การพิมพ์เอกสารเป็นภาพ

วันนี้ (27 พ.ค.65) ช่วยเพื่อนเตรียมโปสเตอร์ จากบทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยใช้สัดส่วน 8 นิ้ว * 18 นิ้ว ซึ่ง word สามารถรับเอกสารขนาดนี้ได้ การแปลงเอกสาร word ไปเป็น png โดยใช้โปรแกรม word นั้น ไม่สามารถทำได้โดยตรง ซึ่งผมเลือกวิธีการติดตั้ง pdfcreator ซึ่งใช้มานานตั้งแต่สมัยที่ถูกแนะนำในซีดีจันทราแล้ว

โดยเลือกพิมพ์ (print) แล้วเลือกเครื่องพิมพ์ชื่อ pdfcreator เมื่อเปิดโปรแแกรม pdfcreator ขึ้นมาโดยอัตโนมัตินั้น ก็ต้องเข้าไปเลือกแบบกำหนดขนาดเอง (Postscript custom page size) เนื่องจากขนาด 8 นิ้ว * 18 นิ้ว ไม่ใช่ขนาดกระดาษทั่วไปแบบ A4 หรือ Letter เมื่อกำหนดขนาดกระดาษเป็นตามที่ต้องการใน PDFCreator ขณะสั่ง print แล้ว พบว่า แฟ้ม png ที่ได้มีเนื้อหาถูกตัดหายไป หรือมาไม่เต็มหน้า

แล้วสังเกตว่า pdfcreator ที่ใช้อยู่เป็นรุ่น 1.7.2 ที่ติดตั้งมาตั้งแต่ปี 2562 เมื่อไปดูในเว็บไซต์ของซอฟต์แวร์พบว่า รุ่นใหม่คือ 4.4.2 จึงเลือก uninstall แล้ว install ใหม่ ผลปรากฎว่า ผลลัพธ์ในแฟ้ม pdf ออกมาครบตามเนื้อหาที่ได้จัดเตรียม

ร่างโปสเตอร์

ดัชนีความคล้ายคลึง

ตามที่ได้อ่านจาก thailibrary.in.th พบว่า Pharmaceutical and Biosciences Journal และ Bentham Science ได้ระบุในเงื่อนไขการรับบทความวารสารต้นฉบับเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ว่า อนุญาตให้มีความคล้ายคลึงกันโดยรวม 20% สำหรับต้นฉบับที่จะพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ และมีความคล้ายคลึงกันของข้อความจากแหล่งเดียวที่ยอมรับได้คือ 5% ดังนั้น เรื่อง “ดัชนีความคล้ายคลึง” ระบุให้ 1) ความคล้ายคลึงโดยรวมไม่เกินร้อยละ 20 2) ความคล้ายคลึงจากแหล่งเดียวกันไม่เกินร้อยละ 5 พบว่า บางสถาบันกำหนดละเอียดลงไปว่า “ส่วนของผลการวิจัยและอภิปรายผลต้องมีค่าไม่เกินร้อยละ 10” เป็นเงื่อนไขที่น่ายึดเป็นแนวปฏิบัติสำหรับนักวิชาการที่ต้องการตีพิมพ์ผลงาน และตรวจสอบความเหมือน ด้วย อักขราวิสุทธิ์

https://www.thaiall.com/research/apa.htm

thailibrary.in.th
ukjpb.com

ประวัติวัดบ้านต๋อมกลาง

วัดบ้านต๋อมกลาง ตั้งอยู่ที่หมู่ 4 ต.ต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา มีเนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน 45 ตารางวา
ประกาศตั้งวัด พ.ศ.2346 ผูกพันธสีมา พ.ศ.2350 ก่อนจะสร้างวัดนี้ขึ้น ได้มีราษฎรอพยพมาจาก อ.เมือง จ.ลำปาง เพื่อมาตั้งหลักฐานทำมาหากิน ในราว พ.ศ.2346 โดยมี พระภิกษุแสนภาพ เป็นประธาน พร้อมด้วยทายกทายิกา ก่อสร้างสำนักขึ้นเป็นสถานบำเพ็ญกุศล และได้ไปอาราธนานิมนต์ พระภิกษุพิมสาร จากวัดพระเจ้าทันใจ จังหวัดลำปาง มาเป็นประธานสร้างวัด และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส จนสิ้นอายุของท่าน ต่อมาลูกศิษย์ของท่านปกครอบสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

ต่อมาพระภิกษุคำมา ธมมวโส (สอนใจ) เป็นประธานพร้อมด้วยทายกทายิกา ได้ก่อสร้างอุโบสถขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2477 โดยใช้ที่ดินก่อตั้งวัด เดิมมีประมาณ 5 ไร่เศษ ต่อมาสร้างถนนตัดผ่าน แยกที่ออกเป็น 2 แปลง ที่ดินส่วนหนึ่งได้สร้างเป็นตาดสดขึ้นด้านทิศใต้ เพื่อเก็บผลประโยชน์บำรุงวัด ส่วนเขตที่ตั้งวัดและเขตที่ธรณีสงฆ์นั้นมีตามใบ น.ส.3 ของวัดแล้ว

ปี พ.ศ. 2521 พระภิกษุบุญมี วชิรญาโณ
เจ้าอาวาสพร้อมด้วยทายกทายิกา
ได้พร้อมกันซื้อที่ดินด้านทิศเหนือ
ในเนื้อที่ 2 งาน 70 ตารางวา
เพื่อขยายเขตวัดออกไป

สิ่งสำคัญประจำวัดนี้ได้แก่ พระวิหารจำลองหลังเล็ก ซึ่งแกะสลักด้วยมีภาพจิตกรรมของโบราณ ซึ่งพระพิมสาร เป็นผู้สร้าง นายแสงภาพเป็นประธานเจ้าภาพ สร้างเมื่อจุลศักราช 1216 ตรงกับพุทธศักราช 2397 วัดนี้เดิมเรียกว่า “วัดศรีดอนไชย” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “วัดบ้านต๋อมกลาง” จนถึงปัจจุบันนี้ เหตุที่เรียกชื่อวัดและหมู่บ้านนี้ อาศัยมูลเหตุมาจากลำแม่น้ำต๋อม

ผู้เรียบเรียงคือ พระอธิการบุญมี วชิราญาโณ (สอนใจ)

ประวัติวัดบ้านต๋อมกลาง

ผลการจัดอันดับ 2021-2022 ของ THE

Mahidol University

พบว่า Times Higher Education ได้ออกผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก
เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2564 เข้าไปดูผลการประเมินแต่ละรายการ ได้พบข้อมูลปี 2022 Rank ดังนี้

601–800 Mae Fah Luang University : Thailand
https://www.timeshighereducation.com/world-university-rankings/mae-fah-luang-university

  • Teaching : 15.0
  • Research : 12.0
  • Citations : 63.3
  • Industry Income : 36.0
  • International Outlook : 53.0

601–800 Mahidol University : Thailand
https://www.timeshighereducation.com/world-university-rankings/mahidol-university

  • Teaching : 33.5
  • Research : 22.4
  • Citations : 42.8
  • Industry Income : 76.2
  • International Outlook : 46.1

Times Higher Education World University Rankings ของประเทศสเปน ได้ออกรายงานเป็นประจำทุกปี โดยคุณภาพของมหาวิทยาลัยไม่ได้มีเฉพาะพันธกิจ 4 ด้านของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย (การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม) ซึ่งเกณฑ์การพิจารณาอันดับมหาวิทยาลัยแบ่งได้ 5 กลุ่มตัวบ่งชี้ ดังนี้

  1. Teaching (the learning environment – 30%) คือ คุณภาพการสอน สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียน
  2. Research (volume, income and reputation – 30%) คือ คุณภาพงานวิจัย ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียงของงานวิจัย
  3. Citations (research influence – 30%) คือ การอ้างอิงในงานวิจัย การนำงานวิจัยของสถาบันไปใช้อ้างอิง
  4. International outlook (staff, students and research – 7.5%) คือ ความเป็นนานาชาติจากสายตาภายนอก เจ้าหน้าที่ นักศึกษาและงานวิจัยนานาชาติ
  5. Industry income (knowledge transfer – 2.5%) คือ รายได้ทางอุตสาหกรรม นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ในวงวิชาการที่มหาวิทยาลัยได้คิดค้นขึ้น

https://www.thaiall.com/topstory/timeshighereducation_2021_2022.php

proceeding การประชุมทางวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ

การประชุมทางวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 18 เรื่อง ก้าวนำสังคมวิถีชีวิตใหม่ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม วันที่ 3 – 4 กรกฎาคม 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Yealink Meeging) มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

พบว่า มีผลงานวิชาการที่น่าสนใจหลายเรื่อง ที่อ่านทบทวนวรรณกรรมได้ เช่น 1) การคัดแยกแบคทีเรียจากข้าวแต๋นน้ำแตงโมราดน้ำอ้อย จังหวัดลำปาง 2) ความผูกพันของนิสิตระดับปริญญาตรีต่อมหาวิทยาลัยเนชั่น กรณีศึกษา นิสิตที่ได้รับทุนการศึกษาโครงการทุนการศึกษาปริญญาตรีเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเพื่อเยาวชนจังหวัดน่าน
โดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเนชั่น และธนาคารกสิกรไทย 3) ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการใช้สมาธิบำบัด SKT ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมไม่ได้และมีความเครียดร่วมด้วย ที่มารักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านศรีหมวดเกล้า ตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 4) ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโทกหัวช้าง ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 5) การพัฒนาหุ่นจำลองโทษพิษภัยบุหรี่ 6) การออกแบบตราสินค้าของกลุ่มผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 7) การสำรวจการบริหารจัดการองค์กรสาธารณประโยชน์และองค์กร สวัสดิการชุมชนในจังหวัดลำปาง 8) ผู้บริหารสถานศึกษากับการพัฒนาครูผู้สอนในยุคดิจิทัล 9) การจัดการศึกษากับเศรษฐกิจและสังคมไทย

https://www.facebook.com/groups/thaiebook/posts/2026731970810944

ผลสําเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรม


สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ขอเชิญเข้าร่วมรับฟังการชี้แจง กรอบการวิจัยและนวัตกรรม ประจําปีงบประมาณ 2565 และแถลงผลสําเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรม NRCT Open House 2021 ระหว่างวันที่ 18 – 25 กรกฎาคม 2564 ผ่านระบบออนไลน์ ใน 8 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (18 กรกฎาคม 2564) 2) ด้านการพัฒนาเส้นทางอาชีพนักวิจัยและนวัตกรรม และการวิจัยเพื่อฐานทางวิชาการ (19 กรกฎาคม 2564) 3) ด้านเศรษฐกิจและการเกษตร และด้านสัตว์เศรษฐกิจ (20 กรกฎาคม 2564) 4) ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม (21 กรกฎาคม 2564) 5) ด้านการรองรับสังคมสูงวัย (22 กรกฎาคม 2564) 6) ด้านสังคมและความมั่นคง (23 กรกฎาคม 2564) 7) ด้านการรองรับการระบาดของโรคโควิด-19และรองรับโรคติดต่ออุบัติใหม่ (24 กรกฎาคม 2564) 8) ด้านการจัดการความรู้การวิจัยและถ่ายทอดเพื่อการใช้ประโยชน์ (25 กรกฎาคม 2564)

https://openhouse2021.nrct.go.th/


https://www.facebook.com/nrctofficial/videos

https://www.scribd.com/document/516552580/

การวิจัยแบบผสมผสาน

วัลนิกา ฉลากบาง. (2560). การวิจัยแบบผสมผสาน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7(2), 124 – 132.


บทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสมผสานเป็นการวิจัยที่ได้รับอิทธิพลมาจากปรัชญาปฏิบัตินิยมที่ใช้วิธีวิทยาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพร่วมกันในการดำเนินการวิจัย เพื่อหาคำตอบของการวิจัยที่มีความครอบคลุม ลุ่มลึกและชัดเจน ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจในปรากฏการณ์ที่ศึกษา การวิจัยแบบผสมผสานสามารถจำแนกได้ 12 แบบแผน เช่น แบบแผนที่ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพคู่ขนานกัน โดยให้ความสำคัญกับทั้งสองวิธีอย่างเท่าเทียมกัน แบบแผนที่ดำเนินการไปตามลำดับก่อนหลัง โดยให้ความสำคัญกับวิธีวิจัยวิธีใดวิธีหนึ่งเป็นวิธีหลักแบบแผนที่ใช้วิธีวิจัยวิธีหนึ่งเป็นวิธีหลักและอีกวิธีหนึ่งเป็นวิธีรอง แต่ประเด็นที่ศึกษาด้วยวิธีหลักและวิธีรองไม่ใช่ประเด็นเดียวกันหรือ
ที่เรียกว่าแบบแผนรองรับภายใน เป็นต้น การจะเลือกใช้แบบแผนใดจะต้องคำนึงถึงคำถามวิจัยเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามนักวิจัยก็ไม่ควรนำวิธีวิทยาแบบใดแบบหนึ่งไปใช้อย่างผิวเผิน แต่จะต้องฝึกฝนตนเองให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทั้งวิธีเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj/article/download/86439/76194/

การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

การเผยแผ่พระพุทธศาสนา หมายถึง การนําคําสอนในพระพุทธศาสนาไปปรากฏต่อการรับรู้ของบุคคล กลุ่มบุคคลและมวลชน ผ่านสื่อต่าง ๆ ทั้งที่เป็นสื่อบุคคลและสื่อมวลชน โดยมุ่งหวังให้ผู้รับเข้าใจและนําไปปฏิบัติให้ เกิดประโยชน์ คือ สามารถสงบระงับกิเลสในระดับต่าง ๆ จนถึงพระนิพพาน

ซึ่งการเผยแผ่ศาสนาแต่เดิมเป็นการสื่อสารระดับบุคคล ซึ่งแบ่งเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) การสื่อสารในกลุ่ม (Group Communication) และการพูดในที่สาธารณะ (Public Speaking) การสื่อสารระดับบุคคลปรากฏอยู่ทุกรูปแบบในการเทศนาของพระพุทธเจ้าสู่พระสาวกและเวไนยสัตว์ การสั่งสอนพระธรรมของพระสาวกสู่ผู้คน แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากสภาพของสังคมมีความเปลี่ยนแปลงไป ทําให้รูปแบบของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต้องขยายตัวมาสู่สื่อมวลชน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนในสังคมให้มากที่สุด

อ่านจาก พระศรัญพัฒน์ (ชยจิตฺโต) แสงอุทัย และวันพิชิต ศรีสุข. (2562). รูปแบบและวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศมาเลเซียของสํานักสงฆ์จันทรัตนาราม ตําบลยะรม อําเภอเบตง จังหวัดยะลา. วารสาร สจล.ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(1), 32-39.

https://www.facebook.com/groups/thaiebook/permalink/1958869470930528

#เล่าสู่กันฟัง 63-003 การเขียนรายการอ้างอิงตามแบบ APA

คู่มือการเขียนรายการอ้างอิงตามแบบ APA, 6th Edition
APA Referencing Guide, 6th Edition
(APA=American Psychological Association)

โดย บุญฑา วิศวไพศาล
จาก http://journal.human.cmu.ac.th/files/form2.pdf

ตัวอย่างเรียบเรียงจากหัวข้อ 5.3 การลงรายการบรรณานุกรมของสื่อประเภทต่าง ๆ

  1. แบบหนังสือ
    จุมพต สายสุนทร. (2552). กฎหมายระหว่างประเทศ(พิมพ์ครั้งที่8 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
    Harris, M. B. (1995). Basic statistics for behavioral science research. Boston: Allyn and Bacon.
    ปิยะ นากสงค์, และพันธุ์รวี วรสิทธิกุล. (2545). ดูหนังฟังเพลงเล่นเกมร้องคาราโอเกะ. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.
    สนอง วรอุไร. (2549). การทําชีวิตให้ได้ดีและมีสุข (พิมพ์ครั้งที่5). กรุงเทพฯ: อัมรินทร์.
    Harris, M. B. (1995). Basic statistics for behavioral science research. Boston: Allyn and Bacon.
    Creswell, J. W. (2003). Research design: Qualitative, quantitative and mixed method approaches (2nd.). CA: Sage.
    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. (2546). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
    วงศ์ วรรธนพิเชฐ. (2548). พจนานุกรมตัวอย่าง ประโยควลีภาษาอังกฤษพร้อมคําแปล. กรุงเทพฯ: ไทยเวย์ส พับลิเคชั่นส์.
    สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน. (2548). กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสําหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู๋หัว.
    หลากความคิด ชีวิตคนทํางาน. (2551). กรุงเทพฯ: แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
    Art of display: Culture shows. (2010). Hong Kong, China: Links International.
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สํานักหอสมุด. (2551). คู่มือการพิมพ์วิทยานิพนธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
    American Psychological Association. (2010). Publication Manual of the American Psychological Association (6th ed). Washington, DC: Author.
  2. แบบบทความในหนังสือ
    ณัฐพล ปัญญโสภณ. (2554). มุมมองของนักศึกษานิเทศศาสตร์ต่อกระบวนการผลิตละครเพื่อการสื่อสาร. ใน ชนัญชี ภังคานนท์(บ.ก.), กระบวนทัศน์มหาวิทยาลัยไทยบนความท้าทายของเอเชียแปซิฟิก(น. 23-24). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
    กิตติ ทองลงยา. (2524). นก. ใน สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่3) (น. 68-113). กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน.
    กาบู. (2544). ใน ประเสริฐ ณ นครและคณะ(คณะกรรมการชําระพจนานุกรม), พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (น. 112). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
    วงศ์ วรรธนพิเชฐ. (2547). Heart. ใน พจนานุกรมตัวอย่าง ประโยควลีภาษาอังกฤษพร้อมคําแปล (น. 483-484). กรุงเทพฯ: ไทยเวย์ส พับลิเคชั่นส์.
  3. แบบวารสาร
    ปิยะวิทย์ ทิพรส. (2553). การจัดการป้องกันและลดสารให้กลิ่นโคลน Geosmin ใน ผลิตภัณฑ์แปรรูปสัตว์น้ำ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 24(72),103-119.
    ศรัณย์ สาวะดี, และ ดัชกรณ์ ตันเจริญ. (2559). ระบบการจัดการงานประชุมวิชาการระดับชาติสำหรับสถาบันการศึกษาแห่งองค์กรธุรกิจ. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 8(3),229-241.
    ลําดวน เทียรฆนิธิกุล. (2552). เส้นทางเสด็จเยี่ยมราชสํานักต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีพ.ศ. 2443 –2444 (ร.ศ. 119 – 120). วชิราวุธานุสรณ์สาร, 28(4),29-39.
    Siriwongworawat, S. (2003). Use of ICT in Thai libraries: An overview. Program: Electronic Library and Information Systems, 37(1), 38-43.
    Tandra, R., Sahai, A., & Veeravalli, V. (2011, March). Unified space-time metrics to evaluate spectrum sensing. IEEE Communications Magazine, 49(3), 54-61.
  4. แบบการประชุมวิชาการ Proceeding
    ชัชพล มงคลิก. (2552). การประยุกต์ใช้กระบวนการลําดับชั้นเชิงวิเคราะห์ในการจัดตารางการผลิตแบบพหุเกณฑ์: กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมผลิตยา. ใน การประชุมวิชาการการบริหารและการจัดการครั้งที่ 5 (น. 46). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
    ธมนวรรณ กัญญาหัตถ์, และศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม. (2554). ความพึงพอใจของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อประโยชน์ของสมาร์ทโฟน. ใน ชนัญชี ภังคานนท์(บ.ก.), กระบวนทัศน์มหาวิทยาลัยไทยบนความท้าทายของเอเชียปาซิฟิก (น. 119-121). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
    จตุพร ตันติรังสี, และผุสดี บุญรอด. (2555). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้การสอนแบบ ADDIE Model วิชา การใช้โปรแกรมกราฟฟิก. ใน การประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 9 (น. 209-214). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
    Krongtaew, C., Messner, K., Hinterstoisser, B., & Fackler, K. (2010). Lignocellulosic structural changes after physico-chemical pretreatment monitored by near infrared spectroscopy. In S. Saranwong, S. Kasemsumran, W. Thanapase, & P. Williams (Eds.), Near infrared spectroscopy: Proceedings of the 14th International conference (pp. 193-198). West Sussex, UK: IMP.
    Soutar, G., & Mazzarol, T. W. (1995). Gaining competitive advantage in education services exports: Forward integration and strategic alliances in a maturing market. In G. Tower (Ed.), Proceeding of the Academy of International Business Southeast Asia Regional Conference, Asia Pacific International Business: Regional integration and global competitiveness (pp. 85-110). Perth: Murdoch University.
  5. แบบรายงานการวิจัย
    พินิจ ทิพย์มณี. (2553). การวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการตายของประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
    เฉลิมสิน สิงห์สนอง. (2553). การพัฒนาชุดการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในรายวิชาคณิตศาสตร์ธุรกิจสําหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์(รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
    Chitnomrath, T. (2011). A study of factors regarding firm characteristics that affect financing decisions of public companies listed on the stock exchange of Thailand (Research report). Bangkok: Dhurakij Pundit University.
  6. แบบปริญญานิพนธ์
    ก้องเกียรติ บูรณศรี. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นผู้ประกอบการขององค์การ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและผลการดําเนินงานของสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตขนาดกลางและขนาดใหญ่ในพื้นที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
    พิมล พร้อมมูล. (2555). การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการจัดการข้อมูลการควบคุมคุณภาพ (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
    Nickels, D. W. (2005). The relationship between IT-business alignment and organizational culture: An exploratory study (Doctoral dissertation). Memphis, TN: University of Memphis.
    วลัย วัฒนะศิริ. (2553). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมอุดมศึกษานานาชาติของไทยในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก http://www.dpu.ac.th/laic
    พัชรินทร์ บุญเทียม. (2553). หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ). สืบค้นจากhttp://www.dpu.ac.th/laic
    Sembiring, E. (2010). Integration of economics and social factors into optimization of solid wasted management system (Doctoral dissertation, Asian Institute of Technology, Pathum Thani). Retrieved from http://libopac.ait.ac.th/
    มานพ จันทร์เทศ. (2544). การนําเสนอรูปแบบการพัฒนานโยบายของสถาบันราชภัฏ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก http://tdc.thailis.or.th/tdc
    Oshi, D. (2009). Rural women and the financing of health care in Nigeria (Doctoral dissertation, Institute of Social Studies). Retrieved from http://libopac.ait.ac.th/
    Buckingham, J. T., LeBeau, L. S., & Klein, W. M. P. (2011). The performance versus ability distinction following social comparison feedback. Current Research in Social Psychology: An electronic journal. Retrieved June 23, 2011, from http://www.uiowa.edu/grpproc/crisp/crisp.html
  7. แบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
    สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย. (2554). จัดระเบียบสํานักงานทนายความ. สืบค้น 21 มิถุนายน 2554, จาก http://www.lawyerscouncil.or.th/2011/index.php?name=knowledge
    CNN Wire Staff. (2011). How U.S. forces killed Osama bin Laden. Retrieved May 3, 2011, from http://www.cnn.com/2011/WORLD/asiapcf/05/02/bin.laden.raid/index.html
    บงการ หอมนาน. (2551). เทคโนโลยีกับการควบคุมด้วยตรรกะฟัซซีตามขั้นตอนและฟังก์ชั่นสมาชิก. ไมโครคอมพิวเตอร์, 26(271), 153-156. สืบค้น 22 มิถุนายน 2554, จาก http://www.dpu.ac.th/laic/page.php?id=5753
    สุนันทา เลาวัณย์ศิริ. (2553). ธาตุอาหารหลักของน้ําสกัดชีวภาพแบบเข้มข้นจากขยะครัวเรือน. วารสารออนไลน์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 29(2). สืบค้น 21 มิถุนายน 2554, จาก http://www.journal.msu.ac.th/index.php?option=com_content&task=
  8. แบบหลายเล่มจบ
    พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, พระบาทสมเด็จพระ. (2553). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ (เล่ม 3) (พิมพ์ครั้งที่11). กรุงเทพฯ: บรรณกิจ1991.
    Miller, T. (Ed.). (2003). Television: Critical concepts in media and cultural studies (Vols. 1). London: Routledge.
  9. แบบหนังสือแปล
    เกรย์, เจ. (2552). ผู้ชายมาจากดาวอังคารผู้หญิงมาจากดาวศุกร์[Men are from mars, women are from venus] (สงกรานต์ จิตสุทธิภากร, ผู้แปลและเรียบเรียง) (พิมพ์ครั้งที่ 26). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
    Luang Poo Buddha Isara. (2008). Valuable adages of Luang Poo Buddha Isara (T. Wongamatasiri, & O. Limtasiri, Trans). Ratchaburi: Thammaruk.

http://www.thaiall.com/research/whatisresearch.htm

เล่าเรื่องวิจัย 62/1 จากตัวอย่างที่ดีของ ม.เวสเทิร์น

เล่าเรื่องวิจัย 62/1 จากตัวอย่างที่ดีของ ม.เวสเทิร์น

หลังฟัง รศ.ดร.กัญญามล กาญจนาทวีกูล เล่าเรื่องรับรองวิทยฐานะและประกันภายใน
เป็นเวลา 2 วัน ระหว่าง 27 – 28 พฤษภาคม 2562
ทำให้นึกถึงงานวิจัย โดยเฉพาะการได้คะแนนตัวบ่งชี้ 4.2 ระดับหลักสูตร

คู่มือ การรับรองวิทยฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สำหรับคณะกรรมการพิจารณารับรองวิทยฐานะ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน


มองเว็บไซต์ สำนักวิจัยและบริการวิชาการ พบแนวทางมากมาย
หัวหน้าสำนัก คือ อาจารย์วรรณพร พุทธภูมิพิทักษ์
ดูแลโดย รองศาสตราจารย์ ดร.กัญญามน กาญจนาทวีกูล ผู้ช่วยอธิการบดี
มีประเด็นที่น่าสนใจ นำมาเล่าต่อว่า
1. หน่วยงานสนับสนุนงานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษานั้น
มีสิ่งที่ต้องมีอย่างน้อย คือ ระบบและกลไก เพื่อให้การขับเคลื่อนงานเป็นไปได้
+ คู่มือจรรยาบรรณนักวิจัย
+ คู่มือการขอรับทุนอุดหนุนการวิจัย
+ กระบวนการดำเนินงานวิจัย
+ กระบวนการทำสัญญา
+ ตัวอย่างสัญญาทุนวิจัย
+ ปฏิทินทุนวิจัย
+ แบบฟอร์มโครงร่างวิจัยปีการศึกษา 2561
+ แบบฟอร์มหน้าลายเซ็นสัญญาปีการศึกษา 2561
+ แบบฟอร์มรายงานความก้าวหน้างานวิจัย
+ ยุทธศาสตร์การวิจัยและวัฒนธรรม
+ แบบฟอร์มการขอรับคำปรึกษาคลินิกวิจัย
+ ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการวิจัยและบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น พ.ศ.2561
+ ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิจัยและบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น พ.ศ.2561
+ แบบฟอร์มโครงร่างการขอทุนวิจัยปี 2561
+ แบบฟอร์มหน้าลายเซ็นสัญญา

+ ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการวิจัยและบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น พ.ศ.2561
+ ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิจัยและบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น พ.ศ.2561

2. สิ่งที่เห็นจาก กระบวนการดำเนินงานวิจัย คือ ประกาศงบประมาณ ก่อนเปิดภาคการศึกษา
ทั้งงานวิจัยและบริการวิชาการ มีตัวอย่างเอกสารในปีการศึกษา 2561 ดังนี้
ประกาศ เรื่อง ประมาณการรายละเอียดเงินสนับสนุนการบริการวิชาการแก่สังคม 2561
ประกาศ เรื่อง ประมาณการรายละเอียดเงินสนับสนุนการวิจัยปีการศึกษา 2561

3. แหล่งสืบค้นงานวิจัยที่แนะนำของมหาวิทยาลัย
http://it.nation.ac.th/research/
ภายนอก อาทิ สำนักหอสมุด, proquest, iglibrary, journal online, thaijo, thailis

4. ตารางการติดตามหลักสูตรและคณะวิชา
เพื่อใช้ติดตามว่าขณะนี้ระดับคะแนน มากกว่า 3.01 หมายถึง ระดับดีขึ้นไปหรือไม่

5. การวิจัยเป็นสิ่งที่ต้องทำ KM สอดรับกับประเด็น Risk
การทำ Cop (Community of Practice) วิจัย เพื่อให้เขียน proposal
เสนอมหาวิทยาลัยให้ทันยื่นก่อนเปิดภาคการศึกษา จึงเป็นสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการ

6. เล่าเรื่อง KM ก่อนหน้านี้
อบรมความรู้เรื่องการทำวิจัยเชิงคุณภาพ
ที่บุคลากรส่วนใหญ่มีความต้องการรับการพัฒนา
เป็นผลจากการวิเคราะห์ Risk ด้านการวิจัย
จึงได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ คือ ดร. ถาวร ล่อกา (Thaworn Lorga, Ph.D.)
ดูแลกิจกรรมโดย คณะพยาบาลศาสตร์ 14-15 มีนาคม 2562
เมื่อคณะวิชาต่าง ๆ ได้รับการอบรมแล้ว และนำไปดำเนินการในคณะวิชาของตน
มหาวิทยาลัยได้จัดโครงการการจัดการความรู้ และกำกับติดตามการจัดการความรู้ อีกครั้ง
วิทยากรโดย ดร.สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์ คณบดีคณะพยาบาล
ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 13.00-15.00น.

7. ต่อจากนี้ก็จะมีการขมวดความรู้เฉพาะกลุ่มวิจัย
เพื่อขมวดความรู้ และเรียนรู้ตามกระบวนการ
KV (Knowledge Vision)
KS (Knowledge Sharing)
KA (Knowledge Assets)
ซึ่งอาจรวมไปถึงการเขียน proposal ขอทุนวิจัย
สำหรับปีการศึกษา 2562

8. เกณฑ์สนับสนุนการวิจัย และบริการวิชาการ
+ หลักเกณฑ์การกำหนดค่าใช้จ่ายกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการสังคม
+ เกณฑ์การพิจารณาโครงการวิจัยและค่าใช้จ่าย