คุณวุฒิ คุณภาพ คุณธรรม

คุณวุฒิ  คุณภาพ  คุณธรรม : คำทั้ง ๓ คำนี้   เชื่อว่าผู้อ่านคงคุ้นเคยอยู่      และคงเป็นคำที่ทุก ๆ คนปรารถนาจะให้เกิดขึ้นกับตัวเอง   และกับบุคคลข้างเคียง    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง   อยากจะให้เกิดกับคนในองค์กรเดียวกัน   ตั้งแต่ระดับหัวหน้าสูงสุดลงไปเลย  ก็เพราะอานุภาพของความหมายของคำทั้งสามคำนั่นเอง

บทความโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภิเษก  จันทร์เอี่ยม

“คุณวุฒิ” เป็นสิ่งที่คนในแวดวงวิชาการอย่างพวกเราจะแสวงหามาใส่ตัวเสมอ     หากมีมาก ๆ จนเป็นที่เชื่อถือได้   ก็จะได้รับการยกย่องหรือขนานนามให้ว่า  เป็น   “ผู้ทรงคุณวุฒิ”

สิ่งที่เรียกว่า  “คุณวุฒิ” นั้นได้มาจากไหน      หนทางหนึ่งได้มาจากการเป็นผู้ที่ร่ำเรียนในหลักสูตร สาขาวิชาใดวิชาหนึ่งจนถึงขั้นสูงหรือสูงสุดเท่าที่จะมีให้เรียน       เมื่อได้รับ “คุณวุฒิ” ทางการศึกษามา      ก็จะกลายเป็นผู้รอบรู้      เชี่ยวชาญในศาสตร์สาขานั้น  ๆ          อีกทางหนึ่งก็ได้จากการที่บุคคลผู้นั้นได้พยายามคิดสร้างผลงานทางวิชาการจนเป็นที่เชื่อถือได้ว่า             ผลงานนั้นสมควรได้รับการยอมรับ  ได้รับเกียรติ   ได้รับการยกย่องจากผู้ทรงคุณวุฒิกว่านั้น      จึงทำให้ได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น   อันเป็นผลมาจากการทุ่มเทกำลังกาย  กำลังปัญญา     เพื่อให้ตนเองมีความรู้  มีความเชี่ยวชาญ  ในศาสตร์แขนงนั้น ๆ เช่นกัน

การที่บุคคลมีคุณวุฒิหรือได้รับคุณวุฒิสูงขึ้น    นั่นหมายถึงบุคคลคนนั้นจะสามารถคิด  อ่าน   กระทำการใด ๆ  ได้หลากหลาย  ซับซ้อนมากกว่าคนอื่น    บุคคลรอบข้างก็จะคาดหวังผลงานของผู้ทรงคุณวุฒิไว้ในระดับสูงทีเดียว

ความเป็น “ผู้ทรงคุณวุฒิ”   จึงทำให้บุคคลนั้นกลายเป็นคนที่  จะคิด  จะพูด  จะกระทำการใด ๆ ก็ตาม    ผู้อื่นย่อมหมายเอาว่า  สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นไม่ว่าจะเป็นถ้อยคำวาจา   หรือพฤติกรรม    ย่อมเป็นสิ่งที่เชื่อถือได้   เพราะได้กลั่นกรองมาจากสติปัญญาของผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าว

ดังนั้น   เมื่อบุคคลใดมีคุณวุฒิ     หรือได้รับคุณวุฒิสูงขึ้น           ย่อมต้องพึงระมัดระวังพฤติกรรมที่แสดงออกทั้ง  การคิด  การพูด  การกระทำต้องให้สมกับความเป็นผู้มีคุณวุฒิหรือที่เรียกกันว่า “ผู้ทรงคุณวุฒิ”นั่นเอง

“คุณภาพ” เป็นคำที่เราจะได้ยินได้ฟังบ่อยที่สุดในยุคปัจจุบัน   เพราะเป็นยุคที่โหยหาสิ่งที่เรียกว่า “คุณภาพ”  ในทุก ๆ วงการ         โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการศึกษา   ทั้งในเชิงคุณภาพของบุคลากรในวงการศึกษา    และคุณภาพของการศึกษา    รวมถึงคุณภาพของสถานศึกษาด้วย   จะเห็นว่า  ในปัจจุบันนี้มีองค์กรที่ทำหน้าที่รับประกันคุณภาพหรือรับรองคุณภาพการศึกษาอยู่มากมาย

แท้จริงแล้ว  การประกันคุณภาพหรือการรับรองคุณภาพนั้นเป็นตัวแปรผล    ซึ่งไม่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก    สิ่งที่เราควรใส่ใจให้มากคือตัวแปรเหตุ   ที่จะนำมาซึ่ง   “คุณภาพ” ของสิ่งที่เราต้องการ    นั่นคือ  “การจัดการคุณภาพ”             เพราะหากไม่จัดการให้คุณภาพเกิดขึ้นเสียก่อน    ก็ป่วยการที่จะประกันหรือรับรองคุณภาพ   เพราะคงหาคุณภาพไม่พบ

ดังนั้น   ก่อนดำเนินการเรื่องใด ๆ   ที่หวังว่าจะทำได้อย่างมีคุณภาพ        จึงควรกำหนดวิธีการจัดการงานนั้นให้แสดงถึงความมีคุณภาพก่อน    แล้วกำกับให้งานดำเนินไปตามแผนที่วางไว้  นั่นคือ    ต้องมีการกำหนดเกณฑ์ (criteria)  และมาตรฐาน (standard)   ของงานหรือการดำเนินงานนั้น ๆ ก่อน     อาจจะต้องมีการกำหนดการเทียบเคียงสมรรถนะ  (benchmark) กับผู้อื่น  หรือองค์กรอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกันด้วย            เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพของตนเองให้ใกล้เคียงกับหน่วยงานอื่น ๆ    ในระหว่างการปฏิบัติงาน   บุคลากรที่เกี่ยวข้องต้องคำนึงถึงหลักแห่งคุณภาพเสมอ   และหมั่นตรวจวัดคุณภาพด้วยเครื่องมือต่าง ๆ  ที่เตรียมไว้     และต้องมีการปรับปรุงคุณภาพของการทำงานเป็นระยะ ๆ ตามแผนที่กำหนดด้วย

หากกระทำดั่งนี้แล้ว   เมื่อมีการประกันคุณภาพ  หรือการรับรองคุณภาพ   ไม่ว่าจะด้วยวิธีการของหน่วยงานใด ๆ ก็ตาม    ย่อมประกันหรือรับรองคุณภาพได้อย่างไม่ยากแน่ ๆ

ในด้านคุณภาพของตัวบุคคลก็เช่นเดียวกัน   ควรคำนึงถึงหลักแห่งคุณภาพด้วยเช่นกัน    และสิ่งสำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ  การคำนึงถึงคุณภาพเฉพาะตัวบุคคล      และคุณภาพในการปฏิบัติงานของบุคคลนั้นด้วย    โดยจะมีการกำหนดเกณฑ์  มาตรฐาน   การเทียบเคียงสมรรถนะ        ตลอดจนเครื่องมือวัดคุณภาพต่างกันออกไป

อย่างไรก็ตาม   คำว่า “คุณภาพ”   จะยังคงเป็นคำสำคัญที่ทุก ๆคน  ทุก ๆ องค์กร  หวังจะให้เกิดขึ้นกับตนเอง    และก็หวังว่า  คนอื่น ๆ และองค์กรอื่น ๆ  ก็คำนึงถึงเรื่องนี้เช่นกัน


“คุณธรรม”
เป็นอีกคำหนึ่งที่จะยังคงเรียกร้องและโหยหาเพื่อให้มีอยู่ในตัวคนทุกคน  ทั้งนี้    เพราะเชื่อว่า  “คุณธรรม”  จะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้บุคคล   ไม่คิด   ไม่พูด    ไม่แสดงออกในทางที่ไม่พึงประสงค์     เพราะจะนำมาซึ่งความเดือดร้อนทั้งแก่ตัวบุคคลนั้น  และบุคคลข้างเคียงหรือคนในสังคมโดยทั่วไป    ความสงบสุขในสังคมก็จะพลอยสูญเสียไปด้วย

ทั้งนี้เพราะ “คุณธรรม”   หมายถึง ธรรมชาติฝ่ายที่เป็นคุณ          หรือที่เรียกว่า “กุศลธรรม”  ตรงกันข้ามกับ  “อกุศลธรรม”   ซึ่งเป็นธรรมชาติฝ่ายเป็นโทษ     ธรรมชาติทั้งสองส่วนนี้มีอยู่ทั้งในตัวคน  และรอบ ๆ ตัวคน    ถ้าบุคคลใดประพฤติปฏิบัติในส่วนที่เป็น “กุศลธรรม”  ก็จะสร้างสันติสุขให้กับตนเองและคนข้างเคียงได้              และถ้าทุก ๆ คนในสังคมยึดมั่นอยู่ในความมี “คุณธรรม”   สังคมนั้นก็จะมีแต่สันติสุข        เพราะ “คุณธรรม”  จะเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งไม่ให้คนประพฤติชั่ว   หรือกระทำในสิ่งที่จะนำความเสียหายหรือเดือดร้อนมาสู่ตนเองหรือสังคมรอบข้าง

ธรรมชาติฝ่ายเป็นคุณ  หรือ “คุณธรรม”  ที่พึงประสงค์มีมากมายหลายเรื่องตั้งแต่สิ่งที่เป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตและการอยู่ร่วมกันในสังคม     เช่น  ความขยัน  ความซื่อสัตย์  ความมีเมตตา  กรุณา  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ความเห็นใจผู้อื่น  ความเสียสละ  ความมานะอดทน   เป็นต้น      หากทุกคนในสังคม  หรือในองค์กรให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว     และประพฤติปฏิบัติ “คุณธรรม”ก็เชื่อว่า   บุคคล   องค์กร  และสังคมจะมีสันติสุขยิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในทุก ๆ วันนี้

แต่ทั้งนี้   การประพฤติปฏิบัติอย่างมี “คุณธรรม”  นั้น      ไม่มีกฎหมาย  หรือข้อบังคับใด ๆ ที่จะเอาผิดกับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามแนวทางของคุณธรรมได้        จึงเป็นสิ่งที่บุคคลต้องอาศัยความกล้าหาญที่จะประพฤติปฏิบัติคุณธรรมด้วยความสมัครใจ              และกล้าหาญที่จะละเว้นสิ่งที่เป็น “อกุศลธรรม”  แม้ว่าบางครั้งสิ่งเหล่านั้นจะเอื้อประโยชน์ให้ตนมากกว่าก็ตาม          ดังนั้น  เมื่อพูดถึง “คุณธรรม”  แล้ว  จึงมักตามด้วย  “จริยธรรม” เสมอ        เพราะ “จริยะ”  คือการกระทำ  หรือการปฏิบัติ  ในสิ่งที่  เป็น “ธรรม”  นั่นเอง

การปฏิบัติสิ่งที่เป็น “จริยธรรม”    ก็อาศัยความกล้าหาญด้วยเช่นกัน       คือกล้าที่จะประพฤติปฏิบัติ “จริยธรรม”    แม้ไม่มีบทบัญญัติโทษไว้ชัดเจนก็ตาม    แม้จะไม่ได้ผลประโยชน์ตามมาก็ตาม    หากสิ่งนั้นพึงเป็นสิ่งกระทำ  หรือเป็นสิ่งพึงเว้นกระทำ   ก็กล้าที่จะลงมือทำหรือละเว้นการกระทำ   เพื่อให้เกิดสันติสุขขึ้น           ความมี “คุณธรรม” และ “จริยธรรม”  จึงมักจะไปด้วยกันเสมอ

หากในตัวบุคคลใด    มี “คุณ”  ทั้งสามประการนี้   คือ     “คุณวุฒิ      คุณภาพ      และ คุณธรรม”   ย่อมเชื่อได้ว่า   บุคคลนั้นเป็นผู้ทรงอานุภาพแห่งความดี   ความงาม  ที่พร้อมจะบันดาลให้ตนเองประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตและประกอบกิจการงานต่าง ๆ ได้อย่างดี   และสร้างสันติสุข   คือ  “สุขตน”  และ “สุขท่าน”  ได้อย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นคนโดยแท้จริง        และหากองค์กรใด   มีบุคลากรที่เพียบพร้อมด้วย “คุณ”  ทั้งสามประการนี้   องค์กรนั้นก็ย่อมมั่นคงและรุ่งเรือง   เป็นองค์กรที่มีแต่ “สันติสุข”  เช่นกัน

บทความโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.  ภิเษก  จันทร์เอี่ยม
http://www.watjrb.net/index.php?mo=3&art=350276

http://www.kasettak.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=75&Itemid=56

อัตลักษณ์ + เอกลักษณ์

อัตลักษณ์ มาจาก อัต+ลักษณ์ หมายถึง ลักษณะเฉพาะ คำว่า อัตลักษณ์ (อ่านว่า อัด-ตะ-ลัก) ประกอบด้วยคำว่า อัต (อัด-ตะ) ซึ่งหมายถึง ตน หรือ ตัวเอง กับ ลักษณ์ ซึ่งหมายถึง สมบัติเฉพาะตัว.   คำว่า อัตลักษณ์ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า identity (อ่านว่า ไอ-เด็น-ติ-ตี้) หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น นักร้องกลุ่มนี้มีอัตลักษณ์ทางด้านเสียงที่เด่นมาก ใครได้ยินก็จำได้ทันที สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเอง โลกาภิวัตน์ทำให้อัตลักษณ์ของสังคมไทยเปลี่ยนไป

อัตลักษณ์ คือ ลักษณะเฉพาะที่เป็นตัวตนของสถานศึกษา ที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ในการจัดตั้งสถานศึกษา  หรือลักษณะโดดเด่นของสถานศึกษา ควรเน้นที่การกำหนดภาพความสำเร็จในตัวผู้เรียน

ขั้นตอนการกำหนดอัตลักษณ์ ควร วิเคราะห์สภาพแวดล้อม ความเป็นมาของสถานศึกษา และเจตนารมณ์ในการจัดตั้งสถานศึกษา  แล้วกำหนดอัตลักษณ์ที่ผู้สำเร็จการศึกษาจะต้องมีก่อนสำเร็จการศึกษา ที่ผ่านการประชาพิจารณ์ร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้อง โดยมีกิจกรรมการส่งเสริม พัฒนา และประเมินอย่างเป็นระบบ

เหตุที่ต้องกำหนดอัตลักษณ์ เพราะ หากสถานศึกษาไม่ตระหนักในเรื่องความเป็นเลิศเฉพาะทางของเยาวชนที่สำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษา ก็จะทำให้ความโดดเด่นของเยาวชนสูญหายไป

อัตลักษณ์ (Identity) หมายถึง ผลผลิตของผู้เรียนตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด

เอกลักษณ์ (Uniqueness) หมายถึง ความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่สะท้อนให้เห็นเป็นลักษณะโดดเด่นเป็นหนึ่งของสถานศึกษา

ตัวอย่างอัตลักษณ์
– โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย อาจเป็น  “มีภาวะผู้นำและสุภาพบุรุษ”
– โรงเรียนสตรีวิทยา อาจเป็น “ยอดนารี สตรีวิทยา”
– โรงเรียนในลำปาง อาจเป็น “มีจิตสำนึกรักลำปาง รักษ์สิ่งแวดล้อม”
– โรงเรียนในเครือเบญจมะฯ อาจเป็น “ประชาธิไตย เคารพในสิทธิความเป็นมนุษย์”
– โรงเรียนในเครือจุฬาภรฯ อาจเป็น “บุคลิกนักวิทยาศาสตร์”

– โรงเรียนบุญวาทย์ เป็น “รักการทำดี วิชาการมาตรฐานสากล สร้างคนป็นผู้นำ”
– บัณฑิตมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็น “มีความคิดสร้างสรรค์ มีจิตวิญญาณผู้ประกอบการ มีความเป็นสากล”
– บัณฑิตมหาวิทยาลัยมหิดล เป็น  มุ่งผลเพื่อผู้อื่น (ALTRUISM)
* มหาวิทยาลัยมหิดล เป็น Health Science and Social Well-Being (ความผาสุข)
* เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็น สภาพแวดล้อมการจัดการศึกษาที่สร้างสรรค์

เรียบเรียงจากบทความของ ดร.สุพักตร์ พิบูลย์
http://drsuphakedqa.blogspot.com/2010/07/07.html
http://www.gotoknow.org/blog/cityedu/422459
http://qa.bu.ac.th/buqa/index.php/kmqa/60-identity

การสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้

ดร.วิยดา เหล่มตระกูล
ดร.วิยดา เหล่มตระกูล

14 มิ.ย.54 เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา มี อ.ดร.วิยดา เหล่มตระกูล และ อ.พงษ์วัชร ฟองกันทา เป็นวิทยากร มีเนื้อหาในการอบรม 4 เรื่อง ได้แก่
1) หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
2) การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3) การสร้างเครื่องมือวัดด้านคุณลักษณะ
4) การสร้างเครื่องมือวัดภาคปฏิบัติ
สอดรับกับ มคอ : กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF:HEd)

องค์ประกอบของผลการเรียนรู้ตามแนวคิดและทฤษฎีของบลูม (Benjamin S. Bloom, 1956 อ้างอิงถึงใน ศิริชัย กาญจนวาสี, 2540) มีดังนี้
1) ด้านพุทธพิสัย (Cognitive Domain) เป็นการเรียนรู้ด้านความรู้ความเข้าใจและความคิด เป็นความสามารถทางสถิปัญญา ซึ่งมี 6 ระดับ ดังนี้ (1) ความรู้ความจำ (Knowledge) (2) ความเข้าใจ (Comprehension) (3) การนำไปใช้ (Application) (4) การวิเคราะห์ (Analysis) (5) การสังเคราะห์ (Syntehsis) (6) การประเมินผล (Evaluation)
2) ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) เป็นการเรียนรู้ด้านอารมณ์ ความรู้สึก ซึ่งมี 5 ระดับ ดังนี้ (1) การรับรู้หรือการใส่ใจต่อสิ่งเร้า (Receiving or Attending) (2) การตอบสนอง (Responding) (3) การเห็นคุณค่า (Valuing) (4) การจัดระบบค่านิยม (Organization) (5) การแสดงลักษณะตามค่านิยม (Characterization)
3) ด้านทักษะพิสัย  (Psychomotor domain/skill domain) เป็นการเรียนรู้ด้านความชำนาญ หรือทักษะในการปฏิบัติ ซึ่งมี 7 ระดับ ดังนี้ (1) การรับรู้ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (Perception) (2) ความพร้อมที่จะปฏิบัติ (Set) (3) การปฏิบัติตามข้อแนะนำ (Guided Response) (4) การปฏิบัติจนเป็นนิสัย (Mechanism) (5) การปฏิบัติที่สลับซับซ้อน (Complex overt response) (6) การปรับเปลี่ยนการปฏิบัติ (Adaption) (7) การสร้างปฏิบัติการใหม่ (Origination)

มีโอกาสฝึกปฏิบัติสร้างเครื่องมือวัด แบ่งเป็น 3 ด้าน
1) ด้านพุทธพิสัย มีประเด็นวัดผล 6 ด้านคือ (1) ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด (2) ความเข้าใจ (Comprehend) (3) การประยุกต์ (Application) (4) การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้ (5) การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่ (6) การประเมินค่า ( Evaluation)
2) ด้านจิตพิสัย จะมีองค์ประกอบที่ใช้วัด 3 ส่วนคือ เป้าหมาย (Target) ทิศทาง (Direction) และความเข้มข้น (Intensity)
3) ด้านทักษะพิสัย จะมีจุดประสงค์ปลายทางได้ 3 แบบ คือ การปฏิบัติ (performance) กระบวนการ (process) ผลผลิต (product) และวัดได้ 2 แบบคือวัดภาพรวม และวัดองค์ประกอบ
หมายเหตุ. มีบทเรียนที่ได้จากการอบรมมากมาย แต่ขอสรุปสั้น ๆ ไว้เพียงเท่านี้ครับ

บทเรียนที่ร่วมวิจัยเครือข่ายมหาวิทยาลัยลำปาง

นิคมพัฒนา
นิคมพัฒนา

9 มิ.ย.54 บทเรียนจากการร่วม “โครงการวิจัย แนวทางการทำงานของเครือข่ายสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปางเพื่อสร้างการเรียนรู้และเสริมศักยภาพชุมชนพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปา“จากการร่วมโครงการระยะที่ 1 ระหว่าง 1 มกราคม 2554 – 31 พฤษภาคม 2554 จำแนกได้ 2 ประเด็นหลัก
ประเด็นหลักที่ 1 ความรู้ คือ
1. การได้รู้เทคนิค และฝึกฝนการวิเคราะห์ชุมชนผ่านการใช้ SWOT ที่เปรียบเทียบกับการใช้อริยสัจสี่ เพราะทั้งสองแบบสามารถใช้งานได้กับชุมชน โดย SWOT นั้นถูกใช้รวบรวมข้อมูลตามประเด็นหลัก 3 ครั้งได้แก่ การศึกษา เกษตร อาชีพ และอริยสัจสี่ใช้กับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
2. การได้ฝึกเขียนแผนที่ความคิด (MindMap) และเรียนรู้การเขียนจากคุณภัทรา มาน้อย ผ่านการลงมือปฏิบัติ เปรียบเทียบการเขียน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งการใช้เป็นเครื่องมือเก็บประเด็นเป้าหมาย และการนำเสนอผลการวิเคราะห์ชุมชนรายกลุ่ม
3. การได้แลกเปลี่ยนเทคนิคการวางแผน การจับประเด็น การคิด การพูด การฟัง ร่วมกับเพื่อนนักวิชาการในสาขาวิชาต่าง ๆ ได้มีโอกาสฟังข้อเสนอแนะของ นักคิดนักบริหารระดับประเทศ คือ ศ.ดร.ปิยวัฒน์ บุญหลง และ ดร.บัญชร แก้วส่อง ต่อโครงการของทีมงาน

ประเด็นหลักที่ 2 ความสุข คือ
1. การได้เห็นรอยยิ้มจากความสุขผู้คนในชุมชน ที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มที่มีความเข้าใจ มีฐานคิดคล้ายกัน ได้ระบายปัญหา จุดแข็ง และเป้าหมายที่ต้องการบรรลุ และได้ออกมานำเสนอด้วยตนเอง
2. การได้ใช้เวลาว่างในวันสุดสัปดาห์ทำงานกับชุมชน เพราะการทำงานในกรอบ ใต้กฎเกณฑ์รัดตัว ผู้คนที่มุ่งแต่แข่งขัน ในป่าคอนกรีต ย่อมมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากการทำงานกับชาวบ้าน ในพื้นที่ที่แวดล้อมด้วยป่าเขา ลำธาร และบรรยากาศบริสุทธิ์ เป็นสิ่งที่ผู้คนมากมายใฝ่ฝัน แต่มีเพียงไม่กี่คนที่ไปถึงฝั่งฝัน
3. การทำตัวเป็นประโยชน์แก่ชุมชน เพราะการให้ความรู้เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาที่มุ่งเข้าศึกษาในสถาบันนั้นมีกรอบอยู่แต่ในมหาวิทยาลัย แต่การออกให้บริการวิชาการเชิงประยุกต์นั้น มีเรื่องคาดไม่ถึงให้ประหลาดใจอยู่เสมอ  เพราะนอกจากจะเป็นผู้ให้ความรู้แก่ชุมชนแล้ว ก็ยังเป็นผู้รับความรู้ไปพร้อมกัน พร้อมกับการแก้ปัญหาไปตามสถานการณ์เฉพาะหน้า
4. การได้เพื่อนใหม่ต่างวัยต่างสมณะที่มาจากห้าสถาบันการศึกษาหลัก รวมกลุ่มเป็นเครือข่ายมหาวิทยาลัยลำปาง แล้วร่วมกันทำงานวิจัยและบริการวิชาการเพื่อชุมชน เป็นโอกาสที่อาจมีเพียงครั้งเดียวในชีวิต เพราะเพื่อนจากแต่ละสถาบันมีความเป็นกัลยาณมิตรที่หาได้ยากยิ่ง ในทีมทั้ง 29 คนมีเป้าหมายเดียวกันคือ ทำเพื่อชุมชน และมุ่งประโยชน์ของชุมชนเป็นที่ตั้ง

ผลการวิพากษ์เค้าโครงรายวิชา

8 มิ.ย.54 ผลการวิพากษ์เค้าโครงรายวิชา (Syllabus Defending) ระดับกลุ่มสาขาวันนี้ได้ข้อสรุปว่า ต่อไปหัวข้อในการประเมินผลการเรียน ไม่ควรแตกต่าง และมีความเป็นมาตรฐานตรงกันทุกวิชา จึงทำข้อตกลงเสนอเป็นหัวข้อให้พิจารณาจัดทำในรายวิชาของตน มีลำดับและชื่อหัวข้อดังนี้
1. การเข้าชั้นเรียน
2. ความรับผิดชอบ
3. งานที่มอบหมาย
4. ฝึกปฏิบัติการ
5. โครงงาน
6. สอบย่อย
7. สอบกลางภาค
8. สอบปลายภาค

ส่วนหัวข้อใหญ่ในเค้าโครงรายวิชามีดังนี้
1. ชื่อวิชา ชื่อผู้สอน ตามรูปแบบ
2. วิชาบังคับก่อน
3. คำอธิบายรายวิชา
4. จุดประสงค์รายวิชา
5. รายละเอียดการเรียนการสอน
6. การประเมินผลการเรียน
7. เกณฑ์ประเมินผลการเรียน
8. หนังสือบังคับอ่าน
9. หนังสือประกอบการเรียน
10. เว็บไซต์ที่แนะนำ

การบริการวิชาการ ที่แม่เมาะ

บริการวิชาการ แม่เมาะ ปีการศึกษา 2553
บริการวิชาการ แม่เมาะ ปีการศึกษา 2553

คณะวิชาทั้ง 3 คณะ ได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยี ส่งนักวิชาการออกบริการวิชาการ ที่ อบต.บ้านดง 21 – 22 ต.ค.2553 ซึ่งสืบเนื่องมาจากการสำรวจความต้องการ และการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เมื่อ 18 ต.ค.53  โดยมีโครงการทั้งสิ้น 3 โครงการ คือ โครงการอบรม “การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย” โดย ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ โครงการอบรม “การให้ความรู้ด้านกฎหมายครอบครัว” โดย อ.สุทธิ์พจน์  ศิริรัตนาสกุล และ โครงการอบรม “EQ กับการทำงานใต้ความกดดันและการบริหารความเครียด” โดย อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.450808788894.247022.814248894

สไลด์เผยแพร่เกี่ยวกับความปลอดภัย
จากการให้บริการวิชาการ ตามโครงการอบรม “การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย” โดย ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์  ที่ อบต.บ้านดง และทต.แม่เมาะ ระหว่าง 21 – 22 ต.ค.2553 พบว่าผู้เข้ารับการอบรมให้ความสนใจเกี่ยวกับความปลอดภัย และขอสไลด์ไว้ศึกษา แล้วคณะวิชาได้พิจารณาเห็นชอบให้นำเสนอได้ จึงนำมาเผยแพร่ให้เพื่อนบุคลากร และผู้สนใจได้ ดาวน์โหลดไปศึกษาได้
ที่ http://www.thaiall.com/security/security_basic.ppt

การเขียนโครงการ (Project Writing)

project
project

22 พ.ค.54 โครงการ คือ กลุ่มของกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อตอบวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ดำเนินการตามกรอบเวลาที่กำหนด
สิ่งที่ควรทราบก่อนเขียนโครงการ
1. ปัญหา หรือความต้องการ
2. ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
3. วิเคราะห์ปัญหา
4. จัดลำดับความสำคัญของปัญหา
5. วิเคราะห์หาสาเหตุ และแนวทางแก้ไข
6. กำหนดวัตถุประสงค์
7. กำหนดกิจกรรม เวลา และทรัพยากร
8. ร้อยเรียงข้อมูลทั้งหมด เป็นโครงการ

องค์ประกอบในโครงการ
1. ชื่อโครงการ
2. ความเป็นมา หลักการและเหตุผล
3. วัตถุประสงค์
4. กลุ่มเป้าหมาย
5. วิธีดำเนินการ
6. ระยะเวลา
7. สถานที่
8. งบประมาณ และแหล่งสนับสนุนทุน
9. ผู้รับผิดชอบ
10. วิธีการประเมินผล
11. ตัวชี้วัดความสำเร็จ
12. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
http://library.uru.ac.th/article/htmlfile/technic_project.pdf

ประชุมเตรียมความพร้อมอาจารย์พิเศษ

mcu schedule
mcu schedule

16 พ.ค.54 ก่อนเปิดภาคการศึกษา มักมีการประชุมเตรียมความพร้อมอาจารย์ประจำ และอาจารย์พิเศษ เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ต้องดำเนินการทุกภาคการศึกษา เพื่อตอบการประกันคุณภาพการศึกษา ได้ทำความเข้าใจกับอาจารย์ผู้สอน เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แล้วนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงระบบและกลไก ให้การเปิดภาคการศึกษามีความพร้อม และดำเนินการจัดการเรียนการสอนที่สอดรับกับนโยบายของสถาบัน

โดยมีวาระการประชุมเป็นการชี้แจงให้อาจารย์ผู้สอนได้ทราบถึงนโยบายการศึกษา ปฏิทินการศึกษา กฎระเบียบ การดำเนินงานด้านการจัดการเรียนการสอน และการสนับสนุนของหน่วยงานทั้งหมด ซึ่งผู้รับผิดชอบตรงจะทำหน้าที่ให้ข้อมูล อาทิ นโยบายจากผู้บริหาร ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายประกันคุณภาพ ฝ่ายกิจกรรมนักศึกษา และหน่วยสนับสนุนที่สำคัญ

มีเอกสารที่อาจารย์ผู้สอนควรพิจารณาทำความเข้าใจก่อนเปิดภาคการศึกษา อาทิ แผนงานของสถาบัน ปฏิทินการศึกษา ตารางบรรยาย มคอ.3 แบบฟอร์ม ข้อมูลสถิติที่ควรทราบ คู่มือ ประกาศ ระเบียบและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง

โครงการร่ม บูรณาการสถาบัน

umbrella research
umbrella research

แผนภาพแสดง ความสัมพันธ์ของประเด็นในโครงการวิจัยร่มใหญ่ที่บูรณาการความชำนาญจากแต่ละสถาบัน ที่ได้ประเด็นจากชุมชนที่ผ่านการวิเคราะห์ชุมชนอย่างมีส่วนร่วม เป็นการยกร่างภาพที่มองเห็นจากกระดาษในเวทีแรก แล้วแปลงเป็น PPT เพื่อนำเสนอในเวทีที่สอง ต่อกรรมการผู้พิจารณาให้ทุน และติดตามผล
http://www.thaiall.com/research/nikompattana/nation_mcu_umbrella.ppt

มาตรฐานผลการเรียนรู้ (Standards of Learning)

learning output
learning output

มาตรฐานผลการเรียนรู้ (Domains of Learning หรือ Standards of Learning) มีทั้งหมด 5 ด้าน คือ 1) คุณธรรม จริยธรรม 2) ความรู้ 3) ทักษะทางปัญญา 4) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5) ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ทุกสถาบันการศึกษาจะ ประกาศมาตรฐานผลการเรียนรู้กลาง ที่เป็นคุณลักษณะของบัณฑิตของสถาบัน จากนั้นแต่ละหลักสูตรจะนำไปปรับให้เป็นมาตรฐานการผลการเรียนรู้ของแต่ละหลักสูตร มักจะมีการเพิ่มเติมมาตรฐานผลการเรียนรู้จากมาตรฐานกลาง เพื่อให้สอดรับกับคุณลักษณะของบัณฑิตในแต่ละหลักสูตร

http://www.fish.ku.ac.th/PDF%20EDU/m7.pdf
http://www.academic.nu.ac.th/content_view.php?n_id=42

http://wiki.edu.chula.ac.th/groups/a3394/wiki/17820/