ประมูลทีวีดิจิตอล วัดกันที่เงิน ยอดสูงกว่าก็ได้ไป

กสทช.ประกาศประมูลทีวีดิจิตอลในวันที่ 26-27 ธ.ค. 2556 คาดประกาศรับรองผลได้ในวันที่ 6 ม.ค. 2557พร้อมแก้ไขหลักปฏิบัติการประมูลใหม่หลังพบปัญหาช่วงทดสอบระบบ “พ.อ.นที” ขู่ใครฮั้วประมูลโดนอาญาและชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/viewNews.aspx?NewsID=9560000154399

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ด กสท.เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.ว่า ที่ประชุมได้มีมติประกาศให้วันที่ 26-27 ธ.ค. 2556 ตั้งแต่เวลา 08.00-20.00 น. เป็นวันประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ 24 ช่อง ที่บริษัท กสท โทรคมนาคม เขตบางรัก โดยจะใช้พื้นที่ของชั้นที่ 27-30 จำนวน 16 ห้องที่ใช้สำหรับในการประมูล และ 1 ห้องเป็นห้องควบคุมการประมูลครั้งนี้

ทั้งนี้ การประมูลดังกล่าวจะแบ่งการประมูลออกเป็น 2 วัน คือวันที่ 26 ธ.ค. 2556 ช่วงเช้า ตั้งแต่ 08.00-14.00 น. เป็นการประมูลประเภทช่องทั่วไป (วาไรตี) ความคมชัดสูง (HD) และช่วงบ่ายตั้งแต่ 14.00-20.00 น.เป็นการประมูลประเภทช่องทั่วไป (วาไรตี) ความคมชัดมาตรฐาน (SD) และในวันที่ 27 ธ.ค. 2556 ช่วงเช้า 08.00-14.00 น. เป็นการประมูลประเภทช่องข่าวสารสาระ และช่วงบ่ายตั้งแต่ 14.00-20.00 น.เป็นการประมูลประเภทช่องเด็กและครอบครัว

“อย่างไรก็ตาม กรอบเวลาดังกล่าวนั้นเป็นการกำหนดเวลาทั้งหมดเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วเชื่อว่าจะเริ่มการเคาะประมูลรอบเช้าได้ในเวลา 11 นาฬิกา ขณะที่ช่วงบ่ายจะเริ่มเคาะ 16 นาฬิกา โดยคาดว่าจะใช้เวลาการประมูลแต่ละประเภทไม่เกิน 1 ชั่วโมง”

ขณะที่ภายหลังการประมูลเสร็จสิ้นลงจะรู้ผลผู้ชนะการประมูลในทันที แต่จะสามารถรับรองผลการประมูลได้ภายหลัง 15 วันเมื่อการประมูลจบลง และจะดำเนินการออกใบอนุญาตให้แล้วเสร็จในเดือน ม.ค. 2557 และให้ออกอากาศได้ภายในเดือน ก.พ. 2557 ต่อไป

“กสท.อาจจะสามารถประกาศรับรองผลการประมูลทีวีดิจิตอลได้ในวันที่ 6 ม.ค. 2557 ซึ่งถือเป็นการประชุมบอร์ดครั้งแรกหลังการประมูลเสร็จสิ้นลงนั่นเอง”

นอกจากนี้ ภายหลังการประกาศรับรองผลการประมูล 30 วัน ผู้ชนะการประมูลจะต้องนำเงินมาชำระค่าใบอนุญาตทีวีดิจิตอลซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. ชำระราคาขั้นต้นการประมูลแบ่งจ่ายเป็น 4 งวด คือในปีแรกจำนวน 50% ปีที่ 2 จำนวน 30% ปีที่ 3 จำนวน 10% และปีที่ 4 จำนวน 10% และในส่วนที่ 2 ชำระ10% ของราคาที่เกินมาจากราคาขั้นต้น

พ.อ.นทีกล่าวว่า ที่ประชุมยังมีมติปรับปรุงหลักปฏิบัติในการประมูลทีวีดิจอตอลครั้งนี้ ได้แก่ 1. มีการแก้ไขกระบวนการจับฉลากเพื่อเลือกหมายเลขห้องการประมูล ลำดับที่การประมูล และรหัสผ่านที่ใช้ในการประมูล 2. มีการแก้ไขให้ผู้เข้าประมูลสามารถออกมาเข้าห้องน้ำได้แต่ต้องมีเจ้าหน้าที่ติดตามไปด้วยจากเดิมไม่ให้ผู้เข้าประมูลออกมาจากห้องเลยไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม 3. ไม่อนุญาตให้ผู้เข้าประมูลนำอุปกรณ์สื่อสารใดๆ เข้าห้องประมูลได้ยกเว้นแต่เจ้าหน้าที่ที่คอยดูแลระบบเท่านั้น และ 4. ปรับให้ผู้เข้าร่วมประมูลสามารถนำเอาเอกสารต่างๆ ที่สำคัญ อาทิ แผนธุรกิจเข้าไปในห้องประมูลได้แต่ต้องไม่เกิน 10 หน้าขนาด A4 โดยสาเหตุที่ต้องมีการแก้ไขหลักปฏิบัติในครั้งนี้เนื่องจากเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ ผ่านมา กสท.จัดให้มีการทดลองการประมูลกับผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมประมูล ซึ่งผลปรากฏว่าเกิดปัญหาต่างๆ ในระหว่างการทดสอบระบบดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการแก้ไขหลักปฏิบัติ

ขณะเดียวกัน ตัวแทนผู้เข้าร่วมประมูลแต่ละบริษัทที่มีความประสงค์จะเข้าห้องเพื่อเคาะประมูลซึ่งไม่เกิน 5 คนนั้นจะต้องส่งรายชื่อก่อนวันประมูล 5 วัน และในวันประมูลจริงได้ใช้เจ้าหน้าที่ดำเนินการประมูลจำนวน 175 คน โดยรวมการประมูลทีวีดิจิตอลในครั้งนี้ กสท.ใช้งบประมาณไปราว 20 ล้านบาท

อีกทั้งหากกรณีเกิดปัญหาในวันประมูลที่ไม่ส่งผลกระทบต่อราคาการประมูลให้รักษาการ กสทช.ด้าน กสท.เป็นคนตัดสินใจ แต่หากมีผลต่อราคาการประมูลต้องให้ประธาน กสท.เป็นคนตัดสินใจเท่านั้น

“หากในวันประมูลเกิดจับได้ว่าผู้เข้าร่วมประมูลมีพฤติกรรมเข้าข่ายไปในการฮั้วประมูลเกิดขึ้น โดยผู้กระทำความผิดดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ชำระค่าเสียหายจากการประมูลทั้งหมด รวมไปถึงถือเป็นคดีอาญาด้วย ส่วนกรณีมีการสละสิทธิ์ หรือไม่มีการเคาะประมูลเกิดขึ้นก็จะต้องชดใช้ค่าเสียหายในการประมูลเช่นเดียวกัน”

สำหรับรายละเอียดการประมูลนั้น ประเภทช่องทั่วไป (วาไรตี) ความคมชัดสูง (HD) ราคาเริ่มต้น 1,510 ล้านบาท เคาะประมูลครั้งละ 10 ล้านบาท ประเภทช่องทั่วไป (วาไรตี) ความคมชัดมาตรฐาน (SD) ราคาเริ่มต้น 380 ล้านบาท เคาะประมูลครั้งละ 5 ล้านบาท ช่องข่าวสารสาระราคาเริ่มต้นประมูล 220 ล้านบาท เคาะประมูลครั้งละ 2 ล้านบาท และช่องเด็กและครอบครัวราคาเริ่มต้น 140 ล้านบาท เคาะประมูลครั้งละ 2 ล้านบาท

ผลการศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษากลุ่มหนึ่ง

ผลการศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษากลุ่มหนึ่ง
ผลการศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษากลุ่มหนึ่ง

สุจินต์ เพิ่มพิทักษ์ และทัศนีย์นารถ ลิ้มสุทธิวันภูมิ (2553) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พบว่า ระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยปัจจุบัยด้านเพศ อายุ และภูมิลำเนาส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ

โดยมีคำถามในแบบสอบถามถึงแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ดังนี้
– ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น”
– ข้าพเจ้าความตั้งใจแน่วแน่ เพื่อบรรลุเป้าหมายของการเรียนแต่ละวิชา
– ข้าพเจ้าตัดสินใจสมัครเข้าเรียนคณะบัญชีมหาวิทยาลัยกรุงเทพด้วยตนเอง
– ข้าพเจ้าจะฝ่าฟันปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้การเรียนบรรลุเป้าหมาย
– เมื่อข้าพเจ้าทำคะแนนสอบได้น้อย ข้าพเจ้าจะอ่านและทบทวนวิชานั้นให้มากขึ้น
– แม้งานที่ได้รับมอบหมายจะได้คะแนนน้อย ข้าพเจ้าก็จะพยายามอย่างเต็มที่
– ถึงแม้ว่าวิชาที่เรียนจะยาก ข้าพเจ้าจะตั้งใจเรียนให้เต็มที่
– ขณะที่เรียนข้าพเจ้าตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนตลอดเวลา
– ข้าพเจ้าตั้งใจทำงานทุกอย่างที่อาจารย์มอบหมาย
– แม้การเรียนจะลำบากเพียงไร ข้าพเจ้าจะไม่ย่อท้อ
– เมื่อพบข้อบกพร่องในการเรียน ข้าพเจ้าจะไม่ย่อท้อ
– ข้าพเจ้าชอบค้นคว้าหาความรู้ เพื่อนำมาใช้ในการศึกษาพัฒนาการเรียน
– ข้าพเจ้ารู้สึกกระตือรือร้น เมื่อถึงวันและเวลาที่เรียน
–  ข้าพเจ้าจะคอยประเมินผลการเรียนของทุกวิชาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหาข้อบกพร่องและแนวทางแก้ไข
– ไม่เพียงแต่จะเรียนให้สำเร็จเท่านั้น ข้าพเจ้าคอยตรวจสอบข้อบกพร่องในการเรียนด้วย
– สิ่งแวดล้อมการเรียนจะเป็นอย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าก็ยังมีสมาธิแน่วแน่ในการเรียนอย่างเต็มที่
– ข้าพเจ้าสนใจเรียนทุกวิชาเท่า ๆ กัน
– ข้าพเจ้าจะพยายามเอาชนะความง่วงและอ่อนเพลีย เมื่ออ่านหนังสือ หรือทำการบ้าน
– ข้าพเจ้าชอบค้นคว้าหาความรู้ เพื่อนำมาใช้ในการศึกษาพัฒนาการเรียน
– เมื่อเกิดอาการง่วงนอนขณะอ่านหนังสือ ข้าพเจ้าจะหาวิธีแก้ไข เพื่อให้อ่านหนังสือต่อได้
– ข้าพเจ้าชอบค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม นอกเหนือจากที่อาจารย์สอน
– ข้าพเจ้าใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียนสำหรับการทบทวนบทเรียนเสมอ

http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/epaper/special_may2010/pdf/Page_153.pdf

พีบีแอล (PBL = Project-Based Learning)

John Dewey 1902
John Dewey 1902

จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ได้นำเสนอแนวคิด “เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ (Learning by doing)” ว่า “ครูไม่ใช่ผู้กำหนดความคิด หรือจัดพฤติกรรมแบบหนึ่งแบบใดให้กับเด็ก แต่เป็นสมาชิกของชุมชนที่จะสร้างอิทธิพลที่มีผลให้เด็กช่วยตนเองได้ตอบสนองกลับมาอย่างเหมาะสม ที่จะเกิดการแสดงออกที่สร้างสรรค์ภายในศูนย์การเรียนรู้ที่ถูกต้อง” (Dewey,1897)

ต่อมาเกิดรูปแบบการเรียนรู้จาก แนวคิดของดิวอี้ หลายรูปแบบ
ได้แก่
– การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning)
– การเรียนรู้แบบช่วยเหลือกัน (Collaborative learning)
– การเรียนรู้โดยการค้นคว้าอย่างอิสระ (Independent investigation method)
– การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning)
– การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based learning)

ทอม มาร์คาม (Thom Markham, 2011)
ได้อธิบายความหมายของ PBL = Project-Based Learning ว่าเป็น
การบูรณาการความรู้ และการปฏิบัติ
โดยนักเรียนจะได้เรียนรู้องค์ประกอบสำคัญที่ต้องรู้
แต่จะประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหา และได้ผลเป็นชิ้นงานขึ้นมา
เด็กที่เรียนรู้แบบนี้จะได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือดิจิทอลคุณภาพสูง
และได้ชิ้นงานที่เกิดจากการผสมผสาน
พีบีแอลจะปรับมุมมองของการศึกษาสู่ระดับโลก และได้อีกหลายอย่างตามมา
ทั้งแรงขับ ความรัก ความคิดสร้างสรรค์ การเอาใจใส่ และความยืดหยุ่น

PBL integrates knowing and doing. Students learn knowledge and elements of the core curriculum, but also apply what they know to solve authentic problems and produce results that matter. PBL students take advantage of digital tools to produce high quality, collaborative products. PBL refocuses education on the student, not the curriculum–a shift mandated by the global world, which rewards intangible assets such as drive, passion, creativity, empathy, and resiliency. These cannot be taught out of a textbook, but must be activated through experience.
(Thom Markham,2011)
http://en.wikipedia.org/wiki/Project-based_learning

http://www.amazon.com/Project-Based-Learning-Handbook-Standards-Focused/dp/0974034304
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=775406

แรงบันดาลใจ กับแรงจูงใจ

แรงบันดาลใจ (Inspiration) กับแรงจูงใจ (Motivation)
คำว่า แรงบันดาลใจ  กับแรงจูงใจ ต่างกัน ตรงจุดเริ่มต้นก่อนการกระทำ
แรงบันดาลใจ จะเป็นแรงขับจากภายใน
แรงจูงใจ จะเป็นแรงขับจากภายนอก

ยกตัวอย่าง
1. คนที่ขยันหนังสือที่สำเร็จ ส่วนใหญ่มีแรงบันดาลใจ
ไม่ได้มีแรงจูงใจจากเงินที่พ่อแม่ให้ค่าขนมมา
2. คนที่ขยันอ่านหนังสือสอบซ่อม มีแรงจูงใจ
เพราะอ่านหนังสือไปสอบซ่อม ก็จะได้รางวัลคือสอบผ่าน
3. ซุปเปอร์แมน และสไปเดอร์แมน ทำความดีช่วยเหลือผู้คน
เพราะมีแรงบันดาลใจ ใฝ่ดี อยากทำความดี อยากเห็นผู้คนมีความสุข
4. หนังเรื่อง “สิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่ารัก
นางเอกตั้งใจเรียน เพราะมีแรงจูงใจคือผู้ชายสุดหล่อเป็นรางวัล
5. หนังเรื่อง “inception
กลุ่มพระเอกจะเข้าไปสร้างแรงบันดาลใจ
ซึ่งเป็นการเข้าไปสร้างจากภายในใจของบุคคลเป้าหมาย
http://pattamarot.blogspot.com/2010/11/inspiration.html

ตรวจสอบเครื่องบริการ SMTP

postfix for SMTP service
postfix for SMTP service

26 ก.ย.56 เล่าสู่กันฟัง
หนึ่งในกิจกรรมของการทำงานกับเครื่องบริการ คือ Monitor
1. เข้าตรวจสอบ ติดตามเครื่องบริการเกี่ยวกับ SMTP
ว่าบริการถูกเรียกใช้ตามปกติหรือไม่
#netstat -na |grep 25 ก็พบว่า port นี้เปิดบริการอยู่
#netstat -na |grep LISTEN ก็พบว่าเปิดบริการอยู่
#cat /etc/redhat-release ดูรุ่นที่ใช้อยู่ พบว่าเก่าอยู่สักหน่อย ปัจจุบันสิบกว่าแล้ว
Fedora Core release 4 (Stentz)
#ps -aux|grep postfix พบว่า postfix เปิดบริการ smtp อยู่
#/etc/init.d/postfix status พบว่า running
#/etc/init.d/postfix stop เมื่อต้องการปิดบริการ

2. เหตุที่สนใจเรื่องนี้
เพราะเป็นการเฝ้าตรวจการทำงานของเครื่องบริการตามปกติ
#ls /var/log/maillog* -al ดูปริมาณของแต่ละแฟ้ม
#tail /var/log/maillog –lines=300 ดูรายการ 300 บรรทัดล่างสุด
#cat /etc/postfix/main.cf |grep relayhost กำหนดไว้แล้ว
สรุปว่ามีการกำหนด relay ใน main.cf ซึ่งสัมพันธ์กับ maillog ที่บันทึกไว้

บทคัดย่อ รายงานการวิจัยระบบ peer visit

seci model
seci model

บทคัดย่อ
การพัฒนาระบบตรวจเยี่ยมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอก
ระดับคณะวิชา ประจำปีการศึกษา 2555 กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น

หัวข้อ
การพัฒนาระบบตรวจเยี่ยมสำหรับการประเมินตนเองโดยใช้โมเดลเอสอีซีไอ ระดับคณะวิชา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น
A Development of Peer Visit System for Self Assesment Report System by SECI Model Using : A Case Study of Nation University

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151760141212272&set=a.10150179894897272.317163.350024507271

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบบันทึกผลการตรวจเยี่ยมคุณภาพการศึกษา ตามเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาของ สกอ. และสมศ. เพื่อพัฒนาระบบรายงานผลการตรวจเยี่ยมของกรรมการตรวจเยี่ยมในระดับคณะวิชา เป็นกรณีศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 5 กลุ่ม คือ ผู้บริหาร และหน่วยงานที่รับผิดชอบการประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 7 คน ผู้รับผิดชอบองค์ประกอบคุณภาพระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 8 คน บุคลากรในคณะวิชาที่รับผิดชอบองค์ประกอบ จำนวน 10 คน หน่วยงานที่รับผิดชอบตัวบ่งชี้ จำนวน 5 คน และผู้ประเมินภายใน จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้พัฒนาระบบคือ เครื่องบริการไอไอเอส ตัวแปลภาษาพีเอชพี  เอแจ็กซ์ และระบบฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล แล้วดำเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่บูรณาการกับการจัดการความรู้โดยใช้โมเดลเอสอีซีไอ (SECI Model) คือ กระบวนการทางสังคม (Socialization) กระบวนการสัมพันธ์ภายนอก (Externalization) กระบวนการผสานองค์ความรู้ (Combination) และ กระบวนการส่งต่อเป็นความรู้ฝังลึก (Internalization) แล้วใช้แบบประเมินความพึอพอใจต่อการอบรมการใช้งานโปรแกรมต้นแบบ และภายหลังการใช้งานระบบโดยผู้ตรวจเยี่ยม งานที่พัฒนาขึ้นใช้กับการตรวจเยี่ยมระดับคณะวิชาตามร่างรายงานการประกันคุณภาพการศึกษาปีการศึกษา 2555 โดยลักษณะคำตอบเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ พบว่า ผลประเมินความพึงพอใจต่ออบรมการใช้งานระบบฐานข้อมูลการตรวจเยี่ยมโดยรวมอยู่ระดับมาก (x = 3.94 , S.D. = 0.46) และผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบ อยู่ระดับมาก (x = 3.65, S.D. = 0.64) ซึ่งสรุปได้ว่าระบบที่พัฒนาขึ้นตอบสนองความพึงพอใจของผู้ตรวจเยี่ยมได้

การตรวจเยี่ยม (Peer visit) คืออะไร

peer visit
peer visit

การตรวจเยี่ยม (Peer visit) หมายถึง การที่มหาวิทยาลัยจัดให้มีกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง ทำหน้าที่เหมือนคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษา เพื่อเข้าตรวจเยี่ยมก่อนถูกประเมินจริงระยะหนึ่ง และผู้ตรวจเยี่ยมจะพิจารณาร่างรายงานการประเมินตนเองของคณะวิชา รวมถึงการเรียกเอกสารเพิ่มเติม ตรวจสถานที่จริง หรือเรียกสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ข้อเสนอแนะได้ตรงกับสภาพจริง เมื่อคณะวิชาทราบผลการตรวจเยี่ยมก็จะนำข้อมูลไปพิจารณาปรับปรุงร่วมกันในคณะ แล้วจัดทำรายงานการประเมินตนเองที่สมบูรณ์ขึ้นมาใหม่ และเสนอต่อคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาที่จะมาพิจารณารายงานอย่างเป็นทางการ

โดยจำแนกข้อเสนอแนะของผู้ตรวจเยี่ยมได้เป็น 4 หัวข้อใหญ่ ดังนี้
1. ข้อค้นพบศูนย์ฯ/คณะฯ
2. จุดเด่น และข้อเสนอแนะทิศทางการพัฒนา
3. จุดควรพัฒนา และ ปัจจัยที่เอื้อให้เกิดจุดควรพัฒนา และ สาเหตุมาจาก และ ข้อมูลสนับสนุน และ ข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไข
4. วิธีการปฏิบัติที่ดี/นวัตกรรม

+ http://www.thaiall.com/blog/burin/5422/
+ http://www.scribd.com/doc/143112144/

precision และ recall

precision and recall
precision and recall

precision คือ การวัดความสามารถในการที่จะขจัดเอกสารที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป โดย precision เป็น อัตราส่วนของจำนวนเอกสารที่เกี่ยวข้องและถูกดึงออกมา กับจำนวนเอกสารที่ถูกดึงออกมาทั้งหมด
recall คือ การวัดความสามารถของระบบในการดึงเอกสารที่เกี่ยวข้องออกมา โดย recall เป็น อัตราส่วนของจำนวนเอกสารที่เกี่ยวข้องและถูกดึงออกมา กับจำนวนเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
relevant คือ จำนวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง
retrieved คือ จำนวนเอกสารที่ถูกดึงออกมา

การวัด recall และ precision ไม่ง่ายทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ
เพราะเงื่อนไขคือการตีความของความเกี่ยวข้อง

recall กับ precision
recall กับ precision

นิยม ความเกี่ยวข้อง คือ ความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับเอกสาร
ซึ่งพิจารณาจากปริมาณที่เอกสารที่ครอบคลุมเอกสารที่เหมาะสมหรือเกี่ยวเนื่องกับข้อคำถาม

http://e-book.ram.edu/e-book/c/CT477/CT477-6.pdf
https://en.wikipedia.org/wiki/Precision_and_recall

งานประชุมวิชาการระดับชาติที่กรุงเทพ (itinlife396)

I was interested in the ontology topic.
I was interested in the ontology topic.

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.10150179894897272.317163.350024507271

ในประเทศไทยมีการจัดประชุมทางวิชาการระดับชาติ และนานาชาติมากว่า 10 ปีแล้ว โดยส่วนใหญ่จัดโดยสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา สำหรับจังหวัดลำปางมีการรวมตัวกันของสถาบันทั้งในและต่างประเทศเพื่อจัดเวทีให้นักวิชาการ และนักศึกษาได้นำผลงานที่ได้จากการค้นคว้าวิจัยมานำเสนอในเวทีที่มีผู้สนใจในเรื่องคล้ายกัน  เป็นเวทีแลกเปลี่ยนและแบ่งปัน แต่เวทีแบบนี้มักเกิดที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 9 – 10 พ.ค.2556 ผู้เขียนได้ร่วมงานการประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพฯ โดยมี รศ.ดร.พยุง มีสัจ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นประธานจัดงานครั้งนี้

มีบทความเข้ารับการพิจารณาจำนวน 265 ผลงานที่มาจาก 40 สถาบัน ทุกบทความต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน หากได้รับการตอบรับอย่างน้อย 2 ใน 3 ท่านก็ถือว่าผ่านและเข้านำเสนอปากเปล่าในเวทีได้ ซึ่งปี 2556 มีบทความผ่านการพิจารณาทั้งสิ้น 161 ผลงาน จะบรรจุในเอกสารรวมเล่มรายงานผลวิจัยงานประชุมวิชาการ Proceedings of NCCIT 2013 บทความเหล่านี้มีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ และสามารถนำไปใช้งานได้จริง เพราะผ่านการวางแผน ทบทวน  ทดสอบ และสรุปผล รวมทั้งมีข้อเสนอแนะสำหรับผู้สนใจที่จะนำไปพัฒนาต่อยอด

การนำเสนอผลงานแบ่งออกเป็นห้อง ซึ่งผู้เข้าร่วมฟังจะมีค่าลงทะเบียน 2000 บาท ส่วนผู้นำเสนอมีค่าลงทะเบียน 4000 บาท แต่ผู้เข้าฟังไม่สามารถฟังทุกเรื่อง เพราะแบ่งห้องนำเสนอเป็นหลายห้องและทุกห้องนำเสนอพร้อมกัน จึงต้องเลือกหัวข้อในแต่ละห้องตามตารางนำเสนอ ซึ่งแบ่งได้ 4 กลุ่ม คือ Data Mining and Machine Learning, Data Network and Communication, Human-Computer Interface and Image Processing และ Information Technology and Computer Education ในปีนี้ผู้เขียนสนใจเรื่อง Ontology และ Semantic keyword ทำให้ได้เทคนิคในการพัฒนาระบบสืบค้นโดยใช้คำค้นที่ผ่านการทำออนโทโลยี ส่วนจะนำไปใช้กับข้อมูลระบบใดก็คงต้องเป็นคำถามใหม่ที่ต้องขบคิดกันต่อไป

http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm

https://www.easychair.org/account/signin.cgi?conf=nccit2013

วัดตะล่อมรับพระต่างชาติกว่า 200 รูป ปล่อยเรี่ยไร-บิณฑบาตเกินเวลา

วัดตะล่อม ย่านพุทธมณฑลสาย 1 เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
วัดตะล่อม ย่านพุทธมณฑลสาย 1 เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ

วัดตะล่อม“ฉาวอีกรับพระต่างชาติมาอยู่กว่า 200 รูป ทั้งยังออกเรี่ยไรเงิน บิณฑบาตเกินเวลา เจ้าคณะกทม.เดือด อัดสร้างความเสียหายพระพุทธศาสนาในไทย แจ้งสำนักพุทธฯ-สตม. เข้าตรวจวีซ่า-พาสปอร์ต หากพบหมดอายุส่งกลับประเทศทันที

ข่าวจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/education/198658

20 เม.ย.56 พระพรหมดิลก เจ้าอาวาสวัดสามพระยา ในฐานะเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ได้ออกประกาศระเบียบการรับพระอาคันตุกะต่างประเทศ แจ้งไปยังวัดต่างๆทั่วกรุงเทพฯ ให้ปฏิบัติ เนื่องจากที่ผ่านมาได้รับการร้องเรียนมาโดยตลอดตั้งแต่ยังไม่ได้มาเป็นเจ้าคณะกรุงเทพฯ ว่ามีพระต่างชาติออกมาเรี่ยไรเงิน และยังมีการออกบิณฑบาตหลังเวลา 08.00 น. โดยเฉพาะวัดที่ได้รับการร้องเรียนในเรื่องลักษณะนี้เข้ามามากที่สุดคือ วัดตะล่อม ย่านพุทธมณฑลสาย 1 เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ซึ่งพบว่ามีการรับพระต่างชาติเข้ามาอยู่ที่วัดมากถึง 200-300 รูป มีทั้งพระจากกัมพูชา บังกลาเทศ ศรีลังกา โดยเป็นพระจากกัมพูชามากที่สุด มากางเต๊นท์นอนกันอยู่ในพื้นที่บริเวณวัด จึงได้ประสานไปยังสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) ให้เข้าไปตรวจสอบวีซ่า และหนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต)  ของพระแต่ละรูปว่าเป็นประเภทใด เนื่องจากได้รับการร้องเรียนมาว่าบางรูปถือวีซ่าประเภทท่องเที่ยว แล้วพอวีซ่าหมดอายุก็ยังไม่ยอมกลับ ขณะที่บางรูปเป็นวีซ่าเพื่อขอมาศึกษาต่อแต่กลับไม่ได้เข้ามาศึกษาจริง พร้อมกันนี้ยังได้ส่งหนังสือแจ้งเตือนไปยังพระมหาบุญถึง ชุตินฺธโร เจ้าอาวาสวัดตะล่อมแล้ว ซึ่งหากยังไม่มีการดำเนินการแก้ไขคงจะต้องมีการพิจารณาในเรื่องตำแหน่งของเจ้าอาวาสวัดตะล่อมต่อไปด้วย
พระพรหมดิลก กล่าวต่อไปว่า เมื่อตรวจวีซ่า และหนังสือเดินทางแล้วพบว่าพระรูปใดไม่ได้เข้ามาศึกษาต่อจริง และวีซ่า หรือหนังสือเดินทางหมดอายุแล้ว ทั้งยังออกมาเรี่ยไรเงิน และไม่ปฏิบัติตามระเบียบของคณะสงฆ์ไทย จะต้องประสานสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง(สตม.) เข้ามาดำเนินการส่งกลับประเทศ เพราะถือว่าเข้ามาอยู่แล้วสร้างความเสียหายให้กับพระพุทธศาสนาของไทย การที่จะมาอ้างว่าเพราะเมตตาจึงให้พระจากต่างชาติเข้ามาอาศัยอยู่เยอะขนาดนี้ เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะจะมาเมตตากับผู้ที่ทำผิดกฎหมายไม่ได้ ขณะเดียวกันในการรับพระอาคันตุกะมาอยู่ในวัดจะต้องมีที่พักอาศัยให้ถูกต้องตามวินัยสงฆ์ การที่ให้มากางเต๊นท์แบบนี้ถือว่าไม่ถูกต้องตามหลักวินัยสงฆ์ ทั้งนี้การที่พระต่างชาติเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะมาแบบชั่วคราว หรือมาเพื่อการศึกษาก็ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของคณะสงฆ์ไทยอย่างเคร่งครัด
ด้านนายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) กล่าวว่า เมื่อเดือนมีนาคม 2554 วัดตะล่อม เคยถูกทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเข้าตรวจสอบเกี่ยวกับเรื่องการรับพระต่างชาติเข้ามาพักอาศัยแล้ว แต่เมื่อปัจจุบันพบว่ายังมีเรื่องร้องเรียนในลักษณะเดียวกันเข้ามาอีกก็จะประสานสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเข้าตรวจสอบต่อไป