การสร้างแบบสอบออนไลน์

15 ขั้นตอน การสร้างแบบสอบออนไลน์อัตนัยเขียนมือ มีคำถามข้อเดียว แล้วให้ upload file
ตัวอย่างนี้เป็นแบบสอบจำนวน 3 ข้อ คือ test100-01 และ test100-02 และ test100-03

  1. เริ่มต้นด้วยการ login เข้าบัญชี gmail.com ซึ่งผู้สร้างข้อสอบ และผู้ทำข้อสอบ ต่างต้องมีบัญชีประจำตัวของตนเอง
  2. เริ่มด้วย ผู้สร้างแบบสอบ เข้าไปที่ google form, คลิ๊ก blank form, เปลี่ยน untitled form เป็น “test100-01” ซึ่งชื่อนี้มีผลต่อชื่อ folder ที่ใช้จัดเก็บแฟ้มข้อสอบใน google drive สามารถเปลี่ยนชื่อได้ตลอดเวลา แม้จะมีผู้ทำข้อสอบไปแล้วก็ไม่ได้รับผลกระทบ เพราะระบบจะเปลี่ยนชื่อ folder ให้ทันทีที่เปลี่ยนชื่อคำถาม หรือชื่อฟอร์ม
  3. แบบสอบชุดนี้ วางแผนให้เป็นแบบ 1 form สำหรับ 1 คำถาม และตอบคำถามด้วยการอัพโหลดภาพเอกสาร ดังนั้นใต้ title form จึงเลือกที่จะพิมพ์โจทย์ยาวที่ละเอียด เช่น “1. จงบอกเล่าถึง วิชาที่ชอบเรียน และให้เหตุผลประกอบ มาพอเข้าใจ ซึ่งไม่ควรต่ำกว่า 3 บรรทัด และตั้งชื่อแฟ้มให้สอดคล้องกับรหัสนิสิต ชื่อวิชา และคำถาม เช่น 64xxx-test100-01.jpg”
  4. พบคำถาม (First default question) ที่มี radio box มารอนั้น ได้เปลี่ยนเป็น File upload แล้วมีคำถามว่า Let respondants upload files to drive ขึ้นมา ให้คลิ๊กตอบว่า Continue
  5. คำถามนั้น กำหนดสั้น ๆ ว่า “คำถามที่ 1” เพราะชื่อคำถามจะถูกใช้เป็นชื่อ sub folder ภายใต้ folder ชื่อ “test100-01”
  6. คลิ๊กตัวเลือกเปิด option : Allow only specific file types แล้วคลิ๊ก Image เพื่อรับเฉพาะแฟ้มภาพที่ผู้ตอบคำถามต้องส่ง ถ้าจะให้รับได้หลายภาพก็เลือก Maximum numbers of files เป็น 2 หรือมากกว่า
  7. ผลงานภาพที่ผ่านการ crop และแต่งให้คมชัดแล้ว ไม่ควรมีขนาดเกิน 10 MB ซึ่งเป็นค่า default หากลดลงมาจะมี 1 MB ให้เลือก
  8. เลือกเปิด Required เพราะต้องการบังคับอัพโหลดแฟ้มก่อน จึงจะกดปุ่ม submit ได้
  9. ชวนมองกล่อง View folder ขณะสร้างคำถามรับการอัพโหลด เพื่อใช้ดูรายการแฟ้มที่ผู้ตอบส่งเข้ามา พบว่า ขณะสร้างนี้ ในห้องนั้นจะว่างเปล่า เปิดเข้าห้อง “คำถามที่ 1 (File responses)” จะไม่พบอะไร
  10. คลิ๊ก settings ที่เป็นสัญลักษณ์ฟันเฟืองที่มุมบนขวา ในแท็บ General ให้คลิ๊ก collect emails กรณีใช้บัญชีองค์กรให้ยกเลิกการเลือก Restrict to users in [your company] and its trusted organizations เพื่อเปิดให้ผู้ใช้บัญชีบุคคลของ @gmail.com สามารถทำแบบฟอร์มได้
  11. พบตัวเลือก Maximum size of all files uploaded: 1GB ซึ่งหมายความว่าผู้ตอบแบบสอบถามอัพโหลดแฟ้มเข้ามาในแบบสอบแฟ้มนี้ รวมกันแล้วต้องมีขนาดไม่เกิน 1GB (เลือกขยายได้ถึง 1TB) เช่น มีสมาชิก 1000 คน ก็ส่งแฟ้มได้ไม่เกินคนละ 1 MB หรือมีสมาชิก 100 คน ก็ส่งแฟ้มได้ไม่เกินคนละ 10 MB เป็นต้น
  12. ในแท็บ Presentation ไม่ได้คลิ๊ก Show progress bar หรือ Suffle question order เนื่องจากสร้างคำถามเพียงข้อเดียว ต่อหนึ่งแบบฟอร์ม แล้วให้ uncheck : Show link to submit another response เพราะไม่จำเป็นต้องทำแบบฟอร์มอีกครั้งหลัง submit ไปแล้ว
  13. คลิ๊ก Send แล้วเลือก Shorten URL ของคำถามที่ 1 เพื่อนำลิงค์ไปส่งให้กลุ่มเป้าหมาย 72AX7TaKp735o6rm9 (ส่งซ้ำได้ เพราะไม่ได้ lock ครั้งเดียว)
  14. ในแบบฟอร์ม คลิ๊ก 3 จุด มีตัวเลือก Make a copy เมื่อได้แล้วก็เปลี่ยนชื่อแฟ้ม และคำถามใหม่ มีปุ่มให้เลือก restore ก็คลิ๊กทุกครั้ง เพื่อสร้าง folder สำหรับคำถามใหม่ ตัวอย่างคำถาม “2. จงบอกเล่าถึง หนังสือที่ชอบอ่าน และให้เหตุผลประกอบ มาพอเข้าใจ ซึ่งไม่ควรต่ำกว่า 3 บรรทัด และตั้งชื่อแฟ้มให้สอดคล้องกับรหัสนิสิต ชื่อวิชา และคำถาม เช่น 64xxx-test100-02.jpg” จากนั้นก็แชร์และรับลิงค์ คือ v13xs3yzjVEcUhHx8 หรือคำถามที่ 3 ที่ NNUN85pckVbXMMCc8
  15. ผู้ออกข้อสอบสามารถแชร์โฟลเดอร์ที่เก็บคำตอบ ของผู้ตอบที่ส่งแฟ้มภาพผ่าน google form จากคำถามที่ 1 แบบ anyone เพื่อใช้ตรวจสอบอีกทางหนึ่งว่ามีแฟ้มเข้ามาอย่างไร แล้ว preview ได้ หรือจะเข้าไปที่ response ของ form ซึ่งตรวจสอบได้สะดวกเช่นกัน drive.google.com/drive/folders
หน้าตาของ google drive ฝั่ง ผู้สร้างแบบสอบ และผู้ตอบแบบสอบ

https://www.thaiall.com/google/form.htm

heroku login เพื่อ push ผ่าน command line

การใช้งาน heroku.com บน command line นั้น เริ่มต้นจากการสมัครสมาชิกบน heroku.com ให้เรียบร้อย ก็จะมี user และ password เป็นของตนเอง แต่เมื่อต้องการใช้งานโปรแกรม heroku บน command line ต้อง download
โปรแกรม https://devcenter.heroku.com/articles/heroku-cli

หากต้องการใช้งาน เช่น ใช้คำสั่งแสดงรายการแอปพลิเคชันของเรา ด้วยคำสั่ง heroku apps ต้องเริ่มต้นด้วยคำสั่ง heroku login ซึ่งมีรายละเอียดการรักษาความปลอดภัยแบบ Two-factor authentication พบว่า ต้องมีการ Verify บัญชีผู้ใช้ และต้องเลือก method ในการยืนยันตัวตน
พบว่า มี 3 ปุ่มปรากฎขึ้นมาให้เลือก 1) Salesforce Authenticator 2) One-Time Password Generator 3) Security Key โดยวิธีที่สาม จะเกี่ยวข้องกับการใช้ usb drive ที่น่าสนใจลดลงสำหรับการใช้งานในปัจจุบันที่บางอุปกรณ์ไม่มีช่อง usb แล้ว จึงเลือก 2 วิธีแรก และการใช้งาน ต้องไปดาวน์โหลด app จาก Google play store ชื่อ Salesforce Authenticator ไปติดตั้งบน mobile device เพื่อให้พร้อมสำหรับการยืนยันตัวตน

ขั้นตอนการยืนยันตัวตน มีดังนี้ 1) บน PC : ติดตั้งโปรแกรม แล้วตรวจสอบรุ่นด้วย heroku -v แล้วสั่ง heroku login พบว่าจะมีการเปิด browser ให้ยืนยันตัวตน ซึ่งมี 3 method ให้เลือกดำเนิน ซึ่งผมเลือก 2 method แรก 2) บน PC : คลิ๊ก One-Time Password Generator จะพบกับ QR code มาให้ถูก scan ผ่าน application เฉพาะ จึงไม่สามารถ scan ด้วยโปรแกรมใด ๆ แล้วนำ code ไปเปิดบน browser เพราะไม่ใช่ web link 3) บน Mobile : ติดตั้ง Application ชื่อ Salesforce Authenticator บน Smart phone เปิดขึ้นมา แล้วเลือก เพิ่มบัญชี และสแกน QR code ที่พบบน PC จนผ่าน แล้วจะพบตัวเลข 6 หลัก สำหรับนำไปกรอกบน PC และจะเปลี่ยนเร็วมาก โปรดจดจำ แล้วไปกรอกในเวลาที่กำหนด 4) บน PC : คลิ๊ก Salesforce Authenticator พบช่องให้กรอกโค้ด ถ้ากรอกเลข 6 หลักในเวลาที่กำหนดแล้ว คลิ๊กปุ่ม Enable Two-factor Authentication 5) บน PC : ถ้ายืนยันตัวตนผ่าน ในหน้า Command line จะพบรายงานว่ายืนยันผ่านเรียบร้อย แล้วปรากฎรหัสผู้ใช้ขึ้นมา จากนั้นสามารถใช้ คำสั่ง heroku auth:whoami ตรวจสอบได้ว่าฉันคือใคร คำสั่ง heroku apps แสดงรายการแอปที่เคยสร้างไว้ คำสั่ง heroku apps:info react640909 แสดงรายละเอียดของแอปพลิเคชัน

http://www.thaiall.com/heroku/

http://www.thaiall.com/react/

proceeding การประชุมทางวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ

การประชุมทางวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 18 เรื่อง ก้าวนำสังคมวิถีชีวิตใหม่ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม วันที่ 3 – 4 กรกฎาคม 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Yealink Meeging) มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

พบว่า มีผลงานวิชาการที่น่าสนใจหลายเรื่อง ที่อ่านทบทวนวรรณกรรมได้ เช่น 1) การคัดแยกแบคทีเรียจากข้าวแต๋นน้ำแตงโมราดน้ำอ้อย จังหวัดลำปาง 2) ความผูกพันของนิสิตระดับปริญญาตรีต่อมหาวิทยาลัยเนชั่น กรณีศึกษา นิสิตที่ได้รับทุนการศึกษาโครงการทุนการศึกษาปริญญาตรีเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเพื่อเยาวชนจังหวัดน่าน
โดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเนชั่น และธนาคารกสิกรไทย 3) ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการใช้สมาธิบำบัด SKT ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมไม่ได้และมีความเครียดร่วมด้วย ที่มารักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านศรีหมวดเกล้า ตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 4) ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโทกหัวช้าง ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 5) การพัฒนาหุ่นจำลองโทษพิษภัยบุหรี่ 6) การออกแบบตราสินค้าของกลุ่มผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 7) การสำรวจการบริหารจัดการองค์กรสาธารณประโยชน์และองค์กร สวัสดิการชุมชนในจังหวัดลำปาง 8) ผู้บริหารสถานศึกษากับการพัฒนาครูผู้สอนในยุคดิจิทัล 9) การจัดการศึกษากับเศรษฐกิจและสังคมไทย

https://www.facebook.com/groups/thaiebook/posts/2026731970810944

ผลสําเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรม


สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ขอเชิญเข้าร่วมรับฟังการชี้แจง กรอบการวิจัยและนวัตกรรม ประจําปีงบประมาณ 2565 และแถลงผลสําเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรม NRCT Open House 2021 ระหว่างวันที่ 18 – 25 กรกฎาคม 2564 ผ่านระบบออนไลน์ ใน 8 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (18 กรกฎาคม 2564) 2) ด้านการพัฒนาเส้นทางอาชีพนักวิจัยและนวัตกรรม และการวิจัยเพื่อฐานทางวิชาการ (19 กรกฎาคม 2564) 3) ด้านเศรษฐกิจและการเกษตร และด้านสัตว์เศรษฐกิจ (20 กรกฎาคม 2564) 4) ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม (21 กรกฎาคม 2564) 5) ด้านการรองรับสังคมสูงวัย (22 กรกฎาคม 2564) 6) ด้านสังคมและความมั่นคง (23 กรกฎาคม 2564) 7) ด้านการรองรับการระบาดของโรคโควิด-19และรองรับโรคติดต่ออุบัติใหม่ (24 กรกฎาคม 2564) 8) ด้านการจัดการความรู้การวิจัยและถ่ายทอดเพื่อการใช้ประโยชน์ (25 กรกฎาคม 2564)

https://openhouse2021.nrct.go.th/


https://www.facebook.com/nrctofficial/videos

https://www.scribd.com/document/516552580/

การวิจัยแบบผสมผสาน

วัลนิกา ฉลากบาง. (2560). การวิจัยแบบผสมผสาน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7(2), 124 – 132.


บทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสมผสานเป็นการวิจัยที่ได้รับอิทธิพลมาจากปรัชญาปฏิบัตินิยมที่ใช้วิธีวิทยาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพร่วมกันในการดำเนินการวิจัย เพื่อหาคำตอบของการวิจัยที่มีความครอบคลุม ลุ่มลึกและชัดเจน ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจในปรากฏการณ์ที่ศึกษา การวิจัยแบบผสมผสานสามารถจำแนกได้ 12 แบบแผน เช่น แบบแผนที่ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพคู่ขนานกัน โดยให้ความสำคัญกับทั้งสองวิธีอย่างเท่าเทียมกัน แบบแผนที่ดำเนินการไปตามลำดับก่อนหลัง โดยให้ความสำคัญกับวิธีวิจัยวิธีใดวิธีหนึ่งเป็นวิธีหลักแบบแผนที่ใช้วิธีวิจัยวิธีหนึ่งเป็นวิธีหลักและอีกวิธีหนึ่งเป็นวิธีรอง แต่ประเด็นที่ศึกษาด้วยวิธีหลักและวิธีรองไม่ใช่ประเด็นเดียวกันหรือ
ที่เรียกว่าแบบแผนรองรับภายใน เป็นต้น การจะเลือกใช้แบบแผนใดจะต้องคำนึงถึงคำถามวิจัยเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามนักวิจัยก็ไม่ควรนำวิธีวิทยาแบบใดแบบหนึ่งไปใช้อย่างผิวเผิน แต่จะต้องฝึกฝนตนเองให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทั้งวิธีเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj/article/download/86439/76194/

การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

การเผยแผ่พระพุทธศาสนา หมายถึง การนําคําสอนในพระพุทธศาสนาไปปรากฏต่อการรับรู้ของบุคคล กลุ่มบุคคลและมวลชน ผ่านสื่อต่าง ๆ ทั้งที่เป็นสื่อบุคคลและสื่อมวลชน โดยมุ่งหวังให้ผู้รับเข้าใจและนําไปปฏิบัติให้ เกิดประโยชน์ คือ สามารถสงบระงับกิเลสในระดับต่าง ๆ จนถึงพระนิพพาน

ซึ่งการเผยแผ่ศาสนาแต่เดิมเป็นการสื่อสารระดับบุคคล ซึ่งแบ่งเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) การสื่อสารในกลุ่ม (Group Communication) และการพูดในที่สาธารณะ (Public Speaking) การสื่อสารระดับบุคคลปรากฏอยู่ทุกรูปแบบในการเทศนาของพระพุทธเจ้าสู่พระสาวกและเวไนยสัตว์ การสั่งสอนพระธรรมของพระสาวกสู่ผู้คน แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากสภาพของสังคมมีความเปลี่ยนแปลงไป ทําให้รูปแบบของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต้องขยายตัวมาสู่สื่อมวลชน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนในสังคมให้มากที่สุด

อ่านจาก พระศรัญพัฒน์ (ชยจิตฺโต) แสงอุทัย และวันพิชิต ศรีสุข. (2562). รูปแบบและวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศมาเลเซียของสํานักสงฆ์จันทรัตนาราม ตําบลยะรม อําเภอเบตง จังหวัดยะลา. วารสาร สจล.ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(1), 32-39.

https://www.facebook.com/groups/thaiebook/permalink/1958869470930528

ธรรมะออนไลน์ของเจ้าคุณพิพิธ (itinlife

ไอทีในชีวิตประจำวัน # 309  ()

ปลายเดือนกันยายน 2554  ผู้เขียนมีโอกาสฟัง พระราชวิจิตรปฏิภาณ (เจ้าคุณพิพิธ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม   กรุงเทพมหานคร บรรยายเรื่อง อย่า 15 อย่า นำมาซึ่งความสามัคคีธรรม ฟังแล้วก็รู้สึกโดนใจ ทันยุค ทันสมัย เข้าถึงใจคนทำงานในยุคคุณปูเป็นนายก แต่ประเด็นมีถึง 15 หัวข้อ แม้จดทันแต่อาจเก็บประเด็นได้ไม่ครบ แล้วท่านก็บอกว่าให้ใช้ MP3 Recorder บันทึกไว้ไ แต่ตอนนั้นไม่มีอุปกรณ์ หลังจากนั้นก็กลับมาปรึกษาอาจารย์กู๋ หรือ google.com แล้วก็พบเว็บไซต์ของพระท่าน คือ katitham.com อ่านเป็นไทยว่า คติธรรมดอทคอม

ความสามัคคีจะเกิดขึ้นได้ คนในองค์กรต้องไม่ประพฤติตัว 15 อย่าง ต่อไปนี้        1) อย่าอวดรู้ 2) อย่าดูแคลน 3) อย่าแสนงอน 4) อย่าซ่อนเงื่อน 5) อย่าเชือนแช 6) อย่าแส่เรื่องของเผือก 7) อย่าเสือกงานของเค้า 8) อย่าเอาแต่งานของตัว 9) อย่ากลัวเขาหาว่า 10) อย่าด่าเจ้านาย 11) อย่าขายความลับ 12) อย่าจ้องจับผิด 13) อย่าคิดไม่ซื่อ 14) อย่าดื้อจนด้าน 15) อย่าค้านจนแค้น ซึ่ง 15 ข้อนี้ถือเป็นข้อพึงระวังและส่งเสริมให้คนในองค์กรมีความสามัคคี แต่ประเด็นเหล่านี้ก็ต้องใช้วิจารณญาณในการพิจารณาอย่างสมเหตุสมผล เพราะถ้าไม่เข้าใจแล้วนำไปใช้เป็นข้ออ้างในการไม่ปฏิบัติงานก็อาจเกิดผลเสียตามมา อาทิ การจัดการความรู้ในองค์กร ก็ต้องสนับสนุนในการเปิดเผยความลับหรือเทคนิคแก่เพื่อนร่วมงาน การนำความรู้ที่ตนมีออกมานำเสนอ การให้ข้อเสนอแนะในประเด็นที่คิดต่างเพื่อการพัฒนา การเข้าไปหนุ่นเสริมช่วยเหลืองานของเพื่อนเพื่อให้องค์กรบรรลุพันธกิจ

ปัจจุบันมีเว็บไซต์เผยแพร่สาระด้านธรรมะในพุทธศาสนาอยู่มากมาย ซึ่ง คติธรรมดอทคอม เป็นเว็บไซต์เก่าแก่ที่จดโดเมนมาตั้งแต่ปี 2549 มีคติธรรมและสื่อการเรียนรู้มากมาย มีทั้งผลงาน บทความ สื่อธรรมะในรูปมัลติมีเดีย อาทิ VCD DVD และ MP3 แล้วท่านก็มีผลงานออกทางทีวีบ่อยครั้งที่คอยเตือนสติทั้งต่อเยาวชน บุคคลทั่วไป นักการเมือง และนักบริหาร อาจเรียกได้ว่า คติธรรมของท่าน เด็กฟังได้ ผู้ใหญ่ฟังดี ผู้บริหารบ้านเมืองก็ยิ่งน่าฟัง

#เล่าสู่กันฟัง 63-006 พลัดหลงกัน แต่หากันจนเจอ ด้วยไอที

เมื่อเดินทางท่องเที่ยว
อาจด้วยโอกาสจาก #ชิมช้อปใช้
ที่ต้องไปต่างจังหวัด ไปเดิน ไปกิน ไปใช้จ่าย
ต่างบ้านต่างเมืองที่ไม่คุ้นชิน
มองไปทางไหนก็ไม่รู้จัก คนต่างเมืองเพียบ
ไม่อู้ภาษาแถวกาดที่อู้อู้อยู่ ฟังบ่าฮู้เรื่องเลย

แต่เทคโนโลยีช่วยได้
ตอนขับรถไปถึงปากทางเข้าตลาด
คนมากมาย รถก็ไม่มีที่จอด คนในรถก็อยากลง
พอลงแล้ว เอารถไปจอด แล้วค่อยเดินหากัน
นัดสถานที่ก็ไม่ได้ นัดเวลาก็ไม่ดี เดินเพลิน

จึงใช้ facebook messenger หรือ line
แชร์ตำแหน่ง #sharelivelocation
ทำให้รู้ว่าจอดรถที่ไหน เพื่อนอยู่ไหน
แต่ละคนอยู่ตรงไหนในระแวกนั้น
แล้วก็เดินไปหา ตำแหน่งปัจจุบัน
ก็จะเคลื่อนที่ตามไปด้วย
หากันจนเจอในที่สุด
หรือประยุกต์ใช้เรื่องติดตามตำแหน่งได้

คนที่เค้าเดินทางไปเป็นหมู่คณะเป็นประจำ
คงใช้ในทุกทริป เช่น เหตุการณ์ในหนัง
เรื่องกวนมึนโอ ที่พระเอกตกทัวร์
ที่นักท่องเที่ยวพลัดหลง ก็คงไม่เกิดขึ้น

https://www.iphonemod.net/how-to-share-realtime-location-on-fb-messager.html

https://www.androidpit.com/whatsapp-tips-tricks-share-live-location

#เล่าสู่กันฟัง 63-003 การเขียนรายการอ้างอิงตามแบบ APA

คู่มือการเขียนรายการอ้างอิงตามแบบ APA, 6th Edition
APA Referencing Guide, 6th Edition
(APA=American Psychological Association)

โดย บุญฑา วิศวไพศาล
จาก http://journal.human.cmu.ac.th/files/form2.pdf

ตัวอย่างเรียบเรียงจากหัวข้อ 5.3 การลงรายการบรรณานุกรมของสื่อประเภทต่าง ๆ

  1. แบบหนังสือ
    จุมพต สายสุนทร. (2552). กฎหมายระหว่างประเทศ(พิมพ์ครั้งที่8 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
    Harris, M. B. (1995). Basic statistics for behavioral science research. Boston: Allyn and Bacon.
    ปิยะ นากสงค์, และพันธุ์รวี วรสิทธิกุล. (2545). ดูหนังฟังเพลงเล่นเกมร้องคาราโอเกะ. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.
    สนอง วรอุไร. (2549). การทําชีวิตให้ได้ดีและมีสุข (พิมพ์ครั้งที่5). กรุงเทพฯ: อัมรินทร์.
    Harris, M. B. (1995). Basic statistics for behavioral science research. Boston: Allyn and Bacon.
    Creswell, J. W. (2003). Research design: Qualitative, quantitative and mixed method approaches (2nd.). CA: Sage.
    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. (2546). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
    วงศ์ วรรธนพิเชฐ. (2548). พจนานุกรมตัวอย่าง ประโยควลีภาษาอังกฤษพร้อมคําแปล. กรุงเทพฯ: ไทยเวย์ส พับลิเคชั่นส์.
    สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน. (2548). กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสําหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู๋หัว.
    หลากความคิด ชีวิตคนทํางาน. (2551). กรุงเทพฯ: แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
    Art of display: Culture shows. (2010). Hong Kong, China: Links International.
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สํานักหอสมุด. (2551). คู่มือการพิมพ์วิทยานิพนธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
    American Psychological Association. (2010). Publication Manual of the American Psychological Association (6th ed). Washington, DC: Author.
  2. แบบบทความในหนังสือ
    ณัฐพล ปัญญโสภณ. (2554). มุมมองของนักศึกษานิเทศศาสตร์ต่อกระบวนการผลิตละครเพื่อการสื่อสาร. ใน ชนัญชี ภังคานนท์(บ.ก.), กระบวนทัศน์มหาวิทยาลัยไทยบนความท้าทายของเอเชียแปซิฟิก(น. 23-24). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
    กิตติ ทองลงยา. (2524). นก. ใน สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่3) (น. 68-113). กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน.
    กาบู. (2544). ใน ประเสริฐ ณ นครและคณะ(คณะกรรมการชําระพจนานุกรม), พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (น. 112). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
    วงศ์ วรรธนพิเชฐ. (2547). Heart. ใน พจนานุกรมตัวอย่าง ประโยควลีภาษาอังกฤษพร้อมคําแปล (น. 483-484). กรุงเทพฯ: ไทยเวย์ส พับลิเคชั่นส์.
  3. แบบวารสาร
    ปิยะวิทย์ ทิพรส. (2553). การจัดการป้องกันและลดสารให้กลิ่นโคลน Geosmin ใน ผลิตภัณฑ์แปรรูปสัตว์น้ำ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 24(72),103-119.
    ศรัณย์ สาวะดี, และ ดัชกรณ์ ตันเจริญ. (2559). ระบบการจัดการงานประชุมวิชาการระดับชาติสำหรับสถาบันการศึกษาแห่งองค์กรธุรกิจ. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 8(3),229-241.
    ลําดวน เทียรฆนิธิกุล. (2552). เส้นทางเสด็จเยี่ยมราชสํานักต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีพ.ศ. 2443 –2444 (ร.ศ. 119 – 120). วชิราวุธานุสรณ์สาร, 28(4),29-39.
    Siriwongworawat, S. (2003). Use of ICT in Thai libraries: An overview. Program: Electronic Library and Information Systems, 37(1), 38-43.
    Tandra, R., Sahai, A., & Veeravalli, V. (2011, March). Unified space-time metrics to evaluate spectrum sensing. IEEE Communications Magazine, 49(3), 54-61.
  4. แบบการประชุมวิชาการ Proceeding
    ชัชพล มงคลิก. (2552). การประยุกต์ใช้กระบวนการลําดับชั้นเชิงวิเคราะห์ในการจัดตารางการผลิตแบบพหุเกณฑ์: กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมผลิตยา. ใน การประชุมวิชาการการบริหารและการจัดการครั้งที่ 5 (น. 46). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
    ธมนวรรณ กัญญาหัตถ์, และศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม. (2554). ความพึงพอใจของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อประโยชน์ของสมาร์ทโฟน. ใน ชนัญชี ภังคานนท์(บ.ก.), กระบวนทัศน์มหาวิทยาลัยไทยบนความท้าทายของเอเชียปาซิฟิก (น. 119-121). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
    จตุพร ตันติรังสี, และผุสดี บุญรอด. (2555). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้การสอนแบบ ADDIE Model วิชา การใช้โปรแกรมกราฟฟิก. ใน การประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 9 (น. 209-214). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
    Krongtaew, C., Messner, K., Hinterstoisser, B., & Fackler, K. (2010). Lignocellulosic structural changes after physico-chemical pretreatment monitored by near infrared spectroscopy. In S. Saranwong, S. Kasemsumran, W. Thanapase, & P. Williams (Eds.), Near infrared spectroscopy: Proceedings of the 14th International conference (pp. 193-198). West Sussex, UK: IMP.
    Soutar, G., & Mazzarol, T. W. (1995). Gaining competitive advantage in education services exports: Forward integration and strategic alliances in a maturing market. In G. Tower (Ed.), Proceeding of the Academy of International Business Southeast Asia Regional Conference, Asia Pacific International Business: Regional integration and global competitiveness (pp. 85-110). Perth: Murdoch University.
  5. แบบรายงานการวิจัย
    พินิจ ทิพย์มณี. (2553). การวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการตายของประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
    เฉลิมสิน สิงห์สนอง. (2553). การพัฒนาชุดการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในรายวิชาคณิตศาสตร์ธุรกิจสําหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์(รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
    Chitnomrath, T. (2011). A study of factors regarding firm characteristics that affect financing decisions of public companies listed on the stock exchange of Thailand (Research report). Bangkok: Dhurakij Pundit University.
  6. แบบปริญญานิพนธ์
    ก้องเกียรติ บูรณศรี. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นผู้ประกอบการขององค์การ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและผลการดําเนินงานของสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตขนาดกลางและขนาดใหญ่ในพื้นที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
    พิมล พร้อมมูล. (2555). การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการจัดการข้อมูลการควบคุมคุณภาพ (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
    Nickels, D. W. (2005). The relationship between IT-business alignment and organizational culture: An exploratory study (Doctoral dissertation). Memphis, TN: University of Memphis.
    วลัย วัฒนะศิริ. (2553). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมอุดมศึกษานานาชาติของไทยในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก http://www.dpu.ac.th/laic
    พัชรินทร์ บุญเทียม. (2553). หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ). สืบค้นจากhttp://www.dpu.ac.th/laic
    Sembiring, E. (2010). Integration of economics and social factors into optimization of solid wasted management system (Doctoral dissertation, Asian Institute of Technology, Pathum Thani). Retrieved from http://libopac.ait.ac.th/
    มานพ จันทร์เทศ. (2544). การนําเสนอรูปแบบการพัฒนานโยบายของสถาบันราชภัฏ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก http://tdc.thailis.or.th/tdc
    Oshi, D. (2009). Rural women and the financing of health care in Nigeria (Doctoral dissertation, Institute of Social Studies). Retrieved from http://libopac.ait.ac.th/
    Buckingham, J. T., LeBeau, L. S., & Klein, W. M. P. (2011). The performance versus ability distinction following social comparison feedback. Current Research in Social Psychology: An electronic journal. Retrieved June 23, 2011, from http://www.uiowa.edu/grpproc/crisp/crisp.html
  7. แบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
    สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย. (2554). จัดระเบียบสํานักงานทนายความ. สืบค้น 21 มิถุนายน 2554, จาก http://www.lawyerscouncil.or.th/2011/index.php?name=knowledge
    CNN Wire Staff. (2011). How U.S. forces killed Osama bin Laden. Retrieved May 3, 2011, from http://www.cnn.com/2011/WORLD/asiapcf/05/02/bin.laden.raid/index.html
    บงการ หอมนาน. (2551). เทคโนโลยีกับการควบคุมด้วยตรรกะฟัซซีตามขั้นตอนและฟังก์ชั่นสมาชิก. ไมโครคอมพิวเตอร์, 26(271), 153-156. สืบค้น 22 มิถุนายน 2554, จาก http://www.dpu.ac.th/laic/page.php?id=5753
    สุนันทา เลาวัณย์ศิริ. (2553). ธาตุอาหารหลักของน้ําสกัดชีวภาพแบบเข้มข้นจากขยะครัวเรือน. วารสารออนไลน์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 29(2). สืบค้น 21 มิถุนายน 2554, จาก http://www.journal.msu.ac.th/index.php?option=com_content&task=
  8. แบบหลายเล่มจบ
    พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, พระบาทสมเด็จพระ. (2553). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ (เล่ม 3) (พิมพ์ครั้งที่11). กรุงเทพฯ: บรรณกิจ1991.
    Miller, T. (Ed.). (2003). Television: Critical concepts in media and cultural studies (Vols. 1). London: Routledge.
  9. แบบหนังสือแปล
    เกรย์, เจ. (2552). ผู้ชายมาจากดาวอังคารผู้หญิงมาจากดาวศุกร์[Men are from mars, women are from venus] (สงกรานต์ จิตสุทธิภากร, ผู้แปลและเรียบเรียง) (พิมพ์ครั้งที่ 26). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
    Luang Poo Buddha Isara. (2008). Valuable adages of Luang Poo Buddha Isara (T. Wongamatasiri, & O. Limtasiri, Trans). Ratchaburi: Thammaruk.

http://www.thaiall.com/research/whatisresearch.htm

ประชุมคณะทำงานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปาง

9 ส.ค.62 มี การประชุมคณะทำงานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปาง ที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลำปาง เวลา 9.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลำปาง โดยคณะทำงานวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ ได้รับการประกาศแต่งตั้งโดย นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง และประธานกรรมการบริหารข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปาง เมื่อ 18 กรกฎาคม 2562 ซึ่งกรรมการชุดที่แต่งตั้งนี้มีทั้งสิ้น 36 คน มีหน้าที่ 5 ข้อ ดังนี้ 1) รวบรวม ศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในพื้นที่จังหวัดลำปาง เพื่อเป็นแนวทางการกำหนดฐานข้อมูล การจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ การวางแผนจัดทำงบประมาณ และการบริหารจัดการเชิงบูรณาการ 2) กำหนดกรอบฐานข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดลำปาง เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปาง 3) ประสานงานข้อมูลระหว่างหน่วยงาน นำเสนอความสัมพันธ์ของชุดข้อมูล และปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหา ในประเด็นยุทศศาสตร์ที่น่าสนใจ ปัจจัยความสำเร็จ ตัวชี้วัด เพื่อกำหนดข้อมูลสารสนเทศ และ สร้างความเข้าใจแนวทางการกำหนดฐานข้อมูล การออกแบบระบบ และการใช้งานระบบร่วมกัน 4) ดำเนินการเผยแพร่ โดยใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศ ประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจถึงทิศทาง และแนวโน้มในการพัฒนาการศึกษาจังหวัดลำปาง 5) ปฏิบัติภารกิจอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ส่วนคณะทำงานพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ ประกาศแต่งตั้งพร้อมชุดข้างต้น ซึ่งกรรมการชุดที่แต่งตั้งนี้มีทั้งสิ้น 27 คน มีหน้าที่ 5 ข้อ ดังนี้ 1) จัดเก็บ รวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านการศึกษา ให้ครบทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ให้มีความสมบูรณ์ ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในระดับพื้นที่ 2) วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาของจังหวัดที่มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย และสามารถให้บริการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) ทดลองและทดสอบระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ รวมทั้งการให้คำแนะนำ การแก้ไขปัญหา การใช้งานระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ 4) รายงานผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาประจำปี ให้คณะกรรมการบริหารข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปางทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง 5) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ซึ่งประธานคณะทำงานทั้งสองชุด ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม คือ นายบรรพ์ ใสแจ่ม ศึกษาธิการจังหวัดลำปาง ได้แจ้งเรื่อง ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการบริหารข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา พ.ศ.2560  และมีเรื่องเสนอพิจารณา 3 เรื่อง คือ  1) กำหนดกรอบฐานข้อมูลสารสนเทศ 2) การประสานงานข้อมูลระหว่างหน่วยงาน
3) แนวทางการกำหนดฐานข้อมูล

นายวิศนุพงศ์ ถ้ำทอง คณะทำงาน/เลขานุการ และผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน
ได้บรรยายตามสไลด์เรื่อง Big Data ของกระทรวงศึกษาธิการ
และนำเสนอ “สารสนเทศทางการศึกษา”
http://datacenter.lpgpeo.info/
และบรรยายเรื่อง “10 อาชีพในอนาคต ที่มีโอกาสประสบความสำเร็จอย่างสูงในไทย
https://www.kroobannok.com/79488

ระหว่างประชุมนั้น นายวิศนุพงศ์ ถ้ำทอง ทำหน้าที่เลขาฯ
– ได้เชิญกรรมการทุกท่านเข้ากลุ่มไลน์ เพื่อใช้สื่อสารกัน
– ได้สอบถามข้อมูลจากแต่ละสถานศึกษา
ว่าที่มีให้ และที่ต้องการ เพื่อเป็นข้อมูลไปประกอบการพัฒนาระบบ
ซึ่งสถาบันในระดับอุดมศึกษา ตัวแทนได้เสนอใช้ข้อมูลไปในทางเดียวกัน
ว่าเตรียมข้อมูลให้ได้ ตามที่เคยส่งให้กับสกอ. เป็นประจำทุกปี
ที่ http://www.data3.mua.go.th/dataS/

บรรยากาศในห้องประชุมบรรยากาศในห้องประชุม

ส่วนผมเสนอแนะในเบื้องต้น
ตามประเด็น “.. ปัจจัยความสำเร็จ ตัวชี้วัด เพื่อกำหนดข้อมูลสารสนเทศ ..
1. ให้สามารถสืบค้นข้อมูลตาม keyword จากระบบได้
เช่น เกาะคา ทุนการศึกษา ผลสอบ หรือ รางวัลพระราชทาน
2. ให้มี Top 10 หรือ Ranking จากข้อมูลที่มีอยู่
ก็จะเป็นข้อมูลสารสนเทศที่ผ่านการประมวลผล และช่วยสนับสนุนการตัดสินใจได้
3. ให้มีความเด่นเชิงสรุป เช่น โรงเรียนใดเด่นด้านใด หรือได้รางวัลอะไร หรืออยู่ระดับใด
ซึ่ง นายบรรพ์ ใสแจ่ม ศึกษาธิการจังหวัดลำปาง ได้เล่าความเด่นของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จิตต์อารี
หากมีข้อมูลแบบนี้ในเว็บไซต์ก็จะมีผู้ปกครองเข้ามาใช้ข้อมูลกันมาก
4. ให้สามารถค้นโรงเรียนใกล้เคียงเพื่อตัดสินใจศึกษาต่อ
ซึ่ง นายวิศนุพงศ์ ถ้ำทอง นำเสนอระบบ ว่าปัจจุบันสามารถแสดงผ่านระบบ GIS/Google Map ได้ดี

ข้อมูลจากโฮมเพจ “สารสนเทศทางการศึกษา
ที่พัฒนาไปแล้วระดับหนึ่ง นำเสนอข้อมูลลึกลงไปถึงข้อมูลส่วนบุคคล
หากผู้ใช้มีรหัสเข้าระบบตามสิทธิ ก็จะทราบได้ว่านักเรียนแต่ละคนมีข้อมูลอย่างไร
ซึ่งเก็บไว้ถึง 40 กว่าเขตข้อมูลสำหรับนักเรียนแต่ละคน
http://datacenter.lpgpeo.info/

เมนูสำหรับเข้าถึงสารสนเทศประกอบด้วย
– สารสนเทศทางการศึกษา 2561
– สภาพทั่วไปของจังหวัดลำปาง
– ข้อมูลและสถิติพื้นฐานด้านการศึกษา
– สารสนเทศภูมิศาสตร์
– ระบบข้อมูลประชากรวัยเรียน
– แบบประเมินความพึงพอใจ

ปล. ประชุมครั้งนี้พบมิตรสหายหลายท่าน
พบศิษย์เก่า ม.เนชั่น 2 คนทำงานอยู่ที่ศึกษาธิการจังหวัดลำปาง
พบ พระครูสังฆรักษ์ศุภณัฐ ภูริวฑฒโม ผอ.สำนักงานวิชาการ มจร.วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
พบคุณนงลักษณ์ ใจปลา นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ  สำนักงานจังหวัดลำปาง
และเพื่อนที่คุ้นหน้าคุ้นตาจากหลายหน่วยงาน

https://web.facebook.com/tourlampangna/posts/2444758279076904