คณะวิชาที่มีผู้สมัครมากที่สุด

พบว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ปล่อยข้อมูลการสมัครเรียน
เพื่อเข้าเรียนในปีการศึกษา 2566
ในเพจ “ทีมมช by AutoBot” เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566
@Teammorchor
https://www.reg.cmu.ac.th/webreg/th/

เมื่อจำแนกตามคณะวิชาที่มีผู้สมัครมากที่สุด
โดยเรียงจากมากไปน้อยได้ดังนี้ 1) คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาพยาบาลศาสตร์ 2034 คน 2) คณะเทคนิคการแพทย์ สาขาเทคนิคการแพทย์ 1474 คน 3) คณะทันตแพทยศาสตร์ 1105 คน 4) คณะการสื่อสารมวลชน สาขาการสื่อสารมวลชน 1096 คน 5) คณะแพทยศาสตร์ 977 คน 6) คณะเทคนิคการแพทย์ สาขากายภาพบำบัด 948 คน 7) คณะมนุษยศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ 947 คน 8) คณะสัตวแพทยศาสตร์ 901 คน 9) คณะบริหารธุรกิจ สาขาบัญชีและบริหารธุรกิจ สายศิลป์ 875 คน 10) คณะบริหารธุรกิจ สาขาบัญชีและบริหารธุรกิจ สายวิทย์ 841 คน 11) คณะเภสัชศาสตร์ 816 คน 12) คณะวิทยาศาสตร์ สาขาชีววิทยา, จุลชีววิทยา, สัตววิทยา 771 คน 13) คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 556 คน 14) คณะมนุษยศาสตร์ สาขาการท่องเที่ยว 547 คน 15) คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา 528 คน

ผู้สมัครมากที่สุด

เมื่อจำแนกตามคณะวิชาที่มีการแข่งขันสูงสุด
โดยเรียงจากมากไปน้อยได้ดังนี้ 1) คณะสัตวแพทยศาสตร์ 1:22.53 2) คณะเทคนิคการแพทย์ สาขากายภาพบำบัด 1:21.7 3) คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาพยาบาลศาสตร์ 1:19.37 4) คณะมนุษยศาสตร์ สาขาจิตวิทยา 1:19.21 5) คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 1:18.53 6) คณะทันตแพทยศาสตร์ 1:18.42 7) วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี สาขาแอนนิเมชัน และวิชวลเอฟเฟกต์ สองภาษา 1:18 8) คณะศึกษาศาสตร์ สาขาพลศึกษา 1:17.67 9) คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาการเมืองและการปกครอง 1:17.53 10) คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาการระหว่างประเทศ 1:17 11) คณะศึกษาศาสตร์ สาขาพลศึกษา 1:16.67 12) คณะศึกษาศาสตร์ สาขาภาษาไทย 1:16.37 13) คณะศึกษาศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ 1:15.77 14) คณะมนุษยศาสตร์ สาขาการท่องเที่ยว 1:15.63 15) คณะเทคนิคการแพทย์ สาขาเทคนิคการแพทย์ 1:14.73

การแข่งขันสูงสุด
การแข่งขันสูงสุด

กำหนดการ
 2 พ.ค.2566 : ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก (ผ่านระบบ มช.)
 4 พ.ค.2566 : ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก (ผ่านระบบ TCAS)
 4-5 พ.ค.2566 : ยืนยันสิทธิ์ (ผ่านระบบ TCAS)
 6 พ.ค.2566 : สละสิทธิ์ (ผ่านระบบ TCAS)
 9 พ.ค.2566 : ประกาศรายชื่อผู้ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา (ผ่านระบบ มช.)
 7-13 พ.ค.2566 : รับสมัคร TCAS รอบที่ 3 (ผ่านระบบ TCAS)

https://thaiall.com/topstory/quota_cmu_17_prov_2560.php

https://www.thaiall.com/ethics/ethics_nurse.htm

5 บทความวิชาการ และบทความิจัย เกี่ยวกับการเลือกตั้ง

ตามบทความวิชาการ โดย ศุทธิกานต์ มีจั่น. (2556) มีสิ่งที่พบหลายเรื่อง เช่น คุณสมบัติของผู้สมัครที่ทำให้ตัดสินใจเลือกหรือลงคะแนนเลือกตั้ง ซึ่งจำแนกได้ 7 คุณสมบัติ ดังนี้ 1) สังกัดพรรคที่ชื่นชอบ 2) มีนโยบายในการหาเสียงที่น่าสนใจ และมีแนวโน้มทำได้จริง 3) ซื่อสัตย์ สุจริต ไม่โกงกิน ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน 4) เข้าถึงได้ง่าย ช่วยเหลือ และแก้ปัญหาความเดือดร้อนของชุมชน 5) ให้เงิน รางวัล หรือความช่วยเหลือต่างๆ 6) มีภาพลักษณ์ดี มีการศึกษา มาจากครอบครัวที่น่านับถือ 7) มีความผูกพันกับชุมชนพื้นที่เป็นระยะเวลานาน

การให้ความหมายและรูปแบบของการซื้อเสียง ซึ่งจำแนกได้ 8 ลักษณะ ดังนี้ 1) การให้เงิน 2) การมอบสิ่งของ 3) การร่วมงานหรือกิจกรรมของชุมชน 4) การสนับสนุนเงิน หรือสิ่งของในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน 5) การสนับสนุนงบประมาณเพื่อสิ่งก่อสร้างสาธารณะ 6) การมาร่วมงานประเพณี หรือกิจกรรมของของครอบครัว 7) การให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ แก่ท่านและครอบครัว 8) การนำเสนอนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน

การรับรู้ถึงการซื้อเสียงและจำนวนเงินที่มีการจ่ายในการเลือกตั้งประเภทต่าง ๆ ซึ่งจำแนกได้ 9 ประเภท ดังนี้ 1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2) สมาชิกวุฒิสภา 3) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 4) สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 5) นายกเทศมนตรี 6) สมาชิกสภาเทศบาล 7) นายกองค์การบริหารส่วนตำบล 8) สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล 9) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

ส่วนบทความวิจัยของ สุพัฒพงศ์ แย้มอิ่ม, ไชยวัฒน์ เผือกคง, และ พิสิฐ นิลเอก (2562) ศึกษาทัศนคติของประชาชนในการเลือกตั้งทั้งหมด 5 ประเด็น ได้แก่ 1) ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 2) ด้านการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 3) ด้านการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง 4) ด้านการตัดสินใจในการเลือกตั้ง 5) ด้านแนวทางการส่งเสริมการเลือกตั้ง

https://thaiall.com/article/senate.htm

ชวนอ่านบทความวิจัย และบทความวิชาการที่น่าสนใจ

เฉลิมพล นุชอุดม และ กานดา ผรณเกียรติ์. (2562). เกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกผู้แทนระดับท้องถิ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 11(2), 32-44.

ศุทธิกานต์ มีจั่น. (2556). พฤติกรรมการเลือกตั้ง และทัศนคติเกี่ยวกับการซื้อเสียงของเขตจังหวัดภาคอีสาน: กรณีตัวอย่างจังหวัดมหาสารคาม. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 11(3), 110-128.

ณัฐสุดา เวียงอำพล. (2558). สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทยกับแนวคิดความเป็นตัวแทนระดับชาติ. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 13(3), 59-82.

พิกุล มีมานะ และ สนุก สิงห์มาตร. (2563). พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชน กลุ่มจังหวัดราชธานีเจริญศรีโสธร. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 2(1), 57-71.

สุพัฒพงศ์ แย้มอิ่ม, ไชยวัฒน์ เผือกคง, และ พิสิฐ นิลเอก. (2562). ทัศนคติของประชาชนในการเลือกตั้งท้องถิ่น กรณีศึกษาพื้นที่ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฏร์ธานี. วารสาร มจร. หริภุญชัยปริทรรศน์, 3(3), 10-19.

ขอ ChatGPT ช่วยทำการบ้าน

คุณครูให้การบ้านการโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน มีโจทย์ว่า จงพิมพ์ 1 ถึง 10 ด้วยไพทอน ลองขอความช่วยเหลือจาก ChatGPT โดยส่งคำถามไปว่าเป็นภาษาอังกฤษว่า How can you write a loop in Python to print numbers from 1 to 10? แล้ว ChatGPT ก็ส่งคำตอบมาเป็นโค้ดให้ 2 บรรทัด ว่าต้องเขียนอย่างไร เอาคำตอบนี้ไปส่งครูได้เลย

เขียนโค้ดของ python บน pycharm

พร้อมอธิบายเป็นภาษาไทยประกอบโค้ดว่า นี่คือตัวอย่างของการเขียนลูปในไพทอนเพื่อพิมพ์ตัวเลข 1 ถึง 10: for i in range(1, 11): print(i) ในตัวอย่างนี้เราใช้ลูป for เพื่อวนลูปตามช่วงของตัวเลข 1 ถึง 10 (รวมทั้งตัวท้าย 10) โดยใช้ฟังก์ชัน range เพื่อสร้างลำดับของตัวเลข และลูป for จะวนลูปตามแต่ละตัวเลขในลำดับนั้น ๆ โดยเก็บค่าปัจจุบันไว้ในตัวแปร i และใช้ฟังก์ชัน print เพื่อแสดงค่าของ i ออกทางคอนโซล (console) ของโปรแกรม

เมื่อนำ code ไปประมวลผลบน pycharm พบว่าใช้งานได้ปกติ ผลลัพธ์คือ 1 – 10 แสดงผลบน console ตามคำอธิบายของ ChatGPT อย่างถูกต้อง ถ้าคุณครูสั่งงานด้วยโจทย์ที่ยากขึ้น สำหรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา ก็เชื่อว่า ChatGPT จะตอบคำถามได้อย่างถูกต้อง พร้อมคำอธิบายโค้ดโดยละเอียด

https://thaiall.com/pycharm

https://chatgpt.openai.com/

ไดชาร์จเสีย ตายกลางสี่แยกแต่ผมรอด

อาการไดชาร์จของรถยนต์ไฟฟ้าเสีย
คือ ระบบควบคุมพวงมาลัยหยุดทำงาน
ไฟเตือนแจ้งสว่างหลายดวง เลี่ยวตามปกติไม่ได้ ไฟแบตเตอรี่ กับไฟเอบีเอสก็สว่าง ขณะมีอาการพารถเดินหน้า แต่เลี้ยวได้ยากมาก และพาไปรถไปจอดในจุดที่ปลอดภัยได้

เมื่อหยุดรถเข้าในที่ปลอดภัยแล้ว จะสตาร์ทในทันทีไม่ได้ เช็คน้ำและน้ำมันก็พบว่า อยู่ในระดับที่ไม่ขาด การสั่งสตาร์ทมีเสียงดังเหมือนไดชาร์จเสียในรถรุ่นเก่า กรณีของผมพักเครื่องสักครู่แล้วจะสตาร์ทติดขึ้นมาได้ (ซึ่งรถเก่าที่ผมเคยใช้จะสตาร์ทไม่ได้เลยหากมีอาการแบบนี้ ก็จะเป็นที่ไดสตาร์ท) หากโชคดีสตาร์ทติด แล้วขับต่อไปไม่เกิน 100 เมตร พบว่า มีอาการไฟพวงมาลัยติด ๆ ดับ ๆ คุมพวงมาลัยได้บ้าง ฝืดบ้าง อันตรายอย่างมาก

ไปถึงอู่ซ่อมรถในเช้าวันเสาร์ อู่เปิดเวลา  8.00น. นอนรอสักพัก ช่างก็ออกมาเปิดร้าน พอเล่าอาการปุ๊ป ช่างก็บอกว่าเป็นที่ไดชาร์จต้องหามาเปลี่ยน ตรงกับที่ค้นจากเน็ตมาเลย จึงฝากรถไว้ให้ช่างช่วยซ่อมให้หน่อย แล้วผมก็เดิกลับบ้าน ในใจคิดว่าเสียตังอีกล่ะ แต่โชคดีล่ะที่เสียในเวลา และสถานที่ที่สามารถจัดการรถได้ง่าย

– ของแท้ค้นจากเน็ต ทั้งลูก ราคา 11,500 บาท

– ของเชียงกงเชียงใหม่ (รับประกัน) อะไหล่บวกค่าแรง ราคา 2,800 บาท

ไดสตาร์ท หรือมอเตอร์สตาร์ท (Starter Motor) คือ ตัวเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล ซึ่งทำงานด้วยไฟฟ้ากระแสตรงแรงดันต่ำ เชื่อมต่อแบตเตอรี่และสวิตช์กุญแจ มีหน้าที่ฉุดเครื่องยนต์ให้ทำงาน หรือมีหน้าที่สตาร์ทเครื่องยนต์ ดังนั้นเมื่อสตาร์ทติดก็จะหมดหน้าที่ของไดสตาร์ท

ส่วนไดชาร์จ หรือเครื่องปั่นไฟ หรืออัลเทอร์เนเตอร์ (Alternator) คือ อุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อไปเลี้ยงระบบในรถยนต์  จะส่งไฟฟ้าไปเก็บในแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นแหล่งเก็บไฟฟ้าสำรอง เพื่อใช้ในการสตาร์ทเครื่องยนต์ 

รถเสีย น่ะซ่อมได้
แต่คนเสีย บางทีก็ซ่อมไม่ได้
ป้องกันรถเสีย ด้วยการบำรุงรักษา
คนก็เช่นกัน อยู่ด้วยความไม่ประมาท

@thaiall

ทำให้นึกถึงเพื่อน
ที่เค้าซ่อมเก่งอยู่คนหนึ่ง
เราคุยกันเรื่อง
“น็อตใช้ถูกที่ถูกเวลาตัวละแสน”
เค้ามักมาเล่าประสบการณ์ในกลุ่มไลน์
เรื่องการซ่อมอยู่เสมอ

https://www.thaiall.com/blog/admin/10140/

บรรยากาศ ยามเช้า บนถนนในอำเถอ

อันดับเว็บไซต์ด้านการศึกษา ปี ค.ศ. 2003 – 2022

ว็บไซต์อันดับ 1 ด้านการศึกษา ตั้งแต่ปี 2003 ถึงปัจจุบัน มีผลการจัดอันดับในแต่ละปี ดังนี้ 1) ปี 2003 ru.ac.th มี UIP 3,228 ต่อวัน 2) ปี 2004 eduzones.com 3) ปี 2005 eduzones.com 4) ปี 2006 vcharkarn.com 5) ปี 2007 vcharkarn.com 6) ปี 2008 vcharkarn.com 7) ปี 2009 eduzones.com 8) ปี 2010 eduzones.com 9) ปี 2011 eduzones.com 10) ปี 2012 eduzones.com 11) ปี 2013 eduzones.com 12) ปี 2014 gotoknow.org 13) ปี 2015 gotoknow.org 14) ปี 2016 gotoknow.org 15) ปี 2017 gotoknow.org 16) ปี 2018 gotoknow.org 17) ปี 2019 trueplookpanya.com 18) ปี 2020 trueplookpanya.com 19) ปี 2021 trueplookpanya.com 20) ปี 2022 trueplookpanya.com มี UIP 97,965 ต่อวัน

ปัจจุบัน ทรูปลูกปัญญา คือ เว็บไซต์ด้านการศึกษา อันดับ 1 ของประเทศไทย มีกลุ่มเป้าหมาย คือ เยาวชนไทยยุคดิจิทัล เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด มีเนื้อหาที่ประกอบด้วย คลังบทเรียน คลังข้อสอบ สนามสอบเสมือนจริง คลิปการเรียน ระบบอัปสกิล ระบบจัดการห้องเรียนออนไลน์ และ คอร์สเรียนออนไลน์ มีแอปพลิเคชันทรูปลูกปัญญาทั้งบน Play store และ App store หรือชมผ่านทางช่องทรูปลูกปัญญา

https://thaiall.com/truehits/

การกระตุ้นความสนใจ วิธีหนึ่งคือมีรุ่นพี่ศิษย์เก่าดีเด่นผู้เป็นแรงบันดาลใจ มาเป็นวิทยากรที่เป็นการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน

พบงานวิจัยของ กนิษฐา พูลลาภ, ทรงศักดิ์ สองสนิท, และ ขจรพงษ์ ร่วมแก้ว ศึกษาเรื่อง การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ร่วมกับการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ในผลการวิจัย พบว่า ได้เสนอกิจกรรมทั้งหมด 5 ขั้น โดย ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ ในกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ตามด้วย ขั้นที่ 2 ตั้งปัญหาและแบ่งกลุ่มตามความสนใจ ขั้นที่ 3 ค้นคว้าและคิด ขั้นที่ 4 นำเสนอ ขั้นที่ 5 ประเมินผล ถูกนำเสนอใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21 วันที่ 27 มีนาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ซึ่งสถาบันการศึกษาทั้งระดับอุดมศึกษา มัธยมศึกษา และประถมศึกษา ต่างมีศิษย์เก่าเข้าไปสนับสนุนส่งเสริมการทำกิจกรรมในแต่ละสถาบัน เช่น โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง มีการประกาศรายชื่อ ศิษย์เก่าดีเด่น และ ศิษย์เก่าทรงคุณค่า เพื่อให้นักเรียนได้มีตัวอย่างบุคคลที่จะเป็นแรงบันดาลใจ และคุณครูสามารถนำไปใช้ในการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ด้วยการนำเสนอกรณีศึกษาความสำเร็จของศิษย์เก่าดีเด่น หรือเชิญมาเป็นวิทยากรเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นให้ตั้งใจเรียน และเรียนอย่างมีเป้าหมาย

เช่น กิจกรรม “พี่เล่า น้องเรียน” เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 ณ ลานกิจกรรม La Providence โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง ที่ฝ่ายวิชาการ ร่วมกับสภานักเรียน ฝ่ายกิจการนักเรียน โดยมีศิษย์เก่าทรงคุณค่า ได้แก่ 1) คุณณรงค์ ปัทมะเสวี ประธานกรรมการมูลนิธินิยม ปัทมะเสวี 2) พลเอกกฤษณ์ดนัย อิทธิมณฑล ประธานชมรมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง (กรุงเทพมหานคร) 3) คุณชัยวัฒน์ ทองคำคูณ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม และ 4) คุณนิรุฒน์ ตันอนุชิตติกุล ประธานบริษัท Major Advertising จำกัด มาเป็นผู้บอกเล่า ถ่ายทอดประสบการณ์ หนทางสู่ความสำเร็จในแวดวงต่าง ๆ แบ่งปันประสบการณ์และแนวคิดในการทำงาน เพื่อเปิดวิสัยทัศน์ สร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นความสนใจอยากเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย ให้รุ่นน้องได้เข้าถึงประสบการณ์จริงของรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จแล้ว เพื่อให้รุ่นน้องได้นำบทเรียนไปปรับใช้เป็นแบบอย่างสำหรับวางแผนชีวิตต่อไป

พี่เล่าน้องเรียน

https://web.facebook.com/ACL2501/posts/pfbid0dJeW3FXNaWTWy28qrbFEDY4k3AszDaa9oAiqvE7sGGnYxs4JZUXNdetzSEHfnJrhl

https://www.thaiall.com/education/indexo.html

หรือ ค้นจากกูเกิ้ลด้วยคำว่า “ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2564” พบประวัติการทำงานของศิษย์เก่า 2 ท่าน ในสาขาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่สะท้อนการบรรยายประวัติ Profile แบบ Who am i? แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติและการปฏิบัติตน
ที่สมควรแก่การได้รับการยกย่องให้เป็นศิษย์เก่าดีเด่น ด้วยผลงานที่โด่ดเด่นเป็นประจักษ์ ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมที่เป็นรูปธรรม ที่มีเอกสารอธิบายตัวตนของศิษย์เก่าดีเด่นได้อย่างชัดเจนในแบบเอกสารแสดงผลงาน จำนวน 2 ท่าน ดังนี้ 1) ท่านแรก ดร.พิทยากร ลิ่มทอง มีผลงานวิจัยดีเด่นหลายเรื่องที่ได้รับจากกรมพัฒนาที่ดินถึง 3 ปี และเป็นผู้เผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านปฐพีวิทยาอย่างเป็นระบบและเด่นชัด 2) ท่านที่สอง คุณรนัท ทรงเมรากฤตย์ เป็นผู้ปรับใช้องค์ความรู้ทางปฐพีวิทยามาผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ จนเป็นที่ยอมรับในวงการการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทที่เป็นที่ปรึกษาเทคโนโลยีและเทคนิคการเกษตรในองค์กรต่าง ๆ แล้วยังเข้ามาช่วยบรรยายให้กับนิสิตรุ่นน้อง และเข้าร่วมงานวิจัยกับคณาจารย์ในภาควิชา

ซึ่งทุกสถาบันการศึกษาย่อมมีศิษย์เก่าดีเด่น และตัวอย่างทั้งสองท่านนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่สมควรที่ครูอาจารย์จะนำประวัติและผลงานไปปรับใช้เป็นบทเรียนหนึ่งสำหรับการเล่าเรื่องให้นิสิตฟัง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ให้เห็นแนวทางการใช้ชีวิตของศิษย์รุ่นพี่ หรือส่งเอกสารอธิบายตัวตนของศิษย์เก่าดีเด่นให้รุ่นน้องได้เรียนรู้ แล้วได้นำไปปรับใช้เป็นแรงบันดาลใจหรือเป้าหมายชีวิตของตนต่อไป ที่สำคัญนักเรียนจะจำได้ว่าศิษย์เก่าดีเด่นที่เขาประทับใจคือใคร

ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2564
ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2564

https://dss.agr.ku.ac.th/news/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%B5-2564-30

เข้าไปหาลูกค้า กับ ลูกค้าเข้ามาหา

การค้าขายออนไลน์ หรือออฟไลน์ก็ตาม
หากมองในประเด็นเรื่อง การเข้าหา หรือ การได้มา (Acquirement)

ก็จะมีสองมุม คือ เข้าไปหา กับ เข้ามาหา

  1. การเดินเข้าไปหาลูกค้า (Walk out)
    ผู้ค้าจะต้องใช้ทรัพยากร โดยเฉพาะเวลาค่อนข้างมาก
    ต้องรู้ว่าลูกค้าคือใคร อยู่ที่ไหน ทำอะไรอยู่ เข้าเมื่อไร
    เช่น เพื่อนที่ทำงาน เพื่อนในเฟซบุ๊ก เพื่อนในไลน์ เพื่อนในไอจี เพื่อนในติ๊กต็อก
    แต่ผู้ค้าที่ไม่มีเพื่อนที่ติดตามเรา ย่อมไม่มีกลุ่มเป้าหมายให้เดินเข้าไปหา
    บางที การเดินเข้าไปหาลูกค้า อาจได้ order เป็น 0
    เพราะตัวแปรสำคัญ คือ ความสนใจต่อตัวสินค้าของกลุ่มเป้าหมาย
  2. การเข้ามาหาของลูกค้า (Advertising)
    ปัจจุบันสื่อสังคมทุกแพลตฟอร์ม มีบริการยิงแอด เพื่อโฆษณาสินค้า
    โดยเลือก Target group ได้ตามต้องการ เช่น เพศ วัย คำสำคัญ
    รายการเสนอขาย จะไปแสดงให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
    ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากได้เลือกในเวลาเดียวกันบนแพลตฟอร์มที่กำหนด
    ถ้าลูกค้าสนใจสินค้า ก็จะคลิกเข้าสั่งซื้อ เข้ามาหาผู้ค้า
    เพื่อสอบถาม ตกลงราคา เจรจาต่อรองได้ทันที
    บางที การยิงแอด อาจได้ order นับสิบ นับร้อย ในเวลาอันสั้น
    เพราะตัวแปรสำคัญ คือ ความน่าสนใจของตัวสินค้าที่โดนใจกลุ่มเป้าหมาย
    กรณีนี้มีตัวอย่างมากมายที่เล่าโดย Successful people ผ่านสื่อต่าง ๆ
  3. เพื่อนที่ทำงาน เพื่อนเรียน เพื่อนบ้าน (Neighborhood)
    กลุ่มลูกค้าใกล้ตัว ที่อาจทราบว่าเราจำหน่ายสินค้าอะไร
    และมีความสนใจที่จะ order สินค้าของเรา
    เพื่อนก็จะติดต่อขอสั่งซื้อสินค้า แล้วเราก็ไปส่งสินค้าให้เพื่อนได้โดยง่าย

กรณี เพื่อนอาจารย์ (Neighborhood)
การสื่อสารทางการตลาดถึงเพื่อนอาจารย์

มี #เพื่อนอาจารย์ ที่ #คณะพยาบาลศาสตร์ #มหาวิทยาลัยเนชั่น ต้องการสินค้า #Premium เป็นของฝากเนื่องในโอกาส #สวัสดีปีใหม่ ท่านเลือกสินค้าจากแฟนเพจ #Mareemphouse แล้วโทรปรึกษาที่ร้าน เรื่อง #Packaging โทร.0841519133 พบว่า ท่านเลือกซื้อ #ผ้าขาวม้าทอมือ กับ #ผ้าพันคอทอมือ ท่านได้สั่งซื้อมาหลายกล่อง เตรียมเป็นของขวัญปีใหม่ ส่งไปให้เพื่อนที่ต่างจังหวัด ซึ่งผมก็เตรียมสินค้าไว้ในรถ ไปมอบให้ท่านกับมือพรุ่งนี้

ประกอบกับวันนี้ได้อ่านบทความวิจัยจากวารสารฯ เรื่อง การสื่อสารทางการตลาดฯ เกี่ยวกับสินค้าในชุมชนแห่งหนึ่ง ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ใน TCI-Thaijo.org กลุ่ม TCI1 มีผลการวิจัย หน้า 280 และเขียนผลตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ว่า การสื่อสารประกอบด้วย 6 แนวทาง และชอบคำ 3 คำที่อธิบายตามภาพนี้ คือ 1) การให้ข่าว คือ รายงานว่ามีใครซื้อสินค้า ก็นำเรื่องมาแชร์ให้เพื่อนได้เห็นว่าวันนี้มีใครซื้อสินค้าอะไรของเรา 2) กลุ่มลูกค้า ปกติกลุ่มเป้าหมายจะมีหลายกลุ่ม ตามแพลตฟอร์มที่เราเลือกทำการตลาด ซึ่งคนในมหาวิทยาลัยเนชั่น คนในจังหวัดลำปาง เพื่อนเก่ามัธยม เพื่อนเก่ามหาวิทยาลัย ก็จะกลุ่มที่ผมสามารถนำสินค้าไปยื่นให้ถึงที่หน้าบ้านหรือหน้าห้องทำงานเลย ไม่ต้องใช้บริการ #delivery เพราะที่ลำปางผมไปส่งเองได้ 3) ประชาสัมพันธ์ เป็นการบอกเล่าในสื่อสาธารณะ เช่น ค้นคำว่า “ผ้าขาวม้า ผ้าพันคอ ผ้าถุง” ผ่าน google.com จะพบรายการสินค้า ข้อมูลการติดต่อ และพบโพสต์นี้ รวมถึงพบภาพ #บทความวิจัย ที่ผมได้ทำการทบทวนวรรณกรรมมาด้วย

ซึ่งแนวทางการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการของสินค้า OTOP ในบทความวิจัย มี 6 ข้อ ได้แก่ 1) การประชาสัมพันธ์ 2) การโฆษณา 3) การจัดกิจกรรมทางการตลาด 4) การส่งเสริมการขายโดยใช้พนักงาน 5) การตลาดทางตรง 6) การส่งเสริมการขาย

https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/247818

บทความ จาก ThaiJo อยู่ใน TCI กลุ่ม 1

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ “การตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมด้วยโปรแกรมอักราวิสุทธิ์” เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี แห่งการสถาปนาบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับสถาบันการศึกษา หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจจำนวน 150 แห่ง วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม 2565 เวลา 13.30 – 14.30น. ออนไลน์ผ่าน Zoom ซึ่งความร่วมมือตามบันทึกข้อตกลงจะมีระยะเวลา 5 ปี ไปถึง 26 มีนาคม 2570 akarawisut.com

http://plag.grad.chula.ac.th/

https://www.akarawisut.com/

วัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างจุฬา กับสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เป็นหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ ในการตรวจสอบและป้องกันการลอกเลียนงานวรรณกรรม 2) เพื่อเป็นการป้องปรามมิให้มีการกระทำอันเป็นการลอกเลียนงานวรรณกรรมของบุคคลอื่น

https://www.thaiall.com/research/akarawisut.htm

ภาพขณะลงนาม
ภาพเปิดแฟ้ม
ถ่ายภาพร่วมกัน

ประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ครั้งที่ 20 : โปสเตอร์

ประชุมวิชาการระดับชาติ

พบ เรื่อง ปลูกถ่ายแนวคิดการวิจัย สู่การขับเคลื่อนนวัตกรรม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 20 วันเสาร์ที่ 25 และวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน 2565 ณ อาคารคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล พบว่า เพื่ออาจารย์หลายท่าน นำเสนอผลงานวิชาการในการประชุมครั้งนี้ ผมเข้าไปที่ ตรวจสอบสถานะ แล้วก็ค่อย ๆ เลื่อนดูชื่อ พบ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ อ.พัชรีภรณ์ หรพร้อม อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ ส่งผลงานเข้าไปในระบบแล้ว ไปดูหัวข้อกำหนดการ พบว่าหมดเขตส่งผลงาน 31 พฤษภาคม 2565 โดยครั้งนี้มี นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาเป็นปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน“

https://www.thaiall.com/pdf.js/wtu_20_poster.htm

โปสเตอร์ในการประชุมวิชาการ

ผลงานวิชาการที่น่าสนใจ 18 เรื่อง

ศรีเพชร สร้อยชื่อ, ศิรินธร อุทิศชลานนท์, และ พัชรีภรณ์ หรพร้อม. (2565). การบริหารแรงงานสัมพันธ์ในภาวะวิกฤตโควิด-19. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 240-250). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

สุริยา พุฒดวง, วิเชพ ใจบุญ, เกศริน อินเพลา, ศศิวิมล แรงสิงห์, บุรินทร์ รุจจนพันธุ์, และ เถลิงศักดิ์ สุทธเขต. (2565). การศึกษาการรับรู้ต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของนิสิต มหาวิทยาลัยเนชั่น. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 231-239). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

วีระพันธ์ แก้วรัตน์, ศิรินธร อุทิศชลานนท์, และ ภัชรชาติ ทูรวัฒน์. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการธุรกิจเซรามิก ในจังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 251-258). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

ธวัชชัย อ้ายผง, ศศิวิมล แรงสิงห์, เถลิงศักดิ์ สุทธเขต, และ ขวัญ สุภรสุข. (2565). การมีส่วนร่วมของชุมชนกับการบริหารจัดการป่าชุมชนแบบยั่งยืน: กรณีศึกษา ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 259-268). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

คนึงนิจ ติกะมาตย์ และ กวินทร์ ศุภวิทยโยธิน. (2565). การใช้สื่อออนไลน์เพื่อพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมกิจกรรมของผู้สูงอายุในวิถีชีวิตใหม่ ชุมชนบ้านบุญเกิด อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 222-230). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

พนิดา สินสุวรรณ และ ศรีสกุล ชัยเวียง. (2565). การศึกษาผ่านทางไกลจากพระราชดำริในรัชกาลที่ 9 สู่ยุคการสอนออนไลน์. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 331-339). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

พิสิษฐ์ ยอดวันดี. (2565). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 321-330). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

จุรีย์ สร้อยเพชร และ วราลักษณ์ ศรีกันทา. (2565). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 315-320). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

กาญจนา ภาสุรพันธ์. (2565). การขับเคลื่อนสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 269-278). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

พัทธนันท์ พุดหล้า, จิติมา กตัญญู, กุลสตรี กองวี, ชุติกาญจน์ ศรีษะ, ศิริลักษณ์ รัตนดวง, วัชรี ใจโพธิ์, และ นิตยา อินต๊ะสาน. (2565). การศึกษาความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าโทก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 180-190). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

ศรีเพ็ญ วิทิตานนท์, พัทธนันท์ พุดหล้า, กิตติพงษ์ เปาป่า, กรกาญจน์ สิทธิจู, และ ปรียาภรณ์ วัชรการุณย์ฺ. (2565). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง หมู่บ้านโทกหัวช้าง ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 201-211). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

จิติมา กตัญญู, ปรางค์วลัย ก๋าแก่น, ญาณิศา ชุ่มธิ, สุนันทา สิงหการ, ภัทรนัย ไชยพรม, ไกรศร วงศ์ธิดา, และ ศิริวรรณ คำวงค์ษา. (2565). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าขัว ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 159-167). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

วิภาพร เตชะสรพัศ, กวินนา แซ่ท้าว, สุภัสสรา พิทักษ์อนันตกุล, ภูมริน ทองอ่อน, ภัทรนัย ไชยพรม, นรกมล ขันตรี, และ วชิราภรณ์ ตามวงค์. (2565). พฤติกรรมการใช้ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ในผู้ป่วยกลุ่มโรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูกที่มารับบริการคลินิกแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นธงชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 191-200). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

จิราพร สุวรรณธีรางกูล, จิติมา กตัญญู, พัทธนันท์ พุดหล้า, ณัฐยาภรณ์ ตันน้อย, สุจินันท์ วงค์ทิพย์, ธรัญชนก พรมลังกา, และ ภัทรนัย ไชยพรม. (2565). การศึกษาสภาพแวดล้อมที่พักอาศัยและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ชุมชนบ้านวังทอง ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 168-179). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

วุฒิโชติ จันทร์แสนตอ, มณฑล เลิศคณาวนิชกูล, พวงทิพย์ ภู่พงษ์, กฤษณา พงศ์สุวรรณ, ณิชารีย์ พรมราช, ดารารัตน์ ห่อเพ็ชร. (2565). การสำรวจเชื้อ Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) และชิ้นส่วนยีน mecA บนพื้นผิวโต๊ะห้องเรียนฝึกปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 141-149). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

สุภาวดี มณีเกษร. (2565). ผลของการน็อคเอาท์ยีนยูบิควิตินคอนจูเกต (UBE2G1 และ UBC13) ต่อการเจริญเติบโตของเชื้อพลาสโมเดียมฟัลซิพารัม. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 150-158). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

จุฑารัตน์ หมอเต๊ะ, สุภาวดี มณีเกษร, ชญาภา พรหมเดชวัฒนา, วุฒิโชติ จันทร์แสนตอ, และ ยุพาลภัส สุภาเลิศภูรินทร์. (2565). การเข้าถึงแอนติเจน เทสต์ คิทเพื่อคัดกรองโควิด 19 กับวิถีชาวบ้านในปัจจุบัน ในอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 137-140). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

นภาพร วรรณศรี. (2565). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื่อง พ่อเจ้าทิพย์ช้าง โดยใช้ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง สำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเนชั่น. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 116-123). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

การจัดการรายการต้นแบบ ใน MS Word

โปรแกรมเอกสาร (MS Word) มีคุณสมบัติหนึ่ง คือ ระบบบรรณานุกรม ที่เก็บรายการต้นแบบ และรายการปัจจุบัน ที่สามารถบันทึกแหล่งข้อมูล แล้วเลือกใช้รายการปัจจุบันในเอกสารที่เปิดอยู่ หรือนำมาแทรกเป็นเอกสารอ้างอิงท้ายรายงาน หรือท้ายบทความวิชาการได้ เมื่อถึงเวลาต้องสรุปเอกสารอ้างอิงนั่นเอง ดังนั้น นักวิจัย สามารถอ่าน เขียน สรุปรายการงานวิจัย บทความวิชาการ และบันทึกเป็นแหล่งข้อมูลให้ได้จำนวนและเนื้อหาที่เพียงพอ แล้วทำการรีวิวอย่างเป็นระบบ เลือกมาเขียนในรายงานการวิจัย 5 บทได้

มีขั้นตอนการใช้งาน คือ เข้าแถบเมนู, การอ้งอิง, จัดการแหล่งข้อมูล, มีแหล่งที่พร้อมใช้งานใน C:\Users[user name] \AppData \Roaming \Microsoft \Bibliography \Sources.xml ซึ่งแฟ้ม Sources.xml ผู้วิจัยสามารถเพิ่ม ลบ แก้ไขได้ง่าย หากต้องการเลือกใช้ก็เพียงคัดลอกจากหน้าต่าง “รายงานต้นแบบ” เข้าหน้าต่าง “รายการปัจจุบัน” ซึ่งเอกสารอ้างอิงมีให้เลือกได้หลายรูปแบบ เช่น APA, Chicago, IEEE, MLA, Turabian ส่วนแฟ้ม Sources.xml มีหน้าที่เก็บรายการเอกสารที่ผู้วิจัยรวบรวมจากการค้นคว้าไว้ มีได้หลายแฟ้มตามโครงการ หรือบุคคลได้ เช่น Sources_burin.xml หรือ Sources_wtu20.xml ซึ่งการเรียกแฟ้มต้นแบบเข้ามาเปลี่ยนใน MS Word จะไม่ใช่การรวมรายการกับแฟ้ม Sources.xml เดิม แต่เป็นการเปิดใหม่แทนที่แฟ้มรายการต้นแบบเท่านั้น

การอ้างอิง บน Microsoft word

ในการแทรกบรรณานุกรม ยังมีตัวเลือก “บันทึกส่วนที่เลือกลงในแกลลอรีบรรณานุกรม” ที่เรียกมาใช้ได้ หรือเข้าไป “จัดระเบียบและลบออก” ผ่าน right click ก็ได้ โดยใช้ mouse คลุมเนื้อหาส่วนที่เลือก แล้วสั่งบันทึกฯ เพื่อเรียกใช้อีกครั้งภายหลัง

https://www.thaiall.com/research/apa.htm