แผนภาพแสดง ความสัมพันธ์ของประเด็นในโครงการวิจัยร่มใหญ่ที่บูรณาการความชำนาญจากแต่ละสถาบัน ที่ได้ประเด็นจากชุมชนที่ผ่านการวิเคราะห์ชุมชนอย่างมีส่วนร่วม เป็นการยกร่างภาพที่มองเห็นจากกระดาษในเวทีแรก แล้วแปลงเป็น PPT เพื่อนำเสนอในเวทีที่สอง ต่อกรรมการผู้พิจารณาให้ทุน และติดตามผล
http://www.thaiall.com/research/nikompattana/nation_mcu_umbrella.ppt
Category: งานวิจัย
วิจัย คือ การตั้งคำถาม แล้วดำเนินการ เพื่อหาคำตอบ หรือ กระบวนการคิด แล้วทำอย่างเป็นระบบ เพื่อค้นหาองค์ความรู้ใหม่
กลุ่มเฉพาะที่นิคมใหม่พัฒนากับประเด็นการศึกษา
19ก.พ.54 จัดกลุ่มเฉพาะ (focus group) ที่ศาลาอเนกประสงค์ อบต.นิคมใหม่พัฒนา ลำปาง เป็นกิจกรรมที่ 3 ตามรายละเอียดในโครงการ แนวทางการทำงานร่วมกันของเครือข่ายสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยลำปาง เพื่อเรียนรู้และเสริมศักยภาพชุมชน ครั้งนี้หารือประเด็นการศึกษา เปิดให้คนในชุมชนได้กำหนดเป้าหมาย และวิเคราะห์ swot ข้อสรุปตามที่คาดหวังคือแนวทางการแก้ไข หรือชื่อกิจกรรมที่เสนอโดยคนในชุมชน แต่สรุปกันช่วงบ่ายว่าต้องพิจารณาร่วมกับประเด็นที่จะเก็บจากเวทีต่อไปอีกหลายครั้ง จึงจะจัดทำโครงการที่เป็นร่มใหญ่ สำหรับยุทธศาสตร์การศึกษา และมีประเด็นที่เกี่ยวข้องในร่มนี้ ทั้ง การศึกษา เกษตร อาชีพ และสุขภาพ ซึ่งทุกมหาวิทยาลัยต้องร่วมกันทำงานกันต่อไปอย่างใกล้ชิด .. ผู้ช่วยนักวิจัยของโครงการสรุปว่ามี 2 ท่านคือ น้องดุล และน้องปาล์ม
+ http://www.thaiall.com/freemind/
+ http://www.facebook.com/album.php?aid=252644&id=814248894
ตรวจสอบความเที่ยงตรง (Validity) ของงานวิจัย
4 ก.พ.54 สรุปย่อเกี่ยวกับความเที่ยงตรง (validity) จากการฟัง อ.ทันฉลอง รุ่งวิทู บรรยายเรื่อง งานวิจัย โดยนำเสนอผ่านกรณีศึกษาที่เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม
1. face Validity ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านประเด็น construct ด้วยการพบหน้าโดยตรง
2. convergent validity ตรวจว่าประเด็นคำถามใช้กับกลุ่มคำถามกลุ่มนั้น เพราะแบบสอบถามมีหลายกลุ่มคำถาม ไม่ใช่ถามนอกกลุ่ม หรือนอกเรื่อง
3. discriminant validity ตรวจว่าประเด็นคำถามถูกใช้นอกกลุ่มคำถามไม่ได้ ถ้าย้ายกลุ่มได้ หรือใช้มากกว่าหนึ่งกลุ่ม แสดงว่าเป็นคำถามที่ไม่ดี
4. content validity ตรวจว่ามีวรรณกรรมอ้างอิง อธิบายประเด็นรายละเอียดที่จะนำมาใช้ในแบบสอบถามอย่างชัดเจน
5. construct validity ตรวจว่ามีวรรณกรรมอ้างอิง อธิบายประเด็นในวัตถุประสงค์ครบถ้วน
6. internal validity ตรวจว่ามีวรรณกรรมอ้างอิง อธิบายการเชื่อมโยงระหว่างประเด็น หรือความสัมพันธ์ที่ชัดเจน เช่น วัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาความสัมพันธ์ ก็ต้องมีวรรณกรรมที่กล่าวถึงความสัมพันธ์นั้นอย่างชัดเจน
7. external validity ตรวจว่าสามารถใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างเฉพาะกลุ่ม นอกกลุ่ม หรือทั่วไป แล้วผลไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ถามพฤติกรรมรักในวัยเรียนของนักเรียนในโรงเรียนกวดวิชากรุงเทพ ย่อมต่างกับนักเรียนในชนบท ถ้าใช้กลุ่มอื่นได้แสดงว่ามีความเชื่อมั่นแบบนี้
http://changingminds.org/explanations/research/design/types_validity.htm
http://linguistics.byu.edu/faculty/henrichsenl/researchmethods/RM_2_18.html
http://www.activecampaign.com/blog/validity-in-research-design/
http://www.socialresearchmethods.net/kb/introval.php
งานวิจัยของเครือข่ายสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง
สกว. และสถาบันคลังสมองของชาติ ให้ทุนอาจารย์มหาวิทยาลัยในจังหวัดลำปาง และมีอาจารย์ในลำปางหลายท่านรับทุน อาทิ อาจารย์อัศนี ณ น่าน อาจารย์วิเชพ ใจบุญ อาจารย์เบญจวรรณ นันทชัย และผม ร่วมเป็นนักวิจัย รับทุนรวม 3 ระยะ โดยหัวหน้าโครงการคือ ผศ.ดร.ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล รับทุนรวม 490,250 บาท สำหรับ 1 ปี 6 เดือน หลังประชุมใหญ่ร่วมกับชุมชนครั้งแรก พบประเด็นทั้งหมด 6 ประเด็น คือ การศึกษา การเกษตร กลุ่มอาชีพ สุขภาพ เยาวชน และสิ่งแวดล้อม
ผลการประชุมทีมวิจัย และนัดหมายใน 6 เดือนแรกเบื้องต้น (เข้าชุมชนตามลำดับ 4 ประเด็นแรกข้างต้น) ดังนี้ 1) 19 ก.พ.54 2) 12 มี.ค.54 3) 8 เม.ย.54 และ 4) 23 เม.ย.54 (สำหรับวันที่ 23 เม.ย.54 มหาวิทยาลัยโยนกเป็นเจ้าภาพ กำกับการประชุมกับชุมชน ประเด็นสุขภาพ) ถ้าเข้าพื้นที่ตามแผนในแต่ละประเด็นแล้ว แต่ละกลุ่มวิชาการ หรือกลุ่มมหาวิทยาลัย สามารถเขียนข้อเสนอประมาณ 5 โครงการ เพื่อใช้ทำงานในระยะที่ 2 โครงการละ 20,000 บาท ทำให้การเข้าชุมชนตามประเด็นข้างต้น นำไปสู่การเขียนข้อเสนอโครงการ และทำงานต่อในระยะที่ 2 ร่วมกันของนักวิชาการในจังหวัดลำปาง สำหรับระยะที่สามเป็นบทบาทของคลังสมองจะมาสังเคราะห์บทเรียน
ยอดผู้เข้าร่วมประชุมจาก ทีมมทร. 2 ท่าน โยนก 2 ท่าน นศ. 10 คน กศน. 1 ท่าน มรภ. 3 และอาจารย์ที่สนใจอีก 2 ท่าน ทีมสกว.ฝ่ายท้องถิ่น และสกว.ลำปาง นอกจากนี้ยังมีทีมพื้นที่ที่เป็นตัวแทนของทั้ง 14 หมู่บ้าน ประมาณ 3-5 คน ค่ะ
หมายเหตุ
โครงการวิจัย “แนวทางการทำงานของเครือข่ายสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปางเพื่อสร้างการเรียนรู้และเสริมศักยภาพชุมชนพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง”
มีข้อเสนอโครงการ
ที่ http://www.thaiall.com/research/lampangnet/proposal_lpnet_5401.zip
การจัดการความรู้
18 พ.ย.53 มหาวิทยาลัยโยนกมีโฮมเพจ “การจัดการความรู้” เผยแพร่ที่ http://www.yonok.ac.th/km ซึ่งมีแผนการจัดการความรู้ ประเด็นการจัดการความรู้ 2 เรื่อง คือ 1) ประเด็นการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยกระบวนการวิจัย 2) ประเด็นการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน ซึ่งมีโครงการจำนวน 3 โครงการตามแผนคือ โครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย โครงการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษา โครงการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหาร ซึ่งอาจารย์หลายท่านรับนโยบายมาดำเนินการอย่างต่อเนื่อง อาทิ การเรียนการสอนผ่าน video conference การจัดเวทีให้นักศึกษานำเสนอผลงานแบบสร้างสรรค์ แล้วรับการวิพากษ์ในห้องประชุมใหญ่
ร่างโครงการ ช่วงพัฒนาโจทย์
11 พ.ย.53 รายงาน ขอเล่าให้เพื่อนผู้อาสาร่วมทีมวิจัยเพื่อท้องถิ่นว่า .. ช่วงเช้าเข้าพบทีมวิจัยหลายท่านล้วนเป็นผู้มีความพร้อมหลายประการ บัดนี้ได้แล้ว 9 ขุนศึก ที่จะร่วมเป็นนักวิจัยในโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น โดยเลือกพื้นที่เป็นสถาบันระดับอุดมศึกษา จากการหารือในช่วงพัฒนาโจทย์นี้ และได้คำตอบเพิ่มเติมหลายประเด็น เช่น หลักสูตร คณะ และชั้นปี ปรับรายละเอียดกิจกรรม และการใช้งบประมาณเพิ่มเติม ปรับคำถามการวิจัยใหม่โดย อ.เบญ ปรับเพิ่มกิจกรรมโดย อ.หนุ่ย ผู้เป็นขุนศึกษาคนสุดท้ายที่อาสาเข้ามาพัฒนาชุมชนโยนกคนสุดท้าย และ brief ให้ท่านอธิการฟังแล้ว .. บัดนี้ปรับรายละเอียดโครงการรอบ 2 ก่อน อ.ธวัชชัย จะนำไปปรับใหญ่ แล้วจะมีการนำเสนอในเวทีของ 9 ขุนศึกต่อไป เอกสารข้อเสนอโครงการยกร่างรุ่น 2 พร้อมชื่อ อีเมล และ fb ในทีม ที่ http://www.yonok.ac.th/doc/burin/proposal_class_process_v2_531111.doc
น.ศ.เรียนรู้ผ่านการวิจัย
9 พ.ย.53 มีคำสำคัญ 2 คำที่ผมนำเสนอใน เวทีพัฒนาโจทย์วิจัยหรือเหลาโจทย์ หลังยกร่างให้กับทีมแล้ว คือ 1) สร้างตัวคูณ และ 2) วิจัยซ้อนวิจัย โดยผู้ร่วมวิจัยเป็นทั้งผู้ถูกสร้าง และผู้สร้าง ผู้ร่วมวิจัยเป็นผู้วิจัย และทำให้นักศึกษาเป็นนักวิจัยเพื่อการเรียนรู้ ถ้าในทีมวิจัยรู้ว่างานวิจัยนี้เป็นงานของตนเอง โอกาสประสบความสำเร็จเกิดขึ้นแล้ว แต่ถ้าในทีมคิดว่างานนี้เป็นงานของใครคนใดคนหนึ่ง เป้าหมายของความสำเร็จลดลงไปแล้วครึ่งหนึ่ง .. ความยากของการทำงานคือทัศนคติ ที่จะแก้ปัญหาความยาก 4 ข้อที่ผมนำเสนอในเวทีคือ 1) กระบวนการไม่มีรูปแบบชัดเจน 2) ไม่ถูกยอมรับแพร่หลายในแวดวงวิชาการ 3) ทัศนคติทำให้เข้าใจยาก 4) โครงสร้างในสถาบันมักไม่เอื้ออย่างชัดเจน .. ปัจจุบันมีผู้ร่วมทีมแล้ว 8 คน .. เพราะข้อเสนอหนึ่งจากในวางทำให้ผมต้องใช้หลักการเป็นตัวแทน ที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการทิ้งงานของนักวิจัย ซึ่งเป็นหลักที่มีการพูดคุยกันในการวิจัยเพื่อท้องถิ่นบ่อยครั้ง การเพิ่มจำนวนจึงลดความเสี่ยงในการเสียทีมไประหว่างการทำงาน .. ขณะนี้รองหัวหน้าโครงการคือ อ.ธวัชชัย เข้าใจแล้วว่าเขาเป็นเจ้าของโครงการ และอาสาช่วยยกร่าง ส่วนเหรัญญิกผมทาบอ.อ้อมไว้แล้ว .. มีหลักสูตร และชั้นปีที่เข้ามาในชุมชนหลากหลายแล้ว เหลือที่ควรทาบทามอีก 2 – 3 คน
ผมชอบมองหาหลุมทราย และบ่อน้ำในการตีกอล์ฟ เพื่อหาทางหลบให้ไปถึงหลุม .. นี่ผมคิดอย่างคนไม่ตีกอล์ฟครับ
http://www.facebook.com/album.php?aid=252858&id=814248894
บันได 5 ขั้นของงานวิจัยท้องถิ่น
10 ต.ค.53 ได้ฟัง รศ.ดร.ชูเกียรติ ลีสุวรรณ วิพากษ์งานวิจัย “โครงการการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตน้ำดื่ม ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน ต.บ้านสา อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง” โดยมี อ.แมว กับ อ.แหม่ม เป็นแกนนำของผู้นำเสนอ โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการวิพากษ์ท่านใช้ บันได 5 ขั้นของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ซึ่งผมจับประเด็นได้ดังนี้ 1) เป็นความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่น 2) ความรู้ที่ได้ย้อนกลับให้ท้องถิ่น 3) ท้องถิ่นเป็นเจ้าของ 4) ทำโดยคนในท้องถิ่น 5) ใช้กรอบความคิดของท้องถิ่นเป็นหลัก
วิจัยร่วม พื้นที่ ต.นิคมใหม่พัฒนา
9 พ.ย.53 คุณภัทรา มาน้อย ชักชวนให้เครือข่ายสถาบันการศึกษาร่วมกันพัฒนาโจทย์วิจัย จนได้ชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า “แนวทางการทำงานร่วมกันของเครือข่ายสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยลำปาง เพื่อเรียนรู้และเสริมศักยภาพชุมชน” ใช้พื้นที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นพื้นที่ในการสร้างการเรียนรู้ของเครือข่ายสถาบันการศึกษา ประกอบไปด้วย มทร. มรภ. มยน. มจร. และกศน. ซึ่งมีเป้าหมาย 2 ประการ คือ 1) เพื่อสร้างแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายการศึกษาลำปาง 2) เพื่อสร้างแนวการทำงานของเครือข่ายสถาบันการศึกษากับชุมชน โดยเน้นการใช้กระบวนการทางการศึกษาแก้ไขปัญหาชุมชน เบื้องต้นมีการบ้านให้เครือข่ายช่วยเพิ่มเติมข้อมูล 1.ประเด็นคือ แนวทาง/ความคาดหวังของสถาบันการศึกษา(หรือชุมชนในพื้นที่)ต่อรูปแบบของการทำงานร่วมกัน ซึ่งทางศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดลำปางจะยกร่างข้อเสนอโครงการ และส่งให้เครือข่ายพิจารณาเพื่อนำเข้าสู่วงพิจารณากลไกภาคเหนือต่อไป ทั้งนี้รูปธรรมที่เกิดขึ้นเป็นแนวทางของการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันคลังสมองของชาติและสกว.ฝ่ายวิจัยท้องถิ่น โครงการนี้มีตัวแทนจากมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา ตัวแทนละ 3-5 คน รวมทั้งนักวิจัยในพื้นที่เป็นทีมวิจัย มีหัวหน้าโครงการที่ได้รับการเสนอชื่อ คือ ผศ.ดร.ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล จาก มรภ.ลำปาง เป็นหัวหน้าโครงการ
ผลประเมินจากเวทีวิจัยในชั้นเรียน
20 ต.ค.53 ผลประเมินความพึงพอใจต่อเวทีวิจัยในชั้นเรียน 2553 (แบบกัลยาณมิตร) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีจำนวน 5 ใน 6 หัวข้อ ซึ่งข้อที่แตกต่างหนึ่งข้อนั้นมีระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด คือ ประโยชน์ที่ได้รับ .. ทีแรกคิดว่า 1) ห้องสัมมนาจะมีความพึงพอใจต่ำสุด เพราะมีเพื่อนหลายคนนิยมนั่งหลังเพื่อปฏิบัติภารกิจบางประการ แต่ผมจัดเวทีในรูปเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เปิดให้ทุกคนมีบทบาทเสมอกัน (อาจมีบางท่านคิดว่าเสมอภาคย่อมไม่ยุติธรรม) ส่วนประเด็นที่อยากกล่าวถึงมี 4 ประเด็น คือ 1) ระยะเวลา พอใจต่ำสุด น่าจะเกิดจากเปิดให้มีการแลกเปลี่ยนกัน แต่จำกัดเพียง 2 ชม. หลายคนจึงไม่มีโอกาสได้แสดงทัศนะของตนเอง 2) ผู้้นำเสนอผลงาน ต่ำรองลงมา เพราะในจำนวน 4 ชิ้นงานมีผู้สะดวกมานำเสนอเพียง 2 ชิ้นงาน อีกปัญหาต่อผู้นำเสนอคือ จำกัดเวลาด้วยวิธีการนำเสนอ ซึ่งต้องแลกกับรูปแบบการจัดเวทีแบบเปิด 3) เอกสาร ที่แจกให้ทุกคนมีเพียงบทคัดย่อ ไม่แจกล่วงหน้า ไม่มีรูปแบบมาตรฐาน และไม่มีความสมบูรณ์ในการเป็นบทคัดย่อของงานวิจัย 4) ประโยชน์ที่ได้รับ ผู้ร่วมเวทีได้ทราบนโยบายที่มีความชัดเจน อาจารย์หลายท่านกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ประทับใจนโยบายชัดเจน นักวิชาการจากภายนอกมีความชำนาญขั้นพระอินทร์ในการจัดเวทีเสวนาแบบนี้ได้ชวนคนในวงให้พูดคุยและก็ชวนได้สำเร็จ (ตอนแรกผมนึกว่าจะปิดประชุมในชั่วโมงแรกซะแล้ว เพราะมีน้ำแข็งเกาะใจผมอยู่) อ.แม็ค เป็นผู้จุดประเด็นให้เวทีมีรสชาติ เกิดการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย สุดท้ายท่านอธิการนำเวทีกลับเข้าสู่การวิพากษ์บทคัดย่อได้สำเร็จ แล้วนำไปสู่การพัฒนาในอนาคตต่อไป .. ที่เขียนนี้เป็นรุ่นเผยแพร่ทั่วไปสำหรับ google.com และไว้อ่านหลังเกษียณ ถ้าเขียนเป็นรายงานในมหาวิทยาลัยจะเขียนอีกแบบครับ