เตือยภัยอาชญากรรมไอทีใกล้ตัว (itinlife476)

คลิ๊ปเสียงตกทอง กับข่าวที่เกิดขึ้น
คลิ๊ปเสียงตกทอง กับข่าวที่เกิดขึ้น

ภัยด้านคอมพิวเตอร์ หรืออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์มีหลายรูปแบบ เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หากจะจำแนกประเภทความเสี่ยงว่าเรื่องใดรุนแรง หรือใกล้ตัวก็จะจัดอันดับแต่ละประเภทแตกต่างกันไปตามประสบการณ์ของแต่ละคน ซึ่งอาชญากรรมด้านไอทีที่พบเป็นข่าวมักมี 6 ประเภท คือ ลักลอบขโมย (Thief) ละเมิดสิทธิ (Pirate) แพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร (Illegal media) ก่อกวน หรือทำลายระบบสาธารณูปโภค (Disturb) หลอกลวงให้ร่วมค้าขาย หรือลงทุนปลอม (Fraudulent) หรือโอนเงินจากบัญชีผู้อื่นเข้าบัญชีของตน (Bank transfer)

การลักลอบขโมยอาจถูกมองเป็นเรื่องเล็กได้ แต่หากผู้กระทำสามารถขโมยข้อมูลของผู้คนนับแสน หรือขโมยข้อมูลจากธนาคารก็อาจไม่ใช่เรื่องเล็กอีกต่อไป พบข่าวได้บ่อยครั้งว่ามีการลักลอบกดถอนเงินจากตู้เอทีเอ็มโดยใช้บัตรปลอมที่ขโมยข้อมูลจากเจ้าของบัตรมาได้ หรือนำข้อมูลไปใช้ถอนเงินที่ธนาคาร การนำภาพดารามาตัดต่อทั้งภาพถ่ายหรือคลิ๊ปแล้วเผยแพร่ จนทำให้ผู้เสียหายต้องออกมาแก้ข่าวว่าไม่เป็นความจริง ถ้าเราไม่ใช่ผู้เสียหายก็คงไม่กระทบมากนัก แต่ผู้ที่ถูกกระทำย่อมเห็นว่าเรื่องนี้สำคัญเป็นเรื่องที่กระทบการดำรงชีวิต การงาน และครอบครัวจนไม่อาจทนได้ การทำลายระบบสาธารณูปโภค เช่น น้ำ ไฟฟ้า สัญญาณจราจร และโทรศัพท์ เห็นผลกระทบได้ชัดจากภาพยนตร์เรื่อง Die hard 4 ที่ผู้ร้ายสามารถแฮ็ก เข้าไปควบคุมระบบสาธาณูปโภคของเมือง เพื่อสนับสนุนเป้าหมายก่อการร้ายของตนเอง

การหลอกลวงต้มตุ้นผ่านอีเมล เว็บไซต์ เครือข่ายสังคม หรือโทรศัพท์ ก็มักจะเป็นการชวนไปลงทุนที่ไม่เกิดขึ้นจริง เป็นการกระทำที่ต้องใช้หลักฐานทางคอมพิวเตอร์เพื่อเอาผิดกับผู้หลอกลวง ถ้าผู้ถูกหลอกลวงไม่เสียทรัพย์สินไปแล้ว ก็มักจะไม่ไปแจ้งความ อีกปัญหาที่พบได้บ่อย และคนไทยน่าจะเคยได้รับโทรศัพท์แบบนี้ คือ การหลอกให้โอนเงิน จนธนาคารต้องมีมาตรการขึ้นมาช่วยเตือน เพราะหากโอนเงินไปเข้าบัญชีผู้หลอกลวงแล้ว ก็มักจะแก้ไขไม่ได้ เช่น การมีข้อความเตือนการโอนเงินระหว่างทำรายการในตู้เอทีเอ็ม การส่งข้อความแจ้งการทำรายการไปทางเอสเอ็มเอส (SMS) เพราะการติดตามจับกุมทำได้ยาก แล้วเบอร์โทรศัพท์ที่ใช้ก็ติดตามไปยังต้นสายได้ยาก จับได้แต่ละครั้งก็พบว่าทำกันเป็นกระบวนการ ได้ผู้ต้องหาครั้งละนับสิบคน

https://www.youtube.com/watch?v=6gzgVK5eu0E (คลิ๊ปเสียงตกทอง 1)

https://www.youtube.com/watch?v=ojaP-dP3u0o (คลิ๊ปเสียงตกทอง 2)

https://www.youtube.com/watch?v=HAgpUlVnb1w (คลิ๊ปเสียงตกทอง 3)

https://www.youtube.com/watch?v=mZJA8iEuVCU (คลิ๊ปเสียงตกทอง 4)

https://www.youtube.com/watch?v=xw1t6qp57jU (จับ call center)

https://www.youtube.com/watch?v=EtSoITLELoc (คุยผ่านเฟสบุ๊ค มีหลายกรณี)

https://www.youtube.com/watch?v=xrOb4VbaqNs (อ้างเป็นฝรั่งหลอกให้โอนเงินไปให้)

https://www.youtube.com/watch?v=p6xpRyMw2vI (Daily IT)

ค่าสถิติตรวจสอบการรับรู้ และการปฏิบัติ หรือพฤติกรรมในข้อเดียวกัน

crosstab chisquare
crosstab chisquare
question
question
crosstab aware action
crosstab aware action

ดร.ลภัสรดา จ่างแก้ว แนะนำนักศึกษาที่เขียนกรอกแนวคิดในการวิจัย
แล้วหาตัวแปรตามไม่พบ ด้วยเหตุว่า 2 แนวคิดเหมือนที่ผ่านมานั้นง่ายไป
เช่น มี demographic เป็นตัวแปรอิสระแล้ว 4Psหรืออื่น เป็นตัวแปรตาม
จึงแนะนำว่าปีนี้ สำหรับ 4Ps หรือ 7Ps นั้น สามารถเป็นตัวแปรอิสระได้
ส่วน [ตัวแปรตามเป็นพฤติกรรม] ก็ได้ สำหรับหัวข้อที่เข้ากรอบนี้ได้
โดยพฤติกรรมจะถาม “การรับรู้ เปรียบเทียบกับ การปฏิบัติ”
ว่าที่มีระดับการรับรู้เท่าใด และการปฏิบัติเป็นเท่าใด
จากนั้นก็ใช้การวิเคราะห์ด้วยการใช้ตาราง crosstab
แล้วแสดงค่า sig ของ chi-square
ที่ใช้ทดสอบสมมติฐานว่า “การรับรู้กับการปฏิบัติมีความสัมพันธ์กัน
หรือ “การยอมรับกับการดำเนินการมีความสัมพันธ์กัน”
แล้วผลใน crosstab ก็จะทำให้รู้ว่าคำถามข้อใดจับคู่กันอย่างไร
ผลการจับคู่ของ 2 คำถามก็จะมี 4 รูปแบบ ดังนี้
– รู้แล้ว และไปปฎิบัติ
– ไม่รู้ จึงไม่ไปปฏิบัติ
– รู้แล้ว แต่ไม่ไปปฏิบัติ
– ไม่รู้ และไม่คิดไปปฏิบัติ
ซึ่งระดับพฤติกรรมอาจเป็น 3 หรือ 5 ก็ได้

+ http://www.thaiall.com/spss/chisquare_crosstab.xlsx
+ http://www.thaiall.com/research/whatisresearch.htm
+ http://www.thaiall.com/pptx/stat_fac_score.pptx ***
+ http://www.thaiall.com/spss/

ประชุมเตรียมความพร้อมอาจารย์พิเศษ

mcu schedule
mcu schedule

16 พ.ค.54 ก่อนเปิดภาคการศึกษา มักมีการประชุมเตรียมความพร้อมอาจารย์ประจำ และอาจารย์พิเศษ เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ต้องดำเนินการทุกภาคการศึกษา เพื่อตอบการประกันคุณภาพการศึกษา ได้ทำความเข้าใจกับอาจารย์ผู้สอน เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แล้วนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงระบบและกลไก ให้การเปิดภาคการศึกษามีความพร้อม และดำเนินการจัดการเรียนการสอนที่สอดรับกับนโยบายของสถาบัน

โดยมีวาระการประชุมเป็นการชี้แจงให้อาจารย์ผู้สอนได้ทราบถึงนโยบายการศึกษา ปฏิทินการศึกษา กฎระเบียบ การดำเนินงานด้านการจัดการเรียนการสอน และการสนับสนุนของหน่วยงานทั้งหมด ซึ่งผู้รับผิดชอบตรงจะทำหน้าที่ให้ข้อมูล อาทิ นโยบายจากผู้บริหาร ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายประกันคุณภาพ ฝ่ายกิจกรรมนักศึกษา และหน่วยสนับสนุนที่สำคัญ

มีเอกสารที่อาจารย์ผู้สอนควรพิจารณาทำความเข้าใจก่อนเปิดภาคการศึกษา อาทิ แผนงานของสถาบัน ปฏิทินการศึกษา ตารางบรรยาย มคอ.3 แบบฟอร์ม ข้อมูลสถิติที่ควรทราบ คู่มือ ประกาศ ระเบียบและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง

หลักการและเหตุผล ของ NCAC2010

National Cybersecurity Awareness Contest
National Cybersecurity Awareness Contest

24 ก.ย.53 โลกไซเบอร์ในปัจจุบันมีภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศหลากหลายรูป แบบและมีเพิ่มมากขึ้น อย่างต่อเนื่อง ทั้งที่มีผลกระทบต่อองค์กรและที่เป็นส่วนบุคคล การป้องกันในมุมมองด้านกระบวนการ (Process) และเทคโนโลยี (Technology) ไม่เพียงพอ เพราะจุดอ่อนที่สำคัญที่สุด คือ “คน” (People) ซึ่งมีความจำเป็นจะต้องรู้เท่าทันภัยต่าง ๆ ได้ทั้งในเชิงป้องกัน (preventive) และเชิงปรับปรุงแก้ไข (corrective)
ดังนั้น จุดเริ่มและเป็นจุดสำคัญที่สุดในการเสริมสร้างทักษะหรือความรู้ หรือติดอาวุธทางปัญญาให้กับ “คน” เพื่อให้รู้เท่าทันภัยและสามารถต่อกรกับภัยคุกคามได้อย่างเป็นผล คือ การสร้างความตระหนักด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security Awareness) ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ การอบรม เป็นต้น
การสร้างความตระหนัก (Security Awareness) เป็นมูลฐานของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้กับระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในโลกไซเบอร์ ยิ่งมีความตระหนักได้เร็ว ได้ก่อน ได้ทัน ก็จะยิ่งเป็นการป้องกันภัยได้ดีกว่าจะต้องไปทำการแก้ไขเมื่อเกิดผลร้ายของ เหตุการณ์ การริเริ่มให้มีความตระหนักสำหรับกลุ่มเป้าหมายวัยศึกษาจะเป็นการบ่มเพาะที่ ดี ขณะที่การสร้างความตระหนักให้กับกลุ่มคนวัยทำงานก็จะเป็นการช่วยให้การใช้ งานระบบอินเทอร์เน็ต ระบบเครือข่าย และระบบสารสนเทศต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัยทั้งต่อตนเองและต่อองค์กร
http://www.cdicconference.com/ncac2010/ncac2010.htm