26 ก.ย.53 วันนี้จับเวลาการ scan หนังสือเรื่อง “ชาวบ้านวิจัยไหล่หิน : อยู่หรือตาย จัดการได้อย่างพอเพียง” ในชุดประสบการณ์วิจัยจากพื้นที่ เล่มที่ 44 ซึ่งมี 34 หน้า ด้วย HP Deskjet f2480 และโปรแกรม Irfan view ใช้เวลารวมประมาณ 15 นาที โดยวิธีตัดขอบ แล้ว scan ครั้งละ 2 หน้า เมื่อได้แฟ้มประมาณ 17 แฟ้มก็นำมาตัดออกทีละหน้า ซึ่งเวลาในการ crop นั้นไม่รวมอยู่ใน 15 นาทีข้างต้น .. เล่าสู่กันฟัง
Category: งานวิจัย
วิจัย คือ การตั้งคำถาม แล้วดำเนินการ เพื่อหาคำตอบ หรือ กระบวนการคิด แล้วทำอย่างเป็นระบบ เพื่อค้นหาองค์ความรู้ใหม่
ประชุมตั้งมหาวิทยาลัยลำปางที่กศน
20 ก.ย.53 ในเวทีหารือการทำงานร่วมกันของสถาบันการศึกษาจังหวัดลำปาง และทิศทางการเคลื่อนงานมหาวิทยาลัยลำปาง ซึ่งผมรู้สึกว่าเป็นแกะดำในกลุ่มครูกบฎ เพราะพระครูปลัดอนันต์ ญาณสวโร ปล่อยมุขว่าถ้าพวกเราทำสำเร็จก็จะเรียกว่าผู้ก่อการดี แต่ถ้าล้มเหลวก็แสดงว่าเป็นกบฎ แล้วผมก็ย้ำไปว่าที่มาประชุมกันนี้ ผู้บริหารระดับสูงเข้าใจหรือไม่ ในวาระที่นำชื่อมหาวิทยาลัยมารวมกัน เพื่อหารือการจัดตั้งมหาวิทยาลัยลำปาง ซึ่งเป้าหมายของมหาวิทยาลัยลำปางคือ “บูรณาการระบบการศึกษาเพื่อสร้างการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพ” แล้ว ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ ก็แสดงทัศนะที่เห็นต่างไปจากรายงานสรุป (ในสรุปมี 2 รูปแบบคือ มองยุทธศาสตร์จังหวัด และแยกกันทำ หรือรวมเป็นพื้นที่) ว่าการมีขึ้นของมหาวิทยาลัยลำปาง น่าจะเป็นการคิดใหม่แบบล่างขึ้นบน มิใช่บนลงล่างแบบเดิม ซึ่งเสนอว่าต้องเริ่มจากการเข้าเรียนรู้ ศึกษาปัญหาของชุมชน ว่าชุมชนต้องการอะไรอย่างแท้จริง ใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือนำในการแก้ปัญหา แล้วนำบทเรียนมาปรับการเรียนการสอน ให้ได้นักศึกษาที่ตรงกับความต้องการของชุมชน .. แล้วผมก็ได้พบนักคิด 2 ท่านจาก มทร.คือ ผศ.ดร.สาวิทตร มีจุ้ย และ ผศ.สันติ ช่างเจรจา ซึ่งช่วงท้าย ๆ มีการหารือกันอื้ออึง เกี่ยวกับประเด็นมหาวิทยาลัยลำปาง ของชาวลำปาง เพื่อชาวลำปาง โดยชาวลำปาง และเกิดผลในลำปาง อย่างเอาจริงเอาจังเกิดขึ้น
แล้วงานที่ผมรับปากไปในเวที ในบทบาทของอาจารย์โยนก คือการขยับงานปี 2554 โดยเสนอประเด็นที่สนใจคือ “การสร้างครูนักจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในสถาบัน และการขยายผล” และมี อ.กฤตภาส เสมอพิทักษ์ คอยให้กำลังใจอยู่ไม่ห่าง .. โดยมี คุณภัทรา มาน้อย เป็นพี่เลี้ยงผู้ใจดี เพราะถ้าใจร้ายผมคงหนีตะเหริดเปิดเปิงไปแล้ว จากภาระงานปกติที่รุมเร้าอยู่ทุกวัน
ยกร่างรายงานผลการวิจัย sar52
17 ก.ย.53 วันนี้เปิดงานการเขียนรายงานการวิจัย(สถาบัน)แล้ว เริ่มเขียนส่วนที่ง่ายที่สุดคือ กิติกรรมประกาศ หาอีเมลของแต่ละคน และสรุปรายชื่อผู้ร่วมวิจัย ซึ่งงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง สำหรับปีการศึกษา 2552 กรณีศึกษามหาวิทยาลัยโยนก” มีเพื่อนร่วมวิจัย 8 ท่านประกอบด้วย อ.วันชาติ นภาศรี อ.อัศนีย์ ณ น่าน อ.คนึงสุข นันทชมภู อ.ทันฉลอง รุ่งวิทู อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง อ.ศิรินธร อุทิศชลานนท์ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ ซึ่งการดำเนินการที่สำคัญมี 3 ส่วนคือ พัฒนาโปรแกรม อบรมระดับบุคคล และประเมินความพึงพอใจ สำหรับการหาอีเมลเนื่องจากโครงการนี้มีเป้าหมายจะเขียนบทความจากงานวิจัย
เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติกลางปีหน้า การส่งบทความ และรายชื่อเพื่อนทุกคนต้องใช้อีเมลในการอ้างอิง .. นั่นเป็นเรื่องอนาคตที่ผมยังทำไม่เสร็จ
กิติกรรมประกาศ เขียนไว้ 4 ย่อหน้า ดังนี้
+ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ สำเร็จลุล่วงด้วยดี ด้วยการสนับสนุนทุนในการทำวิจัยจาก มหาวิทยาลัยโยนก และความร่วมมือจากผู้ร่วมวิจัย ซึ่งเป็นตัวแทนจากคณะวิชา และหน่วยงาน
+ ขอขอบพระคุณ ทีมผู้ประเมินระดับคณะวิชา เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพทั้งในระดับคณะวิชา และหน่วยงานที่ให้ข้อเสนอแนะ และข้อมูลจนกระทั่งดำเนินงานพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประกันคุณภาพจนมีความพร้อมใช้งาน
+ ขอขอบพระคุณ นายอนุชิต ยอดใจยา นายอรรถชัย เตชะสาย และนายธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ ที่ร่วมเป็นวิทยากรอบรมการใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง จัดตั้งและดูแลเครื่องบริการระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง อำนวยความสะดวกให้ทุกหน่วยงานเข้าใช้งานได้โดยสะดวก
+ สุดท้ายขอขอบพระคุณท่านอธิการบดีที่มีนโยบายสนับสนุนงานวิจัย การพัฒนาคุณภาพการศึกษา จัดสรรทรัพยากร งบประมาณ และบุคลากร จนทำให้งานวิจัยนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี
ใช้แนวการเขียนจาก http://www.scc.ac.th/research/method/method01.asp
ที่ผมใช้เป็นแนวการเขียนรายงานการวิจัยตั้งแต่ ก.ย. 2553
ทั้งหมดนี้ก็เพียงเล่าสู่กันฟัง
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
4 ก.ย.53 พบงานวิจัยของ 2 เรื่องที่น่าสนใจ และผมนำไปอ้างอิงในงานวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง “ศึกษาการมอบหมายงานกลุ่มในการจัดทำสื่อวีดีทัศน์ประกอบการสอนการใช้โปรแกรม Powerpoint ในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสืบค้นข้อมูลเบื้องต้น (COMP 100)” ที่ผมทำร่วมกับ อ.อัศนีย์ ณ น่าน คือ งานวิจัยของ อ.จันทร์จิรา เมธาจิโนทัย และของ อ.วินทฎา วิเศษศิริกุล มีประเด็นสรุปจากบทคัดย่อได้ดังนี้
จันทร์จิรา เมธาจิโนทัย (2549) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง เจตคติและความสนใจของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 2 ที่มีต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ นำเสนอว่า พื้นฐานของเจตคติและความสนใจทางการเรียนของสัมพันธ์กับการจัดรูปแบบและวิธี การสอนที่หลากหลาย ทําให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและกระตือรือร้นต่อการเรียนรู้ เพราะการสอนโดยเน้นเนื้อหาทฤษฎีที่ไม่เป็นไปตามความต้องการของผู้เรียนจะทำ ให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย และสนใจกับเนื้อหาในช่วงเวลาสั้น ๆ จึงควรจัดวิธีการเรียนการสอนที่ไม่ซ้ำรูปแบบเดิม ๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน
วินทฎา วิเศษศิริกุล (2546) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ระดับ ปวส. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจวิทยาลัยเทคนิคนครนายก โดยการจับคู่ดูแลกัน นำเสนอ ผลการศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ธุรกิจชั้น ปวส.1 ห้อง 2 ปีการศึกษา 2545 ต่อเนื่ องชั้น ปวส.2 ปีการศึกษา 2546 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ พบว่าผลการทดลองจับคู่ดูแลนักศึกษาที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำโดยเพื่อนที่ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ทำให้นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น จากเดิมร้อยละ 100 แต่ผู้ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงแล้วมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นจาก เดิมร้อยละ 90.90
เนื่องจากการจับคู่ดูแลกัน ทำให้ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา แนะแนว และทบทวนบทเรียนทั้งในระหว่างเรียน และหลังเลิกเรียนแล้วนั่นเอง
วัตถุประสงค์การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยลำปาง
1 ก.ค.53 ผมได้รับอีเมลจาก คุณภัทรา มาน้อย เห็นว่าน่าสนใจ และเป็นบทเรียนที่ดี โดยผู้สนใจได้ร่วมกลุ่มพูดคุยกันที่ กศน.ภาคเหนือ ในวันที่ 28 มิ.ย.53 ที่ผ่านมา จึงประเด็นวัตถุประสงค์มาเผยแพร่ซึ่งมีใจความดังนี้
ตามที่ทางศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดลำปางร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการศึกษาในจังหวัดลำปาง เพื่อหารือแนวทางการเคลื่อนงาน”มหาวิทยาลัยลำปาง”โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อมี ดังนี้
1) ค้นหารูปแบบของการทำงานร่วมกันเชิงการบูรณาการศาสตร์ของการศึกษาจังหวัดลำปางโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง (ใช้แนวคิดหลักสูตรบูรณาการระบบการศึกษาเพื่อพัฒนาการเกษตรเป็นตุ๊กตาของการชวนคุย) ในเบื้องต้นการพูดคุยเพื่อค้นหารูปแบบการทำงานร่วมกันมีผู้เข้าร่วมที่มาจากสถาบันการศึกษาทั้ง ม.โยนก มรภ. มทร. กศน. มจร.และ สถาบันวิจัยและฝึกอบรมฯ เข้าร่วมเสนอแนวคิดและแลกเปลี่ยนประเด็นรวมถึงการตั้งข้อสังเกตของการดำเนินงานร่วมกันมากมายซึ่งทางศูนย์ประสานงานฯจะจัดทำสรุปเพื่อจัดส่งให้เครือข่ายต่อไป
2) สร้างรูปธรรมของแนวคิดงาน “มหาวิทยาลัยลำปาง” ให้เกิดเป็นแนวทางการบูรณาการการใช้ฐานของความรู้ในแต่ละระดับเพื่อส่งเสริมให้เกิดแนวทางของการศึกษาที่เอื้อประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง ในเบื้องต้นจากการประชุมมีแนวทางของรูปธรรมการดำเนิน 3 แนวทางคือ 1)แนวทางในการทำงานร่วมกับสถาบันคลังสมองของชาติ ซึ่งมีเป้าหมายในการให้เครือข่ายทำงานในลักษณะของการนำไปสู่การสร้างวิธีปฏิบัติร่วมที่ชัดเจนและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น หลักสูตร วิธีการสอน ความร่วมมือระหว่างสถาบัน เพื่อนำเอาสิ่งที่ได้นำเสนอต่อในเชิงนโยบาย 2) แนวทางของสกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่ใช้ฐานคนเป็นตัวตั้งเพื่อตอบสถานการณ์ปัญหาทางการศึกษาที่เป็นความต้องการของคนลำปางหรือตัวแทนของสถาบันร่วมกันตั้งคำถาม (Model ดร.สมคิด) ซึ่งอาจใช้ประเด็นเป็นตัวขับเคลื่อน เช่นประเด็นเกษตร หรืออื่นๆ โดยศูนย์ประสานงานฯเสนอให้เป็นการขับเคลื่อนงานยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดลำปาง โดยเน้นพื้นที่เป็นตัวตั้ง 3) ใช้กรอบModel ของดร.สาวิตรเพื่อขับเคลื่อนผ่านงาน ABC (งานวิจัยเพื่อพัฒนาทั้งพื้นที่ของสกว.กลาง) ซึ่งทั้ง 3 แนวทางจะนำไปสู่การพูดคุยเพื่อให้ได้ข้อสรุปเชิงรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
3) ช่องทางของการเคลื่อนงานของเครือข่ายการศึกษาจังหวัดลำปางร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้อง เบื้องต้นศูนย์ประสานงานวิจัยฯ รับเป็นตัวกลางในการประสานการประชุมในครั้งต่อไป และเตรียมข้อมูลพื้นที่วิจัยที่จะใช้เป็นแนวทางของการดำเนินงานต่อไป
+ งานนี้มี ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ ร่วมขับเคลื่อนด้วยอีกแรง
ร่วมประชุมที่สถาบัน กศน. ภาคเหนือ
17 มิ.ย.53 ร่วมงานประชุมเพื่อพัฒนาวิธีวิจัยที่เหมาะสมกับบริบทการปฏิบัติงาน กศน. ในระดับหมู่บ้าน/ตำบล นำโดย ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ และ ผศ.ดร.ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล เป็นประธานร่วม พร้อมด้วยบุคลากรทางการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยราชภัฎอีกหลายท่าน และมีผู้อำนวยการ กศน. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่วนข้างผมมี คุณรัตติกร บุญมี (จิ๊บ) และ คุณอัญมณี แสงแก้ว (โบว์) จาก สกว.ลำปาง
ก่อนปิดการประชุม ผศ.ดร.ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล ได้แบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับระบบและกลไกการบริหารงานวิจัย ซึ่งผมสรุปได้ว่ามีกระบวนการดังนี้ 1) อาจารย์เสนอ concept paper มายังคณะ 2) คณะพิจารณา แล้วส่งมายังสถาบันวิจัย 3) สถาบันวิจัย พิจารณาแล้วเปิดรับ proposal 4) อาจารย์จัดทำ proposal ส่งให้คณะ และสถาบันวิจัยพิจารณาอีกครั้ง 5) สถาบันวิจัยส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 6) จัดเวทีวิพากษ์ proposal 7) อาจารย์ส่ง proposal ที่ผ่านการปรับปรุงตามขั้นตอนอีกครั้ง 8) สถาบันวิจัยเสนอตามขั้นตอน เพื่ออนุมัติทุนวิจัย 9) เวทีรายงานความก้าวหน้าทุก 6 เดือน 10) ส่งรายงานการวิจัย และบทความวิจัยตามลำดับ 11) สถาบันวิจัยส่งบทความวิจัยให้ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 12) อาจารย์ปรับแก้ แล้วส่งบทความวิจัยตามลำดับ 13) สถาบันวิจัยร่วมกับอาจารย์ส่งบทความไปเผยแพร่ภายนอก
ผลประเมินการอบรมการส่งข้อมูลระดับบุคคล 3 ตอนแรก
7 มิ.ย.53 ตามที่มีการอบรม การส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองระดับบุคคล วันนี้มีจัดอบรม 3 ตอน จำนวน 9, 2 และ 4 คน ในเวลา 11.00น.-12.00น. 13.00น.-14.00น. และ 14.00น.-15.00น. ตามลำดับ ใน 3 ตอนนี้มีบุคลากรเข้าอบรมรวมทั้งหมด 7 คน และเจ้าหน้าที่ 8 คน รวม 15 คน
จากผลการประเมินความพึงพอใจจำแนกเป็น 8 ประเด็นพบว่า 1) ห้องฝึกอบรม มีความพึงพอใจระดับปานกลาง (X=3.4) 2) หัวข้ออบรม มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (X=4.4) 3) เอกสารประกอบการอบรม มีความพึงพอใจระดับมาก (X=3.87) 4) วิทยากรด้านประกันคุณภาพ มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (X=4.33) 5) วิทยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (X=4.27) 6) ระยะเวลา มีความพึงพอใจระดับมาก (X=4.2) 7) ที่อยู่เว็บเพจ มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (X=4.4) 8) เห็นด้วยที่มีการเชื่อมโยงข้อมูล มีความคิดเห็นระดับมากที่สุด (X=4.47)
+ http://www.thaiall.com/research/sar52/sar_53060708_person.xls
เข้าอบรมทักษะการคิดแบบวิจัย
29 พ.ค.53 สถาบันนวัตกรรมกระบวนการเรียนรู้ชุมชนจัดอบรมทักษะการคิดแบบวิจัย ที่ สำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาค 2 ลำปาง วันเสาร์ที่ 29 พ.ค.53 นำโดยคุณอัญมณี แสงแก้ว (โบว์) คุณภัทรา มาน้อย (จิ๋ม) และคุณรัตติกร บุญมี (จิ๊บ) เป็นกิจกรรมที่ 3 ใน 7 กิจกรรมตามแผนของปี 2553 คือ 1) เทคนิคการวิเคราะห์ชุมชนอย่างมีส่วนร่วม 2) วิทยากรกระบวนการ 3) ทักษะการคิดแบบวิจัย 4) การวาดเพื่อการสื่อสาร 5) การเขียนโครงการเพื่อขอรับทุน 6) การทำแผนที่ทางสังคม 7) สุนทรียสนทนา
นอกจากกิจกรรมวิชาการที่ให้แนวการวิเคราะห์งานไว้ 4 ประเด็นคือ ปรากฎการณ์ รูปแบบ โครงสร้าง และแบบจำลองความคิด และองค์ประกอบของบ้านแล้ว ยังมีกิจกรรมส่งเสริมการคิดแบบวิจัย อาทิ วาดจักรยาน เดินเท้าชิด และแม่น้ำพิษ ส่วนโครงการใหม่ที่เข้ามาร่วมเรียนรู้คือ กลุ่มนักวิจัยวัดปงสนุก และกลุ่มนักวิจัยน้ำห้วยปุ๊
มีโอกาสแลกเปลี่ยน กับนายกอบต. ท่านสนใจจัดทำสื่อมัลติมีเดียของตำบล ผมจึงแนะนำ กรกับปราง ที่ทำงานวิจัยจัดทำสื่อวีดีทัศน์บ้านไหล่หิน ได้ติดต่อกับท่านนายก และในเวทีนี้ คุณภัทรา ได้ฉายวีดีโอที่กรกับปรางจัดทำ ให้เพื่อนในทีมวิจัยได้เรียนรู้กระบวนการทำงานวิจัยของบ้านไหล่หิน .. ก็หวังว่า กรกับปราง จะเข้าไปขยายงานในชุมชนนี้ได้สำเร็จ
ผลพิจารณาบทความ NCCIT10 ครั้งที่ 1
27 เม.ย.53 ทราบผลการประกาศบทความที่ผ่านการพิจารณาครั้งที่ 1 สำหรับเข้าร่วมนำเสนอใน The 6th National Conference on Computing and Information Technology and The 10 th International Conference on Innovative Internet Community Systems ระหว่าง 3-5 มิถุนายน 2553 ณ โรงแรมอีสติน มักกะสัน กรุงเทพฯ ซึ่งมีบทความผ่านครั้งที่ 1 จำนวน 27 จากมากกว่า 200 บทความ ซึ่งบทความที่ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อ.วันชาติ นภาศรี คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และ อ.อัศนีย์ ณ น่าน สำนักประกันคุณภาพการศึกษา ส่งไปนำเสนอนั้น คือ “A Development of Self Assessment Report Database: A Case study of Yonok University in Lampang Province” ผ่านการพิจารณาในครั้งที่ 1 เรียบร้อยแล้ว ก็ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ทุกท่านในรายชื่อผู้เสนอบทความลำดับที่ 6 (ตามแฟ้มแนบ)
สำหรับบทความที่ไ ม่ปรากฎในประกาศผลการพิจารณาอย่างเป็นทางครั้งที่ 1 เนื่องจากบทความยังไ ม่ได้ทำการแก้ไขให้เรียบร้อยและเป็นไปตามรูปแบบของงานประชุม ให้เจ้าของความทำการแก้ไข พร้อมส่งกลับภายในวันที่ 28 เมษายน 2553 หรือรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณกาญจนา และคุณวัชรีวรรณ โทร.02-913-2500 ต่อ 2703 Note – Some papers do not appear in the preliminary decisions, because the authors have not made changes to the papers according to the reviewers’ comments, and/or the papers are not in the correct NCCIT’10 format The authors must correct the format and return the paper by 28th April 2010. Contact: Khun Kanchana or Khun Watchareewan Tel.02-913-2500 # 2703
+ http://www.thaiall.com/research/nccit10/nccit10_accept1.pdf
+ http://www.nccit.net
+ http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm
ความคิดเห็นต่อบทความที่นำเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ
20 มี.ค.53 นี่เป็นตัวอย่างของการให้ความคิดเห็น (Review) ต่อบทความวิชาการที่ไม่ได้ใช้วิธีสอบป้องกันโดยผู้นำเสนอ เพียงแต่อ่านเอกสารและให้ข้อเสนอแนะตามที่พบในเอกสารอย่างกัลยาณมิตร ซึ่งบทความที่ผมได้รับส่วนใหญ่เป็นของนักศึกษาปริญญาโท และได้ให้ข้อเสนอแนะในฐานะ Programme Committee ดังนี้ 1) ให้ปรับรูปแบบเป็นไปตามข้อกำหนดหรือแบบฟอร์มของบทความที่กำหนดในการประชุมวิชาการครั้งนี้ 2) ขอให้ปรับภาพประกอบบทความ เพราะตัวอักษรที่อยู่ในภาพมีขนาดเล็กเกินไปอ่านยาก 3) เอกสารอ้างอิงควรเรียงลำดับตามการถูกเรียกใช้ในบทความ และถ้าเป็นเอกสารอ้างอิงก็ต้องถูกอ้างอิงในบทความ 4) ตรวจการสะกดคำ แล้วจัดให้หน้าและหลังตรง ไม่ควรใช้ทับศัพท์แบบผสมสองภาษา เช่น cross-ครอสวาลิเคชั่น 5) บทคัดย่อให้มีรายละเอียดที่สำคัญ อาทิ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และสรุปผล โดยไม่กล่าวถึงสิ่งที่ไม่อยู่ในบทความ 6) บทคัดย่อที่เขียนไม่สื่อให้เห็นภาพของบทความ ขอให้เรียบเรียงใหม่ อย่างน้อยควรมี วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และสรุปผล 7) การเรียงหัวข้อย่อยให้ใช้ตัวเลข มิใช่ภาษาอังกฤษ 8) เอกสารอ้างอิงที่ 6 7 และ 8 ไม่ถูกอ้างอิงในเอกสาร 9) หัวข้องานวิจัยที่เกี่ยวข้องควรอยู่ต่อจากบทนำมิใช่ต่อท้าย และให้เรียงหัวข้อใหม่ 10) คำย่อของคำว่า CPU ควรตรงกับที่ใช้ในบทความ 11) ผลการทดสอบแสดงด้วยกราฟแล้ว แต่ไม่พบการสรุปในบทความให้ชัดเจน 12) บทความในการประชุมวิชาการ ไม่ควรมีกิติกรรมประกาศ 13) หัวข้อ 3.2.5 หายไป 14) ไม่พบวัตถุประสงค์ของบทความ หรืองานวิจัย 15) สรุปผลที่ได้ยังระบุไม่ชัดเจนขอให้ปรับแก้รายละเอียดเพิ่มเติม 16) ให้ใช้คำว่าเอกสารอ้างอิงแทนบรรณานุกรม 17 ) เนื้อหาหลักควรประกอบด้วย บทนำ วัตถุประสงค์ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง วิธีการดำเนินการวิจัย ผลการดำเนินงาน บทสรุป เอกสารอ้างอิง ทั้งหมดนี้ตีพิมพ์ใน Proceeding ต้องไม่เกิน 6 แผ่น 18) ให้ระบุวัตถุประสงค์ และสรุปผลที่สอดรับกับวัตถุประสงค์
หัวข้อการให้คะแนนพบใน easychair.org ประกอบด้วย 1) Overall evaluation ประกอบด้วยคะแนน 7 ระดับ คือ 3 strong accept 2 accept 1 weak accept 0 borderline paper -1 weak reject -2 reject -3 strong reject 2) Reviewer’s confidence ประกอบด้วยคะแนน 5 ระดับ คือ 4 expert 3 high 2 medium 1 low 0 null
หัวข้อเพิ่มเติม 5 หัวข้อ ดังนี้ 1) Related to xxx2010 area of research 2) New findings or contributions 3) Up-to-date Literature 4) Level of language and presentation 5) Conform to xxx2010 Format แต่ละข้อมีคะแนน 5 ระดับ คือ 5 (excellent) 4 (good) 3 (fair) 2 (poor) 1 (very poor)
การให้ข้อเสนอแนะแก่บทความนี่น่าเหนื่อยใจนะครับ .. เหมือนการชี้ถูกชี้ผิดอย่างที่ศาลเขาทำ แต่ศาลนี่ยังโชคดีมีการพูดคุยโต้ตอบกันได้เป็นการพูดคุยด้วยข้อมูลหลักฐานและตอบข้อซักถาม ในอีกมุมหนึ่งแล้วการพิจารณาบทความนี้ก็ดีกว่าในศาลคือไม่ใช่การชี้เป็นชี้ตายกำหนดอนาคตของคนเหมือนในศาล ที่คนเขาเสนอบทความก็ด้วยเจตนาดีต่อโลกต่อสังคม อยากให้โลกและสังคมเป็นสุข จึงได้คิด ค้นคว้า ทดลอง ดำเนินการ และอยากให้ใคร ๆ ทราบในสิ่งที่ตนเองค้นคว้า แล้วนำมาแบ่งปัน .. มองโลกแง่ดี และเป็นกำลังใจให้กันและกัน เขาว่าจะมีความสุขครับ
+ http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm
+ http://www.nccit.net