รายงานการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา

ระบบสารสนเทศนักศึกษา

27 พ.ค.53 ด้วยกลไกการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษาโดย คุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ ทำให้ผมมีโอกาสได้เข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ อ.สกุลศักดิ์ อินหล้า ท่านเป็นหัวหน้าฝ่ายกิจกรรมนักศึกษา ดูแลงานหลายด้านของมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนากิจกรรมนักศึกษา และสอดรับกับการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งทำงานร่วมกับ อ.บุญรักษา ปัญญายืน หัวหน้าฝ่ายพัฒนานักศึกษาใหม่ จากการหารือทำให้ทราบว่าการเก็บข้อมูลการทำกิจกรรมของนักศึกษาจำแนกได้ 2 กลุ่มคือ กิจกรรมหลัก และกิจกรรมรอง ซึ่งกิจกรรมหลักจะถูกกำหนดขึ้นผ่านกลไกของคณะกรรมการพัฒนานักศึกษา ที่เชื่อมโยงกับกิจกรรมวิชาการของคณะวิชาในรูปการทำงานเชิงบูรณาการ
     เมื่อคุณธรณินทร์ ทราบข้อมูลกิจกรรมหลักจะนำไปบรรจุในระบบสารเทศนักศึกษา และมีกลไกในการจัดการข้อมูล 3 ส่วนคือ 1) ผู้รับผิดชอบกิจกรรมหลัก หรือกิจกรรมรองแต่ละกิจกรรม จะนำข้อมูลมา upload เข้าระบบ และมีรายชื่อนักศึกษาที่ทำกิจกรรมแต่ละครั้งขึ้นมาในระบบ เพื่อการตรวจสอบโดยนักศึกษา และคณะวิชา 2) นักศึกษาจะเป็นผู้เข้ามาให้ข้อมูล ประเมินกิจกรรม และตรวจสอบตนเอง การเข้าร่วมกิจกรรมแล้วแสดงข้อคิดเห็นในรูปของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อกิจกรรมนั้น เกิดเป็นกลไก PDCA ในด้านการทำกิจกรรมของนักศึกษา แล้วสามารถนำข้อมูลไปจัดทำรายงานผลกิจกรรม (Activities Transcript) ของนักศึกษาแต่ละคนได้อย่างสมเหตุสมผล 3) ผู้ควบคุมนโยบายในรูปของคณะกรรมการเข้าตรวจสอบตามกลไก PDCA แล้วประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการพัฒนา ปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมและสถานการณ์เฉพาะกิจ
     ระบบนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาทั้งผู้ควบคุมนโยบาย ผู้ออกแบบกิจกรรม ผู้ยกร่างกิจกรรม การทำความเข้าใจกับนักศึกษา และการพัฒนาระบบสารสนเทศ ที่ต้องดำเนินการควบคู่กันเชิงบูรณาการ
+ http://www.yonok.ac.th/student/
+ http://www.yonok.ac.th/mis
+ http://sa.siit.tu.ac.th/ats/ac_transcript.php
+ http://www.sat.chula.ac.th/chula2/
+ http://activity.mahidol.ac.th/news/activity2-1.html
+ http://demo.nu.ac.th/ActTrans/

ร่างแผนระบบสารสนเทศ

ร่างแผนระบบสารสนเทศ

23 พ.ค.53 ตามที่มีเกณฑ์ของ สกอ. ออกใหม่ปี 2553 ใน ตบช 7.5 ที่ระบุว่ามหาวิทยาลัยและคณะวิชาต้องมีแผนระบบสารสนเทศ จากการวิพากษ์ระบบฐานข้อมูลในเดือนที่ผ่านมา จึงจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบสารสนเทศ และดำเนินการยกร่างแผนระบบสารสนเทศร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำฟอร์มกรอกข้อมูลแผนในรายละเอียดที่สื่อให้เข้าใจตรงกัน สอดรับกับการทำงานสามด้านของระบบสารสนเทศ คือ การนำข้อมูลเข้า การประมวลผล และการนำไปใช้ แต่สารสนเทศมีรายละเอียดมาก จึงให้ความสำคัญกับสารสนเทศที่เกี่ยวกับ 4 มิติ คือ 1) องค์กรภายนอก 2) แผนกลยุทธ์ 3 ) การประกันคุณภาพ 4) การบริหารจัดการที่สำคัญ
     กระบวนการที่ใช้ในการจัดทำแผนระบบสารสนเทศคือ 1) วิพากษ์ระบบฐานข้อมูล 2) แต่งตั้งกรรมการ ร่วมกันยกร่างแผน ให้ข้อมูลเรื่องแผนแก่บุคลากร และรับข้อเสนอแผนจากบุคลากร 3) ประชุมคณะกรรมการฯ ร่วมกันจัดทำแผน 4) เสนอขออนุมัติแผนต่อมหาวิทยาลัย 5) ดำเนินการตามแผน 6) ติดตาม และประเมินกิจกรรม 6) สรุปผล
.. เล่าสู่กันฟังครับ เพราะขณะนี้อยู่ขั้นตอนการยกร่างแผน

สรุปรายงาน KM จำนวน 2 เล่ม

22 พ.ค.53 ตามที่อ.อติชาต เป็นกลไกสำคัญในการกำกับดูแลการจัดการความรู้ในคณะวิทย์ ทำให้มีรายงานตามแผนการจัดการความรู้เกิดขึ้นใน 2 ปีที่ผ่านมาจำนวน 3 เรื่อง ประกอบด้วย 1) ในปีการศึกษา 2551 ทำ KM เรื่อง การสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนัก
     ในปีการศึกษา 2552 ผ่องถ่ายมายังคณะวิทย์ และเกิดการทำงานตามแผนทั้งหมด 2 แผน คือ 2) มิ.ย.-พ.ย.52 ทำเรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอน และ 3) ม.ค.-เม.ย.53 ทำเรื่องการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และได้จัดทำรายงานเผยแพร่ใน blog ของมหาวิทยาลัย เพื่อเปิดให้เพื่อนบุคลากรและบุคคลทั่วไปได้เข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการติดตามเรื่องแรก พบว่า ค่าเฉลี่ยความสำเร็จของการนำความรู้ไปใช้อยู่ระดับมากที่สุด (X=4.57) ผลการติดตามเรื่องที่สอง พบว่า มีการยอมรับคู่มือวิชาโครงงานฯ สำหรับนำไปประกอบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผ่านกระบวนการจัดการความรู้
     หากเพื่อนท่านใดมีข้อเสนอแนะก็ยินดีรับ เพื่อการปรับแก้และเป็นบทเรียนแก่บุคคลทั่วไป
+ http://www.thaiall.com/km/science/52_km_june_nov_v1.zip
+ http://www.thaiall.com/km/science/53_km_jan_may_v3.zip

เพิ่มวาระการประชุมก่อนเปิดภาคเรียน

20 พ.ค.53 วันนี้หัวหน้าส่งเมลมาถามว่ามีวาระอะไรต้องเข้าประชุมก่อนเปิดภาคเรียน ซึ่งเราทุกคนทราบว่าในการทำงานต้องมีการวางแผนเตรียมการ ซึ่งสอดรับกับพันธกิจสี่ด้าน การประกันคุณภาพ แผนปฏิบัติการประจำปี และแผนกลยุทธ์ มีเรื่องราวมากมายทั้งนโยบายจากผู้บริหารและหน่วยงานสนับสนุน แต่ที่ผมทราบและสามารถให้ข้อมูลได้มี 2 เรื่อง จึงเสนอเพิ่มวาระการประชุมที่จะมีขึ้นในวันพุธที่ 26 พ.ค.53 13.30 – 16.30 จำนวน 2 วาระ
     มีวาระที่เสนอคือ 1) ขอเพิ่มวาระเรื่อง อาจารย์ประจำหลักสูตรร่วมเป็นคณะกรรมการพัฒนาระบบสารสนเทศเชิงบูรณาการ เพื่อให้มีหลักฐานการมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านการประชุมที่เป็นกลไกขับเคลื่อนให้การทำงานตามตัวบ่งชี้ 7.5 เกิดขึ้นตามเกณฑ์ของ สกอ.ใหม่ ซึ่งอาจารย์อติชาต กำลังทำหนังสือขอแต่งตั้งจากท่านอธิการ 2) ขอเพิ่มวาระเรื่อง การรายงานการติดตามประเมินผลความสำเร็จของการจัดการความรู้ เหตุผลของการเพิ่มวาระนี้คือ เป็น 1 ใน 39 ตัวบ่งชี้ที่ต้องมีร่องรอยหลักฐาน ในการประเมินตนเองเพื่อรับการประกันคุณภาพ ปีการศึกษา 2552 ซึ่งในตัวบ่งชี้ 7.3 มีการพัฒนาองค์กรสู่องค์กรการเรียนรู้ เกณฑ์ที่ 5 ระบุว่า “นำผลการประเมินไปปรับใช้ในการพัฒนากระบวนการจัดการความรู้ให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนงานปกติและปรับปรุงแผนการจัดการความรู้”
     ในวาระที่ 2 ที่นำเสนอนี้จำเป็นต้องมีมติในทางที่เห็นชอบร่วมกันกำหนด 2 อย่างคือ 1. หัวเรื่อง KM ใหม่ 2.ตัวบ่งชี้ที่วัดได้เป็นรูปธรรม จึงต้องการมติว่าบุคลากรในคณะคิดว่าปีการศึกษาต่อไปควรมีเรื่องอะไรเป็น KM ของคณะ โปรดเสนอในที่ประชุมของคณะเพื่อปีการศึกษาต่อไปจะได้มีแผนการจัดการความรู้ เพื่อให้ผ่าน 1 ใน 39 ตัวบ่งชี้ของการประกันคุณภาพ ตามเกณฑ์ใหม่ของ สกอ. แต่ผมคงไม่รอให้ถึงวันประชุม คิดว่าต้องทำงานนอกรอบ จึงคาดว่าจะไปขอหารือกับ อ.ภาณี หรืออ.เบณ ไม่อยากใช้เวลามากเกินจำเป็นสำหรับ KM เพราะการทำงานในระดับอุดมศึกษาจำเป็นต้องมีการทำงานนอกรอบก่อนเสมอ เวลาเข้าเวทีที่เป็นทางการจะได้ข้อสรุปหรือได้ประเด็นที่สำคัญอย่างรวดเร็ว

ส่งรายงานเล่มใหญ่ให้คณะวิชา แล้วส่งบันทึกแจ้งคณะกรรมการ

18 พ.ค.53 เขียนบันทึกเรื่อง แจ้งการจัดทำรายงานสรุปผลโครงการ โอกาสต่อไปจะได้ใช้เป็นแบบอย่าง เพราะการส่งรายงานเล่มใหญ่ให้กรรมการกว่า 20 คนเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผล จึงส่งบันทึกแจ้งแทนว่าไปอ่านที่คณะวิชาแทนได้ หรือดาวน์โหลดด้วยตนเอง ซึ่งมีรายละเอียด 3 ย่อหน้าดังนี้
     1) ตามที่ท่านร่วมเป็นคณะกรรมการพัฒนาระบบอีเลินนิ่งมหาวิทยาลัยโยนก และเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมวางแผน เขียนโครงการ และดำเนินการโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากรในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนด้วยอีเลินนิ่ง ซึ่งสำเร็จลุล่วงในการพัฒนาบุคลกรไปแล้วจำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการคัดเลือกผู้พัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้อีเลินนิ่ง ซึ่งผลของการดำเนินงานทำให้ได้ผู้ที่ใช้อีเลินนิ่งเป็นเครื่องมือในปีการศึกษา 2552 มาเป็นแบบอย่างของบุคลากรจำนวน 4 ท่าน แล้วได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ได้รับการคัดเลือกมาเป็นวิทยากรในโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาสื่อการสอนอีเลินนิ่ง ที่จัดขึ้นวันที่ 29 – 30 เมษายน 2553 และได้ข้อเสนอเป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อไป
     2) การดำเนินการทั้ง 2 โครงการได้จัดทำรายงานสรุปผลที่มีข้อมูลการจัดสรรมูลค่าและงบประมาณ จำแนกตามคณะวิชา เพื่อใช้เป็นบทเรียนในการทำงานที่เชื่อมโยงการใช้เทคโนโลยี การใช้เครื่องมือสนับสนุนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเป็นทางเลือกในการวิจัยในชั้นเรียน และเป็นเอกสารหลักฐานการประกันคุณภาพในเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการบริการวิชาการของคณะวิชา และในเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเอกสารรายงานสรุปผลได้ถูกจัดส่งให้กับคณบดีทุกคณะวิชา รองอธิการบดี และอธิการบดี สำหรับใช้อ้างอิงต่อไป
     3) สำหรับแฟ้มรายงานสรุปผล นอกจากท่านจะศึกษาได้จากรูปเล่มที่จัดส่งให้แต่ละคณะวิชาแล้ว ท่านยังสามารถดาวน์โหลดได้จากระบบอินทราเน็ต หรือระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ที่ http://www.yonok.ac.th/mis ภายใต้ลิงค์ที่ชื่อว่า “รายงานสรุปผลโครงการ”

วิพากษ์ระบบฐานข้อมูลมหาวิทยาลัยโยนก

     รายงานการประชุม วิพากษ์ระบบฐานข้อมูลมหาวิทยาลัยโยนก วันพุธที่ 12 พฤษภาคม 2553  เวลา  10.00 – 12.00 น. ณ  ห้องประชุมอาคารดร.เทียม โชควัฒนา มีเพื่อนบุคลากรเข้าร่วมประชุม 31 ท่าน ประกอบด้วยผู้บริหารจำนวน 5 ท่านได้แก่ 1. รศ.อรวรรณ ทิตย์วรรณ 2. อ.อติชาต หาญชาญชัย  3. นายวิเชพ ใจบุญ 4. อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง  5. อ.คนึงสุข นันทชมภู  ประกอบด้วยอาจารย์ที่ทำงานมามากกว่า 1 ปีจำนวน 12 ท่านได้แก่ 6. ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ 7. ผศ.สุรัตน์ วรางค์รัตน์  8. อ. ศรีเพชร สร้อยชื่อ 9. อ.ปฏิญญา ธรรมเมือง 10. อ.แดน กุลรูป 11. อ.บุญรักษา ปัญญายืน 12. อ.สุริยพันธุ์ ยอดดี 13. อ.คงศักดิ์ ตุ้ยสืบ 14. อ.เกศริน อินเพลา  15. อ.ชินพันธ์ โรจนไพบูลย์ 16. อ.ปาริชาต สอนสมบูรณ์  17. อ.ศรินยา โพธิ์ขำ
     ประกอบด้วยอาจารย์ใหม่ที่ทำงานมาน้อยกว่า 1 ปีจำนวน 4 ท่านได้แก่ 18. อ.ภาณี วิภาศรีนิมิต 19. อ.เบญจวรรณ นันทชัย 20. อ.ฉัตรชัย หมื่นก้อนแก้ว 21. อ.สกุลศักดิ์ อินหล้า ประกอบด้วยหัวหน้าหน่วยงานและเจ้าหน้าที่จำนวน 10 ท่านได้แก่ 22. นางอังคณา เนตรรัศมี  23. นางสาวเรณู อินทะวงศ์ 24. นางลัดดาวรรณ เรือนทัศนีย์ 25. นางเจนจิรา เชิงดี 26. นางสาวบุหลัน เครือเป็งกุล 27. นางกานต์ เลิศวิภาภัทร 28. นางสาวกัลยา รังสรรค์ 29. นางสาวจินดา คำภิโลชัย  30. นางสาวอนุสรา สัญญารักษกุล 31. นายธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ      
     ประเด็นที่นำเสนอก่อนการวิพากษ์ประกอบด้วย 1) การปฐมนิเทศน์บุคลากรใหม่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) ผลการพัฒนาระบบในปีการศึกษา 2552 3) การประชาสัมพันธ์ระบบอินทราเน็ต และการตอบรับ 4) การดำเนินการในแต่ละระบบ 5) การนำเสนอโดยเจ้าของระบบฐานข้อมูล
     ประเด็นข้อสรุปที่ได้จากการวิพากษ์ประกอบด้วย 1) ประเด็นสารสนเทศของบุคลากรที่นำเสนอสู่ภายนอก 2) ประเด็นเชื่อมโยงรายงานวิจัยบุคลากรกับระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง 3) ประเด็นเชื่อมโยงผลงานกับการประเมินบุคลากรสิ้นปีการศึกษา 4) ประเด็นเกณฑ์ประเมินการเรียนการสอน 5) ประเด็นการให้สารสนเทศผ่านเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย
+ http://www.yonok.ac.th/person
+ http://www.yonok.ac.th/intranet
+ http://yoso.yonok.ac.th
+ http://www.4shared.com/document/53FstSVa/meeting_vipark_530512_v2.html

กระบวนการเรียนรู้ทั้ง 10 แบบ

อ.พจนา ทรัพย์สมาน

14 พ.ค.53 เข้ารับการอบรมเรื่อง การสอนให้ผู้เรียน แสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง โดย อ.พจนา ทรัพย์สมาน สพท.นครสวรรค์ เขต 1 ซึ่งวิทยากรได้ให้แนวการเขียนกระบวนการเรียนรู้ ทั้งหมด 10 กระบวนการดังนี้
     1. กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด ประกอบด้วย 1) สังเกต 2) จำแนกความแตกต่าง 3) หาลักษณะร่วม 4) ระบุชื่อความคิดรวบยอด 5) ทดสอบและนำไปใช้
     2. กระบวนการสร้างความตระหนัก ประกอบด้วย  1) สังเกต 2) วิเคราะห์ วิจารณ์ 3) สรุป
     3. กระบวนการแก้ปัญหา ประกอบด้วย 1) กำหนดและวิเคราะห์ปัญหา 2) สร้างและประเมินทางเลือก 3) วางแผนกำหนดวิธีการแก้ปัญหา 4) ลงมือแก้ปัญหาตามแผน 5) ประเมิน ปรับปรุงสรุปผลการแก้ปัญหา
     4. กระบวนการปฏิบัติ ประกอบด้วย  1) สังเกต รับรู้ 2) ทำตามแบบ 3) ทำโดยไม่มีแบบ 4) ฝึกทำให้ชำนาญ 5) ทำอย่างสร้างสรรค์
     5. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ประกอบด้วย  1) ตั้งปัญหา 2) ตั้งสมมติฐาน 3) รวบรวมข้อมูล 4) วิเคราะห์ข้อมูล 5) สรุปผล
     6. กระบวนการศึกษาค้นคว้า ประกอบด้วย  1) กำหนดจุดประสงค์ 2) วางแผน 3) ศึกษาค้นคว้าและบันทึกข้อมูล 4) นำเสนอ ข้อมูล วิเคราะห์อภิปราย 5) สรุปความรู้
     7. กระบวนการสำรวจรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) กำหนดจุดประสงค์ 2) วางแผน 3) สำรวจและบันทึกข้อมูล 4) นำเสนอ ข้อมูล วิเคราะห์อภิปราย 5) สรุปความรู้
     8. กระบวนการสร้างสุขนิสัย ประกอบด้วย  1) สังเกต รับรู้ 2) คิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ 3) สร้างแนวปฏิบัติที่เหมาะสม 4) วางแผนการปฏิบัติ 5) ปฏิบัติด้วยความชื่นชม
     9. กระบวนการสร้างค่านิยม  ประกอบด้วย  1) สังเกต ตระหนัก 2) ประเมินเชิงเหตุผล 3) กำหนดค่านิยม 4) วางแผนการปฏิบัติ 5) ปฏิบัติด้วยความชื่นชม
     10. กระบวนการเรียนภาษา ประกอบด้วย  1) ทำความเข้าใจสัญลักษณ์ 2) สร้างความคิดรวบยอด 3) สื่อความหมาย ถ่ายทอดความคิด 4) พัฒนาความสามารถทางภาษา
+ http://www.pojana.com
+ http://www.facebook.com/photo.php?pid=3881467&id=814248894
+ http://www.thaiall.com/e-learning

แผนผังการใช้งานระบบฐานข้อมูลประเมินตนเอง

แผนผังแสดงการใช้งานระบบฐานข้อมูลประเมินตนเอง

 10 พ.ค.53 หลายปีก่อนจำได้ว่าเขียนแผนภาพแสดงขั้นตอนการจัดการแฟ้ม เพื่อส่งเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง โดยใช้วงจร PDCA เพื่ออธิบายให้เพื่อนร่วมงานได้เข้าใจ แล้วเข้าไปใช้งานระบบเพื่อประเมินตนเองได้ง่าย มีวันที่สร้างติดอยู่ใน diagram นี้ด้วย คือวันที่ 7 มีนาคม 2551 แล้วก็จัดกิจกรรมมาแล้ว 2 ปี ๆ ละหลายครั้ง ซึ่งเป็นการใช้งานระบบที่ไม่ซับซ้อนเลย ปีนี้คือปี 2553 ก็มีแผนจัดอบรมอีกแล้ว แต่เป็นระดับบุคคล ก็จะใช้เวทีของการวิพากษ์ระบบฐานข้อมูลเป็นอีกเวทีหนึ่งในการนำเสนอเรื่องนี้ และจะนำภาพนี้เข้าไปไว้ในคู่มือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยลัยด้วย
+ http://www.thaiall.com/sar/sar_flow50.gif

ร่างผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระหว่างอบรมอีเลินนิ่ง

8 พ.ค.53 จากการอบรมอีเลินนิ่งเมื่อ 29-30 เม.ย.53 เพื่อนได้ชวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (อาจารย์บางท่านขอสงวนนาม) แล้วผมก็บันทึกข้อเสนอแนะไว้ จากนี้ก็จะส่งให้เพื่อนได้ทบทวนก่อนจัดทำรูปเล่มดังนี้ 1) อ.ภามิตร เสนอให้มีการติดตามการใช้งานอีเลินนิ่ง และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากการใช้งานโปรแกรมภายหลังการอบรมไปแล้วระยะหนึ่ง ซึ่ง อ.ฉัตรแก้ว ให้ความเห็นสนับสนุนให้มีกิจกรรมติดตามผลการอบรมเช่นกัน 2) อ.อดิทอง เสนอให้มีระบบบริการครบวงจรมีพี่เลี้ยงแบบสายฟ้าแล็บที่ใกล้ชิดกับผู้สอนอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อให้ความรู้ตั้งแต่เริ่มต้นหลักสูตร การจัดตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานในแต่ละคณะวิชา การกำกับดูแลมาตรฐาน การออกแบบเนื้อหาสอดรับกับธรรมชาติของหลักสูตรและมหาวิทยาลัย การทดสอบใช้งาน การติดตามช่วยเหลือนักศึกษาในการใช้งานสอดรับกับแต่ละเนื้อหาหรือกิจกรรม และการจัดทำสื่อมัลติมีเดียสนับสนุนให้การพัฒนาอีเลินนิ่งเป็นไปอย่างสมบูรณ์ 3) อ.คงสืบ เสนอให้ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องมีความจริงใจ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสมเหตุสมผล เห็นประโยชน์ของคนทำงานมากกว่าสิ่งอื่นใด เพื่อให้การทำงาน การสนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอนมีระบบและกลไกที่เอื้อต่อการพัฒนา จัดหาฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ และพีเพิลแวร์ที่เพียงพอ 4) อ.เกศลา เสนอให้มหาวิทยาลัยวางแผนเรื่องภาระของบุคลากร เพราะปัจจุบันไม่มีเวลาในการพัฒนาระบบอีเลินนิ่ง หากมีเวลาในการพัฒนาอีเลินนิ่งเพิ่มก็จะดีมาก 5) อ.คนึงภู เสนอว่าการอบรมควรมีคู่มือ เพราะคู่มือในดีวีดีมีเพียงไม่กี่สถาบัน และมีคู่มือของอ.ทนงฝั้น และคู่มือของอ.บุพันธุ์ ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากการบรรยายมีรายละเอียดค่อนข้างมาก หากมีคู่มือที่ละเอียดและมีขั้นตอนตามที่อบรมก็จะดีมาก  ซึ่ง อ.สกุลหล้า ให้เหตุผลสนับสนุนข้อเสนอนี้ 6) อ.สุทธิ์สกุล เสนอให้มีการอบรมนักศึกษาในการใช้งานอีเลินนิ่ง เพื่อให้การพัฒนาอีเลินนิ่งสามารถถูกใช้โดยนักศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นการบูรณาการกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพมากกว่าอาจารย์แต่ละคนจะไปอบรมในชั้นเรียนของตนเอง 7) อ.วีรัตน์ เสนอให้มหาวิทยาลัยจัดคอมพิวเตอร์ให้กับอาจารย์ จัดคอมพิวเตอร์ให้หน่วยงานระดับสาขา จัดคอมพิวเตอร์ให้กับนักศึกษา ปรับความพร้อมและทัศนคติของอาจารย์ และนักศึกษา เพราะสิ่งเหล่านี้ยังไม่พร้อม ซึ่ง อ.ศรินขำ มีความเห็นไปในทางเดียวกันกับข้อเสนอนี้

อบรม TQF ที่มหาวิทยาลัยโยนก โดย อ.อุาณีย์ คำประกอบ

วิทยากร อาจารย์ และทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัย

6 พ.ค.53 ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยโยนก โดย อ.อติชาต หาญชาญชัย จัดสัมมนาวิชาการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education) ซึ่งมีผู้อำนวยการสำนักประกันคุณภาพจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้เกียรติมาเป็นวิชาการ คือ รศ.อุษณีย์ คำประกอบ สำหรับเนื้อหาประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับแบบฟอร์มที่ต้องจัดทำทั้งหมด 7 แบบ คือ มคอ.1) การพัฒนามาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา มคอ.2) กรอบมาตรฐานคุณวุฒิกับการพัฒนารายละเอียดของหลักสูตร มคอ.3) การพัฒนารายละเอียดของรายวิชา (Course Specification) มคอ.4) การพัฒนารายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (Field Experience Specification) มคอ.5) การรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (Course Report) มคอ.6) การรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (Field Experience Report) มคอ.7) การรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร (Programme Report)
     เอกสารของ รศ.อุษณีย์ คำประกอบ ฝากให้กับคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย PowerPoint และแฟ้มตัวอย่างของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่ท่านรวบรวมไว้สำหรับเป็นตัวอย่างให้ทุกคนได้เรียนรู้ เพื่อเป็นตัวแบบในการใช้ประกอบพิจารณา และปรับปรุงให้สอดรับกับการจัดทำ TQF ในหลักสูตรของตนเอง
Download : http://www.yonok.ac.th/doc/oit/TQF_530506.zip
Download : http://www.yonok.ac.th/doc/oit/tqf_yonok_530506.ppt
+ http://www.thaiall.com/tqf
+ http://www.qa.rmutk.ac.th/Download/
+ http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/
+ http://www.eqd.cmu.ac.th
+ http://eoffice.pharmacy.cmu.ac.th/mis/person/view_person_detail.asp?id=6246