อบรม ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารหลักสูตรของจุฬฯ

cu-cas & tqf
cu-cas & tqf

21 ก.ค.54 มีโอกาสเข้ารับฟังการบรรยายเรื่อง “ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารหลักสูตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” หัวข้อเปรียบเทียบ TQF กับ CU-CAS โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับ อัตลักษณ์ คุณลักษณะบัณฑิตพึงประสงค์ (เดินทางกับคุณเรณู ฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัย ไปประชุมครึ่งวัน) ซึ่งเป็นระบบที่จุฬาฯ พัฒนาขึ้น ใช้เป็นกรอบมาตรฐานของจุฬาฯ ต่อมา สกอ.เปิดช่องให้ทุกมหาวิทยาลัยสามารถพัฒนาระบบของตนเองที่ต่างไปจาก มคอ.1-7 ได้ แต่ถ้ามีการตรวจสอบ ต้องให้ข้อมูลได้ครบถ้วน ซึ่งระบบ cu-cas มีความสมบูรณ์มาก โดยแบบฟอร์ม และระบบถูกพัฒนาควบคู่กันไป มีตัวอย่างฟอร์มดังนี้
– Course Specification (CU-CS)
– Course Specification (CU-CS)
– Program Curriculum Mapping (CU-PCM)
– Department Curriculum Mapping (CU-DCM)
– E-portfolio (CU-EP)
– Faculty Course Evaluation (CU-FCE)
– Faculty Course Evaluation (CU-FCE)
– Student Course Evaluation (CU-SCE)
– Department Report (CU-DR)
– Program Report (CU-PR)
– Subject Report (CU-SR)
– Faculty Report (CU-FR)

หลังกลับจากการประชุมได้เขียนรายงานนำเสนอหัวหน้า 6 ประเด็นใน บันทึก 17/54 และขออนุมัตินำไปจัดเวที KM เรื่องหลักสูตร สอดรับกับตัวบ่งชี้ 7.2

ต่อมา 23 มี.ค.55 มีโอกาสได้ฟัง ผศ.ดร.วีระพันธ์ รังสีวิจิตรประภา อาจารย์จากจุฬาฯ นำเสนอเรื่องนี้ที่เชียงใหม่ ในงาน “อุดมศึกษากับการพัฒนาประเทศไทย” ก็ยิ่งเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ว่าอัตลักษณ์ และมาตรฐานการเรียนรู้นั้น มีที่มา ที่ไป อย่างไร
http://www.scribd.com/doc/87611391

คุณลักษณะบัณฑิตพึงประสงค์ กับคนไทยพึงประสงค์
http://www.thaiall.com/blog/burin/3842/

วิธีการสอน/พัฒนา 37 วิธี

เรียบเรียงจากวิธีการสอน/พัฒนาใน Course Specification ของ CU-CAS
1. การบรรยาย (Lecture)
2. การอภิปราย (Discussion)
3. การสอนแบบสัมมนา (Seminar)
4. การสอนโดยใช้การนิรนัย/อนุมาน (Deductive) คือ อ้างความรู้เดิมให้ได้ความรู้ใหม่หรือข้อสรุป
5. การสอนโดยใช้การอุปนัย/อุปมาน (Inductive) คือ การสรุปจากความจริงย่อยหลายข้อมาเป็นข้อสรุป
6. การใช้กรณีศึกษา (Case)
7. การแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing)
8. ภาคสนาม (Field Work)
9. การไปทัศนศึกษา (Site Tour)
10. การใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation)
11. การแสดงละคร (Dramatization)
12. การสาธิต (Demonstration)
13. การสอนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center)
14. การใช้เกม (Game)
15. การทดลอง (Experiment)
16. การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction)/ การเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน /การเรียนแบบผสมผสาน/การเรียนแบบออนไลน์
17. การฝึกปฏิบัติ (Practice)
18. การฝึกงาน/การฝึกสอน (Training)
19. การสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research-based Instruction)
20. การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Instruction)
21. การสะท้อนความคิด (Reflective Thinking)
22. การสอนแบบสืบสอบ (Inquiry-based instruction)
23. การศึกษาค้นคว้าโดยอิสระ (Independent Study)
24. การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (Self-directed Learning)
25. การสอนโดยใช้โครงงาน (Project-based Instruction)
26. การเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบ/ปราชญ์ (Professional Model)
27. การเรียนการสอนแบบจุลภาค (Micro Teaching)
28. การนิเทศการปฏิบัติการวิชาชีพ (Supervision)
29. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
30. การให้คำปรึกษารายบุคคล (Individual Advisor)
31. กลุ่มติวเตอร์ (Tutorial Group)
32. การระดมสมอง (Brain Storming)
33. การสรุปประเด็นสำคัญ / การนำเสนอผลของการสืบค้นที่ได้รับมอบหมาย (Conclusion Presentation)
34. กิจกรรม (Activities)
35. การสอนข้างเตียง/เรียนจากผู้ป่วย (Problem Learning)
36. การฝึกแสดงออกทางพฤติกรรม (Behavior Presentation)
37. การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Study)

ชีวิตดังเช่นละคร .. เทศกาลละคร จุฬา

“ก่อนจบ 2554”

เทศกาลแสดงผลงานการละครของนิสิตปริญญาโทและตรี
ภาควิชาศิลปการละคร  คณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
21 มกราคม -6 กุมภาพันธ์ 2554
วันศุกร์ (19 น.) เสาร์ (14 น. และ 19 น.) และอาทิตย์ (14 น.)
ณ ศูนย์ศิลปการละคร สดใส พันธุมโกมล
(ชั้น 6 อาคารมหาจักรีสิรินธร อักษรฯ จุฬาฯ)
ละครเวทีเต็มรูปแบบ บัตรราคา 100 บาททุกที่นั่ง (การนำเสนอผลงานวิจัย เข้าชมฟรี)
จองบัตรได้ที่ ภาควิชาศิลปการละคร และ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ (สยามสแควร์)
สอบถามรายละเอียด โทร. 0 2218 4802, 08 7066 2718 และ 08 4112 0558
Email: KornJob2554@gmail.com
และที่ http://www.facebook.com/“ละครก่อนจบ 2554”

สัปดาห์ที่ 1: การนำเสนอผลงานวิจัยทางการละครของนิสิตปริญญาโท

ส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์
“ละครสร้างคน และคนสร้างละครได้มั้ย”
“เมื่อเล่าเรื่องรามเกียรติ์ให้เด็ก ๆ ฟัง พวกเค้าจะเข้าใจมั้ย”
“ทำยังไงให้นักแสดง 1 คน เป็นตัวละครได้ถึง 7 ตัว ในเวลาอันสั้น”
“เมื่อเรามีปัญหา เราจะถามพระเจ้า แล้วพระเจ้าตอบเราผ่านไบเบิลว่ายังไงนะ”
“จะเอาความรู้เรื่องละคร ไปจัด event ได้ยังไง” และอีกหลากหลายหัวข้อที่น่าสนใจ

ศุกร์ที่ 21 – อาทิตย์ที่ 23 มกราคม 2554

สัปดาห์ที่ 2 และ 3: ละครเวทีเต็มรูปแบบของนิสิตปริญญาตรี
ร่าง ก(ล)าย ดี

แปลบทจาก The Good Body
มุมมองของตัวละครหญิง 7 ตัว ถ่ายทอดผ่านนักแสดง 1 คน
ละครที่ผู้หญิง(และผู้ชาย)ทุกคนต้องดู!
“Love your BODY. Stop fixing it. It was never broken”
แสดงเดี่ยวโดย ทิพย์ตะวัน อุชัย

ศุกร์ที่ 28 – อาทิตย์ที่ 30 มกราคม 2554

ห.ส.ร. (หุ่นยนต์สากลรอสซัม)
แปลบทจาก R.U.R. (Rossum’s Universal Robots)
สงครามระหว่างคนกับคน และ กบฏหุ่นยนต์
ละครนวนิยายวิทยาศาสตร์ ที่นำคำว่า Robot มาใช้เป็นครั้งแรก
เมื่อหุ่นยนต์และมนุษย์มาอยู่ด้วยกัน โลกจะเป็นอย่างไร
นำแสดงโดย มิณฑิตา วัฒนกุล (มิ้น AF 3) และ ชัชดนัย มุสิกไชย
ผลงานการกำกับโดย วรรัตน์ กาญจนราช

ศุกร์ที่ 4 – อาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2554