บ่นเรื่องลูกศิษย์ให้เขาฟังทางโทรศัพท์

เด็กติดเกม กับ ชีวิตที่สอง ที่เด็กโหยหา
เด็กติดเกม กับ ชีวิตที่สอง ที่เด็กโหยหา

19 พ.ย.52  เรื่องเล่าว่า ผมนัดลูกศิษย์ชายมาคุยงานวิชาโครงงานคอมพิวเตอร์ที่บ้านครั้งที่ 3 แต่ล้มเหลวอีกแล้ว ลูกศิษย์ลงทะเบียนมาแล้ว 3 ภาคเรียนในวิชาโครงงานฯ ที่ผ่านมาลงแล้วก็หายไปเป็นภาคเรียน แต่มีข่าวว่าเขาติดเกม ผู้ปกครองจึงเปิดร้านเกมให้ที่บ้านก็น่าจะเป็นการส่งเสริมให้ใช้ความสนใจ ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองได้ในระดับหนึ่ง นัดไปที่มหาวิทยาลัยก็ไม่สะดวก เพราะต้องดูแลร้านในเวลากลางวัน ตกเย็นต้องรอคุณพ่อคุณแม่มาดูร้านต่อ จะสะดวกก็ค่ำแล้ว
     มีเล่าต่อว่า ครั้งแรก เป็นวันสุดสัปดาห์ที่นัดลูกศิษย์มาคุย แต่เขามาไม่ได้เพราะฝนตกเดินทางไม่สะดวก ซึ่งเป็นวันที่ผมต้องเลื่อนนัดครอบครัวไปทานข้าวนอกบ้าน ครั้งที่สอง เป็นวันจันทร์ซึ่งผมเลื่อนนักลูกศิษย์อีก 2 คนออกไป เพราะลูกศิษย์คนนี้ต้องมาก่อนเนื่องจากมีปัญหาชัดเจน แต่เขาก็ไม่สะดวกที่จะมาพบ ครั้งที่สาม คือวันนี้ได้นัดไว้หลายวันแล้วและย้ำอีกครั้งเมื่อตอนกลางวันว่าพบกันเย็นนี้ แล้วผมก็ต้องเลื่อนไปส่งคุณแม่ที่ต่างอำเภอ เพราะไม่กล้าเลื่อนลูกศิษย์คนนี้ที่นัดไว้หลายวัน แต่สุดท้ายผมก็ต้องโทรไปถามว่าดึกแล้วทำไมยังมาไม่ถึง ก็พบคำตอบที่ไม่ประทับใจว่าวันนี้ไม่สะดวกขอเป็นพรุ่งนี้ .. ทำให้ผมต้องอธิบายเรื่องความผิดหวังต่อตัวเขาในฐานะเยาวชนของชาติที่ผมพยายามจะช่วยให้เขาสามารถสำเร็จการศึกษาและออกไปรับใช้ชาติของผมตามระบบและกลไกที่มหาวิทยาลัยได้วางไว้ แต่ผมก็ล้มเหลวเนื่องจากองค์ประกอบของความสำเร็จมีเขาเป็นปัจจัยสำคัญ .. ก็บ่นไปตามประสาของมนุษย์ผู้ยังมีหวังต่ออะไรอะไรอีกมากมาย

มองก้าว การจัดการความรู้คณะบริหารธุรกิจ ม.โยนก

เมื่อวันศุกร์ที่ 13 พ.ย.52 คณะบริหารฯ ดำเนินการตามแผนการจัดการความรู้ เห็นในขั้นตอนที่ 1 “การบ่งชี้ความรู้” เป็นที่ประจักษ์ คือ การระบุประเด็นความรู้ รูปแบบ และผู้รู้ที่สอดรับกับนโยบาย ขอบเขตและเป้าหมายขององค์กร โดยกำหนดเรื่องของ KM ว่า “การบริหารจัดการยุคใหม่” ตามนโยบายของท่านอธิการที่จะมี KM คณะละเรื่อง ซึ่งคณะบริหาร มีองค์ความรู้ มีความเข้าใจ มีความชำนาญ และผู้ที่ชำนาญในเรื่องที่กำหนดขึ้นก็มีอยู่หลายท่าน ก็ต้องเอาใจช่วยใน 2 เรื่อง คือ 1)กำหนดเป้าหมายที่จะวัดให้ชัดเจน (Desired State) 2)หน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม เพราะการวัดผลสมัยนี้เป็นไปในแนวนี้ทั้งสิ้น ก็เอาใจช่วยและหวังจะเห็นคณะบริหารฯ เป็น good practice ขององค์กร เนื่องจากเริ่มต้นอย่างมีกระบวนการและเรื่องที่ชัดเจน ผ่านบทบาทของ อาจารย์บอย และ อาจารย์นิยม ในระดับคณะเป็นคณะแรกของมหาวิทยาลัย
     จากการชวน อ.บอย แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง แผนการจัดการความรู้ ซึ่งมี 7 ขั้นตอน ตามแนว กพร. และ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ที่ได้จัดทำคู่มืออบรมไว้โดยละเอียด พบว่า การดำเนินการตามแผนที่ได้รับการยอมรับในแวดวงประกันคุณภาพ น่าจะเป็นแนวทางที่น่าสนใจ ซึ่งผมมอบแผน KM ที่ อาจารย์อติชาต หาญชาญชัย ท่านเขียนใช้ในคณะวิทย์ฯ ให้แก่อาจารย์บอยได้ศึกษาประยุกต์ ซึ่งอาจเป็นแนวทางให้มหาวิทยาลัยใช้แนวนี้ก็ได้
+ http://www.thaiall.com/km/indexo.html
+ http://www.yonok.ac.th/business/showword.php
+ http://www.thaiall.com/km/handbook_2549.doc

ระบบและกลไก ประเมินระบบฐานข้อมูล 3 ด้าน

14 พ.ย.52 คำว่าระบบในความหมายด้านการประกันคุณภาพ ได้รับคำอธิบายอย่างมุ่งมั่นตั้งใจอยู่บ่อยครั้งจาก อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ ผอ.สำนักประกันคุณภาพ พบว่ามีตัวบ่งชี้หนึ่งที่ต้องมีการประเมินอย่างน้อย 3 ด้าน ผมจึงใช้ความรู้ที่ได้มาจากท่าน มายกร่างระบบสำหรับงานนี้ ซึ่งมีอยู่ 9 ข้อ และมี กลไกแรก คือคณะกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูล กลไกที่สอง คือตัวแทนอาจารย์คณะวิทย์ฯ ได้แก่ อ.วิเชพ ใจบุญ อ.เกศริน  อินเพลา อ.ทนงศักดิ์ เมืองฝั้น มาเป็นผู้เชี่ยวชาญ กลไกที่สาม คือผู้พัฒนาได้แก่ นายอนุชิต ยอดใจยา และนายธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ และ กระบวนการจัดตั้งคณะกรรมการ มีอีก 4 ขั้นตอน คือ 1)หนังสือขอตัวแทนจากหน่วยงาน 2)ทบทวนรายชื่อคณะกรรมการ 3)ขออนุมัติท่านอธิการ 4)ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการ
     ระบบการประเมินฯ มีขั้นตอนดังนี้ 1)ขออนุมัติโครงการ “ประเมินประสิทธิภาพ ความปลอดภัยของระบบฐานข้อมูล และความพึงพอใจของผู้ใช้ฐานข้อมูล2)มีกระบวนการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่มาจากเกี่ยว ข้องทุกด้าน 3)ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลมหาวิทยาลัยโยนก 4)แจ้งให้กับเจ้าของระบบฐานข้อมูลทราบและเตรียมรับการประเมินใน ๓ ด้าน 5)ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อพิจารณาแบบประเมิน และกำหนดสายการประเมิน 6)ดำเนินการประเมินทั้ง ๓ ด้าน 7)รายงานผลการประเมินต่อเจ้าของระบบฐานข้อมูลและเปิดให้มีการส่งหลักฐานเพิ่มเติม 8)ประชุมพิจารณาผลการประเมินโดยคณะกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลร่วมและเจ้าของระบบฐานข้อมูล เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาต่อไป 9)จัดทำรายงานสรุปผล ซึ่งระบบฯนี้ได้ส่งให้เจ้าของระบบฐานข้อมูลทราบตามขั้นตอนที่ 4 แล้ว ส่วนคณะกรรมการจะทำงานหลังประกาศฯ ถูกเผยแพร่อย่างเป็นทางการ .. บางขั้นตอนยังไม่เรียบร้อย แต่งานต้องเดินต่อไป

วันวุ่นกับการยกร่างโครงการ

6 พ.ย.52 วันนี้ตั้งใจว่าจะเขียนชื่นชมเพื่อนร่วมงานหลายท่าน แทนการขอบคุณ สรุปว่างเขียนของอาจารย์อ้อมได้ท่านเดียว จากกลุ่มอาจารย์ที่ร่วมจัดกิจกรรมถวายผ้าจำนำพรรษาเชิงบูรณาการจนสำเร็จลุล่วง เนื่องจากติดภารกิจที่ อาจารย์วิเชพ ใจบุญ มอบหมายให้ยกร่างโครงการตามชื่อโครงการ และงบ ที่คณะกำหนดในแผนพัฒนาคุณภาพฯ แต่ก่อนสิ้นวันก็ดีใจที่ได้จัดทำหนังสือออก ถึง นายกอบต.ทุ่งกว๋าว สำเร็จ เพื่อขอไปให้บริการวิชาการ 2 โครงการ ในวันพฤหัสหน้า ตามที่ประสานงานกันไว้ สรุปว่าวันนี้ยกร่าง หรือปรับแก้โครงการไป 17 โครงการ ประกอบด้วย 1)โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ 3 ด้าน 2)โครงการส่งเสริมพัฒนาการจัดกิจกรรมนักศึกษาแบบบูรณาการ 3)โครงการสนับสนุนการเป็นกรรมการวิชาการและวิชาชีพนอกสถาบัน 4)โครงการส่งเสริมและสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ได้เข้าร่วมอบรมการพัฒนาความรู้และทักษะวิชาชีพทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ 5)โครงการส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิชาการในระดับชาติและระดับนานาชาติ 6)โครงการส่งเสริมนักศึกษาด้านวิชาการ วิชาชีพ คุณธรรมระดับชาติ 7)โครงการเชื่อมโยงงานบริการวิชาการกับการเรียนการสอน 8)โครงการการรวบรวมข้อมูลการใช้ทรัพยากรภายใน และภายนอกไว้เป็นฐานข้อมูล 9)โครงการการส่งเสริมและจัดทำฐานข้อมูลสื่ออิเล็กทรอนิคประกอบการเรียนการสอนบนระบบ e-Learning 10)โครงการประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ 11)โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาศักยภาพว่าที่บัณฑิตด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 12)โครงการประเมินประสิทธิภาพ ความปลอดภัยของระบบฐานข้อมูล และความพึงพอใจของผู้ใช้ฐานข้อมูล 13)โครงการถวายผ้าจำนำพรรษา 14)โครงการอบรมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย 15)โครงการความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 16)โครงการวิจัยแนวทางการผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อขยายผลองค์ความรู้เรื่องการจัดการงานศพบ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง 17)โครงการวิจัยพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง ปี 2551 ก็ไม่ใช่ทั้งหมดที่ยกร่างใหม่ มีกว่าครึ่งที่มีโครงการอยู่แล้ว และนำมาปรับแก้ .. ก็ทั้งวันครับสำหรับการปรับและยกร่างโครงการ

ผลประเมินโครงการวิพากษ์ระบบฐานข้อมูล

26 ต.ค.52 โครงการนี้มีตัวบ่งชี้ 2 ตัว คือ จำนวนคน กับ ความพึงพอใจ พบว่าผลประเมินความพึงพอใจตกครับ อันที่จริงมีประเด็นให้วิเคราะห์กันต่อได้ และมีวิธีปรับแบบสอบถามที่สมเหตุสมผลกว่านี้ได้ แต่ตั้งตัวบ่งชี้ไว้ 3.5 ของภาพรวม แล้วผลได้เพียง 3.04 ส่วนจำนวนคนไม่มีปัญหา เพราะตั้งไว้ 30 คนแต่เข้ามา 40 กว่าครับ โดยสรุปคือตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ มี 2 ข้อ ได้แก่ 1)มีผู้เข้าร่วมอบรมอย่างน้อย 80% ของเป้าหมาย 2) ความพึงพอใจโดยรวมไม่ต่ำกว่า 3.5 จากคะแนน 5 ระดับ ซึ่งโครงการบรรลุตามตัวบ่งชี้ของโครงการเพียง 1 ตัวบ่งชี้
     ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม พบว่า ห้องอบรมมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง (X=2.64, S.D=0.93) วิทยากร มีความพึงพอใจในระดับมาก (X= 3.2, S.D= 0.63) หัวข้อที่บรรยาย มีความพึงพอใจในระดับมาก (X= 3, S.D= 0.69) ช่วงเวลาในการจัดกิจกรรม มีความพึงพอใจในระดับมาก(X= 3.08, S.D= 0.79) สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ มีความพึงพอใจในระดับมาก (X= 3.2, S.D= 0.8) ภาพรวมของโครงการ มีความพึงพอใจในระดับมาก (X= 3.04, S.D= 0.66)
     ส่วนประเมินความเข้าใจ พบว่า ความเข้าใจหลังวิพากษ์สูงกว่าก่อนเข้าโครงการมีร้อยละ 64 มีความเข้าใจเท่าเดิมร้อยละ 32 และมีความเข้าใจลดลงร้อยละ 4

เข้าอบรมหลักสูตรที่ 5 dialogue และคิดอย่างวิจัย

24 ต.ค.52 ไปเข้าอบรมกับศูนย์ประสานงาน สกว.ลำปาง เช้า – เย็น จัดโดยนางสาวภัทรา มาน้อย มี กร กับ มะปราง ในฐานะนักศึกษาที่รับทุน CBPUS ไปร่วมด้วย ที่ห้องสมุดประชาชนเทศบาลนครลำปาง ครั้งนี้นั่งพื้นกัน และมีเพื่อนนักวิจัยชุมชนเข้าร่วมกว่า 40 คน ก่อนปิดเวทีให้เขียนข้อเสนอแนะต่อเพื่อนในวง แล้วนำกลับไปอ่านที่บ้าน ในแบบสุนทรียเสวนาด้วยกัลยาณมิตร
     กิจกรรมที่จำได้มี 3 อย่าง คือ 1)นั่งสมาธิแล้ว ให้วาดภาพในวัยเด็ก เรื่องนี้ผมทำไม่ได้ ต้องเปลี่ยนไปวาดภาพดอกบัว หลังวาดเสร็จให้นำเสนอรายคน เป็นเหตุให้ในเวทีมีคนร้องไห้ 2 คน ถ้าผมวาดภาพความหลังคงร้องไห้เป็นแน่ พักนี้จิตอ่อนไหวง่ายมาก เพราะทนไม่ได้ต่อการเห็นการเปลี่ยนแปลงโลก ที่มนุษย์เป็นต้นเหตุ แต่แก้ไขอะไรไม่ได้เลย 2)มีกิจกรรมให้เลือกระหว่าง นกอินทรีย์ หมี วัวกระทิง และหนู ก็เลือกกันไปแล้ว แบ่งกลุ่มและให้เหตุผลทีละคน สุดท้ายเฉลยว่าคนเลือกแบบใดมักมีลักษณะอย่างไร สำหรับผมก็ต้องบอกว่าตรงกับตัวผม 3)มีคำถามน่าสนใจ ว่า “ชาย 2 คนลงซ่อมปล่องไฟ แล้วขึ้นมา คนหนึ่งสะอาด อีกคนสกปรก ใครจะไปอาบน้ำก่อนกันคำตอบที่ถูกก็มีอยู่นะครับ แต่เจอคำใบ้ไปว่ามองเพื่อนแล้วไปอาบน้ำ ทำให้เขวกันไปหมดเลย .. นี่คือกรณีหนึ่งที่ใช้นำเสนอเรื่องคิดอย่างวิจัย

กำหนดโครงเรื่อง VDO กันใหม่

home01

23 ต.ค.52 กรกับมะปราง พบอ.ที่ปรึกษา ช่วงบ่ายวันหยุดรวม 4 ชั่วโมง มีกิจกรรมดังนี้ 1)ศึกษา vdo ในพื้นที่วิจัยและภาพที่เกี่ยวข้องสำหรับใช้ในการทำงาน 2)ศึกษา vdo ในพื้นที่อื่น เป็นการทบทวนวรรณกรรมทั้งกระบวนการ และเทคนิก 3)พิจารณา script ที่แต่ละคนเตรียมมา แต่พบว่าขาดโครงเรื่องที่ชัดเจน 4)ยกร่างโครงเรื่อง และมอบหมายงานไปเขียน script กันต่อ นัดหมายต่อไป เป็นเย็น 29 ต.ค.52
     ทุนที่นักศึกษามีก่อนเขียน script ตามโครงเรื่อง 2 เรื่อง 1) ประเด็นปัญหา การแก้ไข และผลที่ได้ 2)กระบวนการวิจัย ต่อไป คือ 1)เข้าใจในชุมชนผ่านการสัมภาษณ์และเข้าไปใช้ชีวิต 2)เข้าใจกระบวนการจากการพูดคุยแลกเปลี่ยนและเข้าเวทีวิจัย 3)มีประสบการณ์จากการอ่านรายงาน ศึกษาจากภาพถ่าย และวีดีโอทั้งในและนอกโครงการ 4)ลองผิดลองถูก ฝึกฝนในการยกร่าง script และตัดต่อวีดีโอมาแล้วระดับหนึ่ง 5)บันทึกกิจกรรม เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในรายงานเสนอ CBPUS เมื่อต้องปิดโครงการ
+ http://www.thaiall.com/research/vdo_structure.doc
+ http://www.webprodee.com ของ นายกร

น.ศ.CBPUS เข้าเรียนรู้ชุมชนครั้งที่ 3 และเวที สกว.

ห้องบัวตอง ราชภัฎลำปาง
ห้องบัวตอง ราชภัฎลำปาง

15 ต.ค.52 กร กับ มะปราง ร่วมเวทีสรุปบทเรียนปี 2552 สกว.ลำปาง ร่วมกับ อ.วิเชพ อ.กฤตภาศ อ.อ้อม อ.เอ อ.เก๋ และอ.แต วันที่ 15 ต.ค.52 ณ ห้องบัวตอง ราชภัฎลำปาง จัดโดย นางสาวภัทรา มาน้อย โดยมี ผศ.เล็ก แสงมีอานุภาพ ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน “ฮู้แฮง แป๋งฮ่อม ต้อมกำกึ๊ด” เพื่อเปิดเวทีแบ่งปันประสบการณ์ที่นักวิจัยจากสถาบันต่าง ๆ มานำเสนอในประเด็นที่สัมพันธ์กับการศึกษา และมีนักวิชาการมาให้คำแนะนำ เป็นแนวทางพัฒนาต่อไป จนเลยเวลาไปนิดหน่อย
     ก่อนเข้าเวทีนี้ นักศึกษาทั้ง 2 คนข้างต้น และนายสุทัศน์ ได้ลงพื้นที่ครั้งที่ 3 วันที่ 11-12 ต.ค.52 เพื่อเก็บข้อมูลวีดีโอเพิ่ม นำเสนอวีดีโอต้นแบบ และโฮมเพจของโครงการ ต่ออ.บุรินทร์ ซึ่งมีกิจกรรม และประเด็นในการแลกเปลี่ยนกับนักศึกษาที่สำคัญ คือ 1)การทบทวนโครงเรื่องของ VDO 2 เรื่อง 2)การยกร่าง Script สำหรับจัดทำวีดีโอรวม 3 ชั่วโมง 3)ตกเย็นวิพากษ์วีดีโอ และ 4)โฮมเพจต้นแบบ 5)วันที่สองเข้าสัมภาษณ์นักวิจัยในพื้นที่อีกครั้งก่อนกลับลำปาง

วิพากษ์ระบบฐานข้อมูลครั้งแรก

20 ต.ค.52 ในรอบ 21 ปี วันนี้เป็นวันแรกที่นำระบบฐานข้อมูล 21 ระบบ มาเปิดเผยในห้องประชุมของมหาวิทยาลัยที่มีผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนกว่า 45 ท่าน คุณอนุชิต ยอดใจยา ช่วยบันทึกเสียงลง MP3 เพื่อให้ผมเปิดฟังที่บ้านและจัดทำรายงานได้ ขั้นตอนเปลี่ยนจาก 1)หน่วยงานนำเสนอ 2)คณะแยกกลุ่ม 3)คณะให้ข้อเสนอแนะ 4)หน่วยงานสรุป เป็น 1)หน่วยงานนำเสนอ 2)คณะให้ข้อเสนอแนะ ซึ่งจบไปทีละระบบ ทำให้เวลา 3 ชั่วโมง สามารถเปิดเวทีแลกเปลี่ยนทั้ง 21 ระบบในเวลาที่กำหนด
     คะแนนประเมินความพึงพอใจจากการประชุมน่าจะต่ำมาก ไม่น่าเกิน 4 จากคะแนน 5 ระดับ ถ้าวัดเฉพาะความพึงพอใจต่อโครงการเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จ โครงการนี้คงสอบตกเป็นแน่ เพราะ 1)หน่วยงานก็ได้รับข้อเสนอแนะที่เป็นงานหนักอึ้ง 2)คณะก็มารับทราบว่ามีระบบมากมายที่ตนต้องใช้งาน 3)ทีมพัฒนาซึ่งมีโปรแกรมเมอร์ของสำนักไอที 1 คน โปรแกรมเมอร์ของสำนักทะเบียน 1 คน และโปรแกรมเมอร์อาสาสมัคร 3 คน ก็มีงานต้องพัฒนาและเชื่อมระบบทั้งหมดเป็นเครือข่ายเดียวกัน มีประเด็นมากมายยังไม่ clear เช่น 1)การจัดการความรู้มี series อย่างไร คณะได้รับโจทย์ว่าต้องกำหนดหัวข้อการจัดการความรู้ 2)ต้องกลับไปเขียนนโยบายด้านต่าง ๆ .. ถ้ามีใครประเมินว่าพอใจการประชุมครั้งนี้ก็คงบอกว่าแปลกหละครับ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เกินคาดเลยแม้แต่น้อย .. ในโลกแห่งความเป็นจริง
     หรือคิดแบบไม่เข้าข้างตนเอง คือผมพูดไม่รู้เรื่อง ดูแลให้ทุกคนพูดคุยกันไม่รู้เรื่อง ทำให้ทุกคนไม่พอใจในโครงการนี้ .. ก็เป็นไปได้ .. แต่ถ้าจะทำให้คนในมหาวิทยาลัยเข้าใจกัน เข้าใจระบบของกันและกัน ที่สำคัญเข้าใจงานของหน่วยงานที่ตนรับผิดชอบ ตามแผนที่ อ.อติชาต วางไว้ก่อนเดินทางไกล ผมก็ยินดีกับผลการประเมินความพึงพอใจข้างต้น

พัฒนาศักยภาพว่าที่บัณฑิตด้านไอที

21 ต.ค.52 คืนนี้ผมทำงานได้งานเดียว เพราะเจ็บคอ คือเขียนโครงการพัฒนาศักยภาพว่าที่บัณฑิตด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนเขียนรายงานผลโครงการอีเลินนิ่งกับโครงการวิพากษ์DB คงต้องเลื่อนไปก่อน สำหรับโครงการที่พึ่งเขียนเสร็จปรึกษาเพียง คุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ และคุณอนุชิต ยอดใจ ว่าโครงการน่าจะมีหัวข้ออะไรบ้าง ก็ได้มา 9 หัวข้อ คือ 1)การติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดว์ 2)การปรับแต่งค่าเริ่มต้นให้กับระบบปฏิบัติการวินโดว์ 3)การติดตั้งโปรแกรมประยุกต์ 4)ระบบความปลอดภัยและการจัดการไวรัสเบื้องต้น 5)การเขียนแผนภาพขั้นตอนการทำงานด้วย Visio 6)การประมวลผลด้วย MS Excel 2 ครั้ง 7)การจัดการข้อมูลด้วย MS Access 2 ครั้ง 8)การจัดการภาพกราฟฟิก 3 ครั้ง 9)การเขียนเว็บเพจเบื้องต้น 3 ครั้ง
     มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ซึ่งเป็นโครงการอบรมให้นักศึกษาฟรี แต่เขาต้องจ่ายเงินมัดจำป้องกันนักศึกษาโดดเรียน โดยสอนระหว่าง 18.00น. – 20.00น. มีวิทยากร 2 คนต่อครั้ง ชั่วโมงละ 150 บาทต่อคน สอน 15 วัน ช่วงพฤศจิกายน 52 ถึง มกราคม 53 โดยมีงบรวม 10,000 บาท เตรียมวิทยากรไว้ 5 คนตามความถนัดในแต่ละเรื่อง พรุ่งนี้ผมต้องลุ่นว่าโครงการนี้จะผ่านหรือไม่ ถ้าไม่ผ่านก็น่าเสียดายครับ