vote
ปัญหาของ Poll หรือ Exit poll คือ คนตอบโพลล์ตอบไม่ตรงกับที่ตัวเองกากบาท
หรืออีก 7 เหตุผลที่ทำให้ผลโพลล์เพี้ยน
Exit poll เลือกตั้งในกรุงเทพฯ ไม่ตรงกับผลเลือกตั้ง ดังนี้
1. เลือกตั้งส.ส. 2554 ในกรุงเทพฯ
พรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส.จำนวน 23 ราย
พรรคเพื่อไทย จำนวน 10 คน จาก 33 เขตเลือกตั้ง
ผลโพลล์ครั้งแรก พรรคเพื่อไทยนำ 19 เขต พรรคประชาธิปัตย์มีนำ 5 เขต
ผลโพลล์ครั้งที่สอง พรรคเพื่อไทยนำ 18 เขต พรรคประชาธิปัตย์นำ 6 เขต
2. เลือกตั้งผู้ว่ากทม. 2556
ผลสำรวจออกมาว่า พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ จาก พรรคเพื่อไทย มีคะแนนนำ
แต่ผลการเลือกตั้ง หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร จาก พรรคประชาธิปัตย์ ชนะ
ด้วย 47.75% ต่อ 40.97%
สำนักโพลล์ = สถาบันสำรวจความคิดเห็น
เอ็กซิท โพล (Exit Poll) คือ การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งลงคะแนน
หลังจากที่ออกจากคูหามาแล้ว โดยผู้สำรวจจะไปสอบถามหลังจากลงคะแนนเสียงว่าเลือกใคร
ซึ่งบางครั้งมีทั้งผู้ที่ตอบออกมาแบบตรง ๆ หรือบางครั้งอาจไม่ตอบเนื่องจากเป็นสิทธิแต่ละบุคคล หรือบางคนอาจจะตอบตรงกันข้าม
—
ในส่วนขั้นตอนการดำเนินงานและวางแผน เอ็กซิท โพลนั้น
รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานดำเนินงานสวนดุสิตโพล ระบุว่า การวางแผนต้องรอบคอบ
โดยคำถามที่จะถามผู้ที่ลงคะแนนเสียงจากคูหาจะมีเพียงประเด็นเดียวเท่านั้นที่ถามว่า “เลือกใคร”
จากนั้นผู้สำรวจจะต้องส่งข้อมูลกลับมาโดยรวดเร็ว ซึ่งสวนดุสิตโพลจะใช้ในระบบออนไลน์
ทั้งโทรศัพท์ ทั้งในส่วนที่เป็นศูนย์การศึกษาที่มีอยู่ทั้งประเทศ
ที่ส่งในลักษณะที่เป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เข้ามา
—
“เอ็กซิทโพลล์ ” จึงนับได้ว่า เป็นการสะท้อนผลสำรวจความคิดเห็นอย่างไม่เป็นทางการอย่างรวดเร็วที่สุด
และยังต้องคลาดเคลื่อนกับผลคะแนนเสียงเลือกตั้งอย่างเป็นทางการให้น้อยที่สุดด้วย
ถ้าสำนักโพลแห่งใดนำเสนอผลสำรวจเอ็กซิท โพลได้แม่นยำที่สุด
ความน่าเชื่อถือของสาธารณชนที่มีให้ต่อสำนักโพลแห่งนั้นย่อมมีมาก
ดังนั้น การแข่งขันนำเสนอผลสำรวจจะดุเดือดอีกครั้งในการเลือกตั้งปลายปีนี้ด้วย
—
โพลล์ (Poll) คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสาร (Information) จากประชาชน
และโพลล์กับงานวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) คือ สิ่งเดียวกัน
เพียงแต่ว่า โพลล์ถูกใช้โดยองค์กรสื่อมวลชน แต่งานวิจัยเชิงสำรวจถูกทำขึ้นโดยนักวิจัยของสถาบันการศึกษา
และนี่เองที่เอแบคโพลล์ได้ใช้คำว่า “งานวิจัยเชิงสำรวจ” ในการทำโพลล์มาโดยตลอด