การจัดทำข้อตกลงภาระงานคณาจารย์

21 ส.ค.53 จัดทำวีดีโอสาธิต การจัดทำข้อตกลงภาระงานคณาจารย์ ภาคการศึกษาที่ 1/2553 มี 8 ขั้นตอน ดังนี้ 1) เข้าระบบอินทราเน็ต ของ มหาวิทยาลัย http://www.yonok.ac.th/intranet 2) เข้าระบบของบุคลากร (Employees) 3) ลงชื่อเข้าใช้ (Signin) 4) เข้าประวัติส่วนตัว (Profile) 5) เข้าข้อตกลงภาระงานคณาจารย์ 6) กรอกข้อมูล 7) ส่งออกไปยัง Microsoft Word 8) พิมพ์ เซ็น และเสนอผู้บังคับบัญชา .. แต่ทำไม่ได้ เพราะ login เข้าสู่ระบบไม่ผ่าน

ตรวจสอบ code ก็ไม่น่ามีปัญหา เพราะเวลาแฟ้ม code ไม่เปลี่ยนไปจากเมื่อวาน ที่ยังใช้งานได้ปกติ จึงคัดลอก code ออกมาเปลี่ยนชื่ออีกแฟ้ม เพื่อไม่ให้กระทบรุ่นเดิม ก็ไม่พบปัญหาใน code แต่พบในบรรทัดที่เชื่อมต่อกับฐานข้อมูลตอนที่ select จึงใช้ phpmyadmin เข้าไปตรวจ ก็พบว่าตาราง hang จึง reboot เครื่อง เพราะใช้ยาแรง ถ้าใช้ยาอ่อน ผมจะ restart service ของ mysql แต่ไม่อยากเสียเวลา กำลังมีอารมณ์ด้วยครับ

หลัง reboot เครื่องก็พบว่าใช้ phpmyadmin เข้า mysql ได้ปกติ และเป็นผลให้จัดทำวีดีโอสาธิตรุ่น 1 ได้สำเร็จ เพราะรุ่นที่สมบูรณ์จะรอจากคุณธรณินทร์ .. แต่เรื่องที่ผมทำมีพูดผิดชัดเจนแบบให้อภัยได้ 1 จุด (จะใครสังเกตพบบ้างนะ) ถ้าตั้งใจฟังจะรู้ครับ แม้ไม่ใช่บุคลากรของมหาวิทยาลัยก็ตาม

แบบฟอร์มข้อตกลงการปฏิบัติงานรุ่น 1

แบบฟอร์มข้อตกลงการปฏิบัติงาน
แบบฟอร์มข้อตกลงการปฏิบัติงาน

19 ส.ค.53 ฟอร์มกรอกข้อมูล ข้อตกลงการปฏิบัติงาน รุ่น 1. ที่จะส่งออกมาเป็น Microsoftword เสนอผู้บังคับบัญชา ส่วนในระบบข้อมูลจะัจัดทำสรุป จัดกลุ่ม และรวมชั่วโมง และแยกกิจกรรม เป็นรายงานภาระงานภาพรวมของมหาวิทยาลัยอัตโน มัติในลำดับต่อไป .. ซึ่ง รุ่นที่ 2 จะมีการทำงานร่วมกับงานบุคคล ฝ่ายบริหาร ฝ่ายวิชาการ และคณะวิชา แล้วตีความประกาศที่ผมพบเมื่อวานบ่ายอีกครั้ง .. งานนี้คงเหนื่อยคุณธรณินทร์ คุณอนุชิต และคุณอรรถชัย อยู่ไม่น้อย

กรรมการประเมินคุณภาพเข้าโยนกอีกครั้ง

ผู้ประเมิน กับผู้ถูกประเมิน
ผู้ประเมิน กับผู้ถูกประเมิน
ที่ห้องประชุมอาคาร ดร.เทียม โชควัฒนา ในระหว่างวันที่ 16 – 18 สิงหาคม 2553 ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษา ในระดับมหาวิทยาลัย ตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เข้าตรวจสอบผลหลักฐานตามผลการประเมินตนเอง ประจำปีการศึกษา 2552 โดยนำทีมผู้ประเมินโดย ผศ.ดร.ประสาร วงศ์ มณีรุ่ง และผู้ประเมินอีก 3 ท่านคือ รศ.ดร.ธีรา  สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา ผศ.เสาวณี  ใจรักษ์ รศ.อุษณีย์ คำประกอบ
โดยครั้งนี้มี อ.อติชาต หาญชาญชัย นำทีมผู้บริหารของมหาวิทยาลัยโยนก ให้การต้อนรับ ซึ่งผู้บริหารประกอบด้วย อ.ภาณี อ.อดิศักดิ์  อ.อาภาพร อ.กฤตภาส อ.เกศริน อ.ชินพันธ์ และอ.คนึงสุข และมี อ.วันชาติ นภาศรี และ อ.อุษณีย์ ณ น่าน ให้การดูแลใกล้ชิด ตลอดการประเมินทั้ง 3 วัน ในภาพยังมี อ.แป๋ว พี่ทอง และพี่นาย คอยดูแลองค์ประกอบ และเอกสารที่ผู้ประเมินต้องการตรวจสอบร่องรอย .. และเชื่อว่าทุกอย่างจะผ่านไปได้ด้วยความเรียบร้อย
+ http://www.yonok.ac.th/info

กรรมการประเมินคุณภาพเข้าโยนกอีกครั้ง ที่ห้องประชุมอาคาร ดร.เทียม โชควัฒนา ในระหว่างวันที่ 16 – 18 สิงหาคม 2553 ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษา ในระดับมหาวิทยาลัย ตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เข้าตรวจสอบผลหลักฐานตามผลการประเมินตนเอง ประจำปีการศึกษา 2552 โดยนำทีมผู้ประเมินโดย ผศ.ดร.ประสาร วงศ์ มณีรุ่ง และผู้ประเมินอีก 3 ท่านคือ รศ.ดร.ธีรา  สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา ผศ.เสาวณี  ใจรักษ์ รศ.อุษณีย์ คำประกอบ โดยครั้งนี้มี อ.อติชาต หาญชาญชัย นำทีมผู้บริหารของมหาวิทยาลัยโยนก ให้การต้อนรับ ซึ่งผู้บริหารประกอบด้วย อ.ภาณี อ.อดิศักดิ์  อ.อาภาพร อ.กฤตภาส อ.เกศริน อ.ชินพันธ์ และอ.คนึงสุข และมี อ.วันชาติ นภาศรี และ อ.อุษณีย์ ณ น่าน ให้การดูแลใกล้ชิด ตลอดการประเมินทั้ง 3 วัน ในภาพยังมี อ.แป๋ว พี่ทอง และพี่นาย คอยดูแลองค์ประกอบ และเอกสารที่ผู้ประเมินต้องการตรวจสอบร่องรอย .. และเชื่อว่าทุกอย่างจะผ่านไปได้ด้วยความเรียบร้อย

ภาพรวม เข้าประเมิน 53
ภาพรวม เข้าประเมิน 53

+ http://www.yonok.ac.th/info

ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบสารสนเทศ 1/53

1 ส.ค.53 การประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบสารสนเทศ ครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันที่ 30 ก.ค.53 13.30น. – 14.30น. ณ  ห้องประชุม ดร.เทียม โชควัฒนา เพื่อทบทวน รายงาน ติดตาม และพิจารณากิจกรรมโครงการที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนการดำเนินงานทุกหลักสูตร ที่ทำงานร่วมกันเชิงบูรณาการในรูปคณะกรรมการ มีวาระสำคัญ 2 วาระคือ 1) วิพากษ์แผนระบบสารสนเทศ และ 2) พิจารณาโครงการอบรมการปรับแต่งภาพขั้นพื้นฐาน สำหรับกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่ม โดยมีผู้ร่วมประชุม 10 ท่านประกอบด้วย 1) รศ.อรวรรณ ทิตย์วรรณ 2) อาจารย์อติชาต หาญชาญชัย 3) ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ 4) อาจารย์อัศนีย์ ณ น่าน 5) อาจารย์เกศณีย์ สัตตรัตนขจร 6) อาจารย์บุญรักษา ปัญญายืน 7) อาจารย์ปาริชาต สอนสมบูรณ์ 8) อาจารย์กฤตภาศ เสมอพิทักษ์ 9) นางเจนจิรา เชิงดี 10) นางสาวอนุสรา สัญญารักษกุล 11) นางกานต์ เลิศวิภาภัทร 12) นางปริศนา เขียวอุไร 13) นางสาวเรณู อินทะวงศ์ 14) นางลัดดาวรรณ เรือนทัศนีย์ 15) นางสาวกัลยา รังสรรค์ 16) นายอรรถชัย เตชะสาย 17) นายอนุชิต ยอดใจยา 18) นายธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ และ 19) นางสาวศิริพร ยาสมุทร
มติตามวาระที่สำคัญคือ ปรับรายละเอียดในแผนระบบสารสนเทศตามผลการวิพากษ์ของคณะกรรมการ และเห็นชอบตามข้อเสนอโครงการการปรับแต่งภาพขั้นพื้นฐานที่จะดำเนินการขออนุมัติตามขั้นตอนต่อไป

บทบาทโดราเอมอน

31 ก.ค.53 กรณีศึกษา เมื่อวานได้รับมอบหมาย บทบาทใหม่คือ โดราเอมอน เหตุเกิดเพราะผมร่วมเป็นคณะกรรมการวิทยฐานะ ของสถาบันตามเกณฑ์ใหม่ของสกอ. และคณะต้องเตรียมเอกสาร แต่เอกสารมีหลายเล่ม ผู้บอกและผู้ใช้ก็ยังไม่ทราบว่าต้องใช้เล่มใดบ้าง จึงมอบกระเป๋าผ้าให้ผมใบหนึ่งให้ผมเก็บรักษา หากมีการประชุมวิพากษ์ และต้องการใช้เล่มใดก็ให้ผมหยิบให้ และดูแลนำกลับมาอย่างปลอดภัย
     สิ่งที่อยู่ในกระเป้าผ้าประกอบด้วย 1) รายงานผลประชุมวิชาการพัฒนาหลักสูตร 2551 2) รายงานผลประชุมวิชาการพัฒนาหลักสูตรสาธารณสุข 2553 3) รายงานการอบรมผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน หลักสูตร 4 รุ่น 2 4) รายงานการเข้าร่วมประชุมนานาชาติเรื่อง เศรษฐกิจสร้างสรรค์ภาคเหนือ 5) รายงานผลการดำเนินงานโครงการศึกษาดูงานนอกสถานที่ 6) รายงาน เรื่องการศึกษาดูงานการบริหารจัดการหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต 7) รายงานผลการดำเนินงานโครงการการประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ 8) รายงานผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิชาการในระดับชาติ 9) รายงานผลการเผยแพร่ผลงานวิจัยเรื่อง implementation of social network application to provide dynamic knowledge management for cluster 10) รายงานผลการดำเนินงานโครงการวิจัยเรื่อง sustainable e-tourism
     .. ทบทวนครับว่ามีอะไรในกระเป๋าบ้าง เผื่อถูกถามจริงจริงจังจังขึ้นมา จะได้ควักทันควัน .. โดยปกตินักคอมพิวเตอร์เรามีกระบวนการว่า input process output และสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ผมเรียกว่าขั้นตอนหนึ่งของ process

ผลดำเนินการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา

http://www.yonok.ac.th/grade

9 มิ.ย.53 กรณีศึกษาการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา ซึ่งเป็นแผนแรกที่ใช้กลไกของอาจารย์ผู้สอนเป็นสำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา และใช้วิธีการติดตามจากอาจารย์ที่ปรึกษาเข้าไปเสริมกระบวนการในชั้นเรียน เพื่อป้องกันความผิดพลาดจากการเรียนการสอนตามปกติ โดยมี 5 กิจกรรมดังนี้
     1. ตรวจสอบข้อมูลและผลการเรียนของนักศึกษาเป็นรายบุคคลแล้วพบว่า นาย … รหัส … สาขา… มีผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ แต่เรียนจนครบหลักสูตรแล้ว จึงจำเป็นต้องลงทะเบียนเพิ่มในภาคเรียนฤดูร้อน เพื่อให้มีผลการเรียนเฉลี่ยสูงกว่า 2.0
     2. ประมวลผลเพื่อหาผลการเรียนที่จะทำให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาได้ โดยใช้บริการประมวลผลจากระบบรายงานผลการเรียนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยโยนก ที่พัฒนาโดยงานทะเบียนและประมวลผลที่ http://www.yonok.ac.th/grade แล้วพบว่านักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนอีกอย่างน้อย 3 วิชา รวมกับวิชาโครงงานระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ที่ลงทะเบียนไว้ก่อนหน้านี้อีก 1 วิชา เป็นทั้งหมด 4 วิชา โดยผลการเรียนควรได้เกรด A อย่างน้อยจำนวน 3 วิชาและ C+ จำนวน 1 วิชา ซึ่งศึกษาความเป็นไปได้แล้วพบว่ามี 3 วิชา คือ …  ส่วนวิชา … จะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในภาคเรียนฤดูร้อนนี้ เนื่องจากเป็นวิชาที่ลงทะเบียนไว้ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551
     3. การพัฒนานักศึกษาด้วยการติดตามจากอาจารย์ผู้สอนเกี่ยวกับการเข้าเรียน การส่งงาน และความคิดเห็นของผู้สอนแต่ละวิชา พบว่าในภาพรวมแล้วนักศึกษาเข้าเรียนทุกวิชาอย่างสม่ำเสมอ และตั้งใจเรียน ซึ่งมีข้อมูลจากอาจารย์ผู้สอนแต่ละท่านดังนี้  … ผู้สอนวิชา … ให้ข้อมูลว่านักศึกษาเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ และเชื่อว่าไม่มีปัญหาต่อผลการเรียน … ผู้สอนวิชา … ให้ข้อมูลว่านักศึกษาตั้งใจอ่านหนังสือ และพฤติกรรมในชั้นเรียนเป็นที่น่าพอใจ … ผู้สอนวิชา … ให้ข้อมูลว่าได้จัดการสอนและการประเมินผลของนักศึกษาคนนี้เป็นพิเศษ และกิจกรรมที่ผ่านมาผลการเรียนของนักศึกษาน่าจะได้ตามที่คาดไว้ ส่วน … ผู้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิชา … ให้ข้อมูลว่านักศึกษามาพบอย่างสม่ำเสมอ และรายงานความก้าวหน้าในการพัฒนาโปรแกรมอย่างต่อเนื่อง เป็นที่เชื่อได้ว่าผลการเรียนจะอยู่ในระดับที่น่าพอใจ
     4. ก่อนสอบปลายภาคได้นัดให้นักศึกษามาพบ และทำความเข้าใจกับนักศึกษาว่าต้องตั้งใจอ่านหนังสือ แล้วให้นักศึกษารายงานปากเปล่าถึงกิจกรรม และการสรุปผลการเรียนที่ผ่านมา ซึ่งนักศึกษาสามารถอธิบายเนื้อหาวิชาแต่ละวิชาได้อย่างเข้าใจ และนำเสนองานในวิชาโครงงานที่เป็นรูปธรรม ซึ่งผลการประเมินในเบื้องต้นเชื่อว่านักศึกษาจะได้ผลการเรียนสูง และได้สอบถามจากอาจารย์ผู้สอนแต่ละท่านก็พอใจในพฤติกรรมของนักศึกษาที่มีในชั้นเรียนในระดับสูง
     5. ผลการเรียนหลังสอบปลายภาค ประจำภาคเรียนฤดูร้อน ปีการศึกษา 2552 พบว่านักศึกษามีผลการเรียนดังนี้ ในระดับ … จำนวน 4 วิชา ซึ่งผลการเรียนเฉลี่ยที่มีการประมวลผลโดยงานทะเบียนฯ เป็น … เป็นผลให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาด้วยระดับคะแนนที่สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ในหลักสูตร
+ takecare_sittikorn.doc

สถิติสื่อต่อนักศึกษาเมื่อมิถุนายน 2552

สถิติ มิ.ย.2552

9 มิ.ย.53 วันนี้ไปแก้โปรแกรมรับเงินผ่อนค่าลงทะเบียน กับรายงานเพิ่ม-ลดกระบวนวิชา ของฝ่ายการเงิน มีโอกาสได้คุยกับคุณลัดดาวรรณ เรือนทัศนีย์ (คุณน้อย) ฝ่ายทะเบียน ที่ย้ายห้องทำงานชั่วคราวมาที่นั่น ก็เล่าให้ฟังว่าปีที่แล้ว (มิ.ย.52) ได้จัดทำข้อมูลเชิงสถิติมากมายเกี่ยวกับจำนวนนักศึกษาเสนอผู้บริหารทุกสัปดาห์ หนึ่งในตารางข้อมูลคือ ชนิดของสื่อที่ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีสถิติว่า 3 อันดับแรกที่ให้ข้อมูลข่าวสารถึงกลุ่มเป้าหมายคือ 1) เว็บไซต์มหาวิทยาลัย 2) ป้ายประชาสัมพันธ์ 3) แผ่นพับ มีรายละเอียดอื่นตามภาพ

ผลประเมินการอบรมและวิพากษ์ข้อมูลพื้นฐาน

7 มิ.ย.53 เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.53 ที่ผ่านมา มีเวทีที่จัดโดยงานประกันคุณภาพ อ.อัศนีย์ ณ น่าน และเป็นเสมือนการอบรมนักวิจัยในการใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นและความพึงพอใจในการใช้งานโปรแกรมไปพร้อมกัน พบว่า ผลประเมิน 5 คำถามมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X=3.96, S.D=0.65)
     โดยแบบสอบถามในครั้งนี้มุ่งสร้างการรับรู้แก่ผู้ร่วมวิพากษ์ โดยใช้คำถามนำที่มุ่งไปสู่การให้ความสำคัญกับหลักฐาน การรับรู้เรื่องข้อมูลพื้นฐาน การมีส่วนร่วมจากบุคลากร การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อการประกันคุณภาพ และการมติสำหรับการจัดอบรมเพิ่มเติม ซึ่งสรุปความคิดเห็น/ความพึงพอใจได้ว่า
     1) บุคลากรเชื่อว่าการใช้ระบบฐานข้อมูล ช่วยรวบรวมหลักฐานจากแต่ละบุคคลสู่คณะ และมหาวิทยาลัย นำมาตรวจสอบการอ้างอิงตามเกณฑ์มาตรฐานได้ง่าย อยู่ในระดับมาก (X=4,S.D=0.55)
     2) บุคลากรเชื่อว่าการใช้ระบบฐานข้อมูล สามารถเป็นแหล่งรวบรวมเปรียบเทียบข้อมูลพื้นฐาน (CDS) จากหน่วยงาน และคณะวิชาให้ตรงกับข้อมูลในตัวบ่งชี้ อยู่ในระดับมาก (X=3.86,S.D=0.53)
     3) บุคลากรเห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า “หลักฐานส่วนหนึ่งมาจากการดำเนินงานของบุคลากรหรือคณะกรรมการ หากผู้รับผิดชอบส่งข้อมูลเข้าระบบฐานข้อมูล แล้วคณะวิชาหรือมหาวิทยาลัยนำไปใช้อ้างอิงตามตัวบ่งชี้ ก็จะแสดงการมีส่วนร่วมจากบุคลากร” อยู่ในระดับมาก (X=4.14,S.D=0.53)
     4) ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และปีนี้เป็นปีที่ 3 แล้วท่านสนับสนุนหรือเห็นด้วยกับการให้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อการประเมินตนเอง อยู่ในระดับมาก (X=3.79,S.D=0.43)
     5) ถ้ามีการจัดอบรมการใช้ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง เพื่อนำข้อมูลเข้าตามเกณฑ์ ตัวบ่งชี้ หรือข้อมูลพื้นฐาน บุคลากรเห็นว่าควรมีการจัดอบรมขึ้นอีกครั้ง อยู่ในระดับมาก (X=4,S.D=1.04)
+ http://www.thaiall.com/research/sar52/sar_530601_cds.xls

เตรียมเอกสารอบรมส่งข้อมูลระดับบุคคลเพื่องานประกันคุณภาพ

5 มิ.ย.53 เตรียมเอกสารการอบรมการส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลประเมินตนเองระดับบุคคล ปีนี้เป็นปีแรกที่มี อ.อัศนีย์ ณ น่าน มารับงานประกันคุณภาพ และท่านอธิการให้การสนับสนุนการมีส่วนร่วมจากระดับบุคคล เกิดกระบวนการส่งเสริมการทำงานร่วมกัน สร้างความเข้าใจในการประกันคุณภาพอย่างมีส่วนร่วม และพัฒนาทรัพยากรบุคคลเชิงบูรณาการ กิจกรรมในการอบรมภายใน 1 ชั่วโมงประกอบด้วยการชี้แจงโดยตัวแทนฝ่ายประกัน และอบรมการส่งข้อมูลเข้าตามเกณฑ์มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบ และประเมินผล ซึ่งการติดตามจะมีกลไกของงานวิจัยมาขับเคลื่อน
     ซึ่งรายการเอกสารหลักฐานเป็นสิ่งที่บุคลากรต้องไปพูดคุยแลกเปลี่ยนในหน่วยงานของตน หรือเป็นที่ต้องการของคณะวิชา หรือมหาวิทยาลัย ว่ามีอะไรที่ต้องใช้ในเกณฑ์ใด เพราะมหาวิทยาลัยดำเนินการตามเกณฑ์นี้มาแล้วสามปี ปีนี้เป็นปีสุดท้ายที่จะใช้เกณฑ์ชุดนี้ ก่อนใช้เกณฑ์ใหม่ ส่วนคณะวิชาจะถูกเชิญมารับการอบรมในการดึงข้อมูลที่แต่ละบุคคลส่งเข้าไป มาใช้อ้างอิง หรือประสานกลับไปสำหรับรายละเอียดของเนื้อหา ความสมบูรณ์ และรูปเล่มเป็นลำดับต่อไป วันนี้จัดทำแบบสอบถามการอบรมครั้งนี้ และใบเซ็นชื่อ ส่วนแบบสอบถามที่ใช้วิพากษ์ข้อมูลพื้นฐานอยู่ที่มหาวิทยาลัยและจะประมวลผลเป็นลำดับต่อไป
+ http://www.thaiall.com/research/sar52/52_sar_person.doc
+ http://www.thaiall.com/research/sar52/ques_sar52_530601.doc
+ http://www.thaiall.com/research/sar52/ques_sar52_53060708.doc

ปรับนิยามเกณฑ์การประเมินบุคลากรนิดหน่อย

21 เม.ย.53 มีโอกาสประเมินเพื่อนร่วมงาน (evaluation) โดยฝ่ายทรัพยากรบุคคลส่งแบบประเมิน ที่ใช้คะแนน 5 ระดับ แบ่งคำถามเป็น 3 กลุ่ม 1) เกี่ยวกับงาน 2 ) เกี่ยวกับลักษณะบุคคล 3 ) ด้านอื่น ผมใช้วิธีส่งเกณฑ์ประเมินให้เพื่อนร่วมงานประเมินตนเองแบบปากเปล่า แล้วส่งผลที่ผมประเมินให้เขาพิจารณาก่อนเซ็นให้ความเห็นชอบ พบว่าเพื่อนร่วมงานทุกคนประเมินตนเองต่ำกว่าที่ผมประเมิน .. วิธีนี้ทำให้ทุกคนยอมรับผลประเมินของผมมากกว่าให้เขารับผลประเมินจากผมด้านเดียว
     ซึ่งสรุปได้ว่ามีคำถามทั้งหมด 20 ข้อรวมเต็ม 100 คะแนน ประกอบด้วย 1) ความรู้พื้นฐาน หมายถึง ความรู้ในงานตามหน้าที่อย่างครบถ้วน มีความเข้าใจ และทราบขั้นตอนการปฏิบัติงานลุล่วงสำเร็จตามภารกิจ 2) ความรอบรู้ในภารกิจ หมายถึง ความสามารถในการที่จะทำงานให้สำเร็จ และได้ผลดีที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ 3) การเรียนรู้งาน หมายถึง ความสามารถในการเรียนรู้ที่จะปฏิบัติงานได้ตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง 4) ความตั้งใจ ใส่ใจในการทำงาน หมายถึง การอุทิศตนเอง และทำงานเต็มความสามารถ 5) ความรับผิดชอบ หมายถึง ความใส่ใจในรายละเอียดให้งานบรรลุตามเป้าหมายและกรอบเวลา 6) มีการมาทำงาน สาย หรือขาดงาน ไม่เกิน 10% ของวันทำการ หรือไม่เกิน 3 วัน  7) การเข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัยจะอนุโลมตามหลักการให้คะแนนของข้อ 6 8 ) การประสานงาน หมายถึง ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น สื่อสาร ให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ 9) ความคิดริเริ่ม หมายถึง ความสามารถให้ข้อเสนอแนะ คิดงานใหม่ให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม 10) ความไว้วางใจ หมายถึง มีความละเอียด รอบคอบ ตั้งใจ ติดตามงา โดยไม่ต้องถูกควบคุมใกล้ชิดตลอดเวลา 11) การใช้ทรัพยากร หมายถึง ประหยัด มีหลักในการใช้จ่าย และใช้อุปกรณ์สำนักงานเสมือนเป็นของตน 12) การวางแผนจัดระบบงาน หมายถึง ความสามารถวางแผน คาดการณ์ กำหนดวัตถุประสงค์ ตัวบ่งชี้ และเป้าหมายได้ชัดเจน 13) การตัดสินใจแก้ปัญหา หมายถึง ความสามารถแก้ปัญหาในหน้าที่ที่รับผิดชอบให้ลุล่วง 14) ทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการพูด เขียน หรือสื่อสารได้ถูกต้องชัดเจน 15) ความเป็นผู้นำ หมายถึง ความสามารถและมีทักษะนำหน่วยงานให้ปฏิบัติภารกิจได้สำเร็จ 16) การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา หมายถึง  ความสนใจแนะนำ พัฒนาศักยภาพของเพื่อนร่วมงานอยู่เสมอ 17) การมีมนุษยสัมพันธ์ หมายถึง มีความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น 18) นวัตกรรม หมายถึง ความสามารถประยุกต์หรือพัฒนางานแนวใหม่อย่างมีคุณภาพ 19) คุณภาพของงาน หมายถึง ความถูกต้อง ความประณีต ความเรียบร้อย ของการทำงานทันเวลาตามเป้าหมายที่กำหนด 20) ปริมาณงาน หมายถึง ผลงานที่สามารถจะทำได้สำเร็จตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย หรือในเวลาที่ควรจะต้องทำ