ลิงชิมแปนซี (อังกฤษ: Chimpanzee; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pan troglodytes) คือ ลิงที่ไม่มีหาง มีขนสีดำ มีลักษณะคล้ายมนุษย์ที่เดินยืดตัวตรงได้ ตัวผู้สูงประมาณ 5 ฟุต ตัวเมียสูงประมาณ 4 ฟุต มีความจำดีเฉลียวฉลาด มีอารมณ์ความรู้สึกเช่นเดียวกับมนุษย์ โดยนักวิทยาศาสตร์ระบุว่าลิงชิมแปนซีเป็นสัตว์โลกที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์มากที่สุด สัตว์ชนิดนี้กินลิงด้วยกันเป็นอาหาร .. แต่มนุษย์เราแตกต่างออกไป ซึ่งวีดีโอเรื่องนี้ผมเก็บไว้เปิดให้นักศึกษาได้เรียนรู้ว่าชีวิตคือการต่อสู้ ในห้อง downloadx
Chimps killing and eating a monkey
+ http://atcloud.com/stories/64793
+ http://video.showded.com/watch?vdoId=70423
+ http://www.theync.com/media.php
+ http://www.thaiall.com/downloadx/monkeyeating.flv
+ http://www.youtube.com/watch?v=KTPkmH4hWCs
+ http://www.youtube.com/watch?v=XQepG7sD6vk
Category: การทำงานและอาชีพ
รวมเรื่องเล่าจากการทำงาน
กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจากเวที CBPUS
21 ก.พ.53 อาจารย์วิเชพ ใจบุญ รักษาการคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำทีมอาจารย์มหาวิทยาลัยโยนก ร่วม “เวทีสรุปบทเรียนการขยายผลกระบวนการใช้งานวิจัย ชุดโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี (CBPUS) พื้นที่จังหวัดลำปาง” ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารอาลัมพางค์ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง โดยมีนักศึกษาของคณะฯ จำนวน 2 คนนำเสนอรายงานการวิจัยโครงการ “แนวทางการผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อขยายผลองค์ความรู้เรื่องการจัดการงานศพบ้านไหล่หิน ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง” ที่รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น) ซึ่งผลการวิจัยได้วีดีทัศน์ในรูปซีดีภาพยนต์ 2 เรื่องคือ 1) รูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และ 2) กระบวนการวิจัยรูปแบบการจัดการงานศพ ซึ่งนักศึกษาได้จัดทำซีดีเผยแพร่ให้กับผู้ร่วมเวทีในครั้งนี้ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ กระบวนการและบทเรียนจากการทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในบทบาทของนักศึกษา
+ http://www.youtube.com/watch?v=0FE19fyfrk4 วีดีโอ 9 นาที
+ http://www.thaiall.com/researchenlarge หน้าที่ 6 ล่าสุด
กรกับปรางนำเสนองานวิจัยที่อาคารอาลัมพางค์
21 ก.พ.53 น.ส.อรพรรณ สงเคราะห์ธรรม และ นายกร ศิริพันธุ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยโยนก นำเสนอรายงานผลโครงการวิจัยในเวทีสรุปบทเรียนการขยายผลกระบวนการใช้งานวิจัย ชุดโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี (CBPUS) พื้นที่จังหวัดลำปาง ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารอาลัมพางค์ มรภ.ลำปาง โดยมีเพื่อนนักวิจัยทุน CBPUS จาก มรภ.ลำปาง มทร.ล้านนา และมจร.ห้องเรียนวัดบุญวาทย์ ที่สำคัญงานนี้มี อ.วิเชพ ใจบุญ และ อ.เกศริน อินเพลา ในฐานะอาจารย์ผู้อบรมสั่งสอนนักศึกษา และกรรมการสอบโครงงานฯ เข้าร่วมในเวทีนี้ เพราะการสำเร็จการศึกษาหรือไม่ มีโครงงานนี้เป็นเดิมพัน และผู้พิจารณาก็มาร่วมเวทีนี้หลายท่าน .. ต้องขอบคุณ น.ส.ภัทรา มาน้อย จากสถาบันนวัตกรรมกระบวนการเรียนรู้ชุมชน และศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น และ รศ.ดร.จิราพร ตยุติวุฒิกุล (อ.ฉิ่ง) ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อชุมชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ช่วยหนุนจนนักศึกษาและอาจารย์ทุกคนมีวันนี้ร่วมกัน .. วันที่งดงามและมีความสุข
บทคัดย่อ (Abstract) ปรับปรุง 21 ก.พ.2553
โครงการวิจัย “แนวทางการผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อขยายผลองค์ความรู้เรื่องการจัดการงานศพบ้านไหล่หิน ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง” เป็นงานวิจัยเชิงปฎิบัติการมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อคือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการหาประเด็นข้อตกลงในการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงบ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง 2) เพื่อจัดทำสื่อวีดีโอเผยแพร่ประเด็นข้อตกลง และกระบวนการทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของโครงการวิจัยรูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงบ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง 3) เพื่อศึกษาทิศทาง หรือแนวโน้มในการขยายผลการนำสื่อวีดีโอที่จัดทำไปใช้ในกลุ่มเป้าหมาย
กระบวนการวิจัยมีขั้นตอนดังนี้ รวบรวมข้อมูลพื้นฐาน เรียนรู้ท้องถิ่น สัมภาษณ์ผู้รู้ในชุมชน ศึกษาการจัดงานศพในหมู่บ้าน วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำโครงเรื่อง บันทึกวีดีโอของคนในชุมชนแล้วตัดต่อลงสื่อวีดีทัศน์ แล้วนำไปขยายผลในชุมชนและโรงเรียนเป้าหมาย จากการทำงานวิจัยในท้องถิ่น พบว่า ผู้เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีความสุข เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อชุมชนชัดเจน เชื่อมโยงผู้คนหลากหลายบทบาท ได้มีประสบการณ์เชิงบวกร่วมกันเชิงบูรณาการ
ผลการวิจัยพบว่า จากการขยายผลผ่านสื่อวีดีทัศน์ลงไปยังกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่มคือ ในชุมชน โรงเรียนบ้านไหล่หิน และโรงเรียนไหล่หินวิทยา มีผลการประเมินความพึงพอใจจากการรับชมวีดีทัศน์ด้วยแบบสอบถามในภาพรวมระดับมากที่สุด (X=4.37, S.D.=0.62) มีผลประเมินความพึงพอใจของตัวแทนชุมชนจากกลุ่มตัวอย่าง 13 คนอยู่ระดับมากที่สุด (X=4.31, S.D.=0.64) มีผลประเมินความพึงพอใจของนักเรียนโรงเรียนบ้านไหล่หินจากกลุ่มตัวอย่าง 25 คนอยู่ระดับมากที่สุด (X=4.35, S.D.=0.64) และมีผลประเมินความพึงพอใจของนักเรียนโรงเรียนไหล่หินวิทยาจากกลุ่มตัวอย่าง 31 คนอยู่ระดับมากที่สุด (X=4.42, S.D.=0.59)
คำสำคัญ วีดีทัศน์ วีดีโอ งานศพ กระบวนการ บ้านไหล่หิน
+ http://www.youtube.com/watch?v=0FE19fyfrk4 ชุดเล็ก9นาที
+ http://www.facebook.com/video/ ชุดเต็ม 11.50 นาที
+ http://www.facebook.com/album.php?aid=150012 อาจารย์ในเวที
+ http://www.thaiall.com/research/abstract_vdo_v1.doc บทคัดย่อ
เกณฑ์สำหรับประเมินความพึงพอใจ
18 ก.พ.53 มีกลุ่มเพื่อนจัดทำโครงการอบรม แล้วใช้แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจโดยใช้ scale 5 ระดับ หรือที่เรียกว่าวัดเจตคติตามเทคนิคของของลิเคิร์ท (Likert technique) หรือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ทสเกล สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งมีเกณฑ์กำหนดไว้ 2 แบบคือ เกณฑ์การให้คะแนน และเกณฑ์การประเมิน (โดยนำระดับสูงสุดลบระดับต่ำสุดแล้วหารด้วยจำนวนช่วงที่ตั้งไว้) ซึ่งผลการใช้เกณฑ์ทั้งสองมีตัวอย่างการเขียน (อันที่จริงผมพบปัญหาในตัวอย่างนี้ แต่ไม่ได้แก้ไข .. ท่านมองเห็นหรือไม่ .. ผมเพียงแต่ถามนะครับ) ดังนี้ มีการจัดทำแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละครั้ง โดยใช้คำถามที่แบ่งระดับความพึงพอใจ ๕ ระดับ มีคำถามจำนวน ๘ คำถาม ดังนี้ ๑) ความเข้าใจก่อนเข้ารับการอบรม ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง (X = ๓.๑๖ , S.D = ๑.๑๗) ๒) ห้องอบรม ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X = ๔.๐๔ , S.D = ๐.๖๕) ๓) วิทยากร ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X = ๔.๒๔ , S.D = ๐.๖๕) ๔) หัวข้อการบรรยาย ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X = ๔.๒๑ , S.D = ๐.๖๐) ๕) ช่วงเวลาในการจัดกิจกรรม ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X = ๓.๘๘ , S.D = ๐.๗๗) ๖) สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X = ๔.๓๓, S.D =๐.๖๕) ๗) ความเข้าใจหลังรับการอบรม ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X =๔.๓๑, S.D =๐.๖๙) ๘) ภาพรวมของโครงการ ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X = ๔.๓๓, S.D =๐.๖๑) โดยสรุปผลประเมินทั้งหมดมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X = ๔.๐๖ , S.D = ๐.๕๒)
+ http://sunee5.multiply.com/journal/item/2 รวมบทความวิจัย
+ http://en.wikipedia.org/wiki/Likert_scale
+ http://tulip.bu.ac.th/~wathna.s/reliability.htm วิเคราะห์ข้อสอบ
ความกว้างของอันตรภาคชั้น = คะแนนสูงสุด – ต่ำสุด หารด้วย จำนวนชั้น
Class Interval (ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์, 2543,หน้า 30)
ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2543). สถิติพื้นฐานพร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Minitab SPSS และ SAS. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2539). สถิติพื้นฐาน . ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
http://digi.library.tu.ac.th/thesis/sw/2680/13REFERENCES.pdf
http://pru3.pnru.ac.th/offi/graduate/upload-files/pictures/63/H_711_7586.pdf
http://prezi.com/p9x1rkhj_cej/presentation/
—
ลิเคิร์ทสเกล (Likert Scale) 5 ระดับ โดย เร็นสิส เอ. ลิเคิร์ท (Rensis A. Likert)
Likert, Rensis A. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill Book Company Inc.
—
สมการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง
Yamane, Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis.(2 ed.). New York: Harper and Row.
รง.ประชุม KM กิจกรรมที่ 2 บ่งชี้ความรู้
7 ก.พ.53 ได้รับมอบหมายจาก อ.อติชาต หาญชาญชัย และ อ.วิเชพ ใจบุญ ให้ร่วมกับคุณพัชรินทร์ สันสุวรรณ จัดทำรายงานการประชุม “โครงการสนับสนุนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ” กิจกรรมที่ 2 ตามแผนการจัดการความรู้ ปีการศึกษา 2552 ห้อง 1204 วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 15.00 – 17.00 น. ซึ่งจะเป็นหลักฐานแสดงร่องรอยการจัดการความรู้ของคณวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยขณะนี้อยู่ระหว่างร่างรายงานในส่วนของแจ้งเพื่อทราบแบ่งเป็น 3 เรื่องคือ ที่มา กิจกรรมตามแผน แนวทางที่เป็นความรู้จากคู่มือของสกอ.
สำหรับประเด็นบ่งชี้ความรู้จากแต่ละบุคคล ถูกแบ่งเป็น 5 เรื่อง คือ 1) การบ่งชี้เรื่องความเป็นมา และเป้าประสงค์ของวิชา 2) การบ่งชี้เรื่องประเด็นมาตรฐานหรือแนวทางของโครงงาน 3) การบ่งชี้เรื่องประเด็นมาตรฐานการให้คะแนนสำหรับแต่ละแนวทาง 4) การบ่งชี้เรื่องประเด็นสารสนเทศที่ควรตกลงร่วมกัน 5) การบ่งชี้เรื่องประเด็นปัญหาอยากหาทางแก้ไข แล้วปิดรายงานด้วยสรุปผลการบ่งชี้ความรู้ที่จะนำไปใช้ต่อในกิจกรรมต่อไป
ในรายงานการประชุมกิจกรรมที่ 2 นี้มีแผนทำรายงานที่มีหัวข้อย่อยแบ่งไปตามการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากแต่ละท่าน อาทิ หัวข้อที่หนึ่งมีตอนหนึ่ง อ.วิเชพ ใจบุญ ชวนให้ในเวทีแลกเปลี่ยนเรื่องเป้าประสงค์ของวิชา แล้ว อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ เสนอว่า “เพื่อให้นักศึกษาทำงานเป็น และประกอบอาชีพได้ เมื่อสำเร็จการศึกษา” อ.ทนงศักดิ์ เมืองฝั้น เสนอว่า “เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เรียนมาไปประยุกต์ใช้กับการทำงานจริง” หรือ อ.ศิรดา ชัยบุตร โดยคำถามเข้าในเวทีว่าวิชานี้ทำกันอย่างไร มีความเป็นมาอย่างไร ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน และมีหลายเรื่องที่ผมไม่เคยทราบก็ได้รับความรู้มากมายจาก อ.วิเชพ ใจบุญ และอ.ศศิวิมล แรงสิงห์ หลังจากการประชุมครั้งนี้แล้ว ก็มีแผนจัดกิจกรรมที่ 3 คือการรวบรวมความรู้ และกิจกรรมที่ 4 คือคัดแยกความรู้
เคลียร์งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่เว็บโปรซอฟท์
5 ก.พ.53 หกโมงเย็นถึงสามทุ่มไปคุยเรื่องการเขียนรายงานวิจัย และการนำเสนอโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่กรกับปรางรับทุน CBPUS และอยู่ในช่วงสุดท้ายของโครงการ มีกำหนดพบผู้ประสานงานวันที่ 16 ก.พ. และ 21 ก.พ.53 เพื่อส่งรายงานแล้วประชุมเตรียมพร้อมที่ศูนย์ฯ และนำเสนอที่ ณ ห้องประชุมอาคารอาลัมพาง มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ซึ่งนักศึกษาได้ประสานกับ อ.เกศริน อินเพลา และ อ.วิเชพ ใจบุญ ที่เป็นอาจารย์ผู้สอบโครงการไปร่วมกิจกรรมในเวทีนำเสนอผลการวิจัยแล้ว โดยประเด็นที่พูดคุยกันที่ร้านเว็บโปรซอฟท์กับนักศึกษา คือ การเขียนสรุปผล การเขียนบทคัดย่อ ปัญหาและข้อเสนอแนะ การเชื่อมโยงกับทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง แล้วเตรียมนำเสนอด้วย social map, mind map, การเผยแพร่วีดีโอ และการนำเสนอด้วยเว็บไซต์ เพื่อให้เห็นกระบวนการ กิจกรรม บทเรียน และผลการวิจัย
สถานที่เคลียร์งานวิจัย คือบ้านกร ซึ่งเปิดเป็นร้านรับพัฒนาโปรแกรม มีชื่อร้านว่า เว็บโปรซอฟท์ (webprosoft.net และ goto69.com) ช่วงนี้ยังไม่เปิดเป็นทางการ เป็นร้านที่ดำเนินการกัน 2 คน แต่คิดว่าญาติของทั้งคู่คงช่วยเหลืออะไรได้ไม่น้อย เท่าที่ได้แลกเปลี่ยนกันก็พบว่านักศึกษามีพื้นฐานความพร้อม ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาแหล่งจำหน่ายคอมพิวเตอร์ราคาส่ง การเป็น domain reseller หรือการพัฒนาโปรแกรม ที่มีพื้นฐานที่ดีมาก ก็ต้องเป็นกำลังใจให้กับกิจการใหม่ที่จะก้าวหน้าต่อไป
เพื่อนบ่นเชิงสร้างสรรค์ จึงเล่าสู่กันฟัง
2 ก.พ.53 มีประเด็นที่อาจารย์หลายท่านบ่นที่เชื่อมโยงกับบริการในเว็บไซต์ ดังนี้ 1)อีเมลของมหาวิทยาลัยหายไปแล้วเหรอ 2)เว็บบอร์ดปิด 3)ระบบห้องภาพของประชาสัมพันธ์หายไป 4)ระบบสืบค้นงานวิจัย 5)ระบบสืบค้นหนังสือในห้องสมุด และ 6)อินทราเน็ตเข้าไม่ได้ 7)ระบบฐานข้อมูลประเมินตนเอง 8)แผนที่ไซต์หายไป คุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ ผู้พัฒนาระบบต่าง ๆ แจ้งให้ผมทราบว่าอาจารย์หลายท่านเข้าไม่ได้จริง เพราะพฤติกรรมเดิมคือเปิดหน้าแรกของเว็บไซต์แล้วก็คลิ๊กตามลิงค์ที่มีอยู่
ผมก็แปลกใจที่เพื่อน ๆ เข้ากับไม่ได้ อาจเป็นเพราะโดยปกติผมจะเข้าตรงไม่เปิดผ่านหน้าเว็บไซต์หลัก เมื่อมีเหตุการณ์อะไรจะไปเขียนเล่าใน http://blog.yonok.ac.th หรือเว็บบอร์ด หรือไม่ก็สืบค้นผ่าน google.com ก็จะพบข้อมูลของมหาวิทยาลัยโดยง่าย ประกอบกับเว็บไซต์อยู่ระหว่างการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับนโยบาย Creative Campus หากอะไรไม่ตรงกับนโยบาย ก็จะลดระดับความสำคัญในการพัฒนาออกไปก่อน
ก็ถือเป็นโอกาสที่จะพลิกวิกฤตเป็นโอกาส ที่จะส่งเสริมให้เรียนรู้และจดจำ Website Address ดังนี้
+ http://www.yonok.ac.th/mail
+ http://www.yonok.ac.th/webboard
+ http://www.yonok.ac.th/yonokroom
+ http://www.yonok.ac.th/wallpic
+ http://www.yonok.ac.th/nresearch
+ http://it.yonok.ac.th/doc/library/library.php
+ http://www.yonok.ac.th/intranet
+ http://www.yonok.ac.th/sar
+ http://www.yonok.ac.th/sitemap
การเชื่อมโยงระหว่างชุมชน อาจารย์ และนักศึกษา
23 ม.ค.53 องค์ความรู้ในชุมชนมีซ่อนบ่มอยู่มากมาย และหลากหลายสาขาวิชา สิ่งเหล่านั้นเริ่มถูกยกระดับคุณค่าหลังจากมีการพัฒนาชุมชนเมืองเพียงด้านเดียวมาระยะหนึ่ง โดยปล่อยปะละเลยคุณค่าของชุมชนชนบท ทิ้งไว้แต่คำร่ำลือถึงความศิวิไลที่ทุกคนต่างโหยหา แต่ขาดการดำเนินการเพื่อรักษาสิ่งเหล่านั้นอย่างเป็นรูปธรรม จึงมีคำถามว่าใครจะเข้าไปเป็นกลไกในการพัฒนา รักษา และมีกระบวนการอย่างไร ให้เกิดการทำนุบำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม และองค์ความรู้ของชุมชนให้ดำรงอยู่ต่อไป เพื่อให้เยาวชนและชุมชนเองได้ชื่นชมตราบนานเท่านาน
การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และองค์ความรู้ของชุมชนต้องเริ่มต้นจากการเห็นคุณค่าของสิ่งที่มีอยู่โดยชุมชน ดังคำว่ามีหนึ่งสมอง สองมือกับหนึ่งใจย่อมทำกิจการงานทุกอย่างได้สำเร็จ ดังนั้นชุมชนต้องมีใจรักที่จะรักษาและชื่นชมสิ่งที่มีอยู่เป็นทุนเดิม องค์ความรู้ที่เปรียบได้กับสมองของชุมชน ซึ่งปัจจุบันมักรู้จักกันในนามของปราชญ์ชาวบ้านที่จำเป็นต้องอนุรักษ์ให้เกิดการสืบทอดเป็นภารกิจเร่งด่วน เนื่องจากจำนวนปราชญ์ชาวบ้านเริ่มลดลงตามข้อจำกัดเรื่องอายุ แล้วกระบวนการหรือกลไกหรือมือที่จะเข้ามาทำให้ใจและสมองเชื่อมโยงด้วยความเข้มแข็งและขยายผลให้เกิดการยอมรับสืบทอด บอกต่อ แล้วเพิ่มมูลค่าอย่างยั่งยืนเป็นประเด็นของการพัฒนาชุมชนในปัจจุบัน ซึ่งทุกภาคส่วนทั้งรัฐบาล เอกชน ชุมชนข้างเคียง และสถาบันการศึกษาให้ความตระหนักและขยายการมีส่วนร่วมทั้งด้านนโยบาย งบประมาณ และกระบวนการเข้าสู่ชุมชนอย่างชัดเจน เพราะเป็นทางออกของการอยู่รอดในสังคมโลกร่วมกันอย่างมีความสุข
นโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy Policy) ให้ความสำคัญกับการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจจากความคิดสร้างสรรค์หรือความคิดใหม่ ก็คือการส่งเสริมให้คนไทยคิดใหม่ทำใหม่อย่างสร้างสรรค์ การทำให้สังคมชุมชนฐานรากของมนุษย์มีความเข้มแข็งย่อมส่งผลต่อความเข้มแข็งของสังคมเมืองและสังคมโลกเป็นลูกโซ่ มีความคิดใหม่มากมายที่มีต้นกำเนิดจากในชุมชน แล้วต่อยอดเป็นนวัตกรรมที่ยั่งยืนโดยเกิดจากการมุ่งมั่นของคนในชุมชนร่วมกับการหนุนเสริมจากภายนอกให้เกิดการคิดต่อจนประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจจนหลายชุมชนสามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขบนความพอเพียง ดังนั้นคำว่าความพอเพียงจึงเป็นหนึ่งในคำสำคัญที่ชุมชนต้องเข้าใจและสอดรับกับหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) ที่จะใช้เป็นฐานคิดในการดำรงชีวิต การบริหารจัดการ และการทำธุรกิจ ซึ่งเป็นทางสายกลางที่สอดรับกับ 3 เรื่องคือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
ปัจจุบันสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ให้การสนับสนุนบุคลากรในสถาบันการศึกษาได้เข้าไปบูรณาการองค์ความรู้ที่มีอยู่ระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชน ทำให้ชุมชนและสถาบันการศึกษาเกิดการเชื่อมโยงองค์ความรู้ ทั้งชุมชนเกิดความเข้าใจในกระบวนการทำงานอย่างมีขั้นตอน ส่วนอาจารย์ในสถาบันการศึกษาก็จะได้เข้าใจองค์ความรู้และธรรมชาติของชุมชน ได้นำสิ่งที่ได้ไปปรับการเรียนการสอนแล้วเกิดการแลกเปลี่ยนในสถาบันการศึกษา ทำให้เกิดการพัฒนาการเรียนการสอนที่ตรงกับความต้องการของชุมชน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Learning Exchange) อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นี่คือวัตถุประสงค์หนึ่งของการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Community-Based Research: CBR) ที่เปิดให้อาจารย์จากมหาวิทยาลัยได้ลงไปทำงานในชุมชนที่ตนเองรักและต้องการพัฒนาโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมและองค์ความรู้ในสาขาวิชาของตน
เมื่ออาจารย์จากมหาวิทยาลัยเริ่มเข้าใจในชุมชนผ่านงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น แล้วนำประสบการณ์ไปแลกเปลี่ยนกับเพื่อนอาจารย์ และนักศึกษาในชั้นเรียน ประกอบกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยเปิดให้ทุนสนับสนุนนักศึกษา (Community-Based Projects for Undergraduate Student : CBPUS) ได้ทำวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับวิชาโครงงานที่เป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษา ทำให้มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งเข้าไปเรียนรู้ชุมชนและมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนโดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นเครื่องมือ ผ่านการหนุนเสริมอย่างจริงจังของอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นนวัตกรรมในการเรียนการสอน การวิจัย และการพัฒนาชุมชนไปพร้อมกัน สิ่งที่นักศึกษาได้รับคือการเรียนรู้ชุมชนผ่านการเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการวิจัยร่วมกับชุมชนอย่างแท้จริงเป็นระยะเวลาหนึ่งร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษา และศูนย์ประสานงานของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ผลของงานวิจัยเกิดผลในหลายมิติทั้งการเรียนรู้ชุมชนโดยนักศึกษา ประสบการณ์ในการพัฒนาการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษา มิติใหม่ของการวิจัยที่สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และการพัฒนาชุมชนด้วยกระบวนการวิจัยผ่านบทบาทของสถาบันการศึกษา ทั้งหมดคือการเชื่อมโยงของการพัฒนาชุมชนที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของปราชญ์ชาวบ้าน การพัฒนานักศึกษาซึ่งเป็นเยาวชนได้เข้าเรียนรู้ชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม การพัฒนาการเรียนการสอนมิติใหม่ในสถาบันการศึกษา และการพัฒนากระบวนการพัฒนาชุมชนฐานรากเชิงบูรณาการอย่างแท้จริง
โดย อาจารย์ที่ชักชวนนักศึกษาเข้าทำงานวิจัยในบ้านไหล่หิน
+ บทความจาก http://www.thaiall.com/research
การบูรณาการวิชาโครงงานกับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
15 ม.ค.53 บทความเผยแพร่เสนอลงใน นิตยสาร Eduzones ฉบับพิเศษ มหาวิทยาลัยโยนก เขียนโดย นายกร ศิริพันธุ์ และน.ส.อรพรรณ สงเคราะห์ธรรม แล้วส่งให้ คุณศักดิ์รพี วดีศิริศักดิ์ บก. Eduzones Journal ซึ่งมีอาจารย์ผู้สอบโครงงานคือ อ.วิเชพ ใจบุญ และ อ.เกศรินทร์ อินเพลา ได้รับทราบความก้าวหน้าของการทำโครงงาน
จากการลงทะเบียนเรียนในวิชา โครงงานระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ (CPIS 412) ซึ่งเป็นการเรียนที่เน้นการศึกษาค้นคว้า ศึกษาความต้องการขององค์กรทางธุรกิจ ทดลองปฏิบัติด้วยตนเองแล้วพัฒนาเป็นโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ตอบความต้องการขององค์กร ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ไม่มีโอกาสสัมผัสหรือทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น ต่อมาอาจารย์ในคณะได้นำประสบการณ์ในการทำวิจัยเพื่อท้องถิ่นมาชวนให้แลกเปลี่ยนในชั้นเรียน จึงเกิดความสนใจในโครงการหนึ่ง คือ โครงการวิจัยรูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงบ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง
เมื่อตัดสินใจเลือกทำงานวิจัยเพื่อชุมชนเป็นโครงงานจบตามหลักสูตร จึงเข้าไปศึกษาชุมชนบ้านไหล่หิน เพื่อเขียนข้อเสนอโครงการแล้วพบว่ามีประเด็นและลักษณะของชุมชนเหมาะสมกับงานนี้ เนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่มีคนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น แบ่งการปกครองออกเป็น 2 หมู่บ้าน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหาร คือ บ้านไหล่หิน หมู่ 2 และบ้านไหล่หินตะวันตกหมู่ 6 ประชากรส่วนใหญ่เป็นไทยพุทธที่ศรัทธาในวัดไทย 2 วัด ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันคือ วัดเสลารัตนปัพพะตาราม (วัดไหล่หินหลวง) และวัดชัยมงคลธรรมวราราม ในด้านสถานศึกษามีโรงเรียนบ้านไหล่หินเปิดสอนในระดับก่อนประถมศึกษาถึงระดับประถมศึกษา และโรงเรียนไหล่หินวิทยาเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งวัดและโรงเรียนตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม อยู่กันอย่างเกื้อกูลเสมือนญาติพี่น้อง และมีความสามัคคี เมื่อมีงานที่เป็นงานส่วนรวม เช่น งานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน หรืองานศพ จะมีชาวบ้านไปร่วมงานจำนวนมาก แล้วเจ้าภาพจะให้การต้อนรับเป็นอย่างดี ทั้งด้านสถานที่ ด้านอาหาร และการต้อนรับ เพื่อให้ผู้ที่มาร่วมงานมีความพึงพอใจในทุกด้านเเท่าเจ้าภาพจะจัดหาให้ได้
จากสภาพเศรษฐกิจ ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาความยากจนเป็นอย่างมาก แต่ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างหนึ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คือ เมื่อครอบครัวใดมีคนเสียชีวิตจะต้องจัดงานศพ ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าภาพไม่ได้มีการตระเตรียมเงินไว้ล่วงหน้าเหมือนงานบุญหรืองานมงคล ด้วยค่านิยมที่หลั่งไหล่เข้าสู่ชุมชน คนรุ่นใหม่เริ่มให้ความสำคัญกับวัตถุมากขึ้นและเชื่อว่าการจัดงานศพที่ใหญ่โตแสดงถึงความมีหน้ามีตาของเจ้าภาพ ส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เจ้าภาพต้องแบกรับ โดยละลายพฤติกรรมทางสังคมที่เป็นตัวบ่มเพาะชุมชนที่อยู่อย่างเกื้อกูลและความพอเพียงให้จางหายไป
ต้นปีพ.ศ.2550 ผู้นำหลากหลายบทบาทในหมู่บ้านทั้งบ้าน วัด โรงเรียน ตลอดจนผู้นำองค์กรที่อยู่ในพื้นที่ได้รวมตัวกัน เพื่อแก้ไขปัญหาค่าใช้จ่ายในงานศพที่สูงขึ้นตามการบริโภควัฒนธรรมที่สวนทางกับกระแสเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กระบวนการวิจัยอย่างมีส่วนร่วมของคนในชุมชนมาเป็นเครื่องมือ โดยขอรับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ภายใต้โครงการวิจัย “รูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงบ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง” หลังจากการดำเนินงานโครงการสิ้นสุดลงทีมวิจัยได้ร่วมกันทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่า การขยายผลประเด็นการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนโดยใช้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นเครื่องมือนั้น ยังขาดการนำเสนอที่เป็นรูปธรรม และเข้าใจง่าย
จึงมีแนวคิดที่จะจัดทำสื่อวีดีทัศน์เพื่อขยายผล แต่เนื่องจากทีมวิจัยชาวบ้านมีข้อจำกัดในการพัฒนาสื่อด้วยตนเอง ดังนั้นนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ได้แก่ นายกร ศิริพันธุ์ และ น.ส.อรพรรณ สงเคราะห์ธรรม ได้อาสาเข้าเติมเต็มต่อยอดงานวิจัยเดิมให้มีความสมบูรณ์ โดยเน้นไปที่การจัดทำสื่อขยายผลองค์ความรู้ จึงขอรับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีควบคู่กับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นสร้างเครื่องมือนำเสนอบทเรียนจากโครงการที่มีผลชัดเจนด้วยสื่อวีดีทัศน์เกี่ยวกับประเด็นข้อตกลงในการจัดการงานศพ และกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น แล้วขยายผลสู่โรงเรียนเป้าหมายในชุมชน
โครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นได้รับอนุมัติ คือ เรื่อง “แนวทางการผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อขยายผลองค์ความรู้เรื่องการจัดการงานศพบ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง” เลขที่โครงการ PDG52N0013 มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อคือ 1)เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการหาประเด็นข้อตกลงในการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงบ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง 2) เพื่อจัดทำสื่อวีดีโอเผยแพร่ประเด็นข้อตกลง และกระบวนการทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของโครงการวิจัยรูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงบ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง 3) เพื่อศึกษาทิศทาง หรือแนวโน้มในการขยายผลการนำสื่อวีดีโอที่จัดทำไปใช้ในกลุ่มเป้าหมาย
กระบวนการทำงานมีขั้นตอนดังนี้ นักศึกษาเข้าเก็บรวบรวมข้อมูล สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง เรียนรู้ชุมชน รวมถึงการเรียนรู้เรื่องการจัดงานศพในหมู่บ้าน เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และใช้ในการจัดทำโครงเรื่อง (Story Board) แล้วบันทึกวีดีโอของคนในชุมชนตัดต่อเป็นสื่อวีดีทัศน์เผยแพร่ประเด็นข้อตกลง และกระบวนการทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ซึ่งจากการเข้าทำงานในชุมชน พบว่า ชาวบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและทุกคนที่เข้าร่วมโครงการมีความสุข เนื่องจากเป็นโครงการมีประโยชน์ต่อชุมชน สามารถเชื่อมโยงผู้คนหลากหลายบทบาทให้เข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งการทำงานอย่างมีส่วนร่วมทำให้เกิดผลลัพธ์เชิงบวกที่คนในชุมชนจะใช้ประสบการณ์ที่ได้รับไปเป็นบทเรียนในการแก้ไขปัญหาอื่นได้อย่างมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการต่อไป
หลังจัดทำสื่อวีดีทัศน์สำเร็จได้นำไปทดลองฉายให้กับคนในชุมชน ในโรงเรียนบ้านไหล่หิน และในโรงเรียนไหล่หินวิทยา พบว่านักเรียนมีความเข้าใจและสนใจที่จะเรียนรู้ทั้งรูปแบบในการจัดการงานศพที่ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น จึงสรุปได้ว่างานวิจัยเพื่อท้องถิ่นโครงการนี้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ โดยนำข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบและกระบวนการวิจัยไปจัดทำสื่อได้อย่างถูกต้องในรูปสื่อวีดีทัศน์ที่เข้าใจง่าย เผยแพร่ง่าย ใช้ขยายผลเข้าไปในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายได้ตามความมุ่งหวัง ซึ่งจะช่วยให้เยาวชนมีจิตสำนึกสาธารณะมีความรักชุมชนอย่างเข้าใจและร่วมกันพัฒนาชุมชนของตนให้ยั่งยืนสืบไป
+ http://blog.eduzones.com/magazine/
+ http://www.thaiall.com/research/vdo_aricle_yookmag.doc
ระบบการปรับปรุงรายงานขาดลาสายออนไลน์
22 ม.ค.53 วัตถุประสงค์ของระบบคือ ปรับปรุงข้อมูลที่ใช้รายงานจำนวนวันและชั่วโมง ที่บุคลากร ขาด ลา และสาย ให้บริการแก่บุคลากร หัวหน้างาน และผู้บริหาร ให้เป็นข้อมูลอ้างอิงที่สรุปภาพรวมของแต่ละเดือน กลไกที่รับผิดชอบในการดำเนินการตามระบบ คือ บุคากรที่หัวหน้างานทรัพยากรบุคคลมอบหมายให้ดำเนินการมีหน้าที่ดำเนินการทุกสิ้นเดือน และทำไปพร้อมกับการจัดทำรายงานการขาดลาสายของบุคลากรเสนอต่อผู้บริหาร
มีขั้นตอนดังนี้ ๑) จัดทำรายงานการขาดลาสายของบุคลากรเสนอต่อผู้บริหาร แล้วบันทึกข้อมูลด้วย MS Excel ๒) เปิดแฟ้มข้อมูลต้นแบบ ๔ แฟ้มในเครื่องของตนเอง คือ ๒.๑ แฟ้มข้อมูลบุคลากร (empl.csv) ๒.๒ แฟ้มข้อมูลการขาดลาของเจ้าหน้าที่ (leavework_officer.csv) ๒.๓ แฟ้มข้อมูลการขาดลาของพนักงาน (leavework_empl.csv) ๒.๔ แฟ้มข้อมูลการขาดลาของอาจารย์ (leavework_ajarn.csv) แล้วปรับปรุงข้อมูลด้วยการเพิ่มข้อมูลเดือนใหม่ หรือเพิ่มลบบุคลากร ๓) เข้าสู่ระบบ e-document ของมหาวิทยาลัยในห้อง person ๔) upload แฟ้มทั้ง ๔ ที่มีรูปแบบเป็น CSV ๕) เข้าระบบอินทราเน็ตตรวจสอบการปรับปรุงว่ามีการรายงานข้อมูลการขาดลาสายถูกต้องหรือไม่ ๖) แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ