วงจรในการจัดกระบวนการประเมินคุณภาพภายใน

คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2554-2556
คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2554-2556

วงจรในการจัดกระบวนการประเมินคุณภาพภายใน
จากหัวข้อแนวทางการจัดกระบวนการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน
หน้า 201
ของ คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2554-2556
(Quality Assurance Manual 2554-2556)

1. สถาบันวางแผนการประเมินคุณภาพประจำปีการศึกษาใหม่ โดยประกาศตัวบ่งชี้ก่อนเริ่มต้นปีการศึกษาใหม่ และแจกคู่มือการจัดทำ SAR (กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวบ่งชี้ วิธีการ และกำหนดการประเมินคุณภาพภายในประจำปี)
2. สถาบันเก็บข้อมูลระยะ 12 เดือนตามตัวบ่งชี้ที่ได้ประกาศใช้บนระบบ CHEQA Online (มีทีมงานให้คำปรึกษากับบุคลากร และหรือหน่วยงานและหรือภาควิชาในการเก็บข้อมูล พร้อมทั้งพิจารณาปรับปรุงการดำเนินงานตามความเหมาะสม)
3. สาขาวิชา ศูนย์นอกที่ตั้ง จัดทำ SAR และเตรียมการประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้ง
4. ประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้ง
5. คณะวิชาและศูนย์นอกที่ตั้ง นำผลการประเมินมาจัดทำ SAR บนระบบ CHEQA Online และเตรียมการประเมินระดับสถาบัน และแต่งตั้งกรรมการประเมินระดับสถาบัน
6. ประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้งบนระบบ CHEQA Online
7. สถาบันนำผลการประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้งมาจัดทำ SAR บนระบบ CHEQA Online และเตรียมการประเมินระดับสถาบัน และแต่งตั้งกรรมการประเมินระดับสถาบัน
8. ประเมินระดับสถาบันบนระบบ CHEQA Online และนำผลการประเมินเสนอสภาสถาบันเพื่อพิจารณาวางแผนพัฒนาสถาบันในปีการศึกษาถัดไป
9. ผู้บริหารของสถาบันอุดมศึกษานำผลการประเมินและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน (รวมทั้งข้อเสนอแนะของสภาสถาบัน) มาวางแผนปรับปรุงการดำเนิน หรือปรับแผนกลยุทธ์/แผนปฏิบัติการประจำปีและเสนอตั้งงบประมาณปีถัดไป หรือจัดทำโครงการพัฒนาและเสนอใช้งบประมาณกลางปี
10. ส่งรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน (ประกอบด้วย SAR และผลการประเมินคุณภาพภายในระดับคณะวิชา ศูนย์นอกที่ตั้ง และระดับสถาบัน) ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาผ่านระบบ CHEQA Online และหน่วยงานต้นสังกัด (ภายใน 120 วันนับจากสิ้นปีการศึกษา)

http://www.mua.go.th/users/bhes/bhes2/QA%20MUA_54/ManualQA_MUA_February2554.pdf

http://www.cheqa.mua.go.th/

ตรวจเยี่ยมในฐานะเพื่อน (peer visit)

รศ.อุษณีย์ คำประกอบ
รศ.อุษณีย์ คำประกอบ

3 เม.ย.55 มีโอกาสคุยกับคุณหนุ่ม และคุณกวาง ผ่าน IP Phone เรื่อง ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การวิจัย และบริการวิชาการ ว่าการเริ่มต้นเขียนเป็นอย่างไร การปรับปรุง การให้ข้อเสนอแนะ การหาหลักฐาน การแบ่งปัน การจัดทำให้ครบถ้วนตามอัตภาพ และความหมายของการเยือนในฐานะเพื่อน เป็นการพูดคุยกันแบบแยกส่วน (มี share ครับ)

แล้วก็คิดถึง รศ.อุษณีย์ คำประกอบ ซึ่งถือเป็นวิทยากร ด้านการประกันคุณภาพของ สกอ. ที่หาตัวจับยาก หรือเรียกได้ว่าเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศก็ว่าได้ เพราะเคยพูดคุยแลกเปลี่ยนแล้ว ท่านตอบข้อซักถามได้อย่างกระจ่างแจ้ง มีความเป็นกัลยาณมิตร หวังดีที่จะเห็นองค์กร และเพื่อนร่วมงาน ทำงานร่วมกันอย่างมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่ สกอ. กำหนดมาให้ดำเนินการทั้งประเทศ

บทเรียนที่พบในอดีตเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษา

ผศ.ปรานี พรรณวิเชียร
ผศ.ปรานี พรรณวิเชียร

1 มี.ค.55 มีโอกาสฟัง อาจารย์ปรานี  พรรณวิเชียร  บรรยายเรื่อง ประเด็นในบางตัวบ่งชี้ และ share&learn  ที่ The Empress จังหวัดเชียงใหม่  .. ท่านเล่ากรณีปัญหาที่ได้พบจากการเป็นผู้ประเมินในมหาวิทยาลัยต่าง  ๆ ในอดีต .. ท่านเล่าให้ฟังเพื่อเป็นบทเรียนว่าไม่ควรเกิดขึ้น อาทิ
1. การตรวจเยี่ยมนอกที่ตั้งพบว่าไม่มีอาจารย์ประจำหลักสูตรทำงานอยู่
2. กรรมการสภาอยากเป็น ง แต่คณะวิชาและอธิการอยากเป็น ข (เหมือนแม่ปูเลยครับ)
3. บวกเลขผิด ๆ ถูก ๆ แล้วในมหาวิทยาลัยใครจะรับผิดชอบ (ใครควรรับรู้)
4. บางคณะอยากให้งานประกันเขียนรายงาน (ไว้อาลัย)
5. แค่วิทยากรมาบรรยายก็เรียก KM แล้ว ไม่มี share & learn กันเลย
6. บางที่ก็มี blog มีคนเขียน 1 คน จะเรียกว่ามหาวิทยาลัยมี km ได้อย่างไร
7. best practice ของ QA วัดจากการแลกเปลี่ยนดูงานระหว่างสถาบัน ไม่ได้
8. QA ต้องลงไปช่วยทำความเข้าใจ กำกับ ไปตรวจสอบให้ทุกอย่างถูกต้อง
9. บางคณะทำแค่ 2.1 กับ 2.6 เพราะ QA บอกว่าตามใจ (แล้วพันธกิจไปไหน)
10. ประเมินความสำเร็จต้องทำหลังโครงการแล้วเสร็จ มิใช่ประเมินโครงการ
11. MIS ช่วยผู้บริหารตัดสินใจ ส่วน QA ช่วยให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งผู้บริหารต้องใช้
12. ไม่ต้องส่งชื่อผู้ประเมินเข้าไปมาก ปัจจุบันมี 6000 คน บางคนยังไม่รู้จักแผนกลยุทธ์เลย
13. ภาษาที่ 2 ภาษาที่ 3 ผู้ประกอบการบอกว่าบางคนภาษาคนยังคุยไม่รู้เรื่องเลย
http://www.mua.go.th/users/bhes/bhes2/QA_Training/qa_training.htm

webometrics.info on january 2012

january 2012
january 2012

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในไทย 10 อันดับแรก และผลอันดับระดับโลก
1      140      Kasetsart University
2     173     Chulalongkorn University
3     202     Mahidol University
4     228     Prince of Songkla University
5     233     Khon Kaen University
6     236     Chiang Mai University
7     576     King Mongkut´s University of Technology Thonburi
8     638     Thammasat University
9     677     King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang
10     727     Mahasarakham University

Since 2004, the Ranking Web is published twice a year (January and July), covering more than 20,000 Higher Education Institutions worldwide. We intend to motivate both institutions and scholars to have a web presence that reflect accurately their activities. If the web performance of an institution is below the expected position according to their academic excellence, university authorities should reconsider their web policy, promoting substantial increases of the volume and quality of their electronic publications. If you need further clarification regarding the motivations of the Ranking or the methodology

1. Size (Size)
The number of page references to the university and academic faculty can be found through search engines: Google, Yahoo, Live Search and Exalead
20%
2. Visibility
The number of external links associated with the university and all academic faculty that can be accessed through the search engine above.
Visibility does not mean hit, but the total number of links created by other sites pointing to a site in UNIKOM.
50%
3. Rich Files (Documents)
Availability of documents from a university academic articles which can be extracted from the internet, both in format: Word Document (. Doc), Adobe Acrobat (. Pdf), Microsoft Power Point (. Ppt) or Adobe postcript (. Ps).
15%
4. Scholar (Expert)
Paper or scientific works and quotations found in Google Scholar.
15%

เห็นเลขในแต่ละปีของสถาบันหนึ่ง
january 2008: 4183
july 2008: 4284
july 2009: 4325
january 2010: 5826
january 2011: 5336
july 2011: 4984
january 2012: 20245
ก็เห็นว่าผลต่างเยอะมาก

http://studyinthailand.org/study_abroad_thailand_university/university-ranking-Thailand.html

http://www.ichat.in.th/SoPonKPP/topic-readid79134-page1

ตัวอย่างกราฟประเมินวิดีโอ

graph of evaluation
graph of evaluation

เป็นการใช้ MS Excel 2010 กรอกข้อมูล แล้วใช้ฟังก์ชัน sum และ averagea หาค่าผลรวม และค่าเฉลี่ย เปรียบเทียบเกณฑ์ที่ใช้ประเมินจำนวน 5 เกณฑ์ ซึ่งผลของผลรวม กับค่าเฉลี่ยต่างกัน เนื่องจากมีผู้ประเมินคนหนึ่งไม่ประสงค์ จะแสดงความเห็นเรื่องนักแสดง การหาค่าเฉลี่ยจึงใช้ averagea ที่สามารถเลือกเฉพาะค่าที่มีตัวเลขมาหาค่าเฉลี่ย กราฟของรวม และเฉลี่ยจึงมีความหมายต่างกัน

แต่ในเกณฑ์ที่ผมเสนอให้นักศึกษาใช้มี
1. เนื้อหา
2. ตัวละคร
3. ภาพ
4. เสียง
5. เทคนิค
6. ความคิดสร้างสรรค์
7. ความสมบูรณ์ในภาพรวม
เพื่อให้นักศึกษาพึงระวังในระหว่างการจัดทำ ว่ามีประเด็นได้ต้องให้ความสำคัญ และต้องนำไปใส่ใน MS Powerpoint ในการนำเสนอคลิ๊ปวีดีโอ .. กรณีนี้ใช้สำหรับ BCOM 500 มีนักศึกษา 46 คน

อบรมใช้ excel ทำ qa อย่างมืออาชีพ

cheqa excel
cheqa excel

พบโครงการอบรมการใช้ excel เพื่องานประกันคุณภาพของ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ ในชื่อโครงการ “โครงการอบรม การจัดเก็บข้อมูลและเขียนรายงานประกันคุณภาพอย่างมืออาชีพ (54/1)

มีหลักการและเหตุผล ดังนี้ ส่วนสำคัญของระบบประกันคุณภาพการศึกษาคือข้อมูลผลการดำเนินงานตามพันธกิจ ถึงแม้ว่าบางสถาบันการศึกษาจะมีระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการ (Enterprise Resource Planning) แต่การจัดทำข้อมูลเพื่อตอบสนองความต้องการของระบบประกันคุณภาพยังมีความจำเป็นในการเชื่อมโยงข้อมูลในระบบงาน และมีความจำเป็นในการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม โปรแกรมเอ๊กเชลล์ยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดเก็บข้อมูลดิบ หรือช่วยในการเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบงานต่างๆ และผู้มีส่วนรวมในการจัดเก็บข้อมูลคือบุคลากรของสถาบันนั่นเอง จากการเปิดอบรมหลักสูตรการจัดเก็บข้อมูลประกันคุณภาพด้วยเอ๊กเชลล์ที่ผ่านมา 10 รุ่น มีข้อมูลจากการประเมินผลการอบรมแสดงว่าสถาบันการศึกษายังมีความต้องการอย่างมากในการพัฒนาบุคคลากรให้สามารถใช้เครื่องมือโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการทำงานของบุคคลกร เพื่อให้สามารถใช้เครื่องมือในการลดระยะเวลาในการทำงาน และมีข้อมูลที่สามารถตอบสนองความต้องการของระบบประกันคุณภาพต่าง ๆ แม้ตัวบ่งชี้ประกันคุณภาพภายใน (สกอ. ปี 2554) และตัวบ่งชี้ สมศ รอบ 3 จำนวนตัวบ่งชี้ลง แต่มีความต้องการรายละเอียดข้อมูลเชิงลึกมากขึ้นส่งผลการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อความพร้อมในการรับตรวจใช้เวลาเพิ่มมากขึ้น ถ้าระบบบริหารจัดการข้อมูลไม่ดี

โครงการอบรมการจัดเก็บข้อมูลประกันคุณภาพอย่างมืออาชีพด้วยเอ๊กเชลล์ เป็นโครงการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถาบันการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถในการใช้ไมโครซอฟต์ออฟฟิศอย่างมืออาชีพ และสามารถทำงานอย่างบูรณาการ เชื่อมโยงการออกแบบจัดเก็บข้อมูลดิบ การออกรายงานสำหรับผู้บริหาร มีข้อมูลพร้อมในการการจัดทำรายงานประจำปี รายการการประเมินตนเอง และจัดเตรียมข้อมูลพร้อมโหลดเข้าสู่ฐานข้อมูล CHEQA แม้หน่วยงานที่มีฐานข้อมูลในการจัดเก็บข้อมูลประกันคุณภาพ ยังมีความต้องการในการพัฒนาบุคลากร ให้สามารถนำข้อมูลจากฐานข้อมูลมาจัดทำรายงานตามความต้องการข้อมูลที่พลวัต

http://pirun.ku.ac.th/~fscichj/qa/Train/
http://pirun.ku.ac.th/~fscichj/qa/Train/v54-1/qa-project.pdf
http://pirun.ku.ac.th/~fscichj/course/52/qa2/qa-project2.htm
http://www.thaiall.com/pdf/qa_excel_pro.pdf

คุณวุฒิ คุณภาพ คุณธรรม

คุณวุฒิ  คุณภาพ  คุณธรรม : คำทั้ง ๓ คำนี้   เชื่อว่าผู้อ่านคงคุ้นเคยอยู่      และคงเป็นคำที่ทุก ๆ คนปรารถนาจะให้เกิดขึ้นกับตัวเอง   และกับบุคคลข้างเคียง    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง   อยากจะให้เกิดกับคนในองค์กรเดียวกัน   ตั้งแต่ระดับหัวหน้าสูงสุดลงไปเลย  ก็เพราะอานุภาพของความหมายของคำทั้งสามคำนั่นเอง

บทความโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภิเษก  จันทร์เอี่ยม

“คุณวุฒิ” เป็นสิ่งที่คนในแวดวงวิชาการอย่างพวกเราจะแสวงหามาใส่ตัวเสมอ     หากมีมาก ๆ จนเป็นที่เชื่อถือได้   ก็จะได้รับการยกย่องหรือขนานนามให้ว่า  เป็น   “ผู้ทรงคุณวุฒิ”

สิ่งที่เรียกว่า  “คุณวุฒิ” นั้นได้มาจากไหน      หนทางหนึ่งได้มาจากการเป็นผู้ที่ร่ำเรียนในหลักสูตร สาขาวิชาใดวิชาหนึ่งจนถึงขั้นสูงหรือสูงสุดเท่าที่จะมีให้เรียน       เมื่อได้รับ “คุณวุฒิ” ทางการศึกษามา      ก็จะกลายเป็นผู้รอบรู้      เชี่ยวชาญในศาสตร์สาขานั้น  ๆ          อีกทางหนึ่งก็ได้จากการที่บุคคลผู้นั้นได้พยายามคิดสร้างผลงานทางวิชาการจนเป็นที่เชื่อถือได้ว่า             ผลงานนั้นสมควรได้รับการยอมรับ  ได้รับเกียรติ   ได้รับการยกย่องจากผู้ทรงคุณวุฒิกว่านั้น      จึงทำให้ได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น   อันเป็นผลมาจากการทุ่มเทกำลังกาย  กำลังปัญญา     เพื่อให้ตนเองมีความรู้  มีความเชี่ยวชาญ  ในศาสตร์แขนงนั้น ๆ เช่นกัน

การที่บุคคลมีคุณวุฒิหรือได้รับคุณวุฒิสูงขึ้น    นั่นหมายถึงบุคคลคนนั้นจะสามารถคิด  อ่าน   กระทำการใด ๆ  ได้หลากหลาย  ซับซ้อนมากกว่าคนอื่น    บุคคลรอบข้างก็จะคาดหวังผลงานของผู้ทรงคุณวุฒิไว้ในระดับสูงทีเดียว

ความเป็น “ผู้ทรงคุณวุฒิ”   จึงทำให้บุคคลนั้นกลายเป็นคนที่  จะคิด  จะพูด  จะกระทำการใด ๆ ก็ตาม    ผู้อื่นย่อมหมายเอาว่า  สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นไม่ว่าจะเป็นถ้อยคำวาจา   หรือพฤติกรรม    ย่อมเป็นสิ่งที่เชื่อถือได้   เพราะได้กลั่นกรองมาจากสติปัญญาของผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าว

ดังนั้น   เมื่อบุคคลใดมีคุณวุฒิ     หรือได้รับคุณวุฒิสูงขึ้น           ย่อมต้องพึงระมัดระวังพฤติกรรมที่แสดงออกทั้ง  การคิด  การพูด  การกระทำต้องให้สมกับความเป็นผู้มีคุณวุฒิหรือที่เรียกกันว่า “ผู้ทรงคุณวุฒิ”นั่นเอง

“คุณภาพ” เป็นคำที่เราจะได้ยินได้ฟังบ่อยที่สุดในยุคปัจจุบัน   เพราะเป็นยุคที่โหยหาสิ่งที่เรียกว่า “คุณภาพ”  ในทุก ๆ วงการ         โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการศึกษา   ทั้งในเชิงคุณภาพของบุคลากรในวงการศึกษา    และคุณภาพของการศึกษา    รวมถึงคุณภาพของสถานศึกษาด้วย   จะเห็นว่า  ในปัจจุบันนี้มีองค์กรที่ทำหน้าที่รับประกันคุณภาพหรือรับรองคุณภาพการศึกษาอยู่มากมาย

แท้จริงแล้ว  การประกันคุณภาพหรือการรับรองคุณภาพนั้นเป็นตัวแปรผล    ซึ่งไม่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก    สิ่งที่เราควรใส่ใจให้มากคือตัวแปรเหตุ   ที่จะนำมาซึ่ง   “คุณภาพ” ของสิ่งที่เราต้องการ    นั่นคือ  “การจัดการคุณภาพ”             เพราะหากไม่จัดการให้คุณภาพเกิดขึ้นเสียก่อน    ก็ป่วยการที่จะประกันหรือรับรองคุณภาพ   เพราะคงหาคุณภาพไม่พบ

ดังนั้น   ก่อนดำเนินการเรื่องใด ๆ   ที่หวังว่าจะทำได้อย่างมีคุณภาพ        จึงควรกำหนดวิธีการจัดการงานนั้นให้แสดงถึงความมีคุณภาพก่อน    แล้วกำกับให้งานดำเนินไปตามแผนที่วางไว้  นั่นคือ    ต้องมีการกำหนดเกณฑ์ (criteria)  และมาตรฐาน (standard)   ของงานหรือการดำเนินงานนั้น ๆ ก่อน     อาจจะต้องมีการกำหนดการเทียบเคียงสมรรถนะ  (benchmark) กับผู้อื่น  หรือองค์กรอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกันด้วย            เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพของตนเองให้ใกล้เคียงกับหน่วยงานอื่น ๆ    ในระหว่างการปฏิบัติงาน   บุคลากรที่เกี่ยวข้องต้องคำนึงถึงหลักแห่งคุณภาพเสมอ   และหมั่นตรวจวัดคุณภาพด้วยเครื่องมือต่าง ๆ  ที่เตรียมไว้     และต้องมีการปรับปรุงคุณภาพของการทำงานเป็นระยะ ๆ ตามแผนที่กำหนดด้วย

หากกระทำดั่งนี้แล้ว   เมื่อมีการประกันคุณภาพ  หรือการรับรองคุณภาพ   ไม่ว่าจะด้วยวิธีการของหน่วยงานใด ๆ ก็ตาม    ย่อมประกันหรือรับรองคุณภาพได้อย่างไม่ยากแน่ ๆ

ในด้านคุณภาพของตัวบุคคลก็เช่นเดียวกัน   ควรคำนึงถึงหลักแห่งคุณภาพด้วยเช่นกัน    และสิ่งสำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ  การคำนึงถึงคุณภาพเฉพาะตัวบุคคล      และคุณภาพในการปฏิบัติงานของบุคคลนั้นด้วย    โดยจะมีการกำหนดเกณฑ์  มาตรฐาน   การเทียบเคียงสมรรถนะ        ตลอดจนเครื่องมือวัดคุณภาพต่างกันออกไป

อย่างไรก็ตาม   คำว่า “คุณภาพ”   จะยังคงเป็นคำสำคัญที่ทุก ๆคน  ทุก ๆ องค์กร  หวังจะให้เกิดขึ้นกับตนเอง    และก็หวังว่า  คนอื่น ๆ และองค์กรอื่น ๆ  ก็คำนึงถึงเรื่องนี้เช่นกัน


“คุณธรรม”
เป็นอีกคำหนึ่งที่จะยังคงเรียกร้องและโหยหาเพื่อให้มีอยู่ในตัวคนทุกคน  ทั้งนี้    เพราะเชื่อว่า  “คุณธรรม”  จะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้บุคคล   ไม่คิด   ไม่พูด    ไม่แสดงออกในทางที่ไม่พึงประสงค์     เพราะจะนำมาซึ่งความเดือดร้อนทั้งแก่ตัวบุคคลนั้น  และบุคคลข้างเคียงหรือคนในสังคมโดยทั่วไป    ความสงบสุขในสังคมก็จะพลอยสูญเสียไปด้วย

ทั้งนี้เพราะ “คุณธรรม”   หมายถึง ธรรมชาติฝ่ายที่เป็นคุณ          หรือที่เรียกว่า “กุศลธรรม”  ตรงกันข้ามกับ  “อกุศลธรรม”   ซึ่งเป็นธรรมชาติฝ่ายเป็นโทษ     ธรรมชาติทั้งสองส่วนนี้มีอยู่ทั้งในตัวคน  และรอบ ๆ ตัวคน    ถ้าบุคคลใดประพฤติปฏิบัติในส่วนที่เป็น “กุศลธรรม”  ก็จะสร้างสันติสุขให้กับตนเองและคนข้างเคียงได้              และถ้าทุก ๆ คนในสังคมยึดมั่นอยู่ในความมี “คุณธรรม”   สังคมนั้นก็จะมีแต่สันติสุข        เพราะ “คุณธรรม”  จะเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งไม่ให้คนประพฤติชั่ว   หรือกระทำในสิ่งที่จะนำความเสียหายหรือเดือดร้อนมาสู่ตนเองหรือสังคมรอบข้าง

ธรรมชาติฝ่ายเป็นคุณ  หรือ “คุณธรรม”  ที่พึงประสงค์มีมากมายหลายเรื่องตั้งแต่สิ่งที่เป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตและการอยู่ร่วมกันในสังคม     เช่น  ความขยัน  ความซื่อสัตย์  ความมีเมตตา  กรุณา  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ความเห็นใจผู้อื่น  ความเสียสละ  ความมานะอดทน   เป็นต้น      หากทุกคนในสังคม  หรือในองค์กรให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว     และประพฤติปฏิบัติ “คุณธรรม”ก็เชื่อว่า   บุคคล   องค์กร  และสังคมจะมีสันติสุขยิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในทุก ๆ วันนี้

แต่ทั้งนี้   การประพฤติปฏิบัติอย่างมี “คุณธรรม”  นั้น      ไม่มีกฎหมาย  หรือข้อบังคับใด ๆ ที่จะเอาผิดกับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามแนวทางของคุณธรรมได้        จึงเป็นสิ่งที่บุคคลต้องอาศัยความกล้าหาญที่จะประพฤติปฏิบัติคุณธรรมด้วยความสมัครใจ              และกล้าหาญที่จะละเว้นสิ่งที่เป็น “อกุศลธรรม”  แม้ว่าบางครั้งสิ่งเหล่านั้นจะเอื้อประโยชน์ให้ตนมากกว่าก็ตาม          ดังนั้น  เมื่อพูดถึง “คุณธรรม”  แล้ว  จึงมักตามด้วย  “จริยธรรม” เสมอ        เพราะ “จริยะ”  คือการกระทำ  หรือการปฏิบัติ  ในสิ่งที่  เป็น “ธรรม”  นั่นเอง

การปฏิบัติสิ่งที่เป็น “จริยธรรม”    ก็อาศัยความกล้าหาญด้วยเช่นกัน       คือกล้าที่จะประพฤติปฏิบัติ “จริยธรรม”    แม้ไม่มีบทบัญญัติโทษไว้ชัดเจนก็ตาม    แม้จะไม่ได้ผลประโยชน์ตามมาก็ตาม    หากสิ่งนั้นพึงเป็นสิ่งกระทำ  หรือเป็นสิ่งพึงเว้นกระทำ   ก็กล้าที่จะลงมือทำหรือละเว้นการกระทำ   เพื่อให้เกิดสันติสุขขึ้น           ความมี “คุณธรรม” และ “จริยธรรม”  จึงมักจะไปด้วยกันเสมอ

หากในตัวบุคคลใด    มี “คุณ”  ทั้งสามประการนี้   คือ     “คุณวุฒิ      คุณภาพ      และ คุณธรรม”   ย่อมเชื่อได้ว่า   บุคคลนั้นเป็นผู้ทรงอานุภาพแห่งความดี   ความงาม  ที่พร้อมจะบันดาลให้ตนเองประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตและประกอบกิจการงานต่าง ๆ ได้อย่างดี   และสร้างสันติสุข   คือ  “สุขตน”  และ “สุขท่าน”  ได้อย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นคนโดยแท้จริง        และหากองค์กรใด   มีบุคลากรที่เพียบพร้อมด้วย “คุณ”  ทั้งสามประการนี้   องค์กรนั้นก็ย่อมมั่นคงและรุ่งเรือง   เป็นองค์กรที่มีแต่ “สันติสุข”  เช่นกัน

บทความโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.  ภิเษก  จันทร์เอี่ยม
http://www.watjrb.net/index.php?mo=3&art=350276

http://www.kasettak.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=75&Itemid=56

อัตลักษณ์ + เอกลักษณ์

อัตลักษณ์ มาจาก อัต+ลักษณ์ หมายถึง ลักษณะเฉพาะ คำว่า อัตลักษณ์ (อ่านว่า อัด-ตะ-ลัก) ประกอบด้วยคำว่า อัต (อัด-ตะ) ซึ่งหมายถึง ตน หรือ ตัวเอง กับ ลักษณ์ ซึ่งหมายถึง สมบัติเฉพาะตัว.   คำว่า อัตลักษณ์ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า identity (อ่านว่า ไอ-เด็น-ติ-ตี้) หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น นักร้องกลุ่มนี้มีอัตลักษณ์ทางด้านเสียงที่เด่นมาก ใครได้ยินก็จำได้ทันที สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเอง โลกาภิวัตน์ทำให้อัตลักษณ์ของสังคมไทยเปลี่ยนไป

อัตลักษณ์ คือ ลักษณะเฉพาะที่เป็นตัวตนของสถานศึกษา ที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ในการจัดตั้งสถานศึกษา  หรือลักษณะโดดเด่นของสถานศึกษา ควรเน้นที่การกำหนดภาพความสำเร็จในตัวผู้เรียน

ขั้นตอนการกำหนดอัตลักษณ์ ควร วิเคราะห์สภาพแวดล้อม ความเป็นมาของสถานศึกษา และเจตนารมณ์ในการจัดตั้งสถานศึกษา  แล้วกำหนดอัตลักษณ์ที่ผู้สำเร็จการศึกษาจะต้องมีก่อนสำเร็จการศึกษา ที่ผ่านการประชาพิจารณ์ร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้อง โดยมีกิจกรรมการส่งเสริม พัฒนา และประเมินอย่างเป็นระบบ

เหตุที่ต้องกำหนดอัตลักษณ์ เพราะ หากสถานศึกษาไม่ตระหนักในเรื่องความเป็นเลิศเฉพาะทางของเยาวชนที่สำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษา ก็จะทำให้ความโดดเด่นของเยาวชนสูญหายไป

อัตลักษณ์ (Identity) หมายถึง ผลผลิตของผู้เรียนตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด

เอกลักษณ์ (Uniqueness) หมายถึง ความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่สะท้อนให้เห็นเป็นลักษณะโดดเด่นเป็นหนึ่งของสถานศึกษา

ตัวอย่างอัตลักษณ์
– โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย อาจเป็น  “มีภาวะผู้นำและสุภาพบุรุษ”
– โรงเรียนสตรีวิทยา อาจเป็น “ยอดนารี สตรีวิทยา”
– โรงเรียนในลำปาง อาจเป็น “มีจิตสำนึกรักลำปาง รักษ์สิ่งแวดล้อม”
– โรงเรียนในเครือเบญจมะฯ อาจเป็น “ประชาธิไตย เคารพในสิทธิความเป็นมนุษย์”
– โรงเรียนในเครือจุฬาภรฯ อาจเป็น “บุคลิกนักวิทยาศาสตร์”

– โรงเรียนบุญวาทย์ เป็น “รักการทำดี วิชาการมาตรฐานสากล สร้างคนป็นผู้นำ”
– บัณฑิตมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็น “มีความคิดสร้างสรรค์ มีจิตวิญญาณผู้ประกอบการ มีความเป็นสากล”
– บัณฑิตมหาวิทยาลัยมหิดล เป็น  มุ่งผลเพื่อผู้อื่น (ALTRUISM)
* มหาวิทยาลัยมหิดล เป็น Health Science and Social Well-Being (ความผาสุข)
* เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็น สภาพแวดล้อมการจัดการศึกษาที่สร้างสรรค์

เรียบเรียงจากบทความของ ดร.สุพักตร์ พิบูลย์
http://drsuphakedqa.blogspot.com/2010/07/07.html
http://www.gotoknow.org/blog/cityedu/422459
http://qa.bu.ac.th/buqa/index.php/kmqa/60-identity

การสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้

ดร.วิยดา เหล่มตระกูล
ดร.วิยดา เหล่มตระกูล

14 มิ.ย.54 เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา มี อ.ดร.วิยดา เหล่มตระกูล และ อ.พงษ์วัชร ฟองกันทา เป็นวิทยากร มีเนื้อหาในการอบรม 4 เรื่อง ได้แก่
1) หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
2) การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3) การสร้างเครื่องมือวัดด้านคุณลักษณะ
4) การสร้างเครื่องมือวัดภาคปฏิบัติ
สอดรับกับ มคอ : กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF:HEd)

องค์ประกอบของผลการเรียนรู้ตามแนวคิดและทฤษฎีของบลูม (Benjamin S. Bloom, 1956 อ้างอิงถึงใน ศิริชัย กาญจนวาสี, 2540) มีดังนี้
1) ด้านพุทธพิสัย (Cognitive Domain) เป็นการเรียนรู้ด้านความรู้ความเข้าใจและความคิด เป็นความสามารถทางสถิปัญญา ซึ่งมี 6 ระดับ ดังนี้ (1) ความรู้ความจำ (Knowledge) (2) ความเข้าใจ (Comprehension) (3) การนำไปใช้ (Application) (4) การวิเคราะห์ (Analysis) (5) การสังเคราะห์ (Syntehsis) (6) การประเมินผล (Evaluation)
2) ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) เป็นการเรียนรู้ด้านอารมณ์ ความรู้สึก ซึ่งมี 5 ระดับ ดังนี้ (1) การรับรู้หรือการใส่ใจต่อสิ่งเร้า (Receiving or Attending) (2) การตอบสนอง (Responding) (3) การเห็นคุณค่า (Valuing) (4) การจัดระบบค่านิยม (Organization) (5) การแสดงลักษณะตามค่านิยม (Characterization)
3) ด้านทักษะพิสัย  (Psychomotor domain/skill domain) เป็นการเรียนรู้ด้านความชำนาญ หรือทักษะในการปฏิบัติ ซึ่งมี 7 ระดับ ดังนี้ (1) การรับรู้ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (Perception) (2) ความพร้อมที่จะปฏิบัติ (Set) (3) การปฏิบัติตามข้อแนะนำ (Guided Response) (4) การปฏิบัติจนเป็นนิสัย (Mechanism) (5) การปฏิบัติที่สลับซับซ้อน (Complex overt response) (6) การปรับเปลี่ยนการปฏิบัติ (Adaption) (7) การสร้างปฏิบัติการใหม่ (Origination)

มีโอกาสฝึกปฏิบัติสร้างเครื่องมือวัด แบ่งเป็น 3 ด้าน
1) ด้านพุทธพิสัย มีประเด็นวัดผล 6 ด้านคือ (1) ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด (2) ความเข้าใจ (Comprehend) (3) การประยุกต์ (Application) (4) การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้ (5) การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่ (6) การประเมินค่า ( Evaluation)
2) ด้านจิตพิสัย จะมีองค์ประกอบที่ใช้วัด 3 ส่วนคือ เป้าหมาย (Target) ทิศทาง (Direction) และความเข้มข้น (Intensity)
3) ด้านทักษะพิสัย จะมีจุดประสงค์ปลายทางได้ 3 แบบ คือ การปฏิบัติ (performance) กระบวนการ (process) ผลผลิต (product) และวัดได้ 2 แบบคือวัดภาพรวม และวัดองค์ประกอบ
หมายเหตุ. มีบทเรียนที่ได้จากการอบรมมากมาย แต่ขอสรุปสั้น ๆ ไว้เพียงเท่านี้ครับ

ความสำคัญของระบบอีดอคคิวเมนท์

5 มี.ค.54 ความสำคัญของระบบอีดอคคิวเมนท์ที่มีต่อการประกันคุณภาพ สนับสนุนการสื่อสารแลกเปลี่ยน ใช้ปฏิบัติงาน และติดตามผลงานของบุคลากร หน่วยงาน คณะวิชา และมหาวิทยาลัย โดยสอดรับกับเกณฑ์คุณภาพการศึกษาภายใน ดังนี้
1. เกณฑ์ที่ 7.3.2 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจตามพันธกิจของสถาบัน โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุมการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริหารจัดการ และการเงิน และสามารถนำไปใช้ในการดำเนินงานประกันคุณภาพ
– ผู้บริหารมอบหมายหน่วยงานฯ พัฒนาระบบและส่งสารสนเทศเข้าสู่ระบบ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ
– ระบบอีดอคคิวเมนท์เป็นเครื่องมือส่งสารสนเทศจากแต่ละบุคคล และเชื่อมโยงกับพันธกิจด้านต่าง ๆ

2. เกณฑ์ที่ 9.1.6 มีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบทั้ง 9 องค์ประกอบคุณภาพ
– ระบบอีดอคคิวเมน์เปิดให้กำหนดเอกสารที่ต้องการถูกอ้างอิง เข้าระบบต่าง ๆ
– เจ้าของเอกสารพิจารณาเลือกเชื่อมโยงหลักฐานเข้ากับองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง
– งานประกันฯ คณะวิชา และมหาวิทยาลัย พิจารณาเอกสารไปจัดทำรายงานปลายปี

3. เกณฑ์ที่ 2.4.4 มีระบบการติดตามให้คณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนนำความรู้และทักษะที่ได้จากการพัฒนาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ตลอดจนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
– การแบ่งปันไฟล์ให้นักศึกษาเข้าถึงแฟ้มประกอบการสอน หรือส่งงาน
– การส่งหลักฐานเข้าตามภาระงาน และเชื่อมโยงเข้ากับรายงานการปฏิบัติงาน
– การส่งหลักฐานถูกใช้โดยผู้บังคับบัญชาในการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

4. เกณฑ์ที่ 7.3.3 มีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
– เริ่มจากการใช้งานระบบอินทราเน็ตที่เชื่อมโยงกับระบบอีดอคคิวเมนท์
– มีการดำเนินการโดยคณะกรรมการเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ