ร่วมเสวนาในงานมหกรรม 10 ปีวิจัยเพื่อท้องถิ่น (1)

dsc07935

ผมมีโอกาสไปร่วมเสวนาวันที่ 21 มี.ค.52 ช่วง 9.00- 9.40
เป็น session แรกของช่วงเช้าในห้องย่อย1
คือ 
งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับสถาบันการศึกษา
ในฐานะตัวแทนสาขาวิทย์คอม แล้วทำวิจัยเพื่อท้องถิ่น
 บนเวทีมี คุณประพจน์ ภู่ทองคำ ดร.มยุรี ถาวรพัฒน์ อ.ไพจิตร ศรีธนานุวัฒน์ ผศ.เยี่ยมลักษณ์ อุดาการ และผม
ความเป็นมา 
สกว.ริเริ่มสนับสนุน “งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น” เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2541 โดยมีการจัดตั้งสำนักงานภาค ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น ขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมียุทธศาสตร์ที่สำคัญ เน้นการมุ่งเข้าไปเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่น โดยเน้นให้ “คน” ในชุมชนท้องถิ่นใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ด้วยการเข้าร่วมกระบวนการวิจัยทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ชุมชนเพื่อกำหนดโจทย์/คำถามวิจัย การทบทวนทุนเดิมในพื้นที่ การออกแบบการวิจัย และการวางแผนผฏิบัติการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล การทดลองปฏิบัติจริงเพื่อสร้างรูปธรรมในการตอบโจทย์วิจัยหรือแก้ปัญหาในพื้นที่วิจัย การประเมินและสรุปบทเรียน เน้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ระหว่างนักวิจัยชาวบ้าน คนในชุมชนท้องถิ่น นักวิชาการ ข้าราชการ นักพัฒนาและผู้ทรงคุณวุฒิที่จะได้เรียนรู้ร่วมกัน เพื่อสร้างความรู้และกลไกการจัดการปัญหา เพื่อนำไปสู่การพึ่งตนเองของชุมชนในพื้นที่การวิจัยสกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่นได้มุ่งเน้นยุทธศาสตร์สำคัญในการเข้าไปเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่น โดยเน้นให้ “คน” ในชุมชนท้องถิ่นใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์การทำงานที่ยึดมั่นมาเป็นเวลายาวนานกว่า 10 ปี คุณูปการจากการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่ปัจจุบันขยายงานออกไปทั่วประเทศ ในพื้นที่ภาคเหนือ ได้ขยายงานวิจัยท้องถิ่นในหลายพื้นที่ ได้แก่ เชียงใหม่ พะเยา ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ ตาก แพร่น่าน กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร นครสวรรค์ ในพื้นที่ภาคกลาง ตะวันออก ตะวันตก มีการขยายงานสู่ 18 จังหวัด คือ กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบ ราชบุรี สมุทรสงคราม นครปฐม ปทุมธานี อยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี ชัยนาท อุทัยธานี ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี ตราด ในขณะที่พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็มีการขยายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นสู่หลายพื้นที่ ได้แก่ อุบลราชธานี มหาสารคาม ชัยภูมิ หนองบัวลำภู เลย ร้อยเอ็ด ยโสธร กาฬสินธุ์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และในพื้นที่ภาคใต้ ได้เกิดการขยายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในหลายจังหวัด เช่น ยะลา สงขลา นราธิวาส ปัตตานี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ตรัง สตูล พังงา โดยการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ต่างๆ นั้นจะอาศัยกลไกของศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Node) และพี่เลี้ยงนักวิจัย ซึ่งปัจจุบันมีศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Node) กว่า 30 แห่งทั่วประเทศ เกิดโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจำนวนประมาณ 1,000 โครงการ (ตุลาคม 2541 – พฤษภาคม 2551) และยิ่งไปกว่านี้กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นยังส่งผลให้เกิดการพัฒนาคน ให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาให้เกิดวิธีการคิดอย่างเป็นระบบ และทำให้ชุมชนสามารถแก้ปัญหาและค้นหาทางออกจากปัญหาได้ด้วยตัวเอง10 ปีที่กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือ หรือทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาด้วยปัญญาของชุมชนท้องถิ่นเอง ดอกผลจากการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ได้ปรากฎให้เห็นทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ อาทิ เกิดโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่ชาวบ้านเป็นผู้ทำวิจัยด้วยตัวเองกว่า 1,000 โครงการ เกิดนักวิจัยเพื่อท้องถิ่นมากกว่า 7,000 คนและขยายฐานงานจากงานวิจัยชาวบ้านสู่กลุ่มคนทั้งในหน่วยงานและสถาบันต่างๆ นอกจากนี้ พลังคนวิจัยได้นำสู่การสร้างสรรค์งานวิจัยในประเด็นต่างๆ มากมาย ได้แก่ ประเด็นการท่องเที่ยว เกษตรกรรมยั่งยืน สุขภาพ หมอเมือง และสมุนไพร ศิลปวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เศรษฐกิจชุมชน การบริหารจัดการท้องถิ่น เด็กและเยาวชน การศึกษากับชุมชน ชุมชนกับการจัดการทรัพยากร เป็นต้น ซึ่งแต่ละประเด็นล้วนก่อให้เกิดคุณค่าแก่ชุมชนท้องถิ่น นำมาซึ่งความภาคภูมิใจ และความสุขของคนทำวิจัย ที่ ณ วันนี้ ชาวบ้านได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า “ชาวบ้านทำวิจัยได้” จึงอาจกล่าวได้ว่ากระบวนการทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ได้นำมาซึ่ง “คุณค่า พลังและความสุขของชุมชนท้องถิ่น”ด้วยจังหวะเวลาที่เหมาะสม และดอกผลจากการทำงานที่เริ่มก่อเกิด สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น ร่วมกับเครือข่ายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น/พี่เลี้ยงนักวิจัย) และภาคีพันธมิตร ต่างเห็นร่วมกันว่าช่วงเวลานี้เป็นเวลาที่เหมาะสมแก่การทบทวนการทำงานสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ตลอดจนเป็นโอกาสที่จะนำเสนอผลงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นสู่สาธารณะ และค้นหาทิศทางในการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในอนาคต ด้วยเหตุนี้ สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น จึงได้กำหนดการจัดงาน “มหกรรม 10 ปี วิจัยเพื่อท้องถิ่น” ซึ่งมีแนวคิดร่วมของงานอยู่ที่การสื่อให้เห็นถึง “ความสุข คุณค่า และพลังงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น” ในวันที่ 20 – 21 มีนาคม 2551 ณ อิมแพ็คเมืองทองธานีวัตถุประสงค์ :
1) นำเสนอผลงานจากงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นให้เป็นที่ประจักษ์
2) นำเสนอผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชน หน่วยงานที่เกิดจากการทำงานวิจัย
3) นำเอาประสบการณ์ต่างๆ มาพิจารณาดูว่าเหมาะสมกับสังคมไทยแค่ไหน
4) ระดมความคิดเห็นของนักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิกลุ่มต่างๆ ต่องานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
5) นำเอาข้อมูลต่างๆ มาดูทิศทางในการขับเคลื่อนงานต่อไป
คุณค่า
คุณค่าในการสร้างและพัฒนาคนบนฐานปัญญา
คุณค่าในการรื้อฟื้นและพัฒนาองค์ความรู้ท้องถิ่น
คุณค่าในการสร้างและพัฒนาชุมชนและสังคม
พลัง
พลังต่อการเปลี่ยนแปลงตัวตนและชุมชน
ความสุข
ความสุขทางจิตวิญญาณ/ปัญญา

http://www.vijai.org/newsTRF_detail.asp?topicid=737
http://www.10year-cbr.org/about_us.php