5w จาก ohec newsletter

ohec newsletter
ohec newsletter

พบคำว่า 5 w จาก จดหมายข่าวของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (OHEC Newsletter) ซึ่งประกอบกอบด้วย who what when where และ why หรือใคร ทำอะไร เมื่อไร ที่ไหน ทำไม ซึ่งคาดว่าต้องการให้ผู้อ่านได้ตระหนักในการทำกิจกรรม / โครงการ ว่าต้องคิดอย่างไร จากแนวเริ่มต้นที่ให้มาทั้ง 5 มีดังนี้
1. งานนั้นใครรับผิดชอบ หรือมีเจ้าภาพ
2. งานนั้นคืออะไร ทำอะไร หรือเพื่ออะไร
3. งานนั้นทำเมื่อไร เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องทำแต่ละช่วงเวลา
4. งานนั้นทำที่ไหน ภายนอก/ภายใน เตรียมตามแผนอย่างไร
5. งานนั้นทำไปทำไม จำเป็นแค่ไหน สมเหตุสมผลที่จะทำหรือไม่
ผมว่า สกอ. คงเสนอว่านี้เป็นการเริ่มต้น หากก้าวพ้นแนวคิดเริ่มต้นด้วยความเข้าใจได้ คงไปถึง AAR ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมก่อนกระบวนการวนรอบจะครบถ้วนสมบูรณ์
http://www.thaiall.com/pdf/ohec/
http://www.mua.go.th/pr_web/ohecnewsletter/index.html

เพื่อนใหม่ที่ศูนย์เนชั่นทาวเวอร์

20 ม.ค.55 เพื่อนร่วมงานใหม่ เป็นอะไรที่เป็นสีสรรขององค์กร เพราะนั่นหมายถึงอะไรใหม่ ๆ มากมายที่จะตามมา โดยเฉพาะคำว่าการเปลี่ยนแปลง (Change) เหมือนที่อ่านได้จากหนังสือของ Steve Jobs ในฐานะนักนวัตกรรมระดับโลก พบว่าเขาเปลี่ยนงาน และเพื่อนร่วมงานบ่อย มีผู้คนที่มีความคิด ความสามารถ เข้ามาในชีวิตของเขาตลอดเวลา ผมเองก็ดีใจที่ได้เพื่อนร่วมงานใหม่

รับแจ้งมาว่าผมมีเพื่อนใหม่ในองค์กรที่ศูนย์เนชั่นทาวเวอร์ เพิ่มอีก 6 ท่าน
คือ
1. อาจารย์รัตนาวดี ลำพาย ผู้อำนวยการศูนย์เนชั่นทาวเวอร์
2. อาจารย์วนิดา วินิจจะกูล รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์
3. อาจารย์ภรภัทร ปิติโชตินันท์ รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
4. อาจารย์ดรรชกร ศรีไพศาล รองคณบดีคณะบริหารธุรกิจ
5. อาจารย์ภฎะ รองรัตน์ หัวหน้างานกิจกรรมนักศึกษา
6. อาจารย์รุ่งรัตน์ ธนบดีธาดา หัวหน้างานสำนักงานสภามหาวิทยาลัย
ก่อนหน้านี้เคยพบทุกท่านทาง social media มาแล้ว ตัวจริงก็พบบางท่านแล้ว

บันทึกชื่อไว้ใน blog นี่หละครับ จะได้ใช้อ้างอิง เพื่อ communication
เพราะเป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่
( หนังสือ มนช.044/2555 )
http://www.nation.ac.th
ติดต่อเบอร์โทร 02-338-3000 กด 8

ชื่องานวิจัยที่น่าสนใจ

รายชื่องานวิจัยเกี่ยวกับการขาย และการทำธุรกิจออนไลน์ที่น่าสนใจ

  1. การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความภักดีของกลุ่มแฟนคลับต่อสโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรสาคร
    โดย นเรศ บัวลวย และ ศุภกาญจน์ จำเริญรักษ์
  2. การใช้ซอฟต์แวร์ทางการบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดสงขลา โดย นุชษรา พึ่งวิริยะ
  3. สถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มความต้องการบุคลากรที่มีความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์ ของจังหวัดสงขลา โดย ชัยรัตน์ จุลปาโล
  4. การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษา : ดอกไม้ประดิษฐ์จากใบยางพาราในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดย วีระวรรณ ศิริพงษ์
  5. การศึกษาเปรียบเทียบซอฟต์แวร์สาธารณะบนอินเทอร์เน็ตในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับ จังหวัดสงขลา โดย ชาญยุทธ กาญจนวงษ์
  6. การรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ของนักเรียนในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคใต้ โดย ดวงฤดี ปลอดภัย และคณะ
  7. พฤติกรรมการซื้อและปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า iPod ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดย พากภูมิ พร้อมไวพล 
  8. ความพึงพอใจของตัวแทนจำหน่ายที่มีต่อคุณภาพสินค้าและการบริการของ บริษัท เทคนิโก้ เซลล์ (ประเทศไทย) จำกัด โดย อิสรีย์ นลินธรรมรัชต์ 
  9. การวิเคราะห์สภาวะการแข่งขันในตลาดไมโครคอมพิวเตอร์ กรณีศึกษาในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ โดย จิรพงษ์ เธียรธิติ
  10. การศึกษาโครงสร้างและการดำเนินการในระบบขายตรงหลายชั้น กรณี : บริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด โดย สมคิด ภิรมย์
  11. ความต้องการในการพัฒนาตนเองของพนักงานระดับผู้จัดการเขตของบริษัทขายตรงชั้นเดียวโดย สุพัชญกรณ์ พรพัฒน์กุล
  12. ความสัมพันธ์ระหว่างสถานส่วนตัว ความฉลาดทางอารมณ์ และพฤติกรรมการเผชิญปัญหากับผลการปฏิบัติงานของพนักงานขายตรง โดย ปวีณา ปักษา
  13. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ การตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางระบบขายตรงของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร โดย สุกัญญา ปรมาธิกุล
  14. ปัจจัยแรงจูงใจและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจการตลาดแบบเครือข่าย กรณีศึกษา: บริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด โดย จิราวรรณ ห่วงกระโทก
  15. ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการขายตรง : ศึกษากรณีการขายยาแผนโบราณ โดย ไพฑูรย์ นิภานันท์
  16. อิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของการตลาดขายตรงผ่านสื่อโทรทัศน์ต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค โดย ธนันพร เหล่าทรงฤทธิ์

แหล่งสืบค้นงานวิจัย

  1. ศูนย์ข้อมูลการวิจัย Digital “วช.” – https://dric.nrct.go.th/Index
  2. คลังข้อมูลงานวิจัยไทย – https://tnrr.nriis.go.th/#/
  3. ระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย – https://www.tci-thaijo.org/
  4. ฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็ม – https://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php
  5. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย – http://www.thaithesis.org/search.php
  6. ประตูสู่งานวิจัย ค้นหาข้อมูลทั้งหมดได้จากจุดเดียว – http://researchgateway.in.th/
  7. ฐานข้อมูลงานวิจัย สกว. – https://elibrary.trf.or.th/
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์

อัตลักษณ์ (identity)

identity and uniqueness
identity and uniqueness

ถ้ามองว่าเว็บไซต์ คือ แหล่งข้อมูลและสารสนเทศ
แล้วเว็บมาสเตอร์มีความคาดหวังว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์
ที่เข้ามารับข้อมูลและสารสนเทศไปแล้ว
ผู้เข้าชมเหล่านั้นควรเปลี่ยนไปเป็นอย่างไร (identity)
หรือความสำเร็จของเว็บไซต์ตามจุดเน้นคืออะไร (Uniqueness)

อาจสะท้อนออกมา เป็น อัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ ของเว็บไซต์ได้ว่า
อัตลักษณ์ของไทยออล คือ มีทักษะทางวิชาการ และวิชาชีพด้านคอมพิวเตอร์
เอกลักษณ์ของไทยออล คือ เว็บไซต์วิชาการเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อยู่ในสิบอันดับแรกด้านแหล่งข้อมูลความรู้

ถ้าเป็นของสถาบันการศึกษา อ่านเพิ่มเติมที่ http://www.thaiall.com/blog/burin/3476/

นิยาม
อัตลักษณ์ (Identity) หมายถึง ผลผลิตของผู้เรียนตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
เอกลักษณ์ (Uniqueness) หมายถึง ความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่สะท้อนให้เห็นเป็นลักษณะโดดเด่นเป็นหนึ่งของสถานศึกษา

แหล่งอ้างอิง จากบทความของ ดร.สุพักตร์ พิบูลย์
http://drsuphakedqa.blogspot.com/2010/07/07.html
http://www.gotoknow.org/blog/cityedu/422459
http://qa.bu.ac.th/buqa/index.php/kmqa/60-identity

ตัวอย่างกราฟประเมินวิดีโอ

graph of evaluation
graph of evaluation

เป็นการใช้ MS Excel 2010 กรอกข้อมูล แล้วใช้ฟังก์ชัน sum และ averagea หาค่าผลรวม และค่าเฉลี่ย เปรียบเทียบเกณฑ์ที่ใช้ประเมินจำนวน 5 เกณฑ์ ซึ่งผลของผลรวม กับค่าเฉลี่ยต่างกัน เนื่องจากมีผู้ประเมินคนหนึ่งไม่ประสงค์ จะแสดงความเห็นเรื่องนักแสดง การหาค่าเฉลี่ยจึงใช้ averagea ที่สามารถเลือกเฉพาะค่าที่มีตัวเลขมาหาค่าเฉลี่ย กราฟของรวม และเฉลี่ยจึงมีความหมายต่างกัน

แต่ในเกณฑ์ที่ผมเสนอให้นักศึกษาใช้มี
1. เนื้อหา
2. ตัวละคร
3. ภาพ
4. เสียง
5. เทคนิค
6. ความคิดสร้างสรรค์
7. ความสมบูรณ์ในภาพรวม
เพื่อให้นักศึกษาพึงระวังในระหว่างการจัดทำ ว่ามีประเด็นได้ต้องให้ความสำคัญ และต้องนำไปใส่ใน MS Powerpoint ในการนำเสนอคลิ๊ปวีดีโอ .. กรณีนี้ใช้สำหรับ BCOM 500 มีนักศึกษา 46 คน

วิธีการสอน/พัฒนา 37 วิธี

เรียบเรียงจากวิธีการสอน/พัฒนาใน Course Specification ของ CU-CAS
1. การบรรยาย (Lecture)
2. การอภิปราย (Discussion)
3. การสอนแบบสัมมนา (Seminar)
4. การสอนโดยใช้การนิรนัย/อนุมาน (Deductive) คือ อ้างความรู้เดิมให้ได้ความรู้ใหม่หรือข้อสรุป
5. การสอนโดยใช้การอุปนัย/อุปมาน (Inductive) คือ การสรุปจากความจริงย่อยหลายข้อมาเป็นข้อสรุป
6. การใช้กรณีศึกษา (Case)
7. การแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing)
8. ภาคสนาม (Field Work)
9. การไปทัศนศึกษา (Site Tour)
10. การใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation)
11. การแสดงละคร (Dramatization)
12. การสาธิต (Demonstration)
13. การสอนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center)
14. การใช้เกม (Game)
15. การทดลอง (Experiment)
16. การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction)/ การเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน /การเรียนแบบผสมผสาน/การเรียนแบบออนไลน์
17. การฝึกปฏิบัติ (Practice)
18. การฝึกงาน/การฝึกสอน (Training)
19. การสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research-based Instruction)
20. การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Instruction)
21. การสะท้อนความคิด (Reflective Thinking)
22. การสอนแบบสืบสอบ (Inquiry-based instruction)
23. การศึกษาค้นคว้าโดยอิสระ (Independent Study)
24. การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (Self-directed Learning)
25. การสอนโดยใช้โครงงาน (Project-based Instruction)
26. การเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบ/ปราชญ์ (Professional Model)
27. การเรียนการสอนแบบจุลภาค (Micro Teaching)
28. การนิเทศการปฏิบัติการวิชาชีพ (Supervision)
29. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
30. การให้คำปรึกษารายบุคคล (Individual Advisor)
31. กลุ่มติวเตอร์ (Tutorial Group)
32. การระดมสมอง (Brain Storming)
33. การสรุปประเด็นสำคัญ / การนำเสนอผลของการสืบค้นที่ได้รับมอบหมาย (Conclusion Presentation)
34. กิจกรรม (Activities)
35. การสอนข้างเตียง/เรียนจากผู้ป่วย (Problem Learning)
36. การฝึกแสดงออกทางพฤติกรรม (Behavior Presentation)
37. การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Study)

อบรมใช้ excel ทำ qa อย่างมืออาชีพ

cheqa excel
cheqa excel

พบโครงการอบรมการใช้ excel เพื่องานประกันคุณภาพของ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ ในชื่อโครงการ “โครงการอบรม การจัดเก็บข้อมูลและเขียนรายงานประกันคุณภาพอย่างมืออาชีพ (54/1)

มีหลักการและเหตุผล ดังนี้ ส่วนสำคัญของระบบประกันคุณภาพการศึกษาคือข้อมูลผลการดำเนินงานตามพันธกิจ ถึงแม้ว่าบางสถาบันการศึกษาจะมีระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการ (Enterprise Resource Planning) แต่การจัดทำข้อมูลเพื่อตอบสนองความต้องการของระบบประกันคุณภาพยังมีความจำเป็นในการเชื่อมโยงข้อมูลในระบบงาน และมีความจำเป็นในการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม โปรแกรมเอ๊กเชลล์ยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดเก็บข้อมูลดิบ หรือช่วยในการเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบงานต่างๆ และผู้มีส่วนรวมในการจัดเก็บข้อมูลคือบุคลากรของสถาบันนั่นเอง จากการเปิดอบรมหลักสูตรการจัดเก็บข้อมูลประกันคุณภาพด้วยเอ๊กเชลล์ที่ผ่านมา 10 รุ่น มีข้อมูลจากการประเมินผลการอบรมแสดงว่าสถาบันการศึกษายังมีความต้องการอย่างมากในการพัฒนาบุคคลากรให้สามารถใช้เครื่องมือโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการทำงานของบุคคลกร เพื่อให้สามารถใช้เครื่องมือในการลดระยะเวลาในการทำงาน และมีข้อมูลที่สามารถตอบสนองความต้องการของระบบประกันคุณภาพต่าง ๆ แม้ตัวบ่งชี้ประกันคุณภาพภายใน (สกอ. ปี 2554) และตัวบ่งชี้ สมศ รอบ 3 จำนวนตัวบ่งชี้ลง แต่มีความต้องการรายละเอียดข้อมูลเชิงลึกมากขึ้นส่งผลการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อความพร้อมในการรับตรวจใช้เวลาเพิ่มมากขึ้น ถ้าระบบบริหารจัดการข้อมูลไม่ดี

โครงการอบรมการจัดเก็บข้อมูลประกันคุณภาพอย่างมืออาชีพด้วยเอ๊กเชลล์ เป็นโครงการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถาบันการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถในการใช้ไมโครซอฟต์ออฟฟิศอย่างมืออาชีพ และสามารถทำงานอย่างบูรณาการ เชื่อมโยงการออกแบบจัดเก็บข้อมูลดิบ การออกรายงานสำหรับผู้บริหาร มีข้อมูลพร้อมในการการจัดทำรายงานประจำปี รายการการประเมินตนเอง และจัดเตรียมข้อมูลพร้อมโหลดเข้าสู่ฐานข้อมูล CHEQA แม้หน่วยงานที่มีฐานข้อมูลในการจัดเก็บข้อมูลประกันคุณภาพ ยังมีความต้องการในการพัฒนาบุคลากร ให้สามารถนำข้อมูลจากฐานข้อมูลมาจัดทำรายงานตามความต้องการข้อมูลที่พลวัต

http://pirun.ku.ac.th/~fscichj/qa/Train/
http://pirun.ku.ac.th/~fscichj/qa/Train/v54-1/qa-project.pdf
http://pirun.ku.ac.th/~fscichj/course/52/qa2/qa-project2.htm
http://www.thaiall.com/pdf/qa_excel_pro.pdf

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์

factor computer subject
factor computer subject

ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ของอดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์ และไพบูลย์ เกียรติโกมล ในส่วนของความสัมพันธ์ของเจตคติที่มีต่อการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีตัวแปรดังนี้ ความสนใจในวิชาชีพ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ทักษะพื้นฐาน ความรับผิดชอบ การปรับตัวของนักเรียนกับเพื่อน การปรับตัวของนักเรียนกับครู (Full Article)
http://www.thaiall.com/research/it/research_factor_computer.pdf

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้อินเตอร์เน็ต

factor behavior internet
factor behavior internet

พบโครงร่างวิทยานิพนท์ เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลกับพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ผู้วิจัย นายเทพศิรินทร์ วุฒิยางกูร ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 2550 มีปัจจัยที่น่าสนใจที่หลายปัจจัย อาทิ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกสถานที่ใช้อินเตอร์เน็ต
ปัจจัยที่ส่งผลต่อเหตุผลในการใช้อินเตอร์เน็ต
ปัจจัยของการเลือกวันที่ใช้อินเตอร์เน็ต
ปัจจัยการเลือกช่วงเวลาที่ใช้อินเตอร์เน็ต
ปัจจัยของลักษณะการใช้อินเตอร์เน็ตตามลำพังหรือร่วมกับผู้อื่น
ปัจจัยของลักษณะการเลือกใช้บริการของอินเตอร์เน็ต
ปัจจัยของวัตถุประสงค์ในการใช้อินเตอร์เน็ต
การเข้าเลือกใช้ภาษา
การปฏิบัติหลังการใช้อินเตอร์เน็ต
http://www.thaiall.com/research/it/research_factor_behavior_internet.doc

ประสิทธิผลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

it efficiently research
it efficiently research

พบเอกสารการทบทวนวรรณกรรม โครงการวิจัย “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ” เขียนได้ดีมีประโยชน์มากครับ เป็นกรณีศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และมี diagram แสดงตัวแปรต้น กับตัวแปรตามได้ชัดเจน มีเนื้อหา 7 หน้า
อ้างอิง : อนุทิน  จิตตะสิริ.2541  ประสิทธิฟลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาระบบงานบริหารเอกสาร: ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง
http://www.thaiall.com/research/it/research_it_efficiently.doc

ระดับของทักษะในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

http://61.19.244.9/personel/form/framru_taksa/Pakpanouk.doc