รายงานการทำงานต่อคณบดีฯ 4/2552

แห่เทียนพรรษา
แห่เทียนพรรษา

3 ก.ค.52 1)นำเสนองานวิจัยงานศพฯ กทม. ที่ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ ชวนไปนำเสนอในเวทีนำเสนองานวิจัย ของกศน.2009 ให้กับผู้บริหารกศน.จากทุกภาคได้ร่วมแลกเปลี่ยนกว่า 180 ท่าน เพราะท่านได้ฟัง อ.ราตรี ดวงไชย ทีมวิจัยของผมนำเสนอในเวทียุทธศาสตร์การศึกษาของสกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่บ้านเสานัก (ครั้งนั้นผมไปนำเสนองานวิจัยฐานข้อมูลการประเมินตนเองที่ มจพ.) ซึ่งท่านเห็นว่าเป็นงานที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม แบบ PAR = Participatory Action Research หรือ CBR=Community-Based Research แล้วผมได้มีโอกาสพบกับผอ.ของมหาสารคาม ซึ่งท่านนำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาหมู่บ้านอยู่ดีมีสุข ซึ่งน่าจะมีประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยใช้เรียนรู้เพื่อการพัฒนาหมู่บ้านในลำปาง แล้วผมได้คัดลอกรายงานทั้งเล่มให้กับ อ.ศรีศุกร์ นิลกรรณ์ อ.วันชาติ นภาศรี อ.ชินพันธ์ และน้องออย ผมว่ารายงานฉบับนี้เป็นตัวอย่างที่ดี ทำให้ผมนึกถึงจุดแข็งที่ กศน.มีในบทบาทที่ใกล้ชิดชุมชนและมีเครื่องมือในการพัฒนาหมู่บ้านอยู่ดีมีสุขอย่างชัดเจน นี่เป็น output จากการที่อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ อนุญาตให้ผมได้ไปนำเสนองานวิจัยในครั้งนี้ 2) งานแข่งฟ้อนเล็บเป็นส่วนหนึ่งของงานแห่เทียนปีนี้ ผมร่วมเป็นกำลังใจในฐานะคณะวิทย์ใน งานประกวดฟ้อนเล็บของนักศึกษามหาวิทยาลัยของเรา ที่สวนเขลางค์ในเย็นวันพฤหัสบดีที่ 2  ก.ค.52 ซึ่งทีมของเราพลาดรางวัลด้านการฟ้อนเล็บไปอย่างน่าเสียดาย ข้อสังเกตที่พบคือ 2.1) ช่างฟ้อนมีมากกว่าคนดูอย่างเห็นได้ชัด แต่ละกลุ่มที่ส่งช่างฟ้อนเข้าประกวดมีกำลังใจตามมาด้วย ไม่มาก อย่างของมหาวิทยาลัยเรามีเพียงผมกับน้องเอ็มและพี่บุญมีเท่านั้น และไม่ต่างกับทีมอื่น  2.2)ส่วนผู้จัดงาน คือเทศบาลนครลำปางก็จะมีกรรมการ 2.3)ผู้ที่มาออกกำลังกายมากมายใน สวนก็ให้ความสนใจกับการรำครั้งนี้น้อยมาก สังเกตุได้จากจำนวนคนดูที่รายล้อมแทบไม่มี 2.4)ช่างฟ้อนที่มาแข่งก็มิได้สนใจการร่ายรำของคู่แข่ง ถ้าไม่ไปซ้อมของตนเอง ก็นั่งรอเวลา ส่วนกลุ่มที่รำเสร็จก่อนก็จะกลับกันก่อนหลังแข่งเสร็จเป็นส่วนใหญ่ 2.5)ความเห็นเรื่องการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมคงพูดได้แต่คำว่าน่าเป็นห่วง และอยู่ในวิกฤตขาลงอย่างชัดเจน ในสังคมวัตถุนิยม 3)งานแห่เทียนเริ่มตั้งแต่ 7.00น. อ.ศรีศุกร์ นิลกรรณ์ติดต่อรถขนทหารจากค่ายสุรศักดิ์มนตรีเป็นการด่วนเมื่อวาน แล้วผมก็เซ็นบันทึกออกของคณะวิทย์ฯ ขออนุมัติท่านอธิการเมื่อวานเย็นในฐานะผู้ดูแลการเดินทางของนักศึกษา ว่าขออนุมัติวงเงินค่าน้ำมันกับค่าเบี้ยในกรอบ 700 บาท ก็เกือบมีปัญหาเรื่องการเข้าระบบจัดซื้อจัดจ้าง เพราะคุณเปรมจิตติดต่อเช่ารถบัสไม่ทันด้วยเวลาที่กระชั้นชิดเช่นนั้น สรุปว่าเช้ามาก็จ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงกับค่าน้ำมันรวม 500 บาท ให้กับทหารท่านไป จากเดิมตั้งงบเช้ารถปรับอากาศ 2000 บาท ล้อหมุน 7.15น. มีทั้งหมด 43 คนในนั้นเป็นบุคลากร 10 คน นายกเทศบาลนครลำปางกล่าวรายงาน 8.00น. แล้วผู้ว่าก็กล่าวเปิด ขบวนเลื่อน 9.00น. ถึงวัดบุญวาทย์ 10.00น. ไปทำบุญถวายเทียนวัดพระบาทผู้บริหารไปกันหลายท่าน อาทิ คณบดีคณะสังคมฯ คณบดีคณะบริหาร ผช.ฝ่ายกิจการนักศึกษา เสร็จพิธีประมาณ 11.00น. ทุกอย่างเรียบร้อยดียกเว้นตัวผมดูโทรมไปนิด เพราะเดินไปกับรถขบวนเหมือนนักศึกษาและเพื่อนร่วมงานที่ไปด้วยกันท่ามกลางแดดร้อน

กว่าจะถึงงานเลี้ยงศิษย์ใหม่

งานเลี้ยงน้องใหม่
งานเลี้ยงน้องใหม่

25 มิ.ย.52 วันนี้มีกิจกรรม 3 ลักษณะคือ ไหว้ครู กีฬา และงานเลี้ยงศิษย์ใหม่ 1)ช่วงเช้าในห้องประชุมอาจารย์เข้าร่วมเป็นเกียรติกันหนาตา ศิษย์มอบพานคือ นาย เจ เหมียว โอม ศิษย์ที่เก่งก็รับมอบเกียรติบัตร อรพรรณ และศรัญญา 2) บ่ายโมงก็ไปพบกันที่แสตนท์ พี่ริน อ.เอก อ.นุ้ย อ.แต อ.บุ๋ม และผม ก็ไปร่วมกิจกรรม ร้องเพลงกันสนุก ถ่ายวีดีโอตอนบูม อัพขึ้น youtube.com ไว้ 1 ตอน หาคำว่า “yonok boom” ใน google.com ก็จะพบ แม้แดดจะร้อน แต่ด้วยความสามัคคี พวกเราก็ชินในที่สุด ยิ่งแข่งแล้วชนะที่ 1 จนได้รับมอบขนมจากท่านอธิการมา 1 กล่อง ก็แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในปีนี้ อาจารย์เจ้าหน้าที่ก็ไปเชียร์กันเกือบทั้งคณะ ลูกศิษย์เห็นก็มีกำลังใจ 3)ตกเย็น พี่ ๆ แต่งตัวไปงานพรอม สวยเลิศด้วยสีสรรค์ และลวดลาย ก็รู้สึกว่าสุดเหวี่ยงก็งานนี้หละ น้องเจ กับน้องนาย เป็นตัวแทนคณะร่วมกิจกรรมประกวดดาวกับเดือน แสดงความสามารถเต็มที่  แม้ไม่ได้รางวัลที่ 1 ของมหาวิทยาลัย แต่ได้กำลังใจจากทุกคนในคณะไปเต็ม ๆ การจัดงานผ่านไปเรามีเต้นท์ปีนี้ 2 ผืน ขึงเป็นหลังคา 2 ชั้นป้องกันแดดทะลุได้ระดับหนึ่ง ซื้อใหม่ขนาดจตุรัส 6 * 6 เมตร กับผืนเก่าน่าจะ 4 * 8 อีก 1 ผืนทั้งหมดเก็บไว้ในชั้น 1 หลังห้องประชุมตึกคริสต์ ส่วนค่าใช้จ่ายนักศึกษาลงขันกันคนละ 20 บาท แล้วอาจารย์ก็แสดงพลังสนับสนุนส่วนที่เกิน
+ ส่วนภาพถ่ายมีเผยแพร่ทั้งใน hi5.com และ yonok.ac.th ลองเข้าไปชมกันได้ครับ
+ http://www.thaiabc.com/photo/photo_yn_freshy52.zip 13 MB

เตรียมงานไหว้ครู กีฬา freshy night กับน.ศ.

freshy

23 มิ.ย.52 กิจกรรมวันนี้มาในหลายอารมณ์ ช่วงเช้าแก้ไขปัญหา e-learning system, google apps และ blog ได้สำเร็จ ประชุมวางแผน และทบทวนการทำงานกับทีมไอที มีตุ้ย กับแบงค์ ส่วนเอกยังไม่เข้ามา ช่วงสายหน่อยก็เคลียร์เรื่องเตรียมตัวไปนำเสนองานวิจัยในงานประชุมวิชาการงานวิจัย กศน.ประจำปี 2552 ที่ ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ ได้ชวนไปนำเสนอผลงานจากภาคเหนือที่ได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับชุมชน ตอนบ่ายก็เคลียร์เรื่องต้องประชุมวิจัยพรุ่งนี้กับ อ.วันชาติ ที่ต้องนำเสนองานวิจัยระบบฐานข้อมูล ด้านการประกันคุณภาพ แต่ประเด็นใหญ่คือการนำเสนอความคลาดเคลื่อนเพื่อให้เกิดความตระหนัก
      บ่าย 2 ครึ่ง นายอั๋น ก็โทรมาชวนไปให้กำลังใจใต้หอหญิง หาเสบียงไปเสริมในการทำพาน ซึ่ง อ.เกศริน ก็แจ้งว่างบของมหาวิทยาลัยมีให้ 750 ประกอบด้วยทำพาน 250 และจัดแสตนท์ 500 ทำให้ผมทราบวงเงินที่รวมกับการเก็บค่าทำพานคนละ 20 บาทจากนักศึกษาก็ได้อีกประมาณ 700 บาท รวมเป็น 1450 บาท แต่เงินสำรองก้อนแรก 500 ที่นายอั๋นกับเพื่อนไปซื้อของทำพานเกินงบไปแล้ว ก่อนพานเสร็จโดยสมบูรณ์ อ.แนน ก็มาเยี่ยม พานเสร็จเร็วในเวลาเกือบ 5 โมง เพราะมีของ มีแบบ มีคน น้องปี 1 ต่อเนื่องมาร่วมเกือบครบ นายอั๋นกับเพื่อนขอใช้งบอีก 1200 บาท ไปซื้ออุปกรณ์ทำแสตนท์ ก็มีรายการใหญ่คือ ผ้าลาน 6 * 6 กับอาหารเย็น ผมสั่งไปว่าขอไก่ 3 ตัว แต่ได้ไก่มา 2 ตัวกับอาหารอื่น ส่วนค่าแต่งตัวดาวกับเดือนอีก 500 บาท น้องดาที่เก็บเงินทำพานควักจ่ายไปก่อน
     6 โมงเย็น อั๋นกับเพื่อนนำอุปกรณ์แต่งเวทีและเสบียงมาที่แสตนท์ วางแผนกันเสร็จก็ทานข้าวเย็นร่วมกัน อ.แต ก็มาร่วมเป็นกำลังใจ น.ศ.ดูมีความสุขในการแต่งเวที ลงสีชื่อคณะบนแผ่นป้าย และยุ้ยวาดหมีแพนด้าตามกระแส ระหว่างนั้นน้องนายกับน้องเจ ที่เป็นดาวกับเดือนก็ซ้อมเต้นแม้ขลุกขลักบ้างในช่วงเย็น แต่ดึกหน่อยก็คลี่คลาย  เรื่องที่คลี่ไม่ได้คืออดุลทำกุญแจหาย แล้วหญ้าในสนามตัดสูงกว่า 3 นิ้ว ก็คงหากุญแจไม่พบแน่ เวทีหันหน้าเข้าหาแสงอาทิตย์ ผมกับศิษย์ถกกันเรื่องการขึงผ้าลานพักหนึ่งกว่าจะลงตัว ช่วงหลังเราทำรั้วด้านหน้าได้อั๋นกับบอยที่ชำนาญในการตัดไม้ไผ่ ทำให้การทำรั่วหน้าแสตนท์ที่ผมคิดว่ายาก เป็นเรื่องง่ายไปซะงั้น ศิษย์กลุ่มสุดท้ายที่เหลือก็มี อั๋น บอย ปาง อดุล โบว์ โอ ยุ้ย นก ศรัญญา และน้องเศรษฐศาสตร์ สุดท้ายผมก็ยอมแพ้ในสังขารขอกลับบ้านตอน 3 ทุ่ม มาแวะดื่มนำเย็นที่ 7-11 พอดับกระหายได้ก็ตัดสินใจซื้อน้ำเย็น ๆ ไปฝากศิษย์ที่เหงื่อไหลไคลย้อยหน้าเวที ให้ได้ดื่มน้ำหวานเย็นชื่นใจ อย่างที่ผมได้ดื่ม เพื่อดับกระหายในยามกระหายมากมาก กลับถึงบ้านก็ upload รูปเด็กเข้า hi5  และมานั่งเขียนบันทึกนี่หละครับ

รายงานการทำงานต่อคณบดีฯ 3/2552

21 มิ.ย.52 1)งานบริการวิชาการที่ได้รับอนุมัติจาก อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ ให้ผมไปบริการวิชาการที่ กศน.แม่ทะ วันที่ 13-14 มิ.ย.52 ก็ได้ดำเนินการเป็นวิทยากรในหัวข้อ web template 2.0 เสร็จสิ้น แต่ได้ประสานเพิ่มเติมและรับเชิญเป็นวิทยากรอีกครั้งในหัวข้อ google apps เมื่อวันเสาร์ที่ 20 มิ.ย.52 ซึ่งมีอาจารย์เกศริน อินเพลา ร่วมเป็นวิทยากรในครั้งนี้ 2)การเตรียมงานพิธีไหว้ครู ได้ประสานกับนักศึกษา และเลือกให้เดือนกับดาวของคณะทำหน้าที่ถือพาน 2 พาน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ 250 บาท ทำให้ปีนี้คณะจะมีพานใช้งานของคณะ และนักศึกษาเห็นชอบร่วมกันทำพานไหว้ครู โดยรวมกลุ่มกันในเย็นวันพุธที่ 24 มิ.ย.52 ถ้าอาจารย์ท่านใดสะดวกไปให้กำลังใจนักศึกษาในการทำพานแสดงความของคุณท่านก็ขอเชิญที่ใต้หอพักชาย 3)งานพิธีถวายเทียนพรรษา ซึ่ง อาจารย์เกศริน อินเพลา ได้ร่วมประชุมในครั้งแรก เมื่อผมร่วมประชุมในครั้งที่ 2 ก็ได้ข้อสรุปว่ามหาวิทยาลัยขอเชิญชวนนักศึกษาคณะละ 10 คน ซึ่งนักศึกษาแจ้งชื่อมาแล้ว เป็นงานบุญที่ชวนกันไปแสดงพลังที่สวนเขลางค์ แล้วไปแห่เทียนเข้าวัดพระบาท เพื่อถวายเทียนสู่วัดพระบาท ในวันศุกร์ที่ 3 ก.ค.52 โดยคณะวิทย์ได้รับมอบหมายให้ดูแลแถวขบวนแห่ 4)บทวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนที่สรุปโดยอ.วันชาติ นภาศรี draft แรก เขียนเสร็จแล้ว แต่สรุปเฉพาะส่วนขององค์ประกอบ และไม่แยกส่วนของตัวบ่งชี้ออกมาให้เด่นชัด และขาดบทวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับคณะ ที่เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความตระหนัก (Awareness) ให้แก่คณะ ซึ่งขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่ทุกคณะกำลังเตรียมข้อมูล เมื่อวิเคราะห์แล้วจะนำเสนอเวทีแรกในเวทีวิจัยที่จะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 25 มิ.ย.52 โดยนำเสนอต่อยอดจากการนำเสนอความก้าวหน้าโครงการวิจัยประกันคุณภาพของอาจารย์ศศิวิมลและทีมงานมหาวิทยาลัย 5)คณะแสดงบทบาทต่อชุมชนด้วยการนำเสนอความคิดเห็นด้านไอทีสู่สื่อท้องถิ่น ผมแจ้งให้ทราบว่า บทความไอทีในชีวิตประจำวัน ที่ 196 เขียนเรื่อง ความสำเร็จของระบบฐานความรู้ของโลก  ตีพิมพ์ 6 ก.ค. – 12 ก.ค.52

อบรมการใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง

18 มิ.ย.52 มีการจัดอบรมการใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง ครั้งที่ 1 / 2552 รอบที่ 1 ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 มหาวิทยาลัยโยนก โดยมีเจ้าหน้าที่ อาจารย์ และหัวหน้าสำนักงาน เข้ารับการอบรม 13 ท่าน ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 11.00 – 12.00น. ซึ่งเป็นไปแผนงานใน โครงการวิจัย “พัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองของหน่วยงาน

      หัวข้อบรรยายดังนี้ 1) แจกคู่มือ ลงชื่อเข้าอบรม และแจกรหัสผ่านใหม่ 2) ชี้แจงวัตถุประสงค์ และประเด็น 2.1) ปรับคำอธิบาย และเงื่อนไขในเกณฑ์ ตามที่คุณเพชรี สุวรรณเลิศ นำเสนอในที่ประชุมผู้บริหาร ที่ สกอ. แก้ไขมีเอกสารประกอบ 36 หน้า 2.2) เพิ่มการเลือกปี เพื่อตรวจข้อมูลย้อนหลัง 2.3) แสดงผลวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อน 2.4) แก้ไขรหัสผู้ใช้เป็นภาษาอังกฤษ 2.5) เพิ่มการเชื่อม CDS เข้าองค์ประกอบในส่วนตรวจเอกสาร 3) ทบทวนการใช้งานโปรแกรม 3.1) การนำเข้าข้อมูลพื้นฐานด้วย excel หรือแก้เป็นรายการ 3.2) การกรอกข้อมูลเป้าหมาย ผลดำเนินงาน และผลประเมิน การนำไปทำรายงาน 4 ส และการนำเสนอร่วมกับข้อมูลพื้นฐาน 3.3) ใส่รายการหลักฐานได้ทั้งแบบทำเอกสารจนแล้วเสร็จ หรือทำงานบูรณาการโดยใช้เว็บเก็บข้อมูลเพื่อเข้าไปจัดทำร่วมกัน 4) ประเมินการอบรม และอื่น ๆ ( http://www.yonok.ac.th/sar )

อบรม web template และ google apps ที่กศน.แม่ทะ

ผู้ร่วมอบรม
ผู้ร่วมอบรม

12 – 13 มิ.ย 52  ผมไปเป็นวิทยากรอบรมการใช้งานระบบซีเอ็มเอส web template 2.0 ที่พัฒนาและเผยแพร่โดย อ.ศรีเชาวน์  วิหคโต มีคุณอนุชิต ยอดใจยาไปเป็นผู้ช่วย เราได้รับเชิญจาก ผอ.จรรยา จิรชีวะ ให้อบรมบุคลากร กศน.แม่ทะ  ณ ศูนย์การเรียนรู้ประวัติความเป็นมาแหล่งเรียนรู้อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง  ก่อนไปได้ปรับแต่งโปรแกรม thaiabc6.3 เพื่อเปิดบริการ Local Web Server ซึ่งมี web template 2.01 ในโปรแกรมนั้น ทำให้ฝึกจัดการ web template 2.01 ที่ผมปรับปรุงระบบความปลอดภัย สามารถเรียนรู้ร่วมกันได้ง่าย วันแรกปูพื้นฐานการเขียนเว็บ ซึ่งผู้เรียนหลายท่านไม่ถนัด แต่วันที่ 2 เรียนการเข้าจัดการเท่านั้น (ไม่สอน html) ทุกคนเข้าใจการปรับแต่งเว็บแบบ CMS ด้วยตนเอง ตามวัตถุประสงค์ของ ผอ. วัตถุประสงค์ของการอบรมคือ เพื่อให้ครูในแหล่งเรียนรู้แต่ละตำบลมีส่วนร่วมในการเข้าจัดการเว็บเพจของ กศน.แม่ทะ โดยแบ่งกลุ่มตามหัวข้อ และตามพื้นที่ แทนที่จะปล่อยให้ใครสักคนเป็นคนป้อนข้อมูล ก็จะหันมาแบ่งงานและรับผิดชอบร่วมกัน

     ในสัปดาห์ต่อมา วันที่ 20 มิ.ย.52 ไปเป็นวิทยากรอีกครั้งมี อ.เกศริน อินเพลา เป็นผู้ช่วยในการอบรมการใช้ google apps ซึ่งรุ่นของระบบที่ กศน.ลำปาง และกศน.กรุงเทพฯ เคยขอใช้จาก google เพื่อเปิดบริการแก่บุคลากรในกศน. ต่างกับ google apps ที่ผมขอใช้บริการล่าสุด เพื่อเตรียมสอน โดยเฉพาะเรื่อง start page กับ page creater นั้นไม่พบใน google apps รุ่นใหม่ แต่พบเรื่อง site แทน และ site ก็ไม่มีใน google apps รุ่นเก่า แต่ระยะเวลาการอบรม 1 วันก็เหมาะกับ 4 หัวข้อคือ email, talk, calendar และ document วัตถุประสงค์ของการอบรมคือ เพื่อใช้งานระบบการสื่อสารและระบบสนับสนุนการทำงานร่วมกัน ตามแนว enterprise 2.0 ผ่านบริการของ google apps ที่กศน. ลำปาง และกศน.ทั่วประเทศเข้ารับการอบรม ครั้งนี้จึงเป็นการขยายความสามารถในระดับครู เพื่อทำให้การสื่อสารระหว่างครู กับผอ. สามารถเกิดขึ้นได้

     ผู้เข้าร่วมอบรมน่ารักทุกคน โดยเฉพาะเรียน google talk แล้ว หลายคนก็ใช้หูฟังกับไมค์คุยกันเพลินเลยครับ ผู้เรียนประกอบด้วย 1)นางสาวนันท์นภัสร์ ศรีวิเชียร 2)นางกมลนันท์  ธรรมนพ 3)นายทาน จันทะปัน 4)นางลำดวน วงศ์สาย 5)นางเทียมจิตร เพชรล้ำ 6)นางธิติยา  แก้วเมืองมา 7)นางสายไหม  กรรเชียง 8)นางสาวอรวรรณ  มานันไชย 9)นางสาวจุฬารัตน์ วงศ์ษา 10)นางสาวนงคราญ  ใจตา 11)นางสาวกาญจนา  กิ่งแก้ว 12)นางกรชนก มังคะวงศ์ 13)นางสาวบงกช  เกิดในวงศ์ 14)นางสาวไพรินทร์   สุวรรณจักร 15)นางอัฉราภรณ์   คำพิชัย 16)นางสาวมนัสวี  จิรชีวะ 17)นางสาวธัญจิรา  บุญรักษา 18)นางสาววิไลลักษณ์  บุญปันเชื้อ 19)นางสาวทัศนีย์  เพชรตา 20)นายธนวัฒน์  ปันสุทะ 21)นายวุฒิพงศ์  เครือวงศ์ปิง 22)นางสาวปิยะกาญน์  เลิศจุ่ม 23)นายณรงค์  จักรจันทร์ 24)ผอ.จรรยา จิรชีวะ ( ภาพทุกคน )

     ผลการให้บริการวิชาการครั้งนี้ ทำให้ผม และผู้ช่วยทั้ง 2 ท่าน ได้เรียนรู้ระบบ CMS อีกโปรแกรมหนึ่งที่พัฒนาโดยใช้ text file และถูกใช้งานในกศน.ลำปาง และกศน.อำเภอ ได้เข้าไปศึกษาโปรแกรม ปรับแต่งให้เหมาะกับการอบรม และนำเสนอให้คนทั่วไปได้นำไปเรียนรู้และใช้งาน และนำเสนอลงสื่อท้องถิ่นด้วยภาพข่าวกิจกรรมบริการวิชาการ ผ่านสำนักประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย ส่วน google apps จะได้ไปเผยแพร่ในมหาวิทยาลัย และคนทั่วไปผ่านหลายช่องทาง เพราะมีประโยชน์ต่อองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์จากไอที โดยเฉพาะเรื่องการสื่อสาร และการทำงานร่วมกันที่ใช้เอกสารเป็นสื่อกลาง ( เอกสารอบรม ) http://www.google.com/a/thaiabc.com

รายงานการทำงานต่อคณบดีฯ 2/2552

8 มิ.ย.52 1)จากการประชุมคณะครั้งแรกของปีการศึกษา 2552 ในต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้รับมอบหมายให้ดูแลกิจกรรมโครงการหลายเรื่อง ก็มีนักศึกษาขอแลกเปลี่ยนในประเด็นที่ต้องทำ เช่น รับน้องคณะก็ได้รับความสนใจจากนักศึกษา ส่วนรับน้องมหาวิทยาลัยในกลุ่มพี่ปี 4 ที่จัดขึ้นวันเสาร์ 20 มิ.ย52 มีพี่หลายคนไม่สะดวก สำหรับคนที่สะดวกก็จะส่งชื่อแจ้งให้สำนักพัฒฯทราบ เพราะเขาขอมา การถวายผ้าจำนำพรรษามีนักศึกษาเสนอวัดและประเภทของวัดที่ต่างไปจากวัดเกาะ ที่ได้นำเสนอให้นักศึกษาทราบ แต่น.ศ.เสนอวัดที่น่าสนใจคือวัดคีรีบรรพตก็มอบให้หารือกับ อ.ทนงศักดิ์ ว่าถ้าถกกันในรายละเอียดด้วยเหตุด้วยผลของผู้มีข้อมูลก็จะได้ข้อสรุปจากการบูรณาการ ดังที่คณบดีให้นโยบายไว้ ผลเป็นอย่างไรจะได้นำเรียนต่อไป การศึกษาดูงานมีประเด็นถกกันกับนักศึกษาอยู่นาน เรื่องสถานที่ ค่าใช้จ่าย และหัวข้อดูงาน แนวโน้มที่ได้หารือคือเชียงใหม่ไปดู motion capture ถ้าไม่ของ sipa เชียงใหม่ ก็จะเป็นของ “วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี” มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
http://www.camt.cmu.ac.th มีอีกหลายที่ยังไม่ได้เสนอ เช่น โครงข่ายบริการสื่อสารข้อมูล มูลนิธิโครงการหลวงที่เชื่อมโยงข้อมูลการผลิตและขนส่งรวม 58 พื้นที่โครงการในภาคเหนือ ของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ณ แปลงไร่นาสาธิตแม่เหียะ จ.เชียงใหม่
หรือความก้าวหน้าของเทคโนโลยีหลังคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ บมจ.ทีโอที เป็นผู้ดำเนินโครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2551 และ 19 กุมภาพันธ์ 2552 กทช. อนุญาตให้สิทธิการบริหารคลื่นความถี่ 3G ให้ ทีโอที โดยกระทรวงการคลัง และ MICT สนับสนุนทุน และนโยบาย หรือไปดูระบบบริหารจัดการ Logistic ของยักค้าปลีก เป็นต้น 2)เขียนสรุปรายงานการพัฒนาตนเองประจำปีการศึกษา 2551 ว่าไปฝึกอบรม ฟังบรรยายพิเศษ เป็นวิทยากรที่ใดมาบ้าง รวมหมดทั้งวิจัย บริการวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และที่ส่งผลต่อการเรียนการสอน แต่ผมก็ยังไม่ได้เขียนเป็นรูปเล่ม ก็มีความกังวลเช่นเดียวกับ อ.อติชาต ที่ว่าจะใช้ฟอร์มแบบใด เพราะของแผนกทรัพยากรบุคคลก็มีฟอร์มที่ละเอียดมากและไม่รวมประเด็น ส่วนที่เคยเสนอ portfolio ในคณะช่วงมกราคม 2551 ก็ละเอียดและใช้เพื่อประเมินชัดเจนเกินไป http://www.thaiall.com/me/portfolio0.doc ตามนโยบายก็คงอยากให้ทุกคนได้เขียนแบบไม่ต้องเกร็ง ก็จะเขียนดูส่งเลขาฯ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์เรื่องการรับรองคุณภาพเป็นสำคัญ 3)งานดูแลสทส.ที่ผมได้รับมอบหมาย ก็มีกิจกรรมที่สัมพันธ์กับงานของคณะ เช่น การถ่ายรูปบุคลากรที่กำหนดนโยบายโดยสปส. มีข้อสรุปว่าจะต้องเป็นพื้นขาวและมีชีวิตชีวาก็จะเลือกภาพยืนเอียง ส่วนภาพบุคลากรทั้งหมดก็จะเขียนลง CD มอบให้คณะ ในกรณีต้องการทำฐานข้อมูลคณะหรือใช้ประยุกต์ในการเรียนการสอน ส่วนการอบรม retouch ภาพก็มีแผนจะจัดให้บุคลากรของคณะและทั้งมหาวิทยาลัยในศุกร์ที่ 19 และ 26 มิ.ย.52 4)ไปรับการอบรมในชุมชน เพราะผมร่วมโครงการอยู่ดีมีสุขของมหาวิทยาลัย และพระครูบ้านไหล่หิน เชิญไปร่วมเวที มีการบรรยาย 2 เรื่องโดยวิทยากรจาก ธกส. และพมจ. โดยสรุปคือเรื่อง วิธีการทำบัญชีครัวเรือน และกลุ่มกองทุนออมเงินวันละบาท ซึ่งผมเขียนบันทึก 2 เรื่องนี้ไว้นอกรายงานฉบับนี้ใน blog จัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยอีกแหล่งหนึ่ง http://www.thaiall.com/blog/burin/304/
http://www.thaiall.com/blog/burin/299/

5)ส่วนงานวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนของทีม ซึ่งรักษาการคณบดีร่วมเป็นทีมงานวิจัยนั้น ได้พิจารณาไปที่คะแนนที่แต่ละคณะประเมินตนเองมีความแตกต่างจากของผู้ประเมิน ในปีการศึกษา 2551 กับข้อมูลปีการศึกษา 2550 มีความคลาดเคลื่อนชัดในหลายตัวบ่งชี้ ขณะนี้ อ.วันชาติ นภาศรี รับไปอภิปรายผลจากข้อมูลที่แยกตามคณะ ตามตัวบ่งชี้ และมหาวิทยาลัย จะเสร็จใน 2 สัปดาห์นี้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสร้างความตระหนัก และหวังลดความคลาดเคลื่อนจาก การประเมินตนเองที่แตกต่างไปจากของผู้ประเมินที่จะเกิดกับข้อมูลที่ทุกคณะกำลังจัดเตรียม และประเมินตนเองไปในทิศทางที่สมเหตุสมผลที่สุด

รายงานการทำงานต่อคณบดีฯ 1/2552

เสาร์ที่ 30 พฤษภาคม 2552 1)การอบรม : กลางวันผมเป็นตัวแทนของโครงการวิจัยฯ ที่มหาวิทยาลัยรับทุนในการทำวิจัยเพื่อท้องถิ่น ไปอบรม “การวาดเพื่อการสื่อสาร” ที่จัดโดยศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น มีรายละเอียดใน blog ของมหาวิทยาลัย 2)ร่วมงาน cocktail กลางคืนร่วมงานมุทิตาจิตของ รศ.จินตนา สุนทรธรรม ร่วมกับ ร.คณบดี และอ.อติชาต หาญชาญชัย มีประเด็นที่ผมจับได้เกี่ยวกับไอทีในชีวิตประจำวัน จึงเขียนเป็นบทความที่ 194 ลง นสพ.ฅนเมืองเหนือ และนำเสนอในเว็บไซต์ของคณะ 3)ได้แนวคิดเขียนบทความ จากงานมุทิตาจิต ผมจับประเด็นเรื่องการจัดการความรู้ การบริหารความเสี่ยง และระบบ knowledge-based system ได้ แต่ยังไม่ได้ยกร่างบทความ สิ่งที่เห็นคือความเสียดายในองค์ความรู้ที่มหาวิทยาลัยสกัด หรือสั่งสมจากท่านออกมาเป็นรูปธรรม เพื่อใช้ในการเรียนรู้ และต่อยอดไปสู่การพัฒนาคน ยังไม่มากพอที่ผมจะสังเกตุเห็น โดยเฉพาะระบบ knowledge-based system ที่จะเป็นการบริหารจัดการองค์ความรู้ เพื่อนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจก็ยังไม่ชัด .. ก็มีแผนจะนำเสนอในกลุ่มประเด็นนี้ครับ

อบรมการวาดรูปเพื่อการสื่อสาร

พีพี่ให้กำลังใจ
พีพี่ให้กำลังใจ

30 พ.ค.52 ศูนย์ถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้ โดยคุณภัทรา มาน้อย (จิ๋ม) คุณรัตติกร บุญมี (จิ๊บ) และคุณอัญมณี แสงแก้ว (โบว์) ได้เชิญคุณกฤษดา เขียวสนุก (พี่บอย) มาเป็นวิทยากรที่ห้องประชุมของห้องสมุดเทศบาลนครลำปาง ในโครงการอบรมครั้งที่ 3 หัวข้อ การวาดเพื่อการสื่อสาร จากแผนงาน 5 โครงการ ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ชุมชนอย่างมีส่วนร่วม 2) การเป็นวิทยากรกระบวนการ 3) การวาดเพื่อการสื่อสาร 4) การเขียน Social Mapping 5) การคิดแบบวิจัย มีตอนหนึ่งใน powerpoint เรื่อง วิธีเติมสารอาหารให้จินตนาการ มี 5 หัวข้อคือ 1) มองสภาพแวดล้อม 2) ขยับร่างกาย 3) ดูผลงานในปัจจุบัน 4) กล้าคิดแตกต่างอย่างท้าทาย 5) ช่างสังเกต

          การอบรมครั้งนี้เน้นการวาดเพื่อการสื่อสาร มิใช่วาดเพื่อความสวยงามหลาย ๆ คนวาดได้สวยงามมาก แต่เป้าหมายของการวาดในงานวิจัย คือการนำเสนอให้ชุมชนได้เข้าใจในสิ่งที่นักวิจัยต้องการสื่อ แล้วจิ๋มก็ได้อธิบายว่า การวาดมี 2 แบบ หากแบ่งตามแผนการวาด คือ 1)แบบไม่มีแผน เพราะฟังคนในเวทีพูดแล้ววาดทันที 2) แบบมีแผน เพราะวางแผนไว้ในหัวแล้ววางโครงแบบเพื่อสื่อให้เห็นอย่างเป็นระบบ ช่วงเช้าวิทยากรจัดกิจกรรมละลายพฤติกรรม บรรยายทฤษฎีการวาดรู้ และการใช้จินตนาการ นำเสนอภาพจาก http://www.funpic.hu พอ 11.30 น. ก็สอนวาดภาพแสดงความรู้สึกของคน โดยใช้วงกลมกับเส้น 3 เส้นเป็นหลัก ช่วงบ่ายก็สอนวาดมุมของหน้า ตัวคน สถานที่ และการใช้ลูกศร บ่ายแก่หน่อยก็แบ่งกลุ่มให้วาดตามโครงการของตนเอง ทีมของผมมีลูกสาว 3 คน คือ รีม พีพี และมาหยา ช่วยลงสีในแผนภาพที่นำเสนอขั้นตอนในภาพรวมของโครงการวิจัยงานศพฯ

         การวาดภาพครั้งนี้ ก็ต้องเลือกว่านำเสนอในกรอบใด ใช้ไดอะแกรมแบบใด และมีขอบเขตเพียงใด เพราะกรอบที่จะเขียนมีตัวเลือกในหัวของผมประกอบด้วย 1) ขั้นตอนในภาพรวม 2) ความสัมพันธ์ของกลุ่มคนและบทบาทของคน 3) ประเด็นและบทบาทของคน 4) กระบวนการและบทบาทของคน 5) การพัฒนาสื่อและบทบาทของคน 6) วิเคราะห์ตาม Social Map 7) วิเคราะห์ตาม Mind Map

ช่วยกันวาด
ช่วยกันวาด

          สรุปว่าภาพที่วาดออกมาแสดงถึงขั้นตอนในภาพรวม แบ่งตามช่วงเวลา ขอบเขตที่นำเสนอคือ บทบาทของกลุ่มคน สถานที่ในแบบตามลำดับ และสื่อที่ใช้ ส่วนลำดับในแผนภาพควบคุมการไหลแบบตามลำดับ (Sequence)  เพราะสื่อให้เข้าใจได้ง่าย เป็นภาพมุมกว้างไม่ละเอียดนัก  แต่จำนวนประเด็นที่อยู่ในภาพมีมากเกินเวลาที่มีอยู่ การอธิบายให้เข้าใจสิ่งที่ต้องการนำเสนอจึงทำได้จำกัด เมื่อเทียบกับจำนวนกลุ่มที่ต้องออกมานำเสนอ ประกอบกับการอบรมครั้งนี้เป็นเพียงการฝึกวาดรูปเพื่อการสื่อสาร และวิทยากรก็บอกว่า “ได้เท่าใดเท่านั้น” ทำให้ผมไม่นำเสนอขั้นตอนการทำงานในระยะที่ 3 เพราะแค่ 2 ระยะที่เขียนไปก็คงต้องอธิบายกันยาวอยู่แล้ว

     มีคุณหมอจากเมืองปานมาเป็นตัวแทนโครงการวิจัยน้ำดื่มฯ ของเมืองปาน ที่อ.อดิศักดิ์ เสมอพิทักษ์ และ อ.อัศนีย์ ณ น่าน เป็นทีมวิจัย เหตุที่ทั้ง 2 ท่านไม่ได้มาร่วมด้วยเพราะไปจัดงานมุทิตาจิตของ รศ.จินตนา สุนทรธรรม ได้พบ รศ.ดร.บุญฑวรรณ วิงวอน ในงานกลางคืน แต่งานอบรมตอนกลางวันผมได้พบ ผศ.ดร.ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล ก็เป็นอีกวันหนึ่งของผมที่ได้พบผู้คนมากมายอีกครั้ง

ความเปลี่ยนแปลง

ทรงศักดิ์
ทรงศักดิ์

     “การเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างในชุมชนนั้นเป็นไปได้ยาก ต้องใช้เวลา แล้วใครจะทำ และทำเพื่อใคร”  เป็นประโยคที่เกิดขึ้นในระยะเริ่มต้นก่อนทำการวิจัยในพื้นที่ เกิดอะไรบางสิ่งบางอย่างในพื้นที่ก่อนงานวิจัยจะเริ่ม คำถาม คำนินทา คำเตือน คำบอกเล่า ล้วนเป็นคำที่มีความหมายและมีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจของชุมชนและเป็นคำที่เกิดขึ้นก่อนงานวิจัยจะเริ่ม 

  “ทำไปทำไม ของมันดีอยู่แล้ว”
  “เป็นใครมาจากไหน ถึงได้กล้าทำในสิ่งที่เขาไม่ทำกัน”
  “อย่าทำเลย เดี๋ยวมันจะขึด”
  “เมื่อทำไปแล้ว ได้อะไรขึ้นมา ชาวบ้านได้อะไร”
  “สูทำไปทำไม ไผเป็นคนบอกให้สูทำ”

     คำถามต่าง ๆ เหล่านี้ เกิดขึ้นเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ในช่วงที่มีข่าวการทำวิจัยเรื่องงานศพในบ้านไหล่หิน การทำงานเริ่มระมัดระวังมากขึ้น เริ่มหันมาพูดคุยกันในกลุ่มนักวิจัยชาวบ้านถี่ขึ้น นักวิจัยต่างคนต่างให้ข้อคิดเห็นต่างกันออกไป เป็นกระจกซึ่งกันและกัน เกิดการเปลี่ยนแปลงระหว่างการทำงาน นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงในตัวนักวิจัย เริ่มมีการไตร่ตรองความคิดของตนเองและเพื่อนร่วมงานอย่างละเอียด ประเด็นนี้เป็นผลที่เกิดขึ้นจากตัวนักวิจัยต้องการที่จะให้งานที่ออกมาเป็นที่ยอมรับของชุมชน เพราะฉะนั้นการที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรบางสิ่งบางอย่างในชุมชน การเปลี่ยนแปลงทางความคิดของนักวิจัยท้องถิ่นที่มีต่อชุมชนและรูปแบบงานวิจัยนั้นก็ต้องเปลี่ยนไปตามรูปแบบที่เกิดขึ้น เพราะผลที่เกิดขึ้นในอนาคตเป็นเรื่องที่ชุมชนจะกล่าวว่านักวิจัยของบ้านไหล่หินเป็นผู้นำทางความคิด หรือ “เป๋นเก๊าตางกำกึด” และนี่เป็นสิ่งที่นักวิจัยท้องถิ่นต้องยอมรับ
        หากกล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงในงานวิจัยท้องถิ่นโดยนักวิจัยท้องถิ่นบ้านไหล่หิน หมู่ 2 ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง แล้วนั้น เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลนั่นคือ นักวิจัย และเกิดความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากชุมชน และที่สำคัญเกิดความเปลี่ยนแปลงกับชุมชนโดยรอบ ถือว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดและสามารถสัมผัสได้ อย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่า นักวิจัยของบ้านไหล่หินเกิดความเปลี่ยนแปลงทางความคิด เปลี่ยนแปลงการทำงาน ประเด็นนี้ส่งผลให้เกิดการยอมรับนักวิจัยในชุมชนขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะการทำงานของนักวิจัยท้องถิ่นบ้านไหล่หินทำงานกันเป็นทีม ทำให้การยอมรับกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในงานวิจัยเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ชาวบ้านเกิดความคิดเห็นที่แตกต่างจากนักวิจัยท้องถิ่นบ้าง แต่ความคิดของชาวบ้านเหล่านั้นก็ไม่ได้เป็นการแตกแยกในกลุ่มของชาวบ้านกันเอง แต่กลับเป็นผลดีต่อกระบวนการงานวิจัยที่กำลังลงมือกันอยู่ เป็นกระจกส่องการทำงานโดยคนในชุมชน เกิดสัมพันธภาพที่ดีในกลุ่มนักวิจัยและชาวบ้านที่เข้าร่วมเวที เสียงหัวเราะเริ่มเสียงดังขึ้น การแสดงความคิดเห็นในเวทีเริ่มมีสีสัน ข้อเสนอแนะมีมากขึ้น
       สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เกิดขึ้นจากการที่ชาวบ้านมีความเข้าใจในกระบวนการงานวิจัยมากขึ้น กอปรกับชุมชนไหล่หินเป็นชุมชนที่มีการทำวิจัยในชุมชนค่อนข้างมาก ทำให้การดำเนินกิจกรรมระหว่างงานวิจัยนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น ทั้งนี้เมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงในเวทีงานวิจัยแล้วผลของความเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลต่อเนื่องไปยังความเปลี่ยนแปลงในชุมชนในช่วงเวลาปกติ และในช่วงที่มีงานศพในหมู่บ้าน ขั้นตอนและกระบวนการที่กำลังเกิดขึ้นในชุมชนไหล่หินนั้นเป็นกระบวนการที่มีทั้งการขับเคลื่อนโดยนักวิจัยและการขับเคลื่อนโดยคนในชุมชน ซึ่งเราต้องยอมรับว่าในบางครั้งของห้วงเวลาที่ดำเนินงานวิจัย บางเรื่องเป็นเรื่องที่นักวิจัยไม่สามารถถามต่อชุมชนได้ เนื่องจากว่าบางสิ่งบางอย่างในงานวิจัยเป็นเรื่องของจารีตประเพณี เป็นเรื่องของความเชื่อที่มีมานาน เพราะฉะนั้นประเด็นนี้คนที่ขับเคลื่อนเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านี้ก็คือคนในชุมชน เมื่อคนในชุมชนเริ่มเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยทำให้ประเด็นคำถามที่ทีมนักวิจัยต้องการส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในเวทีประชาคม เป็นการพูดคุยผ่านกระบวนการประชาคมในหมู่บ้านและการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการในงานศพที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งในหมู่บ้าน เมื่อชาวบ้านเริ่มมีการพูดคุยในงานศพก็นำมาพูดคุยให้ข้อเสนอแนะในเวที โดยเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องราวที่มีการพูดคุยกันมานานก่อนงานวิจัยจะเริ่มขึ้นและเรื่องราวที่เกิดขึ้นระหว่างงานวิจัย ทำให้เห็นว่าวิถีชีวิตวัฒนธรรมที่มีการบ่มมานาน การพูดคุย การเปลี่ยนแปลงสถานภาพที่เคยปิดกั้นทางความคิดของตนในเรื่องที่เกี่ยวกับจารีตถูกเปิดเผย ถูกพูดถึง ทำให้จารีตประเพณีหรือฮีตถูกรื้อฟื้นขึ้นมาพูดคุย ปัดฝุ่นกันอีกครั้งว่า เป็นฮีตเดิมฮีตเก่าฮีตแก่หรือไม่อย่างไร ใช้เหตุและผลเข้ามาเป็นเครื่องมือในการชำระฮีตในชุมชน ทำให้มีการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายเป็นทิศทางของความคิดที่ไม่เคยมีมาก่อนในชุมชน จนนำไปสู่แนวทางการปฏิบัติเพื่อให้เกิดขึ้นตามการชำระฮีต โดยยังยึดหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและคำสั่งสอนของบรรพบุรุษในชุมชน ทั้งนี้เป็นการเดินทางสายกลางทางความคิดระหว่างนักวิจัยในหมู่บ้าน ผู้สูงอายุ เยาวชน กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มพ่อบ้าน มาถึงตรงนี้จะเห็นว่าความเปลี่ยนแปลงในชุมชนเกิดขึ้นท่ามกลางมวลชนหลายหมู่เหล่าที่เห็นพ้องในแนวทางการดำเนินงานโครงการวิจัยการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านไหล่หิน หมู่ 2 และ หมู่ 6 ทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงทั้งทางกายภาพและสัมพันธภาพในชุมชนอย่างเห็นได้ชัด เกิดการยอมรับทางความคิด และการยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น
              จากความเปลี่ยนแปลงในทั้งสองหมู่บ้านทำให้ชุมชนรอบข้างเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในกระบวนการงานวิจัยที่บ้านไหล่หินทั้งสองหมู่บ้านดำเนินการกันอยู่ มีทั้งเสียงสนับสนุนและเสียงไม่สนับสนุน เหมือนลักษณะในครั้งแรกที่เกิดขึ้นในบ้านไหล่หิน แต่กระนั้นก็ตามการกล่าวขานก็เป็นเพียงการกล่าวขานเล่าเรื่องราวเท่านั้น ความกระจ่างชัดในวัตถุประสงค์ของงงานวิจัยยังไม่แผ่คลุมในระดับตำบลหรือชุมชนรอบข้างแต่อย่างใด   

“หมู่บ้านท่านทำแบบใด ผมอยากมีแนวทาง
เหมือนบ้านท่านบ้าง หากมีเวลาผมขอเชิญมา
พูดคุยกับชาวบ้านตอนประชุมหมู่บ้านด้วยนะ” 

       เสียงของผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านหนึ่งบอกกล่าวแบบเชิญชวนหนึ่งในทีมวิจัยของเราเข้าไปพูดคุยในประเด็นที่บ้านไหล่หินทั้งสองหมู่บ้านกำลังดำเนินการและปฏิบัติกันอยู่ ตรงนี้เป็นการชั่งคิดของชุมชนรอบข้างถึงแนวทางที่เกิดขึ้น เกิดความเปลี่ยนแปลงในชุมชนรอบข้างที่ตอบรับกระบวนการงานวิจัยที่เกิดขึ้น เป็นการส่งไม้ต่อที่ไม่ต้องออกแรงกันมากนัก เกิดแนวร่วมแบบไม่เป็นทางการเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่ไม่นาน เกิดแรงสนับสนุนจากภายนอกชุมชนเข้ามาเป็นระยะ ๆ จนในที่สุดกระบวนการและขั้นตอนที่เกิดขึ้นในบ้านไหล่หินก็สามารถหยิบยกในรูปแบบการดำเนินงานไปใช้กับชุมชนรอบข้างในตำบลไหล่หินได้เป็นอย่างดี จะแตกต่างตรงที่แนวทางและรูปแบบของแต่ละหมู่บ้านที่ไม่เหมือนกัน แต่กระบวนการที่นำไปใช้เป็นการถอดบทเรียนที่ชาวบ้านสามารถลงมือปฏิบัติได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นบทเรียนทางความคิด บทเรียนทางการปฏิบัติ ทำให้เห็นว่าในเมื่อสิ่งที่บ้านไหล่หินทั้งสองหมู่บ้านกำลังทำอยู่นั้น เกิดผลดี ผลสัมฤทธิ์ที่มีคุณค่า หมู่บ้านหรือชุมชนรอบข้างเกิดความต้องการที่จะใช้กระบวนการของงานวิจัยเข้าแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน ชุมชนของตน
        จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตั้งแต่ตัวบุคคลไปถึงระดับหมู่บ้านจนนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในระดับตำบลนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้แนวความคิดที่อยู่ภายใต้กระบวนการงานวิจัยท้องถิ่นของชาวบ้านไหล่หินที่กล้าเปลี่ยนแปลงตนเอง เปลี่ยนแปลงชุมชนจนนำไปสู่รูปแบบการจัดงานศพที่เกิดขึ้นจากเวทีประชาคม เกิดจากบทเรียนที่ถอดด้ามมาจากชุมชนรอบข้าง ทั้งนี้ผู้เขียนที่เป็นหนึ่งในทีมวิจัยชาวบ้าน เห็นว่า กระบวนการที่เกิดขึ้นนั้นเป็นกระบวนการงานวิจัยที่สอนให้ชาวบ้านได้รู้จักระบบการคิดที่มีเหตุผลและเป็นขั้นตอนอย่างยั่งยืนบนฐานความคิดของตนเองและชุมชน