บริการวิชาการ การเขียนเว็บเพจเบื้องต้น ที่ มจร.

mcu lampang
mcu lampang

ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ และ อ.เกศริน อินเพลา คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยี จัดโครงการอบรม “การเขียนเว็บเพจเบื้องต้น” เพื่อบริการวิชาการแก่ชุมชน ทั้งนี้มีหน่วยงานที่มีความต้องการให้คณะจัดฝึกอบรม คือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ห้องเรียนบุญวาทย์วิหาร โดยการบริการครั้งนี้ได้ใช้องค์ความรู้ในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ด้านการเขียนเว็บเพจเบื้องต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับโลกภายนอกอยู่ตลอดเวลา และมหาวิทยาลัยโยนกได้ดำเนินการบริการวิชาการแก่ชุมชนในรูปแบบที่หลากหลายมาเป็นเวลากว่า ๒๓ ปี
โดยโครงการอบรม การเขียนเว็บเพจเบื้องต้น มีเนื้อหาการบรรยายเกี่ยวกับ การพัฒนาเว็บไซต์ โฮมเพจ โดเมนเนม และเว็บเพจ เป็นต้น
มีขั้นตอนการดำเนินงานทั้งหมด ๕ ขั้นตอน ดังนี้ ๑) ติดต่อและประสานงานกลุ่มเป้าหมาย ๒) กำหนดเนื้อหา และรายละเอียดของหัวข้อบรรยายที่ผู้เข้ารับอบรมควรรู้ ๓) จัดกิจกรรมบริการวิชาการในชุมชน ๔) ประเมินผลความพึงพอใจของผู้เข้าอบรม ๕) จัดทำรายงานสรุปผลโครงการ
ซึ่งโครงการนี้พบว่าบรรลุตามตัวบ่งชี้ คือ มีความพึงพอใจต่อโครงการ ๔.๒๖ จากคะแนน ๕ ระดับ ซึ่งเป็นระดับมากที่สุด ค่าความคลาดเคลื่อน ๐.๗๒ ซึ่งค่าความพึงพอใจไม่ต่ำกว่าที่ตั้งไว้ในตัวบ่งชี้ ดังนั้นโครงการนี้จึงบรรลุตามตัวบ่งชี้

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.115963435181311.19375.115935711850750

เพิ่มช่องในโปรแกรมวิเคราะห์ SWOT

swot draw
swot draw

6 เม.ย.55 คงเพราะหลายองค์กรเริ่มมีการวิเคราะห์ SWOT อย่างจริงจัง
เป็นผลให้เริ่มมีเพื่อนโทรมาถาม ขอโปรแกรมวิเคราะห์ SWOT
โปรแกรมนี้ก็เขียนไว้หลายปีแล้ว พอถามมาผมก็นึกไม่ค่อยออก

ล่าสุดถามมา ในขณะที่ผมอยู่หน้าเครื่อง และเขาขอเพิ่มช่อง
จึงปะติดปะต่อเรื่องได้ เพราะเดิมทำไว้เพียง 5 ช่อง
แล้วก็รับปากจะเพิ่มเป็น 10 ช่อง

อีกเรื่องที่อธิบายยาก คือ เขาขอโปรแกรมไปใช้
แต่ที่ผมเขียนเป็น Web App ที่ใช้งาน online ได้ทันที
ผู้ที่ขอคงชินกับการใช้ Win App แต่ของผมเป็น Web App
ก็ต้องอธิบายว่า web app กับ win app ต่างกันอย่างไร

โปรแกรมนี้ ค้นจาก google.com ว่า “โปรแกรมวิเคราะห์ SWOT

http://www.thaiall.com/swot

ต.ย มอบหมายงานสรุปเนื้อหาจากคลิ๊ปอบรม Social Media

ตามที่ อ.เมธา เกรียงปริญญากิจ เป็นวิทยากรอบรม
หัวข้อ “การประยุกต์ใช้ Social Media สำหรับการเรียนการสอน
เมื่อ 26 ธ.ค. 2554 จัดโดย มหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์เนชั่นทาวเวอร์
มีการบันทึกคลิ๊ปไว้ทั้งหมด 29 ตอน ๆ ละประมาณ 10 นาที
รวมเวลาทั้งหมด 4 ชั่วโมง 53 นาที
สำหรับงานมอบหมายให้กับนักศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับสื่อสังคม (Social Media)
ด้วยตนเอง แล้วนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน มีรายละเอียดดังนี้
1. ให้นักศึกษาดูคลิ๊ปทุกตอนใน playlist ชุดนี้
2. แต่ละตอนให้สรุปเนื้อหามาไม่ต่ำกว่า 3 บรรทัด
3. จัดทำเป็นเล่มรายงานที่มีเนื้อหารวมกันไม่ต่ำกว่า 87 บรรทัด
4. ในเนื้อหาแยกให้ชัดเจนว่า มาจากคลิ๊ปครั้งที่เท่าใด
5. ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ และมี screen ประกอบในรายงาน
6. เล่มรายงานประกอบด้วยปก คำนำ สารบัญ เนื้อหา และสรุป
7. เขียนรายงานด้วย word แล้ว upload เข้าระบบอีเลินนิ่งที่กำหนด
http://storify.com/ajburin/social-media

http://storify.com/ajburin/social-media

อบรม ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารหลักสูตรของจุฬฯ

cu-cas & tqf
cu-cas & tqf

21 ก.ค.54 มีโอกาสเข้ารับฟังการบรรยายเรื่อง “ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารหลักสูตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” หัวข้อเปรียบเทียบ TQF กับ CU-CAS โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับ อัตลักษณ์ คุณลักษณะบัณฑิตพึงประสงค์ (เดินทางกับคุณเรณู ฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัย ไปประชุมครึ่งวัน) ซึ่งเป็นระบบที่จุฬาฯ พัฒนาขึ้น ใช้เป็นกรอบมาตรฐานของจุฬาฯ ต่อมา สกอ.เปิดช่องให้ทุกมหาวิทยาลัยสามารถพัฒนาระบบของตนเองที่ต่างไปจาก มคอ.1-7 ได้ แต่ถ้ามีการตรวจสอบ ต้องให้ข้อมูลได้ครบถ้วน ซึ่งระบบ cu-cas มีความสมบูรณ์มาก โดยแบบฟอร์ม และระบบถูกพัฒนาควบคู่กันไป มีตัวอย่างฟอร์มดังนี้
– Course Specification (CU-CS)
– Course Specification (CU-CS)
– Program Curriculum Mapping (CU-PCM)
– Department Curriculum Mapping (CU-DCM)
– E-portfolio (CU-EP)
– Faculty Course Evaluation (CU-FCE)
– Faculty Course Evaluation (CU-FCE)
– Student Course Evaluation (CU-SCE)
– Department Report (CU-DR)
– Program Report (CU-PR)
– Subject Report (CU-SR)
– Faculty Report (CU-FR)

หลังกลับจากการประชุมได้เขียนรายงานนำเสนอหัวหน้า 6 ประเด็นใน บันทึก 17/54 และขออนุมัตินำไปจัดเวที KM เรื่องหลักสูตร สอดรับกับตัวบ่งชี้ 7.2

ต่อมา 23 มี.ค.55 มีโอกาสได้ฟัง ผศ.ดร.วีระพันธ์ รังสีวิจิตรประภา อาจารย์จากจุฬาฯ นำเสนอเรื่องนี้ที่เชียงใหม่ ในงาน “อุดมศึกษากับการพัฒนาประเทศไทย” ก็ยิ่งเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ว่าอัตลักษณ์ และมาตรฐานการเรียนรู้นั้น มีที่มา ที่ไป อย่างไร
http://www.scribd.com/doc/87611391

คุณลักษณะบัณฑิตพึงประสงค์ กับคนไทยพึงประสงค์
http://www.thaiall.com/blog/burin/3842/

ระบบรับข้อมูลการสมัครเรียนด้วยแบบฟอร์มออนไลน์

online application of university in thailand
online application of university in thailand

ระบบรับข้อมูลการสมัครเรียนด้วยแบบฟอร์มออนไลน์
(Application form for the new student)

มหาวิทยาลัยเนชั่น
http://www.nation.ac.th/register-bangkok.php
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
http://www.sau.ac.th/apply.html
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
http://admission.utcc.ac.th/register-howto.html
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
http://admission.bu.ac.th/index.php/admissions/applymenu
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
http://admission.spu.ac.th/content/535/7857.php
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
http://www.admissions.au.edu/
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
http://web.spu.ac.th/apply/information
มหาวิทยาลัยคริสเตียน
http://estudent.christian.ac.th/admission/
มหาวิทยาลัยพายัพ
http://www.payap.ac.th/pyu_e-admission/
มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
http://www1.rbac.ac.th/graduate/candidate.asp
หน่วยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร
http://web.mis.nu.ac.th/graduate/register.php
มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
http://lms.umt.ac.th:8080/umtreg/default3.aspx
มหาวิทยาลัยราชธานี
http://register.rtu.ac.th/
วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
http://www.cas.ac.th/systems/form_rg.asp
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง
http://www.trang.rmutsv.ac.th/~regis/reg_admission/webopac/index.php?option=mod_admission01
วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
http://www.bsc.ac.th/Register_Short/
มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล นครราชสีมา
http://i-vu.vu.ac.th/admission/apply.php
วิทยาลัยนครราชสีมา
http://reg.nmc.ac.th/OnlineRegister/regisonline.php
มหาวิทยาลัยเกริก
http://wwwback.krirk.ac.th/form/applyform.asp
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ (MBA) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
http://mba.kku.ac.th/index.php?gid=admission&cid=webapply
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
http://reg.lru.ac.th/registrar/apphome.asp
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
http://www.pim.ac.th/register
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
http://www.cpu.ac.th/cpu2010/apply53/reserve.php
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
http://www.rsu-cyberu.com/msitm/RegisterI/register.php
มหาวิทยาลัยราชธานี
http://register.rtu.ac.th/Form.php
วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
http://www.southeast.ac.th/register.php
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
http://www.coe.psu.ac.th/th/interest/registeronline.html
มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ศูนย์ดุสิตพณิชยการ
http://203.144.226.201/rbac/site/index.php/welcome/page/Online%20Registration.htm
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
http://www.bkkthon.ac.th/admission/
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
http://admission.hcu.ac.th/modules.php?name=admission_online
มหาวิทยาลัยนครพนม
http://www.npu.ac.th/edus/entry_online/main.php

รู้จักคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เริ่มเปิดดำเนินการปีพ.ศ. 2545ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัย (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) ให้เปิดสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2545 โดยครั้งแรกที่เปิดนั้นใช้ชื่อว่า คณะวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เริ่มปีการศึกษาแรก ในปีการศึกษา 2545 มีนักศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 13 คน ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2546 เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น คณะวิทยาศาสตร์
มีคณบดีท่านแรกคือ รศ.ดร. ศรีนวล ถนอมกุล ในเดือนมิถุนายน 2546 เปลี่ยนชื่อคณะใหม่เป็นคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เนื่องจากสาขาวิชาที่เปิดสอนจะเน้นทางด้านเทคโนโลยี ในปีเดียวกัน ได้โอนย้ายสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ที่สังกัดคณะบริหารธุรกิจ มาสังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี พ.ศ. 2547 เปลี่ยนชื่อสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เป็นสาขาวิชาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ปีการศึกษา 2553 ได้เปิดสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ และเปลี่ยนชื่อคณะเป็นคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยี มีคณบดีคือ อาจารย์เบญจวรรณ นันทชัย ในปีการศึกษา 2554 ได้งดรับนักศึกษา สาขาวิชาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ปลายปีการศึกษา 2554 ได้แยกสาขาสาธารณสุขศาสตร์ ออกไปอยู่คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีคณบดีคือ อาจารย์ ดร.อติชาต หาญชาญชัย ได้เปลี่ยนชื่อคณะใหม่เป็น คณะเทคโนโลยีสารสนเทศให้บริการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

ปรับปรุง 29 มีนาคม 2555

อุดมศึกษากับการพัฒนาประเทศไทย ที่เชียงใหม่

นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย (70 ปี)
นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย (70 ปี)

23 มี.ค.55 ไปร่วมงานประชุมสัมมนา “อุดมศึกษากับการพัฒนาประเทศไทย
ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ เชียงใหม่ แกรนด์วิว โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จ.เชียงใหม่
โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย กล่าวเปิดงาน และบรรยายหัวข้อ บทบาทสถาบันอุดมศึกษากับการพัฒนาชาติ
แล้วท่านฝากให้ระวังปีศาจ 2 ตัวคือ 1. วัตถุนิยม 2. บริโภคนิยม
แล้ว ศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บรรยายพิเศษเรื่อง เป้าหมายของการศึกษาคือการสร้างอุปนิสัย
แล้ว อาจารย์จุฑารัตน์ บวรสิน โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ บรรยายพิเศษเรื่อง เทคนิคการสอนสอดแทรกเพื่อพัฒนาบัณฑิตที่พึงประสงค์

ช่วงบ่ายก็แยกกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มแรก : เทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
ดำเนินรายการโดย อาจารย์ นายแพทย์ ศิวัฒม์ ภู่ริยะพันธ์
กลุ่มสอง : กลยุทธ์การจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมความสำคัญของทุกหลักสูตร
ดำเนินรายการโดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ รณภพ เอื้อพันธเศรษฐ

กลุ่มที่สองมีอาจารย์นำเสนอ 3 ท่านคือ
1. อ.อุบล พิรุณสาร ภาควิชากายภาพบำกัด คณะเทคนิคการแพทย์ ม.เชียงใหม่
เล่าถึงโครงการ ส่งเสริมเมล็ดพันธุ์แห่งความดี และการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีของนักศึกษากายภาพบำบัดเชียงใหม่
2. ผศ.อัศวินีย์ หวานจริง คณะวิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่
เล่าถึงกระบวนวิชา การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม
3. ดร.วิติยา ปิดตังนาโพธิ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.นเรศวร
เล่าเรื่อง กลยุทธ์การจัดกระบวนการเรียนรู้ ผ่าน 5 รูปแบบกิจกรรม 5 กรณีศึกษา
1) play 2) Post it together 3) Role Plays 4) Community classroom 5) Fieldwork study

แล้วกลับมารวมกันที่ห้องรวม ฟังผลงานวิจัย 4 เรื่อง

1. ผศ.ดร.วีระพันธ์ รังสีวิจิตรประภา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลงานเรื่อง บทบาทของการศึกษาทั่วไปในการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. ผศ.กิตติภูมิ มีประดิษฐ์ ม.ศรีปทุม
ผลงานเรื่อง การบูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงผ่านรายวิชาศึกษาทั่วไป
กรณีศึกษารายวิชา “เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”
3. อ.อาพัทธ์ เตียวตระกูล ม.นเรศวร
ผลของการใช้การจัดการเรียนการสอนแนวจิตตปัญญาศึกษา ในรายวิชา 001161 บาสเกตบอล ที่มีผลสัมฤทธิ์ในเชิงจิตตปัญญา
4. ผศ.ดร.อัญชลี วงศ์หล้า อ.เมทินี ทนงกิจ ม.นอร์ท-เชียงใหม่
ผลงานเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนวิชาการศึกษาในระดับอุดมศึกษา กับ อัตราการออกกลางคันของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
http://www.eqd.cmu.ac.th/HETDSeminar/default.asp
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.10150678325012272.411159.350024507271

บทเรียนที่พบในอดีตเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษา

ผศ.ปรานี พรรณวิเชียร
ผศ.ปรานี พรรณวิเชียร

1 มี.ค.55 มีโอกาสฟัง อาจารย์ปรานี  พรรณวิเชียร  บรรยายเรื่อง ประเด็นในบางตัวบ่งชี้ และ share&learn  ที่ The Empress จังหวัดเชียงใหม่  .. ท่านเล่ากรณีปัญหาที่ได้พบจากการเป็นผู้ประเมินในมหาวิทยาลัยต่าง  ๆ ในอดีต .. ท่านเล่าให้ฟังเพื่อเป็นบทเรียนว่าไม่ควรเกิดขึ้น อาทิ
1. การตรวจเยี่ยมนอกที่ตั้งพบว่าไม่มีอาจารย์ประจำหลักสูตรทำงานอยู่
2. กรรมการสภาอยากเป็น ง แต่คณะวิชาและอธิการอยากเป็น ข (เหมือนแม่ปูเลยครับ)
3. บวกเลขผิด ๆ ถูก ๆ แล้วในมหาวิทยาลัยใครจะรับผิดชอบ (ใครควรรับรู้)
4. บางคณะอยากให้งานประกันเขียนรายงาน (ไว้อาลัย)
5. แค่วิทยากรมาบรรยายก็เรียก KM แล้ว ไม่มี share & learn กันเลย
6. บางที่ก็มี blog มีคนเขียน 1 คน จะเรียกว่ามหาวิทยาลัยมี km ได้อย่างไร
7. best practice ของ QA วัดจากการแลกเปลี่ยนดูงานระหว่างสถาบัน ไม่ได้
8. QA ต้องลงไปช่วยทำความเข้าใจ กำกับ ไปตรวจสอบให้ทุกอย่างถูกต้อง
9. บางคณะทำแค่ 2.1 กับ 2.6 เพราะ QA บอกว่าตามใจ (แล้วพันธกิจไปไหน)
10. ประเมินความสำเร็จต้องทำหลังโครงการแล้วเสร็จ มิใช่ประเมินโครงการ
11. MIS ช่วยผู้บริหารตัดสินใจ ส่วน QA ช่วยให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งผู้บริหารต้องใช้
12. ไม่ต้องส่งชื่อผู้ประเมินเข้าไปมาก ปัจจุบันมี 6000 คน บางคนยังไม่รู้จักแผนกลยุทธ์เลย
13. ภาษาที่ 2 ภาษาที่ 3 ผู้ประกอบการบอกว่าบางคนภาษาคนยังคุยไม่รู้เรื่องเลย
http://www.mua.go.th/users/bhes/bhes2/QA_Training/qa_training.htm

อินเทอร์เน็ตสอง (itinlife331)

internet2
อินเทอร์เน็ต 2

25 ก.พ.55 มีโอกาสเห็นข้อสอบเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ว่า อินเทอร์เน็ต (Internet) กับ อินเทอร์เน็ตสอง (Internet2) ต่างกันอย่างไร ซึ่งมีคำถามตามมาว่าจะมีนักเรียนระดับมัธยมกี่คนที่สนใจ หรือทราบว่ามีเรื่องนี้เกิดขึ้นในโลกของเรา แต่ถ้าไม่สนใจก็คงไม่ได้ เพราะปรากฎในข้อสอบวัดความรู้แล้ว ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตสองนั้นเริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐอเมริกาจำนวน 35 แห่ง เปิดตัวโครงการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตใหม่ในเดือนตุลาคม 2539 มีการรวมตัว จัดประชุม กำหนดมาตรฐาน และตั้งชื่อจนเป็นที่ยอมรับว่า Internet2 ปัจจุบันมีข้อมูลเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ www.internet2.edu และมีสมาชิกจากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมกลุ่มเพิ่มเป็นมากกว่า 200 แห่งแล้ว

วัตถุประสงค์ของอินเทอร์เน็ตสอง คือ การวางโครงสร้างเครือข่ายประสิทธิภาพสูงทดแทนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบเดิมที่มีข้อจำกัดหลายด้าน มุ่งให้บริการ สนับสนุนด้านการศึกษา วิจัย และทดสอบเทคโนโลยีใหม่ เพื่อนำมาใช้งานจริงในอนาคต ปัจจุบันเครือข่ายหลักของอินเทอร์เน็ตสองที่เชื่อมต่อมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้าด้วยกันใช้ความเร็วสูง 2.5 จิกะบิตต่อวินาที หากเปรียบเทียบกับเครือข่ายหลัก (Backbone) ของสหรัฐอเมริกาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน พบว่ามีความเร็วประมาณ 45 เมกะบิทต่อวินาที แต่โครงการนี้ยังไม่มีแผนเปิดให้ผู้ใช้ตามบ้านได้ใช้งานในอนาคตอันใกล้

ข่าวเดือนกรกฎาคม 2554 พบว่า Berkeley Lab’s Energy Sciences Network (ESnet) และ Internet2 มีข้อตกลงร่วมกันพัฒนาโปรโตคอลเครือข่าย ANI (Advanced Networking Initiative) ให้มีความเร็วถึง 100 จิกะบิทต่อวินาที เมื่อนึกถึงความเร็วของอินเทอร์เน็ตตามบ้านในไทย เรามี High speed internet หรือ ADSL ที่เร็วสูงสุดถึง 100 เมกะบิทต่อวินาที ส่วนบริการ 3G ก็มักมีในเขตเมืองหลวงที่บริการด้วยความเร็วสูงสุด 4 เมกะบิทต่อวินาที ส่วนเครื่องโทรศัพท์ก็ต้องหารุ่นใหม่ที่รองรับเครือข่าย UMTS หรือ W-CDMA มีเทคโนโลยีรับส่งข้อมูล HSDPA หรือ HSUPA ถ้าสังเกตจะพบว่าความเร็วในจินตนาการของอินเทอร์เน็ตสอง กับความเร็วที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ห่างกันเหลือเกิน เราในฐานะผู้ใช้ตามบ้านคงต้องเฝ้ารอดูการพัฒนากันต่อไป ถ้าผู้ผลิตพร้อมเมื่อใดเราก็คงจะได้ใช้เมื่อนั้น

https://lists.internet2.edu/sympa/arc/i2-news/2011-07/msg00003.html

http://www.arip.co.th/news.php?id=406864

นักฟิสิกส์อาจจะเป็นคนกลุ่มแรกที่ใช้ความสามารถของเครือข่ายนี้ เมื่อมีการเปิดใช้งาน Large Hadron Collider แห่งองค์กรวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรปที่มีแผนเปิดเดือนพฤษภาคมปีหน้า ซึ่งจะทำให้มีนักฟิสิกส์นับพันๆ คนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ออกมาจาก LHC

http://kitty.in.th/index.php/articles/internet2-the-next-generation-internet/

webometrics.info on january 2012

january 2012
january 2012

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในไทย 10 อันดับแรก และผลอันดับระดับโลก
1      140      Kasetsart University
2     173     Chulalongkorn University
3     202     Mahidol University
4     228     Prince of Songkla University
5     233     Khon Kaen University
6     236     Chiang Mai University
7     576     King Mongkut´s University of Technology Thonburi
8     638     Thammasat University
9     677     King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang
10     727     Mahasarakham University

Since 2004, the Ranking Web is published twice a year (January and July), covering more than 20,000 Higher Education Institutions worldwide. We intend to motivate both institutions and scholars to have a web presence that reflect accurately their activities. If the web performance of an institution is below the expected position according to their academic excellence, university authorities should reconsider their web policy, promoting substantial increases of the volume and quality of their electronic publications. If you need further clarification regarding the motivations of the Ranking or the methodology

1. Size (Size)
The number of page references to the university and academic faculty can be found through search engines: Google, Yahoo, Live Search and Exalead
20%
2. Visibility
The number of external links associated with the university and all academic faculty that can be accessed through the search engine above.
Visibility does not mean hit, but the total number of links created by other sites pointing to a site in UNIKOM.
50%
3. Rich Files (Documents)
Availability of documents from a university academic articles which can be extracted from the internet, both in format: Word Document (. Doc), Adobe Acrobat (. Pdf), Microsoft Power Point (. Ppt) or Adobe postcript (. Ps).
15%
4. Scholar (Expert)
Paper or scientific works and quotations found in Google Scholar.
15%

เห็นเลขในแต่ละปีของสถาบันหนึ่ง
january 2008: 4183
july 2008: 4284
july 2009: 4325
january 2010: 5826
january 2011: 5336
july 2011: 4984
january 2012: 20245
ก็เห็นว่าผลต่างเยอะมาก

http://studyinthailand.org/study_abroad_thailand_university/university-ranking-Thailand.html

http://www.ichat.in.th/SoPonKPP/topic-readid79134-page1