เตือนผู้หญิงที่กำความลับ

7 พ.ย.53 เรื่อง เตือนผู้หญิงที่กำความลับ มีรายละเอียดดังนี้
(1) หลักการและเหตุผล ปัจจุบัน เทคโนโลยีถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตและผู้ใช้คอมพิวเตอร์จำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับการ เปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดนิ่งด้วยความระมัดระวัง จำเป็นต้องตระหนักรู้ถึงภัยคุกคามหลากหลายรูปแบบ และเข้าใจวัฒนธรรมของความปลอดภัย (Culture of Security)ในสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้ไม่ประสงค์ดีพัฒนารูปแบบการคุก คามผู้ใช้อยู่ตลอดเวลา การรวมกลุ่ม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญ ศึกษาวิธีป้องกัน ดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาท แบ่งปันประสบการณ์เทคนิควิธีเพื่อสร้างรูปแบบพฤติกรรมแห่งความปลอดภัย ให้เข้าใจ และปฏิบัติกันโดยทั่วไป จึงเป็นสิ่งที่ควรดำเนินการเชิงบูรณาการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อ เนื่อง

(2) กลุ่มเป้าหมายสำหรับสื่อที่จัดทำ นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป

(3) เนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ การ ทำลายสิ่งที่ไม่ต้องการเผยแพร่ 2 รูปแบบ คือ เอกสารกระดาษ (Hardcopy) และแฟ้มดิจิทอล (Softfile) ซึ่งการวางใจแล้วทำลายเอกสารด้วยวิธีง่าย ๆ  มีบทเรียนให้เห็นทางทีวีอยู่บ่อยครั้ง ว่าผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถนำข้อมูลที่ผู้ใช้คิดว่าทำลายไปแล้วกลับมาใช้ใหม่ จนทำให้ผู้ใช้เสียหาย ผู้ใช้จึงควรมีความตระหนักถึงการทำลายเอกสารทั้งสองรูปแบบอย่างจริงจัง

(4) เทคโนโลยี เทคนิค วิธีการและเครื่องมือ ใช้โปรกรม Proshow producer ในการจัดทำ และเขียนออกมาเป็น DVD format 16:9 ได้แฟ้มสกุล .mpg และใช้ Camstudio จับการทำงานบนจอภาพได้แฟ้มสกุล .avi โดยใช้ภาพนิ่ง วีดีโอคลิ๊ป แฟ้มเสียง และแฟ้มเพลงบรรเลง ประกอบการจัดทำวีดีโอคลิ๊ป

สรุปขั้นดำเนินโครงการของงานสัมมนา

จากส่วนหนึ่งของรายงานสรุปผล

ขั้นดำเนินโครงการ การสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การวิจัยในชั้นเรียน มีผู้ส่งผลงานวิจัยในชั้นเรียนเพื่อใช้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมด 4 ผลงาน ในรูปของบทคัดย่อ ประกอบด้วย เรื่องแรก คือ “ศึกษาการมอบหมายงานกลุ่มในการจัดทำสื่อวีดีทัศน์ประกอบการสอนการใช้โปรแกรม Powerpoint ในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสืบค้นข้อมูลเบื้องต้น” โดย ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ และ อ.อัศนีย์ ณ น่าน เรื่องที่สอง คือ “การสร้างสื่อการสอนการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา วิชาการภาษีอากร สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยโยนก” โดย อ.สุรพงษ์  วงศ์เหลือง   เรื่องที่สาม คือ “การศึกษาประสิทธิภาพวิธีการสอนโดยระบบ E-Learning วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน HRMT 411 ปีการศึกษาที่ 1/2553 มหาวิทยาลัยโยนก” โดย อาจารย์วีระพันธ์ แก้วรัตน์ เรื่องที่สี่ คือ “A Developmental Practice of Teaching the Thai Language in a Multicultural Context : Study of Thai 302 : Reading and Writing Thai 1” โดย อ.สุจิรา หาผล

1. การดำเนินการมีวาระสำคัญ จำนวน 7 วาระ ประกอบด้วย 1) อ.ทันฉลอง รุ่งวิทู รักษาการอธิการกล่าวเปิดงานสัมมนา 2) อ.ชินพันธ์ โรจนไพบูลย์ บรรยายให้ความรู้เรื่องการวิจัยในชั้นเรียน 3) นักวิจัยนำเสนอผลการวิจัย 2 คน ได้แก่ ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ และ อ.วีระพันธ์  แก้วรัตน์ 4) คุณภัทรา  มาน้อย ศูนย์ประสานงานจังหวัดลำปาง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และ คุณกฤษฎา  เขียวสนุก  สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวไทย 5) เปิดเวทีให้อาจารย์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 6) อ.ทันฉลอง รุ่งวิทู วิพากษ์การเขียนบทคัดย่อของงานวิจัยในชั้นเรียนแต่ละเรื่อง 7) สรุปผลที่นำไปสู่การพัฒนาการวิจัยในสถาบันต่อไป

2. สาระในเอกสารประกอบการประชุมที่ได้จากคู่มืองานวิจัย ปี 2552 ซึ่งเผยแพร่โดยสำนักวิชาการ ประกอบด้วย 1) ความหมายของการวิจัย 2) เงื่อนไขในการให้ทุนอุดหนุนงานวิจัย 3) ขั้นตอนการเสนอโครงร่างเพื่อขอรับทุนอุดหนุนงานวิจัย และ 4) ขั้นตอนการดำเนินงานหลังได้รับทุนอุดหนุนงานวิจัย

3. หัวข้อบรรยายโดย อ.ชินพันธ์ โรจนไพบูลย์ มีดังนี้ 1) อะไรคือการวิจัย 2) วงจรการทำวิจัยในชั้นเรียน 3) โครงร่างงานวิจัยในชั้นเรียน 4) การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน และ 5) ความแตกต่างของการวิจัยในชั้นเรียน กับการวิจัยการเรียนการสอน

4. ประเด็นที่มีการแลกเปลี่ยนในเวที อาทิ ความคับข้องใจ ความสุข และปัญหาจากการทำวิจัยในชั้นเรียน รูปแบบการทำวิจัยในชั้นเรียน คุณภาพของงานวิจัยในชั้นเรียน เทคนิคการเขียนบทคัดย่อและรายงานการวิจัยที่ควรได้รับการพัฒนา การให้นโยบายจากผู้บริหารในการส่งเสริมการทำวิจัยเพื่อนำไปสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการ

สังขารกับผลประเมินบริการวิชาการ

ผลประเมิน
ผลประเมิน

26 ต.ค.53 สังขารไม่ค่อยให้เลยครับ ทำงานไปต้องดูเวลาไป เพราะเจ็บร้าวมือไปทั้งแขน ทำงานเสร็จก็ต้องรีบไปประคบน้ำอุ่นวันละหลายรอบ ไม่รู้ว่าจะยึดอาชีพนักคอมพิวเตอร์ได้อีกนานแค่ไหน .. สรุปผลประเมินบริการวิชาการเสร็จ 2 พื้นที่ ก็จะไปประคบร้อนแล้วครับ จะได้มีแรงมือมาทำต่อ .. เพราะงานต่อไปต้องพิมพ์ชื่อเขตข้อมูลภาระงานอีก 8 ตารางกว่า 40 ตัว เข้า code อีกไม่ต่ำกว่า 200 ครั้ง .. คิดแล้วเครียดแทนมือ .. เรื่องกุ้งยิงอีก 5 ตุ่มนี่ทิ้งไว้ก่อน เพราะอยู่ในมือหมอ บางตุ่มหมอบอกว่ากลายเป็นซีดไปแล้ว ต้องทำใจ .. นาน ๆ บ่นเรื่องสังขารซะที

บันทึกกันลืมว่าพรุ่งนี้มี 4 ภารกิจในแผน

พรุ่งนี้มีเอกสาร 4 ฉบับกับ 1 เรื่องที่ต้องมีความก้าวหน้ากว่าเดิมแล้ว ไม่งั้นดินพอกหางหมูต่อไปแน่ คือ 1) คู่มือฝึกงานสำหรับ2553 ที่ทำร่วมกับอ.เกศริน 2) คู่มือโครงงานสำหรับ2553 ที่ทำร่วมกับอ.วิเชพ 3) รายงานสรุปผลโครงการวิจัยชั้นเรียนทำร่วมกับอ.ศรีเพชร 4) รายงานสรุปผลโครงการบริการวิชาการบูรณาการร่วมกับอ.วีระพันธ์ และอ.สุทธิ์พจน์ และ 5) สรุปว่าผลประเมินความพึงพอใจการสอนที่จะปล่อยให้ตกหรือทำให้ผ่านจากการตัดสินใจของผู้รับผิดชอบหลายฝ่าย

หัวข้อสำหรับเขียนรายงานสรุปผลโครงการ

24 ต.ค.53 การเขียนรายงานที่ได้รับคำแนะนำจาก อ.อัศนีย์ ณ น่าน .. เพราะระดับมหาวิทยาลัยยังไม่มีใครกำหนดชัดเจน หรือถือปฏิบัติเป็นวัฒนธรรม ส่วนที่คณะของผมก็มี อ.วิเชพ ใจบุญ เคยกำหนดแนวไว้ในระดับหนึ่งเช่นกัน ส่วนแนวที่ผมใช้ประจำเป็นแนวของ อ.อัศนีย์ ณ น่าน เพราะท่านเคย comment และให้ข้อเสนอแนะมาจึงต้องใช้ตามนั้น มีหัวข้อสำคัญดังนี้
1. ย่อหน้าแรกเป็นการเล่าวัตถุประสงค์ของการเขียนรายงานสรุปผลโครงการ
2. สรุปสาระสำคัญของโครงการ บอก วัตถุประสงค์ ตัวบ่งชี้ เป้าหมาย เวลา สถานที่ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ อะไรทำนองนี้
3. ผลการดำเนินงานตามโครงการ แยก 3 ประเด็น คือ (1) ขั้นเตรียมการ  (2) ขั้นดำเนินโครงการ (3) ขั้นติดตามและประเมินผลโครงการ
4. บทเรียนที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ แยก 4 ประเด็นคือ คือ (1) การวางแผน (2) การดำเนินการ (3) การประเมินผล และ (4) ข้อเสนอแนะสำหรับการทำโครงการในปีต่อไป
และส่วนหนึ่งของรายงานสรุปผลโครงการที่พยายามใช้แนวข้างต้น คือ
http://www.yonok.ac.th/doc/oit/report_it53_photoshop_v2.3.doc
http://www.yonok.ac.th/doc/oit/report_it531_trainfreshy_final_v9.doc
รายงานของผมส่วนใหญ่ได้คุณอรรถชัย เตชะสาย ช่วยจัดการให้

ผลประเมินความพึงพอใจ ทุกวิชาต้องมากกว่า 3.50

24 ต.ค.53 คุณเรณู อินทะวงค์ เล่าให้ฟังด้วยความห่วงถึงผลประเมิน ตบช.2.6 และชี้ให้ดูว่าในคู่มือประกันของสกอ.ปรับปรุง กรกฎาคม 2553 ซึ่ง download ได้จาก e-document ของสำนักประกันการศึกษาที่ดูแลโดย อ.อัศนีย์ ณ น่าน และได้มีการจัดบรรยายให้ความรู้โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิคือ อ.อุษณีย์ คำประกอบ ไปแล้วนั้น
http://www.yonok.ac.th/doc/handbooks/handbook_cheqa_2553.pdf หรือจาก http://www.yonok.ac.th/intranet หัวข้อคู่มืองานประกันคุณภาพการศึกษา พบว่า ในหน้า 56 ตัวบ่งชี้ที่ 2.6 เกณฑ์ที่ 6 “มีการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทุกรายวิชา ทุกภาคการศึกษา โดยผลการประเมินความพึงพอใจแต่ละรายวิชาต้องไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5” ถ้าจะได้ 5 คะแนนเต็มนั้น ข้อนี้จะต้องผ่านเกณฑ์ทั้ง 7 ข้อ .. คงต้องหยิบตัวเลขมาดูแล้วครับว่าต่ำกว่าสักหนึ่งวิชาหรือไม่ และวิชาในคณะใดไม่ผ่าน เพราะถ้ามีแค่วิชาเดียวไม่ผ่าน ก็หมายถึงมหาวิทยาลัยไม่ผ่าน .. ข้อมูลอยู่ในมือสำนักวิชาการครับ

ผลประเมินจากเวทีวิจัยในชั้นเรียน

เวทีวิจัยในชั้นเรียน
เวทีวิจัยในชั้นเรียน

20 ต.ค.53 ผลประเมินความพึงพอใจต่อเวทีวิจัยในชั้นเรียน 2553 (แบบกัลยาณมิตร) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีจำนวน 5 ใน 6 หัวข้อ ซึ่งข้อที่แตกต่างหนึ่งข้อนั้นมีระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด คือ ประโยชน์ที่ได้รับ .. ทีแรกคิดว่า 1) ห้องสัมมนาจะมีความพึงพอใจต่ำสุด เพราะมีเพื่อนหลายคนนิยมนั่งหลังเพื่อปฏิบัติภารกิจบางประการ แต่ผมจัดเวทีในรูปเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เปิดให้ทุกคนมีบทบาทเสมอกัน (อาจมีบางท่านคิดว่าเสมอภาคย่อมไม่ยุติธรรม) ส่วนประเด็นที่อยากกล่าวถึงมี 4 ประเด็น คือ 1) ระยะเวลา พอใจต่ำสุด น่าจะเกิดจากเปิดให้มีการแลกเปลี่ยนกัน แต่จำกัดเพียง 2 ชม. หลายคนจึงไม่มีโอกาสได้แสดงทัศนะของตนเอง 2) ผู้้นำเสนอผลงาน ต่ำรองลงมา เพราะในจำนวน 4 ชิ้นงานมีผู้สะดวกมานำเสนอเพียง 2 ชิ้นงาน อีกปัญหาต่อผู้นำเสนอคือ จำกัดเวลาด้วยวิธีการนำเสนอ ซึ่งต้องแลกกับรูปแบบการจัดเวทีแบบเปิด 3) เอกสาร ที่แจกให้ทุกคนมีเพียงบทคัดย่อ ไม่แจกล่วงหน้า ไม่มีรูปแบบมาตรฐาน และไม่มีความสมบูรณ์ในการเป็นบทคัดย่อของงานวิจัย 4) ประโยชน์ที่ได้รับ ผู้ร่วมเวทีได้ทราบนโยบายที่มีความชัดเจน อาจารย์หลายท่านกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ประทับใจนโยบายชัดเจน นักวิชาการจากภายนอกมีความชำนาญขั้นพระอินทร์ในการจัดเวทีเสวนาแบบนี้ได้ชวนคนในวงให้พูดคุยและก็ชวนได้สำเร็จ (ตอนแรกผมนึกว่าจะปิดประชุมในชั่วโมงแรกซะแล้ว เพราะมีน้ำแข็งเกาะใจผมอยู่) อ.แม็ค เป็นผู้จุดประเด็นให้เวทีมีรสชาติ เกิดการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย สุดท้ายท่านอธิการนำเวทีกลับเข้าสู่การวิพากษ์บทคัดย่อได้สำเร็จ แล้วนำไปสู่การพัฒนาในอนาคตต่อไป .. ที่เขียนนี้เป็นรุ่นเผยแพร่ทั่วไปสำหรับ google.com และไว้อ่านหลังเกษียณ ถ้าเขียนเป็นรายงานในมหาวิทยาลัยจะเขียนอีกแบบครับ

ปรับระบบช่วยนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา วางแผนการเรียน

grade 2010
grade 2010

19 ต.ค.53 มีการปรับ code ให้งานทะเบียนสามารถ update ข้อมูลในระบบรายงานผลการเรียนได้โดยง่าย ทำให้อาจารย์ส่งผลการเรียนมายังงานทะเบียน และตรวจสอบแล้ว สามารถ update กับระบบข้อมูลออนไลน์ได้ทันที นักศึกษาจึงตรวจสอบผลการเรียน และคำนวณผลการเรียนล่วงหน้าสำหรับภาคเรียนต่อไป หรืออาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบผลการเรียนประกอบการให้คำปรึกษาโดยใกล้ชิด ทำให้นักศึกษาสามารถวางแผนการเรียนของตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรม
if(!isset($_REQUEST[“yr”])) {
echo “yr=20101”;
exit;
}
$fn = “limitlc” . $_REQUEST[“yr”];

+ http://blog.yonok.ac.th/burin/1394/
+ http://www.yonok.ac.th/grade

เวทีแลกเปลี่ยนผู้ทำงานประกันคุณภาพระดับคณะ

6 ต.ค.53 ณ ห้องบ่มเพาะ เวลา 9.30 – 12.00น. มีผู้ทำงานประกันคุณภาพระดับคณะ ประกอบด้วย อ.เบญ อ.จอม อ.อดิศักดิ์ อ.กิ๊ก คุณแนน คุณต่าย คุณแอ๋ว และอ.เก๋ มารวมกัน โดยรับการสนับสนุนจาก อ.อุษณีย์ ณ น่าน ด้วยดี เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษา ตามคู่มือฉบับ กรกฎาคม 2553 ที่ประกาศโดย สกอ. เป็นครั้งแรก เพื่อแลกเปลี่ยนและเตรียมพร้อมเข้าฟังการบรรยายจาก อ.อุษณีย์ คำประกอบ ในปลายเดือน เพื่อแบ่งปันประสบการณ์การทำงาน เอกสาร และศึกษาการเป้าหมายร่วมกันเบื้องต้นเชิงบูรณาการ ก่อนเข้าระบบของมหาวิทยาลัยที่ยกร่างเป้าหมายระดับมหาวิทยาลัย ให้คณะวิชาพิจารณามากำหนดเป้าหมายของคณะเป็นลำดับต่อไป เป็นอีกเวทีหนึ่งในการจัดการความรู้ที่เกิดจากกลไกของคณะวิชา และทีมวิจัยฐานข้อมูลประกันคุณภาพการศึกษา

จับเวลา scan หนังสือ 34 หน้า

26 ก.ย.53 วันนี้จับเวลาการ scan หนังสือเรื่อง “ชาวบ้านวิจัยไหล่หิน : อยู่หรือตาย จัดการได้อย่างพอเพียง” ในชุดประสบการณ์วิจัยจากพื้นที่ เล่มที่ 44 ซึ่งมี 34 หน้า ด้วย HP Deskjet f2480 และโปรแกรม Irfan view ใช้เวลารวมประมาณ 15 นาที โดยวิธีตัดขอบ แล้ว scan ครั้งละ 2 หน้า เมื่อได้แฟ้มประมาณ 17 แฟ้มก็นำมาตัดออกทีละหน้า ซึ่งเวลาในการ crop นั้นไม่รวมอยู่ใน 15 นาทีข้างต้น .. เล่าสู่กันฟัง