyboard and mouse metaphor (อุปมา) of existing systems is inappropriate. Similarly, if people are familiar with cell phone technology it may be useful to develop systems to support their current practices with cell phones. Perhaps what we need are more (touch sensitive) slates and (digital) black boards rather than OLPCs alone [Buxton, 2005].

4. Scalability: Lets say a teacher wants to get all 49 of their students in a single class to perform a particular exercise. Given that the instructor cannot see all 49 screens at once, how do they gage if students are confused or not understanding the task at hand? Each student is looking at their own private display rather than looking at the teacher/blackboard making it harder to gauge student engagement (ข้อตกลง) at a glance (ชำเรือง). Would it not be better to have a single large digital display than a classroom full of individual PCs? Take for example, the Smart Technologies Senteo system where each student can have a clicker to respond to polls in the classroom. The total cost of ownership would probably be less than the cost of a $100 laptop per student.

3. Ergonomics (เหมาะกับการทำงาน) : the fact that OLPC is designed as a laptop leads to ergonomical problems as students may not have a table that they can put the computer on. Thus they will likely have to place it on their laps for extended periods of time leading to discomfort that can also hinder (ขัดขวาง)  learning.

2. Wrong Problem: While the One Laptop Per Child project focuses on providing technology to children in developing nations the major issue affecting student outcomes seems to be the training of teachers [Vegas, 2007]. With student to teacher ratios reaching 43:1 in primary Sub-Saharan African schools with only 69% of primary school teachers receiving any sort of formal training it seems that technology would only exacerbate (ทำให้รุนแรง) existing issues in the education system.

1. The Community of Learning vs. The Cult of the North American Individual: The name OLPC is a problem as the focus is on Personal Computers for Individuals ignoring the fact that community feedback is crucial part of learning. Self directed learning cannot be effective without feedback from peers, parents and teachers. Even when parents and peers are not available children will often huddle (จับกลุ่ม) around a single computer to collaborate and provide constructive feedback [Pawar, et al, 2006]. Developers can push this learning configuration further by providing interactivity for each child on the same display (through multiple mice and keyboards). Studies have shown that this configuration results in students being more engaged, faster and more accurately able to do problem solving tasks [Scott, et al., 2003]. Students need a learning community to provide the feedback needed to fully understand the material they are investigating. OLPC will likely do the opposite by pushing students away from each other to their own computers.

http://paradynexus.blogspot.com/2007/05/top-10-issues-of-olpc.html

ทดสอบ samsung galaxy tab 10.1 กับ moodle 2.2.1

moodle enrollment
moodle enrollment

7 เมย.55 ผมทดสอบเปิดบริการ e-learning ด้วย moodle 2.2.1 มาระยะหนึ่ง ต่อมาได้รับการติดต่อจากอาจารย์ John Cable ขอเข้าใช้ระบบ ผมถือว่าท่านเป็นคนแรกที่ขอเข้าระบบด้วยจิตอาสา เมื่อผมเข้าไปในรายวิชาของท่านก็พบว่า ระบบการรับนักเรียนใหม่ หรือที่เรียกว่า enroll จะต้องดำเนินการโดยอาจารย์เจ้าของวิชา แต่ถ้าให้นักเรียนสมัครเองได้ หรือเป็นวิชาแบบเปิดรับทั่วไป ต้องปรับตัวเลือก Enrollment methods ของวิชา และกำหนดให้อนุญาต Self enrollment (Student) ซึ่งวิชาใดอนุญาตแบบนี้ก็จะมีสัญลักษณ์ประตูและลูกศรสีเขียว เมื่อนักเรียนเข้าในรายวิชา ก็สามารถเลือก Enroll me โดยไม่เป็นภาระกับผู้สอนที่ต้องมาอนุญาตเป็นรายคน หรือรายกลุ่ม
มีระบบอีเลินนิ่งพร้อมทำงานแล้ว ก็มาตรวจอุปกรณ์ที่นักเรียน และนักศึกษาต้องใช้ ในกรณีนี้ทดสอบกับ samsung galaxy tab 10.1 เพราะถือเป็นอุปกรณ์รุ่นใหม่ในปี 2555 ที่ใช้ android 3.1 Honeycomb พบว่าสามารถเข้าระบบ และอ่านเอกสารได้ไม่มีปัญหา โดยแฟ้มประเภท docx หรือ pdf สามารถอ่านได้ด้วย polaris office แต่พบปัญหาเหมือนกับในอุปกรณ์ที่เคยทดสอบรุ่นอื่น คือ ไม่สามารถ upload แฟ้มประเภท word หรือ excel ได้ แต่ upload รูปภาพได้  เมื่อทดสอบเข้าเว็บไซต์ dropbox.com ก็ไม่พบปุ่ม upload เลย แล้วทดสอบกับ google docs ที่ใช้ gmail account ก็ไม่พบปุ่ม upload เช่นกัน หลังติดตั้ง googledoc app ก็ไม่พบปุ่ม upload เหมือนเดิม ระบบยอมให้สร้างแฟ้ม หรือแก้ไขแฟ้ม แต่ upload จากแฟ้มที่มีในอุปกรณ์ไม่ได้

กำลังคิดว่าอุปกรณ์ประเภท tablet pc ที่ใช้ android หรือ ios จาก apple อาจไม่ยอมให้ upload แฟ้มทั่วไป แต่ถ้าเป็น Acer Iconia Tab W500 ก็อาจทำได้ เพราะทำงานด้วยระบบปฏิบัติการวินโดว์ แต่ถ้าเป็น Acer Iconia Tab a500 ก็คงไม่ได้ เพราะใช้ android ก็หวังว่าในอนาคตอุปกรณ์ประเภท tablet pc จะยอมให้เข้าจัดการกับแฟ้มลักษณะต่าง ๆ ได้สะดวก และไม่จำกัดการอัพโหลดเหมือนในปัจจุบัน

อ.เปิ้ล ต่อ bluetooth ออกเน็ตผ่าน iconia a500 ไม่ได้

acer iconia a500
acer iconia a500

27 ส.ค.54 Acer Iconia Tab A500 เปิดตัวครั้งแรก 3 มีนาคม 2011 วางจำหน่ายไตรมาสที่ 2 ปี 2011 (เมษายน 2554) ราคาเปิดตัว 17,900 บาท ใช้ระบบปฏิบัติการ Android 3.0 Honeycomb ใช้ซีพียู Dual-core NVIDIA Tegra 2, 1 GHz หน่วยความจำ 1 GB
ผลทดสอบการเชื่อมต่อด้วย Bluetooth v2.1+EDR (Enhanced Data Rate) สามารถรับส่งภาพถ่ายกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ Nokia ได้ .. โดย v2.1 จะประหยัดพลังงานกว่ามาตรฐานเดิม 5 เท่าขึ้น แต่ a500 รองรับเฉพาะ A2DP ซึ่งเป็น stereo handsets เท่านั้น ไม่สนับสนุนทั้ง microphone และ internet access

สรุปว่าผมใช้ nokia bluetooth รับ-ส่งแฟ้มกับ iconia ได้ แต่ไม่พบตัวเลือกเชื่อมต่อเพื่อสั่ง dialup ออก internet เหมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเชื่อมต่อ bluetooth แล้วสั่ง dialup โทรศัพท์ไปยังผู้ให้บริการอย่างเช่น AIS

ส่วนสาย micro hdmi ไปดูที่ lotus กับชุมพล ก็ไม่พบครับ เพราะจะลองต่อ tablet pc ออกไปยัง projector ที่มี hdmi port .. ก่อนคืน tablet pc ที่ยืมมาทดสอบให้เจ้าของที่แท้จริง

http://www.techmoblog.com/spec/acer-iconia-tab-a500-wifi-16gb/
http://siamphone.com/catalog/acer/iconia_tab_a500.htm
http://www.techxcite.com/content.php/1/281/
http://www.thaiall.com/blog/burin/3598/
http://cbtoolkit.tarad.com/product.detail.php?id=3602318