6 ก.ค.53 ได้รับหนังสือจากคณบดี วช 0003/ว898 ที่ส่งมาจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งจัดทำเอกสาร นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ.2551-2554) แล้วส่งมาเผยแพร่ ดังนั้นมหาวิทยาล้ยโยนกจึงร่วมเผยแพร่
พบว่า ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ มี 5 ประเด็นคือ 1) การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 2) การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางสังคม 3) การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางวิทยาการและทรัพยากรบุคคล 4) การเสริมสร้างและพัฒนาทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5) การบริหารจัดการความรู้ ผลงานวิจัย นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ ทรัพยากร และภูมิปัญญาของประเทศ
+ http://www.yonok.ac.th/doc/handbooks/nrct_policies_research5154.pdf
+ http://www.nrct.go.th/downloads/ps/NRCT_Policies&strategies51-54.pdf
Category: การทำงานและอาชีพ
รวมเรื่องเล่าจากการทำงาน
แผนที่ความคิด หรือมายแม็บเกี่ยวกับสถาบันการศึกษา
4 มิ.ย.53 มีโอกาสพูดคุยกับพระนิสิต และได้นำเสนอการเขียนร่างมายด์แม็ป (mindmap) ซึ่งเป็นแผนที่ความคิดเรื่องการดำเนินการของสถาบันการศึกษา ซึ่งสอดคล้องไปกับหลักสูตรการบริหารการศึกษา (M.Ed.) เพื่อให้พระทุกรูปได้กลับไปเขียนแผนที่ความคิด เป็นรายสัปดาห์ชิ้นหนึ่งที่ต้องเกิดจากความคิดของแต่ละรูป แต่มอบหมายให้เขียนด้วยมือแทนการใช้โปรแกรม Freemind หรือ Mindmanager แล้วใช้กล้องดิจิทอลถ่ายมาเป็นแฟ้มภาพ จากนั้นให้อัพโหลด (upload) ไปแบ่งปันใน facebook.com ซึ่งภาพในเว็บเพจนี้เป็นตัวอย่าง หรือร่างที่ได้นำเสนอให้เกิดการแลกเปลี่ยนในชั้นเรียนก่อนแยกกันไปทำงานเดี่ยว
ในอนาคตหวังว่า พระนิสิตจะใช้แผนที่ความคิดเป็นเครื่องมือในการรวบยอดความคิด หรือเป็นเครื่องมือนำเสนอความคิดในการประชุมกับชุมชน หรือการทำงานร่วมกันเชิงบูรณาการในที่ใดใดต่อไป
+ http://www.thaiall.com/freemind
วัตถุประสงค์การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยลำปาง
1 ก.ค.53 ผมได้รับอีเมลจาก คุณภัทรา มาน้อย เห็นว่าน่าสนใจ และเป็นบทเรียนที่ดี โดยผู้สนใจได้ร่วมกลุ่มพูดคุยกันที่ กศน.ภาคเหนือ ในวันที่ 28 มิ.ย.53 ที่ผ่านมา จึงประเด็นวัตถุประสงค์มาเผยแพร่ซึ่งมีใจความดังนี้
ตามที่ทางศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดลำปางร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการศึกษาในจังหวัดลำปาง เพื่อหารือแนวทางการเคลื่อนงาน”มหาวิทยาลัยลำปาง”โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อมี ดังนี้
1) ค้นหารูปแบบของการทำงานร่วมกันเชิงการบูรณาการศาสตร์ของการศึกษาจังหวัดลำปางโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง (ใช้แนวคิดหลักสูตรบูรณาการระบบการศึกษาเพื่อพัฒนาการเกษตรเป็นตุ๊กตาของการชวนคุย) ในเบื้องต้นการพูดคุยเพื่อค้นหารูปแบบการทำงานร่วมกันมีผู้เข้าร่วมที่มาจากสถาบันการศึกษาทั้ง ม.โยนก มรภ. มทร. กศน. มจร.และ สถาบันวิจัยและฝึกอบรมฯ เข้าร่วมเสนอแนวคิดและแลกเปลี่ยนประเด็นรวมถึงการตั้งข้อสังเกตของการดำเนินงานร่วมกันมากมายซึ่งทางศูนย์ประสานงานฯจะจัดทำสรุปเพื่อจัดส่งให้เครือข่ายต่อไป
2) สร้างรูปธรรมของแนวคิดงาน “มหาวิทยาลัยลำปาง” ให้เกิดเป็นแนวทางการบูรณาการการใช้ฐานของความรู้ในแต่ละระดับเพื่อส่งเสริมให้เกิดแนวทางของการศึกษาที่เอื้อประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง ในเบื้องต้นจากการประชุมมีแนวทางของรูปธรรมการดำเนิน 3 แนวทางคือ 1)แนวทางในการทำงานร่วมกับสถาบันคลังสมองของชาติ ซึ่งมีเป้าหมายในการให้เครือข่ายทำงานในลักษณะของการนำไปสู่การสร้างวิธีปฏิบัติร่วมที่ชัดเจนและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น หลักสูตร วิธีการสอน ความร่วมมือระหว่างสถาบัน เพื่อนำเอาสิ่งที่ได้นำเสนอต่อในเชิงนโยบาย 2) แนวทางของสกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่ใช้ฐานคนเป็นตัวตั้งเพื่อตอบสถานการณ์ปัญหาทางการศึกษาที่เป็นความต้องการของคนลำปางหรือตัวแทนของสถาบันร่วมกันตั้งคำถาม (Model ดร.สมคิด) ซึ่งอาจใช้ประเด็นเป็นตัวขับเคลื่อน เช่นประเด็นเกษตร หรืออื่นๆ โดยศูนย์ประสานงานฯเสนอให้เป็นการขับเคลื่อนงานยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดลำปาง โดยเน้นพื้นที่เป็นตัวตั้ง 3) ใช้กรอบModel ของดร.สาวิตรเพื่อขับเคลื่อนผ่านงาน ABC (งานวิจัยเพื่อพัฒนาทั้งพื้นที่ของสกว.กลาง) ซึ่งทั้ง 3 แนวทางจะนำไปสู่การพูดคุยเพื่อให้ได้ข้อสรุปเชิงรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
3) ช่องทางของการเคลื่อนงานของเครือข่ายการศึกษาจังหวัดลำปางร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้อง เบื้องต้นศูนย์ประสานงานวิจัยฯ รับเป็นตัวกลางในการประสานการประชุมในครั้งต่อไป และเตรียมข้อมูลพื้นที่วิจัยที่จะใช้เป็นแนวทางของการดำเนินงานต่อไป
+ งานนี้มี ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ ร่วมขับเคลื่อนด้วยอีกแรง
อบรม wordpress ของ yoso ให้เพื่อน
1 ก.ค.53 คุณธรณินทร์ มอบหมายให้ผมเป็นวิทยากรอบรมการใช้ wordpress ของ yoso.yonok.ac.th ให้กับบุคลากรของงานรับนักศึกษาและสื่อสารองค์กร มี อ.บอย อ.กิ๊ก อ.โก อ.อ้อม คุณเคี้ยง คุณนก โดยมีวิทยากรทั้ง คุณตุ้ย คุณแบงค์ คุณเอก คอยให้ความสะดวก ซึ่งประเด็นสำคัญคือการจัดการ post ใน category ซึ่งแตกต่างกัน และ category ถูกแบ่งไว้ 7 กลุ่ม การใช้ PostMash การใช้ Thumbnail สำหรับผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการใช้อินเทอร์เน็ต และ wordpress มาก่อนหน้านี้แล้ว จึงไม่ลงรายละเอียดมากนัก แต่การใช้งานจริงจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการ photo retouch การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ การมีวัตถุประสงค์และแผนในการเขียน การจัดการวีดีโอกับ youtube โดยมีรายละเอียดอีกหลายอย่างที่มอบหมายให้เป็นหน้าที่ของคุณธรณินทร์ ในฐานะเว็บมาสเตอร์ เช่น gallery ที่อยู่นอกระบบ wordpress การจัดการ right menu เป็นต้น จึงใช้เวลาสั้นระหว่าง 16.00น. – 17.00น. ก็แล้วเสร็จ
ร่วมประชุมที่สถาบัน กศน. ภาคเหนือ
17 มิ.ย.53 ร่วมงานประชุมเพื่อพัฒนาวิธีวิจัยที่เหมาะสมกับบริบทการปฏิบัติงาน กศน. ในระดับหมู่บ้าน/ตำบล นำโดย ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ และ ผศ.ดร.ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล เป็นประธานร่วม พร้อมด้วยบุคลากรทางการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยราชภัฎอีกหลายท่าน และมีผู้อำนวยการ กศน. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่วนข้างผมมี คุณรัตติกร บุญมี (จิ๊บ) และ คุณอัญมณี แสงแก้ว (โบว์) จาก สกว.ลำปาง
ก่อนปิดการประชุม ผศ.ดร.ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล ได้แบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับระบบและกลไกการบริหารงานวิจัย ซึ่งผมสรุปได้ว่ามีกระบวนการดังนี้ 1) อาจารย์เสนอ concept paper มายังคณะ 2) คณะพิจารณา แล้วส่งมายังสถาบันวิจัย 3) สถาบันวิจัย พิจารณาแล้วเปิดรับ proposal 4) อาจารย์จัดทำ proposal ส่งให้คณะ และสถาบันวิจัยพิจารณาอีกครั้ง 5) สถาบันวิจัยส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 6) จัดเวทีวิพากษ์ proposal 7) อาจารย์ส่ง proposal ที่ผ่านการปรับปรุงตามขั้นตอนอีกครั้ง 8) สถาบันวิจัยเสนอตามขั้นตอน เพื่ออนุมัติทุนวิจัย 9) เวทีรายงานความก้าวหน้าทุก 6 เดือน 10) ส่งรายงานการวิจัย และบทความวิจัยตามลำดับ 11) สถาบันวิจัยส่งบทความวิจัยให้ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 12) อาจารย์ปรับแก้ แล้วส่งบทความวิจัยตามลำดับ 13) สถาบันวิจัยร่วมกับอาจารย์ส่งบทความไปเผยแพร่ภายนอก
ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ เป็นวิทยากรปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่
10 มิ.ย.53 วันนี้ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ให้เกียรติรับเชิญจากมหาวิทยาลัยโยนกเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องการเรียนแบบ Creative ให้กับนักศึกษาใหม่ ที่ห้องประชุมใหญ่ อาคารบริหารธุรกิจ ระหว่าง 11.00น. – 12.00น. โดยเน้นว่านักศึกษายุคนี้ต้องมีความคิดแบบสร้างสรรค์คือ คิดใหม่ คิดต่าง คิดไม่เหมือนใคร ให้ดีกว่าเดิม ซึ่งข้อคิดสำคัญประการหนึ่งคือ นักศึกษายุคนี้ต้องเก่ง โดยมีให้เลือก 4 เก่งหรือจะเก่งทั้งหมดก็ยิ่งดี คือ เก่งภาษา (Language) เก่งประสาน (Merge) เก่งเชี่ยวชาญ (Expert) และเก่งคิด (Think)
บ่นเรื่องแผนงานวันนี้ พรุ่งนี้ และมะรืนนี้
10 มิ.ย.53 เย็นนี้หมดแรงข้าวต้มแล้ว เพราะเผยแพร่สถิติของสื่อ ทำรายงานการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา ยกร่างโครงการพัฒนาน.ศ.ด้านไอที ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง พรุ่งนี้ผมจะปิดร่างแผนพัฒนาระบบสารสนเทศ ที่ส่งให้ทุกบุคลากรทุกคนได้ร่วมเสนอเข้ามา ซึ่งมีอาจารย์เพียงหนึ่งท่านส่งกลับมา ส่วนรายชื่อผู้พัฒนาอีเลินนิ่งตามแผนปี2553 และรายงานโครงการวิจัยพร้อมแฟ้มที่คุณศิริพร ยาสมุทร ช่วยประสานนั้น ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่สะดวกส่งกลับมา ทำให้ผมชะลอการพัฒนาระบบฐานข้อมูลได้ เนื่องจากต้องใช้ข้อมูลเป็นฐานในการพัฒนาต่อไป .. ก็เป็นการแก้ตัวไปน้ำขุ่น ๆ อีกแล้ว .. วันมะรืนมีแผนทำรายงานประกันคุณภาพของคณะวิชา เพราะได้รับมอบหมายจาก อ.วิเชพ ใจบุญ ให้ทำ องค์ที่ 3 กิจกรรมการพัฒนานิสิตนักศึกษา องค์ 4 การวิจัย องค์ 5 การบริการทางวิชาการแก่สังคม องค์ 6 การทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม .. นึกแล้วก็ขำ ขำ กับวิถีชีวิต .. โบราณท่านว่าชีวิตยังไม่สิ้นก็ดิ้นกันไป
ผลดำเนินการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา
9 มิ.ย.53 กรณีศึกษาการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา ซึ่งเป็นแผนแรกที่ใช้กลไกของอาจารย์ผู้สอนเป็นสำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา และใช้วิธีการติดตามจากอาจารย์ที่ปรึกษาเข้าไปเสริมกระบวนการในชั้นเรียน เพื่อป้องกันความผิดพลาดจากการเรียนการสอนตามปกติ โดยมี 5 กิจกรรมดังนี้
1. ตรวจสอบข้อมูลและผลการเรียนของนักศึกษาเป็นรายบุคคลแล้วพบว่า นาย … รหัส … สาขา… มีผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ แต่เรียนจนครบหลักสูตรแล้ว จึงจำเป็นต้องลงทะเบียนเพิ่มในภาคเรียนฤดูร้อน เพื่อให้มีผลการเรียนเฉลี่ยสูงกว่า 2.0
2. ประมวลผลเพื่อหาผลการเรียนที่จะทำให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาได้ โดยใช้บริการประมวลผลจากระบบรายงานผลการเรียนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยโยนก ที่พัฒนาโดยงานทะเบียนและประมวลผลที่ http://www.yonok.ac.th/grade แล้วพบว่านักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนอีกอย่างน้อย 3 วิชา รวมกับวิชาโครงงานระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ที่ลงทะเบียนไว้ก่อนหน้านี้อีก 1 วิชา เป็นทั้งหมด 4 วิชา โดยผลการเรียนควรได้เกรด A อย่างน้อยจำนวน 3 วิชาและ C+ จำนวน 1 วิชา ซึ่งศึกษาความเป็นไปได้แล้วพบว่ามี 3 วิชา คือ … ส่วนวิชา … จะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในภาคเรียนฤดูร้อนนี้ เนื่องจากเป็นวิชาที่ลงทะเบียนไว้ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551
3. การพัฒนานักศึกษาด้วยการติดตามจากอาจารย์ผู้สอนเกี่ยวกับการเข้าเรียน การส่งงาน และความคิดเห็นของผู้สอนแต่ละวิชา พบว่าในภาพรวมแล้วนักศึกษาเข้าเรียนทุกวิชาอย่างสม่ำเสมอ และตั้งใจเรียน ซึ่งมีข้อมูลจากอาจารย์ผู้สอนแต่ละท่านดังนี้ … ผู้สอนวิชา … ให้ข้อมูลว่านักศึกษาเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ และเชื่อว่าไม่มีปัญหาต่อผลการเรียน … ผู้สอนวิชา … ให้ข้อมูลว่านักศึกษาตั้งใจอ่านหนังสือ และพฤติกรรมในชั้นเรียนเป็นที่น่าพอใจ … ผู้สอนวิชา … ให้ข้อมูลว่าได้จัดการสอนและการประเมินผลของนักศึกษาคนนี้เป็นพิเศษ และกิจกรรมที่ผ่านมาผลการเรียนของนักศึกษาน่าจะได้ตามที่คาดไว้ ส่วน … ผู้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิชา … ให้ข้อมูลว่านักศึกษามาพบอย่างสม่ำเสมอ และรายงานความก้าวหน้าในการพัฒนาโปรแกรมอย่างต่อเนื่อง เป็นที่เชื่อได้ว่าผลการเรียนจะอยู่ในระดับที่น่าพอใจ
4. ก่อนสอบปลายภาคได้นัดให้นักศึกษามาพบ และทำความเข้าใจกับนักศึกษาว่าต้องตั้งใจอ่านหนังสือ แล้วให้นักศึกษารายงานปากเปล่าถึงกิจกรรม และการสรุปผลการเรียนที่ผ่านมา ซึ่งนักศึกษาสามารถอธิบายเนื้อหาวิชาแต่ละวิชาได้อย่างเข้าใจ และนำเสนองานในวิชาโครงงานที่เป็นรูปธรรม ซึ่งผลการประเมินในเบื้องต้นเชื่อว่านักศึกษาจะได้ผลการเรียนสูง และได้สอบถามจากอาจารย์ผู้สอนแต่ละท่านก็พอใจในพฤติกรรมของนักศึกษาที่มีในชั้นเรียนในระดับสูง
5. ผลการเรียนหลังสอบปลายภาค ประจำภาคเรียนฤดูร้อน ปีการศึกษา 2552 พบว่านักศึกษามีผลการเรียนดังนี้ ในระดับ … จำนวน 4 วิชา ซึ่งผลการเรียนเฉลี่ยที่มีการประมวลผลโดยงานทะเบียนฯ เป็น … เป็นผลให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาด้วยระดับคะแนนที่สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ในหลักสูตร
+ takecare_sittikorn.doc
สถิติสื่อต่อนักศึกษาเมื่อมิถุนายน 2552
9 มิ.ย.53 วันนี้ไปแก้โปรแกรมรับเงินผ่อนค่าลงทะเบียน กับรายงานเพิ่ม-ลดกระบวนวิชา ของฝ่ายการเงิน มีโอกาสได้คุยกับคุณลัดดาวรรณ เรือนทัศนีย์ (คุณน้อย) ฝ่ายทะเบียน ที่ย้ายห้องทำงานชั่วคราวมาที่นั่น ก็เล่าให้ฟังว่าปีที่แล้ว (มิ.ย.52) ได้จัดทำข้อมูลเชิงสถิติมากมายเกี่ยวกับจำนวนนักศึกษาเสนอผู้บริหารทุกสัปดาห์ หนึ่งในตารางข้อมูลคือ ชนิดของสื่อที่ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีสถิติว่า 3 อันดับแรกที่ให้ข้อมูลข่าวสารถึงกลุ่มเป้าหมายคือ 1) เว็บไซต์มหาวิทยาลัย 2) ป้ายประชาสัมพันธ์ 3) แผ่นพับ มีรายละเอียดอื่นตามภาพ
รายงานผลส่งเสริมร่วมประชุม nccit10
8 มิ.ย.53 รายงานการดำเนินงานโครงการ เรื่อง “โครงการส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิชาการในระดับชาติและระดับนานาชาติ” ตามรูปแบบที่กำหนดใช้งานภายในคณะฯ ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญ 4 หัวข้อ คือ 1) บทสรุปผู้บริหาร 2) สรุปผลการดำเนินงานโครงการ 3) ผลการประเมินตามโครงการ 4) สรุปบทเรียนที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ
ขอสรุปเฉพาะหัวข้อที่ 3 และ 4 ดังนี้ หัวข้อที่ 3) ผลการประเมินตามโครงการ พบว่า โครงการมีตัวบ่งชี้ 2 ตัว คือ มีอาจารย์ผลิตผลงานวิชาการไปนำเสนอในเวทีระดับชาติอย่างน้อย 1 คน และมีอาจารย์ไปร่วมประชุมวิชาการในเวทีระดับชาติอย่างน้อย 3 คน ซึ่งผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ของโครงการพบว่าผ่านตามตัวบ่งชี้ทั้ง 2 ตัว สรุปว่าผ่านตัวบ่งชี้ที่ 1 คือ มีชื่ออาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปนำเสนอผลงานวิชาการในระดับชาติจำนวน 2 คน คือ อ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ ซึ่งมากกว่าที่ตั้งไว้ 1 คน สรุปว่าผ่านตัวบ่งชี้ที่ 2 คือ มีอาจารย์ไปร่วมประชุมวิชาการในระดับชาติจำนวน 5 คน คือ 1) อ.อติชาต หาญชาญชัย 2) อ.วิเชพ ใจบุญ 3) อ.เกศริน อินเพลา 4) อ.ทนงศักดิ์ เมืองฝั้น และ 5) ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ ซึ่งมากกว่าที่ตั้งไว้ 3 คน
หัวข้อที่ 4) สรุปบทเรียนที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ พบว่า บทเรียนจากการร่วมประชุมวิชาการ พบว่ามีนวัตกรรมมากมายที่มีการนำเสนอผ่านบทความวิชาการในการประชุมครั้งนี้ เช่น ระบบเครือข่ายประสาทเทียม ตารางจำแนก มาตรฐาน CMMI การพัฒนาฐานข้อมูลกับ Google Map การประเมินซอฟท์แวร์ด้วยทฤษฎีใหม่ เป็นต้น ซึ่งคณะวิชาควรสนับสนุนให้บุคลากรได้เข้าร่วมงานประชุม และกลับมาเขียนบทความจากงานวิจัย เพื่อไปนำเสนอในปีต่อไปเพิ่มขึ้น
+ http://www.thaiall.com/research/nccit10/report_project_nccit10.doc
+ http://www.thaiall.com/research/nccit10/report_seminar_nccit10.doc
+ http://www.thaiall.com/research/nccit10/report_form_science.doc