วิจัยในชั้นเรียน เรื่อง ผลของการเรียนบนเครือข่ายต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

รวมงานวิจัยในชั้นเรียน (class research)
รวมงานวิจัยในชั้นเรียน (class research) https://drive.google.com/folderview?id=0B_dx3cf4F2pkTmpyak5Pb3FpMzA

จุฑารัตน์  ศราวณะวงศ์ (2543) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง ผลของการเรียนบนเครือข่ายต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การใช้เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนบนเครือข่าย มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 96 คน ทดลองให้เรียนจากโฮมเพจรายวิชา ที่ทำการปรับปรุงจนมีประสิทธิภาพ และค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 81.50/85.33 และ 0.59 ก่อนเรียนได้ทำแบบทดสอบก่อนเรียน และเมื่อเรียนจบบทเรียนก็ได้ทำแบบทดสอบหลังเรียน พร้อมกับตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ เมื่อทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติ T-Test พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยต่างกันร้อยละ 27.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และความพึงพอใจของการเรียนอยู่ในระดับมาก
อ้างอิงจาก
จุฑารัตน์  ศราวณะวงศ์ (2543), ผลของการเรียนบนเครือข่ายต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การใช้เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2557, แหล่งที่มา
https://docs.google.com/file/d/0B_dx3cf4F2pkWWVtZjZPUUNWbDg/


รวมงานวิจัยในชั้นเรียน ที่สมบูรณ์มีถึง 199 รายการ
https://drive.google.com/folderview?id=0B_dx3cf4F2pkTmpyak5Pb3FpMzA

ปิดงานวิจัย classroom สำหรับ 5 บท รุ่น 1

ปิดงานวิจัย classroom สำหรับ 5 บท รุ่น 1 ของภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 :  โครงการวิจัย ในชั้นเรียนเรื่อง ศึกษาการมอบหมายงานกลุ่มในการจัดทำสื่อวีดีทัศน์ประกอบการสอนการใช้โปรแกรม Powerpoint ในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสืบค้นข้อมูลเบื้องต้น (COMP 100)

อภิปรายผล 1. การศึกษาการมอบหมายงานกลุ่มในการจัดทำสื่อวีดีทัศน์ประกอบการสอนการใช้ โปรแกรม Powerpoint ทำให้นักศึกษาได้ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ คือ สมาร์ทโฟน หรือกล้องดิจิทอลในการบันทึกวีดีโอ ร่วมกับเพื่อนในการแสดงบทบาทตามที่ตนเองวางแผนโดยผ่านความเห็นชอบ และแนะแนวทางจากอาจารย์ผู้สอนในระดับหนึ่ง หลังจัดทำหนังสั้นหรือสื่อวีดิทัศน์ได้นำไปเสนอหน้าชั้นเรียน ผ่านโปรแกรม Powerpoint แล้วนำไปเผยแพร่ใน youtube.com และ facebook.com ด้วยความพยายามตั้งใจทำงาน ทำให้เป็นแรงบันดาลใจสนับสนุนให้เกิดทัศนคติที่ดีในการเรียน ซึ่งเป็นปัจจัยส่งเสริมการเรียนรู้หรือการรับรู้อย่างต่อเนื่องตามที่ รศ.มัณฑรา  ธรรมบุศย์ ได้นำเสนอว่ามนุษย์มีรูปแบบการเรียนรู้หรือลีลาการเรียนรู้ของมนุษย์ (Learning style) 3 ทางคือ เรียนรู้ทางสายตา ทางโสตประสาท และทางร่างกายและความรู้สึก ซึ่งการมอบหมายงานครั้งนี้ทำให้เกิดการรับรู้ทั้ง 3 ทาง
2. การศึกษาการมอบหมายงานกลุ่มในครั้งนี้ ใช้ระบบอีเลินนิ่งเป็นสื่อกลางในการสื่อสารเป็นหลัก เพราะเปิดให้นักศึกษาได้เรียนรู้ด้วยตนเองด้วยการดาวน์โหลดเอกสาร หรือสื่อการสอนในชั้นเรียนทุกครั้ง และเปิดให้มีการแสดงความคิดเห็นในรูปของการประเมินการสอนท้ายชั่วโมง หรือเข้ามาศึกษาบทเรียนได้ในภายหลังตามอัธยาศัย ทำให้นักศึกษาสามารถกลับมาทบทวนบทเรียนได้ตลอดเวลา จนส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีระดับคะแนนที่สูง ซึ่งตรงกับทฤษฎีของ Mednick ที่ว่าการเรียนรู้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และความพึงพอใจในการเรียนรู้เชิงบวกย่อมส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเชิง บวกเช่นกัน

ข้อเสนอแนะ 1. ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ทราบว่าการมอบหมายงานกลุ่มในการจัดทำสื่อวีดีทัศน์ ประกอบการสอนมีต่อผลสัมฤทธิ์ผลทางการเรียน และการใช้ระบบอีเลินนิ่งทำให้นักศึกษามีเครื่องมือสนับสนุนการเรียนรู้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ในวิชาการสอนใช้งานโปรแกรม Powerpoint แต่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนในวิชาอื่นได้หรือไม่ ยังเป็นคำถามที่ต้องหาคำตอบต่อไป
2. กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เข้ามาเรียนในภาคเรียนที่ 1 ทำให้การปรับตัวยังไม่ดีนัก แต่สามารถทำงานที่มอบหมายได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของแต่ละกลุ่ม ย่อมเป็นสิ่งที่แสดงถึงความรับผิดชอบที่มีในนักศึกษากลุ่มนี้ แต่ถ้าการมอบหมายงานแบบด้วยโจทย์ที่เข้มกว่าเดิมจะเกิดผลอย่างไรกับนักศึกษา กลุ่มอื่น ยังเป็นคำถามที่ต้องการหาคำตอบต่อไป



งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

4 ก.ย.53 พบงานวิจัยของ 2 เรื่องที่น่าสนใจ และผมนำไปอ้างอิงในงานวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง “ศึกษาการมอบหมายงานกลุ่มในการจัดทำสื่อวีดีทัศน์ประกอบการสอนการใช้โปรแกรม Powerpoint ในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสืบค้นข้อมูลเบื้องต้น (COMP 100)” ที่ผมทำร่วมกับ อ.อัศนีย์ ณ น่าน คือ งานวิจัยของ อ.จันทร์จิรา เมธาจิโนทัย และของ อ.วินทฎา วิเศษศิริกุล มีประเด็นสรุปจากบทคัดย่อได้ดังนี้

จันทร์จิรา เมธาจิโนทัย (2549) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง เจตคติและความสนใจของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 2 ที่มีต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ นำเสนอว่า พื้นฐานของเจตคติและความสนใจทางการเรียนของสัมพันธ์กับการจัดรูปแบบและวิธี การสอนที่หลากหลาย ทําให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและกระตือรือร้นต่อการเรียนรู้ เพราะการสอนโดยเน้นเนื้อหาทฤษฎีที่ไม่เป็นไปตามความต้องการของผู้เรียนจะทำ ให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย และสนใจกับเนื้อหาในช่วงเวลาสั้น ๆ จึงควรจัดวิธีการเรียนการสอนที่ไม่ซ้ำรูปแบบเดิม ๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน

วินทฎา วิเศษศิริกุล (2546) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ระดับ ปวส. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจวิทยาลัยเทคนิคนครนายก โดยการจับคู่ดูแลกัน นำเสนอ ผลการศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ธุรกิจชั้น ปวส.1 ห้อง 2 ปีการศึกษา 2545 ต่อเนื่ องชั้น ปวส.2 ปีการศึกษา 2546 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ พบว่าผลการทดลองจับคู่ดูแลนักศึกษาที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำโดยเพื่อนที่ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ทำให้นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น จากเดิมร้อยละ 100 แต่ผู้ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงแล้วมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นจาก เดิมร้อยละ 90.90

เนื่องจากการจับคู่ดูแลกัน ทำให้ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา แนะแนว และทบทวนบทเรียนทั้งในระหว่างเรียน และหลังเลิกเรียนแล้วนั่นเอง