แนวความคิดทางการบริหารของ ฮาร์โรลด์ ดี คูนซ์ (Harold D. Koontz)

principles of management
Principles of Management

การบริหารเป็นการดำเนินการที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับการรวมตัวกันของมนุษย์ ในขณะที่มนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มนั้น จำเป็นที่มนุษย์ต้องพยายามหาแนวทางหรือวิธีการควบคุมดูแลกันเองภายในกลุ่มให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมทั้งตอบสนองความต้องการของตนเอง ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงต้องทำความรู้จักกับคำว่า “การบริหาร” เพื่อควบคุมดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อย และเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ในสมัยอดีต มีความพยายามแสวงหาวิธีการในการบริหารให้ได้ผลตามที่ตนเอง กลุ่ม หรือองค์กรต้องการ การบริหารจึงเกิดขึ้นในทุกภาคส่วนของสังคม เช่น การบริหารบุคคล การบริหารองค์กร และการบริหารประเทศ สำหรับแนวความคิดและทฤษฎีทางการบริหารในสมัยใหม่ที่เริ่มมีการศึกษาอย่างจริงจังนั้น เริ่มขึ้นเมื่อราวหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมานี้เอง โดยแนวความคิดที่เป็นจุดเริ่มของการศึกษาทางการบริหารยุคใหม่ ได้แก่ แนวความคิดของ Frederick W. Taylor ซึ่งนำเอาหลักวิทยาศาสตร์มาใช้ในการบริหาร โดยเสนอแนวความคิด วิทยาศาสตร์การจัดการ (Scientific Management) ขึ้น และทำให้การศึกษาการบริหารมีการศึกษากันอย่างจริงจัง และมีการพัฒนาต่อเนื่องกันมาโดยตลอด พัฒนาการของแนวความคิดและทฤษฎีการบริหารจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง และเทคโนโลยี การนำแนวความคิดและทฤษฎีการบริหารมาใช้ในการบริหารงานนั้น จะแตกต่างกันออกไปตามแนวทางหรือความสนใจของแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ หรือผู้บริหารองค์กร

การบริหารองค์กรในทางวิชาการ เสนอว่า ควรดำเนินการเป็นกระบวนการ คือ ทำไปตามลำดับขั้นตอนต่อเนื่องตลอดเวลา ไม่มีการขาดตอน การจำแนกขั้นตอนการบริหารที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ ได้แก่ แนวความคิดทางการบริหารของ ฮาร์โรลด์ ดี คูนซ์ (Harold D. Koontz) ได้กำหนดกระบวนการบริหารไว้เป็น 5 ประการ คือ การวางแผน (Planning) การจัดองค์การ (Organizing) การเจ้าหน้าที่ (Staffing) การอำนวยการ  (Directing) และการควบคุมงาน (Controlling) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. การวางแผน (Planning)
เป็นกระบวนการในการกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ นโยบาย โครงสร้าง และวิธีการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุผลในอนาคต ทั้งนี้ผู้บริหารต้องมีความสามารถในการพยากรณ์เหตุการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง รวมทั้งต้องมีการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดมาปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความแม่นยำในการคาดคะเนผลที่จะได้รับ ให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

2. การจัดองค์กร (Organizing)
เป็นการกำหนดรูปแบบโครงสร้างขององค์กร  จัดระบบ ระเบียบการทำงานขององค์กร เพื่อให้เกิดความสะดวกในการมอบหมายงาน หรือการสั่งการ มีการกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละส่วนงานอย่างชัดเจนเพื่อหลีกเลี่ยงการทำงานที่ซ้ำซ้อน

3. การจัดคนเข้าทำงาน (Staffing)
การจัดคนเข้าทำงาน หรือการบริหารงานบุคคล เป็นการจัดการเกี่ยวกับบุคคล นับตั้งแต่การสรรหา คัดเลือกบุคคลเข้าปฏิบัติงาน การดูแลบำรุงรักษา การแต่งตั้ง โยกย้าย การพัฒนา จนกระทั่งพ้นไปจากการปฏิบัติงาน นับว่าเป็นกระบวนการบริหารจัดการทั้งหมดเกี่ยวกับคน หรือ บุคลากร ที่จะสามารถปฏิบัติงานให้กับองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

4. การอำนวยการ (Directing)
การอำนวยการ หรือการสั่งการ เป็นภาระหน้าที่ของผู้บริหารในการใช้ความสามารถชักจูงบุคลากรให้ ปฏิบัติงานและมีความกระตือรือร้นในการที่จะทำงานให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้องค์กรสามารถทำงานบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องมีภาวะผู้นำ  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และใช้ศิลปะในการบังคับบัญชา

5. การควบคุม (Controlling)
การควบคุม เป็นการติดตาม ตรวจสอบการปฏิบัติงานของบุคคลในองค์กรเพื่อให้งานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการปฏิบัติงานตามหน้าที่ได้รับมอบหมายหรือหน้าที่ที่กำหนดไว้หรือไม่ การทำงานเป็นไปตามมาตรฐานที่องค์กรกำหนดหรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไรเพื่อนำไปสู่การทำการแก้ไข การควบคุมอาจตรวจสอบจากการใช้งบประมาณ การตรวจงาน  การรายงานผลการปฏิบัติงาน หรือการประเมินผลการปฏิบัติงาน

เรียบเรียงโดย ปฏิญญา ธรรมเมือง



หนังสือ Principles of management , Fourth Edition
หน้า 3 พูดถึง Process of Managment โดย Harold D. Koontz
+ https://books.google.co.th/books?id=trMz8Jy89C8C
+ https://en.wikipedia.org/wiki/Harold_Koontz
+ http://hacha555.blogspot.com/2013/07/harold-koonz.html

สมการหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเกิดขึ้น

framework
framework

การจัดการองค์กรในปัจจุบันจำเป็นต้องประยุกต์ใช้สารสนเทศ แต่สารสนเทศที่ดีจำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ แล้วมีการใช้สารสนเทศเพื่อสนับสนุน กำกับการทำงานให้มีประสิทธิภาพตอบเป้าหมายขององค์กร ทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับการจัดการ ระดับบริหาร และระดับนโยบาย

ดังนั้นกรอบแนวคิดของการได้สารสนเทศมาเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทุกระดับ คือ การมีเว็บไซต์ที่ทุกฝ่ายเข้าถึงได้ (Website) การใช้กระบวนการจัดการกำกับให้มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล (POSDC) การพัฒนาระบบเป็นวงจร (ADDIE) การจัดการความรู้ที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย (KM) และประเด็นสารสนเทศที่พัฒนาได้แก่ ระบบฐานข้อมูลเนื้อหาของหน่วยงานที่นำเสนอผ่านเว็บไซต์ (Content Management) ระบบรายงานผลการเรียนให้นิสิตได้ทราบระดับความสามารถของตนเองเพื่อการพัฒนาต่อไป (Online Grade Report) ระบบประเมินการเรียนการสอน และสิ่งสนับสนุนให้อาจารย์และผู้เกี่ยวข้องได้ข้อมูลย้อนกลับจากนิสิตมาปรับปรุงงานของตน (Teaching Evaluation)

โดยสารสนเทศที่ได้มาจากระบบจะกลับเข้าสู่ระบบบริหารจัดการองค์กร เข้าสู่ระบบในระดับนโยบายเพื่อกำหนดแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ แผนงาน/โครงการ ตามเป้าหมายของสถาบัน และสนับสนุนให้การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีคุณภาพ เกิดการบูรณาการ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องต่อไป

นิยามศัพท์

W (Website) คือ แหล่งสารสนเทศให้บุคลากร นักศึกษา และผู้สนใจเข้าถึงได้

POSDC คือ กระบวนการจัดการ ของ แฮร์โรลด์ คูนตซ์

ADDIE คือ โมเดลการพัฒนาระบบ

KM คือ การจัดการความรู้ เสนอโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

C (Content Management) คือ ระบบจัดการเนื้อหาที่ดูแลโดยหน่วยงานต่าง ๆ

G (Online Grade Report) คือ ระบบรายงานผลการเรียนสำหรับนักศึกษา

E (Teaching Evaluation) คือ ระบบประเมินการเรียนการสอนของอาจารย์ และสิ่งสนับสนุน

I (Information) คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร และผู้บริหาร

Tea party

tea party
tea party

กรณีศึกษา tea party #KnowledgeManagement
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เปิดให้บุคลากร
ได้มาพบปะ เป็นการละลายพฤติกรรมที่นิยมในหลายองค์กร
แบบ mouth to mouth หรือ mouth ๆ นั่นเอง
องค์กรใดสนใจ หยิบจับไปทำได้นะครับ
นั่งล้อมวงซดกาแฟ ชา และขนมปังกรอบกัน

ร้านอาหารญี่ปุ่นใช้หุ่นยนต์แห่งแรกในไทย

ร้านอาหารญี่ปุ่นใช้หุ่นยนต์แห่งแรกในไทย
ร้านอาหารญี่ปุ่นใช้หุ่นยนต์แห่งแรกในไทย

ร้านอาหารญี่ปุ่น ฮาจิเมะ (Hajime Robot Restaurant) คือ ร้านอาหารญี่ปุ่นสไตล์ปิ้งย่าง ใช้หุ่นยนต์อัจฉริยะเสิร์ฟแทนมนุษย์แห่งแรกในไทย ให้ประสบการณ์แปลกใหม่  ด้วยหุ่นยนต์อัจฉริยะที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่น ที่สามารถแสดงอารมณ์ เต้นรำตามจังหวะเพลง และเสิร์ฟอาหาร ซึ่งในร้านมีหุ่นยนต์ทำหน้าที่จัดเตรียมอาหารในครัว รับถาดอาหาร และวิ่งตามรางนำไปเสิร์ฟตามโต๊ะ ลูกค้าสั่งอาหารผ่านหน้าจอสัมผัส (Touch Screen) ที่โต๊ะอาหาร บนพื้นที่กว่า 450 ตารางเมตร บนชั้น 3 ของ โมโนโพลี พาร์ค (Monopoly Park) มีบุฟเฟ่ต์บาร์บีคิว 499 บาท หรือบุฟเฟ่ต์ชาบู 359 บาท
http://eat.edtguide.com/328387_hajime-robot-restaurant1
http://www.applicadthai.com/business/it-update/hajime-robot

เรื่องเล่าเกี่ยวกับ ความซื่อสัตย์ และวิธีการสอนคน

คุณครูขับรถฝ่าไฟแดง
คุณครูขับรถฝ่าไฟแดง

หัวหน้า แชร์เข้ากลุ่มของหัวหน้า .. เหมือนกับแนะให้ดูตัวอย่างเรื่องความซื่อสัตย์

* เรื่องราวมีอยู่ว่า

ครูหญิงสูงวัยถูกส่งขึ้นศาลข้อหาขับรถฝ่าไฟแดง
พอรู้ว่ามีอาชีพเป็นครู ผู้พิพากษาก็หัวเราะแล้วพูดว่า
ผมรอครูมาขึ้นศาลนานแล้ว
(ท่าทางเก็บกด)
ศาลขอสั่งปรับ ๑๐๐๐ บาท แล้วให้คัดลายมือ
สามหน้ากระดาษ “ชั้นจะไม่ขับรถฝ่าไฟแดงอีก

https://www.facebook.com/69gagInThai/photos/a.572259152837836.1073741825.342532065810547/932273583503056/

* ผมว่าคุณครูของผู้พิพากษา .. สอนเด็กได้เยี่ยมมาก

1. สอนให้ .. ผู้พิพากษา .. ไม่เห็นแก่คนที่มีอาชีพครู
ตัดสินด้วยความซื่อสัตย์ ตามหลักฐาน ตามกฎเกณฑ์
2. สอนให้.. ผู้พิพากษา .. รู้ว่าการคัดคำซ้ำ ๆ จะช่วยให้จำได้
ที่ผู้พิพากษาได้ดี และประสบความสำเร็จได้ .. คงเพราะวิธีนี้
จึงใช้วิธีนี้เสมือนลงโทษครู แต่เป็นการช่วยให้ครูไม่ทำผิดอีก

แล้วถ้าเพื่อน ๆ เป็นผู้พิพากษา จะเห็นแก่อาชีพของผู้ทำผิดกฎหมายรึเปล่า
แล้วปล่อยตัว เพราะท่านเป็นครูหญิงสูงวัย

เสนอว่า ตอบให้เข้ากับการเมืองไทยยุคนี้หน่อยนะครับ

ร่วมประชุม NCCIT 2015 มีประเด็นมากมายที่น่าสนใจ

NCCIT 2015
NCCIT 2015

2-3 กรกฎาคม 2558 มีโอกาสไปฟังการนำเสนอผลงานบทความจากการวิจัย
ของอาจารย์ และนักศึกษา ในการประชุมวิชาการระดับชาติ NCCIT 2015
ประธานจัดงานคือ Assoc.Prof.Dr.Phayung Meesad
http://www.nccit.net

มี key note 2 ท่าน
1. Prof.Dr.Nicolai Petkov
Brain-inspired pattern recognition
2. Assoc.Prof.Dr.Andrew Woodward
An uncomfortable change: shifting perceptions to establish pragmatic cyber security

ประเด็นห้องที่ผมสนใจ คือ
Information Technology and Computer Education
วันที่ 2 กรกฎาคม 2558
1. ศึกษาการยอมรับการใช้แอพพลิเคชันบนมือถือ
A Study The Acceptance of Mobile Application
Passana Ekudompong and Sirirak Khanthanurak

2. การพัฒนาระบบการจัดกลุ่มสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยระบบทศนิยมดิวอี้
Development of the System for Electronic Media Classification by
Using the Dewey Decimal Classification System
Worapapha Arreerard,Laongthip Maturos, Monchai Tiantong and
Dusanee Supawantanakul

3. การพัฒนาแอพพลิเคชันเพื่อการปั่นจักรยานท่องเที่ยว
บนระบบปฏิบัติการ iOS กรณีศึกษาการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต
Application Development on iOS for Cycling to Travel A case
study: Phuket Tourism
Amonrat Prasitsupparote, Phuriphong Phumirawi, Apichaya
Khwankaew and Kantida Nanon

4. โปรแกรมต้นแบบระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ภายใต้การตัดสินใจการจัดสรรน้ำ
อย่างเหมาะสมในเขตพื้นที่ชลประทานฝายไม้เสียบ จังหวัดนครศรีธรรมราช
A Prototype of Geographic Information System based on
Appropriate Irrigation Decisions in Maiseab Weir, Nakhon Si
Thammarat Province
Sarintorn Wongyoksuriya, Onjira Sitthisak and Anisara Pensuk Tibkaew

5. การพัฒนาการบูรณาการระบบสารสนเทศบุคลากร
โดยใช้ตัวแบบทูน่า กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น
A Development of Information System Integration by TUNA
Model Using : A Case Study of Nation University
Burin Rujjanapan

6. การพัฒนาชุดฝึกอบรมการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์
ด้วยภาษาซี สำหรับนักศึกษาครุศาสตร์อุตสาหกรรม
Development of the Training Packages the Robot Control
Programming with C for Students of Technical Teacher Training
Program
Kitti Surpare and Patpong Armornwong

7. การสร้างกรณีทดสอบจากแบบจำลองกระบวนการธุรกิจอิงเหตุการณ์ขับเคลื่อน
Test Cases Generation from Business Process Model Based on
Event Driven
Sarawut Waleetorncheepsawasd and Taratip Suwannasart

8. การทำเจซันแคชด้วยโนเอสคิวแอล
JSON Cache with NoSQL
Aiyapan Eagobon and Nuengwong Tuaycharoen 247

9. ระบบสารสนเทศบนเว็บสำหรับการรายงานสินบนตำรวจจราจร
ผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน iOS ด้วย Tor
A Web-based Information System for Reporting Traffic Police
Bribe via iOS Smartphones with Tor
Sitichai Chumjai and Nuengwong Tuaycharoen

10. การค้นคืนเอกสารข้อความภาษาไทยด้วยเสียงพูด
Speech-based Thai Text Retrieval
Paphonput Sopon, Jantima Polpinij and Thongparn Suksamer

วันที่ 3 กรกฎาคม 2558
11. การพัฒนาแบบจำลองพื้นผิวทะเล เพื่อสนับสนุนการคัดเลือกเรือขนส่งถ่านหิน รฟ.กระบี่
Sea Floor Model Visualization for Barge Selection, Krabi Power
plant
Nuttanan Pipitpattanaprap and Sakchai Tangwannawit

12. แนวทางการออกแบบกรณีทดสอบ และซีนนาริโอด้วยวิธีวิเคราะห์เมทริกซ์
The guidelines for Test Cases and Scenarios by Analysis Matrix
Taksaporn Phanjhan and Sakchai Tangwannawit 636

13. ขั้นตอนวิธีสำหรับพัฒนาแบบฝึกหัดการเขียนอักษรไทยที่ใช้งานบนแท็บเล็ตพีซี
An Algorithm for Handwriting Exercise in Thai Alphabet on the
Use of Tablet PC
Dechawut Wanichsan, Taweesak Rattanakom, Nitat Ninchawee and
Phannika Kongjuk

14. การวิเคราะห์โครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงเข้าสู่บ้าน
โดยอิงมาตรฐานไอทียูร่วมกับการวางข่ายสายตอนนอก
Analysis of Fiber to the Home Network Based on ITU Standards
with Outside Plant
Tanaporn Jesadamethakajorn and Pudsadee Boonrawd

15. ขั้นตอนวิธีการแปลงแผนภาพบีพีเอ็มเอ็นเป็นแผนภาพลำดับ
ด้วยเมต้าดาต้าโมเดลและกฎการแปลงแผนภาพ
Transformation Algorithm from BPMN Diagram to Sequence
Diagram by Metadata Model and Rule-Based
Shavan Tansap and Pudsadee Boonrawd

16. ระบบติดตามเวลาการเดินขบวนรถไฟแบบเรียลไทม์
ด้วย GPS บนมือถือ กรณีศึกษาการรถไฟแห่งประเทศไทย
Time Train Tracking System Automatic and Real-Time of GPS
Based on Mobile Case Study for State Railway of Thailand
Phongphodsawat Sangthong and Pongpisit Wuttidittachotti

17. การนำแนวทางการบริการเบ็ดเสร็จมาบริหารจัดการแบบสอบถามออนไลน์
Adopting a TurnKey Solution Model to Manage Survey System
Online
Surakiat Rattanarod and Nattavee Utakrit

18. ระบบจัดการครุภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดบนแอนดรอยด์โฟน
Durable Articles Management System on Android Phone by Using
QR code Technology
Jutarat Thochai and Nattavee Utakrit

19. การประยุกต์ใช้การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน
เพื่อบริหารงานซ่อมบำรุงอาคารของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
Building Prevention Maintenance System
Korapat Siriwan and Nattavee Utakrit 680

20. การพัฒนาระบบการจัดการองค์ความรู้พันธุ์ข้าวในประเทศไทย
Development a Rice Knowledge Management System In Thailand
Thiptep Manpholsri and Montean Rattanasiriwongwut 685

21. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการติดตามยอดเงินค้างชำระ
โดยใช้วิธีการบริหารลูกค้าสัมพันธ์
Management Information System for Monitoring the Accrued
Income by Customer Relationship Management Technique
Ratchada Khantong, Montean Rattanasiriwongwut and Maleerat
Sodanil

22. การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมมือแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้สื่ออีดีแอลทีวี
The Development of the Model of Cooperative Learning Activities of
Flipped Classroom by using eDLTV Media
Sommai Kaewkanha, Worapapha Arreerard and Tharach Arreerard

http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm

ขอชมคนญี่ปุ่นว่าทำถูกแล้ว

airport taxi
airport taxi

ชาวญี่ปุ่นคนนี้คงชินกับ ระบบ (system) ที่ประกอบด้วย IPOO
(Input – Process – Output – Outcome)
หรือวงจรเดมมิ่ง ที่ต้องมี p d c a
ซึ่ง action จะนำผลการติเตียน มาปรับพฤติกรรม
และนำไปสู่การวางแผนใหม่ในอนาคต

แต่เท่าที่รู้คนกลุ่มหนึ่งไม่ชอบติเตียน ไม่ชอบรวมกลุ่มกันพูดถึงปัญหา
ไม่ชอบทำ AAR (after action review)
ชอบให้อะไรผ่านแล้ว ก็ผ่านไป เหมือนอดีตไม่เคยเกิดขึ้น
การพูดถึงปัญหา ในคนกลุ่มหนึ่งถือว่าเป็นมารยาทที่ไม่งาม
ช่วงหนึ่งผมมักคิดและโพสต์ออกแนวบู้ไปหน่อย
มีเพื่อน unfriend ไปหลายคน
ตอนหลังมาต้องหลับตาซ้ายเล็งด้วยตาขวา ทำใจไม่รู้ไม่เห็นแตะมากไม่ได้
ก็ไม่รู้ถูก unfriend ไปอีกกี่คน เพราะลดบทบาทการมีปฏิสัมพันธ์ลงไปเยอะ
ในโลกที่ผู้คนมีความคิดหลากหลาย ที่คนไม่ชอบเปลี่ยนแปลง มากกว่าคนชอบเปลี่ยน
เหมือนกบในกะทะ ที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง (ซึ่งผมก็ไม่ชอบเหมือนกัน)
บางทีต้องทำไม่รู้ไม่เห็นน่าจะดีกว่า .. แต่ชมว่าชาวญี่ปุ่นคนนี้ “ทำถูกแล้ว

คิดต่อจากการอ่านข่าว
สาปแช่งผมทำไม ติเตียนแท็กซี่ไทยผิดมากหรือ?” เปลือยใจยุ่นจวกยับสุวรรณภูมิ
http://www.thairath.co.th/content/476364

http://www.suvarnabhumiairport.com/th/801-airport-deverlopment-project

ประเภทการปิดชื่อผู้เขียนต่อผู้อ่านต้นฉบับ (manuscripts)

easychair.org
easychair.org

ในการประชุมวิชาการ มักรับบทความสำหรับนำเสนอด้วยวาจา
แล้วมีการรวบรวม คัดสรรโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งบทความที่ผ่านกระบวนการพิจารณาตามขั้นตอน
เมื่อนำมารวมเล่มและเผยแพร่ จะถูกเรียกว่า proceeding

โดยปกติแล้ว ต้นฉบับบทความ (manuscripts)
จะถูกส่งไปยังผู้อ่านหนึ่งคนหรือมากกว่าที่อยู่ภายนอก (peer reviewer)
เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขแก่ผู้เขียนได้ปรับปรุง
ให้มีความควบถ้วนสมบูรณ์ ตามเกณฑ์ที่กำหนด
ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์ก็จะถูกคัดออก ไม่สามารถนำเสนอในเวทีนั้นได้
การพิจารณาโดยผู้อ่านหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับการยอมรับมักมี 2 แบบ
คือ ปิดฝั่งผู้อ่าน ไม่ให้รู้ว่าอ่านของใคร (single blinded reviewer)
หรือ ปิดทั้งผู้อ่านและผู้ส่ง ต่างไม่รู้กันและกัน (double blinded reviewer)
โดยปกติ reviewer มักเป็น anonymous และ independent
ซึ่งกระบวนการที่ใช้มักเป็นความลับ หรือผ่านระบบจัดการแบบอัตโนมัติ
เพื่อให้ผู้อ่านได้แสดงทัศนะโดยปราศจากอคติหรือลำเอียงต่อผู้นำเสนอ
ระบบในปัจจุบันที่งานประชุมวิชาการมักใช้บริการ เช่น easychair.org
easychair คือ  ระบบจัดการงานประชุมที่ยืดหยุ่น ง่ายต่อการใช้ และมีหลายคุณลักษณะได้ปรับแต่ง
ให้เหมาะสมกับรูปแบบการประชุมของแต่ละงานด้วยตนเอง

article guide
article guide

งานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษา แล้วบันทึกไว้ เชื่อมโยงผ่าน goo.gl

goo.gl
goo.gl

1. จันทรจิรา เมธาจิโนทัย. (2549). เจตคติและความสนใจของนักเรียนระดับชวงชั้นที่ 2 ที่มีตอการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2556.
แหล่งที่มา
2. จุฑารัตน์  ศราวณะวงศ์ (2543). ผลของการเรียนบนเครือข่ายต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การใช้เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2557.
แหล่งที่มา
3. ชุติมา เมฆวัน. (2555). การวิจัยในชั้นเรียน. ค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2557.
แหล่งที่มา
4. ทอม มาร์คาม. (2554). พีบีแอล (PBL = Project-Based Learning). ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2556.
แหล่งที่มา
5. บุรินทร์ รุจจนพันธุ์. (2557). ศึกษาความพึงพอใจต่อการมอบหมายงานจัดทำคลิ๊ปวีดีโอแนวสร้างแรงบันดาลใจ
ในวิชาสื่อและเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน. 1-6. การประชุมวิชาการ อุดมศึกษาไทยกับการพัฒนาประเทศ ประจำปีการศึกษา 2556.
6. ประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์. (2545). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2556.
แหล่งที่มา
7. มัณฑรา  ธรรมบุศย์. (2552). ลีลาการเรียนรู้ (Learning style). ค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2557.
แหล่งที่มา
8. วินทฎา วิเศษศิริกุล. (2546). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ระดับ ปวส. สาขาวิชาคอมพิวเตอรธุรกิจวิทยาลัยเทคนิคนครนายก โดยการจับคูดูแลกัน. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2556.
แหล่งที่มา
9. สุจินต์ เพิ่มพิทักษ์ และทัศนีย์นารถ ลิ้มสุทธิวันภูมิ. (2553). แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วารสาร BU Academic Review. ปีที่ 9 ฉบับพิเศษ 1 พฤษภาคม 2553. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
10. สันติ วิจักขณาลัญฉ์ รศ.ดร.สุลัดดา ลอยฟ้า ผศ.ดร.ทัศนี บุญเติม และรศ.ยืน ภู่วรวรรณ (2544)การพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐานสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2557.
แหล่งที่มา

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละปี

learning exchange
learning exchange

ในองค์กรต่าง ๆ มีกิจกรรมตามแผนยุทธศาสตร์
แผนปฏิบัติการ แผนพัฒนา แผนกิจกรรม แผนวิจัย
และที่ไม่อยู่ในแผนเกิดขึ้นมากมาย

การจดจำเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก จึงต้องประเมินว่า
จะเก็บสิ่งใดไว้ ที่คิดว่ามีคุณค่าพอแก่การจดจำ และบันทึกเก็บไว้
คุณค่าของการจดจำคือการแบ่งปัน และเขียนรายงานปิดรอบ

รายงานที่ต้องเขียนก็มีมากมาย
ทั้งรายงานแผนยุทธศาสตร์ รายงานแผนปฏิบัติการ รายงานแผนพัฒนา
รายงานวิจัย รายงานกิจกรรม รายงานการฝึกอบรม เป็นต้น
หากบันทึกไว้ละเอียดมากพอ ก็สามารถหยิบฉวยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรอบปี
มาจัดทำรายงานได้โดยง่าย

การเก็บภาพไว้ ช่วยให้ระลึกถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ และนำไปสู่การทบทวน
และนำผลมาเปรียบเทียบเพื่อดำเนินการรอบใหม่ต่อไป และต่อไปได้

คำว่า แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Learning Exchange) เป็นสิ่งที่ดี
แต่การปฏิบัติร่วมกันกับเพื่อนร่วมงานในองค์กรขนาดใหญ่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเเลย
เพราะถ้าง่ายคงไม่เกิดเหตุการณ์ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557
หรือระบบการศึกษาของไทยรั้งท้ายอาเซียน

แบ่งปันเรื่องนี้เพิ่มเติมที่ https://www.gotoknow.org/posts/578913